-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 445 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสวนครัว





การปลูกพืชในระบบ NFT (Nutrient film technique)
การปลูกแบบนี้จะเป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลิเมตร) ในรางปลูกพืชกว้าง ตั้งแต่ 5-35 ซม. สูงประมาณ 5-10 ซม. ความกว้างราง ขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก ความยาวของราง ตั้งแต่ 5-20 เมตร การไหลของสารละลายอาจเป็นแบบต่อเนื่องหรือแบบสลับก็ได้โดยทั่วไปสารละลายจะไหลแบบต่อเนื่อง อัตราไหลอยู่ในช่วง 1-2 ลิตร/นาที/ราง รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำ หนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป ,ทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรือ อะลูมิเนียม และบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย โดยจะมีปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรางและรากพืชและเวียนกลับมายังถังเก็บสารละลาย ดังรูปที่ 1


รูปที่ 1 ระบบการปลูกพืชแบบ NFT (Nutrient film technique)


ข้อดีและข้อเสียของระบบ N.F.T.
ข้อดี
- ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องควบคุมการให้น้ำเนื่องจากระบบนี้จะมีการให้น้ำแก่พืชตลอดเวลา
- ระบบการให้สารละลายแก่พืชไม่ยุ่งยาก
- ทำการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชต่าง ๆ ในสารละลายได้ง่าย
- เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
- ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด
-สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมระบบปลูก เช่นสามารถปลูกผักสลัดได้ถึง 8-10 ครั้ง/ปี

ข้อเสีย
- ราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก โดยเฉพาะถ้าใช้ขาตั้งทำจากโลหะ
- เป็นระบบที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสที่ระบบจะเสียได้ง่าย และพืชจะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
- ต้องใช้น้ำที่มีสิ่งเจือปนอยู่น้อย (สารละลายต่างๆ) ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่มากจะเกิดการสะสมของ เกลือบางตัวที่พืชใช้น้อยหรือไม่ดูดใช้เลยสะสมอยู่ในสารละลาย ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนสารละลายบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลือง
-มีปัญหามากเกี่ยวกับการสะสมของอุณหภูมิของสารละลาย โดยเฉพาะในเขตร้อนมีผลต่อการละลายตัวของออกซิเจนในสารละลายลดลง จะทำให้พืชอ่อนแอรากถูกทำลายโดยโรคพืชได้ง่าย การเจริญเติบโตลดลง จนถึงไม่สามารถปลูกพืชได้เลย
-มีการแพร่กระจายของโรคพืชบางชนิดอย่างรวดเร็ว

องค์ประกอบของระบบปลูกพืชแบบ NFT
1. ส่วนควบคุมสารละลาย ประกอบด้วย
- ถังเก็บสารละลาย
ถังเก็บสารละลายโดยทั่วไปจะฝังอยู่ใต้ดินเพื่อป้องกันความร้อนและขณะที่น้ำจากรางปลูกพืชไหลตกลงในถังก็จะเป็นการเพิ่มการละลายตัวของออกซิเจนอีกทีหนึ่ง ขนาดของถังเก็บสารละลายขึ้นกับปริมาณพืชในระบบ และชนิดพืชที่ปลูก และความถี่ในการปรับค่า pH และ EC ถ้าถังที่ใช้มีขนาดเล็กจะต้องมีการเติมและปรับสารละลายบ่อยและโอกาสที่พืชจะได้รับสารละลายที่มีองค์ประกอบไม่เหมาะสมจะมากด้วย (อาจจำเป็นต้องใช้ระบบเตรียมสารละลายโดยอัตโนมัติ) โดยทั่วไป ถ้าถังสารละลายมีขนาดใหญ่ขึ้นการเปลี่ยนค่าต่างๆของสารละลายจะช้าลงพืชจะเจริญเติบโตได้ดีแต่จะเปลืองสารละลายมากโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการเปลี่ยนสารละลายทั้งหมด ถังสารละลายที่ใช้ อาจเป็นถัง ไฟเบอขนาดความจุ 4000 ลิตร หรือก่อเป็นถังปูนฝังอยู่ใต้ดินแต่จะมีราคาแพง ถ้าเป็นระบบขนาดเล็กอาจใช้ถังพลาสติก

- ปั๊มสารละลาย อาจเป็นแบบปั๊มแช่อยู่ในสารละลาย หรือเป็นแบบอยู่นอกถัง ถ้าเป็นแบบแช่ ได้แก่ ปั๊มไดโว ข้อดี คือ ราคาถูกหาซื้อได้ทั่วไป ข้อเสีย คือ ถ้าปั๊มไม่ดีจะเสียหายง่าย และเกิดการถ่ายเทความร้อนให้สารละลายโดยตรงทำให้สารละลายร้อน หรืออาจใช้เป็นปั๊มอยู่นอกถังจะต้องเป็นปั๊มที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ และต้องทนการกัดกร่อนของสารละลายจึงทำให้มีราคาแพง

- ระบบเตรียมสารละลายโดยอัตโนมัติถ้าเป็นการปลูกระบบใหญ่ๆเป็นค้า อาจจำเป็นต้องมีระบบเตรียมสารละลายโดยอัตโนมัติโดยจะทำหน้าที่ควบคุม ปริมาณน้ำในถังและค่า pH และ EC ของสารละลายให้อยู่ในช่วงที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา เช่นในการปลูกผักสลัดจะควบคุมให้ค่า pH = 5.5-6 และ EC = 1.0-1.2 mS/cm ตลอดเวลา ข้อดี คือ สารละลายจะมีค่า pH และ EC คงที่อยู่ในช่วงที่พืชต้องการ ข้อเสีย คือ ราคาแพงและต้องมีการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นระบบขนาดเล็กก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบเตรียมสารละลายโดยอัตโนมัติ แต่จะใช้คนเป็นผู้วัดและปรับค่า pH และ EC ตามที่ต้องการโดยทั่วไปจะทำตอนเช้า

2. ระบบท่อนำสารละลายและรางปลูกพืช
ระบบท่อนำสารละลายสู่รางปลูก
จะเป็นท่อที่นำสารละลายจากปั๊มไปสู่หัวรางปลูกพืช ท่อนำสารละลายโดยทั่วไปจะฝังอยู่ใต้ดินส่วนที่พ้นดินจะใช้ท่อสีขาวเพื่อป้องกันการสะสมความร้อนต้องมีการคำนวณขนาดให้พอเหมาะกับปั๊มที่ใช้

รางปลูกพืช
รางจะมีขนาดความกว้างและความยาวต่างๆกันตามชนิดของพืชที่ปลูก ตัวรางอาจทำจากวัสดุต่างๆ เช่น PVC พลาสติกหรือโลหะปลอดสนิม ซึ่งต้องบุภายในด้วยพลาสติก ขนาดราง มีตั้งแต่ 10 – 30 ซม. ความยาว ตั้งแต่ 5 – 50 เมตร ควรใช้รางสีขาวทำจากวัสดุ PVC และไม่ควรยาวเกิน 20 เมตร เพื่อป้องกันการสะสมความร้อนทำให้รากพืชขาดออกซิเจน

ท่อนำสารละลายกลับสู่ถังสารละลาย
จะเป็นท่อขนาดใหญ่ (2 ½-3 นิ้ว) เนื่องจากการไหลกลับของน้ำจะอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างเดียวและท่อฝังอยู่ใต้ดิน และโดยทั่วไปจะมีลูกลอยอยู่ในถังผสมสารละลาย ในกรณีที่ฝนตกน้ำเข้าในรางปลูกพืชลูกลอยจะปิดไม่ให้น้ำฝนเข้าในถัง น้ำส่วนเกินจะระบายออกทางท่อระบายน้ำ

ปัญหาเกี่ยวกับปริมาณออกซิเจนในสารละลายของระบบ NFT
ปัญหาที่สำคัญที่สุดของการปลูกพืชในระบบ NFT โดยเฉพาะในแถบร้อน คือ การสะสมอุณหภูมิของสารละลายในช่วงเวลากลางวันทำให้อุณหภูมิสูงเกินไปมีผลให้การละลายตัวของออกซิเจนในสารละลายลดลงจนไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นมีผลให้การละลายตัวของออกซิเจนในสาระลายลดลง (ตารางที่ 1) ขณะเดียวกันอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลให้ความต้องการออกซิเจนของรากพืชเพิ่มขึ้นด้วย รูปที่ 2

ปัญหาเกียวกับอุณหภูมิจะพบมากที่สุดในช่วงหน้าร้อนเนื่องจากอุณหภูมิกลางวันอาจสูงถึง 38 oC ทำให้สารละลายมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากมีผลให้การละลายตัวของอ๊อกซิเจนลดต่ำลงการหายใจของรากจะมีปัญหารากจะอ่อนแอ ดูดธาตุอาหารและน้ำได้น้อย และโรคพืชเข้าทำลายได้ง่ายโดยเฉพาะ Phytium ซึ่งอาการที่แสดงออกพืชจะเหี่ยว ถ้าอาการหนักรากจะเป็นสีน้ำตาลและถ้ามากขึ้นรากจะเป็นสีดำขาดออกจากต้นและมีกลิ่น ถ้าเป็นถึงขั้นนี้แล้วพืชจะตายในที่สุดและจะมีการลุกลามไปต้นข้างเคียงอย่างร่วดเร็วและจะรามไปหมดทั้งระบบปลูกซึ่งถือว่าเป็นอันตรายที่สุดในการปลูกในระบบ NFT และ DFT ซึ่งถ้าเปรียบเทียนแล้วระบบ DFT ที่ปลูกในท่อ PVC จะพบอาการนี้มากและรุนแรงกว่า NFT มาก

การป้องกันโดยลดอุณหถูมิของสารละลายให้อยู่ต่ำกว่า 25 oC โดยใช้เครื่องทำความเย็นในสารละลาย แต่จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก บางฟาร์มอาจใช้วิธีพ้นละอองน้ำเหนือต้นพืช เพื่อลดอุณหภูมิแต่ต้องใช้น้ำจำนวนมากและต้องพ่นให้ทั่วทั้งแปลงถ้ามีบางแห่งเปียกบางแห่งแห้งแต่มีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้เกิดการระบาดของโรคที่ใบได้

ตารางที่ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายตัวของออกซิเจนในสารละลายธาตุอาหารพืช ที่ปลูกในระบบ NFT

1.อุณหภูมิ
อุณหภูมิสูงขึ้นการละลายตัวออกซิเจนลดลง(ตารางที่ 2)

2. ชนิดของพืช
เช่นแตงกว่าผลยาว (cucumber) รากมีความต้องการออกซิเจนมากกว่ามะเขือเทศประมาณ2 เท่า

3. ความเข้มแสง
เมื่อแสงมีความเข้มมากขึ้นการระเหยน้ำจะมากตามไปด้วยมีผลให้กิจกรรมของรากเพิ่มดังนั้นมีความต้องการออกซิเจนมากขึ้น และแสงยังมีผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิด้วย

4. ความหนาของการไหลของสารละลายในราง NFT`
ถ้าสารละลายไหลในรางมีความหนาเพิ่มขึ้นการละลายตัวออกซิเจนจากอากาศลงในสารละลายจะน้อย ดังนั้นความหนาของสารละลายในรางไม่ควรเกิน 3 มิลิเมตร คือจะต้องมีสวนของรากอยู่พ้นผิวน้ำ

5. ความยาวของราง
รางสารละลายยิ่งยาวความแตกต่างของออกซิเจนในสารละลายระหว่างต้นรางและปลายรางยิ่งมากเนื่องจากพืชต้นรางจะดูดใช้ ออกซิเจนออกจากสารละลาย และรางยิ่งยาวจะมีการสะสมของอุณหภูมิที่ปลายราง เช่นรางยาว 20 เมตร ถ้าปลูกมะเขือเทศปลายรางจะมีออกซิเจนน้อยกว่าต้นราง1 ppm แต่ถ้าปลูกแตงกว่าจะมีน้อยกว่าถึง 3ppm

6. ความลาดเอียงของราง (Slope)
ถ้ารางมีความลาดเอียงมากขึ้นอัตราไหลของน้ำในรางจะสูงขึ้น มีผลให้ความหนาของน้ำบางลง อัตราการละลายของ ออกซิเจนจะสูงขึ้น



ระบบปลูก NFT ในประเทศไทย
เป็นระบบปลูกที่ปลูกผักสลัดในราง PVC ขนาดเล็ก เป็นระบบที่นำเข้าโดยบริษัท Accent ประเทศไทย และเป็นระบบที่ทำให้การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศเทศมีผู้สนใจอย่างแพร่หลายจนมีการพัฒนาเป็นการค้า ซึ่งระบบจะมีองค์ประกอบดังนี้

