-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 367 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


ความรู้เรื่องข้าว 



ข้าวเจ้าพันธุ์  กข45
ข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ กข45

ประวัติ

            ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ PCRBR83012–267-5 (ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอมนายพล กับ IR46) กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105  ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีเมื่อ ปี 2532  ปลูกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 ปี 2533 ปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 2-5 ปี 2534-2537  ปลูกศึกษาพันธุ์ ปี 2538–2540  ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ปี 2541–2543  ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตใน    นาราษฎร์ที่ อำเภอเมือง และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง และอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ปี 2544–2548  ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ปี 2547-2550 ปลูกทดสอบความสามารถการยืดปล้อง ปี 2548–2549 ปลูกทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ปี 2551-2552 ผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและปลูกประเมินผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจำนวน 100 แปลง ที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดปราจีนบุรี ปี 2552/53  คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว  มีมติรับรองพันธุ์  ชื่อ  กข45  เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่  28  กันยายน  2553

 

ข้าวเจ้าพันธุ์  กข47

ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์กข47

ประวัติ 

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง  ลูกผสมชั่วที่ 1 ของสุพรรณบุรี 1 กับ IR64 นำไปผสมกับ CNT86074-25-9-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539     ปลูกชั่วอายุที่ 1 ในฤดูนาปี 2540  ปลูกคัดเลือกตั้งแต่ชั่วอายุที่ 2 จนได้เมล็ดพันธุ์ชั่วที่ 3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวข้าวชัยนาท ปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 4-5 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2542 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 และปลูกศึกษาพันธุ์ ฤดูนาปรัง 2543 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ฤดูนาปี 2544 – 2545 จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวข้าวชัยนาท และศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ในฤดูนาปี 2546-2551 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2548 ถึงฤดูนาปี 2551 ทดสอบผลผลิตและการยอมรับของเกษตรตั้งแต่ฤดูนาปี 2549 ถึงฤดูนาปรัง 2551 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร   สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในฤดูนาปี 2550  ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว  มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข47 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28  กันยายน 2553

 

ปลูกข้าวหลังน้ำลด
กรมการข้าว ได้ประชาสัมพันธ์ถึงข้อควรปฏิบัติในการปลูกข้าวหลังน้ำลด เพื่อให้ชาวนาทราบและปรับตัวให้พร้อมก่อนการทำนารอบต่อไป
1. จากที่เกิดน้ำท่วมดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจากการพัดพาเอาตะกอนดินมากองหน้าดินทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยมากในการปลูกข้าว
2. ควรเริ่มปลูกข้าวตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งท้องและออกดอกในช่วงอากาศหนาวในเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผลทำให้ข้าวลีบ
3. ควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชหรือ เมล็ดข้าวที่ตกค้างอยู่ในดินจากฤดูที่ผ่านมา งอกขึ้นก่อน แล้วไถทำลายในขั้นตอนการเตรียมดิน จะสามารถลดปริมาณข้าววัชพืช/ข้าวเรื้อจากฤดูปลูกที่ผ่านมาลงได้มาก
4. หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่อสภาวะอากาศหนาว เช่น พิษณุโลก2 กข29 กข41 เป็นต้น

5. ข้อควรระวัง
     5.1 โรคไหม้และโรคขอบใบแห้งของ ข้าว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีหมอกและน้ำค้างมาก ประกอบกับดินมีความอุดมสมบูรณ์จากน้ำท่วม ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคกับข้าวทุกระยะการเติบโต
     5.2 หนอนกระทู้กล้าและหนอนกระทู้คอรวง โดยหนอนกระทู้กล้าจะเข้าทำลายต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะแตกกอ การทำลายมักเป็นในเวลากลางคืน อาจเสียหายได้ภายใน 1-2 วัน ส่วนในช่วงข้าวออกรวง หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินคอรวง หรือ ระแง้ของรวง ในระยะสุกแก่ ทำให้คอรวงขาดการทำลายในช่วงกลางคืนเช่นเดียวกัน

6. พันธุ์ข้าว
     6.1 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหลังน้ำลด (เขตพื้นที่ชลประทาน) มีดังนี้
               ภาคเหนือตอนล่าง/ภาคกลาง
                     – กข31 กข39 กข43 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 และบางแตน
               ภาคใต้
                    – กข37 ชัยนาท 1 และพิษณุโลก 2 (พื้นที่ภาคใต้ไม่มีผลกระทบกับอากาศหนาวจึงสามารถปลูกได้)
     6.2 พันธุ์ข้าวที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกฤดูหนาว (เขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน) คือ พันธุ์ข้าที่มีอายุสั้นเก็บเกี่ยวสั้น มี 3พันธุ์ ได้แก่ กข43 สุพรรณบุรี 2 บางแตน (โดยมีอายุการเก็บเกี่ยว 97-98 วัน เป็นนาหว่านนาตม ซึ่งการที่จะปลูกข้า 3 พันธุ์นี้ได้ ต้องมีน้ำเพียงพออย่างน้อยสามารถหล่อเลียงต้นข้าวไปได้ อายุ 80-87 วัน หรือ มีน้ำประมาณ 2 เดือนกว่าๆ จึงสามารถปลูกได้)
   
