-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 362 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


“หอมชลสิทธิ์” ข้าวประกันความเสี่ยงยามน้ำท่วม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2553 10:57 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายสุรชัย พงษ์แตง ท่ามกลางข้าวหอมชลสิทธิ์ในแปลงสาธิต

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา

นาข้าวหลายแห่งจมอยู่ในน้ำ

ข้าวกล้องหอมชลสิทธิ์

“ปีหน้าข้าวแพงแน่”
       คงเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ไม่ยากเมื่อท้องทุ่งนาหลายแสนไร่จมหายไปกับ “น้ำ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่กระดูกสันหลังของชาติต้องแบกรับ เมื่อไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศได้ วิธีตั้งรับด้วยการพัฒนาพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับดินฟ้าอากาศ จึงเป็นอีกทางออกที่จะลดความเสี่ยงให้แก่ชาวนาได้ และ “ข้าวหอมชลสิทธิ์” น่าจะช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่เกษตรกรที่เผชิญภาวะน้ำท่วมในขณะนี้ได้
       
       “ข้าวหอมชลสิทธิ์” เป็นข้าวที่ได้รับการพัฒนาให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบประจำทุกปีในแถบภาคเหนือตอนล่างลงมาถึงภาคกลาง โดยเกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม IR57514 และข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่ง ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมพัฒนาพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วมนี้กล่าวถึงคุณสมบัติของข้าวพันธุ์นี้ว่า เป็นข้าวเมล็ดยาวที่มีกลิ่นหอมใกล้เคียงข้าวหอมมะลิ เมื่อจัดอันดับคุณภาพข้าวแล้ว ข้าวชลสิทธิ์อยู่ตรงกลางระหว่างข้าวหอมมะลิและข้าวขาวปทุม
       
       “หากเกษตรกรมีพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และเรื่องน้ำท่วมนี้เราก็คิดมานานแล้ว เป็นปัญหาทุกปี สิ่งที่เราทำได้คือใส่ทุกอย่างเพื่อลดความเสี่ยงในพันธุ์ข้าว เหมือนเขามีหลักประกันในการปลูก เมื่อไม่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติเขาก็ยังปลูกได้ แต่ถ้าเกิดภัยพิบัติขึ้น อย่างน้อยเขาก็ได้อะไรบ้าง” ดร.ธีรยุทธกล่าว
       
       ข้าวหอมชลสิทธิ์ยังให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยถึง 900 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหากเกี่ยวข้าวสด คือ เกี่ยวหลังรวงข้าวเหลืองแต่ต้นข้าวยังเขียวจะได้ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการเกี่ยวข้าวลักษณะนี้จะได้ข้าวที่มีความชื้นสูง ดังนั้น ทางโรงสีจึงต้องนำไปอบไล่ความชื้นและเกษตรกรจะได้ราคาไม่ค่อยดี และหากเกี่ยวข้าวแห้งคือทั้งรวงข้าวและต้นข้าวเหลืองแล้วจะได้ผลผลิตประมาณ 800 กิโลกรัมต่อไร่
       
       “ข้าวหอมชลสิทธิ์เป็นข้าวไม่ไวแสง จึงปลูกได้ตลอดทั้งปีแต่เหมาะกับนาชลประทานที่น้ำเข้าถึง และจะให้ผลผลิตหลังปลูก 120 วัน ข้าวพันธุ์นี้จะทนน้ำท่วมได้นาน 2 สัปดาห์โดยที่ผลผลิตไม่เสียหาย หากท่วมนานกว่านั้นผลผลิตจะลดลงตามส่วน แต่ดีกว่าเกษตรกรไม่ได้อะไรเลย เพราะปกติข้าวทั่วไปโดนน้ำท่วม 2-3 วันก็ตาย สิ่งที่แตกต่างระหว่างข้าวทนน้ำท่วมกับข้าวทั่วไปคือ เมื่อเจอน้ำท่วมซึ่งระดับน้ำจะท่วมสูงแค่ไหนก็ตาม ต้นข้าวทนน้ำท่วมจะไม่ตาย โดยจะหยุดการเจริญเติบโตและฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหลังน้ำลด แต่ต้นข้าวปกติจะยังเจริญเติบโตแข่งกับน้ำท่วม จนหมดพลังงานละตายในที่สุด และลำต้นของข้าวทนน้ำท่วมยังแข็งแรงกว่าปกติจึงไม่ล้มเมื่อเจอน้ำมาก” ดร.ธีรยุทธกล่าว
       
