-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 475 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี








ธาตุ Calcium ในระบบ Hydroponics 

รศ.ดร.อิทธิสุนทร  นันทกิจ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 

ความสำคัญของธาตุ
Calcium ในระบบ Hydroponics            

ปัญหาการขาดธาตุ Ca ในระบบ Hydroponics เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากโดยเฉพาะ ในผักสลัดจะเกิดอาการ Tip burn ในมะเขือเทศและพริกหวานเกิด Blossom-end rot อาการขาด Ca มักเกิดจากมีปริมาณ Ca ไม่เพียงพอในพืช แต่ไม่ได้หมายความว่า Ca ในสารละลายไม่เพียงพอ แต่เป็นปัญหาอัตราการดูดใช้ Ca ของพืชไม่เพียงพอ กล่าวคือในสารละลายถึงแม้จะมีปริมาณ Ca ในปริมาณมากพอเพียงกับความต้องการของพืชแต่มีปัญหาอัตราการดูดใช้ Ca ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นปัญหาของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือความไม่สมดุลของธาตุอาหารในสารละลายไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอัตราส่วนของ Ca กับ Cation ตัวอื่นเช่น NH4+, K+,Mg++

หน้าที่ของ Ca            
หน้าที่ของ Ca คือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ คือส่วนของ Calcium pectate ทำหน้าทีคล้ายกาวเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกันซึ่งทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ดังนั้นเป็นตัวทำให้ผลและใบแข็ง ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ส่วนของเซลล์หลวมอ่อนแอและตายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และธาตุ Ca เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่ในพืช ดังนั้นจะต้องมีปริมาณ Ca ในพืชอย่างพอเพียงตลอดเวลา พืชไม่สามารถเคลื่อนย้าย Ca ไปยังเซลล์ใหม่ได้ อาการขาดจะเกิดและแสดงอาการที่ส่วนยอด ที่พบบ่อยในผักคืออาการ Tip burn โดยยอดผักสลัดใบยอดจะมีอาการขอบใบไหม้มีสีน้ำตาลหรือดำ ในมะเขือเทศและพริกหวานจะเกิดที่ปลายผลเซลตายเป็นสีดำและเน่าในที่สุด เรียกว่า Blossom-end rot ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งที่ปลูกในดินและใน Hydroponics            

การดูดใช้ Ca ของพืช Ca
เมื่อถูกดูดเข้าในต้นพืชส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่อยู่ใน Xylem แบบ Passive transport ไปตามกระแสการไหลเวียนของสารละลายในXylem สู่ส่วนยอดของต้นพืช ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืชซึ่งจะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายใน Xylem ช้าลง จะมีผลต่อการดูดใช้ Ca ของพืชด้วย กล่าวคือ Ca จะเคลื่อนที่ไปตามลำสารละลายใน Xylem ดังนั้นบริเวณใดในพืชที่มีการคายน้ำน้อยเช่นส่วนยอดของใบอ่อนที่ถูกห่อหุ่มด้วยใบอ่อน หรือที่ปลายผลก็มีโอกาศที่จะขาด Ca ได้เป็นส่วนแรกในกรณีที่มีระดับ Ca ไม่เพียงพอ ส่วนใบแก่จะมีอัตราการคายน้ำสูงก็จะมีการเคลื่อนที่ไปส่วนนั้นได้เพียงพอ การป้องกันการขาด Ca อาจทำได้โดยการฉีดพ่น Ca ให้ทางใบได้ แต่ปัญหาคือการขาด Ca บางครั้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนคาดไม่ถึงว่าจะเกิด และบางครั้งเกิดขึ้นแล้วแต่มองไม่เห็นเช่นในผักสลัดที่ใบอ่อนถูกหุ้มด้วยใบแก่ด้านนอก ใบอ่อนเกิดอาการ Tip burn โดยใบแห้งตายที่ขอบใบ และเมื่อใบออ่นโตขึ้นพ้นจากใบที่ห่อหุ้มอยู่จึงแสดงให้เห็นซึ่งเป็นการสายที่จะแก้เพาะผักสลัดที่ได้ไม่สามารถขายได้           

อาการขาด Ca
เนื่องจาก Ca  เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่กล่าวคือเมื่อพืชใช้ Ca เป็นองค์ประกอบของส่วนต่างๆในพืช เมื่อปริมาณ Ca ไม่เพียงพอ Ca ในส่วนต่างๆของพืชไม่สามารถเคลื่อนที่จากส่วนต่างๆเหล่านั้นไปยังส่วนเจริญอื่นๆได้ เช่นที่ใบอ่อน หรือส่วนยอด ดังนั้นอาการขาดจะแสดงที่ส่วนยอดเจริญของต้นและราก โดยอาการที่แสดงให้เห็นคือ มีการเจริญเติบโตผิดปกติของใบอ่อน ใบอ่อนจะโค้งงอลง ใบอาจแสดงขอบใบเป็นสีเหลืองและเมื่อขาดนานเข้าจะแสดงอาการใหม้เป็นสีน้ำตาลถึงดำ ซึ่งจะพบบ่อยมากในผักสลัดเป็นอาการที่เรียกว่า Tip burn ในมะเขือเทศและพริกหวาน จะแสดงอาการที่เรียกว่า Blossom-end rot โดยจะแสดงก้นเน่า และการเจริญของรากที่ขาด Ca จะเจริญไม่ดีรากสั้นและเป็นสีน้ำตาล            

