-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 190 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


พลิกโฉมการทำนา ในยุคปุ๋ยเคมีแพง
โดย ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน E-mail : prateep.v@pan-group.com



ยุคทุนนิยมแข่งขันเสรีเป็นยุคทองของคนที่เข้มแข็ง คนอ่อนแอจะอยู่อย่างยากลำบาก เป็นยุคที่เกษตรกรต้องแข่งขันกันทั้งในด้านราคาและคุณภาพของผลิต จึงควรเร่งพัฒนาให้เป็น มืออาชีพ เร็วที่สุด กล่าวคือ ทำอะไรก็ต้องมีเป้าหมายชัดเจน มีหลักคิดที่ถูกต้อง ใช้ข้อมูล ความรู้ ความรอบคอบในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนจนถึงการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ


ขณะที่ปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี เกษตรกรต้องทบทวนดูว่า
- ต้นทุนการผลิตจะลดลงได้อีกเท่าไร ? .... ด้วยวิธีใด ?
- โดยเริ่มจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิต จากนั้นกำหนดว่าจะลดค่าใช้จ่ายในส่วนไหน ?....อย่างไร?


ระวัง! อย่าคิดแยกส่วน หรือคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว พืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถจัดการให้เกิด ความลงตัวพอดี ระหว่างพันธุ์พืชกับปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดิน ปุ๋ย น้ำ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น วัชพืช โรคแมลงศัตรูพืช เป็นต้น


สิ่งที่น่ากังวล คือ เกษตรกรขาดความตระหนักถึงความสำคัญของดิน ทั้งๆ ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ และดินยังเป็นทุนที่สำคัญยิ่งของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดินจึงเปรียบเสมือนรากฐานของชีวิตเกษตรกร


แปลก แต่จริง ดินเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด แต่เกษตรกรรู้จักน้อยที่สุด
ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางมีการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็นถึงเท่าตัว โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ต้นข้าวจึงอ่อนแอ ล้มง่าย โรคแมลงระบาด ในขณะเดียวกัน ข้าวที่ปลูกในดินเหนียวในหลายพื้นที่เริ่มแสดงอาการขาดโพแทสเซียม (เมล็ดลีบ)


ความเชื่อที่ต้องเปลี่ยน คือ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมให้แก่ข้าวที่ปลูกในดินเหนียว เพราะดินมีโพแทสเซียมเพียงพอแล้ว เกษตรกรจึงใช้แต่ปุ๋ย 16-20-0 มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

สาเหตุของข้าวที่ปลูกในดินเหนียวแสดงอาการขาดโพแทสเซียม เพราะในปัจจุบันชาวนาปลูกข้าวปีละ 2-3 ครั้ง ใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง จึงมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกออกจากพื้นที่ในแต่ละปีมากกว่าในอดีตถึง 5-6 เท่าตัว ซึ่งในอดีตปลูกข้าวเพียงปีละครั้ง ใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้ผลผลิต 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในการผลิตข้าวเปลือก 1 ตัน ข้าวต้องใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ประมาณ 205 และ 25 กิโลกรัมตามลำดับ จึงมีแนวโน้มที่ดินไม่สามารถปลดปล่อยโพแทสเซียมออกมาให้ข้าวใช้ได้อย่างเพียงพอ


ในปี 2550 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมมือกับกรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธ.ก.ส. และมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน จัดทำโครงการบูรณาการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง รวมทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี นครปฐม และราชบุรี


จากเวทีเสวนาของเกษตรกรผู้นำจากศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดดังกล่าว สรุปว่า ควรปลูกข้าวเพียงปีละ 2 ครั้ง และถ้าต้องการลดต้นทุนการทำนาลงร้อยละ 20 โดยผลผลิตข้าวไม่ลดลง ต้องดูแลจัดการ 4 จุดคอขวด (จุดวิกฤต/จุดเปลี่ยน/จุดเป็นจุดตาย) ดังนี้


