-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 380 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี




หน้า: 1/2


การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง


ประโยชน์ที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง

รัฐสามารถลดการนำเข้าจากทั้งหมดปีละ 3.6 ล้านตัน/ปี (เป็นสูตรสำเร็จ 1.8 ล้าน
ตัน) จึงทำให้ลดเงินตราต่างประเทศ จากการนำเข้าปุ๋ยสำเร็จที่มีสารตัวเติม 4,320
ล้านบาท/ปีและลดค่าใช้จ่ายซื้อสารตัวเติมในประเทศ 3,240 ล้านบาท ซึ่งการลดค่า
นำเข้า ค่าเก็บโกดัง ค่าขนส่งทั่วประเทศ ค่าดอกเบี้ย ค่าบรรจุ ฯลฯ ที่เกษตรกรจ่าย ปีละ
1,620 ล้านบาท

สารตัวเติม ได้แก่ ดินทราย ดินขาว ยิบซั่ม ฯลฯ ที่รวมอยู่ในปุ๋ยสูตรสำเร็จแต่ขายราคา
เดียวกัน ถ้าเกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองเพียง 20% ของจำนวนปุ๋ยที่ใช้ทั้งประเทศ จะลด
ค่าใช้จ่ายสารตัวเติมถึงปีละ 1,840 ล้านบาท และปุ๋ยผสมใช้เองถูกกว่าปุ๋ยสำเร็จถึงตัน
ละ 1,000-1,500 บาท

        
การผสมปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ใช้เองคือการนำแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0, ปุ๋ยสูตร 46-0-0
และปุ๋ยสูตร 0-0-60 มาผสมให้เข้ากันตามตารางผสมปุ๋ยที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำขึ้น
และสามารถผสมได้ทุกสูตรที่มีขายในท้องตลาด


อุปกรณ์
เครื่องชั่งขนาด 25-50 กก., พลั่วหรือจอบ, ถังและขันพลาสติค, แม่ปุ๋ย

ขั้นตอนการผสมปุ๋ย
เลือกสูตรและอัตราการใช้กับพืชจากคำแนะนำ คำนวณหาปริมาณ และชั่ง แม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากตาราง
นำแม่ปุ๋ยที่ชั่งได้เทลงบนพื้นเรียบและแห้ง ใช้จอบ, พลั่ว ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยในกองให้เข้ากัน นำบรรจุ
กระสอบเพื่อขนย้ายไปไร่นา การหว่านหรือใส่ต้องใส่ปริมาณน้อยกว่าเดิมเพราะไม่มีสารตัวเติม



ข้อด

  • ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม/ปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
  • ใช้ปุ๋ยราคายุติธรรม มีทางเลือกเพิ่มขึ้น
  • สูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
  • ถ้าชำนาญสามารถปรับสูตรได้
  • มีอำนาจในการต่อรองราคา
  • มีปุ๋ยใช้ทันเวลา


ข้อจำกัด

  • เสียเวลาผสม (10 กระสอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
  • ผสมแล้วควรใช้ให้หมดใน 30 วัน
  • แม่ปุ๋ยมีขายไม่ครบทั้ง 3 ชนิด
  • แหล่งขายแม่ปุ๋ยมีน้อย
  • ต้องอ่านเข้าใจจึงทำได้
  • ต้องมีตารางผสมปุ๋ย



     ปุ๋ยที่ขายในท้องตลาดและสารตัวเติม

ปุ๋ยสำเร็จ
สารตัวเติม
ปุ๋ยสำเร็จ
สารตัวเติม
9-3-9
61
12-3-6
57
16-4-0
59
18-4-5
46
10-5-9
56
11-6-4
60
16-4-5
50
16-4-4
52
16-14-0
46
14-4-9
49
16-4-8
46
16-6-5
47
18-6-4
45
18-11-5
37
6-18-12
40
16-20-0
38
15-15-6
37
16-4-6
49
18-11-5
37
16-10-4
44
18-10-6
37
16-8-8
40
15-5-14
36
15-5-5
51
14-14-14
36
18-6-6
41
4-16-24
25
20-10-5
34
25-7-7
24
6-12-24
30
14-9-20
23
16-8-14
30
15-15-15
22
7-13-19
34
16-9-18
22
12-10-18
30
12-24-12
22
16-16-8
29




