-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 359 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กล้วย (ทั่วไป)




หน้า: 2/2

 

                          ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกล้วย
                              (ทุกสายพันธุ์)   
    


       1. ระยะต้นเล็ก
           ทางใบ :
        - ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารจับใบ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น  ช่วงเช้าแดดจัด  ทุก 7-10 วัน
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 23 วัน
          ทางราก :
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/ไร่  ด้วยการรดโคนต้นจนโชกแฉะเต็มพื้นที่แปลงปลูกหรือปล่อยร่วมกับน้ำไปตามร่องแถวปลูก ทุก 20-30 วัน
 
       - ให้น้ำปกติ  ทุก  3-5 วัน           
          หมายเหตุ  : 
        
        - การให้ปุ๋ยทางรากสูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม  เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 
        
        - เนื่องจากใบกล้วยมีนวลใบมาก การฉีดพ่นทางใบควรผสมสารจับใบด้วย ฉีดพ่นแล้วให้สังเกตว่าน้ำที่ฉีดพ่นไปนั้นเปียกทั่วใบจริงหรือไม่  การใช้สารจับใบครั้งแรกอาจจะต้องใช้มากกว่าปกติเพื่อละลายนวลใบออกไปหลังจากนั้นจึงใช้ในอัตราปกติได้ 
       
        - หลังจากตัดตอทุกครั้งควรให้ธาตุอาหารทั้งทางใบและทางรากเพื่อรักษาความชื้นแฉะอยู่เสมอ 
       
        - ให้ฮอร์โมนบำรุงราก. ปุ๋ยน้ำชีวภาพระบิดเถิดเทิง. ไคตินไคโตซาน. 1-2 เดือน/ครั้ง จะช่วยบำรุงเหง้าทั้งต้นแม่และหน่อมีขนาดใหญ่เร็วขึ้น 
       
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 

     
      2. ระยะก่อนแทงปลี 
         
         ทางใบ :
      - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ติดต่อกัน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ติดต่อกัน 1-2  เดือน       
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
        
         ทางราก :
      - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24 (1-2 กก.)  สำหรับพื้นที่ 1 ไร่/เดือน       
      - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน 
         
        หมายเหตุ : 
     
      - เริ่มบำรุงเมื่ออายุต้น 170-180 วัน หลังแตกยอดที่เกิดจากตัดตอครั้งสุดท้าย  กรณีที่ให้ 25-7-7 ทางรากจะทำให้ต้นสูงใหญ่มาก อาจจะทำให้การเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก แก้ไขโดยเมื่อเห็นว่าต้นมีความสูงพอสมควรแล้ว แม้ว่าอายุต้นจะยังไม่ได้ตามกำหนดก็ตาม แนะนำให้ทางใบด้วย  “0-42-56 + ฮอร์โมนไข่ + กลูโคสหรือนมสัตว์สด”   คู่กับให้ทางรากด้วย  8-24-24 ได้เลย  วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดความสูงของต้นไม่ให้สูงต่อได้แล้ว  ยังเป็นการสะสมอาหารก่อนออกปลีได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 
       
     - การแทงปลีของต้นกล้วยก็คือการออกดอกของไม้ผลทั่วๆไป ดังนั้นเพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกหรืออั้นตาดอกได้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้นควรเสริมด้วยธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกอื่นๆ  เช่น  นมสัตว์สดหรือกลูโคส  1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน  ทั้งนี้  กล้วยไม่จำเป็นต้องเปิดตาดอกเหมือนผลไม้ทั่วไป เมื่อต้นได้รับธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกเต็มที่ก็จะแทงดอก (ปลี) ออกมาเอง 
      