(1) เมล็ดพันธุ์ข้าว ปัญหาคุณภาพ (เมล็ดข้าวดีดข้าวเด้ง) และใช้อัตราเมล็ดพันธุ์มากเกินไป แนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 20-25 กิโลกรัมต่อไร่


(2) การปรับปรุงบำรุงดิน ปัญหาการเผาฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว แนะนำให้ไถกลบหรือหมักฟางในนา และเร่งการผุพังสลายตัวด้วยน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดปุ๋ยไนโตรเจนลงได้มาก ทั้งยังลดการระบาดของหนอนกอ สำหรับดินที่เสื่อมโทรม ให้ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด โดยใช้ปอเทือง ถั่วมะแฮะ ฯลฯ)


(3) ปุ๋ยเคมี ปัญหาใช้ปุ๋ยเคมีไม่ตรงกับความต้องการของข้าว ทั้งสูตรปุ๋ยและปริมาณปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งใช้เกินถึง 2-3 เท่าตัว แนะนำให้ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนจากการใส่ปุ๋ยแบบ เสื้อโหล มาเป็นแบบ สั่งตัด รวมทั้งต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (ปุ๋ยแต่งหน้า) ให้ตรงเวลาด้วย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนทั้งหมด)ในวันที่ 60 นับถ้อยหลังจากวันเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นระยะกำเนิดช่อดอกของข้าว


ตัวอย่างเช่น ใส่ปุ๋ย 50 วันหลังหว่านข้าว สำหรับสุพรรณ 1 ชัยนาท 1 และพิษณุโลก 2 (อายุ 110 วัน) แต่ใส่ปุ๋ย 55 วันหลังหว่านข้าว สำหรับสุพรรณ 3 (อายุ 115 วัน) หรือใส่ปุ๋ย 60 วันหลังหว่านข้าว สำหรับพันธุ์ปทุมธานี 1 (อายุ 120 วัน) เป็นต้น สำหรับข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวไวแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115-120 วัน ควรใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อหว่านข้าวไปแล้วประมาณ 50-55 วัน


(4) สารฆ่าแมลง ปัญหาใช้สารฆ่าแมลงเกินความจำเป็น ปัญหานี้ลดลงมามาก เมื่อใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพในอัตราที่เหมาะสมและใช้ปุ๋ยเคมีถูกต้อง และแนะนำให้สำรวจแมลงศัตรูข้าวก่อนฉีดพ่นสารฆ่าแมลง


สรุปว่า ... ควรทำนาปีละ 2 ครั้ง และถ้าดูแลจัดการ 4 จุดคอขวด ดังกล่าวได้ดี ต้นทุนการปลูกข้าวจะลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี และค่าสารฆ่าแมลง 91 241 และ 178 บาทตามลำดับ หรือต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง (พื้นที่ 10 ล้านไร่ ปลูกข้าว 2 ครั้งต่อปี) จะลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี

ต้นทุนการผลิตข้าวที่ลดลง (บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก)


จังหวัด ...... เมล็ดพันธุ์ .....ปุ๋ยเคมี .....สารฆ่าแมลง .....รวม

อ่างทอง ....... 60 .......157 .......210........427

ชัยนาท ....... 120 ...... 275 ...... 330 ...... 725

อยุธยา ........120 .......311 ...... 120 ...... 551

นครปฐม ....... 62 ....... 220 ...... 50 ....... 332

เฉลี่ย ......... 91 ....... 241 ...... 178 ...... 510



ที่มา :
1.เวทีสรุปผลของโครงการบูรณาการลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง

2.ราคาปัจจัยการผลิต ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2550

ในปี 2549 และ 2550 ศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ โครงการการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพืชที่เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน ได้ทดลองปลูกข้าวรวมทั้งหมด 162 แปลง ในเขตชลประทานภาคกลาง (ดูตาราง ปุ๋ยเคมี และผลผลิตข้าว) ปุ๋ยเคมี (กิโลกรัม/ไร่) และผลผลิตข้าว (กิโลกรัม/ไร่)


