-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 329 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปุ๋ยเคมี








 

ปุ๋ยเคมี



เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะเราต้องการนำธาตุอาหารที่มอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่
มากน้อยเท่าใด ดูได้จากตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า
สูตรปุ๋ย


สูตรปุ๋ย
ประกอบด้วยตัวเลข ค่า มีขีดขั้นระหว่างตัวเลขแต่ละค่า เช่น 16-16-8 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละ
ค่าจะแทนความหมายดังนี้


- ตัวเลขค่าแรกคือ 16 แทนเนื้อธาตุไนโตรเจนแสดงว่า ในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุ
ไนโตรเจน 16 กิโลกรัม


- ตัวเลขต่อมาคือ 16 แทนเนื้อธาตุฟอสฟอรัส แสดงว่าในจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุ
ฟอสฟอรัส 16 กิโลกรัม


- ตัวเลขสุดท้ายคือ 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุ
โพแทสเซียม 8 กิโลกรัม



ปุ๋ยปลอม

ปุ๋ยปลอม คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชไม่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ เช่น ปุ๋ย
สูตร 16-16-8 ถ้าวิเคราะห์แล้วมีธาตุไนโตรเจนไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90
เปอร์เซ็นต์ของ 16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัสไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์
ของ 16) หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.2 เปอร์เซ็นต์ (7.2 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 8)
อย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็น
ปุ๋ยปลอม


ถ้าปุ๋ยกระสอบใด มีปริมาณเนื้อธาตุมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ
แสดงว่าปุ๋ยกระสอบนั้นเป็นปุ๋ญเคมีผิดมาตรฐาน



วิธีเก็บตัวอย่างปุ๋ย

การเก็บตัวอย่างปุ๋ยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

    1. เทปุ๋ยทั้งกระสอบลงบนผ้าพลาสติกที่แห้งสะอาดคลุกเคล้าให้ปุ๋ยเข้ากันเป็นอย่างดี
    2. ใช้แผ่นไม้แบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วน
    3. นำปุ๋ย 2 ส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามมาคลุกเคล้ากันใหม่และแบ่งอออกเป็น 4 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
    4. ทำซ้ำข้อ 3 จนเห็นว่าเมื่อแบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วนแล้ว แต่ละส่วนหนักประมาณ 1
    5. กิโลกรัม ตักปุ๋ย 1 ส่วน ใส่ในถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาด
    6. เขียนรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ได้แก่ สูตร ตราเลขทะเบียน ผู้ผลิตหรือผู้นำส่ง สถานที่ผลิต ใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ แล้วใส่ลงในถุงตัวอย่างปุ๋ยพร้อมรัดปากถุงให้แน่น
    7. ส่งตัวอย่างปุ๋ยไปยัง สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อตรวจสอบต่อไป


การตรวจปุ๋ย

ปุ๋ยปลอมตรวจสอบได้ยากมากด้วยตาเปล่า หรือเพียงการสัมผัส การตรวจสอบที่ให้ได้ผลแน่นอนต้อง
ทำโดยวิธีการทางเคมีในห้องปฏิบัติการ


เครื่องมือตรวจสอบปุ๋ยปลอมอย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบในภาคสนามนั้น ใช้สำหรับการตรวจสอบ
เบื้องต้นเท่านั้น ให้ผลเพียงคร่าวๆ และไม่สามารถนำผลการตรวจสอบมาใช้เพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายได้


เมื่อสงสัยว่าเป็นปุ๋ยปลอม ควรเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามวิธีการที่แนะนำอย่างเคร่งครัด แล้วส่งไปยังสำนักงาน
เกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ในท้องถิ่นเพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่อไป



คำแนะนำในการเลือกซื้อปุ๋ย

ในการเลือกซื้อปุ๋ยมีคำแนะนำดังนี้

1.ก่อนซื้อควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อปุ๋ยสูตรใด ตราใด จำนวน
เท่าใด


2. ควรซื้อโดยการรวมกลุ่มกันซื้อจากบริษัทที่ไว้ใจได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้
ประสานงานให้