     - ระยะต้นเล็กถึงก่อนแทงปลีให้ตัดแต่งใบเหลือ 12-13 ใบ 
       
     - อายุต้น 90-120 วันหลังปลูกแตกใบอ่อนชุดแรกจะเริ่มมีหน่อแทงขึ้นมา  เมื่อหน่อโตสูงได้ 90 ซม.-1 ม.ให้ตัดตอหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม.  หลังจากตัดตอหน่อแล้วจะแตกใบอ่อนออกมาอีกก็ให้ตัดตออีกเมื่อตอสูง 90 ซม.-1 ม.เช่นกัน  และให้ตัดทุกครั้งจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต  การตัดตอแต่ละครั้งให้แผลครั้งหลังสูงกว่าแผลครั้งแรก 1-2 ฝ่ามือ  มีดที่ใช้ตัดต้องคมจัดเพื่อให้แผลช้ำน้อยที่สุดก็จะแตกใบอ่อนชุดใหม่ได้เร็ว 
       
      - การตัดหน่อด้วยมีดหรือเคียวคมๆทำให้แผลไม่ช้ำ  จากนั้นประมาณ 10-15 วัน จะมีหน่อใหม่แทงขึ้นมา   ถ้าไม่ใช้มีดหรือเคียวคมๆตัดหน่อแล้วใช้วิธีเหยียบหน่อให้ล้มลง  โคนหน่อช้ำ แบบนี้จะทำให้หน่อแทงใบใหม่ช้า ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 เดือน  ทำให้ประหยัดเวลา
        
         4. ระยะเริ่มแทงปลี 
           
           ทางใบ : 
         
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่  50 ซีซี.+ สารจับใบ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น  ทุก 7-10 วัน 
         
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
           
           ทางราก :
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +  8-24-24 (1-2 กก.)/1 ไร่  ทุก 20-30 วัน         
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน 
           
           หมายเหตุ 
        
         - ก่อนแทงปลีจะมี  “ใบธง”  ลักษณะม้วนกลมชี้ตรงขึ้นฟ้าแทงออกมาก่อน  หลังจากปลีออกมาเป็นงวงชี้ลงล่างแล้วใบธงก็จะกลายเป็นใบปกติ
 
         
         - การที่ในเครือกล้วยมีจำนวนหวีน้อยหรือหวีสุดท้ายปลายเครือเป็น “ตีนเต่า” เร็วเกินไป  เนื่องมาจากต้นได้รับธาตุอาหารไม่สมดุล และบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมหน่อและระยะต่างๆก่อนแทงปลีไม่ดีพอ 
       
         - เริ่มให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. เมื่อปลายปลีแทงพ้นโคนก้านใบธงขึ้นมาประมาณ 1 ฝ่ามือ 2-3 รอบห่างกันรอบละ 7-10 วัน จนกระทั่งตัดปลีจะช่วยให้เกสรสมบูรณ์  ผสมติดเป็นผลได้มากขึ้น  ส่งผลให้ในเครือมีจำนวนหวีมาก  และแต่ละหวีก็จะมีจำนวนผลมากขึ้นด้วย

         - ดอกกล้วย (ปลี) เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  เกสรกล้วยพร้อมผสมกันเองหรือรับการผสมจากต้นอื่นได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน ช่วงกลางวันจะมีแมลงช่วยผสม ส่วนช่วงกลางคืนจะมีค้างคาวช่วยผสม หลังจากกลีบดอก (กาบหัวปลี) เปิดแย้มเต็มที่แล้ว ถ้าช่วยผสมด้วยมือโดยใช้พู่กันขนอ่อนยาวคุ้ยเขี่ยบริเวณเกสรให้มีโอกาสได้ผสมกัน  นอกจากจะช่วยให้ได้ผลผลิตมากขึ้นแล้วคุณภาพผลก็ดีขึ้นอีกด้วย

         
       5. ระยะผลเล็ก
           ทางใบ  : 
      
         - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. + สารจับใบ 100 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น ทุก 7-10 วัน 
     
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
         
           ทางราก 
      
         - ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
 
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (1-2 กก.)/1 ไร่  ทุก 20-30 วัน   
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน 
        
           หมายเหตุ : 
        
           เริ่มบำรุงหลังจากตัดปลี 
         
      
        6. ระยะขนาดกลาง
          ทางใบ  :
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารจับใบ 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ทุก 7-10 วัน   ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :        
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (1-2 กก.)/1 ไร่  ทุก 20-30 วัน 
        