     การใช้แม่ปุ๋ยผสมคิดจาก 100 กิโลกรัม

ปุ๋ยสูตร
น้ำหนักแม่ปุ๋ยที่ใช้ (กก.)
ตัวเติม (กก.)
18-46-0
46-0-0
0-0-60
16-20-0
44
18
0
38
16-16-8
35
22
14
29
15-15-15
33
20
25
22
13-13-21
29
17
35
19
12-24-12
52
6
20
22
9-24-24
52
-
40
8
16-8-14
18
28
24
30
18-12-6
26
30
10
34
3-10-30
22
-
50
28
18-10-6
22
31
10
37
19-19-19
42
25
32
1
25-7-7
16
48
12
24
21-7-14
16
40
24
20
8-16-24
35
4
40
21
สนใจเอกสารติดต่อขอได้สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว โทร 0-2579-7515
หรือ
หน่วยงานของกรมการข้าวที่อยู่ใกล้บ้านท่าน


www.brrd.in.th/rkb/data.../rice_xx2-04_manage_004.html -



การผสมแม่ปุ๋ยใช้เอง

ปัจจุบัน เกษตรกรที่มีอาชีพในการทำสวน เช่น ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  ไม้ผล
ต่าง ๆ ไม้ดอก ไม้ประดับและพืชผัก มีความต้องการที่จะเพิ่มผลผลิต ให้สูงขึ้นทั้งสิ้น
ซึ่งในการที่จะเพิ่มผลผลิต
   
นอก จากเกษตรกรจะใช้พืชพันธุ์ที่ดีแล้ว การดูแลบำรุงรักษา ก็ต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมี
ที่ดีด้วย จากปัญหาปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในท้องตลาดมีราคาแพง เกษตรกรจึงควรที่จะ
ลดต้นทุนการผลิตโดยการผสมปุ๋ยเคมีขึ้นใช้เอง เพื่อให้เกิดผลกำไรมากขึ้น นอกจาก
นี้ยังทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจได้ว่าปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรผสมขึ้นมาเอง มีคุณภาพ
และปริมาณธาตุอาหารตรงตามที่ต้องการ และไม่ปลอมแน่นอน

   
ปุ๋ยผสม
หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารอยู่ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป โดยการนำอาแม่
ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยมีธาตุอาหารตรงตามเกรดหรือสูตรที่
เกษตรกรต้องการ

   
แม่ปุ๋ย
หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ในการทำปุ๋ยผสม โดยแม่ปุ๋ยเคมีอาจเป็นปุ๋ยเชิง
เดี่ยวหรือปุ๋ยเคมีที่ใช้ธาตุอาหารรับรองแก่ พืชเพียงธาตุเดียว หรือ 2 ธาตุ คือ
ไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโปตัสเซี่ยม


ชนิดของแม่ปุ๋ยเคมีที่ให้ปริมาณธาตุอาหารรับรอง

- ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ได้แก่ แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0)
แอมโมเนียคลอไรด์ (25-0-0) แอมโมเนียมไนเตรท(34-0-0) ยูเรีย
(46-0-0)
   
- ธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) ได้แก่ ร๊อคฟอสเฟต (0-3-0) ซูเปอร์
ฟอสเฟต (0-20-0) ดับเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-40-0) ทริปเปิ้ลซุป
เปอร์ฟอสเฟต (0-46-0)
   
- ธาตุอาหารโปตัสเซี่ยม (K) ได้แก่ โปตัสเซี่ยมซัลเฟต (0-0-50)
โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ (0-0-60)
   
- ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) ได้แก่ ไดแอมโมเนียม
ฟอสเฟต (18-46-0) โมโนแอมโมเนียฟอสเฟต (11-52-0)
   
- ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) และโปตัสเซี่ยม (K) ได้แก่ โปตัสเซี่ยมไน
เตรท (13-0-46)



วิธีการผสมปุ๋ยเคมี
เมื่อเกษตรกรทราบแล้วว่าจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีชนิดใด และน้ำหนักสุทธิที่จะใช้เท่าใด
แล้ว ก็นำมาผสมกัน เกษตรกรควรรู้วิธีผสมและวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้คือ
  
1. ควรผสมบนพื้นปูนซิเมนต์ที่แห้ง หรือบนพื้นดินที่เรียบมีผ้าใบรองพื้น
2. ควรผสมไม่เกินครั้งละ 200 กิโลกรัม เพราะจะทำให้ปุ๋ยผสมคลุกเคล้าไม่
ทั่วถึง
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมควรแห้ง เช่น จอบ พลั่ว หากต้องการปริมาณมาก
ควรใช้เครื่องปูนซีเมนต์ หรือเครื่องผสมอาหารสัตว์ขนาดเล็กที่ได้
4. ให้เทแม่ปุ๋ยที่จะผสมจำนวนมากให้อยู่ด้านล่าง ส่วนปริมาณน้อยให้ไว้ชั้น
บนขึ้นมาตามลำดับ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำไปใช้ทันที


การเก็บรักษา
1. เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีไม่หมดให้เก็บไว้ในกระสอบพลาสติกสานชั้นนอก โดยชั้นใน
มีถุงพลาสติกใสเรียบร้อยหรือมัดปากถึงชั้นในและนอกให้แน่นสนิท
2. ควรเก็บไว้ในที่ร่ม และแห้ง ไม่โดนแสงแดดและฝน
3. หากวางบนพื้นปูนซีเมนต์ควรมีไม้รองรับ