3. หากจำเป็นต้องการซื้อรายย่อย ควรดำเนินการดังนี้

3.1 บอกสูตร ตรา และจำนวนที่ต้องการแก่ผู้ขาย

3.2 ตรวจสอบข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่าเป็นปุ๋ยชนิดใดต้องการหรือไม่

3.3 ตรวจสอบสภาพกระสอบว่า ใหม่และเรียบร้อยไม่มีรอยฉีกขาด หรือรอยเย็บใหม่

3.4 ตรวจสอบดุว่าแต่ละกระสอบมีน้ำหนักครบ 50 กิโลกรัมหรือไม่

3.5 ขอเอกสารกำกับปุ๋ย และใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายด้วย



โทษของการผลิตและการจำหน่ายปุ๋ยปลอม

การผลิตหรือจำหน่ายปุ๋ยเคมีปลอม มีโทษทั้งจำทั้งปรับดังนี้


มาตรา 62 ”
ผู้ใดผลิตปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
ห้าปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท


มาตรา 63 ”
ผู้ใดขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืน
มาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปี ถึง สิบปี และปรับตั้งแต่ สามหมื่นบาท ถึง หนึ่ง
แสนบาท


พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518



www.doae.go.th/spp/biofertilizer/fer1.htm
-




อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี



บทนำ

อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีจัดได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยเนื่องจากประเทศ
ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีบทบาทต่อการเพิ่มผลผลิตภาคเกษตรกรรม
เป็นอย่างมาก ในขณะที่ประเทศไทยกลับไม่สามารถผลิตปุ๋ยเคมีได้เพียงพอกับความต้องการ
เนื่องจากไม่สามารถผลิตแม่ปุ๋ยใช้เองได้ เพราะต้นทุนการผลิตสูง จึงต้องพึ่งพาการนำเข้า โดย
แม่ปุ๋ยที่นำเข้าได้แก่  แม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนซึ่งไทยนำเข้าจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
และสหรัฐอเมริกา  ในขณะที่แม่ปุ๋ยฟอสฟอรัสมีขายทั่วโลก และแม่ปุ๋ยโปแตสเซียม ประเทศ
ไทยนำเข้าจากแคนาดา และเยอรมนี  สำหรับการส่งออกพบว่ามีการส่งออกไปยังประเทศเพื่อน
บ้านเล็กน้อยได้แก่ประเทศลาว  กัมพูชา  อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยส่งออกในลักษณะของปุ๋ย
ผสม ทำให้การนำเข้าบางส่วนเป็นการนำเข้าเพื่อส่งออกอีกต่อหนึ่ง
  

1. การผลิต
1.1  ประเภทของปุ๋ยโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1)      ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำซากสิ่งมีชีวิตใส่ลงในดินเพื่อเพิ่มเติมอินทรีย์วัตถุให้แก่
ดิน ซึ่งเป็นการบำรุงทั้งทางเคมีและทางกายภาพ ทางเคมีคือ ซากนั้นจะค่อยๆสลายตัวและ
ปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชดูดใช้ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ส่วนทางด้านกายภาพนั้นจะช่วยทำ
ให้ดินร่วนซุย และพืชสามารถดูดซับน้ำได้ดีขึ้น แต่มีข้อเสีย คือ มีธาตุอาหารต่ำ ปริมาณและสัด
ส่วนไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังต้องใช้ปริมาณมากจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของพืช ปุ๋ย
อินทรีย์ที่เกษตรกรใช้มีหลายชนิด ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด 

2)      ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์โดยผ่านกระบวนการทางเคมี
ประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญ 3 ชนิดคือ ธาตุไนโตรเจน ( N )  ธาตุฟอสฟอรัส ( P ) และ
ธาตุโปแตสเซียม ( K )หรือที่เรียกว่า ปุ๋ย N-P-K 
1.2  กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศไทยมี

2 ลักษณะคือ
1)  การผลิตในลักษณะเชิงผสม ( Physical Mixing Process ) กรรมวิธีนี้เป็นวิธีที่โรงงานผลิต
ปุ๋ยส่วนใหญ่ในประเทศทำการผลิตอยู่ การผลิตในลักษณะนี้ยังสามารถแยกได้อีก 2 แบบคือ