       - ให้น้ำปกติ  ทุก 5-7 วัน 
         
          หมายเหตุ  :
 
       
        - หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วันให้ห่อผลด้วยถุงขนาดใหญ่  เปิดก้นระบายอากาศห่อทั้งเครือ  หรือใช้ใบกล้วย 3-4 ใบผูกโคนก้านกล้วยกับก้านเครือ  ปล่อยใบยาวตามเครือ  จัดระเบียบใบกล้วยให้คลุมผลกล้วยทั้งเครือ มัดรวบช่วงปลายใบกล้วยที่ใช้ห่อกับมัดช่วงกลางพอหลวมอีก 1-2 เปราะ....ก่อนลงมือห่อผลควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรกำจัดชื้อราและแมลงให้เปียกโชก  นอกจากช่วยกำจัดเชื้อราแล้วยังกำจัดไข่ของแม่ผีเสื้อไม่ให้ฟักออกเป็นตัวหนอน  ป้องกันแมลงวันทองและยังทำให้ผิวสวย  คุณภาพเนื้อในดีอีกด้วย 
       
        - ระยะบำรุงผล (หลังตัดปลี) ถึง ผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว  ตัดแต่งใบให้เหลือไว้ประมาณ  9-10 ใบ 
      
        -  เมื่อเห็นว่าเครือเริ่มใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นให้ค้ำต้น 
       
        - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม 1-2 รอบ  โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก 
       
        - ให้กำมะถัน 1-2 รอบตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงให้กลิ่นและสีดี
 
          

      7. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว 
             
          ทางใบ : 
          
        - ให้น้ำ 100 ล. +  0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-0-50 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ....... หรือน้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น
 
        
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
           
          ทางราก 
          
        - ให้  13-13-21 หรือ  8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่ 
         
        - ให้น้ำกับปุ๋ยแล้วงดน้ำจนถึงวันเก็บเกี่ยว 
          
          หมายเหตุ  : 
        
        - ให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 
         
        - เมื่อผลกล้วยส่วนโคนเครือแก่ได้ประมาณ 3 ใน 4 ของจำนวนหวีทั้งเครือ  ใบจะเริ่มเหี่ยวเหลืองเนื่อจากไกล้หมดอายุต้น  ใบที่เหี่ยวเหลืองแล้วนี้จะไม่สังเคราะห์สารอาหาร  เป็นเหตุให้จำนวนหวีส่วนปลายเครือ 3 ใน 4 ไม่ได้รับสารอาหาร หรือได้รับน้อยกว่าปกติ  จังหวะนี้หากมีการให้  “ฮอร์โมนน้ำดำ”  หรือ  “แมกเนเซียม”  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 7-10 วัน  ก็จะช่วยบำรุงให้ใบยังคงเขียวสด  สังเคราะห์สารอาหารต่อไปได้  จนกระทั่งผลของหวีสุดท้ายปลายสุดของเครือแก่จัด








กล้วยหิน

ถึงแม้ว่า “กล้วยหิน” จะเป็นกล้วยที่มีถิ่นกำเนิดในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพืชเก่าแก่คู่สองฝั่งแม่น้ำปัตตานี โดยเฉพาะในเขต ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา มีกล้วยหินขึ้นเป็นดงหนาแน่น ทำให้คนนอกพื้นที่เข้าใจเอาว่าเป็นกล้วยป่าและไม่มีคุณค่าประโยชน์เมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยเศรษฐกิจชนิดอื่น จึงไม่นิยมนำมาปลูกในเชิงพาณิชย์
   
ความจริงแล้วกล้วยหินสามารถ เจริญเติบโตได้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย ด้วยลักษณะของต้นกล้วยหินที่สูงใหญ่โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ 70 เซนติเมตรและมีความสูงของต้นเฉลี่ย 3.50-4 เมตร จึงได้มีการนำกล้วยหินมาปลูกเป็นแนวรั้วเพื่อป้องกันลม
   
