-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 454 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ



การปลูกถั่วเหลืองหลังนา  ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีพื้นที่ปลูกในแต่ละปีประมาณ  2  แสนไร่เศษ  แหล่งปลูกสำคัญได้แก่  จังหวัดชัยภูมิ  ขอนแก่น  เลย  และหนองบัวลำภู  ประวัติการปลูกถั่วเหลืองในเขตนี้เริ่มมีมาก่อนปี  พ.ศ.  2530  ในระยะแรกมีการปลูกโดยการไถเตรียมดินแล้วกระทุ้งหลุมหยอดเมล็ด  ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาการปลูกเพื่อลดต้นทุนและลดความเสี่ยงด้านต่างๆ  โดยเกษตรกรผู้ปลูกได้อาศัยประสบการณ์จากการเรียนรู้และสะสมมา  จนในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองหลังนา  หลายรูปแบบ  แตกต่างกันตามเงื่อนไขของพื้นที่และทรัพยากรซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกมีอยู่วิธีการปลูกรูปแบบหนึ่งที่มีการปฏิบัติมากในแหล่งปลูกอำเภอภูผาม่าน  จังหวัดขอนแก่น  และเริ่มมีการขยายผลไปยังแหล่งปลูกใกล้เคียงคือ  การปลูกโดยไม่ไถเตรียมดิน ไม่เผาฟางแต่ใช้ฟางกลบเมล็ด  ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกษตรกรเห็นว่าได้ผลดี  ลงทุนต่ำทำให้เกษตรกรมีผลตอบแทนจากการปลูกเพิ่มสูงขึ้น



        วัตถุประสงค์
1.  เพื่อลดต้นทุนในการผลิต  เพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนการปลูกถั่วเหลืองหลังนาของเกษตรกร
2.  เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการปลูกถั่วเหลืองหลังนา
3.  เพื่อเป็นแนวทางสร้างความยั่งยืนในการผลิตถั่วเหลืองหลังนา



ความเป็นมา
        การปลูกถั่วเหลืองหลังนาของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระย
แรกมีการปลูกโดยไถเตรียมดินกระทุ้งหลุมหยอดเมล็ดโดยแรงงานคน  ต่อมาเกษตรกรเห็นว่าเป็นวิธีการที่ต้องใช้แรงงานมาก  เสียค่าใช้จ่ายสูงแม้ว่าจะได้ผลผลิตสูง  แต่มีผลตอบแทนต่ำทำให้เกษตรกรพัฒนารูปแบบการปลูกเป็นหลายลักษณะเช่น  การปลูกโดยไม่ไถ่เตรียมดิน  เผาฟางแล้วปลูกโดยวิธีหว่านและการปลูกโดยไม่ไถเตรียมดิน  ไม่เผาฟาง  ปลูกโดยวิธีหว่าน  เป็นต้น  แต่ละรูปแบบก็มีข้อดีเด่น  ข้อจำกัดและเหมาะสมกับแต่ละสภาพเงื่อนไข  ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตเหล่านี้ได้พัฒนามาจากภูมิปัญญาของเกษตรกรที่ได้เรียนรู้  ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมจากการปฏิบัติมาในอดีตจึงเห็นสมควรมีการเผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรเหล่านี้สูงเกษตรกรรายอื่น  เพื่อปรับใช้สำหรับแนวทางเพิ่มผลตอบแทนในการผลิตถั่วเหลืองหลังนาต่อไป

คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1.  ไม่ต้องไถเตรียมดินทำให้ลดต้นทุนในการผลิต  โครงสร้างดินไม่เสียและ
สามารถปลูกถั่วเหลืองได้เร็วขึ้นซึ่งเป็นผลดีในแง่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตลดความเสี่ยงจากฝนในช่วงเก็บเกี่ยว
2.  ไม่ต้องมีการเผาฟางซึ่งเป็นเศษซากพืชที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน
  ไม่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ  เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการปลูกโดยทั่วไปของเกษตรกรซึ่งนิยมการเผาฟางก่อนปลูก
3.  การกลบฟางทำให้เกิดผลดีในการรักษาความชื้นภายในดินลดจำนวนครั้งของการให้น้ำแก่พืช
4.  การกลบฟางทำให้ลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืชเนื่องจากมีปริมาณวัชพืชน้อย  อันเป็นผลจาก
การกลบฟาง
5.  ทำให้เมล็ดถั่วเหลืองงอกได้ดีขึ้น เนื่องจากเมล็ดที่ฟางคลุมจะไม่โดนแดดเผามีความชื้นพอสำหรับการงอกจึงมีจำนวนต้นต่อพื้นที่สูงกว่าการปลูกแบบหว่าน ซึ่งเมล็ดไม่มีอะไรมาคลุมทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าด้วย