วิธีการคำนวณสูตรปุ๋ย
พอดีช่วงนี้ต้องคำนวณสูตรปุ๋ยบ่อยๆ จึงคิดว่าควรเขียนลงบล๊อกไว้ด้วยดีกว่า เผื่อจะมีประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป

ปุ๋ยเคมี มีธาตุอาหารหลักอยู่ 3 ธาตุด้วยกันคือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งจะแสดงไว้ในสูตรปุ๋ยเป็นลำดับของตัวเลขสามชุด เช่น 16-16-8 หมายถึงปุ๋ยเคมีที่มี ไนโตรเจน 16% มีฟอสฟอรัส 16% และโพแทสเซียม 8% ตามลำดับ และธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ สามารถได้จากแม่ปุ๋ยดังต่อไปนี้

ยูเรีย (Urea) 46-0-0 แม่ปุ๋ยสำหรับธาตุไนโตรเจน
แดป (Di-Ammonium Phosphate - DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยสำหรับธาตุฟอสฟอรัส
มอป (Muriate of Potash - MOP) 0-0-60 แม่ปุ๋ยสำหรับธาตุโพแทสเซียม

หากเราต้องการนำแม่ปุ๋ยทั้งสามตัวมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตร 16-16-8 จำนวน 100 กก. สามารถคำนวณได้ดังนี้


1. คำนวณหาปริมาณของ แดป ที่ต้องใช้
สาเหตุที่ต้องคำนวณหาปริมาณของแดปก่อน เนื่องจากแดปเป็นแม่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารมากกว่าหนึ่งตัว คือ ให้ทั้ง ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน
จากสูตรแม่ปุ๋ยของแดป 18-46-0 หมายความว่า แดป 100 กก. ให้ฟอสฟอรัส 46 กก. และให้ไนโตรเจน 18 กก.

จากสูตร 16-16-8 เราต้องการฟอสฟอรัสเพียง 16 กก. ดังนั้นต้องใช้ แดป เท่ากับ (100 x 16)/46 = 34.78 กก.

แต่เนื่องจาก แดป มีปริมาณของไนโตรเจนด้วย ดังนั้นเราต้องคำนวณด้วยว่า ใน แดป 34.78 กก. จะมีไนโตรเจนเป็นปริมาณเท่าไหร่ ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
แดป 100 กก.ให้ไนโตรเจน 18 กก. ดังนั้น แดป 34.78 กก. จะให้ไนโตรเจน เท่ากับ (18 x 34.78)/100 = 6.26 กก.

2. คำนวณหาปริมาณของ ยูเรีย ที่ต้องใช้
จากสูตร 16-16-8 เราต้องการไนโตรเจนเพียง 16 กก. แต่เนื่องจากเราได้ไนโตรเจนส่วนหนึ่งมาจากแดปแล้วคือ 6.26 กก.เราจึงต้องการไนโตรเจนเพิ่มเติมอีกเพียง 16-6.26 = 9.74 กก.
จากสูตรแม่ปุ๋ยของยูเรีย 46-0-0 หมายความว่า ยูเรีย 100 กก. ให้ไนโตรเจน 46 กก.
แต่ในขณะนี้เราต้องการไนโตรเจนแค่ 9.74 กก. ดังนั้นต้องใช้ ยูเรีย เท่ากับ (100 x 9.74)/46 = 21.17 กก.


3. คำนวณหาปริมาณของ มอป ที่ต้องใช้
จากสูตรแม่ปุ๋ยของมอป 0-0-60 หมายความว่า มอป 100 กก. ให้โพแทสเซียม 60 กก.
จากสูตร 16-16-8 เราต้องการโพแทสเซียมเพียง 8 กก. ดังนั้นต้องใช้ มอป เท่ากับ (100 x 8)/60 = 13.33 กก.

สรุป ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 เราต้องใช้แม่ปุ๋ยดังนี้
ใช้ ยูเรีย ปริมาณเท่ากับ 21.17 กก.
ใช้ แดป ปริมาณเท่ากับ 34.78 กก.
ใช้ มอป ปริมาณเท่ากับ 13.33 กก.
รวมแล้วเท่ากับ 69.28 กก. ซึ่งได้น้ำหนักรวมไม่ถึง 100 กก. ดังนั้นเราต้องเติมสารเติมเต็มหรือฟิลเล่อร์เข้าไปเพิ่มเติมอีก 100 - 69.28 = 30.72 กก. เพื่อให้ปุ๋ยมีน้ำหนักครบ 100 กก. ตามกำหนด

สารเติมเต็มหรือฟิลเล่อร์ คือ สิ่งที่ใช้เพิ่มเติมเข้าไปในปุ๋ยเคมีเพื่อให้น้ำหนักครบตามกำหนด ต้องไม่เป็นวัตถุที่มีผลกระทบต่อธาตุอาหารหลักทั้งสามตัว และต้องสามารถคลุกเคล้าเข้ากับแม่ปุ๋ยได้เป็นอย่างดี เช่น ดิน โดโลไมท์ ปูนขาว ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม เป็นต้น