หลายคนอาจจะไม่เคยบริโภคกล้วยหินโดยไม่ทราบว่ากล้วยหินมีเนื้อที่แน่นและเหนียวกว่ากล้วยชนิดอื่นนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ในอดีตกล้วยหินเป็นกล้วยที่ไม่มีราคาซื้อ-ขายกันหวีละ 5 บาทก็นับว่าแพงแล้ว แต่ปัจจุบันกล้วยหินมีราคาแพงขึ้นบางช่วงเวลาราคาสูงถึงหวีละ 30 บาท แต่ไม่ใช่ซื้อเพื่อมาให้คนบริโภคซื้อมาเพื่อเป็นอาหารของนกกรงหัวจุกหรือนกปรอด ซึ่งในปัจจุบันนี้การเลี้ยงนกกรงหัวจุกได้มีการเลี้ยงกันแพร่หลายเกือบทุกภาคของประเทศ คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเชื่อที่ว่านกที่กินกล้วยหินเป็นประจำจะมีอาการร่าเริง สดใสและมีขนที่สวยเป็นเงา ในกล้วยหินน่าจะมีปริมาณสารอาหารมากคนใต้ถือว่าเป็นสุดยอดของนกกรงหัวจุกเลยทีเดียว 
   
ข้อดีและลักษณะเด่นของกล้วยหิน จัดเป็นกล้วยที่เจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิดแม้แต่สภาพดินจะเป็นกรวดหิน เป็นกล้วยที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีและมีการแตกกอเร็ว โรคและแมลงศัตรูรบกวนน้อยมากเมื่อปลูกไปแล้วไม่จำเป็นจะต้องฉีดพ่นสารปราบศัตรูพืชเลย จัดเป็นผลไม้ปลอดสารพิษ ลักษณะของผลกล้วยหินมีเปลือกหนา ทำให้ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลแก่สุกงอมยังเก็บได้นาน 7-8 วันโดยผลไม่เน่าเสีย ต้นกล้วยหินที่ปลูกลงดินไปแล้วประมาณ 8 เดือน จะเริ่มออกปลีและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากออกปลีประมาณ 3-4 เดือน
   
ปัจจุบันกล้วยหินที่ปลูกในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างในเขต จ.พิจิตร, พิษณุโลก, สุโขทัย, กำแพงเพชร ฯลฯ ยังมีไม่มากนักส่วนใหญ่จะปลูกกล้วยน้ำว้า, กล้วยตานีและ กล้วยไข่เป็นหลัก แต่คนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างนิยมเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมากขึ้น ทำให้ผลผลิตกล้วยหินไม่เพียงพอต่อการจำหน่ายทำให้ราคากล้วยหินแพงกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ และเป็นกล้วยหายาก
   
จากการสอบถามจากผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกหลายรายทราบว่าถ้านำกล้วยน้ำว้ามาเป็นอาหารนกมักจะกินไม่หมดแต่ถ้าเป็นกล้วยหินจะกินจนหมดผลและยังมีความเชื่ออีกว่านกกรงหัวจุกที่กินกล้วยหินเป็นประจำจะทำให้เสียงดี.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=344&contentID=92199



เทคนิคการทำกล้วยรสชาติต่างๆ

กล้วยที่เหมาะจะทำ ควรเป็นกล้วยน้ำว้า โดยตอนที่กล้วยออกปลี ไปซื้อรสชาติที่เราต้องการจากร้านทำไอศครีม ขวดละ 10 กว่าบาท จากนั้นเอามีดหรือคัตเตอร์กรีดต้นกล้วย ให้มันไปถึงไส้ข้างใน แล้วทำไส้ให้เป็นแผล นำรสสตอเบอรี่ รสช็อกโกแลต รสทุเรียน รสลิ้นจี่ มาเทใส่สำลีแล้วยัดไปที่ไส้ข้างในกล้วย พอยัดเข้าไปเสร็จแล้วปิดกลับเหมือนเดิม ทีนี้กล้วยมันจะสั่งการว่าตอนนี้เป็นลูกแล้วรีบนำปุ๋ยมาส่งด่วน กลิ่นและรสชาติพวกนี้ก็จะไปถึงลูกกล้วยด้วย

http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10177

                       







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (22394 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©