ตัวอย่างการคำนวณปุ๋ยผสม
ถ้าหากต้องการปุ่ยผสมสูตร 20-8-20  โดยใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัว ดังกล่าว

วิธีการคำนวน
คำนวณหา % ฟอสฟอรัส ก่อน
8 % ฟอสฟอรัส ใช้แม่ปุ๋ยไดแอมฯ  = 8x100  = 17.4  กก.
                                                               
แม่ปุ๋ยไดแอมฯ 17.4 กก. มีไนโตรเจนติดมาด้วย = 18 x 17.4 = 3.1 กก.
                                                                               
 
ดังนั้น นำไนโตรเจน 3.1 กก. ไปหักออกจากไนโตรเจน 20 % จากสูตรที่ต้อง
การผสม ไนโตรเจนยังขาดอีก 16.9 กก. (20-3.1=16.9 กก.) เอาไป
คำนวณหาจากแม่ปุ๋ยยูเรีย
                   
ต้องการไนโตรเจน 16.9 กก. ใช้ยูเรีย 16.9x100 = 36.7 กก.
                                                                             
และต้องการโพแทสเซี่ยม 20% ใช้โพแทสเซี่ยมคลอไรด์ 20x100=33.3 กก.
                                                                                  
ดังนั้น เพื่อให้ได้ปุ๋ยผสมที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน 20 กก. ฟอสฟอรัส 8 กก.
และโพแทสเซี่ยม 20 กก. หรือสูตร 20-8-20 จะต้องใช้แม่ปุ๋ย    
                            
 
- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต  =  17.4  กก.
- ปุ๋ยยูเรีย             =   36.7  กก. 
- ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์   =   33.3  กก.
                               
รวมน้ำหนักปุ๋ยผสม          87.4  กก.
       

เนื่องจากน้ำหนักปุ๋ยที่ผสมได้ไม่ครบ 100 กก. แสดงว่าปุ๋ยผสมที่ได้ มีสูตรสูงกว่า
ที่กำหนดไว้ ดังนั้น เมื่อนำปุ๋ยผสมนี้ไปใช้ก็ต้องลดอัตราปุ๋ยที่ควรจะใช้โดยวิธีคำนวณ
เช่น  ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20 ต้นยางอายุ 15 เดือน ที่ปลูกในเขตปลูกยางเดิม
เป็นดินร่วน ใช้อัตรา 150 กรัม/ต้น แต่เมื่อใช้ปุ๋ยผสมเองจะต้องใส่เพียง 130 
กรัม/ต้น เท่านั้น
                  
การคำนวณ น้ำหนักปุ๋ย  100 กก. ใช้อัตรา  = 150  กรัม
น้ำหนักปุ่ย 87.4 กก. ใช้อัตรา = 150x87.4 = 131.10 กรัม/ต้น
                                                                                  
หรือประมาณ  130  กรัม/ต้

    
 http://web.ku.ac.th/agri/fertilizer/table.htm
  


อุปกรณ์



เครื่องชั่งขนาด 25-50 กก., พลั่วหรือจอบ, ถังและขันพลาสติค, แม่ปุ๋ย




ขั้นตอนการผสมปุ๋ย


            
เลือกสูตรและอัตราการใช้กับพืชจากคำแนะนำ คำนวณหาปริมาณ และชั่ง แม่ปุ๋ยแต่
ละชนิดจากตาราง นำแม่ปุ๋ยที่ชั่งได้เทลงบนพื้นเรียบและแห้ง ใช้จอบ, พลั่ว ผสม
คลุกเคล้าปุ๋ยในกองให้เข้ากัน นำบรรจุกระสอบเพื่อขนย้ายไปไร่นา การหว่านหรือใส่
ต้องใส่ปริมาณน้อยกว่าเดิมเพราะไม่มีสารตัวเติม


ข้อด

  • ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม/ปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
  • ใช้ปุ๋ยราคายุติธรรม มีทางเลือกเพิ่มขึ้น
  • สูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
  • ถ้าชำนาญสามารถปรับสูตรได้
  • มีอำนาจในการต่อรองราคา
  • มีปุ๋ยใช้ทันเวลา

ข้อจำกัด

  • เสียเวลาผสม (10 กระสอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
  • ผสมแล้วควรใช้ให้หมดใน 30 วัน
  • แม่ปุ๋ยมีขายไม่ครบทั้ง 3 ชนิด
  • แหล่งขายแม่ปุ๋ยมีน้อย
  • ต้องอ่านเข้าใจจึงทำได้
  • ต้องมีตารางผสมปุ๋ย

bio5thailand.igetweb.com/index.php?mo=3&art=314836 -





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©