วิธีการคำนวณข้างต้นดังกล่าว เป็นหลักการที่สามารถนำไปใช้ได้ แม้ว่าแม่ปุ๋ยที่นำมาผสมจะไม่ใช่แม่ปุ๋ยสามตัวที่ผมยกตัวอย่าง เนื่องจากปัจจุบันมีแม่ปุ๋ยมากมายหลายชนิดออกมาสู่ท้องตลาด และเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะแม่ปุ๋ยสามตัวหลักนี้ราคาได้ปรับขึ้นสูงมาก
 

การผสมปุ๋ยใช้เอง
ปัจจุบันแม้ว่าจะมีปุ๋ยสำเร็จรูปวางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วๆไปแต่มักจะมีราคาแพง และขาดแคลนอยู่เป็นประจำโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีสูตรที่มีการใช้มากๆ เช่น ปุ๋ยเคมี สูตร 16 – 20 – 0, 16 – 16 – 8, 15 – 15 - 15, 13 – 13 - 21 และ12 – 24 - 12 เป็นต้น ดังนั้นการผสมปุ๋ยใช้เองของเกษตรกรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และยังทำให้ประหยัดเงินได้อีก 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เวลาและแรงงานในครัวเรือน ให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การผสมปุ๋ยใช้เอง คือ การที่เกษตรกรนำเอาแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆมาผสมกันเพื่อให้ได้สูตรตามที่ต้องการ

ก่อนที่เกษตรกรจะผสมปุ๋ยใช้เอง ควรมีความรู้พื้นฐาน ดังต่อไปนี้

สูตรปุ๋ย หมายถึง ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม(K2O)
ที่มีอยู่ในปุ๋ยคิดเป็นร้อยละโดยน้ำหนักของปุ๋ยทั้งหมดและจะบอกเรียงกันตามลำดับ N-P2 O5 –K2 O เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 แสดงว่าปุ๋ยนี้มีธาตุไนโตรเจนร้อยละ 13 ฟอสฟอรัส ร้อยละ 13 และโพแทสเซียมร้อยละ 21 ของปริมาณน้ำหนักตามลำดับ หรืออาจกล่าวได้ว่าปุ๋ยสูตร 13-13-21 จำนวน 100 กิโลกรัมมีธาตุไนโตรเจน จำนวน 13 กิโลกรัม มีธาตุฟอสฟอรัส จำนวน 13 กิโลกรัม และธาตุโพแทสเซียม จำนวน 21 กิโลกรัม
เรโชปุ๋ย หมายถึง ค่าหรือข้อมูลที่บอกสัดส่วนระหว่างปริมาณของธาตุอาหาร ไนโตรเจน(N)
ฟอสฟอรัส(P2O5 ) โพแทสเซียม(K 2 O) อยู่ในสูตรปุ๋ย เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จะมีเรโชปุ๋ย 1:1:1 เป็นต้น

อัตราปุ๋ย หมายถึง ปริมารปุ๋ยแต่ละสูตรที่ใส่ให้กับพืชต่อพื้นที่ หนึ่งไร่ หรือต่อหนึ่งต้น หรือปริมาณปุ๋ย
ที่ใช้เป็นกรัมละลายน้ำจำนวนหนึ่งถัง เพื่อใช้รดหรือฉีดให้ทางใบของต้นพืช เช่น ปลูกข้าวใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในนาดินเหนียว อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านรองพื้นก่อนปักดำ
แม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ทำปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ ผลิตขึ้นมา โดยมีปริมาณธาตุอาหาร
ในสูตรเข้มข้นมาก เช่น ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)

สารตัวเติม หมายถึง สารที่ใช้ในการผสมปุ๋ย เพื่อจะเพิ่มน้ำหนักของปุ๋ยที่ผสมให้ครบร้อยของหน่วย
น้ำหนัก และจะทำให้ได้ปุ๋ยผสมสูตรที่ต้องการ เช่น ดินร่วน ทราย ขี้เลื่อย แป้ง โดโลไมท์ ซิลิก้า และลูกรัง


ขั้นตอนการผสมปุ๋ยใช้เอง
กำหนดประเภทและสูตรปุ๋ย : ควรจะพิจารณาว่าต้องการผสมปุ๋ยสูตรอะไรและใช้กับพืชอะไร
ให้สอดคล้องกับหลักทางวิชาการ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ใช้กับนาข้าว ดินทราย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ใช้กับนาข้าวดินเหนียว เป็นต้น และควรจะคิดด้วยว่าจะต้องใช้ปุ๋ยสูตรที่ต้องการเป็นปริมาณเท่าไร เช่น ทำนาข้าวพันธุ์ไวแสงในดินทราย จำนวน 4 ไร่ คำแนะนำทางวิชาการให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ทั้งหมดคือ 25X4 =100 กิโลกรัม เป็นต้น


กำหนดชนิดของแม่ปุ๋ย : ควรมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
2.1 สูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรวม : ต้องทราบสูตรปุ๋ยที่ต้องการ เพื่อจะดูว่ามีปริมาณ
ธาตุอาหารสูงปานกลาง หรือต่ำ และมีสัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะได้เลือกชนิดแม่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง เช่น ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 แม่ปุ๋ยที่น่าเหมาะสม ได้แก่ แม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) ยูเรีย (46-0-0)และแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60) , ปุ๋ยผสมสูตร 8-24-24 แม่ปุ๋ยที่เหมาะสม ได้แก่ แม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (11-48-0) และแม่ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรค์ (0-0-60) เป็นต้น
2.2 สมบัติความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ย: แม่ปุ๋ยที่จะนำมาผสมกันต้องผสมกันได้ดีและไม่ทำปฏิกิริยากัน