คำแนะนำวิธีการใช้
        หลักการสำคัญของการปลูกถั่วเหลืองรูปแบบนี้คือ  การไม่ไถเตรียมดิน  ไม่เผาตอซังข้าวใช้ตอซังกลบ  เมล็ดถั่วเหลืองที่หว่าน  รูปแบบการปฏิบัติของเกษตรกรแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ
        รูปแบบที่  1
        การปลูกโดยวิธีไม่ไถเตรียมดินไม่เผาฟาง  หว่าน  แล้วคราดล้มตอซังกลบเมล็ด  วิธีการปฏิบัติมีดังนี้คือ  หลังจาการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว  จะสูบน้ำเข้าแปลงปลูกให้ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ  10  ซม.  ทำร่องน้ำในแปลงปลูกโดยใช้รถไถเดินตามกรีดร่องตามแปลงปลูก  ซึ่งระยะห่างของร่องไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแปลงปลูกว่ามีความสม่ำเสมอเพียงใด  ซึ่งเกษตรกรเจ้าของแปลกปลูกจะรู้สภาพพื้นที่ของแต่ละแปลงเป็นอย่างดี  กล่าวคือ  ถ้าแปลงปลูกมีความสม่ำเสมอก็ไม่ต้องทำร่องน้ำมากหรือทำให้ห่างขึ้นได้  แต่ถ้าแปลงไม่สม่ำเสมอจำเป็นต้องกรีดร่องน้ำจำนวนมากและถี่เพื่อระบายน้ำออกจากจุดซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มเพราะถ้าระบายน้ำออกได้ไม่ดีการงอการเจริญเติมโตและการการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองจะไม่ดีด้วย  (บางรายจะทำร่องน้ำภายหลังจากหว่านและคราดกลบเมล็ดแล้ว)  จากนั้นจึงเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง  หลังจากหว่านเสร็จจึงทำการคราดล้มตอซังข้าวโดยใช้คราดเหล็กติดรถไถนาเดินตาม  คราดจำนวน  1  รอบ  เพื่อให้ตอซังข้าวล้มลงและกลบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่หว่าน  แล้วแช่น้ำขังเมล็ดไว้ในแปลงนาน  6-12  ชั่วโมง  ให้เมล็ดถั่วดูน้ำจนอิ่มจึงระบายน้ำตามร่องน้ำที่ได้ทำไว้ในตอนแรก  ให้น้ำแห้งและไม่มีน้ำท่วมขังเมล็ดเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้  สรุปขั้นตอนการปลูกได้ดังนี้
1.  เก็บเกี่ยวข้าวนาปี
2.  สูบน้ำเข้าแปลง
3.  ทำร่องน้ำโดยใช้รถไถ่นาเดินตาม
4.  หว่านเมล็ดพันธุ์
5.  ใช้รถไถเดินตามคราดล้มตอซัง  1  รอบ
6.  แช่ขังเมล็ดไว้  6-12  ชั่วโมง
7.  ระบายน้ำออกให้แห้ง
8.  เมล็ดงอก
                  รูปแบบที่  2
การปลูกโดยไม่ไถเตรียมดิน  หว่านแล้วตัดตอซังคลุมเมล็ด  หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว  สูบน้ำเข้าแปลงให้น้ำท่วมสูงประมาณ 5 ซม.  แล้วไถกรีดร่องน้ำ  โดยใช้รถไถเดินตามเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1 จากนั้นจึงเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ ถั่วเหลืองลงในแปลงขณะเดียวกันก็ใช้รถไถเดินต่ามซึ่งติดใบมีดที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับตัดหญ้า  (มีลักษณะคล้ายใบมีดของเครื่องตัดหญ้าสนามโดยทั่วไป)  หรือใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายไหล่หรือใช้แรงงานคนตัดตอชังให้ล้มและกลบเมล็ด  ให้น้ำแช่ขังเมล็ดนาน 6-12 ชั่วโมง  จึงระบายน้ำออกเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1
สรุปขั้นตอนการปลูกได้ดังนี้
1.  เก็บเกี่ยวข้าวนาปี
2.  สูบน้ำเข้าแปลงนา
        3.  ทำร่องน้ำโดยใช้รถไถเดินตาม
        4.  แช่เมล็ดไว้ 6-12 ชั่วโมง
        5.  ตัดฟางกลบเมล็ด
6.  หว่านเมล็ดพันธุ์
7.  ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้ง
8.  เมล็ดงอก
เงื่อนไขประกอบ
เพื่อให้ได้ผลดีเกษตรกรผู้ปลูกควรมีข้อคำนึงและการปฏิบัติดังนี้
1.  ดินปลูกควรมีความสามารถในการอุ้มน้ำดี  เช่น  ดินเหนียว หรือ เหนียวปนทราย
2.  ตอชังที่ได้จากต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตดีจะทำให้การคราดล้มหรือกลบเมล็ดถั่วเหลืองได้ดีกว่าตอซังข้าวที่สั้น  จากต้นข้าวที่เจริญเติบโตไม่ดีพอ  ถ้าเป็นตอซังที่เตี้ยสั้นจะคราดล้มได้ไม่ดีจึงควรใช้การตัดคลุมแทน
        3.  การเอาน้ำเข้าแปลงปลูกภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อทำร่องน้ำไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกไม่ควรจะมากจนเกินไปเพราะจะทำให้การคราดล้มตอซังหรือตัดฟาง  มีความยุ่งยากเนื่องจากปฏิบัติงานไม่สะดวก
4.  อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรใช้  20-30  กิโลกรัมต่อไร่  ขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์
5.  การคราดล้มตอซังมากกว่า 1 รอบ อาจจะทำให้เมล็ดเน่าเสียมีการงอกไม่ดี
6.  ระยะเวลาในการแช่ขังน้ำของเมล็ดพันธุ์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศ  กล่าวคือถ้าอุณหภูมิต่ำ จะสามารถแช่ขังเมล็ดในน้ำได้นานกว่าสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง (อากาศร้อน) นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ด  ถ้าเป็นเมล็ดที่แห้งสนิทดีจะสามารถแช่ขังน้ำได้เป็นเวลานานกว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ตากยังไม่แห้งสนิท
7.  หลังจากการแช่ขังเมล็ดในน้ำจนเมล็ดดูดน้ำอิ่มแล้วต้องระบายน้ำออกจากแปลงให้หมดอย่าให้มีบริเวณที่น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้เมล็ดจุดนั้นเน่าเสียได้  วิธีการแก้ไขปัญหานี้ทำโดยการมีความพิถีพิถันในการทำร่องน้ำโดยเฉาะจุดที่เป็นลุ่มควรมีร่องน้ำจำนวนมากเพื่อระบายน้ำออก
8.  ต้นทุนในการคราดล้มตอซัง กรณีจ้างคนคราดล้มโดยใช้รถไถเดินตามเจ้าของแปลงวันละ 150 บาท สามารถทำได้ประมาณ 10 ไร่ต่อวัน กรณีใช้เครื่องตัดฟางที่ติดรถไถเดินตามสามารถตัดฟางได้ประมาณ 3-5 ไร่ต่อวัน  และถ้าใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายไหล่สามารถตัดฟางได้วันละประมาณ 3 ไร่


