-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 379 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


ปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบใหม่


1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
 ฟางข้าวเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์สูงควรถนอมไว้ในนาข้าวของเกษตรกรทุกคนและทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะนาเขตชลประทาน ซึ่งมีพฤติกรรมการทำนา 2-3 ครั้งต่อปี แต่จำนวนฟางข้าวอาจถูกนำออกจากนาหรือเผาทิ้ง โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุกลับคืนให้กับดินนาเช่นนี้ ดินย่อมเสื่อมคุณภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีทดแทนก็ตาม แต่มีผลกระทบต่อดินนา คือ ปุ๋ยเคมีจะไปช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้หมดไปโดยเร็วสภาพดังกล่าวอาจทำให้ดินนาเสื่อมสภาพทางฟิสิกส์ทำให้ดินแข็งตัวมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าดินจะมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นฟางข้าวจึงเป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรไม่ควรนำออกจากแปลงนาหรือไม่ควรเผาทิ้งเป็นอย่างยิ่ง
            
สถานการณ์และสภาวะปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของเกษตรเทคโนโลยีการทำนาของเกษตรกร ในเขตชลประทานภาคกลางที่มีปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์ เกษตรกรทำนาต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี โดยวิธีการหว่านน้ำตมทำให้มีรอบการผลิตค่อนข้างรวดเร็ว (ประมาณ 12-21 วัน) เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลผลิต ทำให้เกษตรกรเกือบทุกรายเผาฟางก่อนฤดูทำนา ด้วยวิธีการเตรียมดินแบบหยาบๆ และรีบเร่ง โดยไถกลบเศษฟางที่เหลือจากการเผากับตอซังลงไปในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีขาดออกซิเจน ทำให้เกิดมี Intermidiate Product สะสมมาก เช่น ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นต้น ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมของโลก ทำให้จุลินทรีย์ดินพวก Heterothropic ที่มีบทบาทการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ มีการย่อยสลายเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้เกิดกระบวนการ Immobilization เกิดขึ้นรุนแรง ทำให้ข้าวที่ปลูกใหม่ แสดงอาการขาดไนโตรเจนชั่วคราว ที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า “โรคเมาหัวซัง” วิธีแก้ไขมีหลายวิธี ที่ดีและรวดเร็ว คือ ทำให้ฟางข้าวหรือตอซังย่อยสลายให้รวดเร็วที่สุดโดยการเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าช่วยให้เกิดกิจกรรมย่อยสลายจากจุลินทรีย์หลายกลุ่มที่มีปฏิกริยาต่อเนื่องสนับสนุนกันเป็นลูกโซ่ระหว่างมีกิจกรรมจุลินทรีย์จะช่วยใช้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน ขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดขบวนการทำให้ธาตุอาหารเปลี่ยนรูปที่เป็นประโยชน์เมื่อจุลินทรีย์เหล่านั้นตายไป ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชใช้ได้ และยังก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีผลดีต่อพืช เช่น ฮอร์โมน สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและรากพืช ดังนั้นหลังเก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรไม่ควรเผาฟางข้าวเพราะจะทำให้สูญเสียคาร์บอนที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ดินที่จะนำไปก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
        
ผลงานวิจัยการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินนา ประเสริฐและคณะ (2531) รายงานว่าผลการทดลองใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินนาในท้องที่ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้เวลาติดต่อกันถึง 12 ปี (2519-2530) พบว่า ถ้าใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวในอัตรา 2 ตัน/ไร่ ผลผลิตข้าว กข.7 ในปีแรกของการทดลองได้ผลผลิตเพียง 265 กก./ไร่ และเพิ่มขึ้นเป็น 621 กก./ไร่ ในปี 2530 หรือเพิ่มขึ้นถึง 356 กก. คิดเป็นการเพิ่มถึงร้อยละ 134 และถ้าหากเปรียบเทียบกับนาที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวซึ่งในปี 2530 ให้ผลผลิตเพียง 358 กก./ไร่ ซึ่งต่ำกว่าผลผลิตของแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวถึงไร่ละ 263 กก./ไร่ หรือต่ำกว่าร้อยละ 73 และเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-4-4 กก./ไร่ ของ N,P2O5 และ K2O อย่างเดียว ให้ผลผลิตในปีที่ 12 (2530) 507 กก./ไร่ ขณะที่ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราเดียวกันร่วมกับปุ๋ยหมักฟางข้าวในอัตรา 2 ตัน/ไร่ จะให้ผลผลิตสูงถึง 793 กก./ไร่ สูงกว่าถึง 286 กก./ไร่ หรือร้อยละ 56 จากแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวและยังพบอีกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่ ติดต่อกันให้ผลผลิตสูงกว่าแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวติดต่อกัน (ประเสริฐและคณะ (2531))
 

1.2 วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1.2.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักฟางข้าว
1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบใหม่กับปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบเดิม


1.3 สมมติฐานของการศึกษาโครงงาน
ต้นคะน้าที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบใหม่จะให้ผลผลิตได้ดีกว่าต้นคะน้าที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบเดิม 
1.4 ขอบเขตของการวิจัย
1.4.1 ตัวแปรในการวิจัย
ตัวแปรต้น   ชนิดของปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบใหม่และแบบเก่า  
ตัวแปรตาม   ผลการเจริญเติบโตของต้นคะน้าและปริมาณผลผลิต
ตัวแปรควบคุม   วิธีการผลิตปุ๋ย  ปริมาณและระยะเวลาการให้ปุ๋ย  
1.4.2 วัสดุ อุปกรณ์
- กากน้ำตาล
- เชื้อจุลลินทรีย์ (นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต )
- น้ำเปล่า
- น้ำส้มควันไม้
- ถาดปลูกผัก
- เมล็ดพันธุ์ผัก
- ถังหมัก
 
1.4.4 สถานที่          
- บ้านเลขที่  299  ถ.วงศ์ศาโรจน์  ต.อุทัยใหม่  อ.เมือง    จ.อุทัยธานี  61000  


1.5 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
1.5.1 ปุ๋ยหมักชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
1.5.2  ฟางข้าว หมายถึง เป็นอินทรียวัตถุที่มีประโยชน์สูงควรถนอมไว้ในนาข้าว (ใน ต.ท่าซุง อ.เมือง  จ.อุทัยธานี )  
1.5.3 ปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบเก่า หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักโดยใช้ฟางข้าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้ในการหมักช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
1.5.4 ปุ๋ยหมักฟางข้าวแบบใหม่ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักโดยใช้ฟางข้าวที่เป็นวัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้ในการหมักช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช และยังช่วยในการป้องกันและกำจัดโรคราให้แก่พืช
    
               
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  
1.6.1  ผลผลิตทางการเกษตรเจริญเติบโตงอกงามกว่า ปุ๋ยหมักธรรมดา
1.6.2  ทุนการผลิตของเกษตรกรน้อยลง
1.6.3  ระยะเวลาในการผลิตปุ๋ยน้อยลงและได้ผลผลิตที่มากขึ้น
1.6.4  เพื่อลดมลภาวะทางอากาศจากการเผาฟางข้าว



http://www.thaigoodview.com/node/53019









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1153 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©