1. ราง ทำจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรูป 5 เหลี่ยม ฐานกว้าง 10 ซม สูง 5 ซม รางแต่ละรางยาว 6 เมตร และเจาะรูปลูกพืช รูปวงกลมรัศมี 2.5 ซม. ระยะระหว่างช่องปลูกพืช 25 ซม. ใน 1 เมตรจะมีช่องปลูกพืช 4 ช่อง ด้านฐานรางเซาะเป็นร่องเล็กๆเพื่อช่วยกระจายให้สารละลายไหลเป็นแผ่นบาง ๆ

2. โต๊ะปลูกพืช
แต่ละโต๊ะมีขนาดกว้าง 1.80 เมตร ยาว 18 เมตร และสูง 1.20 เมตร บนโต๊ะประกอบด้วยราง 8 แถวเรียงขนานกัน แต่ละแถวยาว 18 เมตร (ประกอบด้วยราง 3 ราง เรียงต่อกันและเชื่อมด้วยข้อต่อราง) ด้านน้ำเข้าปิดด้วยตัวปิดปลายรางและทาด้วยกาวซิลิโคน และเจาะรูด้านบนเพื่อเป็นทางน้ำเข้า 2 รู แต่ละรางห่างกัน 25 ซม. โครงขาโต๊ะทำจากเหล็กฉากขนาด 1นิ้ว อ๊อกเป็นรูปตัว U ขาสองข้างปักลงดิน แต่ละช่วงห่างกัน 1.5 เมตร มีขารวมกันทั้งหมด 13 ช่วง รางเอียง 1.5-2 % 1 โต๊ะปลูก สามารถปลูกพืชได้ 4 x 18 X 8 = 576 ต้น พื้นที่ปลูกพืชแต่ละโต๊ะ = 1.80 X 18 = 32.4 ตารางเมตร

ระบบนี้ 1 ชุดจะมีโต๊ะปลูกพืช 30 โต๊ะ รวมปลูกพืชได้ทั้งหมด 576 x 30 = 17,280 ต้น และมีระบบปรับค่า pH และ EC ของสารละลายโดยอัตโนมัติ โดยมีเครื่อง pH meter และ EC meter คอยวัดค่าตลอดเวลา โต๊ะปลูกจะวางขนานกัน ระยะห่างระหว่างโต๊ะปลูก = 90 ซม. เป็นทางเดิน สารละลายจากปั๊มจะไหลสู่รางปลูกพืชผ่านท่อ PVC สีขาวขนาด ¾ นิ้ว สารละลายไหลจากต้นรางผ่านรากพืชไปรวมที่ปลายโต๊ะไหลลงสู่รางรวมสารละลายรูปสี่เหลี่ยมขนาด 15 x 10 ซม. และไหลลงท่อ PVC ขนาด 2.5 นิ้ว สารละลายจากทุกโต๊ะปลูกจะไหลมารวมกันสู่ถังผสมสารละลาย ขนาด 5 ลบ.ม. ฝังอยู่ใต้ดิน

รูปที่ 4 โต๊ะปลูกพืชประกอบด้วยรางปลูกพืช 8 ราง
รูปที่ 5 การจัดเรียงของโต๊ะปลูกพืช 1 ชุด จำนวน 30 โต๊ะ

2. ชุดรางอนุบาลกล้าไม้
รางอนุบาลกล้าไม้ 2 โต๊ะ เป็นรางชนิดเดียวกับรางปลูกพืช แต่ระยะระหว่างช่องปลูกพืช = 6.25 ซม. ใน 1 เมตรจะมีช่อง = 16 ชอง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซม 1 โต๊ะอนุบาลกล้าไม้ขนาดกว้าง 1.8 เมตร ยาว 18 เมตร และมีรางวางเรียงกัน 16 ราง แต่ละโต๊ะจะอนุบาลกล้าได้ 4,500 ต้น รวม 2 โต๊ะจะอนุบาลกล้าไม้ได้รวม 9,000 ต้น ระบบหมุนเวียนสารละลายของชุดอนุบาลจะแยกออกจากระบบใหญ่โดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร ฝังใต้ดินวางอยู่ใต้โต๊ะปลูกและมีปั๊มน้ำไดรโว่ขนาดเล็กหมุนเวียนสารละลาย

3.เครื่องเตรียมสารละลายอัตโนมัติ
สารละลายจากรางปลูกเมื่อมารวมในถังผสมสารละลายจะมีเครื่องคอยปรับค่า pH และ EC โดยอัตโนมัติ (รูปที่ 7) โดยประกอบด้วยเครื่อง pH meter และ EC meter คอยวัดค่าตลอดเวลา และมีถังสารละลายเข้มข้นขนาด 50 ลิตรสีดำ 2 ถัง และมีวาล์วไฟฟ้า 24 V ที่ถูกควบคุมโดยเครื่อง EC Meter เมื่อสารละลายเจือจางลงเครื่องก็จะสั่งให้เปิด วาล์วปล่อยสารละลายเข้มข้นลงสู่ถังผสม เมื่อความเข้มข้นได้ตามค่าที่ตั้งไว้เครื่องก็จะสั่งให้ปิดวาล์ว และในถังผสมสารละลายจะมีลูกลอยคอยเติมน้ำเปล่าลงในถัง เมื่อพืชใช้น้ำลูกลอยก็จะควบคุมให้ระดับน้ำคงที่ตลอดเวลา และเป็นการเจือจางสารละลายมีผลให้ค่า EC ลดลง เครื่อง EC meter ก็จะเป็นตัวปรับให้ค่า EC ที่ต้องการ ส่วนค่า pH จะถูกควบคุมโดยเครื่อง pH meter เมื่อค่า pH เพิ่มขึ้น เครื่องก็จะสั่งให้ปั๊มลมทำงานอัดลมเข้าในถังกรด ฟอสฟอริก ที่ปิดสนิท มีทางออกผ่านท่อขนาดเล็กเพื่อเติมกรดลงในถังผสม เมื่อค่า pH ได้ค่าที่ต้องการปั๊มลมก็จะหยุด

รูปที่ 7 ระบบเตรียมสารละลายอัตโนมัติ

ปั๊มน้ำเพื่อหมุนเวียนสารละลายในระบบ
เป็นปั๊มทนกรด ขนาด1.5 แรงม้า 1 ตัว ตั้งอยู่นอกถัง มีหน้าที่นำสารละลายจากถังผสมไปสู่รางปลูกพืชและจะมีน้ำบางส่วนพ่นกลับในถังเพื่อเติมอากาศให้สารละลาย

รูปที่ 8 ปั๊มสารละลาย

ถังผสมสารละลาย
เป็นถัง Fiber ขนาด 5 ลบ.เมตร ฝังอยู่ใต้ดิน ภายในถังมีลูกลอยสองชุด ชุดแรกใช้เติมน้ำเปล่าเพื่อชดเชยการใช้น้ำของพืช ชุดที่สองติดอยู่ที่ทอนำน้ำกลับจากรางปลูกพืช ลูกลอยชุดนี้มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำล้นออกนอกถังในกรณีฝนตก หรือไฟฟ้าดับ เพราะโดยทั่ว ๆ ไปสารละลายทั้งหมดในระบบปลูกจะอยู่ในถังผสมสารละลาย 1 ส่วน อยู่ในรางปลูกและท่อต่างๆ 2 ส่วน

รูปที่ 9 ถังผสมสารละลายฝังอยู่ในดินและระบบเติมอากาศ

ตัวอย่าง
โต๊ะ 30 โต๊ะ ปลูกพืชได้ 17,280 ต้น ปลูกทั้งหมด 10 ครั้ง/ปี = 172,800 ต้น/ปี ให้เกิดการเสียหายได้ 10% = 17,280 ต้น เหลือผลผลิตที่ได้ = 155,520 ต้น หรือมีผลผลิตออก = 155,520/52 = 2,990 ต้น/อาทิตย์

ราคาระบบใน USA
1.โต๊ะปลูก 30 โต๊ะ ปลูกพืชได้ 17,280 ต้น $ 34,950 X 37= 1,293,150 บาท
2.โต๊ะอนุบาลกล้าไม้ 2 โต๊ะ ปลูกพืชได้ 9,000 ต้น $ 3,704 X 37 = 137,048 บาท
3.ระบบเตรียมสารละลายอัตโนมัติและถัง $ 2,400 X 37 = 88,800 บาท
รวม $41,054 X 37 = 1,518,998 บาท

การปลูกผักสลัดจะมีขั้นตอนดังนี้
1. เพาะกล้าไม้ 2 อาทิตย์
2. อยู่ในรางอนุบาลกล้าไม้ 2 อาทิตย์
3. อยู่ในรางปลูกพืช 2–3 อาทิตย์ รวมเวลาปลูก 6–7 อาทิตย์
4. ในรอบ 1 ปี สามารถปลูกผักได้ 10–12 ครั้ง/ปี

การปลูกผักสลัดในระบบ NFT
1.ชนิดผักที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นผักสลัดที่ปลูกมากได้แก่ Butter head, Iceberg (Crisp head), Cos, Green Oak, Red Oak, Fillice,

2.เมล็ดผักมี 2 แบบคือ เมล็ดแบบไม่เคลือบ (Raw seed)จะมีเมล็ดประมาณ 800 เมล็ด / กรัม ราคาประมาณ 200-400 บาท /1000 เมล็ด ชนิดที่ 2 เมล็ดจะเคลือบด้วยแร่ดินเหนียวและสารเชื่อมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.25-3.75 มิลิเมตร ทำให้เมล็ดใหญ่ขึ้นสะดวกตอนเพาะเมล็ดเป็นเมล็ดที่ผ่านการกระตุ้นเพื่อพร้อมที่จะงอก ดังนั้นอัตราการงอกจะสม่ำเสมอ แต่ราคาจะแพงกว่า ประมาณ 400-600 บาท/1000 เมล็ด

3.การงอกของเมล็ดต้องการแสงเล็กน้อยดังนั้นไม่ควรฝังเมล็ดลึกเกินไปในวัสดุปลูก เมล็ดจะงอกได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ

4.วัสดุเพาะเมล็ด โดยทั่วไปจะใช้ Perlite (สีขาว)ผสมกับ Vermiculite (เป็นแผ่นนิ่มๆสีน้ำตาลอุ้มน้ำดี) อัตราส่วน 90:10 หรืออาจใช้ Perlite 100% เลยก็ได้ ถ้าใช้ Vermiculite มากไปจะทำให้วัสดุแฉะต้นกล้าจะเน่าตายได้ง่าย แต่เนื่องจากวัสดุทั้ง 2 ชนิดมีราคาแพงประมาณ ลิตรละ 8 บาท บางที่อาจใช้ทรายแม่น้ำหยาบที่ล้างเอาเศษดินออกและร่อนขนาดประมาณ 2 มิลิเมตรก็ใช้ได้ดี นอกจากนี้อาจใช้วัสดุอินทรีที่ผ่านการย่อยสลายแล้วเช่น ขุยมะพร้าวก็ได้แต่เมืองไทยยังไม่มีการใช้กันแต่ต้องระวังเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ปนม่ากับวัสดุดังกล่าว

5.ถ้วยปลูกจะทำมาโดยเฉพาะ โดยมีขนาดพอเหมาะกับรูและความสูงของรางปลูก โดยก้นถ้วยจะวางอยู่บนฐานรางพอดีและจะมีรอยผ่า 2 เส้นให้เป็นทางออกของรากก่อนซื้อให้ตรวจดูด้วยว่ารอยผ่านั้นมีหรือเปล่าและผ่าทะลุก้นถ้วยหรือไม่เพาะบางครั้งรอยผ่าตื้นเกินไปรากจะไม่สามารถงอกออกมาได้ ถ้วยปลูกจะยึดติดเป็นแผงมี 80 ถ้วย อาจมีสีขาวหรือสีฟ้า

6.ใส่วัสดุปลูกลงในถ้วยให้ต่ำกว่าขอบถ้วยประมาณ ½ ซม.