1.1 ผสมเป็นเนื้อเดียว เป็นการนำเอาแม่ปุ๋ยและส่วนผสมต่าง ๆ มาบดให้เข้ากันแล้วอัดเป็นเม็ด
ในแต่ละเม็ดมีธาตุอาหารตรงตามสูตรที่ต้องการ

1.2 ผสมไม่เป็นเนื้อเดียว ( Bulk Blending ) เป็นการนำเอาแม่ปุ๋ยและส่วนต่างๆมาคลุกเคล้าให้
เข้ากันเพื่อให้ได้สูตรตามต้องการแต่ไม่มีการปั้นเป็นเม็ด ดังนั้นการผสมแบบนี้ถือว่าปุ๋ยแต่ละเม็ด
มีธาตุอาหารไม่ตรงตามสูตรที่ต้องการ
     

วิธีการผลิตปุ๋ยเชิงผสม

ปุ๋ยเชิงเดี่ยวและ/หรือปุ๋ยผสมที่มี

ความเข้มข้นทางธาตุอาหารสูง

บด

ผสม

ปั้นเม็ด

บรรจุถุง

ปุ๋ยเชิงผสมแบบ

เป็นเนื้อเดียว

ผสมคลุก

บรรจุถุง

ปุ๋ยเชิงผสมแบบ

ไม่เป็นเนื้อเดียว

           
2)      การผลิตในเชิงประกอบ ( Chemical Mixing Process ) เป็นการผลิตที่ต่อเนื่องจากการ
ผลิตวัตถุดิบ โดยการสังเคราะห์ทางเคมี แล้วนำวัตถุดิบมาผสมกันเพื่อให้ได้ปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการ
 


การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบชนิดใช้กรรมวิธีทางเคมี

ผงกำมะถัน ( ซัลเฟต )

สารละลายกรดซัลฟูริก

หินฟอสเฟต

สารละลายกรด

ฟอสฟอริก

ก๊าซแอมโมเนีย

ยูเรียและ/หรือแอมโมเนียซัลเฟต

เกลือโปแตส

สารตัวเดิม

ยิมซั่ม

จำหน่ายภายนอก

ปุ๋ยเชิงประกอบ
                 
1.3 จำนวนโรงงานและกำลังการผลิต                       
ในปัจจุบันผู้ผลิตปุ๋ยเคมีทั้งเชิงประกอบและเชิงผสมมีทั้งสิ้นประมาณ 50 ราย มีกำลังการผลิตทั้ง
สิ้น   4 ล้านตัน ในจำนวนนี้กำลังการผลิตร้อยละ 90 เป็นของผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่จำนวน 5 ราย
ได้แก่ บริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปุ๋ยไทย จำกัด  บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน)  บริษัท เจียไต๋ จำกัด  และบริษัทคาร์กิลล์สยาม จำกัด  ซึ่งผู้ผลิต 3 รายแรกมี
กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 75 ของกำลังการผลิตรวม และอีก 2 บริษัทมีกำลังการผลิตร้อย
ละ 15 ส่วนกำลังการผลิตที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 10 จะเป็นของผู้ผลิตรายย่อย โดยผู้ผลิต
รายใหญ่ทำการผลิตประมาณร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตแต่ละบริษัท  ส่วนผู้ผลิตรายย่อยทำ
การผลิตร้อยละ 70 ของกำลังการผลิต ในด้านกระบวนการผลิต โรงงานรายใหญ่ใช้กระบวนการ
ผลิตที่ทันสมัย มีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิตทำให้ปุ๋ยที่ผลิตได้มีคุณภาพตาม
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1)
 



ตารางที่ 1

กำลังการผลิตปุ๋ยของบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย

รายชื่อบริษัท

กำลังการผลิตปี 2543(ตัน/ปี) เงินลงทุน(ล้านบาท) จำนวนคนงาน(คน)
1. บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) 1,000,000 409 325
2. บริษัท ปุ๋ยไทย จำกัด 1,000,000 1,450 300
3.บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ  จำกัด (มหาชน) 1,000,000 7,000 99
4. บริษัท เจียไต๋ จำกัด 300,000 25 108
5. บริษัท คาร์กิลส์สยาม จำกัด 300,000 135 35
6.อื่นๆ 400,000 n.a. n.a.
รวมทั้งสิ้น 4,000,000 - -

