-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 327 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว






เทคนิคการทำสวนเกษตรพอเพียง


โดยปกติแล้วการทำสวนครัวและสวนเกษตรแบบพอเพียงนั้น ก็เพื่อให้ปลอดสารพิษและให้เก็บบริโภคได้ทุกวัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมาบริโภค ลดรายจ่ายในครัวเรือน เกษตรพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัวคนไทย ทั้งในเมืองหลวงและในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่บางครอบครัว ไม่ได้ประกอบอาชีพการเกษตรอย่างจริงจัง แต่มีความต้องการให้สมาชิกครอบครัว ประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ได้มีการบริโภคผักปลอดสารพิษที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และได้โภชนาการอย่างคุ้มค่าที่สุด ทำให้เป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

ในรูปแบบของการทำสวนเกษตรและการทำสวนครัวนั้น สมาชิกแต่ละคนที่อยู่ในครอบครัวเอง จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ และดำเนินการดูแลรักษาอย่างถูกหลักวิชาการ เพื่อให้มีชนิดและปริมาณพืชผักที่ปลูก ตรงกับความชอบ และความต้องการรับประทานของคนในครอบครัวเอง และเพิ่มปริมาณมากเพื่อให้เพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวไปบริโภคประจำวันได้ทุกวันโดยไม่ขาดแคลน โดยส่วนที่เหลืออาจเป็นส่วนที่สามารถเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนได้อีกทางหนั่ง



การทำสวนเกษตรพอเพียงนี้ มีรูปแบบที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ รูปแบบที่ใช้เนื้อที่ปลูกเพียง 36 ตารางเมตร สามารถปลูกพืชผักได้พร้อมกันในคราวเดียวหลายชนิด มีทั้งผักยืนต้นปานกลางอายุยืน ไปจนถึงพืชล้มลุกอายุยืนทั้งหลาย ซึ่งทำให้สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อนำมารับประทานได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีการปลูกพืชผักล้มลุกอายุสั้นผสมลงในแปลงปลูก โดยสามารถปลูกหมุนเวียนกันได้ตลอดปี ไม่ทำให้ดินมีการเสื่อมสภาพแต่อย่างใด การทำให้ชนิดผักต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันลงในแปลงปลูกแปลงเดียวนั้น มีขั้นตอนหลากหลายและมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง เพราะส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะเป็นการเพาะปลูกผักชนิดเดียวทั้งแปลง แต่การทำสวนเกษตรพอเพียงเป็นการดัดแปลงวิธีการปลูก ซึ่งเป็นการปลูกผักที่ล้วนเป็นผักที่คนทั่วไปคุ้นเคย ชอบบริโภค และพอใจที่จะปลูกได้เป็นสวนครัวในบ้าน จึงสามารถปลูกและนำมาใช้ประโยชน์ได้พร้อมกันทั้งหมด คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังมี
การทำสวนครัวผสม เป็นเทคนิคการปลูกผักสวนครัวอีกอย่างหนึ่งที่ควรทราบ

การทำสวนครัวหรือสวนผักหลังบ้าน

เป็นการทำสวนผักเล็กๆ น้อยๆ เป็นงานอดิเรก เพื่อให้มีผักไว้ใช้รับประทานในครอบครัว เป็นการประหยัดรายจ่าย นอกจากนั้นอาจจะมีเหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้าน หรือขายเป็นรายได้พิเศษ

การทำสวนครัวเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกครัวเรือน เพราะการที่เรามีผักสดรสดีไว้รับประทานเอง เราจะไม่ต้องพะวงเรื่องความสกปรก และพิษยาฆ่าโรคแมลงที่ตกค้างเหมือนกับผักที่ไปซื้อหามา การทำสวนครัวเหมาะต่อการฝึกเด็กๆ ที่บ้านให้รู้จักทำงาน ให้รู้จักธรรมชาติ รู้จักใช้มือ ใช้สมองตลอดจนเป็นการออกกำลังกายไปด้วยในตัว