การเผยแพร่
        จากข้อดีของเทคโนโลยีการปลูกถั่วเหลืองหลังการทำนาดังกล่าวได้มีเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงปรับเปลี่ยนมาปลูกในลักษณะนี้มากขึ้น  รวมถึงเกษตรกรจากที่อื่นได้มาศึกษาดูงานและนำไปปฏิบัติ เช่นเกษตรกรในโครงการหมู่บ้านวิชาการเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี  บ้านเหล่ากล้วย  ตำบลเสอเพลอ  อำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี  ได้นำไปปฏิบัติในฤดูกาลปลูก  2543/44  และเป็นที่ยอมรับในฤดูกาลปลูก  2544/45  จะไก้ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเงื่อนไขของพื้นที่ต่อไป

หมายเหตุ    เกษตรกรผู้ให้ข้อมูล
1.นายสวัสดิ์  สลับเงิน  บ้านคอนสาร  อำเภอคอนสาร  จังหวัดชัยภูมิ
2.นายวิจิตร  ทองคำ  บ้านเซินใต้  ตำบลโนนคอม  อำเภอภูผาม่าน  จังหวัดขอนแก่น




ที่มา : เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ,กรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


http://www.maehongson-club.com/viewthread.php?tid=427&rpid=1525&ordertype=0&page=1#pid1525









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (2904 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©