ที่มา: 
1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 
       
2. ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม



2. การตลาด

2.1 ตลาดโลก   
ด้านอุปสงค์  คาดว่าความต้องการใช้ปุ๋ยโดยรวมจะมีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เนื่องจาก
ปริมาณน้ำสำรองที่กักเก็บจากปีที่ผ่านมามีมากเพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับสภาพ
เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นจึงทำให้ประเทศต่างๆ มีกำลังซื้อปุ๋ยมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ( ตารางที่ 2 )
           

ด้านอุปทาน  คาดว่าจะมีปริมาณปุ๋ยมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งยูเรีย เนื่องจากผู้ผลิตซึ่งมีต้นทุน
การผลิตต่ำ เช่น  อียิปต์  มาเลเซีย อินโดนีเซีย และซาอุดิอาระเบีย จะทำการผลิตเต็มกำลังการ
ผลิต อีกทั้งโรงงานเปิดใหม่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา และเวเนซุเอลา ได้เริ่มทำการ
ผลิตขึ้นตั้งแต่ปี 2543    แนวโน้มราคาจำหน่ายยูเรียคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเนื่อง
จากปริมาณความต้องการใช้โดยเฉพาะเวียดนาม อินเดีย และ    ยุโรป มีเพิ่มมากขึ้น ส่วนแนว
โน้มราคาปุ๋ยผสมคาดว่าจะทรงตัวหรือ ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากเกาหลีใต้พยายามจะ
ระบายสินค้าคงคลังที่มีอยู่เป็นจำนวนมากออกสู่ตลาด ( ตารางที่ 2 )
 



ตารางที่ 2

ตารางอุปสงค์และอุปทานปุ๋ยหน่วย:เมตริกตัน

รายการ/ปี

2537 2538 2539 2540 2541
อุปสงค์ของโลก 122,289,791 129,234,392 134,170,710 137,014,208 137,355,043
อัตราการเปลี่ยนแปลง ( ร้อยละ )   5.68 3.82 2.12 0.25
อุปสงค์ในเอเชีย 60,886,539 67,704,087 69,278,219 71,805,179 72,921,811
อัตราการเปลี่ยนแปลง ( ร้อยละ )   11.20 2.33 3.65 1.56
อุปทานของโลก 135,755,407 142,216,635 147,328,723 146,356,826 147,252,707
อัตราการเปลี่ยนแปลง ( ร้อยละ )   4.76 3.59 -  0.66 0.61
อุปทานในเอเชีย 49,894,849 54,780,288 57,492,492 58,654,271 61,101,109
อัตราการเปลี่ยนแปลง ( ร้อยละ )   9.79 4.95 2.02 4.17
ที่มา: FAOSTAT Agriculture Dataหมายเหตุ: เครื่องหมาย – หมายถึง อัตราการเปลึ่ยนแปลงลดลง
                                                                                     
    

2.2 ตลาดภายในประเทศ
ในปัจจุบันการใช้ปุ๋ยเคมีของไทยมีปริมาณลดลง เนื่องจาก ราคาน้ำมัน
ที่เพิ่มขึ้นโดยตลอด และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ส่งผลให้ราคานำเข้าวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี
เช่น ยูเรีย แอมโมเนีย และแอมโมเนียซัลเฟตปรับราคาสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตปุ๋ยจึงมีแนวโน้มสูง
ขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10  นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้นแทนปุ๋ย
เคมี เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้น และเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ยเคมีลง เป็นผลให้ปริมาณ
การใช้ปุ๋ยเคมีลดลงจากปริมาณ 3.56 ล้านตัน ในปี 2540 เหลือ 2.90 ล้านตันในปี 2543
(ตารางที่ 3)
 


