-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 477 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี








ข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในการผลิตพืช



การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีเทคโน
โลยีในการจัดการธรตุอาหารพืชที่เหมาะสม  ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้เป็นธาตุอาหารพืชจะต้องมี
ประสิทธิภาพ  มีคุณค่าและต้นทุนเหมาะสมกับราคาผลผลิต จึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่า
กับการลงทุน  การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายสมบูรณ์
ด้วยจุลินทรีย์นั้น แม้จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างช้าๆ  
และมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหาร
เสริม  สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพได้ด้วย  ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมี
ก็มีข้อดีที่ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารหลักมาก พืช
ใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้ในไร่นา

          
แต่ปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากเกษตร
กรมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์เหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เศษพืช ผลพลอยได้
จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดย
จุลินทรีย์หรือทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น 
พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่าการใส่ในรูปของวัสดุอินทรีย์โดยตรง แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่าง
เดียวจะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อยและมีค่าใช้จ่ายค่าแรงงานในการใส่มาก

ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี หรือการผลิตปุ๋ยเคมีเป็นสูตรต่างๆ และหาวิธีการใช้
ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน พืชและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ใน
การเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้



การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง 
เพราะจะได้มีการนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ของพืชหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทำ
ให้ธาตุอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดินไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด ทำให้
มีการเติมปุ๋ยเคมีน้อยลงได้ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ ตัวอย่างในการ
ปลูกอ้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น ดินเหนียวในภาคกลาง มีความต้องการใส่ปุ๋ยน้อยกว่าดิน
ร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น   

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง  ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์
ให้มีความเหมาะสม ในการปลูกพืช  ช่วยในการใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังผลงานวิจัยต่อ
ไปนี้

          
การปลูกข้าว  
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ  อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตร
เจนครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ
ตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 
ช่วยให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมัก
ปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%

          

การปลูกข้าวโพดหวาน 
การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการ
ไม่ใส่ปุ๋ย 23%อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ย
เคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว

          

การปลูกยางพารา 
การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพารา
สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม
ขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และ
รายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถ
ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพาราที่ จ. สงขลา



          

การปลูกอ้อย   
การใช้ปุ๋ยหมักและมูลวัวร่วมกับปุ๋ยเคมี 75% ของอัตราแนะนำในอ้อย ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุด
กำแพงเพชร  ช่วยให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 56 และ 66% ตามลำดับ โดยสูง
กว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 17 และ 27% ตามลำดับ แต่การใส่มูลวัวตากแห้งร่วมกับปุ๋ยเคมี
75% อัตราแนะนำ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%

          

การปลูกมันสำปะหลัง 
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว แต่เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยหมัก
มากถึง 2 ตันต่อไร่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง รายได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จึงไม่เพียงพอกับต้นทุน
ค่าปุ๋ยหมักที่ใส่  ทำให้การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าการใช้ปุ๋ย
หมักร่วมกับปุ๋ยเคมี

          

การปลูกกระเจี๊ยบเขียว   
การใช้ปุ่ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตสูง และมีรายได้ทั้งหมดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว    
แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไม่ได้ทำให้เกษตรกรมี
รายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงอยู่แล้ว เกษตรกรจึงควรมีการวิเคราะห์ดินก่อน
ใส่ปุ๋ยให้กับพืช



แนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี

ข้อมูลจากการวิจัย สรุปได้ว่าการใช้ปุ่ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์  มีประโยชน์ช่วยเพิ่มผลผลิตพืช  
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรต้องใช้ให้ถูกต้อง  ใน
ดินบางชุดและในการปลูกพืชบางชนิด เช่น ยางพาราและอ้อย จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มทั้งผลผลิต
และรายได้ ทั้งนี้เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกัน ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนค่าปุ๋ย
เคมีลดลง

          
ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้น
ทุนค่าปุ๋ยที่เคยซื้อได้  เพราะการใช้วัสดุอินทรีย์ที่ไม่ได้หมักมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุน
ค่าขนส่ง  และไม่เหมาะสมในการใส่ให้กับพืชที่ปลูกแล้ว เพราะจะทำให้พืชมีอาการขาดไนโตรเจน
ชั่วคราว  การส่งเสริมให้มีการหมักวัสดุอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรกรเองจนได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วผสม
กับปุ๋ยเคมีใส่ให้กับพืชในอัตราที่เหมาะสม จะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนค่าปุ๋ยลดลง มีความคุ้มค่าในทาง
เศรษฐกิจ


          


ขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขป ประกอบด้วย

          
1. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
2. การหาสูตรปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่เหมาะสมกับดินและพืชแต่ละชนิดในพื้นที่ 
3. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้ได้ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. ปุ๋ย ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2550 
4. การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 
5. การทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีในการผลิตพืชในพื้นที่ สวพ. เขตที่ 1-8 สังกัดกรมวิชา
เกษตร  เน้นการทดสอบเพื่อจะหาวิธีการใช้ที่ช่วเพิ่มผลผลิตและรายได้สูงสุดให้เกษตรกร 
6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรนำไปใช้

          
ปุ๋ยเคมียังมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตพืช  ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญต่อการปรับปรุงบำรุงดิน
ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ จึงน่าจะเป็นวิธีการบูรณาการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
มากวิธีหนึ่ง





 

กรมวิชาการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0-2561-2525, 0-2940-6864
โทรสาร : 0-2579-4406


it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_6-july/rai.html -










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (3576 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©