-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 197 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


การปรับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน จาก Thailand Science and Technology Wikipedia

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา
การปรับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวรายสำคัญและส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีเกษตรกรที่เกี่ยวข้องถึง 3.7 ล้านครัวเรือนในปี 2547 ประเทศไทยส่งออกข้าวมูลค่า 108,393.97 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 30 ของตลาดโลก[1]อย่างไรก็ตามเกษตรกรไทยยังประสบปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคพืช รวมไปถึงภัยธรรมชาติ เช่น สภาวะแห้งแล้งและน้ำท่วม เป็นต้น

ถึงแม้การปลูกข้าวโดยปกติ ต้องมีการปล่อยให้น้ำขังประมาณ 2-3 นิ้วในแปลงนา แต่การเกิดน้ำท่วมฉับพลันในระดับที่สูงท่วมต้นข้าวและขังอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ต้นข้าวโดยทั่วไปตายหลังจากน้ำท่วมขังเพียงไม่กี่วัน ปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยเกิดเป็นประจำทุกปี ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในปี 2545 พื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม 6 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 8,000 ล้านบาท[2]

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว เห็นความสำคัญของการวิจัยและพัมนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของไทย ให้ทนน้ำท่วมฉับพลัน จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปรับปรุงสายพันธ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนน้ำท่วมฉับพลัน ผลงานวิจัยนี้ ทำให้ได้สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ทนอยู่ใต้น้ำได้ประมาณ 15-21 วัน โดยต้นข้าวไม่ตาย เมื่อทดลองปลูกในพื้นที่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน ในปีการเพาะปลูก 2547/2548 ที่อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย พบว่า สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปรับปรุงให้ทนน้ำท่วมฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดีกว่าสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์เดิม โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 303 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์เดิมให้ผลผลิตเพียง 56 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทดลองปลูกในพื้นที่ปกติ ทั้งสองสายพันธุ์ให้ผลผลิตใกล้เคียงกันและมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน

พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันที่ได้จากงานวิจัยนี้ เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าหอม ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน

ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ข้าวเจ้าหอม
  1. สามารถทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะของการเติบโต
  2. สามารถอยู่ใต้น้ำโดยไม่ตายได้ 2-3 สัปดาห์
  3. ทนต่อความแห้งแ้ง
  4. ทนต่อสภาพดินเค็มได้ดีพอสมควร
ลักษณะที่ดีของข้าวพันธุ์ข้าวเจ้าหอม

ข้าวพันธุ์ข้าวเจ้าหอมมีลักษณะดีเหมือนพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เดิม คือ

  1. เมล็ดข้าวยาว
  2. คุณภาพการหุงต้มดี
  3. มีกลิ่นหอม
  4. มีความอ่อนนุ่ม

นอกจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมแล้ว ยังได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมให้ต้านทานโรคขอบใบแห้งไปด้วยพร้อมกัน จากการทดลองในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 พบว่า เมื่อต้นข้าวมีอายุ 1 เดือน ทำการปล่อยน้ำให้ท่วมขังเป็นเวลา 15 วัน แล้วจึงระบายน้ำออก พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วม และต้านทานโรคขอบใบแห้งในต้นเดียวกัน ฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดีมาก ส่วนพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปกติ และพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ต้านทานโรคขอบใบแห้งอย่างเดียวตายหมด จึงเป็นข้อมูลยืนยันว่า พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปรับปรุงพันธุ์ให้ทนน้ำท่วม สามารถทนน้ำท่วมฉับพลันได้เป็นอย่างดี

จุดเด่นของเทคโนโลยี

การพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิต อันเนื่องมาจากการเกิดอุทกภัยในแต่ละปีมีมูลค่าสูงถึง 8,000 ล้านบาท นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (เครื่องหมายพันธุกรรม) ในการปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าว ยังช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือก ลดระยะเวลาในการดำเนินการ อีกทั้งประหยัดงบประมาณโดยสามารถทดแทนการทดสอบในสภาพจริง




http://www.wowthailand.org/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4_105_%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%99









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (728 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©