-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 333 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี




หน้า: 2/2



การผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้

นการปลุกเลี้ยงกล้วยไม้ นอกจากมีโรงเรือนที่ดีแล้ว เกษตรกรยังต้องรู้จักกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับต้องรู้จักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการใช้ผลผลิตดอกกล้วยไม้ที่มีคุณภาพที่ดี

ปุ๋ยยอดนิยม
ชาวสวนไม้ผลมีปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ 3 สูตร คือ 15-15-15,8-24-24 และ 13-13-21 สำหรับเร่งการเจริญเติบโตหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต การกระตุ้นการออกดอก และเพิ่มคุณภาพผลผลิต ตามลำดับ ในสวนกล้วยไม้ก็เช่นเดียวกัน จากการสอบถามข้อมูลการใช้ปุ๋ยของชาวสวนกล้วยไม้ ไม่ว่าจะปลุกล้วยไม้สกุลไหนก็พบว่า ปุ๋ยที่นิยมใช้พ่นมีอยู่ 2 สูตรคือ 20-20-20 หรือ 21-21-21,10-52-17 และ 16-21-27 สำหรับการเติบโตระยะแรก ระยะการออกดอก และเพิ่มคุณภาพดอก นอกจากเกษตรกรยังมีการเปลี่ยนแปลงสูตรปุ๋ยให้สอดคล้องกบสภาพดินฟ้าอากาศด้วย โดยที่ในฤดูฝนเกษตรกรจะใช้ปุ๋ยที่มีธาตในโตรเจนต่ำ และใช้ปุ๋ยที่มีโพรแทสเซียมสูงในช่วงที่อากาศเปลี่ยน และก็มีบ้างที่ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าในสวนที่ปลูกกล้วยไม้ในวัสดุปลูกต่างๆ ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้ที่อยู่ในปัจจุบันเป็นปุ๋ยเกล็ดที่ละลายน้ำได้ 100%ใช้พ่นทางใบและรากกล้วยไม้ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า การใช้ปุ๋ยที่มียูเรียสูงทำให้กล้วยไม้เน่าตาย และการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตช้า

ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ย
ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่พ่นให้แก่กล้วยไม้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 1,000 ถึง 4,000 ppm ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ที่ปลูก โดยที่ชาวสวนจะใช้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นต่ำ 1,000 ถึง 2,000 ppm พ่นให้แก่ออนซีเดียม ขณะที่ใช้ปุ๋ยความเข้มข้น 3,000 ถึง 4,000 ppm พ่นให้แก่แวนดา และหวาย ตามลำดับ การใช้ปุ๋ยกล้วยไม้โดยทั่วไปนั้นชาวสวนจะใช้สัปดาห์ละ 1ครั้ง และมีการให้น้ำวันะล 1ครั้ง วันที่ให้ปุ๋ยก๋พ่นสารละลายของปุ๋ยแทนการให้น้ำปกติไปเลย ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ก็ทำผู้เขียนมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า ในเมื่อชาวสวนต้องการรดน้ำทุกวันหรือเว้นวันอยู่แล้ว ทำไมไม่ให้ปุ๋ยกล้วยไม้ทุกครั้งที่รดน้ำด้วย โดยปรับลดความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยลง ซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่า และมีการสูญเสียของปุ๋ยน้อยกว่า แต่เมื่อถามชาวสวนกล้วยไม้ว่าทำไม ไม่พ่นสารละลายปุ๋ยเจือจางทุกวันก็ได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ทุกวันจะทำให้กล้วยไม้เน่าตายได้ง่ายกว่าการพ่นปุ๋ยใช้น้ำน้อยกว่าการให้น้ำตามปกติ