ความเข้ากันได้ หมายถึง แม่ปุ๋ยหรือวัตถุดิบทุกชนิดที่กำหนดโดยการคำนวณไว้ตามสูตร
เมื่อนำมาผสมกันแล้วจะต้องผสมเข้ากันได้โดยไม่เกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ปุ๋ยที่ผลิตผลิตได้มีคุณภาพไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงตามที่ต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นแฉะและจับตัวเป็นก้อนแข็ง สรสิทธิ์ วัชโรทยานและปิยะ ดวงพัตรา (2535) ได้ศึกษาความสามารถความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด ดังตารางที่ 1


ตารางที่ 1 แสดงความเข้ากันได้ของแม่ปุ๋ยบางชนิดเมื่อนำมาผสมกัน

2.3 ขนาดของเม็ดปุ๋ย : แม่ปุ๋ยที่ใช้ต้องมีขนาดเม็ดปุ๋ยใกล้เคียงกันและมีการกระจายขนาด
ของเม็ดปุ๋ยที่สม่ำเสมอ เพราะเมื่อนำมาผสมกันแล้วจะได้ปุ๋ยผสมที่มีคุณภาพดี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการแยกตัวของแม่ปุ๋ยแต่ละตัว เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรค์ (0-0-60) ชนิดเม็ด จะเหมาะสมกับการนำมาผสมปุ๋ยใช้เองมากกว่าชนิดผง เพราะว่าเมื่อนำมาผสมกับแม่ปุ๋ยชนิดอื่นมักจะตกอยู่ใต้กองและไม่เข้ากัน เป็นต้น
2.4 รูปทางเคมีของธาตุอาหารหลักในแม่ปุ๋ย : ปุ๋ยผสมที่จะผลิตออกมาใช้ต้องทราบว่า
จะนำมาใช้สำหรับพืชกลุ่มใด และควรเลือกแม่ปุ๋ยให้เหมาะสมตามหลักวิชาการ เช่น แม่ปุ๋ยไนโตรเจนที่จะนำมาใช้กับข้าวควรใช้แม่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนในรูป แอมโมเนียมไนโตรเจน (NH 4 -N) หรืออมีดไนโตรเจน ( NH2 –N) เท่านั้น ถ้านำไปใช้กับพืชไร่สามารถใช้แม่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนในรูป แอมโมเนียมไนโตรเจน (NH 4 -N) หรืออมีดไนโตรเจน (NH 2 -N) หรือ ไนเตรทไนโตรเจน (NO3 -N) ได้ เป็นต้น
2.5 ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารปุ๋ย : ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของชนิดแม่ปุ๋ย
ที่จะนำมาผสมกันควรเลือกชนิดที่มีราคาต่อหน่วยน้ำหนักต่ำที่สุด เช่น ปุ๋ยสูตร 21 – 0 - 0 ราคากระสอบละ 250 บาท กับปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 ราคากระสอบละ 250 บาท เท่ากันควรเลือกใช้แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 เนื่องจากเมื่อคิดราคาต่อน้ำหนักธาตุอาหารที่มีอยู่ในแม่ปุ๋ยทั้งสองสูตรแล้วแม่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 ราคากิโลกรัมละ 10.87 บาท ขณะที่แม่ปุ๋ยสูตร 21 – 0 - 0 ราคากิโลกรัมละ 23.81 บาท เป็นต้น


3. การคำนวณสูตรปุ๋ย : ปุ๋ยที่จะใช้ผสมคำนวณมาจากเปอร์เซ็นต์ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส
และธาตุโพแทสเซียม ที่มีอยู่ในปุ๋ยผสมตามเกรดที่เราต้องการ เช่น

ตัวอย่าง ต้องการปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องใช้แม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ อย่างละกี่กิโลกรัม

ชนิดแม่ปุ๋ยที่เหมาะสม คือ
- ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต[18-46-0 (DAP)]
- ยูเรีย [46-0-0 (U)]
- โพแทสเซียมคลอไรค์ [0-0-60 (MOP) ]


วิธีการคำนวณ

3.1 คำนวณหาธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P 2 O5 ) ก่อน เนื่องจากแม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) มีเปอร์เซ็นต์ธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์(P2 O5~) อยู่ในปุ๋ยสูงกว่าเปอร์เซ็นต์ธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (N) มีวิธีคำนวณ ดังนี้

ปริมาณ P2 O5 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP = 100 กิโลกรัม
ปริมาณ P2 O5   1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP = 100 x 1
         46 กิโลกรัม

ปริมาณ P2 O5  16 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย DAP = 100 x 16
        46 กิโลกรัม  = 34.78 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย 18-46-0 (DAP)= 35 กิโลกรัม

3.2 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ (N) [ ปริมาณที่ต้องการ คือ 16 กิโลกรัม ] มีวิธีการคำนวณ ดังนี้