ตารางที่ 3

ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตรของไทย

ปี

ปริมาณการใช้ปุ๋ย ( ตัน ) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2538 3,313,313  
2539 3,434,131 + 3.65
2540 3,561,790 + 3.72
2541 3,270,000 - 8.19
2542 3,250,000 - 0.61
2543 2,900,000 - 12.07
ที่มา:
1.  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ( ปี2538 – 2540 )
                         
2. บริษัท ปุ๋ยเเห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ( ปี 2541 –2543 )
           


ในปัจจุบันราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง อีกทั้งความต้องการใช้ลดลงด้วย เป็นผลให้ผู้ผลิตต้องส่ง
เสริมการขายอย่างมาก รวมทั้งส่งเสริมให้มีการส่งออกมากขึ้น  การส่งออกโดยส่วนใหญ่จะเป็น
การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามเนื่องจาก
ผู้ผลิตหลายรายได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับจะมีการตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีเพิ่ม
ขึ้นอีก 2 แห่งคือ บริษัท ปุ๋ยไทย จำกัด  มีกำลังการผลิต 1,000,000 ตันต่อปี จะสามารถผลิต
ได้เต็มกำลังการผลิตประมาณปี 2545 และบริษัท โรจน์กสิกิจเฟอร์ทิไรเซอร์ จำกัด มีกำลังการ
ผลิต 600,000 ตันต่อปีจะสามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตประมาณปี 2546 ซึ่งจะทำให้ภาวะ
การแข่งขันในตลาดทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

           
ส่วนทางด้านราคาปุ๋ยเคมี เนื่องจากตลาดปุ๋ยเคมีของไทยเป็นลักษณะกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
(Monopolistic  Competition ) ราคาปุ๋ยชนิดเดียวกันจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แต่หากเป็นปุ๋ย
ต่างชนิดกันก็จะมีราคาต่างกันด้วย ราคาปุ๋ยเคมีขายส่งตลาดกรุงเทพฯ มีแนวโน้มลดลงเนื่อง
จากสภาพการแข่งขันในตลาดรุนแรงมาก ( ตารางที่ 4 )

      

ตารางที่ 4

อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา หน่วย: ร้อยละ

2539 2540 2541 2542 25431/
ราคาปุ๋ยขายส่งตลาดกรุงเทพฯ21-0-046-0-016-20-016-16-815-15-15  + 6.97-3.05+3.32+1.89+4.80  + 3.54-8.20+1.27+4.07+2.75  + 7.79+16.36+31.29+30.15+32.12  -8.11-26.09-16.55-14.14-10.47  -7.87+18.18-5.39-5.06-3.98

 
ที่มา:  
1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   
2.  บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ,
หมายเหตุ : 1/  เป็นตัวเลขประมาณการ โดยบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ เครื่องหมาย  -  หมายถึง ราคา
ลดลง
 เครื่องหมาย +  หมายถึง ราคาเพิ่มขึ้น  


3. การนำเข้า และ การส่งออก
 
การนำเข้าปริมาณความต้องการปุ๋ยเคมีโดยรวมเพิ่มขึ้นตามความต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน
โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม พม่า มาเลเซีย ลาว เป็น
ต้น  ทำให้มูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเพิ่มขึ้น การนำเข้าปุ๋ยเคมีในปี 2542 มีมูลค่า 17,189.92 ล้าน
บาท และ เพิ่มขึ้นเป็น 18,229.96 ล้านบาท ในปี 2543 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.05 ( ตารางที่
5 )  ประเทศที่ไทยนำเข้าปุ๋ยมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ    ซาอุดิอาระเบีย และ
เกาหลีใต้ตามลำดับ
  การส่งออก

           
การส่งออกปุ๋ยของไทยมีแนวโน้มที่ดีตั้งแต่ปี 2539 โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง แม้ว่าปี 2542 มูลค่าการส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 292.3 ล้านบาท แต่ในปี 2543 การ
ส่งออกปุ๋ยของไทยก็กลับมาสู่ภาวะปกติ สำหรับประเทศที่ไทยส่งออกไปมากที่สุดในปี 2543
คือ ลาว รองลงมาคือ กัมพูชา และพม่า ตามลำดับ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 400.9 ล้านบาท 


