-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 324 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว








ใช้ที่ 130 ไร่ปลูกเมล่อนในแปลงเปิด
ใช้แบรนด์ “ฟาร์มเฟรช” เน้นตลาดบน

คมชัดลึก :


ใน ยุคที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกหรือต้มยำกุ้งเมื่อปี 2539-2541 แม้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างมหาศาล แต่ขณะเดียวกันในช่วงดังกล่าวมีการสร้างอาชีพใหม่ๆ ที่เป็นของตัวเองมีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน อย่าง ภานุวัฒน์ อรุณโรจน์ศิริ เกษตรกรวัย 38 ปี เจ้าของ “วาสนาฟาร์ม” ที่ ต.หนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี เมื่อเขาถูกเลิกจ้างจึงกลับบ้าน สู่ภาคเกษตรทำสวนเมล่อน-แคนตาลูป ป้อนห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ฟาร์มเฟรช” (FARM FRESH) อาทิตย์ละ 8-10 ตัน มีเงินหมุนจากการซื้อ-ขายเดือนละกว่า 6 แสนบาท


ภานุวัฒน์ บอกว่า ตอนเรียนหนังสือไม่ได้คิดว่าเข้าสู่วงการเกษตร เพราะจบด้านวิศวกร พอเรียนจบได้ทำงานในโรงงานมีเงินเดือนหลักหมื่น แต่ทำงานได้ไม่กี่ปี เจอพิษเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปี 2540 ขนาดระดับวิศวกรต้องถูกเลิกจ้าง จึงกลับมาบ้านที่ อ.หนองแค เห็นว่ามีที่มรดกอยู่ 130 ไร่ เลยคิดว่าน่าจะมาทำการเกษตร จึงใช้เงินที่มีอยู่ และร่วมกับญาติๆกว่า 3 แสนบาท เริ่มจากปลูกพืชผักไปก่อนส่งตลาดไท


ระหว่างนั้นได้อ่านตำราด้านการเกษตร ฟังรายการทางวิทยุโทรทัศน์จึงสนใจเมล่อนเพราะราคาดี ครั้งแรกลองปลูกก่อน 2 ไร่ พบปัญหาหลายอย่างโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ และโรคศัตรูพืช


“ผมจบวิศวะมาจึงใช้หลักของวิศวะมาประยุกต์กับการเกษตร คือต้องมีการคำนวณตามหลักวิชาการ อาทิ ต้องใช้เหล็กขนาดไหน จึงจะเหมาะกับงาน หากจะสร้างตึก ต้องดูว่าพื้นที่เป็นอย่างไร ควรใช้เสาเข็มขนาดไหน ทำการเกษตรก็เหมือน ต้องเริ่มที่ดินก่อนว่ามีสารอาหารอะไร เมล่อน หรือแคนตาลูป ชอบธาตุอาหารประเภทไหน สภาพภูมิอากาศอย่างไร ผมจึงไปศึกษาดูงานทั้งของเจี่ยไต ซึ่งใช้เทคโนโลยีสูง สร้างโรงเรือนปิด ไปดูที่สระแก้ว และที่อื่นๆ แล้วมาคิดว่าหากปลูกแบบโรงเรือนปิด ต้องใช้เงินมาก จึงเน้นในการปรับดิน และพัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะสม” ภานุวัฒน์ กล่าว


กว่า 3 ปีที่ภานุวัฒน์ อยู่การปรับสภาพดิน และทดลองปลูกเมล่อน-แคนตาลูป กว่า 30 สายพันธุ์จึงพบว่า พันธุ์ที่จะปลูกพื้นที่หนองปลิงมี 9 สายพันธุ์ คือ

เมล่อนมี พันธุ์ออเรนจ์เน็ต เนื้อส้ม, กรีนเน็ต เนื้อเขียว, พันธุ์จากไต้หวัน ไซตามะเมล่อน

พันธุ์จากญี่ปุ่น และเมล่อนเลมอน เป็นเมล่อนที่พัฒนาพันธุ์ร่วมกันของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีความโดดเด่น คือเ นื้อและรสชาติแปลกใหม่ หวานอมเปรี้ยว ส่วนแคนตาลูปมีพันธุ์ท็อปซัน ผิวทองเนื้อส้ม, ท็อปสตาร์ เนื้อสีเขียว 

