-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 469 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี








การให้ปุ๋ย
       

อย่างที่ทราบกันแล้วว่าปุ๋ยเป็นอาหารของต้นพืช พืชจะนำเอาอาหารไปสังเคราะห์เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต บำรุงต้น ใบ ดอก  ปุ๋ยจึงจำเป็นต่อต้นกุหลาบโดยเฉพาะธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม เหล็ก โบรอน แมงกานีส ทองแดง สังกะสี คลอรีนและซัลเฟอร์ โดยธาตุอาหารเหล่านี้จะแบ่งเป็น 2 พวกคือธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง
 
ธาตุอาหารหลัก
         เป็นธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมากดังนั้นดินที่ใช้ปลูกจึงมักขาดธาตุเหล่านี้เสมอ โดยเฉพาะถ้าดินนั้นใช้ปลูกไปนานๆก็จะขาดธาตุเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องหามาเพิ่มเติมโดยการใส่ปุ๋ยในรูปแบบต่างๆซึ่งธาตุอาหารในกลุ่มนี้จะมีอยู่ 3 ธาตุคือ
           ไนโตรเจน (N)
            ฟอสฟอรัส  (P)
            โปแตสเซียม
(K)
 
ไนโตรเจน ช่วยสร้างส่วนเจริญเติบโตที่เป็นสีเขียวในต้นพืชและยังเป็นส่วนสำคัญของคลอโรฟิลด้วย ในระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตต้องการธาตุนี้มาก และธาตุนี้จะได้จากอินทรีย์วัตถุในดินซึ่งมักจะมีไม่พอจึงต้อมีการเติมธาตุนี้ลงในดิน  การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง ปุ๋ยชนิดนี้ละลายน้ำได้ง่ายจึงอาจสูญเสียได้ง่ายเช่นกัน  กุหลาบที่ได้รับปุ๋ยนี้พอเพียงจะมีใบเขียวเข้มขึ้น ดอกสะอาด หากขาดธาตุนี้ใบจะเหลือง กิ่งก้านอ่อนแอ
 
ฟอสฟอรัส ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากและดอก ช่วยเคลื่อนย้ายและสะสมธาตุอาหารภายในต้นพืช ตามธรรมดาดินจะมีธาตุนี้ในปริมาณที่เพียงพอแต่มักจะอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ยาก หรือพืชดูดเอาไปใช้ได้ยาก นอกจากนั้นยังไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินเมื่อใส่ตรงไหนจะอยู่ตรงนั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยนี้จึงควรใส่บริเวณที่มีรากมากๆ เช่นใส่รองก้นหลุม ใส่ตามแนวปลายรากเพื่อให้พืชนำไปใช้ได้โดยตรง สำหรับอินทรีย์วัตถุที่มีธาตุนี้มากได้แก่กระดูกป่น ดังนั้นในการปลูกกุหลาบจึงนิยมเอากระดูกป่นผสมลงในดินด้วย   สำหรับกุหลาบที่ขาดธาตุนี้ใบจะมีสีเขียวออกเทา ใต้ใบแก่จะมีแถบสีม่วง หรือขอบใบไหม้
 
โปแตสเซียม ธาตุนี้จะช่วยให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ธาตุนี้จะช่วยให้กลีบดอกดีและเพิ่มความต้านทานโรคได้ดี กุหลาบที่ขาดธาตุนี้ขอบใบจะเป็นสีน้ำตาล คล้ายการไหม้
การใส่โปแตสเซียมมากเกินไปจะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต การใส่ธาตุนี้อาจใส่ขณะเตรียมดินหรือใส่ภายหลังก็ได้ ควรใส่เป็นจุดๆ ลึกลงไปใต้ผิวดินใกล้บริเวณราก อย่าให้ชิดรากมากนักเพราะอาจทำให้รากไหม้ได้
 
ธาตุอาหารรอง
       เป็นธาตุอาหารอื่นๆที่ไม่ใช่ 3 ธาตุที่กล่าวไปแล้ว เป็นธาตุที่ใช้น้อยแต่จำเป็นต้องใช้ ปกติจะไม่ค่อยใส่เนื่องจากในดินมีอยู่แล้ว ยกเว้นดินบางที่อาจขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง เช่นแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียมและโบรอน
ธาตุแคลเซียม   ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ถ้าขาดธาตุนี้ขอบใบจะแห้งตาย ส่วนตัวใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบจะร่วงก่อนแห้งตาย ดอกมีจุดสีน้ำตาลที่ขอบกลีบดอก กลีบดอกหงิกงอ
ธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลให้พืช  การขาดธาตุนี้ทำให้ใบเหลือง ใบหงิกงอ ใบจะมีสีขาวนวลโดยจะเกิดกับใบที่ผลิใหม่และลุกลามไปทั่วใบ
 
เราจะหาธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองได้ในปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอกโดยเฉพาะมูลวัวเหมาะที่สุด
สำหรับกุหลาบ  ปุ๋ยปลาช่วยให้ต้นกุหลาบแข็งแรง ออกดอกดก  ปุ๋ยกระดูกมีฟอสฟอรัสสูงเหมาะสำหรับกุหลาบ    ปุ๋ยเลือดมีไนโตรเจนสูงช่วยให้ต้นเจริญเติบโตเร็ว
 
            สำหรับปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารหลักสูงอยู่แล้ว ดังนั้นการเลือกใช้จึงต้องเลือกให้เหมาะสม สำหรับกุหลาบมักใช้ 3 สูตรคือ สูตร 5-10-5 สูตร 4-12-4สูตร 6-12-4 และควรใช้ให้สอดคล้องกับสภาวะอากาศเช่นต้นฤดูฝน  ต้นฤดูหนาว หรืออาจใช้ให้เหมาะกับระยะออกดอก  ระยะเริ่มแตกตาแตกยอด
 
วิธีการให้ปุ๋ย
            การให้ปุ๋ยเคมี   ควรโรยเป็นวงห่างจากโคนต้นประมาณ 1 ฟุต ไม่ควรให้เกินปีละ 5-6 ครั้ง ให้ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะแล้วแต่ขนาดต้นเล็กหรือใหญ่ ต้องรดน้ำก่อนและหลังใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้งโดยรดน้ำก่อน 1 วันและรดทันทีหลังใส่ปุ๋ย
 
             การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีการผสมสารกำจัดศัตรูพืชแล้วพ่นในเวลาเดียวกันได้ การพ่นควรพ่นใต้ใบให้ทั่ว ควรผสมยาจับใบเพื่อให้แน่ใจว่าธาตุอาหารจะติดกับใบอย่างสนิท การใช้ยามากอาจเกิดผลเสียจึงควรทำตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด ควรให้ปุ๋ยทางใบสลับกับให้ปุ๋ยทางราก การพ่นปุ๋ยควรพ่นจนเปียกและน้ำหยดจากใบพืชจะได้รับปุ๋ยเต็มที่
 

lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/...2/.../fertilize.htm -




การให้ปุ๋ยทางใบกับพืช



การให้ปุ๋ยทางใบอาจไม่ใช่เทคนิคใหม่เอี่ยมที่วงการเกษตรเพิ่งเริ่มใช้ แต่ในปัจจุบันการให้ปุ๋ยในลักษณะนี้ยังคงได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพดีหากเปรียบเทียบกับการให้ปุ๋ยแบบอื่นๆ การให้ปุ๋ยทางใบอาศัยหลักการทางสรีรวิทยาของพืชที่สำคัญ 2 ประการคือการแพร่และการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารพืช นั่นคือ

1) พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารจากสารละลายจากทางใบและชิ้นส่วนอื่นของพืชผ่านทางเยื่อหุ้มบางๆ ด้วยการแพร่ โดยอาศัยความแตกต่างของความดัน ความเข้มข้น อุณหภูมิ ภายในต้นพืชและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและน้ำในต้นพืชก็มีส่วนสำคัญที่จะเร่งหรือลดการดูดซึมทางใบได้ด้วย

2) พืชสามารถดูดธาตุอาหารจากสารละลายทางรากตามปกติจากพลังงานจากการสังเคราะห์แสงโดยหลักการลำเลียงทั้งแบบ active และ passive transport


ดังนั้นการให้ปุ๋ยทางใบมีเทคนิคพื้นฐานดังนี้
1) ในการให้ปุ๋ยทางใบควรใช้ปุ๋ยเฉพาะเท่านั้น เช่นปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเกร็ด อย่าพยายามคิดพิเรนทร์ไปใช้ปุ๋ยเม็ดที่ให้ทางดินมาละลายน้ำรดเด็ดขาด

2) ประสิทธิภาพในการแพร่ผ่านใบพืชจะทำได้ดีในเวลากลางวัน (ที่มีแสง) แต่ควรให้ปุ๋ยในช่วงเช้าที่แดดอ่อนเท่านั้น หากเป็นช่วงบ่ายที่แดดจัดก็ต้องเสี่ยงกับอาการไหม้ ทั้งนี้ในเวลากลางคืนไม่ใช่ว่าพืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่ามาก

3) ควรให้ปุ๋ยกับทุกส่วนของต้นพืช โดยให้ทุกส่วนของพืชเปียกน้ำให้นานที่สุด ควรรดน้ำให้พืชเปียกชุ่มก่อนแล้วจึงให้ปุ๋ยตาม ระยะเวลาในการดูดธาตุอาหารไปใช้จะมากเท่าที่ใบพืชนั้นเปียก อาจใช้สารจับใบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมด้วยก็ได้

4) อย่าพยายามใช้ความเข้มข้นของปุ๋ยเกินกว่าที่ระบุไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่อากาศร้อนและแดดจัด การให้ปุ๋ยจะปลอดภัยกว่าหากใช้ความเข้มข้นต่ำๆ อย่าลืมคนให้ผสมกันดีก่อนใช้ด้วยทุกครั้ง




www.bloggang.com/mainblog.php?id=nahoad&month=05... -











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (3917 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©