อาการ Tip burn ในพืชผักพืชที่มักแสดงอาการ Tip burn ได้แก่พวกผักสลัด (lettuce) โดยเฉพาะชนิดที่มีลักษณะเป็นหัวห่อและอาจพบในพวกกะหล่ำ (Cabbage) อาการขาดจะเกิดที่ใบที่อยู่ด้านในโดยขอบใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนในผักพวก Spinach ใบอ่อนจะแสดงขอบใบไหม้           

ในหน้าร้อนจะพบ Tip burn บ่อยขึ้นในฤดูอื่นก็อาจพบ Tip burn เช่นกัน ต้นเหตุของ    Tip burn เกิดจากการขาด Ca ในส่วนที่มีอาการขาด แต่โดยทั่วไปไม่ได้เกิดจากที่สารละลายขาด Ca แต่จะเกิดในช่วงที่อัตราการดูดใช้ของ Ca ต่ำ และมีการอัตราการเจริญเติบโตของพืชอย่างร่วดเร็ว           

การเกิด Tip burn จะเกิดในช่วงที่อัตราการคายน้ำของพืชสูงกว่าอัตราการดูดน้ำของราก หรือในสภาพตรงข้ามคือในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูงจนอัตราการคายน้ำของพืชต่ำมาก กล่าวคือทั้งสองสาเหตุ จะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายธาตุอาหารพืชจากรากสู่ยอดถูกจำกัดพืชก็มีแนวโน้มเกิด Tip burn ปกติ Tip burn จะพบเมื่อผักสลัดใกล้เก็บเกี่ยว ใบอ่อนที่อยู่ภายในหัวผักสลัดการคายน้ำจะถูกจำกัดโดยใบข้างนอกที่ห่อหุ้มอยู่โดยเฉพาะช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงผักมีโอกาศเกิด Tip burn ได้สูงถ้าการเก็บเกี่ยวช้า นอกจากนี้สาเหตุอีกอย่างที่อาจทำให้เกิด Tip burn คือค่าความเข้มข้นสารละลายสูง เกินไป ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างที่สำคัญมากคือชนิดและพันธ์พืชที่ปลูก นั่นคือวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน Tip burn คือเลือกพันธ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn
            
จากข้อมูลต่างๆสามารถสรุปปัจจัยที่ก่อให้เกิด Tip burn คือ
1. สภาพอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด
2. มีลมร้อนและแห้ง
3. ค่า EC สารละลายสูง
4. สภาพรากพืชเจริญไม่ดีเนื่องจากรากขาดออกซิเจน
5. สารละลายมีปริมาณ K+ และไนโตรเจนโดยเฉพาะในรูป NH4+ สูง เนื่องจากทั้งสองตัวจะยับยั้งการดูด Ca++
6. สภาพที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง จากสาเหตุดังกล่าวเราสามารถลดการเกิด Tip burn ได้ดังนี่
1. รักษาระดับ Ca ในสารละลายให้สูงอยู่เสมอ
2. ป้องกันไม่ให้ระดับ K+ และ NH4+สูงเกินไปในสารละลาย
3. ใช้สารละลายที่มี NO3- เป็นองค์ประกอบหลีกเลี่ยงการใช้ NH4+ เนื่องจาก NH4+ จะยับยั้งการดูดใช้ Ca++
4. พลางแสงให้กับพืชเมื่ออุณหภูมิและแสงแดดจัดเกินไป
5. เลือกพันธ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn
6. ป้องกันการเพิ่มของค่า EC ระหว่างปลูกโดยเฉพาะช่วงที่พืชมีการคายน้ำสูงมากทำให้พืชมีอัตราการดูดใช้น้ำมากกว่าธาตุอาหารทำให้ค่า EC สูงขึ้น ในช่วงนี้ต้องค่อยปรับค่า EC ไม่ให้สูงเกินไป 

นอกจากนี้มีการทดลองพบว่าในการปลูกผักในระบบ NFT ในเวลากลางวันให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่มีค่า EC=2mC/cm และในเวลากลางคืนให้ Ca(NO3)2 ที่ความเข้มข้น 100 mg/l พบว่าการเกิด Tip burn ลดลงเมื่อเทียบกับให้สารละลายอย่างเดียวทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งการให้ ในเวลากลางคืนมีผลให้ปริมาณ Ca ในใบเพิ่มขึ้นด้วย



www.kmitl.ac.th/hydro/Cadoc.htm -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (2878 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©