7.หยอดเมล็ด ถ้าเมล็ดไม่ได้เคลือบจะมีขนาดเล็กมากโดยทั่วไปจะใช้มือหยิบเมล็ดวางบนวัสดุปลูก แต่ถ้าไม่ชำนาญอาจให้ใช้ไม้จิ่มฟันแตะน้ำและแตะเมล็ดวางลงบนวัสดุปลูก ไม่ต้องกลบเมล็ดที่สำคัญให้ใส่ 1 เมล็ดต่อหนึ่งถ้วย หลังจากนั้นใช้มือเขย่าถาดเพาะเมล็ดจะจมลงในวัสดุเอง

8.นำไปวางบนโต๊ะเพาะและลดด้วยน้ำเปล่าประมาณ 2-3วันเมล็ดจะเริ่มงอก ต้องให้ต้นกล้าเริ่มถูกแสงประมาณ 50% ถ้าแสงน้อยต้นกล้าจะยืดทำให้การเจริญเติบโตช้า รอจนต้นกล้าเริ่มมีใบจริงโผล่ออกมาจึงย้ายลงในถาดเพาะ อายุประมาณ 6 วัน

9.นำไปวางในถาดเพาะ ลดด้วยสารละลายเจือจาง หรือปล่อยให้สารละลายซึมจากด้านล่างถ้วยโดยขังน้ำสูงจากก้นถ้วยประมาณ 1 ซม ให้สารละลายธาตุอาหารเจือจางค่า EC = 0.5-0.6 mS/cm (CF=5-6) pH = 5.5-6 ใช้สูตรเดียวกับที่ใช้ปลูกพืช ต้นกล้าจะอยู่ในถาดอนุบาลประมาณ 2 อาทิตย์

9.ย้ายต้นกล้าลงในรางอนุบาล ซึ่งเป็นรางแบบเดียวกับรางปลูกแต่รางจะวางชิดกันและแต่ระรูปลูกจะเจาะชิดกันเมื่อย้ายลงรางอนุบาลให้ค่อยๆเพิ่มค่า EC ของสารละลายขึ้นเรื่อยจนถึงที่ประมาณ 1.1-1.2 mS/cm พืชจะอยู่ในรางอนุบาลอีกประมาณ 2 อาทิตย์จึงย้ายลงรางปลูก

10.ย้ายลงรางปลูกใช้ EC ที่ 1.1-1.2 mS/cm จนเก็บเกียวโดยจะอยู่ในรางปลูกประมาณ 2-3 อาทิตย์ขึ้นอยู่กับชนิดผักและฤดูปลูก

ปัญหาที่อาจพบในการปลูกผัก
1.ผักสีไม่แดง ผักพวกที่มีสีแดง Red oak Red corel เมื่อปลูกแล้วสีอาจไม่แดงเข้ม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้
1.1 พันธ์ที่ใช้ปลูก ผักบางชนิดจะมีสีอ่อนบางชนิดสีเข้มต้องเลือกให้เหมาะ
1.2 สภาพแวดล้อม เม็ดสีในใบผักสลัดมี 2 ชนิดคือ Chlorophyll จะให้สีเขียวจำเป็นในการสังเคราะห์แสง และ Anthocyanins จะให้สีแดงซึ่งในผักสลัดสีแดงจะมีทั้งสองตัวนี้ถ้ามี Antocyanins มากก็จะเป็นสีแดงมาก ถ้ามีน้อยสีแดงก็จะจางลง ซึ่งปริมาณ Chlorophyll และ Antocyanins จะมีมากมีน้อยจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปริมาณแสงและอุณหภูมิ โดย Antocyanins จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อแสงมากขึ้นและอุณหภูมิต่ำลงดังนั้นผักสลัดปลูกในหน้าหนาวจึงมีสีแดงเข้ม และผักถ้าปลูกในล่มเงาจะมีสีซีดลง ผักที่ปลูกในสารละลายเข้มข้นจะมีสีแดงเข้มกว่าผักในสารละลายเจือจาง นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณ K ในสารละลายอาจจะช่วยเพิ่มความเข้มของสีได้ด้วย  โดยสรุปการปลูกให้ผักมีสีแดงเข้มข้อที่สำคัญที่สุดคือเลือกพันธ์ที่มีสีแดงเข้มบางพันธ์จะมีสีแดงเข้มแม้ในหน้าร้อนต้องเลือกพันธ์ให้ดี

ถ้าไม่สามารถเลือกพันธ์ได้ก็ต้องปลูกในหน้าหนาวและให้ผักได้รับแสงเต็มที่ ซึ่งจะพบปัญหาผักที่ปลูกในโรงเรือนจะมีสีจางเนื่องจากหลังคาโรงเรือนลดความเข้มแสง และอุณหภูมิในโรงเรือนก็สูงด้วย บางแห่งจะใช้วิธีย้ายผักออกนอกโรงเรือนก่อนขาย 2-3 วันให้ผักได้รับแสงเต็มที่ก็ช่วยให้สีเข้มขึ้นได้บ้าง


ระบบปลูกพืช แบบ NFT ในเบลเยียม
การติดตั้งระบบ
การติดตั้งระบบจะแบ่งออก
1. เป็นระบบที่วางรางสารละลายลงบนดินโดยตรง โดยมีขั้นตอนการติดตั้ง ดังนี้
1.1 ทำการปรับหน้าดินให้เรียบ โดยมีความลาดเอียงอย่างน้อย 1.5 แต่โดยทั่วไปใช้ที่ 2% ซึ่งการไหลของน้ำเร็วและคงที่และไม่มีการขังน้ำในราง (เพื่อความสะดวกอาจใช้ทรายปูหน้าดิน) ความยาวไม่เกิด 20 เมตร
1.2 ติดตั้งรางระบายน้ำที่ปลายราง โดยอาจใช้ท่อ PVC. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว น้ำจากรางปลูกพืชจะไหลตกลงในรางระบายนี้ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มการละลายของออกซิเจนในน้ำด้วย
1.3 จากนั้นใช้แผ่นโฟม กว้าง 40 ซม. หนา 1 นิ้ว ปูเพื่อให้พื้นรางเรียบ
1.4 ปูพื้นที่ทั้งหมดด้วยแผ่นพลาสติกขาว เพื่อช่วยสะท้อนแสงและป้องกันวัชพืช
1.5 วางรางปลูกพืชโดยทั่วไปทำจากอะลูมิเนียม หรืออาจทำจากแผ่นสังกะสีดัดเป็นรางและบุภายในด้วยแผ่นพลาสติก หรืออาจใช้แผ่นพลาสติกห่อเป็นรางโดยตรงเลย รางทั่วไปกว้าง 30 - 35 ซม. (สำหรับปลูกมะเขือเทศ) ความยาวของรางต้องไม่เกิน 10 เมตร ถ้าปลูกผักสลัดความยาวต้องไม่เกิน 20 เมตร ในสภาพที่อากาศร้อนความยาวของรางไม่ควรยาวกว่า 15 เมตร เพื่อให้ระดับอุณหภูมิและปริมาณออกซิเจนระหว่างต้นและปลายรางไม่แตกต่างกันมากนัก
1.6 วางแถบกระจายความชื้นกลางราง แถบกระจายความชื้นส่วนใหญ่ทำจากแผ่นใยสังเคราะห์หรือกระดาษ มีหน้าที่หลัก เพื่อให้สารละลายแผ่ให้ถูกบริเวณรากพืช เนื่องจากเมื่อเริ่มปลูกแท่งเพาะชำจะวางอยู่กลางราง และรากพืชยังไม่แพร่กระจายทั่วราง ดังนั้น มีโอกาสที่สารละลายที่ไหลอยู่ในรางจะไม่ผ่านแท่งเพาะชำได้ทำให้กล้าพืชตาย แผ่นกระจายความชื้นนี้จะบังคับให้สารละลายไหลผ่านแท่งเพาะชำ
1.7 ติดตั้งระบบส่งสารละลายไปยังต้นราง และติดตั้งรางที่นำสารละลายจากปลายรางปลูกพืชไปยังถังเก็บสารละลาย และปล่อยให้สารละลายไหลตกลงในถังและให้น้ำกระจายมากที่สุดเพื่อเพิ่มการละลายของออกซิเจน

2. เป็นระบบที่วางรางสารละลายรอยเหนือพื้นดินบนขาตั้ง (รูปที่ 10)
2.1 เริ่มจากการปูผ้าพลาสติกให้ทั่วพื้นที่
2.2 ติดตั้งขารองรับรางรูปตัว T หรือเป็นรูปตัว U ส่วนมากจะทำจากโลหะและต้องมีการจับระดับความลาดเอียงให้ได้ 1.5–2% โดยทั่วไปใช้ 2 %หลังจากนั้นก็ทำเหมือนที่วางบนดิน

รูปที่ 10 สดงการวางรางสารละลายของระบบ NFT บนขาตั้งรูปตัว T

อัตราไหลของสารละลาย
- อัตราการไหลของสารละลายเข้าที่ต้นราง โดยทั่วไปจะใช้อัตราไหล = 2 ลิตร/นาที/ราง

ถังเก็บสารละลาย
- ถังเก็บสารละลายโดยฝังอยู่ใต้ดิน เพื่อป้องกันความร้อน และขณะที่น้ำจากรางระบายไหลตกลงในถังก็จะเป็นการเพิ่มการละลายตัวของออกซิเจนอีกทีหนึ่ง ขนาดของถังเก็บสารละลายขึ้นกับชนิดพืชที่ปลูก และความถี่ในการปรับค่า pH และ EC ถ้าถังที่ใช้มีขนาดเล็กจะต้องมีการเติมและปรับสารละลายบ่อยและโอกาสที่พืชจะได้รับสารละลายที่มีองค์ประกอบไม่เหมาะสมจะมากด้วย (อาจจำเป็นต้องใช้ระบบเตรียมสารละลายโดยอัตโนมัติ) โดยทั่วไป ถ้าถังสารละลายมีขนาดใหญ่ขึ้นการเปลี่ยนค่าต่างๆของสารละลายจะช้าลงพืชจะเจริญเติบโตได้ดี แต่จะเปลืองสารละลายมากโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการเปลี่ยนสารละลายทั้งหมด

ตัวอย่างการปลูกมะเขือเทศในระบบ NFT ใน Greenhouse พื้นที่ 6.25 ไร่ในประเทศเบลเยียม
ในพื้นที่ปลูกขนาด 6.25 ไร่ จะใช้ถังเก็บสารละลายขนาด 40 m3ฝังอยู่ใต้ดิน โดยยึดหลักว่าในการปลูกมะเขือเทศ 1 ต้นจะต้องใช้สารละลายธาตุอาหารพืช 1.5 ลิตร ดังนั้น พื้นที่ 6.25 ไร่ จะปลูกมะเขือเทศทั้งหมด = 22,000 ต้น ดังนั้น ต้องใช้สารละลายฯ = 33,000 ลิตร ( 33 ลบ.เมตร) และสารละลายจำนวนนี้จะไหลเวียนอยู่ในรางปลูกพืช 9/10 และอยู่ในถังเก็บสารละลายใต้ดิน = 1/10

อัตราการไหลของสารละลายในแต่ละราง โดยทั่วไป เท่ากับ 2 ลิตร/นาที/ราง
ขนาดของ greenhouse มาตรฐานในแถบยุโรป ในพื้นที่ 6.25 ไร่ = 40 X 250 เมตร ในความยาว 250 เมตร จะแบ่งเป็นช่วง (span) ขนาดยาว 3.2 เมตร ได้ 78 ช่วง ในแต่ละ span ของ greenhouse จะวางรางปลูกพืช 4 ราง แต่ละรางยาว 10 เมตร (ในความกว้าง greenhouse 40 เมตรจะวางรางได้ 4 ราง ดังนั้นใน greenhouse ขนาด 6.25 ไร่ (10,000 ตร.เมตร) จะมีรางปลูกพืชทั้งหมด = 4X4X78 = 1,248 ราง ซึ่งแต่ละรางมีอัตราการไหลของสารละลาย = 2 ลิตร/ นาที ดังนั้นปั๊มที่ใช้จะต้องมีความสามารถในการปั๊มน้ำอย่างน้อยที่สุด = 1,248 X 2 = 2,496 ลิตร/นาที

3. การปลูกในระบบ NFTร่วมกับวัสดุปลูก รูปที่ 11
เนื่องจากปัญหาที่สำคัญมากของระบบ NFT คือ การสะสมของอุณหภูมิในรางปลูกพืชมีผลใหพืชขาดออกซิเจนจึงได้มีการนำวัสดุปลูก เช่น rockwool หรือ แท่งฟองน้ำมาวางกลางรางปลูกพืช เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณอากาศบริเวณรากพืช (รูปที่ 11) ซึ่งรากพืชสามารถเจริญเติบโตในวัสดุปลูกได้และรากบางส่วนจะแพร่กระจายลงในรางปลูกพืชด้วย ซึ่งวิธีการปลูกแบบนี้จะรวมข้อดีของการปลูกในวัสดุปลูกและการปลูกแบบ NFT ไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ระบบการให้สารละลายจะไม่ยุ่งยากไม่ต้องใช้หัวหยด ไม่ต้องมีระบบการให้น้ำโดยอัตโนมัติ และถึงแม้ระบบจะเสียในช่วงสั้นๆ พืชก็จะไม่เหี่ยวตายในทันทีเพาะมีสารละลายสะสมอยู่ในวัสดุปลูก การเตรียมการปลูกในวิธีนี้จะเหมือนกับวิธี NFT ทั่วๆไปแต่เพิ่มวัสดุปลูกที่เป็นแท่งลงไปกลางราง

