-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 298 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


การไถกลบตอซัง


ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรกรรมของประเทศไทย มีระดับปริมาณอินทรียวัตถุในดินค่อนข้างต่ำมาก ประมาณ 1 เปอร์เซนต์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 191 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 60 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากธาตุอาหารในดินจะสูญเสียไปอยู่ในส่วนของพืชเป็นปริมาณสูง
          
จากการสำรวจวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พบว่าในแต่ละปีมีปริมาณมากกว่า 29 ล้านตัน จากปริมาณวัสดุดังกล่าว เมื่อคำนวณเป็นปริมาณปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 2.8,0.7 และ 5.9 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 1,930 , 2,741.4 และ 4,731.4 ล้านบาท ตามลำดับ รวมเป็นมูลค่าของปุ๋ยทั้งสิ้น 7,043 ล้านบาท ดังนั้น การนำส่วนของพืชออกไปจากพื้นที่การเกษตรแต่ละครั้ง จึงเท่ากับเป็นการสูญเสียอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดินเป็นจำนวนมาก การไถกลบตอซังเป็นการปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินได้โดยตรง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนาระบบการเกษตรแบบยั่งยืน


ความหมายของการไถกลบตอซัง

การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบวัสดุเศษซากพืชที่มีอยู่ในไร่นา หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยทำการไถกลบวัสดุเศษพืชในระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแล้วทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดิน ก่อนที่จะทำการปลูกพืชต่อไป
          
ชนิดและปริมาณของวัสดุตอซัง

1.
วัสดุตอซังและฟางข้าวมีปริมาณมากถึง 26.9 ล้านตันต่อปี
2.
วัสดุตอซังข้าวโพดมีปริมาณ 7.8 ล้านตันต่อปี
3.
วัสดุตอซังและเศษใบอ้อยมีปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี
4.
วัสดุพืชไร่ชนิดอื่น มีปริมาณ 2.4 ล้านตันต่อปี ได้แก่ วัสดุเศษพืชตระกูลถั่ว และข้าวฟ่าง เป็นต้น
          
วิธีการไถกลบตอซัง

1.
การไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกข้าว
 
1.1
กรณีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักชนิดเดียว ให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังข้าวไว้ในแปลงนาเพื่อรักษาผิวหน้าดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ทำการเตรียมดิน พร้อมกับไถกลบตอซัง และฟางข้าว ทิ้งไว้เป็นเวลา 20 วัน เพื่อให้วัสดุตอซังย่อยสลายเสียก่อน จึงปล่อยน้ำเข้าสู่แปลงนาเพื่อเตรียมปลูกข้าวต่อไป
 
1.2
การปลูกพืชไร่หลังนา หรือปลูกพืชหมุนเวียน ทำการไถกลบตอซังและฟางข้าวได้ทันที แล้วจึงปลูกพืชไร่ตามมา และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชไร่แล้ว ให้ทิ้งตอซังไว้ เมื่อถึงฤดูทำนาจึงไถกลบวัสดุเหล่านี้ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก่อนจะทำการปลูกข้าวต่อไป

2.

การไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกพืชไร่ และพืชผักในสภาพพื้นที่ดอน ซึ่งมีการปลูกพืชไร่ และพืชผักหลายชนิด ให้ทำการไถกลบ หรือสับกลบวัสดุตอซัง แต่ละครั้งก่อนทำการปลูกพืชใหม่ประมาณ 15 วัน
          

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายวัสดุตอซัง
1.
ชนิดของวัสดุ
วัสดุที่ย่อยสลายยากได้แก่ ตอซังข้าว หรือฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาการย่อยสลายประมาณ 20 วัน สำหรับวัสดุตอซังข้าวโพด และพืชตระกูลถั่ว จะใช้เวลาประมาณ 15 วัน

2.

อุณหภูมิ
อุณหภูมิในดินที่มีระดับสูงขึ้น จะมีผลทำให้วัสดุตอซังมีการย่อยสลายได้เร็วขึ้น

3.

ความชื้น
ดินที่มีปริมาณความชื้นพอเหมาะ จะทำให้เกิดการย่อยสลายวัสดุได้ดีขึ้น
          

ประโยชน์ของการไถกลบตอซัง
1.
ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
    ดินมีความโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และความหนาแน่นของดินลดลง
2.
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดิน
    อินทรียวัตถุ จะดูดซับธาตุอาหารในดิน และปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน
3.
เพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
4.
ช่วยในการลดระดับความเค็มของดิน
5.
รักษาระดับความเป็นกรดและด่างของดิน ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
6.
เพิ่มผลผลิตให้กับพืช
   

การไถกลบตอซังในพื้นที่เกษตรกรรมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่เผาตอซัง
7.
ลดปัญหามลภาวะสภาพแวดล้อมและอุบัติเหตุ
          ผลของการเผาวัสดุตอซังต่อสมบัติของดิน และสภาพแวดล้อม
1.
โครงสร้างของดินจับกันแน่นแข็ง กระด้าง และการแพร่กระจายของรากพืชลดลง
2.
เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร และน้ำในดิน
3.
จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินถูกทำลาย
4.
ทำลายแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ที่เป็นประโยชน์ในไร่นา
5.
ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษ และเกิดอุบัติเหตุ

http://r02.ldd.go.th/cco01/farming/farming_plow.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (897 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©