ทำไมไม่ผสมปุ๋ยใช้เอง 
ชาวสวนส่วนใหญ่คิดว่า การผสมปุ๋ยใช้เองเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ไม่รู้จะเลือกใช้แม่ป๋ยอะไร และไม่รู้จะผสมอย่างไร ประกอบกับผู้ผลิตบริษัทปุ๋ย เกล็ดสูตรต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ผสมธาตุอาหารรองและจุลธาตุไว้อย่างครบถ้วน ทำให้การใช้ปุ๋ยเกล็ดสำเร็จรูป กับกล้วยไม้ประสบผลสำแร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ต้นทุนค่าปุ๋ยในการผลิตกล้วยไม้ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงงานและค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้การผสมปุ๋ยใช้เองไม่ได้รับความสนใจจากชาวสวนกล้วยไม้เท่าที่ควรในแวลาที่ผ่านมา และจากภาวะวิกฤติป๋ยและสารเคมีป้องกันศัตรูพืชแพงในปัจจุบัน และราคาดอกกล้วยไม้ที่ไม่สำพันธ์กับราคาของปัจจัยการผลิต ทำให้เกษตรกรจำนวนมากเริ่มหาวิธีต้นทุนการผลิต ซึ่งการผสมปุ๋ยใช้เองก็เป็นวิธีหนึ่งทีสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก ถ้ามีการเลือกใช้อย่างถูกต้อง 

ปุ๋ยทุกชนิดที่ละลายน้ำสามารถใช้รดน้ำกล้วยไม้ได้ชาวสวนไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเกล็ดต่างๆ หรือปุ๋ยพิเศษใดๆเลย ผู้เขียนขอย้ำว่า “แม่ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้สามารถใช้เป็นปุ๋ยกล้วยไม้ได้เหมือนกับการใช้ปุ๋ยเกล็ดที่มีราคาค่อนข้างแพง” หรือแม้แต่ปุ๋ยเม็ดที่ละลายน้ำค่อนข้างช้าและมีกากกใช้ได้ เพียงแต่ชาวสวนต้องรู้จักเลือกใช้และมีการจัดการที่ถูกต้อง สำหรับการเลือกใช้แม่ปุ๋ยที่ละลายได้ดีนั้น การจัดการที่ผู้เขียนขอเน้นนั้นความสำคัญก็คือ การผสมเข้ากันได้ขแงแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด และการผสมจุลธาติและธาติอาหารรองทุกชนิดร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อย่างครบถ้วน ซึ่งการเติมจุลธาตุ และธาตุอาหารรองต่างๆ ลงในแม่ปุ๋ยผสม ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด ชาวสวนสามารถเลือกใช้จุลธาติรวมสำเร็จรูปซึ่งมักมีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วย แล้ว หรือจะเลือกปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารแต่ละชนิดก็ได้ นอกจากการใช้ปุ๋ยเกล็ดแล้ว ชาวสวนก็มีการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยการสรรหาฮอร์โมน วิตามิน หรือปุ๋ยน้ำที่เรียกกันว่าปุ๋ยชีวภาพมาใช้โดยที่ไม่ทราบเลยว่าสิ่งเหล่านี้มีผลเด่นชัดอะไรต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของกล้วยไม้ แต่ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีผลทางใจมากกว่า ว่าอย่างน้อยเราก็ได้ทำเหมือนสวนอื่น ทั้งนี้ชาวสวนอาจจะลืมไปว่า การคิดหรือลองทำไม่เหมือนคนอื่นดูบ้างอาจได้ผลที่ดีกว่าก็ได้ 


การยอมรับ
เป็นที่ทราบกันว่า การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของชาวสวนเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ต้องการมีการพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ผลดีจริง ดังนั้นหลังจากการอ่านตำรับตำราทางวิชาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ (ผู้เขียนไม่เคยรู้เรื่องหรือสนใจในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาก่อนเลยในชีวิตจนกระทั่งถูกเชิญมาร่วมทำงานวิจัยปุ๋ยกล้วยไม้)และจาการพูดคุยหรือสอบถามเรื่องราวต่างๆในการจัดการปุ๋ยและน้ำในสวนกล้วยไม้จากชาวสวนผู้มีประสบการณ์และผู้เขียนก็เริ่มคิดหากุศโลบายในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการยอมรับ โดยวางแผนการดำเนินงาน ในสวนกล้วยไม้ที่เจ้าของสวนสนใจและยอเสี่ยง (แบบมีหลักการหลังจากที่ผู้เขียนอธิบายว่าข้อดีมีมากกว่าข้อเสีย)ให้ผู้เขียนศุกษากับต้นกล้วยไม้ในสวนได้เป็นขั้นตอนดังนี้