การทำสวนครัว เกษตรพอเพียง เหมาะต่อคนทุกเพศวัยเหมาะที่สุดสำหรับคนเมืองหลวง โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องออกทำงานนอกบ้านต้องพบกับภาวะประจำวันที่น่าเบื่อหน่าย อาทิถนนสายต่างๆ รถติดยาวเหยียด อากาศที่ร้อนอบอ้าว ประกอบกับไอร้อนและควันพิษรถยนต์ ถ้าทุกคนทุกครอบครัวหันมาทำสวนครัวกันเสียก็จะช่วยสุขภาพจิตได้ การทำสวนครัวจึงเป็นยารักษาจิตอย่างหนึ่งที่ใช้ในโรงพยาบาลประสาท ถ้าท่านไม่มีที่ดินจะปลูกผัก ก็อาจปลูกในปีบรั่ว ถังแตกกะละมังทะลุ ลังไม้ ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ฯลฯ ท่านจะปลูกผักอะไรก็ได้ ถึงแม้ไม่มีที่ภายนอกอาคารเลย อย่างน้อยท่านอาจจะเพาะถั่วงอกไว้กินเองได้โดยเพาะกับกระสอบเก่าๆ ที่ชุบน้ำให้ชื้นหรือใช้ถุงพลาสติกใส่ขี้เลื่อยเพาะเห็ดทำได้ไม่ยาก




สารสกัดธรรมชาติสำหรับควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลงผักเกษตรพอเพียง

การสกัดเอาสารเคมีจากพืชในธรรมชาติมาใช้ในการฆ่าแมลง เป็นที่นิยมใช้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายได้แก่สารจำพวก นิโคติน โรทีโนน ไพรีทริน และสารสกัดจากสะเดา

นิโคติน (Nicotine) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่พบในใบยาสูบ มีพิษต่อระบบประสาทของสิ่งที่มีชีวิต มี LD50 เท่ากับ 40 มิลลิกรัม/หนึ่งกิโลกรัม ของน้ำหนักตัว ทำในรูปการค้าเป็นนิโคตินซัลเฟต เช่น Black Leaf 40 ใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ย มวน ฯลฯ และใช้เป็นยารมกำจัดแมลงในเรือนเพาะชำ

โรทีโนน (Rotenone) เป็นสารเคมีในธรรมชาติที่มนุษย์สกัดมาจากต้นใต้ดินและรากของต้นหางไหล หรือโล่ติ้น หรืออวดน้ำ เป็นพืชวงศ์ถั่วมีชื่อว่า derris elliptica Benth นอกจากนั้นยังสามารถสกัดได้จากรากและต้นของต้นหนอนตายอยาก (Stemona collinsae Craib) หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Stemona และจากใบและเมล็ดของมันแกว มนุษย์ใช้สารโรทีโนนจากโล่ติ้น เป็นยาเบื่อปลามาตั้งแต่สมัยโบราณ มีพิษน้อยต่อสัตว์เลือดอุ่น รากป่นแห้งของต้นหนอนตายอยาก สามารถกำจัดแมลงในบ้าน ได้แก่ เรือด หมัด ลูกน้ำยุง และหนอนแมลงวัน และกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แก่ ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว (Callosobruchus chinensis) หนอนกระทู้ผัก (Spodopteralitura) หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera) หนอนใยผัก (Plutellaxylostella) แมลงวันแตง (Dacus cucurbitae) เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii) หนอนกะหล่ำ (Crocidoiomia binoltalis) หนอนแตง (Margalonia indica) เป็นต้น สารโรทีโนนนี้เป็นสารที่มีพิษต่อระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต แมลงที่ถูกสารนี้จะมีอาการขาดออกซิเจน เป็นอัมพาต และตายในที่สุด

ไพรีทริน (Pyrethrin) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่มนุษย์สกัดได้จากดอกแห้งของไพรีทรัม (Pyrethrum) ซึ่งมีสีขาวอยู่ในวงศ์ compositae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า chrysanthemum cinerariae folium ชอบขึ้นและเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น สารไพรีทรินเป็นยาฆ่าแมลงประเภทถูกตัวตาย ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยเข้าไปสกัดประจุโซเดียมบนผิวของเส้นประสาท ทำให้ระบบไฟฟ้าของเส้นประสาท (Neuroelectrical) หยุดชะงัก ทำให้แมลงสลบโดยทันทีและตายในที่สุด ไพรีทรินมีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก เนื่องจากสลายตัวได้รวดเร็วในร่างกายของคนและสัตว์เลี้ยง คนที่แพ้อาจมีอาการคล้ายคนเป็นโรคหอบหืด ไม่มีพิษตกค้าง สลายตัวได้ดีในสิ่งแวดล้อม สารเคมีสังเคราะห์คล้ายพวกไพรีทรินมีหลายชนิดคือ Allerthrin, Resmethrin, Bioresmethrin, Tetramethrin, Bioallerthrin, Permethrin, Cypermethrin, Cyfluthrin มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงศัตรูพืชคือ เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ (Pieris rapae) หนอนกะหล่ำใหญ่ (Pieris brassicae) เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย (Amarasca biguttuia) หนอนเจาะมะเขือ (Leucinodes orbonalis) และหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว (Ophiomyia reticulata)