3.2.1 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ว่าติดมากับแม่ปุ๋ย DAP ,มีจำนวนเท่าไร ดังนี้
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 100 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N = 18 กิโลกรัม
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 1 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N = 18 X 1
      100 กิโลกรัม
แม่ปุ๋ย DAP จำนวน 35 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุ N = 18 X 35
       100 กิโลกรัม
ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ติดมากับแม่ปุ๋ย DAP = 6.30 กิโลกรัม
3.2.2 คำนวณหาว่าปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ยังขาดอีกเท่าไรจากที่ต้องการ ดังนี้
ต้องการใช้ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ = 16.00 กิโลกรัม
ปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ติดมากับปุ๋ย DAP =   6.30 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นยังขาดปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ =   9.70 กิโลกรัม
3.2.3 คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ที่ยังขาดจากแม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ดังนี้
ปริมาณธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = 100 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุไนโตรเจน   1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = 100 x 1
         46 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุไนโตรเจน 9.7 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย = 100 x 9.7
         46 กิโลกรัม  =21.09 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นจะต้องใช้แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) = 22 กิโลกรัม
3.3 คำนวณหาปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (K2O) [ปริมาณที่ต้องการใช้ = 8 กิโลกรัม] ดังนี้

ปริมาณธาตุโพแทสเซียม 60 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP = 100 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม   1 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP =100 x 1
          60 กิโลกรัม
ปริมาณธาตุโพแทสเซียม   8 กิโลกรัม ต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP = 100x8
          60 กิโลกรัม
เพราะฉะนั้นต้องใช้แม่ปุ๋ย MOP (0-0-60) = 14 กิโลกรัม
3.4 คำนวณหาน้ำหนักของสารตัวเติม (Filler) ที่ต้องใช้เพิ่มให้ได้ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 มีน้ำหนักครบ จำนวน 100 กิโลกรัม ดังนี้

ปุ๋ยผสมสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม มีปริมาณน้ำหนักธาตุอาหารดังนี้
แม่ปุ๋ยสูตร18-46-0 =35 กิโลกรัม+ แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 = 22 กิโลกรัม + แม่ปุ๋ยสูตร 
0-0-60 = 14 กิโลกรัม รวมเป็น 71 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นจะต้องเพิ่มน้ำหนักสารตัวเติม (Filler) จำนวน 100-71 = 29 กิโลกรัม


4. เตรียมเครื่องมือผสมปุ๋ยใช้เอง อุปกรณ์ที่ควรมีไว้ผสมปุ๋ย คือ
4.1 พื้นที่สำหรับผสมปุ๋ย ควรเป็นที่ราบเรียบเสมอและแห้ง หากเป็นไปได้ควรเป็นพื้นซีเมนต์
หรือดินแน่นเรียบ
4.2 พลั่ว หรือจอบ สำหรับตักและคลุกเคล้าผสมปุ๋ย
4.3 เครื่องชั่ง ขนาด 50 กิโลกรัม เพื่อชั่งน้ำหนักของแต่ละแม่ปุ๋ย
4.4 กระสอบปุ๋ย เพื่อเอาไว้ใส่ปุ๋ยที่ผสมได้และขนไปใส่ในไร่นา
4.5 แม่ปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ เช่น
- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
- ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0)
4.6 ตารางกำหนดน้ำหนักแม่ปุ๋ย กรณีที่ใช้ปุ๋ยสูตรทั่วๆไป (ตามรายละเอียดภาคผนวก)



5. วิธีการผสมปุ๋ยใช้เอง: ควรปฏิบัติดังนี้
5.1 เลือกสูตรและปริมาณที่ต้องการใช้ปุ๋ยนั้นๆ เช่น ต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 เพื่อปลูกข้าว
ในนาดินทราย จำนวน 100 กิโลกรัม เป็นต้น
5.2 หาน้ำหนักแม่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับสูตรและปริมาณที่ต้องการ จากตารางกำหนดน้ำหนัก
แม่ปุ๋ย หรือจากการคำนวณไว้
5.3 ชั่งน้ำหนักแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากข้อ 2 เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องใช้แม่ปุ๋ย สูตร 18-46-0 จำนวน 35 กิโลกรัม แม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 14 กิโลกรัม และแม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 22 กิโลกรัม มาผสมรวมกันเป็นต้น
5.4 นำแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดที่ได้ชั่งน้ำหนักไว้แล้วเทลงพื้นที่เรียบและแห้ง โดยควรนำเอาแม่ปุ๋ยที่ต้องใช้
ในปริมาณที่มากที่สุดเทไว้ชั้นล่างสุด ชั้นถัดมาใช้แม่ปุ๋ยที่ต้องการปริมาณปานกลางเทลงไป แล้วชั้นสุดท้ายควรเป็นแม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณต่ำสุด ตามลำดับ
5.5 ใช้จอบและพลั่ว ผสมคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยแต่ละชนิดในกองให้เข้ากันเป็นอย่างดี
5.6 ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบ เพื่อขนย้ายไปใส่ในสวนต่อไป
5.7 ใส่ปุ๋ยผสมเพาะปลูกพืชตามปกติ


ข้อดีของการผสมปุ๋ยใช้เอง
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายลง เช่น เกษตรกรต้องการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1,000 กิโลกรัม
เมื่อผสมใช้เองจะมีต้นทุน ดังนี้ เป็นค่าแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 330 กิโลกรัม เป็นเงิน 2,640 บาท แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 200 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,400 บาท และแม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 250 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,290 บาท ดังตาราง



เลขที่

แม่ปุ๋ย

น้ำหนัก (กิโลกรัม)

ราคา (บาท/กก.)

