-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 633 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


มะลิ106..ข้าวพันธุ์ใหม่ เน้นหอม-ทานโรค..ผลผลิตสูง


ไชยรัตน์ ส้มฉุน



ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ กรมชลประทาน ...ออกมาการันตีแล้วว่า น้ำท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่มจะลดลงจนกระทั่งเกษตรกรสามารถ ลงมือปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพได้แล้ว...


สำหรับการเตรียมพันธุ์ข้าวปลูก...ก็เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่ง ควรที่จะต้องหาข้าวสายพันธุ์ที่ดี ทั้งต้านทานโรคแมลง, ให้ผลผลิตสูง และสามารถขายได้ราคาดี...ขณะนี้มีข้าวพันธุ์ใหม่ชื่อว่า...หอมมะลิ 106 และ อีกหลายสายพันธุ์ ออกมาสู่ตลาด เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกร...


...โดย ทาง ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร อาจารย์ประจำศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม พร้อมคณะนักวิจัย ได้สร้างผลงาน "การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว"

ทีมงานวิจัยเริ่มต้นจากการค้นพบ...ยีนควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้วิธีการ map-pased cloning ซึ่งไม่ใช่ Genetically modified organism (GMOs) จึงทำให้พบกระบวน การที่ทำให้ข้าวมีการสะสมสารประกอบ 2-acetyl-1-pyrroline (2 AP) ซึ่งเป็นสารหอมหลักของข้าวทุกสายพันธุ์ เพื่อนำไปใช้เพิ่ม ระดับความหอมของข้าวในข้าวพันธุ์อื่นๆ โดยใช้วิธี functional marker (Aromarker) ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะความหอมของข้าวหอมมะลิไปสู่ข้าวพันธุ์อื่นๆที่มีผล ผลิตสูงแต่ไม่มีความหอม จนได้ข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร, ข้าวสินเหล็ก ที่ปลูกในนาชลประทาน ผลผลิตมากกว่า 1 ตันต่อไร่...


ผลการวิจัยยังนำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงในการปรับปรุงข้าวได้สายพันธุ์ใหม่มากถึง 8 สายพันธุ์ อย่างเช่น หอมมะลิ 106 และ ข้าวเหนียวหอม กข.6 ฯลฯ ที่มีลักษณะเด่น ต้านทานโรคแมลง สามารถปลูกได้ ในพื้นที่แล้ง หรือ พื้นที่ดินเค็ม และ ให้ผลผลิตสูง


ดร.อภิชาติ บอกอีกว่า นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังสามารถพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการดึงลักษณะเด่นของข้าวแต่ละสายพันธุ์ ในระดับพันธุกรรม หรือ การแสดงออกของยีนที่แตกต่าง หรือ Molecular Maker Snip ซึ่งทำให้การค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ทำได้เร็วขึ้น เพียงแค่ช่วง ระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลา นานกว่า 10 ปี กว่าจะได้พันธุ์ข้าวใหม่เพียงแค่ 1 สายพันธุ์ อีกทั้งยังต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 10 ล้านบาท

โดยทีมวิจัยยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวระดับนานาชาติ...ดำเนินการถอดรหัสจีโนมข้าว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการปรับปรุงพันธุ์ โดยไม่ต้องใช้ เทคนิคจีเอ็มโอ...เทคโนโลยีการเพิ่มสารหอมในข้าว ยังนำไปสู่การโคลนยีนความหอม เพื่อไปเพิ่มความหอมในพืชอื่นๆ เช่น ใบเตย ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ตลอดจนมองไปถึงยีนความหอม ซึ่งพบใน มะพร้าวน้ำหอม...อีกด้วย


ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนย่าง ก้าวเข้าสู่ปีที่ 12 แล้ว...ก็ทำเพื่อเกษตรกรและลูกหลานคนไทยทั้งสิ้น ความสำเร็จที่เกิดจากการทุ่มเทพลังกายและใจ ส่งผลให้ได้รางวัล...นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2553 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์



http://www.biothai.net/news/6255









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1022 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©