สะเดา (Azadirachta indica) หรือเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Nim (Neem) สะเดาเป็นไม้เนื้อแข็ง โตเร็ว เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศอินเดียและไทย สะเดาจะออกดอกติดผลเมื่อมีอายุ 4-5 ปี โดยเฉลี่ยจะให้ผล 30-50 กิโลกรัมต่อต้น สารฆ่าแมลงมีในทุกส่วนของต้น แต่จะมีมากที่สุดในเมล็ดเป็นสารฆ่าเชื้อรา และไส้เดือนฝอยอีกด้วย แมลงที่สารสะเดาสามารถควบคุมและป้องกันกำจัดได้คือ ด้วงงวงข้าวโพด (Sitophylus zeamais) หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera) เพลี้ยอ่อนทั่วไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) หนอนใยผัก (plutella xylostella) หนอนกระทู้ (Spodoptera frugiperda) ด้วงหมัด (Podagrica uniforma) เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว (nephotettix virescens) หนอนแมลงวันชอนใบ (Liriomyza spp.) ไรทั่วไป เพลี้ยกระโดดหลังขาว (Sogatella furcifera) แมลงหวี่ขาว (Bemesiatabaci) เต่ามะเขือ (Epilachna chrysomelina) หนอนเจาะยอดกะหล่ำ (Hellula undalis)

สารออกฤทธิ์ของสะเดาได้แก่ azadirachtin, Salannin, Meliantriol และ Nimbin สารออกฤทธิ์จะหมดฤทธิ์ในสภาพที่มีแดด ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเล็ต จึงควรใช้สารสะเดากับพืชเวลาเย็น หรือตอนกลางคืน สารสะเดาไม่เป็นอันตรายต่อแมลงพวกต่อ แตน ผึ้ง สัตว์เลือดอุ่น และมนุษย์

การทำแปลงปลูกสวนเกษตรพอเพียง


  1. เนื้อที่ในการทำสวนครัวไม่ควรเกิน 36 ตารางเมตร (กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร)
  2. ทำรั้วล้อมเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าไปทำลายผลผลิต
  3. ทำแปลงปลูกผักยืนต้นชนิดเป็นพุ่มปานกลาง หรืออายุยืนมากสุด ติดกับรั้วด้านในกว้าง 50 เซนติเมตร แบ่งแปลงออกเป็นแปลง เล็กๆ โดยให้ยาวแปลงละ 1 เมตร จำนวน 16 แปลง และแปลงรอบรั้วติดกับประตูทางเข้าอีก 4 แปลง ยาวแปลงละ 1.25 เมตร รวม 20 แปลงเล็ก ซึ่งจะปลูกพืชยืนต้นและยืนต้นปานกลางได้มากถึง 14 ชนิด
  4. ทำแปลงปลูกพืชผักล้มลุกหมุนเวียน ให้มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 แปลง แบ่งแต่ละแปลงเป็นแปลง เล็ก ๆ แปลงละ 1 ตารางเมตร จะปลูกพืชล้มลุกหมุนเวียนได้ครั้งละ 12 ชนิด หมุนเวียนตลอดปี จะปลูกได้มากถึง 34 ชนิด
  5. ทำประตูเข้า-ออก ความกว้าง 1 เมตร อยู่ทางทิศเหนือ ด้านข้างแปลงควรอยู่ทางทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก
  6. แปลงผักสวนครัว ควรอยู่ด้านเหนือหรือด้านใต้ของตัวบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงเงาบ้านทอดทับแปลงผัก
  7. แปลงผักสวนครัว ควรได้รับแสงแดดตลอดวัน หรืออย่างน้อยครึ่งวันและควรเป็นช่วงเช้า

หมายเหตุ : จากภาพ หมายเลข 1-12 ปลูกผักล้มลุกหมุนเวียนตลอดปี 12 แปลงย่อย, หมายเลข 13-32 ปลูกผักยืนต้นปานกลางและผักยืนต้น 20 แปลงย่อย


การใช้สารสกัดจากสะเดา

การใช้บดเมล็ดสะเดาให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง แช่น้ำ 1 คืน ด้วยอัตราการใช้ผงสะเดา 25-30 กรัม/ลิตร หรือเมล็ดสะเดาบด 1 กิดลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำเป็นเวลา 1-2 คืน แล้วกรองเอากากออก ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงได้ โดยนำไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เลย และควรผสมยาจับใบทุกครั้งที่มีการฉีดพ่น


ข้อมูลอ้างอิงจาก ku.ac.th


www.vwander.com/save/2010/05/สารเคมี-สีของผักผลไม้/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1730 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©