เงิน (บาท)

1.

18-46-

330

8.0

2,640

2.

46-0-0

200

7.0

1,400

3.

0-0-60

250

5.0

1,250

รวม

780

-

5,290


แต่ถ้าซื้อปุ๋ยเคมีสำเร็จรูปสูตร 15-15-15 จำนวน 1,000 กิโลกรัม ในท้องตลาด 8,000 บาท
 เพราะฉะนั้นการผสมปุ๋ยใช้เองจะประหยัดเงินได้ จำนวนเท่ากับ 8,000-5,290 =2,710 บาทต่อ 1,000 กิโลกรัม

1. สามารถมีปุ๋ยสูตรต่างๆตามที่ต้องการใช้ได้เกือบทุกหลักสูตร
2. ตัดปัญหาเรื่องการต้องการปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยด้อยมาตรฐานมาใช้
3. เกษตรกรมีปุ๋ยสูตรตามที่ต้องการได้ทันเวลาใช้


ข้อจำกัดของการผสมปุ๋ยใช้เอง
1. เมื่อนำแม่ปุ๋ยมาผสมรวมกันแล้วจะชื้นง่าย และควรใช้ให้หมดภายใน 15 วัน
2. เกษตรกรต้องเสียเวลาและแรงงานเพิ่มขึ้น จาการศึกษาพบว่าการผสมปุ๋ยให้ได้สูตรต่างๆ 
จำนวน 500 กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
3. แหล่งจำหน่ายแม่ปุ๋ยเคมียังมีจำนวนน้อยและหาซื้อได้ลำบาก นอกจากนี้การกำหนดราคา
ของแม่ปุ๋ยยังขึ้นอยู่กับพ่อค้านำเข้าส่วนใหญ่
4. ความน่าใช้และความสวยงามของแม่ปุ๋ยผสมเอง มักจะด้อยกว่าปุ๋ยเคมีสำเร็จรูป
   

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
โรงเก็บเมล็ดพันธุ์ดี
เมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิต การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงเป็นการรักษา ไม่ให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ หรือเป็นการป้องกันสิ่งที่ทำให้ เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ เช่น แมลง สัตว์ศัตรูในโรงเก็บ
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
1. ทำให้เมล็ดพันธุ์แห้งอยู่เสมอ?
2. เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่มีอากาศเย็น มีการระบายอากาศดี?
3. อย่าวางเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้ปุ๋ย หรือสารเคมี
4. อย่าวางเมล็ดพันธุ์บนพื้นดิน หรือพื้นซีเมนต์ ควรมีแคร่ หรือวัตถุรองรับภาชนะ บรรจุเมล็ดพันธุ์
5. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้แหล่งน้ำ
6.อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ความชื้นสูงในภาชนะปิด
7.หมั่นตรวจสอบ ดูแล ป้องกัน กำจัดศัตรูของเมล็ดพันธุ์
8.ป้องกันไม่ให้เมล็ดพันธุ์ได้รับความกระทบกระเทือน
 
หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

ความสำคัญของเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกข้าวในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดปลูกเพื่อการค้า จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ข้าวต้นหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง เมื่อใส่วัตถุดิบเข้าไปในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตที่ได้จากเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีการสูญเสียน้อย ได้ผลผลิตมากกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่า จึงสามารถสรุปได้ ดังนี้

1.?พันธุ์เป็นสิ่งจำกัดผลผลิตสูงสุด หากเปรียบเทียบการให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน การปฏิบัติดูแล ในปริมาณที่เท่ากัน ข้าวพันธุ์ดี ย่อมให้ผลผลิตที่มากกว่า และการเพิ่มปัจจัยต่างๆ มากขึ้น จนถึงจุดๆ หนึ่ง พันธุ์ที่ด้อยกว่า จะหยุดการให้ผลผลิตเพิ่ม ในขณะที่พันธุ์ที่ดีกว่ายังคงให้ผลผลิตเพิ่มได้ นั่นคือ ความสามารถให้การให้ผลผลิตสูงสุด ของพันธุ์ดีจะสูงกว่า

Read more: หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

   