( ตารางที่ 5 )

ตารางที่ 5การนำเข้า / ส่งออกปุ๋ยของไทย

การนำเข้า/ ส่งออกปุ๋ยของไทย

2539 2540 2541 2542 2543

มูลค่าการนำเข้าปุ๋ย (ล้านบาท)

18,242.20 16,933.83 17,851.88 17,189.92 18,229.96
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)   -7.17 5.42 -3.71 6.05
ปริมาณการนำเข้าปุ๋ย (ตัน)     2,873,511.68 3,561,593.22 8,328,469.01
มูลค่าการส่งออกปุ๋ย (ล้านบาท) 149.7 306.9 391.4 292.3 400.9
อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)   105.01 27.53 -25.32 37.15
ปริมาณการส่งออกปุ๋ย ( ตัน)     101,346,.29 103,192.46 100,391.86

ที่มา: กรมศุลกากร
 


4. นโยบายของรัฐ

4.1 นโยบายของรัฐบาลได้ระบุไว้ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7
( พ.ศ.2535-2539 ) ที่จะผลิตปุ๋ยเคมีขึ้นภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าและ ลดปัญหา
การขาดดุลการค้า นอกจากนี้    ในแผนฯ 7 ยังเน้นการฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ง
แวดล้อม  สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ในส่วนที่มีผลกระทบต่อ
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ในแผน ฯ ดังกล่าวสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี ซึ่งใน
ทางปฏิบัติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แนะนำเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ให้ใช้ปุ๋ยทั้ง 2 ชนิด
สลับกันไปตามความเหมาะสมของสภาพดิน

           
4.2 ประเทศไทยมีการควบคุมการใช้ปุ๋ยเคมีโดยผ่าน พ.ร.บ.ปุ๋ยเคมี ปี พ.ศ.2518 เพื่อกำหนดให้
ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีเข้ามาในราชอาณาจักรต้องนำปุ๋ยมาขึ้นทะเบียนก่อนจึงจะนำมาผลิต
หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้

           
4.3 การแทรกแซงด้านราคาโดยภาครัฐ    ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันรัฐบาลปล่อยให้เป็นไป
ตามกลไกตลาดไม่ได้เข้ามากำหนดราคาควบคุมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม บางครั้งเพื่อให้
เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยในราคาถูก รัฐบาลจึงมีโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยจะ
เข้าแทรกแซงตลาดปุ๋ยเคมีในปริมาณที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของความต้องการปุ๋ยเคมีทั้ง
ประเทศ
4.4 ด้านภาษี มาตรการทางภาษีปัจจุบันไม่ได้มีการเก็บอากรส่งออก ส่วนอากรนำเข้า
จะได้รับการยกเว้นเมื่อผู้นำเข้ามีใบอนุญาตนำหรือสั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาที่ออกโดยกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ และต้องมีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมีที่ออกโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำหรับในส่วนของวัตถุดิบที่นำเข้ามาในการผลิตหรือผสมปุ๋ย เช่น กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน)
กรดฟอสฟอริค แอมโมเนียชนิดที่ปราศจากน้ำ แคลเซียมฟอสเฟตธรรมชาติ หรืออลูมิเนียม
แคลเซียมฟอสเฟตธรรมชาติ  ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.
7/2536 กล่าวโดยสรุปทั้งปุ๋ยเคมีนำเข้าและวัตถุดิบไม่มีการเก็บอากรนำเข้าแต่อย่างใด             
 


5. ปัญหาของการพัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี

5.1  ปัญหาด้านการผลิต ·      
ไทยไม่สามารถผลิตแม่ปุ๋ยใช้เองได้ เพราะต้นทุนสูง จึงต้องนำเข้า
ไทยต้องพึ่งพาวัตถุดิบหลัก
สำคัญจากต่างประเทศหรือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ผลิตวัตถุดิบพื้นฐาน เช่น แก๊สธรรมชาติ
(Natural Gas) ในประเทศยังคงมีต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าประเทศอื่นๆ
·    ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี
การผลิตจากต่างประเทศ
·    ขนาดการผลิตในประเทศยังไม่ใหญ่พอที่จะมี Economy of Scales
 
