-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 314 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


เทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ


รางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจาปี 2553”


ทีมวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว รับรางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น 2553" จากการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอ การค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าว และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติและคุณภาพดียิ่งขึ้น

ผลงานวิจัย เรื่อง "การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว" นาทีมโดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะ คว้ารางวัล "นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจาปี 2553"

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการ เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจาปี 2553
ในปีนี้ผลงานวิจัย เรื่อง "การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการ

ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว" นาทีมโดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะวิจัย 21 คน จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนยฺ์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัล นักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่ม ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ทีมงานเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 12 โครงการนี้มีประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สาคัญ 2 ส่วน คือ

1. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและ ข้าวเหนียว คณะวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ (DNA marker) ช่วยในการ คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่หอมและต้านโรค-แมลงศัตรูพืช รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออานวยต่อการเจริญเติบโตของข้าว เช่น ภาวะน้าท่วมฉับพลัน จนสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว จานวน 8 สายพันธุ์ (ทั้งหมดอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร) โดยข้าวที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์และได้เป็นที่นิยมในการนาไปปลูกจริงจาก เกษตรกร ได้แก่ พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร, ข้าวสินเหล็ก และข้าวเหนียวหอม กข 6 (ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคอิสานและภาคเหนือ คือ ในจังหวัดชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร แพร่ และ น่าน ได้ใช้สายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม กข 6 ในการเพาะปลูก ประมาณ 80% ของพื้นที่เพาะปลูก)


2. เทคโนโลยีการเพิ่มสารหอมในข้าว คณะวิจัย ได้ค้นพบยีนส์ควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้วิธี map-based cloning (ไม่ ใช่ GMO) จึงทำให้พบกระบวนการที่ทาให้ข้าวมีการสะสมสารประกอบ 2-accetyl-pyrroline (2 AP) ซึ่งเป็นสารหอมหลักของข้าวทุกสายพันธุ์ เพื่อนาไปใช้เพิ่มระดับความหอมของข้าวในข้าวพันธุ์อื่นๆ โดยใช้วิธี functional marker (Aromarker) ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะความหอมของ ข้าวหอมมะลิไปสู่สายพันธุ์อื่นๆที่มีผลผลิตสูงแต่ไม่หอม จนได้ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ๆที่มีผลผลิตสูงและกาลังได้รับความนิยมปลูกจาก เกษตรกร เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร และข้าวสินเหล็ก เป็นต้น

โดยในการปลูกข้าวในนาชลประทาน ข้าวหอมเหล่านี้ให้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่ มากกว่าการปลูกโดยข้าวพันธุ์เดิมกว่า 50% ที่ผ่านมา รศ.ดร.อภิชาติ ได้ดำเนินโครงการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับข้าว โดยเฉพาะยีนข้าวหลายโครงการ ตัวอย่างโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนยฺ์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

1. การหาตาแหน่งยีนควบคุมความต้านทานโรคไหม้และการนามาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวหอมในประเทศไทย ปี 2540

2. การประยุกต์ใช้โมเลกุลเครื่องหมายในการปรับปรุงข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีผสมกลับ ปี 2542

3. Positional Cloning in the Post Genomic Era : The Rice Model ปี 2546 ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย)

4. การหาลาดับเบสจีโนมข้าว ปี 2550
รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน้าคณะวิจัย เน้นถึงความสาคัญของเทคโนโลยีชีวภาพว่า “เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสิ่งสาคัญในการปรับปรุงพันธุ์พืช ถือเป็นการลงทุนทางานในขั้นแรก จากนั้นเมื่อประสบความสาเร็จ เราก็สามารถทางานด้านการขยายพันธุ์ได้เลย”


http://www.ku.ac.th/newwww/userfileupload/apichart.pdf[/img]









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (868 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©