นอกจากนี้มีแคนตาลูปสีทอง พันธุ์ท็อปโกลด์ เนื้อสีขาว, โกลเด้นซัน เนื้อสีส้ม และซันไช่แอปเปิ้ลเมล่อน ซึ่งเป็นพันธุ์จากไต้หวันผลขนาดเล็ก


ปัจจุบันผลผลิตทั้งหมดตกอาทิตย์ละ 8-10 ตัน เน้นตลาดบนส่งขายบนห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาทิ ห้างคาร์ฟูร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และอีกส่วนหนึ่งขายที่ฟาร์มภายใต้แบรนด์ “ฟาร์มเฟรช” ขายในราคาของเมล่อนตก กก.ละ 79-120 บาท ยกเว้นพันธุ์ไซตามะเมล่อน ขาย กก.ละ 270 บาท ส่วนแคนตาลูปราคา กก.ละ 52-69 บาท แคนตาลูปสีทองราคา กก.ละ 69-79 บาท ยกเว้นซันไช่แอปเปิ้ลเมล่อน ราคา กก.ละ 200 บาท ในแต่ละเดือนจะมีเงินสะพัดเข้าสวนตกเดือนละ 6 แสนบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายก็อีกหลายแสนบาทเช่นกัน


“กว่าจะถึงวันนี้ได้ ผมต้องใช้ความอดทน คิดจะถอยหลายครั้งแล้ว ตอนนี้เริ่มเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ขนาดนักวิชการมาเห็นยังข้องใจว่า ผมปลูกเมล่อนในแปลงเปิดได้อย่างไรเป็นร้อยๆ ไร่ แต่ผมก็ไม่ประมาทนะ โดยเฉพาะเมืองปลูกพืชอย่างเดียวครบ 8 ปี ต้องบำรุงสภาพดิน ด้วยการใช้ขี้เถ้าแกลบ โดโลไมท์  ร็อกฟอสเฟต หากพบการระบาดของโรค-แมลงก็จะเลือกสารเคมีที่เหมาะสมและพ่นให้ตรงกับช่วง เวลาการระบาดมากที่สุด” เขากล่าว


ก็เป็นเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จอีกคนหนึ่ง ซึ่งโครงการ “ท่องโลกเกษตร” กับโต๊ะข่าวเกษตร “คม ชัด ลึก” ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ จะแวะดูงานที่วาสนาฟาร์มด้วย



“ดลมนัส กาเจ”




http://soclaimon.wordpress.com/2010/02/24/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-130-%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99-2/






บังคับเมล่อนได้ต้นละผล..สูตรเกษตรกรญี่ปุ่น


แม้พื้นที่การเกษตรทั้งระบบในประเทศญี่ปุ่น จะมีเพียงร้อยละ 12.9 จากพื้นที่ทั้งหมด 3.78 แสน ตร.กม.เท่านั้น แต่เกษตรกรชาวญี่ปุ่นได้เน้นผลผลิตทางเกษตรให้มีคุณภาพเป็นหลัก ขณะเดียวกันอีกหลายประเทศที่มีพื้นที่การเกษตรอย่างมหาศาล กลับเน้นในเรื่องของปริมาณมากกว่า อย่าง นายอิชิซูกะ ชิเกโนบุ เกษตรกรชาวเมืองฮามามัตซึ จ.ชิซึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีไร่ "เมล่อน" เพียง 2 โรงเรือน ปลูกได้ 680 ต้น ได้บังคับให้เมล่อนออกผลผลิตเพียงต้นละ 1 ผลเท่านั้น ทั้งนี้เพราะต้องการให้ผลเมล่อนมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ


ไร่เมล่อนของนายอิชิซูกะอยู่ในพื้นที่รวมกับเกษตรกรรายอื่นอีก 4 ราย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ มีโรงเรือนที่หุ้มด้วยพลาสติกหนาสำหรับปลูกเมล่อน 8 โรงเรือน โดยแบ่งรายละ 2 โรงเรือน แต่ละโรงเรือนสามารถปลูกเมล่อนได้โรงเรือนละ 340 ต้น ภายใน 1 ปีสามารถหมุนเวียนปลูกเมล่อนได้ปีละ 4 ครั้ง เท่ากับ 1 ปี เก็บผลผลิตเมล่อนได้ 2,720 ผลเท่านั้น