 ขั้นที่ 1
เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า "การผสมปุ๋ยใช้เองไม่ใช่เรื่องยาก" ผู้เขียนไดด้คิดการคำนวณปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยใช้โปรแกรมเอ็กเซล (Excel)เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณปริมาณปุ๋ยแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในการผสมให้ได้สูตรปุ๋ย ความเข้มข้นปุ๋ย และปริมาณของสารละละปุ๋ยตามที่ต้องการซึ่งชางสวนที่มีคอมพิวเตอร์สามารถคิดคำนวณได้เองหรือให้ลูกหลานคำนวณให้กูได้ และการผสมก็ทำได้ง่ายเพียง ชั่งปุ๋ยแต่ละชนิด ใส่ลงในถังแล้วก็เดิมน้ำตามปริมาณที่ต้องการใช้กวนให้ปุ๋ยละลายหมดก็ใช้พ่นกล้วยไม้ได้เลย


 ขั้นที่ 2
เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า “การใช้ปุ๋ยที่ผสมเองให้ผลไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเกล็ด”ผู้เขียนเลือกใช้แม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ดี และไม่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ 40-0-0,15-0-0,0-52-34 และ 13-0-46 มาผสมให้ได้ปุ๋ยสูตรเดียวกันกับปุ๋ยเกล็ด ที่ชาวสวนใช้อยู่เดิม และให้ชาวสวนตัดสินใจเลือกใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีธาตุอาหารรองและจุลธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตผสมลงไปด้วยเพื่อให้กล้วยไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน และสะดวกแก่ชาวสวนในการจัดการ


 ขั้นที่ 3 
หาปุ๋ย "สูตรที่ใช่"หรือ "สูตรที่เหมาะสม"
กับกล้วยไม้ทุกอายุ จากประสบการณ์ในการศึกษาความต้องการธาติอาหารของพืชสวนหลายชนิด และจากข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืชพบว่า สัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในพืชโดยทั่วไปไม่ใช่ 1:1:1 (ปุ๋ยสูตร 20-20-20, 21-21-21,หรือ 15-15-15 มีสัดส่วนของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเท่ากับ 1:1:1) การพ่นปุ๋ยสูตรเสมอแก่กล้วยไม้เปรียบเสมือนคนบังคับให้ทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนมากกว่าสุขภาพ


 
ขั้นที่ 4
ลดต้นทุนค่าปุ๋ยโดยการใช้ธาตุรองและจุลธาตุแต่ละชนิดมาผสมเอง เนื่องจากปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีธาตุรองและจุลธาตุครบถ้วนมีราคาค่อนข้างแพงการทดลองที่องค์ประกอบของธาติอาหารเหล่านี้ให้ครบถ้วนตามที่กล้วยไม้ต้องการน่าจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อีกอย่างน้อย 20%


  
ขั้นที่ 5
ศึกษานความเป็นไปได้ในการใช้แม่ปุ๋ยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ชาวสวนกล้วยไม้ทุกคนไม่กล้าใช้ปุ๋ยคลอรีนเป็นองค์ประกอบทั้งๆที่ คลอรีนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นธาตุหนึ่งสำหรับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด เนื่องจากแม่ปุ๋ยที่มีคลอไรค์มีราคาถูกและละลายน้ำได้ดีการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์จะสมบ้างจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยลงได้อีกส่วนหนึ่ง



  
ขั้นที่ 6
หาเวลาในการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากกล้วยมีการสังเคราะห์แสงแบบพืชกลางคืน (ปากใบของพืชกลางคืนปิดเวลากลางวันเพื่อลดการสูญสียน้ำ และเปิดเวลากลางคืน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงเพื่อรับคาร์บอนไดออกไซต์เข้าสู่ใบ) จึงเกิดคำถามว่า "จำเป็นหรือไม่" ที่ต้องการให้ปุ๋ย และน้ำในเวลาที่สอดคล้องกันกับเวลาการปิดเปิดของปากใบทั้งๆที่ สามารถละลายปุ๋ยสามารถซึมผ่านผิวใบได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าทางปากใบ

ารศึกษาการผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้เริ่มในปีงบประมาณ 2549โดยดำเนินการศึกษาที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสวนเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม นนท์บุรี และอยุธยา รวม 4ราย นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรให้ต้นกล้วยไม้นำไปทดลองที่เชียงรายด้วยผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณเกษตรกรทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ต่อผู้เขียน จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นเวลาเกือบ 3 ปี การศึกษามีความก้าวหน้ามาจนถึงขึ้นที่ 5 แล้ว ผลการศึกษาพบว่าการผสมปุ๋ยใช้เองโดยใช้แม่ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีและมีราคาถูก ได้แก่ปุ๋ย 40-0-0และ 15-0-0เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ย 0-52-34 และ 12-60-0 เป็นแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส และปุ๋ย 13-0-46 เป็นแม่ปุ๋ยโพแทสเซียม ผสมเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 20-20-20 ,21-21-21 ,16-21-27 และ 10-52-17 และผสมจุลธาตุสำเร็จรูปลงไปก่อนนำไปใช้นั้นใช้ผลเช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป แต่การผสมปุ๋ยใช้เองมีต้นทุนต่ำกว่า ในภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากหรือหาซื้อได้ยากในอย่างปัจจุบันนี้ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจกับการผสมปุ๋ยใช้เองกันมากขึ้น นอกจากจะมีเกษตรกรสนใจโปรแกรมกาคำนวนปุ๋ยใช้เองมากขึ้นแล้ว ยังมีเกษตรกรไปดูงานในสวนที่มีการใช้ปุ๋ยผสมเองมากขึ้นดเวย ปัจจุบันผู้เขียนได้ทำตารางการผสมจุลธาตุเพิ่มเติมแทนการใช้จุลธาตุสำเร็จรูปเพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมเองมีราคาถูกลงอีกและกำลังดำเนินการทดลอง ในสวนแวนดาที่จังหวัดนครปฐมที่พ่นด้วยปุ๋ยที่ผสมเองทั้งหมดก็มีกาเจริญติบโตดีไม่แตกต่างการใช้ปุ๋ยราคาแพงเหลือเพียงการเฝ้าดูรอดูการออกดอกและคุณภาพของดอกเท่านั้นว่าจะดีทัดเทียมกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่ทดลองผสมปุ๋ยใช้เองก็พอใจที่ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตดี และมีความแข็งแรงกว่าเดิม
 
ตั้งแต่ต้องมารับผิดชอบดำเนินงานวิจัยเรื่องปุ๋ยกล้วยไม้ ผู้เขียนก็เริ่มหากล้วยไม้มาปลูกต้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แต่ชอบที่จะเลือกหาแต่ต้นเล็กๆมาปลูกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อที่จะได้สังเกต และเรียนรู้เรื่องการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ไปด้วย ที่บ้านใช้น้ำประปารดน้ำต้นไม้หลากชนิด ที่ปลูกไว้ผู้เขียนก็ใช้น้ำประปาผสมปุ๋ยพ่นกล้วยไม้ ที่บ้านใช้น้ำประปารดต้นไม้หลากชนิดที่ปลูกไว้ ผู้เขียนก้ใช้น้ำประปาผสมปุ๋ยพ่นยกล้วยไม้ และใช้น้ำประปารดต้นกล้วยไม้เช่นเดียวกับต้นไม้อื่น ๆเป็นประจำทุกวันโดยไม่มีการเก็บน้ำใส่โอ่งไว้ก่อนเพื่อรอให้คลอรีนในน้ำประปาระเหยหายไป ต้นกล้วยไม้ก็จะเจริญเจิบโตดีในสายตาของผู้เขียน และก็ทยอยออกดอกให้ชื่นชมอยู่เรื่อยๆ ข้อเสียของการใช้น้ำประปาก็คงมีอยู่เพียงประการเดียว คือ มีราคแพงแต่ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือหมู่บ้านจัดสรรทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่อยากมีเรือนกล้วยไม้เล็กๆ ไว้ชื่นชมจากการที่ผู้เขียนใช้น้ำประปารดกล้วยไม้และกล้วยไม้มีการเจริญเติบแออกดอกเป็นปกตินี้ ทำให้คิดว่าคลอไรค์ไม่น่าที่จะมีผลเสียต่อกล้วยไม้มากอย่างที่แกษตรกรมีความเชื่อกันมานาน ซึ่งงานวิจัยใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์ที่กำลังดำเนินการทอลองอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายก็มีแนวโน้มให้เห็ฯว่ากล้วยไม้ที่ได้รับปุ๋ยคลอไรค์ก็มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากต้นกล้วยไม้ที่ใส่ปุ๋ยที่ไม่มีคลอไรค์
 