รูปที่ 11 การปลูกในระบบ NFTร่วมกับวัสดุปลูก

ระบบการเตรียมสารละลายอัตโนมัติในการปลูกแบบ NFT
เนื่องจากการปลูกพืชแบบนี้จะต้องมีการเตรียมและปรับค่า pH และ EC ของสารละลายบ่อยมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบเตรียมสารละลายโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ (รูปที่ 12 )
1. pH-meter
2. EC-meter
3. ถังผสมสารละลายขนาดความจุ 150 ลิตร (A)
4.ถังสารละลายเข้มข้นความจุ 100 ลิตร (P) โดยทั่วไปถังสารละลายเข้มข้นจะมี 2 ถัง คือ สารละลาย A และ B และมีปั๊มสองตัว ถ้าเป็นการปลูกขนาดเล็กหรืองานทดลองสามารถใช้ถังเดียวแต่ใช้สารละลายที่มีความเข้มข้นเพียง 50 เท่า (โดยทั่วไปถ้าใช้ 2 ถัง จะใช้สารละลายเข้มข้น 100-200 เท่า)
5. ถังกรดขนาดความจุ 20 ลิตร ใช้กรด HNO3 ข้น 5%
6. ปั๊มสารละลายเข้มข้น (M)
7. ปั๊มกรด (L)
8. ปั๊มส่งสารละลายธาตุอาหารให้ไหลหมุนเวียนในระบบ (B)
9. ระบบท่อต่างๆ
10. เครื่องตั้งเวลาปิดเปิดเป็นช่วงๆ (C)
11. เครื่องกรองน้ำขนาดตะแกรงกรอง 120 mesh (N)

รูปที่ 12 ระบบเตรียมสารละลายที่มีการนำสารละลายหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

หลักการทำงานของระบบ ขั้นแรก จะเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นและระดับ pH ที่ต้องการในถังผสม (A) ก่อนในที่นี้ จะใช้ EC = 2 และ pH = 6.0 เมื่อปั๊มจ่ายสารละลาย(B) ทำงาน (ตามเวลาที่ตั้งไว้ที่เครื่องตั้งเวลา (C) ในที่นี้ตั้งให้มีการให้น้ำ 3 นาที และหยุดให้น้ำ 3 นาที) สารละลายจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนแรกจะส่งผ่านไปตามท่อ(D) ซึ่งจะผ่าน โพรบวัด EC(E) และโพรบ วัด pH(F) และไหลกลับถังผสม (A)ค่า EC และ pH ที่วัดได้จะแสดงออกที่หน้าปัดเครื่อง pH(G) และ EC(H) สารละลายส่วนที่สอง จะส่งไปให้กับพืชในระบบ NFT และ Aeroponic (I) สารละลายนี้เมื่อผ่านรากพืช จะถูกนำกลับมาที่ถังผสมสารละลาย (A) โดยท่อ PVC ขนาด 2.5 นิ้ว(J) เมื่อพืชใช้น้ำ ปริมาตรน้ำในถัง(A) จะลดลง ลูกลอยรักษาระดับน้ำ(K) จะปล่อยน้ำเปล่าเข้าในถัง (A) ทำให้สารละลายในถังเจือจางลง(ค่า EC ลดลง) และค่า pH เพิ่มขึ้น (เพาะน้ำที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้มี pH ดั่งเดิมเป็นด่าง pH=7.8) เมื่อค่า pH ของสารละลายเกินค่าที่ตั้งไว้ที่เครื่อง pH-meter(หรือค่า EC ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ที่เครื่อง EC-meter ในการทดลองครั้งนี้ตั้งค่า pH ไว้ที่ 6 และค่า EC = 2) เครื่องทั้งสองจะสั่งงานให้ปั๊มกรด(L) และปั๊มสารละลายเข้มข้น(M) ทำงาน กรดจากถังกรด(O) และสารละลายเข้มข้นจากถัง(P) จะไหลเข้าผสมกับสารละลายเดิมในถังผสม การเติมกรดและสารละลายเข้มข้นจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อปั๊มจ่ายสาระลาย(B)ทำงานเท่านั้น เพื่อป้องกันการเติมกรดและสารละลายเข้มข้นมากเกินไป เมื่อกรดและสารละลายเข้มข้นไหลเข้าในถังผสมจะมีผลให้ค่า pH ลดลงและค่า EC เพิ่มขึ้นถึงค่าที่ตั้งไว้ที่เครื่องการเติมกรดและสารละลายเข้มข้นก็จะหยุด และสารละลายส่วนที่สาม(R) จะไหลกลับถังสารละลายทันที เพื่อช่วยในการผสมกรดและสารละลายเข้มข้นในถังให้เร็วที่สุด โดยมีท่อ PVC 2.5 นิ้ว(Q)ช่วยนำ กรดและสารละลายเข้มข้นจากด้านบนลงสู่ก้นถังใกล้กับปลายท่อดูดของปั๊มให้เร็วที่สุด ซึ่งจะมีผลให้การควบคุมค่า pH และ EC ของสารละลายได้ถูกต้องดีขึ้น

รูปที่ 13 แสดงระบบ NFT พร้อมระบบเตรียมสารละลาย

ระบบปลูกในรางทำจากท่อ PVC
เป็นการปลูกโดยใช้ท่อ PVC เป็นรางปลูกพืช มี 2 รูปแบบ
1. แบบใช้ท่อ PVC ขนาด 4 ผ่าเกือบกลางท่อ และใช้แผ่นโฟมปิดด้านบน รางปลูกแต่ละรางยาว 8-20 เมตร วางเรียงกัน 4 ราง เรียงกันสองชั้น สารละลายจะไหลมาที่ถังผสมสารละลายฝังใต้ดินการปรับสารละลายใช้คนปรับทุกวัน (เช้า-เย็น)

2. ใช้ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้วครึ่ง ทำเป็นโต๊ะปลูกเหมือนของ Accent แต่ถังผสมสารละลาย
จะเป็นถังขนาด 1,000 ลิตรฝังอยู่ใต้ดินบริเวณรากปลูกพืช โดย 1 โต๊ะปลูก จะใช้ถัง 1 ถัง หรือ 2 โต๊ะปลูก ต่อ ถัง 1 ถัง การปรับสารละลายทุกวันโดยใช้คนปรับ ปั๊มน้ำที่ใช้ ใช้ปั๊ม ไดโว่ จุมอยู่ในถัง ปัญหาของระบบนี้ คือ สารละลายจะร้อน และไม่ไห้เป็นชั้นบางๆ และถ้วยปลูกจะต้องลึกทำให้เปลืองวัสดุปลูก

รูปที่ 14 แสดงโรงเรือนและการผสมสารละลายพืชปลูกในท่อ PVC
รูปที่ 15 การปลูกผักในท่อ PVC

2.ระบบปลูกแบบ Dynamic root floating hydroponics technique (DRF) ของไต้หวันเป็นการปลูกในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงและลม ระบบประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ

1. โรงเรือนปลูกพืชโครงทำจากเหล็กแป๊ปขนาด 0.5 นิ้ว และ 0.75 นิ้ว ขนาดกว้าง 2.13 เมตร สูง 2.1 เมตร ยาวไม่จำกัด ด้านบนบุด้วยแผ่นพลาสติก PVC ทนแสง UV ด้านข้างบุด้วยตาข่ายพลาสติกกันแมลงและลม ถ้ามีแสงมากเกินไป ด้านบนจะพลางแสงด้วย ตาข่ายพลางแสงสีดำ 24-30%

2. ถาดปลูกพืช ทำจากโฟมขนาดกว้าง 2.01 เมตร ยาว 0.901 เมตร สูง 0.15 เมตร ขึ้นรูปเป็นรางขนาดเล็กให้สารละลายไหล จำนวน 9 ราง ถาดปลูกพืชจะต่อกันออกด้านข้างยาวออกได้ตามจำนวนที่ต้องการ เมื่อใช้ปลูกพืชจะบุภายในด้วยแผ่นพลาสติกดำ ด้านบนปิดด้วยแผ่นโฟมเจาะรูเป็นรอยเว้าเข้า จำนวน 80 รู เพื่อเป็นรูปลูกพืช

3. อุปกรณ์ปรับระดับสารละลายในถาดปลูกพืช (Nutrient level adjuster) ทำหน้าที่ปรับระดับความสูงของสารละลายในถาดปลูกพืช จะปรับตามอายุของพืช เมื่อพืชต้นเล็กสารละลายจะสูง เพื่อให้แน่ใจว่ารากพืชแช่อยู่ในน้ำและเมื่อพืชโตขึ้นจะลดระดับสารละลายลง เพื่อให้เกิดช่องว่างอากาศระหว่างต้นพืชและสารละลาย เพื่อกระตุ้นให้เกิด Aeroroots อุปกรณ์นี้จะอยู่ในถาดที่รับสารละลายจากถาดปลูกพืชที่สูงระดับเดียวกัน และมีท่อ PVC ความสูงต่าง ๆ ที่สามารถเปลี่ยนความสูงได้ เพื่อควบคุมระดับความสูงสารละลายที่จะไหลลงสู่ถังเก็บสารละลาย ระดับสารละลายในถาดสามารถปรับได้ ตั้งแต่ 0–8 ซม.

4. อุปกรณ์เพิ่มการละลายของอากาศในสารละลาย (Aspirator) จะติดตั้งอยู่ระหว่างปั๊มน้ำ และท่อนำสารละลายสู่ถาดปลูกพืช อุปกรณ์นี้จะประกอบด้วย ใบพัดขนาดเล็กอยู่ภายใน และมีรูเล็ก ๆ 2 รูให้อากาศเข้าได้ เมื่อสารละลายไหลผ่านใบพัดจะหมุนและตีให้เกิดฟองอากาศ เป็นการเพิ่มการละลายตัวของอากาศในสารละลาย สารละลายนี้จะไหลไปยังท่อนำสารละลายสูด้านบนของถาดปลูกพืช ท่อนำสารละลายมีขนาด 0.5 ซม. จะเจาะรูขนาดเล็กๆ เพื่อให้สารละลายไหลสู่แต่ละรางของถาดปลูกพืช

ระบบหมุนเวียนของสารละลายในระบบ
ความถี่การปั๊มสารละลายในระบบจะควบคุมโดย เครื่องตั้งเวลา โดยมีรอบการหมุนเวียนดังนี้ ปั๊มทำงาน 6 นาที หยุด 24 นาที ในช่วงเวลากลางวัน และ ทำงาน 6 นาที หยุด 174 นาที ในเวลากลางคืน การหมุนเวียนสารละลายเป็นระบบปิด โดยเริ่มจากปั๊ม สารละลายจากถังเก็บสารละลายผ่าน Aspirator เพื่อเพิ่มอากาศ และผ่านไปยังท่อนำสารละลายในถาดปลูกและพ่นสู่ต้นรางออกสู่ปลายราง สู่ถาดปรับระดับสารละลายและไหลกลับสู่ถังสารละลายอีกทีหนึ่ง

รูปที่ 16 แสดงองค์ประกอบของระบบ RDF
รูปที่ 17 แสดงองค์ประกอบถาดปลูกพืชในระบบ DRF

น้ำที่ใช้ในการปลูกในระบบ NFT
ความต้องการน้ำของพืช
ความต้องการน้ำของพืชจะขึ้นกับการคายน้ำ Transpiration ของพืชซึ่งจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ควบคุมดังนี้
1. ถ้าพืชมีพื้นที่ใบมากขึ้น พืชก็จะมีการคายน้ำมากขึ้น
2. ความเข้มของแสง ถ้าความเข้มของแสงเพิ่มขึ้น การคายน้ำก็จะเพิ่มขึ้นจนถึงค่าพิกัดค่าหนึ่งถ้ามากกว่านี้การคายน้ำจะลดลง
3. ความยาวของวัน ถ้ามีระยะเวลาที่มีแสงนานขึ้นการใช้น้ำก็มากขึ้น
4. อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นการคายน้ำจะมากขึ้นจนถึงค่าพิกัดค่าหนึ่งสวนความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศถ้าลดลงการคายน้ำของพืชจะเพิ่มขึ้น
5. ลม ถ้าลมแรง การคายน้ำจะสูงขึ้นโดยเฉพาะเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ

ในสภาพภูมิอากาศโดยทั่วๆไปการคายน้ำสูงสุดของพืชโดยทั่วๆไป(Maximum evapotranspiration) จะประมาณ 6 ลิตร/ตารางเมตร/วัน ดังนั้น ในพื้นที่ 6.25 ไร่ พืชจะต้องการน้ำ 60 ลูกบาศก์เมตร/วัน ตัวอย่าง ในประเทศเบลเยี่ยมจะใช้น้ำฝนในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งถือว่าเป็นน้ำที่ดีที่สุด โดย Greenhouse ทุกโรงจะมีรางน้ำฝนเก็บรวบรวมลงในบ่อที่ขุดและปูด้วยพลาสติก พื้นที่ Greenhouse ขนาด 6.25 ไร่ จะใช้บ่อขนาดความจุ 4,500 ลูกบาศก์เมตร จะเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกพืช แต่ในกรณีที่ปริมาณฝนน้อยหรือทิ้งช่วง อาจใช้น้ำบาดาลหรือน้ำปะปาผสมร่วมกับน้ำฝนด้วยก็ได้

แหล่งน้ำที่สามารถใช้ในระบบ NFT ได้
น้ำที่เหมาะสมที่สุด คือ น้ำฝน แต่อาจใช้น้ำปะปา น้ำบาดาล หรือจากน้ำผิวดินอื่น ๆ เช่น จากลำธาร แต่ควรต้องมีการนำน้ำนั้นมาวิเคราะห์ทางเคมีก่อน และจะต้องมีการกรองด้วยถ้ามีตะกอนอยู่ในน้ำ แต่เมื่อวิเคราะห์น้ำแล้ว พบว่า มีเกลือบางตัวที่มีมากเกินไป ก็อาจต้องนำน้ำนั้น มาเอาเกลือออก ซึ่งวิธีการเอาเกลือออกจากสารละลายโดยทั่วไป จะเสียค่าใช้จ่ายมากอาจไม่คุ้มกับการลงทุน วิธีการเอาเกลือออกอาจทำได้โดย

1. ใช้เครื่อง Reverse osmosis น้ำที่ได้จะมีความบริสุทธิ์มาก แต่เครื่องมือมีราคาแพงและจะมีน้ำบางส่วนสูญเสียไปในขบวนการ ปริมาณน้ำสูญเสีย ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของน้ำที่ใช้ ถ้าบริสุทธิ์นอยก็จะสูญเสียน้ำมากอาจถึง 40-50%

2. ให้น้ำผ่าน Resine ซึ่งจะทำการดูดเกลือแร่ต่าง ๆ ไว้ที่ผิวของ Resin แต่ถ้าน้ำมีเกลือปนอยู่มาก อายุการใช้งานของ Resine จะสั้น และต้องมีการล้างบ่อยมาก และการล้าง Resin ทั่ว ๆ ไปจะใช้ เกลือ NaCl ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพน้ำด้วย

รูปที่ 18 เครื่อง Reverse osmosis

คุณภาพน้ำที่ใช้ปลูก
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะระบบ NFT ต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากกว่าระบบอื่น เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำที่จะนำมาใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะเป็นตัวกำหนดว่าการปลูกพืชจะได้ผล หรือถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีเราไม่สามารถที่จะทำการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในระบบนี้ได้เลย

คุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งคุณสมบัติของน้ำจะเป็นสิ่งที่มีผลต่อการเลือกชนิดพืชที่ปลูก ระบบปลูกที่เหมาะสม และวิธีการจัดการธาตุอาหารพืชขณะปลูก ซึ่งคุณสมบัติของน้ำจะต้องทำการวิเคราะห์ทางเคมีในห้องปฎิบัติการ จากค่าวิเคราะห์จะบอกให้ทราบว่าน้ำที่จะใช้ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้างมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับที่เป็นพิษต่อพืชหรือไม่ ซึ่งธาตุที่มักพบในน้ำและเป็นปัญหา คือ Sodium Na+ และ Chloride Cl- ซึ่งพืชมีการดูดใช้เป็นปริมาณน้อยมาก ดังนั้น ถ้าพบในน้ำเป็นปริมาณมากก็จะเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อพืชโดยเฉพาะในระบบที่มีการนำสารละลายกลับมาใช้ใหม่ (Closed system)

ปริมาณของ Na ในสารละลายจะมีความเป็นพิษต่อพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น Na ที่ระดับ 50 ppm ในสารละลายจะเป็นพิษต่อผักสลัด (lettuce) สตอเบอรี่ และกุหลาบ แต่สำหรับมะเขือเทศสามารถทนระดับ Na ได้ถึง 200 ppm หรือมากกว่า จากปัญหาการสะสมของเกลือที่พืชต้องการปริมาณน้อย ดังนั้น การจัดการเกี่ยวกับธาตุอาหารพืชเมื่อใช้น้ำที่มีเกลือเหล่านี้ละลายอยู่จะยุ่งยากกว่าน้ำที่มีเกลือละลายอยู่น้อยโดยเฉพาะระบบที่มีการหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ระบบ NFT ส่วนระบบที่ไม่มีการนำสารละลายกลับมาใช้ใหม่ เช่น การปลูกในวัสดุปลูกและระบายน้ำทิ้ง ระบบนี้สามารถนำน้ำที่มีเกลือเหล่านี้ปนอยู่มาใช้ได้แต่จะต้องเพิ่มปริมาณน้ำที่ระบายออกให้มากขึ้นเพื่อใช้ชะเกลื่อที่สะสมในวัสดุปลูกซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองสารละลาย อย่างไรก็ตามถ้าน้ำมีปริมาณเกลือละลายอยู่มากจนเกินไปจนไม่สามารถนำมาใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้เลย จำเป็นต้องนำเกลือเหล่านี้ออก โดยวิธี Reverse osmosis ซึ่งสามารถนำเกลือที่ละลายออกจนเกือบหมดและสามารนำมาใช้ปลูกพืชได้แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก น้ำที่เหมาะที่สุดในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน คือน้ำฝนเป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูงแต่จะต้องมีภาชนะเก็บขนาดใหญ่ให้พอเพียงซึ่งสามารถนำมาใช้เตรียมสารละลายโดยตรงหรือมาใช้ผสมกับแหล่งน้ำอื่นในกรณีที่ปริมาณน้ำฝนไม่พอ

ถ้าน้ำที่ใช้ขุ่นเนื่องจากมีสารแขวนลอยอยู่จะต้องกรองเอาตะกอนออกก่อน อาจใช้เครื่องกรองทราย Sand filter หรือถ้าเป็นน้ำผิวดินที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อโรคเจือปนอยู่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อโรคก่อน ซึ่งวิธีที่นิยมใช้ คือ การใช้ คลอรีนฆ่าเชื้อโรค (Chlorination) อาจใช้ Sodium hypochlorite หรือ Calcium hypochlorite




ธาตุ Calcium ในระบบ Hydroponics

ความสำคัญของธาตุ Calcium ในระบบ Hydroponics

ปัญหาการขาดธาตุ Ca ในระบบ Hydroponics เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากโดยเฉพาะ ในผักสลัดจะเกิดอาการ Tip burn ในมะเขือเทศและพริกหวานเกิด Blossom-end rot อาการขาด Ca มักเกิดจากมีปริมาณ Ca ไม่เพียงพอในพืช แต่ไม่ได้หมายความว่า Ca ในสารละลายไม่เพียงพอ แต่เป็นปัญหาอัตราการดูดใช้ Ca ของพืชไม่เพียงพอ กล่าวคือในสารละลายถึงแม้จะมีปริมาณ Ca ในปริมาณมากพอเพียงกับความต้องการของพืชแต่มีปัญหาอัตราการดูดใช้ Ca ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นปัญหาของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือความไม่สมดุลของธาตุอาหารในสารละลายไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอัตราส่วนของ Ca กับ Cation ตัวอื่นเช่น NH4+ , K+, Mg++

หน้าที่ของ Ca
หน้าที่ของ Ca คือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ คือส่วนของ Calcium pectate ทำหน้าทีคล้ายกาวเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกันซึ่งทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ดังนั้นเป็นตัวทำให้ผลและใบแข็ง ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ส่วนของเซลล์หลวมอ่อนแอและตายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และธาตุ Ca เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่ในพืช ดังนั้นจะต้องมีปริมาณ Ca ในพืชอย่างพอเพียงตลอดเวลา พืชไม่สามารถเคลื่อนย้าย Ca ไปยังเซลล์ใหม่ได้ อาการขาดจะเกิดและแสดงอาการที่ส่วนยอด ที่พบบ่อยในผักคืออาการ Tip burn โดยยอดผักสลัดใบยอดจะมีอาการขอบใบไหม้มีสีน้ำตาลหรือดำ ในมะเขือเทศและพริกหวานจะเกิดที่ปลายผลเซลตายเป็นสีดำและเน่าในที่สุด เรียกว่า Blossom-end rot ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งที่ปลูกในดินและใน Hydroponics

การดูดใช้ Ca ของพืช
Ca เมื่อถูกดูดเข้าในต้นพืชส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่อยู่ใน Xylem แบบ Passive transport ไปตามกระแสการไหลเวียนของสารละลายในXylem สู่ส่วนยอดของต้นพืช ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืชซึ่งจะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายใน Xylem ช้าลง จะมีผลต่อการดูดใช้ Ca ของพืชด้วย กล่าวคือ Ca จะเคลื่อนที่ไปตามลำสารละลายใน Xylem ดังนั้นบริเวณใดในพืชที่มีการคายน้ำน้อยเช่นส่วนยอดของใบอ่อนที่ถูกห่อหุ่มด้วยใบอ่อน หรือที่ปลายผลก็มีโอกาศที่จะขาด Ca ได้เป็นส่วนแรกในกรณีที่มีระดับ Ca ไม่เพียงพอ ส่วนใบแก่จะมีอัตราการคายน้ำสูงก็จะมีการเคลื่อนที่ไปส่วนนั้นได้เพียงพอ การป้องกันการขาด Ca อาจทำได้โดยการฉีดพ่น Ca ให้ทางใบได้ แต่ปัญหาคือการขาด Ca บางครั้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนคาดไม่ถึงว่าจะเกิด และบางครั้งเกิดขึ้นแล้วแต่มองไม่เห็นเช่นในผักสลัดที่ใบอ่อนถูกหุ้มด้วยใบแก่ด้านนอก ใบอ่อนเกิดอาการ Tip burn โดยใบแห้งตายที่ขอบใบ และเมื่อใบออ่นโตขึ้นพ้นจากใบที่ห่อหุ้มอยู่จึงแสดงให้เห็นซึ่งเป็นการสายที่จะแก้เพาะผักสลัดที่ได้ไม่สามารถขายได้

อาการขาด Ca
เนื่องจาก Ca เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่กล่าวคือเมื่อพืชใช้ Ca เป็นองค์ประกอบของส่วนต่างๆในพืช เมื่อปริมาณ Ca ไม่เพียงพอ Ca ในส่วนต่างๆของพืชไม่สามารถเคลื่อนที่จากส่วนต่างๆเหล่านั้นไปยังส่วนเจริญอื่นๆได้ เช่นที่ใบอ่อน หรือส่วนยอด ดังนั้นอาการขาดจะแสดงที่ส่วนยอดเจริญของต้นและราก โดยอาการที่แสดงให้เห็นคือ มีการเจริญเติบโตผิดปกติของใบอ่อน ใบอ่อนจะโค้งงอลง ใบอาจแสดงขอบใบเป็นสีเหลืองและเมื่อขาดนานเข้าจะแสดงอาการใหม้เป็นสีน้ำตาลถึงดำ ซึ่งจะพบบ่อยมากในผักสลัดเป็นอาการที่เรียกว่า Tip burn ในมะเขือเทศและพริกหวาน จะแสดงอาการที่เรียกว่า Blossom-end rot โดยจะแสดงก้นเน่า และการเจริญของรากที่ขาด Ca จะเจริญไม่ดีรากสั้นและเป็นสีน้ำตาล

อาการ Tip burn ในพืชผัก
พืชที่มักแสดงอาการ Tip burn ได้แก่พวกผักสลัด (lettuce) โดยเฉพาะชนิดที่มีลักษณะเป็นหัวห่อและอาจพบในพวกกะหล่ำ (Cabbage) อาการขาดจะเกิดที่ใบที่อยู่ด้านในโดยขอบใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนในผักพวก Spinach ใบอ่อนจะแสดงขอบใบไหม้