เนื่องจากขนาดตลาดในประเทศไม่ใหญ่พอที่จะผลิตในปริมาณมากๆ
·  ปุ๋ยเคมีเป็นสินค้าควบ
คุม การปรับราคาต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการค้าภายใน
·    ปุ๋ยเคมีเป็นสินค้าตามฤดู
กาลการผลิตทางการเกษตร โดยจะมีการใช้ปุ๋ยมากที่สุดในช่วงฤดูฝนและในช่วงปลายปีจะใช้ปุ๋ย
น้อยที่สุด

5.2  ปัญหาด้านภาครัฐบาลและเอกชน
·      
ผู้ผลิต/ ผู้ผสมปุ๋ยที่ซื้อวัตถุดิบต่างๆ ในประเทศจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ผลิตจำ
ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศแทน ทำให้เงินทุนบางส่วนไหลออกนอกประเทศ
·  ความร่วมมือ
ระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐด้านข่าวสารข้อมูลยังมีอยู่น้อย ทำให้ความช่วยเหลือของภาครัฐที่
มีต่อภาคเอกชนอาจมีความล่าช้า
 


6. กลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี
1.      รัฐควรเร่งทำการสำรวจและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปุ๋ย
เคมี เพื่อประเมินศักยภาพทางด้านวัตถุดิบและด้านการผลิตในประเทศ กล่าวคือกรณีที่ไม่มี
ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการผลิต แนวทางการพัฒนาในอนาคตควรจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด กรณี
ที่มีทรัพยากรที่จำเป็นครบในประเทศ ควรที่จะส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อเป็นการลด
การนำเข้า ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้กับปุ๋ยเคมีที่มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศอีกด้วย

2.      รัฐควรปรับปรุงกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มให้เกิดความเสมอภาคกันระหว่างผู้ผลิตที่ซื้อวัตถุ
ดิบภายในประเทศกับ ผู้ผลิตที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

3.      รัฐควรส่งเสริมให้ผู้ผลิตปุ๋ยเชิงประกอบสามารถผลิตแม่ปุ๋ยออกจำหน่ายแก่ผู้ผลิตปุ๋ยเชิง
ผสมในประเทศเพื่อลดการนำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรม
ในประเทศและโครงการผสมปุ๋ยใช้เองของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

4.      ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือเริ่มการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ปรับปรุงคุณภาพปุ๋ย
อินทรีย์ให้สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีได้บ้าง เพื่อช่วยลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และยัง
เป็นการตอบ
  
สนองตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยสนับสนุนให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรลงเพื่อรักษาสภาพดินและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
 

5.      ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นเพื่อจะได้
รับข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา อีกทั้งยังจะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นประโยชน์ในการปรับปรุง
แก้ไขหรือ พัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ยต่อไปในอนาคต
 


7. แนวโน้ม
           
เนื่องจากประเทศไทยยังมีปัญหาในด้านการผลิตคือ ไม่สามารถผลิตแม่ปุ๋ยใช้เองในประเทศได้
ต้องพึ่งวัตถุดิบหลัก และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ประกอบกับปริมาณความต้องการใช้มีเพียง
3 ล้านตัน ในขณะที่กำลังการผลิตโดยรวมมีมากถึง 4 ล้านตัน นอกจากนี้จากการที่ในปี 2543 มี
ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรกว่า 100 รายจึงทำให้มีสภาพการแข่งขัน
สูง โดยที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะพยายามทำให้ตราสินค้าที่ตนจำหน่ายติดตลาด และครอบ
ครองส่วนแบ่งการตลาดให้ได้มากที่สุด จึงคาดว่าภาวะการแข่งขันในปี 2544 จะทวีความรุนแรง
มากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตบางรายต้องมีการปรับตัวโดยหันไปหาตลาดส่งออกต่างประเทศ ส่วนรายที่
ไม่สามารถปรับตัวได้ก็อาจต้องหยุดการผลิตลง
  



www.oie.go.th/industrystatus2/10.doc
-
             
  









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-08-25 (4025 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©