ทั้งหมดที่เขียนเล่าสู่กันฟังนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์เล็กๆน้อยๆแก่ชาวสวนกล้วยไม้ และเมื่องานวัยสิ้นสุดลงในอีก 2 ปีข้างหน้าคงจะมีโอกาสได้นำผลการศึกษาทั้งมดมาเล่าสู่กันฟังต่อไป





การผสมปุ๋ยใช้เอง จำนวน 1,000 ลิตร (50 ปิ๊บ) เข้มข้น 4,000 ppm

   สำหรับกล้วยไม้สกุลหวาย 

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
13-0-46
4-2-5
277.8
1748.5
801.3
1672.4
20-20-20
274.3
1524.3
1582.3
619.2
16-21-27
214.5
1001.1
1624.2
1160.2

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
13-0-46
4-2-5
268.6
870.2
671.5
2189.7
20-20-20
256.9
783.1
1284.5
1675.5
16-21-27
200.6
275.5
1316.4
2207.6

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-0-50
4-2-5
241.8
1340.3
604.5
1813.4
20-20-20
236.8
1158.3
1184
1420.8
16-21-27
180.4
808.9
1184
1826.7
 
สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
0-52-34
13-0-46
4-2-5
256.1
1586.7
738.8
1418.4
20-20-20
265.9
16447.6
1534.3
552.3
16-21-27
202.6
1255.2
1534.1
1008.1
 
สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-52-34
10-52-17
127.1
314.9
1651.9
1906.1
9-45-15
130.6
349.0
1600.2
1920.2

** ทุกสูตรต้องผสมจุลธาตุรวมสำเร็จรูปอัตรา 100-150 กรัม/สารละลายปุ๋ย 1,000 ลิตร ก่อนนำไปพ่น





การผสมปุ๋ยใช้เอง จำนวน 1,000 ลิตร (50 ปิ๊บ)เข้มข้น 3,000 ppm

   สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนดา ออนซิเดียม ม็อคคารา 

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
0-52-34
13-0-46
4:2:5
127.4
981.9
612.5
1278.2
3:2:5
108.9
736.4
698
1456.7
3:1:5
115.2
701.8
369.2
1813.8

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
13-0-46
4:2:5
123.1
619.4
512.9
1672.6
3:2:5
104.7
416.2
581.8
1897.2
3:1:5
112.8
530.1
313.4
2043.7

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-0-50
4:2:5
110.6
1046.0
460.9
1382.6
3:2:5
92.8
844.2
515.7
1547.2
3:1:5
99.1
973.3
275.4
1652.2

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
0-52-34
0-0-50
4:2:5
117.3
1236.4
563.8
1082.5
3:2:5
99.1
1045.2
635.5
1220.1
3:1:5
102.6
1081.9
328.9
1486.6
 
สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-52-34
10-52-17
57.4
262.2
1244.5
1435.9
9-45-15
59.0
288.6
1205.6
1446.8

** ทุกสูตรต้องผสมจุลธาตุรวมสำเร็จรูปอัตรา 100-150 กรัม/สารละลายปุ๋ย 1,000 ลิตร ก่อนนำไปพ่น


แหล่งที่มา : นันทรัตน์ ศุภกำเนิด กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร 02 9405484 ต่อ 143
เอกสารประกอบ :



http://orchidnet.doae.go.th/home/technic_orchid.php?c=1&d=3&id=54







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (7377 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©