ในหน้าร้อนจะพบ Tip burn บ่อยขึ้นในฤดูอื่นก็อาจพบ Tip burn เช่นกัน ต้นเหตุของ Tip burn เกิดจากการขาด Ca ในส่วนที่มีอาการขาด แต่โดยทั่วไปไม่ได้เกิดจากที่สารละลายขาด Ca แต่จะเกิดในช่วงที่อัตราการดูดใช้ของ Ca ต่ำ และมีการอัตราการเจริญเติบโตของพืชอย่างร่วดเร็ว

การเกิด Tip burn จะเกิดในช่วงที่อัตราการคายน้ำของพืชสูงกว่าอัตราการดูดน้ำของราก หรือในสภาพตรงข้ามคือในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูงจนอัตราการคายน้ำของพืชต่ำมาก กล่าวคือทั้งสองสาเหตุ จะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายธาตุอาหารพืชจากรากสู่ยอดถูกจำกัดพืชก็มีแนวโน้มเกิด Tip burn ปกติ Tip burn จะพบเมื่อผักสลัดใกล้เก็บเกี่ยว ใบอ่อนที่อยู่ภายในหัวผักสลัดการคายน้ำจะถูกจำกัดโดยใบข้างนอกที่ห่อหุ้มอยู่โดยเฉพาะช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงผักมีโอกาศเกิด Tip burn ได้สูงถ้าการเก็บเกี่ยวช้า นอกจากนี้สาเหตุอีกอย่างที่อาจทำให้เกิด Tip burn คือค่าความเข้มข้นสารละลายสูง เกินไป ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างที่สำคัญมากคือชนิดและพันธ์พืชที่ปลูก นั่นคือวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน Tip burn คือเลือกพันธ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn

จากข้อมูลต่างๆสามารถสรุปปัจจัยที่ก่อให้เกิด Tip burn คือ
1. สภาพอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด
2. มีลมร้อนและแห้ง
3. ค่า EC สารละลายสูง
4. สภาพรากพืชเจริญไม่ดีเนื่องจากรากขาดออกซิเจน
5. สารละลายมีปริมาณ K+ และไนโตรเจนโดยเฉพาะในรูป NH4+ สูง เนื่องจากทั้งสองตัวจะยับยั้งการดูด Ca ++
6. สภาพที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง

จากสาเหตุดังกล่าวเราสามารถลดการเกิด Tip burn ได้ดังนี่
1. รักษาระดับ Ca ในสารละลายให้สูงอยู่เสมอ
2. ป้องกันไม่ให้ระดับ K+ และ NH4+สูงเกินไปในสารละลาย
3. ใช้สารละลายที่มี NO3- เป็นองค์ประกอบหลีกเลี่ยงการใช้ NH4+ เนื่องจาก NH4+ จะยับยั้งการดูดใช้ Ca++
4. พลางแสงให้กับพืชเมื่ออุณหภูมิและแสงแดดจัดเกินไป
5. เลือกพันธ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn
6. ป้องกันการเพิ่มของค่า EC ระหว่างปลูกโดยเฉพาะช่วงที่พืชมีการคายน้ำสูงมากทำให้พืชมีอัตราการดูดใช้น้ำมากกว่าธาตุอาหารทำให้ค่า EC สูงขึ้น ในช่วงนี้ต้องค่อยปรับค่า EC ไม่ให้สูงเกินไป

นอกจากนี้มีการทดลองพบว่าในการปลูกผักในระบบ NFT ในเวลากลางวันให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่มีค่า EC=2mC/cm และในเวลากลางคืนให้ Ca(NO3)2 ที่ความเข้มข้น 100 mg/l พบว่าการเกิด Tip burn ลดลงเมื่อเทียบกับให้สารละลายอย่างเดียวทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งการให้ ในเวลากลางคืนมีผลให้ปริมาณ Ca ในใบเพิ่มขึ้นด้วย




การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (โดย รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ)

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

พืชจะเจริญเติบโตได้ดี จะต้องประกอบด้วย ปัจจัยที่จำเป็นต้องม ีในการเจริญเติบโต อันได้แก่ แสง น้ำ ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งที่ราก และส่วนเหนือดิน ในการปลูกพืชโดยทั่วไป จะมีดินและอากาศ เป็นส่วนที่จะให้ปัจจัยเหล่านี้ แต่ข้อเสียของดิน คือ ดินจะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอน ในแต่ละท้องที่ ถ้าดินมีคุณสมบัติ ที่ไม่เหมาะสมต่อพืช ก็จะเจริญไม่ดี การปรับปรุง และแก้ไขดิน อาจจะสามารถทำได้ แต่ในบางกรณี อาจจะมีความยุ่งยากมาก หรือต้องใช้ค่าใช้จ่าย ที่สูงมาก ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะใช้วัสดุอื่นมาแทนดิน โดยจะเลือกวัสดุ ที่มีความเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยปรกติ จะเป็นวัสดุ ที่ไม่เกิดปฎิกริยาทางเคมี และไม่มีการปล่อยสารต่างๆ ให้แก่พืช และในระบบนี้ จะมีการให้สารละลาย ธาตุอาหารแก่พืช ซึ่งสารละลายนี้ จะประกอบด้วยธาตุอาหาร ที่จำเป็นต่อพืชทุกตัว และอยู่ในรูปที่พืช สามารถนำไปใช้ได้ทันที และมีการปรับค่า ความเป็นกรดด่าง ให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมด้วย โดยระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะคำนึงถึง การจัดการให้ปัจจัยที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโตของพืช อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมที่สุด ต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืช

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ข้อดี
1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ที่ดินไม่ดี หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
2. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน และการกำจัดวัชพืช ทำให้สามารถปลูกพืชอย่างกันต่อเนื่องได้ตลอดปี ในพื้นที่เดียว
3. สามารถตัดปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน ทำให้สามารถปลูกพืชในพื้นที่เดียวกันได้ตลอดปี ถึงแม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน
4. เป็นระบบที่มีการใช้น้ำ และธาตุอาหารพืชอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้แรงงาน
6. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้องแน่นอน และรวดเร็ว โดยเฉพาะในระดับรากพืช ได้แก่ การควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด - ด่าง อุณหภูมิ ความเข้มข้นของออกซิเจน ฯลฯ ซึ่งการปลูกพืชทั่วไปทำได้ยาก

ข้อเสีย
1.ข้อเสียที่สำคัญที่สุด คือ เป็นระบบที่มีราคาแพงมาก เนื่องจากประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆมากมาย และมีราคาแพง
2.จะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์มากพอสมควร ในการควบคุมดูแล

แนวทางการนำระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไปใช้
1.ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทางด้านสรีรวิทยาของพืช เช่น
-การศึกษาเกี่ยวกับการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช เพื่อใช้เป็นแนวทางในการใส่ปุ๋ยของพืช
-การศึกษาถึงผลของสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต เช่น อิทธิพลของอุณหภูมิแสง
-ศึกษาทดลองเพื่อหาองค์ประกอบของสารละลายธาตุอาหารพืช ที่เหมาะสมแก่พืชแต่ละชนิด และแต่ละช่วงการเจริญเติบโต

2.ใช้ปลูกพืชเพื่อเป็นการค้า
โดยเป็นการปลูกพืชจำนวนมากๆ จะต้องอาศัยข้อมูลจากการวิจัยในข้อ 1 มาขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น และจะต้องมีการคำนึงถึงกำไร และขาดทุน กล่าวคือ เป็นการนำผลการทดลอง เพื่อมาใช้เป็นการค้า

แนวทางการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
งานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในบ้านเรา มีการทดลองเป็นเวลานานแล้ว แต่ส่วนใหญ่ เน้นในด้านการศึกษาเกี่ยวกับสรีรวิทยา ถ้าเรามุ่งที่จะทำการผลิตเป็นจำนวนมาก ควรจะต้องเน้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านให้มากขึ้น แนวทางการวิจัยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เพื่อเป็นการค้าพอสรุปได้ดังนี้

1.ระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่เหมาะสมในประเทศไทย เช่น อาจเป็นวิธี N.F.T. อาจใช้วัสดุปลูก และให้น้ำแบบน้ำหยด โดยสรุปให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ ความเหมาะสมในแต่ละท้องที่ เปรียบเทียบการลงทุนในแต่ละระบบ และพืชที่ควรใช้ปลูก วัสดุปลูกที่เหมาะสม

2.สภาพโรงเรือนที่เหมาะสม รวมถึงขนาด ความสูง วัสดุที่ใช้ รูปร่าง ทิศทางการสร้าง การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่างภายในโรงเรือน

3.สารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมทั้งในด้านองค์ประกอบ ความเข้มข้น ความเป็นกรดด่างกับพืชแต่ละชนิด อายุการเจริญเติบโต และฤดูปลูก

4.วัสดุอุปกรณ์ ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดต่างที่จำเป็นต้องใช้ ในการปลูก เช่น เครื่องวัดความเป็นกรดด่างของสารละลาย เครื่องวัดความสามารถในการนำไฟฟ้าของสารละลาย ตลอดจนการควบคุมอุณหภูมิและการให้น้ำ



เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แบ่งเทคนิคตามชนิดของวัสดุที่ใช้ปลูก


1.การปลูกในวัสดุปลูกที่เป็นของแข็ง
โดยทั่วไป จะใช้วัสดุปลูกต่างๆ ใส่ลงในภาชนะปลูก ซึ่งจะมีแบบต่างๆ ได้แก่ การปลูกในถุง (Sack culture) ซึ่งปรกติ จะปลูกในแนวระนาบ แต่ถ้าปลูกในแนวตั้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ ในการปลูกในเรือนกระจก จะเป็นการปลูก ในภาชนะปลูกแนวตั้ง (Column culture) ภาชนะที่ใช้ใส่วัสดุปลูก อาจทำเป็นกระบะขนาดใหญ่ หรือเป็นกระถางก็ได้ ซึ่งพอสรุป วิธีปลูกต่างๆได้ดังนี้ การปลูกในทราย (Sand culture) การปลูกในกรวด (Gravel Culture) การปลูกในขี้เลื่อย(Sawdust culture) การปลูกในแผ่นฟองน้ำฯลฯ รูปการปลูกในวัสดุปลูกแบบต่างๆ.(Substrate culture)

2. การปลูกในสารละลาย คือการปลูกในน้ำ (Water culture หรือ Hydroponic) การปลูกแบบนี้ รากพืชจะเจริญอยู่ในสารละลาย ธาตุอาหารพืชโดยตรง ได้แก่ วิธีปลูกแบบ
ก.การปลูกในสารละลายไม่มีการไหลวน (Water culture) โดยรากพืช จะแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหาร ที่อยู่นิ่ง แต่จะมีการให้อากาศในน้ำ โดยเครื่องพ่นอากาศ
ข.การปลูกแบบ N.F.T.(Nutrient Film Technique)
ค.การปลูกในอากาศ (Aeroponic)เป็นระบบปลูกที่รากพืช ลอยอยู่ในอากาศ และมีการฉีดสารละลายธาตุอาหาร เป็นฝอยไปที่รากพืชโดยตรง
ง.การปลูกแบบ DFT.(Deep Flow Technique)

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆดังนี้
- วัสดุต่างๆที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน รวมถึงข้อดีข้อเสีย ของวัสดุแต่ละชนิด
- ภาชนะที่ใช้ในการปลูกพืช ทั้งเพื่อปลูกเป็นการค้าจำนวนมาก และเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ
- หลักและวิธีการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
- อุปกรณ์และวิธีการติดตั้งระบบการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารแก่พืช
- ระบบควบคุมการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารพืช โดยอัตโนมัติ
- การตรวจสอบและควบคุมส่วนต่างๆ ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
- เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบต่างๆ ข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ



การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน(ไฮโดรโปนิค)

การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน เป็นวิธีการผลิตผักที่อาศัยหลักการคล้ายคลึงกันกับการปลูกผักแบบธรรมดา แต่มีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเพื่อให้สามารถทำการปลูกผักในลักษณะแถวชิดได้ สามารถปลูกผักได้ในบริเวณบ้านที่มีพื้นที่จำกัด หรือในบริเวณที่พื้นที่ดินเดิมขาดความอุดมสมบูรณ์ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องปรับปรุงสภาพพื้นที่ดินเดิม เนื่องจากสภาพพื้นที่ดินที่มีการให้ธาตุอาหารในลักษระของสารละลายผ่านระบบการปลูกพืชผัก โดยที่ระบบรากพืชไม่ได้สัมผัสกับดินจริงๆ แต่ต้นผักเจริญเติบโตและตั้งทรงต้นอยู่บนภาชนะปลูกได้ โดยระบบรากยึดอยู่กับแผ่นฟองน้ำ ที่วางอยู่ในรางปลูก หรือที่ใช้แผ่นโฟมขนาดใหญ่ตั้งเป็นฐานของรางปลูกที่ใช้ หรือใช้วัสดุปลูกเป็นก้อนดินเผาขนาดเล็กอัดเป็นเม็ด หรือใช้วัสดุประเภทเพอร์ไลท์หรือแผ่นใยสังเคราะห์แทนดินปลูกก็ได้

