-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 362 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


การปลูกข้าวในฤดูนาปรังโดยใช้น้ำอย่างประหยัด


ข้าวนอกจากจะเป็นพืชอาหารหลักของคนไทยแล้ว ยังเป็นพืชส่งออกอันดับหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล กล่าวคือ ผลผลิตข้าวของไทยซึ่งผลิตได้ประมาณปีละ 20 ล้านตัน ข้าวเปลือก จะถูกนำไปใช้เพื่อการบริโภคและทำพันธุ์ ปีละ 13 ล้านตันข้าวเปลือก ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 7 ล้านตันหรือ 5 ล้านตันข้าวสาร ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 4.8
หมื่นล้านบาท
 
สืบเนื่องจากภาวะการผลิตข้าวในปัจจุบัน ประเทศที่เคยผลิตข้าวได้เป็นลำดับต้นๆ เพื่อการบริโภคหรือส่งออกขายแข่งในตลาดโลก เช่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ต่างก็ประสบภัยธรรมชาติทำความเสียหายให้กับผลผลิต ต้องมีการนำเข้าข้าวสาร เพื่อให้พอเพียงกับการบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้ข้าวเปลือกโดยทั่วไปในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้นถึงกว่า เกวียนละ7,000 บาท ขณะที่ข้าวประเภทข้าวหอม กลับสูงขึ้นถึง 11,000 บาท ประกอบกับกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณารับรองพันธุ์ข้าวหอมใหม่ ซึ่งไม่ไวต่อช่วงแสง 2 พันธุ์คือ ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 และข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวกันมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูนาปรัง 2541 ที่จะถึงนี้ แต่จากการพยากรณ์ของ นักอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยจะประสบกับ ปัญหา ภัยแล้งมากกว่าปีที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องมีการ ใช้น้ำชลประทานเท่าที่มีอยู่
อย่างจำกัด โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้


1. ให้เกษตรกรที่มีความต้องการทำนาปรัง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และใกล้แหล่งน้ำรวมกลุ่มกันวางแผนการใช้น้ำร่วมกัน


2. กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง ควรใช้ข้าวพันธุ์เดียวกันหรือต่างพันธุ์แต่มีอายุเท่ากัน ปลูกพร้อม ๆ กัน เพื่อการปฏิบัติดูแลรักษาตามขั้นตอนต่าง ๆ จะได้เป็นไปในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ตั้งแต่การเตรียมดิน การหว่านเมล็ดพันธุ์ การให้น้ำ การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การฉีดพ่นสารเคมี จนถึงการเก็บเกี่ยว


3. เลือกแนวทางปฏิบัติที่มีการใช้น้ำน้อย 
3.1 เตรียมดินโดยใช้น้ำน้อยและประหยัด
3.2 การทำนาหว่าน ช่วยประหยัดน้ำมากกว่าการทำนาดำ เพราะมีอายุสั้นกว่าประมาณ 7-10 วัน
3.3 ใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้น เช่น กข 25 ที่มีอายุประมาณ 90 วัน
3.4 หมั่นตรวจดูแลรักษาคันนาอย่าให้น้ำรั่วไหล
3.5 พยายามปรับระดับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ เพื่อจะได้สามารถลดระดับน้ำในนาลงให้เหลือ 3.5 เซนติเมตร ก็เพียงพอ
 
4. ข้อแนะนำการใช้น้ำปลูกข้าวอย่างประหยัดในสภาพดินเหนียว เป็นแนวคิดที่กำลังอยู่ในระหว่างการ วางแผน ศึกษาวิจัย จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ในขณะนี้ แต่พอให้แนวทางการปฏิบัติได้ โดยใช้หลักการที่เน้นวิธีการให้ข้าวใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีการระบายออก ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกข้าวในภาวะที่มีน้ำอยู่ค่อนข้างจำกัด ดังนี้
 
4.1 ต้องมีการเตรียมดินอย่างประณีต ร่วมกับการปรับระดับผิวดินให้ราบเรียบ เพื่อช่วยลดปัญหาการระบาดของวัชพืช และทำให้การเจริญเติบโตของข้าวเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ


4.2 หลังจากข้าวงอกและตั้งตัวดีแล้ว รักษาระดับน้ำในนาไว้ประมาณ 3-5 เซนติเมตร หมั่นตรวจซ่อม คันนาอยู่เสมอ อย่าให้น้ำรั่วซึม กรณีที่มีปัญหาวัชพืชให้ใช้ยาเคมีกำจัดตามความจำเป็น


4.3 ปล่อยให้น้ำที่ขังในนาค่อย ๆ แห้งไปเองประมาณ 3-7 วัน หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้านาอีกครั้งและรักษาระดับไว้ที่ 3-5 เซนติเมตร แล้วหว่านด้วยปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น
 

4.4 หลังจากให้น้ำครั้งที่ 2 (ตามข้อ 4.3) และหว่านปุ๋ยรองพื้นแล้ว ต้นข้าวจะเจริญเติบโตจนถึงระยะข้าวแตกกอ ระดับน้ำที่ลดลงและเริ่มแห้ง ปล่อยให้น้ำแห้ง 3-5 วัน ซึ่งสังเกตได้จากดินเริ่มมีรอยแตก จึงระบายน้ำเข้านาอีกครั้ง ในระดับ 3-5 เซนติเมตร แล้วจึงใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
 
4.5 ครั้งนี้ปล่อยให้น้ำแห้งไปอีกเช่นกัน ซึ่งควรจะเป็นระยะที่ข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก ให้ระบายน้ำเข้านาและใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรียอีกครั้ง ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ระดับน้ำในครั้งนี้อาจจะให้สูงขึ้นบ้าง คือให้ระดับน้ำอยู่ในระดับประมาณ 10 เซนติเมตร จะทำให้น้ำค่อย ๆ แห้งในระยะใกล้ข้าวออกดอก ทรงพุ่มของต้นข้าวจะทำให้ดินแห้งช้าลง หลังจากดินแห้งแล้วประมาณ 3 วัน จึงระบายน้ำเข้านา
อีกครั้ง ระยะนี้อย่าทิ้งให้ดินแห้งนานนัก เนื่องจากเป็นระยะข้าวออกดอกความชื้นในดินมีความสำคัญต่อการเกิดเมล็ดของข้าวได้ ระบายน้ำเข้านาในระดับ 5 เซนติเมตรอีกครั้ง แล้วปล่อยให้ระดับน้ำค่อย ๆ ลดลงจนแห้งไปในที่สุด หลังจากนั้นจึงรอการเก็บเกี่ยวได้
 
 
หมายเหตุ
1. การกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรกระทำ
2. อย่าให้ดินขาดน้ำในระยะข้าวออกดอก
 


http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=435&filename=Project05









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (732 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©