นายอิชิซูกะ บอกว่า การปลูกเมล่อนในระบบโรงเรือนหรือระบบปิด นอกจากจะป้องกันแมลงศัตรูพืชได้แล้ว ยังสามารถป้องกันแสงแดดได้อีกด้วย เพราะเมล่อนเป็นพืชที่ไม่ต้องการแดดจัด

นอกจากนี้โรงเรือนยังสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ด้วย เพราะแต่ละโรงเรือนจะมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิทำความร้อนและเย็นได้


สำหรับการปลูกเมล่อนตามแบบฉบับของชาวญี่ปุ่นนั้น หลังจากทำร่องเสร็จแล้ว ก็จะเพาะเมล็ดพันธุ์ก่อน เมื่อเมล็ดงอกออกมาได้พอประมาณจึงคัดเอาเฉพาะต้นที่สมบูรณ์มา 2 ต้น โดยต้นหนึ่งเป็นต้นหลัก แล้วนำกิ่งจากอีกต้นมาทาบกิ่ง หลังจากที่ต้นเมล่อนเจริญเติบโตและออกดอก ก็จะนำเกสรดอกตัวผู้มาผสมกับเกสรดอกตัวเมีย จำนวน 2 ดอก ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 5-9 ดอกต่อ 1 ต้นนั้น จะตัดทิ้งทั้งหมด


จากนั้นให้รอจนเมล่อนออกผล 2 ผล แล้วเลือกเอาผลที่สมบูรณ์ไว้เพียงผลเดียว ส่วนอีกผลก็ตัดทิ้งไป ทั้งนี้เพื่อให้ต้นเมล่อนออกผลที่มีคุณภาพดีที่สุด กระทั่งผลเมล่อนแก่และสุก ก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อหรือมาประมูลถึงไร่ ในราคาขั้นต่ำตามที่รัฐบาลกำหนด เฉลี่ยแล้วหากซื้อจากไร่ผลละ 2,000-2,500 เยน (คิดเงินไทยผลละ 760-800 บาท) โดยแต่ละผลจะมีน้ำหนักผลละ 1.5-1.8 กก. คำนวณจากที่นายอิชิซูกะ ปลูกเมล่อน 2 โรงเรือน 680 ต้น หมุนเวียนปลูกปีละ 4 ครั้ง เท่ากับปลูกเมล่อนได้ปีละ 2,720 ต้น แต่มีรายได้ตกปีละประมาณ 2 ล้านบาท

"คนญี่ปุ่นจะบริโภคอาหารหรือผลไม้ จะเน้นที่คุณภาพ ต้องมีความอร่อย สะอาด ปลอดสารพิษ ฉะนั้นไร่เมล่อนของผมจะต้องเน้นคุณภาพ หากเน้นที่ปริมาณแต่ไม่มีคุณภาพคนญี่ปุ่นก็จะไม่ซื้อกิน ต้องพึ่งเทคโนโลยีมาช่วย จะปลูกเท่าไรก็ไม่ขาดทุนเพราะรัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาให้ ที่สำคัญประเทศญี่ปุ่นยังขาดแคลนผลผลิตทางเกษตรอีกมาก มีเท่าไรก็ขายได้ เพราะปัจจุบันรัฐบาลต้องนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศจำนวนมาก ตรงนี้ไม่ต้องกลัว" นายอิชิซูกะ กล่าว


ด้านนายธงชาติ รักษากุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวหลังจากที่พาคณะไปดูไร่เมล่อนของนายอิชิซูกะว่า ต้องยอมรับว่าวงการเกษตรของญี่ปุ่นพัฒนาไปในลักษณะเกษตรอุตสาหกรรม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพราะชาวญี่ปุ่นนั้นเน้นในเรื่องผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ฉะนั้นเกษตรกรชาวญี่ปุ่นจะเน้นในเรื่องคุณภาพเป็นหลัก ในขณะที่อีกหลายประเทศมักเน้นในเรื่องของปริมาณ จึงทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกมาตลอด ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรไทยต้องเน้นในเรื่องของผลผลิตออกมาให้มีคุณภาพ โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรต้องรณรงค์และแนะนำเกษตรกรในเรื่องนี้ต่อไป



แหล่งข้อมูล: คม ชัด ลึก


http://www.melonthai.com/?news+view+00000027









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (2169 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©