วิธีการปลูกผักแบบไม่ใช้ดินทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. วิธีการนี้สะดวกง่ายและไม่ต้องห่วงว่าระบบรากพืชจะขาดออกซิเจน เพราะถ้าระบบรากพืชขาดออกซิเจนจะเกิดอาการเหลืองที่ใบและผลร่วง พืชจะได้รับความเสียหาย พืชผักที่เหมาะสมปลูกในระบบแบบนี้ ได้แก่ มะเขือเทศ แตง ผักกินใบ ทุกชนิด ฯลฯ

2. ไม่ใช้ระบบปั๊มอากาศ แต่ผู้ปลูกต้องมีทักษะ ควรปรับลดระดับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงระบบรากพืช เมื่อพืชผักโตขึ้นต้องปรับลดระดับของสารละลายให้เกิดสภาพระบบรากพืชไม่จมแช่อยู่ในสารละลายทั้งหมด มีบางส่วนของช่วงระหว่างโคนลำต้นของพืชกับระบบรากมีช่องว่างสัมผัสอากาศได้บ้าง พืชผักที่ปลูกได้ผลในระบบนี้ในประเทศไทย เช่น คึ่นฉ่าย ผักบุ้งจีน ฯลฯ

ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติในการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิค) มีวิธีการดังต่อไปนี้
1. เพาะเมล็ดผักในฟองน้ำตัดเป็นชิ้นเล็กๆ โดยแช่ฟองน้ำอยู่ในน้ำธรรมดา 4-5 วัน เมื่อเมล็ดเริ่มงอก

2. ย้ายชิ้นฟองน้ำเล็กๆ มาลงปลูกในถ้วยปลูกเรียงอยู่ในราง หรือกะบะปลูกที่มีสารละลายธาตุอาหารผ่านระบบปั๊มอากาศหมุนเวียนตลอดเวลา

3. สารละลายธาตุอาหารที่ใช้ลดกล้าหรือใช้ปลูกผักแบบไฮโดรโปนิค เตรียมมาจากสต๊อคสารละลาย A และสารละลาย B เจือจางในน้ำสะอาด โดยค่อยๆ ปรับแต่งสัดส่วนธาตุอาหาร โดยใช้เครื่องมือ SALIMETER เช็คให้มีค่าความเป็นเกลือของธาตุอาหารอยู่ที่ระดับค่า 9 สำหรับใช้ปลูกผักกินใบ ประเภท ผักสลัดหรือผักกาดหอม หรือค่าความเป็นเกลือของธาตุอาหารอยู่ที่ระดับ 15 สำหรับผักกินใบ หรือกินผล เช่น คะน้า กวางตุ้ง กะเพรา โหระพา มะเขือเทศ หรือแตงกวา

4. เมื่อต้นกล้าผักเจริญเติบโตมีอายุ 10-15 วัน จึงย้ายถ้วยปลูกมาใส่ในรางปลูกแบบไฮโดรโปนิค ระยะกล้าเจริญเติบโตเป็นต้นผักที่สมบูรณ์

5. เมื่อเรียงถ้วยปลูกในรางปลูกผัก แบบไฮโดรโปนิคเรียบร้อยแล้ว ต่อระบบรางเข้ากับวาล์วก๊อกน้ำ และมีปั๊มน้ำ ซึ่งต่อระบบรางปลูกกับถึงใส่สารละลายปุ๋ยที่มีค่าความเข้มข้นของความเป็นเกลือของธาตุ ตามรายละเอียดข้อ 3 เมื่อติดตั้งระบบเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิดสวิตซ์ไฟฟ้า เพื่อปั๊มธาตุอาหารให้ไหลเวียนไปตามรางปลูกผัก

6. ระบบรางปลูกผักแบบไฮโดรโปนิคสามารถปลูกโดยใช้ร่วมกับเลี้ยงพืชในโรงเรือน หรือปลูกแบบกลางแจ้งก็ได้ (ในกรณีที่ปลูกในโรงเรือน สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ด้วย ก็จะเป็นการงดการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช)

7. ควรหมั่นตรวจสอบค่าความเป็นเกลือของสารละลายธาตุอาหารทุกวัน รวมทั้งเช็คระบบการไหลเวียนของสารละลายธาตุอาหารเพื่อให้เกิดสมดุลย์ในระบบการปลูกพืชให้คงที่ พืชผักจะเจริญเติบโตได้เร็ว

8. เมื่อผักเจริญเต็มที่สามารถเก็บเกี่ยวมาใช้บริโภคได้ หรือจำหน่ายเป็นธุรกิจได้ โดยเฉลี่ยการปลูก โดยวิธีแบบไม่ใช้ดิน อายุการเก็บเกี่ยวพืชผักแบบนี้จะเร็วกว่าปลูกพืชในดิน 7 - 10 วัน

9. การเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นผักสดกินใบ เมื่อถอนออกมาจากรางปลูก นำมาตัดโคนต้นผักออกจากถ้วยปลูก นำไปล้างน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง นำไปใช้บริโภคหรือประกอบอาหารได้

10. ข้อดีอีกประการหนึ่งของการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิคสามารถปลูกจำนวนต้นผักได้ เพิ่มต้นขึ้นในลักษณะระบบแถวชิด ไม่เปลืองเนื้อที่ เพราะระบบรากพืชจะไม่แผ่กว้างเหมือนในดิน และผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผักปลอดภัยด้วย เพราะผักจะมีสมดุลย์ในตัวเองในการดูดธาตุอาหารเข้าไป จึงไม่ต้องกลัวปัญหาว่าะาตุอาหารของปุ๋ยในสารละลายตกค้างในผักมากเกินไป

สูตรอาหารสำหรับใช้เลี้ยงพืชผัก
สูตร 1 สต๊อค A ประกอบด้วย
แคลเซียม ไนเตรด 80.9 กรัม / น้ำ 100 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย
โปแตสเซียม ซัลเฟต 55.4 กรัม
โปแตสเซียม ฟอสเฟต 17.7 กรัม
แมกนีเซียม ฟอสเฟต 9.9 กรัม
แมกนีเซียม ซัลเฟต 46.2 กรัม
เหล็ก (ซีเลตติ้ง) 3.27 กรัม
แมงกานีส ซัลเฟต 0.02 กรัม
กรดบอริค 0.173 กรัม
ซิงค์ ซัลเฟต 0.044 กรัม
แอมโมเนีย โมดิบเดท 0.005 กรัม

สูตร 2 สต๊อค A ประกอบด้วย
แคลเซียม ไนเตรด 2.5 ก.ก./น้ำ 25 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย
โปแตสเซียม ไนเตรด 1.5 ก.ก.
โมโน โปแตสเซียม ฟอสเฟต 0.5 ก.ก.
แมกนีเซียม ซัลเฟต 1.3 ก.ก.
สารละลาย Nzhydroppnic 0.1 ก.ก.

อนึ่งสูตรอาหาร นอกจากนี้มีหลากหลายสูตร เช่น สูตรของ Knop สูตรประเทศอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารทางวิชาการด้านการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน

ปัจจุบัน มีภาคเอกชนจำหน่ายชุดการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิคสำเร็จรูปในประเทศไทยหลายชนิด มีทั้งนำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง และประยุกต์รูปแบบโดยใช้วัสดุภายในประเทศ ซึ่งการผลิตผักแบบไฮโดรโปนิคมีทั้งการทำผลิตเชิงการค้า ซึ่งให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี รวมทั้งมีลู่ทางตลาดการส่งออกรองรับผลผลิตผักที่ปลูกโดยวิธีนี้ด้วย นอกจากนี้มีผู้สนใจนำไปปลูกผักเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ในขนาดเล็กๆ ทำให้สะดวกต่อการควบคุมและป้องกันศัตรูพืชผักได้ง่าย ทำให้ผลผลิตที่สะอาดและปลอดสารพิษ รวมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีด้วย

การจัดนิทรรศการการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน เพื่อนำเสนอแนวคิดในเรื่องการปลูกผักในพื้นที่จำกัด หรือไม่มีพื้นดินก็สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ปลูกผักได้ประสบผลสำเร็จ โดยเลือกชนิดของผักและภาชนะปลูกให้มีความเหมาะสม


ขอบคุณ เกษตรแม่จริม


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=supat&group=1
www.bloggang.com/viewblog.php?id=supat...22...
-






การปลูกผักสวนครัว,
การปลูกผักไร้ดิน, การปลูกพืชไร้ดิน, ผักไร้ดินแบบประหยัด, เทคนิคการปลูกผักสวนครัว

ในการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ที่ให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง ทั้งที่ทำกันเป็นงานอดิเรก และเป็นอาชีพกันเลยทีเดียว การปลูกผักไร้ดินในระบบไฮโดรโปนิกส์ Hydro 55-type สามารถปลูกได้ 2 ลักษณะ คือ การใช้ระบบปั๊มอากาศ กับไม่ใช่ระบบการปั๊มอากาศ นี่เป็นวิธีเดียวที่ทำให้การปลูกผักไร้ดินแบบประหยัดเกิดคุณภาพสูงสุด

การปลูกด้วยระบบปั๊มอากาศ มีข้อดีคือการปลูกง่ายและสะดวก ไม่ต้องเป็นห่วงกังวลเรื่องระบบรากพืชจะขาดออกซิเจน (หากรากขาดออกซิเจน จะทำให้เกิดอาการใบเหลือง และผลร่วง) พืชที่เหมาะสมกับระบบนี้ ได้แก่ มะเขือเทศ แตงต่าง ๆ และผักกินใบทุกชนิด ซึ่งวิธีนี้จะใช้เงินทุนสูง แต่ด้วยวิธีการปลูกแบบไม่ใช้ระบบปั๊มอากาศ ที่ผู้ปลูกผักจะต้องมีความรู้ความชำนาญ ในการปรับหรือลดระดับสารละลายของธาตุอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงรากพืช ตามขนาดของพืชที่ปลูก ผักที่เหมาะสมในการปลูกระบบนี้คือ คึ่นช่าย ผักบุ้งจีน แน่นอนใช้เงินทุนถูกกว่าในระบบแรก การปลูกพืชแบบในระบบไฮโดรโปนิกส์ ส่วนใหญ่จึงเป็นการยุ่งยาก มีเครื่องไม้เครื่องมือสารพัดที่ต้องจัดการ การดูแลต่างๆ และต้องลงทุนสูงพอสมควร

น.ส.มะลิวัลย์ ธนะสมบัติ จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทีมงาน จึงได้คิดค้นและพัฒนา ชุดปลูกผักไร้ดินในระบบไฮโดรโปนิกส์ เพื่อให้เกษตรกร หรือประชาชนทั่วไป สามารถซื้อได้ในราคาประหยัดและสะดวก ในการจัดวางบริเวณที่พักอาศัย สามารถดูแลได้โดยง่าย ซึ่งนักวิจัยสาวบอกว่า ชุดปลูกพืชไร้ดินในระบบไฮโดรโปนิกส์ Hydro 55-type ที่สร้างขึ้นมานี้ สามารถปลูกผักได้จำนวน 55 ต้นต่อรอบการเก็บเกี่ยว ต้นทุนรวมอยู่ที่ 3,000 บาท ซึ่งถูกกว่าชุดปลูกพืทชไร้ดินที่มีอยู้แล้วทั่วไปตามท้องตลาด

ทั้งนี้เนื่องจากว่าวัสดุที่นำมาทำรางในการวางระบบน้ำ หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป รวมทั้งสารละลายธาตุอาหาร ที่ใช้ในการปลูกพืชในระบบไร้ดิน ในระบบไฮโดรโปนิกส์ Hydro 55-type มีปริมาณความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร ให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และที่สำคัญอย่างยิ่ง ใช้น้ำไม่มากนัก ห้วงเวลานี้เข้าสู่ภาวะภัยแล้ง ก็เข้าข่ายเป็นการประหยัดน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มของแสง ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ หรือการควบคุมดูแลในเรื่องโรคและแมลง ที่จะมารบกวนผลผลิต โดยสามารถจัดการปัจจัยต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ และถูกต้องมากที่สุด ส่งผลให้ต้นพืชเจริญงอกงามและให้ผลผลิตที่ดี  ในส่วนรวม ภาพรวมของชุดปลูกพืชไร้ดินในระบบไฮโดรโปนิกส์ Hydro 55-type มีข้อดี คือ สามารถปลูกพืชได้ทุกพื้นที่ เช่น บนหลังคาตึก ระเบียงบ้าน หรือจะนำไปปลูกในห้องนอนก็สามารถทำได้ เพราะใช้เนื้อที่เพียงเล็กน้อย รวมทั้งใช้เวลาเก็บเกี่ยวสั้น โรคพืชและแมลง เกิดน้อยมาก และที่สำคัญประหยัดแรงงาน