จังหวัด ...........เอ็น...... พี...... เค...... ผลผลิต

อ่างทอง เดิม ...... 12.7 ...3.2 ....1.2 .... 722

ใหม่ ........... 3.7 ....4.0 ....4.5 .... 746

ชัยนาท เดิม ...... 15.2 ... 4.5 ... 5.0 .... 733

ใหม่ ........... 4.0 .... 1.0 ... 3.5 .... 767

ราชบุรี เดิม ....... 15.0 ... 7.2 ... 2.7 .... 722

ใหม่ ........... 8.7 .... 1.7 ... 4.0 .... 818

นครปฐม เดิม ...... 12.2 ... 3.5 ... 0.2 .... 688

ใหม่ ........... 3.2 .... 3.7 ... 1.7 .... 733

เฉลี่ย เดิม ........ 13.8 ... 4.6 ... 2.3 .... 716

ใหม่ ........... 4.9 .... 2.6 ... 3.4 .... 766

%ลด(-)/เพิ่ม(+).. -65 .... -43 ... +48 .... +7



ที่มา :
1.โครงการการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน

2.ราคาปุ๋ยเคมี ณ วันที่ 11 มกราคม 2551 ปุ๋ย 16-20-0 ปุ๋ย 0-0-60 และปุ๋ย 46-0-0 ราคากิโลกรัมละ 17 20 และ 16 บาทตามลำดับ

3.ความชื้นของผลผลิตข้าวที่ 14%


สรุปว่า ถ้าใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ค่าปุ๋ยเคมีต่อไร่ต่อฤดูปลูกจะลดลงจาก 808 บาท เหลือ 432 บาท หรือลดลง 376 บาท (ลดลงร้อยละ 47) ซึ่งจะส่งผลให้ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางประหยัดค่าปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 7,500 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ผลผลิตข้าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7




การใช้ปุ๋ยแบบ สั่งตัด หรือ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มี 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน สอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินในทุกจังหวัด หรือใช้คู่มือตรวจสอบชุดดินที่ทีมงานได้พัฒนาขึ้น ซึ่งมีทั้งดินไร่และดินนา


ขั้นที่ 2 ตรวจสอบปริมาณเอ็น-พี-เคในดิน ใช้ ชุดตรวจสอบเอ็น-พี-เคในดิน ซึ่งเกษตรกรวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองในเวลาเพียง 30 นาที สอบถามได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2942-8104-5


ขั้นที่ 3 ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ย หรือโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยในเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th ซึ่งคณะนักวิจัยได้พัฒนาคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับข้าวและข้าวโพดเสร็จเรียบร้อยแล้ว


หมายเหตุ :  ควรวิเคราะห์ดินก่อนการปลูกข้าวและข้าวโพดทุกครั้ง (3-4 ครั้งแรก) เพื่อปรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดินในไร่นา โดยการสังเกตการเจริญเติบโตของพืช หลังจากนั้นควรวิเคราะห์ดินทุกๆ 2 ปี


นอกจากนี้ แนะนำให้ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด และไถกลบฟางข้าว หรือหมักฟางข้าวในนา เพราะจะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน และยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย


ฉะนั้น ควรใช้วิกฤตปุ๋ยเคมีแพงเป็นโอกาสใน การเคลื่อนใจ เคลื่อนความคิด ของชาวนาให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ดิน เพราะ ถ้าดินดี ย่อมใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ และเร่งส่งเสริมให้ชาวนาผลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของผืนนา โดยการสร้างโอกาส บรรยากาศ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้ชาวนาได้ยกระดับความรู้ด้านดินและปุ๋ย
เพราะ ถ้าไม่รู้จักดิน ไม่รู้จักปุ๋ย จะปรับปรุงดิน หรือใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร?





http://news.sanook.com/scoop/scoop_256280.php









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1262 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©