       ความสำเร็จของการพัฒนาข้าวหอมชลสิทธิ์นี้เกิดจากความร่วมมือของหลายสถาบันและมีผู้ร่วมพัฒนาข้าวทนน้ำท่วมนี้ไม่ต่ำกว่า 60 คน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันข้าวนานาชาติหรืออีรี (IRRI) ฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ใช้เวลาพัฒนาพันธุ์ข้าว 4 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลามาตรฐานของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็มีความพยายามลดระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหลือเพียง 2 ปี
       
       “การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเดี๋ยวนี้ใช้เวลาไม่นาน แค่ 4 ปีก็ได้พันธุ์ข้าวแล้ว เพียงแค่อยากได้คุณสมบัติอะไรก็ใส่ลงไปให้ครบ สำหรับการพัฒนาข้าวหอมชลสิทธิ์นี้ใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอในการตรวจสอบและติดตามคุณภาพสายพันธุ์ข้าว โดยใช้ยีนทนน้ำท่วมจากอีรีและใส่ยีนความหอมเข้าไปด้วย ทำให้ได้ข้าวที่มีความหอม แต่เราไม่ทำจีเอ็มโอ แม้เราจะมีศักยภาพทำได้ก็ตาม เพราะไม่มีความจำเป็นและมีทางเลือกอื่น และเรามีนโยบายไม่ทำข้าวจีเอ็มโอ” ดร.ธีรยุทธอธิบาย
       
       สำหรับข้าวหอมชลสิทธิ์นี้ได้แจกจ่ายไปให้แก่เกษตรกรในหลายจังหวัดแล้ว โดยเริ่มจากแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรใน จ.พิจิตรที่ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปี 2551 ส่วนพื้นที่ใหญ่ๆ ที่เพาะปลูกข้าวพันธุ์นี้คือ จ.อุตรดิตถ์ พิจิตร สิงห์บุรีและอ่างทอง และล่าสุดคือพื้นที่ใน อ.ผักไห่ จ.อยุธยา ซึ่งเพาะปลูกข้าวพันธุ์นี้เป็นฤดูกาลที่ 2 แล้ว และยังมีความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับ สหกรณ์การเกษตรผักไห่ อยุธยา ในการเพาะปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์แจกจ่ายเกษตรกรต่อไป และเป็นครั้งแรกที่มีความร่วมมือในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์
       
       อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นข้าวทนน้ำท่วม แต่ข้าวหอมชลสิทธิ์ก็ไม่อาจทนต่อน้ำท่วมในช่วงที่ข้าวออกรวงได้ เพราะน้ำท่วมทำให้ข้าวไม่สามารถผสมเกสรได้ ซึ่ง ดร.ธีรยุทธเล่าว่า ปีนี้เกษตรกรเจอปัญหาหลายด้านและประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงข้าวออกรวง ทำให้ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร เพราะข้าวพันธุ์นี้พัฒนาขึ้นมาให้รับมือน้ำท่วมในช่วงน้ำหลากที่ข้าวยังไม่ออกรวง
       
       ขณะที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กำลังจะเสนอของบประมาณ 40 ล้านบาทจากนายกรัฐมนตรีเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ 2,000 ตัน ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก 160,000 ไร่ โดยคาดว่าจะเลือกพื้นที่ในภาคกลางเพราะเป็นพื้นที่เหมาะสมกับข้าวหอมชลสิทธิ์มากที่สุดเพื่อรับการกระจายพันธุ์ข้าวนี้
       
       พร้อมกันนี้ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV- ผู้จัดการออนไลน์ได้ลงพื้นสำรวจแปลงสาธิตเพาะปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ของ นายสุรชัย พงษ์แตง ใน อ.ผักไห่ จ.อยุธยา 1 ในเกษตรกร 4 รายที่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ ด้วยเหตุผลว่า “อยากทดลอง” โดยได้ปลูกข้าวพันธุ์นี้ทั้งหมด 16 ไร่ และข้าวถูกน้ำท่วมจมหายไปแล้วกว่า 2 ไร่ ซึ่งเขาบอกว่าคงต้องปล่อยทิ้งเพราะไม่สามารถสูบน้ำไปทิ้งที่ไหนได้ อีกทั้งกว่าน้ำจะลดลงต้องรอถึงเดือน ธ.ค. สำหรับก่อนหน้านี้เขาเคยปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก ข้าวขาวปทุมและข้าวสุพรรณบุรี แต่ยังไม่เคยประสบกับภัยน้ำท่วมเช่นปีนี้

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000153677









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (977 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©