น.ส.มะลิวัลย์ ธนะสมบัติ กล่าวอีกว่า การปลูกนี้ถือว่า ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ต้นทุนการติดตั้งระบบครั้งแรกค่อนข้างสูง ผู้ปลูกต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องมีความรู้และความเข้าใจ การจัดการเกี่ยวกับการปลูกในระบบนี้ หากไม่เข้าใจหรือปลูกแบบปล่อยทิ้ง เมื่อเกิดโรคพืชและแมลง ระบาดจะรวดเร็วและควบคุมได้ยาก

แต่ชุดปลูกผักไร้ดินนี้ถือว่า เป็นนวัตกรรม ให้แก่ผู้ที่รักสุขภาพ และสร้างความทสนุกสนานให้กับชีวิตคนเมือง ที่จะทดลองปลูกพืชผักไว้บริโภค ด้วยความภาคภูมิใจแก่ตนเอง

ผู้สนใจสามารารถติดต่อได้ที่ หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรม ฝ่ายนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ 0-2942-8600-3 ในเวลาราชการ


การปลูกผักโดยไม่ใช้ดินแบบประหยัด

สำหรับผู้ที่สนใจที่ปลูกผักด้วยวิธีไม่ใช้ดินนี้เป็นการค้า แต่มีงบประมาณไม่มากนัก และผู้ที่มีรายได้น้อยและบริเวณบ้านมี พื้นที่ไม่มาก หรือไม่มีส่วนที่เป็นดินเลยแต่ต้องการปลูกผักไว้บริโภคเองก็สามารถที่จะปลูกผักโดยไม่ใช้ดินนี้แต่ลงทุนต่ำ กว่าได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้ดินด้วยเทคนิค DWT (Deep Water Technique) เป็นวิธีการปลูกพืชผักในสารละลาย ธาตุอาหารในภาชนะที่ไม่มีการหมุนเวียนของน้ำ โดยเราสามารถจัดหาภาชนะที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูง 8-10 นิ้ว และมี ขนาดเท่าใดก็ได้ขึ้นกับความต้องการและความสะดวกในการทำงาน แต่ต้องมีการเติมอากาศหรือเป่าอากาศลงในน้ำ สารละลายนั้นเพื่อการให้ออกซิเจนแก่รากพืช

ในการจะปลูกพืชผักกินใบ (ผักกาดหอม ผักกวางตุ้ง คะน้า คื่นฉ่าย ผักชี ฯลฯ) โดยวิธีไม่ใช้ดินแบบประหยัดนี้ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาพืชผักเขตร้อนได้ออกแบบชุดปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินด้วยเทคนิค DFT นี้ ที่มีขนาดพอเหมาะและสะดวกต่อการทำงาน 1 ชุด สามารถผลิตผักกินใบหลายชนิด เพื่อการปลูกไว้บริโภคเองหรือหากต้องการผลิตเป็นการค้าก็สามารถเพิ่มจำนวน โต๊ะขึ้นให้มากเท่าที่ต้องการและจัดระบบการปลูกหมุนเวียนให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง



คุณอาจสนใจเรื่องนี้ด้วย

  1. เผยวิธีปลูกผักไร้ดิน
  2. ปลูกผักไร้ดิน Hydroponics System
  3. รายชื่อพืชที่ต้องการน้ำน้อย
  4. Hydroponics ผักไร้ดิน
  5. การเพาะเห็ดฟางในกระสอบ
  6. การปลูกผักสวนครัว
  7. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
  8. ปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย
  9. การปลูกผักไร้ดิน
  10. การปลูกพืชผักและไม้ประดับในกระถาง


ขอบคุณในความกรุณาจากทุกท่านเป็นอย่างสูงที่สนใจเนื้อหาภายในเว็บไซต์แห่งนี้ หากต้องการนำบทความในหน้านี้ไปเผยแพร่หรือคัดลอกไปใช้ในกรณีใดๆ โปรดกรุณาทำ link กลับมายังต้นฉบับด้วย จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง หรือจะ copy url ด้านล่างนี้ไปใช้เพื่อทำ link กลับมายังหน้าแห่งนี้ได้เลยใส่ลิงก์เว็บ:

ขอบคุณค่ะ

http://www.vwander.com/save/2010/05/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0/

www.vwander.com/save/2010/05/การปลูกผักไร้ดินแบบประ/




ปลูกผัก ไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics)
พืชไร้ดินปลอดสารพิษ ทานเองที่บ้าน

By chaomuang On 16.ก.พ. 2010 in group of Delicious


“การปลูกผัก Hydroponics ทานเอง ที่บ้าน” ลงทุนน้อย หารายได้เสริม

ความสับสนวุ่นวายในทุกวันนี้ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม บ้างก็ป่วยต้องไปหาหมอยา แต่ถ้าหากว่าเราดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีจากภายใน ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงพร้อมรับแรงปะทะ ความวุ่นวาย ต่างๆได้อย่างสบาย


การเลือกกินอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรง โดยเฉพาะการทานพืชผักต่างๆที่มีเส้นใย เนื่องจากระบบลำไส้ของเราแทบจะถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของระบบภายใน ดังนั้นการรับประทานอาหารอะไรก็ตามที่มีเส้นใยสูงจะทำให้การย่อยอาหารของเราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลโดยรวมมาสู่ภายนอกคือหน้าตาสดใส มีความสุขนั้นเอง

ผมเป็นคนหนึ่งที่ทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่หลายปีแล้วที่งดทานเนื้อวัว ดังนั้นการทานผักทุกชนิดหรือผักสลัดจึงเป็นอีกเมนูหนึ่งที่ต้องมีทุกมื้อครับ

ผักสลัดก็มีหลายชนิดมากๆ เราสามารถหาซื้อได้ตามห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ราคาก็พอประมาณ ถึงขั้นขอคิดดูก่อน และเรื่องราคานี้แหละที่ทำให้ผมต้องคิดเล่นๆว่า “แล้วทำไม เราไม่ปลูกทานเองหล่ะ”

เมื่อหาข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ตก็พบว่ามีหลายๆคนได้ปลูกเองเหมือนกัน แต่วิธีที่ผมสนใจคือการปลูกแบบพืชไร้ดิน ปลอดสารพิษ หรือการปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) การปลูกวิธีนี้ทำให้ผมมีผักทานอย่างน้อยๆ สัปดาห์ละ2มื้อแน่ๆ และจะทานได้ตลอดปีครับ

 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมเบื้องต้นคือ

• พื้นที่ ขนาด ขั้นต่ำ 1 .5 เมตร x 1.5 เมตร (ขนาดเล็กสุด)
• พื้นที่มีแสงแดด อย่าให้แดดจัดมาก ถ้ามีแดดจัดมากให้คลุมใยกรองแสง
• มีน้ำสะอาด ใช้น้ำประปาได้ยิ่งดี เพราะจะคุมคุณภาพน้ำได้ง่าย
• ผมใช้ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) ของ ACK Hydro Fram ขนาด 2 เมตร


ผมได้คุยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ ACK Hydro Farm และพบว่าการปลูกผักทานเองนี้ไม่ใช้เรื่องยากเลยครับ การดูแลก็ง่ายมาก ทั้งๆที่ผมเป็นนักเดินทาง ที่ต้องไปโน้นไปนี้ตลอดเวลาก็สามารถวางแผนการปลูกและการดูแลได้ ตลอดเวลาที่เป็นลูกค้านั้น เราสามารถสอบถามหรือปรึกษาที่ ACK Hydro Farm ได้ตลอดเวลาโดยทางบริษัทฯเค้าจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและเป็นกันเองมากๆครับ



ชุดปลูก Hydroponics Kit (NFT) ขนาด 2 เมตร (2.00×0.80 เมตร)

- รางปลูก 4 ราง ( ปลูกได้ 38 ต้น)
- ต้นกล้า 38 ต้น
-ชุดเพาะ 2 ชุด
- ถาดเพาะ 1 ถาด
- ถ้วยเพาะ 24 ถ้วย
- Mixed Media สำหรับ 40 ถ้วยเพาะ
- เมล็ดพันธุ์ 24 เมล็ด
-สารละลายธาตุอาหาร A และ B อย่างละ 1 ลิตร จำนวน 2 ชุด
-ชุดตรวจสอบค่าความเป็นกรด/ด่างของน้ำ 1 ขวด
-PH Down 500 ซีซี.1 ขวด
-ถังน้ำขนาด 50 ลิตร ( สำหรับใส่สารละลายธาตุอาหาร) 1 ใบ
-ปั๊มน้ำ 1 ตัว
-ชุดขาตั้ง 1 ชุด
-โครง + มุ้ง 1 ชุด
-CD + หนังสือคู่มือแนะนำการปลูก


เจ้าหน้าที่กำลังติดตั้งระบบผัก Hydro


เสร็จแล้วหน้าตาเป็นอย่างนี้


ถังน้ำเพื่อระบบสารละลายหมุนเวียน


ให้อุปกรณ์ตรวจสอบค่าความเป้นกลางของน้ำ PH Tester


เขียวใสอายุ3สัปดาห์


เขียวใสอายุ3สัปดาห์

การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics)

หมายถึง การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้าน มาตรฐาน, ปริมาณ และคุณภาพ ของผลผลิต ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูก ได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน

ซึ่งหลายคนคงจะคิดว่า การปลูกพืชแบบนี้ เป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ตอนนี้คงต้องลบความคิดเก่า ๆ เหล่านี้ออกไปก่อน เพราะด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สะดวกสบายมากขึ้น ในการที่จะปลูกผักไว้รับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวัน ที่สำคัญวิธีการปลูกก็ง่ายแสนง่ายด้วยชุดปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ และความต้องการของเราเอง


ฟิลเลไอซเบิร์ก


เรดคอรัล


ผักกรอส ที่กินกับซีซาสลัดงัย


ฟาร์มของ ACK ที่อ่อนนุช

สำหรับใครที่คิดจะปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) สามารถขอคำแนะนำ จากผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นวิธีการดูแล การให้คำปรึกษา รวมถึงปัญหาต่าง ๆ และการบริการที่เป็นกันเอง ได้ที่ บริษัท เอซีเค ไฮโดรฟาร์ม จำกัด




ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุซอง หาซื้อได้ที่ TOP

การปลูกผักด้วยวิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการที่สะดวกสบาย แม้จะมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถมีผักที่สะอาดและปลอดสารพิษ รับประทานได้ แถมยังเป็นการปลูกด้วยตัวเอง เนื่องจากมีการดูแลที่ง่าย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แถมยังมั่นใจในความสดใหม่ สะอาด เพราะเราควบคุมได้ทุกอย่าง เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่รักสุขภาพและมีเวลาไม่มากนัก มาถึงตอนนี้หลายคนคงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่กันแล้ว หันมาปลูกผักรับประทานเองด้วยการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวันดีกว่า…

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics)

บริษัท เอซีเค ไฮโดรฟาร์ม จำกัด
สำนักงานเลขที่ 933 ถนนอ่อนนุช แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

โทร : 0-2333-1125
แฟกซ์ : 0-2333-1124
อีเมล์ :
info@ackhydrofarm.com
Website: www.ackhydrofard.com



รวมแกลเลอรี่


อายู 45 วัน ได้ทานแล้วครับ หวานๆทั้งนั้น

อายู 45 วัน ได้ทานแล้วครับ หวานๆทั้งนั้น


ผลผลิตจากชาวบ้านๆ อย่างผมครับ น่าทานไหมครับ แค่ราดน้ำสลัดหรือหม่ำเปล่าๆก็อร่อย มั๊ก ๆ

ผลผลิตจากชาวบ้านๆ อย่างผมครับ น่าทานไหมครับ แค่ราดน้ำสลัดหรือหม่ำเปล่าๆก็อร่อย มั๊ก ๆ

24,608 ตรื้ดๆ : Hydrophonics, Hydroponics, ชุดปลูกผัก Hydro, ปลูกผัก Hydro, ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์, พืชไร้ดินปลอดสารพิษ


http://www.muangthai.com/thaidata/19510/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C-hydroponics.html

www.muangthai.com/.../ปลูกผัก-ไฮโดรโพนิกส์-hydroponics.html -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (5568 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©