ปัจจัยการระบาดของแมลง
    สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเจริญเติบโตได้ดี  หรือแพร่พันธุ์ได้มากน้อยแค่ไหนจะต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย  และตามความต้องการของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ปัจจัยที่คิดว่าน่าจะมีอิทธิพลมากได้แก่
    1.   พันธุ์พืช เป็นอาหารของศัตรูพืช  พืชที่ไม่สามารถทนทานหรือต้านทานต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชได้ก็จะได้รับความเสียหายและสูญพันธุ์ไปการพิจารณาพันธุ์พืชจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการแรก
    2.  ความชื้น    ความชื้นในที่นี้หมายถึงความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งความชื้นสัมพัทธ์จะมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลมากเช่น ฤดูฝนมักจะพบว่ามีความชื้นสัมพันธ์สูง กว่าฤดูกาลอื่นๆ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เกิน 80% จะส่งผลให้เกิดโรคพืชและแมลงบางชนิดระบาดมากขึ้นตัวอย่างเช่น โรคไหม้ เป็นต้น
    3. ฝน  เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของศัตรูพืชทั้งทางบวกและทางลบ  ตัวอย่างเช่น หอยเชอรี่ ที่ลอยไปตามน้ำเนื่องจากฝนตก  การแพร่ระบาดของหนู  เนื่องจากน้ำท่วมบริเวณที่อยู่อาศัย  การเกิดโรคต่าง ๆ หลังฝนตก เช่น โรครากเน่า  โคนเน่า  และรวมไปถึงโรคพืชบางชนิดที่เกาะอาศัยตามใบและ ลำต้น เป็นต้น
    4. ลม   ทิศทางและความเร็วของลมมีผลต่อการแพร่ระบาดของศัตรูพืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    5. อุณหภูมิ    เป็นปัจจัยหนึ่งของสิ่งมีชีวิตซึ่งทั้งพืชหรือสัตว์ต้องการ   แต่ความต้องการของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น จะแตกต่างกัน บางชนิดมีความต้องการอุณหภูมิสูง บางชนิด ต้องการอุณหภูมิต่ำ   ขอยกตัวอย่างประกอบให้เห็นถึงความแตกต่าง เช่น โรคราแป้ง โรคราน้ำค้าง ต้องการอุณหภูมิต่ำ   โรคไหม้ต้องการอุณหภูมิปานกลาง คือ   20-28   องศาเซลเซียส   เป็นต้น
    6. ระยะการเจริญเติบโตของพืช ช่วงการเจริญเติบโตของพืชต่างๆจะเป็นตัวกระตุ้นให้ศัตรูพืชแต่ละชนิดเข้าทำลายในระยะหนึ่งของพืชเท่านั้น เช่น การเข้าทำลายของเพลี้ยไก้แจ้ทุเรียนจะเข้าทำลายเฉพาะในช่วงทุเรียนแตกยอดอ่อนและใบอ่อนเท่านั้น

Read more: ปัจจัยการระบาดของแมลง

 
ศัตรูชาวนา ตัวต่อไปที่ควรระวัง
บั่ว (Rice gall midge)
ชื่อวิทยาศาสตร์?
Orseolia oryzae (Wood-Mason)
ลักษณะการทำลาย
โดยตัวเต็มวัยจะมาวางไข่ในระยะต้นฤดูหลังจากปักดำ ข้าวจะแสดงอาการมากในระยะแตกกอ โดยที่หนอนบั่วเข้าไปทำลายที่ยอดอ่อนของต้นข้าว และต้นข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวแมลง และเจริญออกมาเป็นหลอดคล้ายหลอดใบหอม แทนที่จะเจริญเป็นใบตามปกติ ต้นที่เป็นหลอดนี้จะไม่ออกรวง เมื่อต้นข้าวถูกทำลาย ข้าวจะแตกกอมากทดแทน หากมีการระบาดมาก บั่วก็จะทำลายหน่อที่แตกออกมาใหม่อีก ทำให้ข้าวแตกกอมากผิดปกติ ต้นจะเตี้ยและแตกกอมากคล้ายกอตะไคร้ ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรง ข้าวอาจไม่ออกรวงเลย ผลผลิตลดลงประมาณ 50-70% (Katanyukul et al., 1980 )
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตแมลงบั่ว
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

Read more: ศัตรูชาวนา ตัวต่อไปที่ควรระวัง

 
มวนเขียวดูดไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

มวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus lividipennis) เป็นตัวห้ำ ดูดทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

มวนเขียวดูดไข่ (Cyrtorhinus lividipennis) เป็นมวนตัวห้ำ จัดอยู่ในวงศ์มวนหญ้า Miridae ?เป็นตัวห้ำในระยะไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีบทบาทสำคัญมากในการลดปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว สามารถทำลายเหยื่อทั้งระยะไข่ และตัวอ่อน จนถึงตัวเต็มวัย กินไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประมาณ 7-10 ฟองต่อวัน เพศเมียและเพศผู้สามารถทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เฉลี่ย 403 และ 232ฟองตามลำดับ


ตัวเต็มวัยสีเขียว หัวและอกสีดำ ลำตัวยาว 2.5 - 3.3 มม.?


   
สารเคมีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แนะนำ

 

?ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

มีคำแนะนำล่าสุดที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัยและทดสอบแล้ว จากผู้เชียวชาญ เฉพาะด้าน (ดร.วันทนา ศรีรัตนศักดิ์)

1. เมื่อข้าาวยังเล็กจำนวนเพลี้ยกระโดดที่มีปีกจะเพิ่มปริมาณจนสูงสุด แต่โดยปกติ จะถูกควบคุมโดยศัตรูธรรมชาติ (มวนเขียวดูดไข่)

2. ข้าวอายุ 40-60 วัน เมื่อตรวจพบตัวอ่อนเป็นส่วนใหญ่เกิน 15 ตัว/ต้นจึงพ่นสารเคมี 1) ปูโพรเฟซิน หรือ 2) อีโทเฟนพรอกซหรือ 3) อิทิโพรล อย่างใดอยางหนึ่ง หรือสลับกัน อัตราตามฉลากกำกับ

3. ระยะตั้งท้องถึงออกรวง (60-80 วัน) เมื่อตรวจพบตัวอ่อนผสมตัวเต็มวัย ชนิดมีปีกสั้น ให้พ่นสารเคมี ?

1) ไทอะมิโทแซม (ทรีบอน) หรือ?

2) ไดโนทีฟูเรน (พอสซ์)?หรือ

3) โคลไทอะนิดิน (บีพีเอ็มซี) หรือ?

4) บูโพรเพซิน?(แอพพลอด)

ใช้อย่างใดอยางหนึ่ง หรือสลับกัน อัตราตามฉลากกำกับ

สิ่งสำคัญที่สุด "ห้ามผสมสารเคมีหลายชนิด พ่นพร้อมกัน"


 
ศัตรู ของศัตรูคือมิตร
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ศัตรูข้าวก็มีมากตามไปด้วยปัจจุบันแมลงศัตรูที่ทำลายข้าวมีมากกว่า 20 ชนิด เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สีเขียว หลังขาว หนอนกระทู้ หนอนกอ ฯลฯ ?ชาวนาส่วนมากป้องกันกำจัดศัตรูข้าวด้วยสารเคมี พร้อมกับ "ฆ่า" ศัตรูของศัตรูข้าวไปด้วย
ศัตรูของศัตรูข้าว มีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
? จุลชีพ ทำลายแมลงศัตรูข้าว มีทั้ง เชื้อรา เชื้อไวรัส เชื้อบัคเตรี และไส้เดือนฝอย ปัจจุบันนี้เชื้อราที่ได้รับการส่งเสริม คือ เชื้อบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana หรือ Metarhizium spp.) สามารถทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ 90-95%
? ตัวห้ำ คือ สัตว์ที่กินแมลงศัตรูข้าวเป็นอาหาร เช่น แมงมุม ด้วงเต่า ด้วงดิน จะกินพวก เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด ผีเสื้อ หนอนกอ และหนอนกินใบต่างๆ
- ด้วงเต่า (Micraspis spp.) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะกินเพลี้ยกระโดด หนอนตัวเล็กๆ หรือไข่แมลงที่ไม่มีสิ่งห่อหุ้ม (ภาพที่ 1,2,3)
- จิ้งหรีดหางดาบ (Metioche vittaticollis) (ภาพ 12,13,14,15) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย กินไข่และตัวอ่อนแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดรวมทั้งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วย
- มวนจิงโจ้น้ำกลาง (Micorvelia vittigera (Horvath)) (ภาพ 23) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย กินหนอนกอ เพลี้ยกระโดด และเพลี้ยจักจั่น
- มวนจิงโจ้น้ำ (Limongonus fossarum) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย กินเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น ผีเสื้อกลางคืน และตัวหนอที่หล่นลงในน้ำ
- มวนเขียวหญ้า (Cyrtorhinus lividipennis Reuter) เจาะกินน้ำเลี้ยงไข่ และกินตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น
? ตัวเบียน คือ สัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยการเกาะกินหรืออาศัยอยู่กับแมลงศัตรูข้าว ตัวเบียนจะวางไข่ที่ตัวแมลง ไข่ไม่สามารถเป็นตัวอ่อนได้ หรือเกาะกินที่ตัวแมลงทำให้แมลงไม่ทำลายข้าว และตายไปในที่สุด
หากชาวนาพ่นสารเคมีเท่าที่จำเป็น เมื่อตรวจดูว่ามีศัตรูของศัตรูข้าว จำนวนมากเพียงพอ ผลผลิตอาจเสียหายบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องพ่นสารเคมี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมากที่เดียว
ตัวเบียน ที่สำคัญซึ่งเป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดด (กำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้) ได้แก่
- แตนเบียนไข่ เพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น สังเกตุไข่ของเพลี้ยกระโดดที่ถูกทำลายจะเป็นสีเหลือง ถึงสีน้ำตาล
? สกุล Gonatocerus มีมากกว่า 5 ชนิด (ภาพ 78)
? สกุล Anagrus พบในข้าว 2 ชนิด (ภาพ 81)
? สกุล Oligosita ?จะวางไข่ในไข่ของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น (ภาพ 84)
จากที่กล่าวมา ชาวนามีเพื่อน มากกว่า 20 ชนิด ซึ่งแมลงศัตรูข้าวทุกชนิด ก็จะมีศัตรูอยู่ด้วยในธรรมชาติและการควบคุมกันโดยธรรมชาติเองให้เกิดความสมดุลย์อยู่ตลอดไป
การแทรกแซงของมนุษย์ โดยการกำจัด/ทำลาย สิ่งหนึ่ง ย่อมมีผลกระทบต่อกับสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้น การควบคุมกำจัดแมลงศัตรูข้าว ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ทำลายศัตรูของศัตรูข้าวด้วย









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1680 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©