-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 358 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำลังปรับปรุงครับ


สุรเวทย์ กฤษณะเศรณี

แนะนำเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าว เพื่อใช้ในการปลูกข้าวนาน้ำฝน


การปลูกข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เครื่องจักรกลเกษตรมีพร้อมตั้งแต่การเตรียมดิน การอารักขาข้าว การนวดข้าว และการเก็บเกี่ยว ยังขาดแต่เครื่องปลูกข้าวและหว่านข้าว

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวในสภาพนาน้ำฝน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการปลูกข้าวแบบครบวงจรโดยใช้เครื่องจักรกลเกษตรเข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและลดอัตราการเสี่ยงเนื่องจากฝนทิ้งช่วงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีพื้นที่การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ถึง 10 ล้านไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝน มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และการกระจายของฝนไม่ดี นอกจากนี้ จากพื้นดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้แห้งแล้งขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรขาดแรงงานในการปลูกข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีหว่านข้าวแห้งหรือวิธีหยอด วิธีหว่านข้าวแห้งเป็นวิธีที่เกษตรกรใช้มากที่สุด การหว่านข้าวแห้งใช้เมล็ดพันธุ์ไม่แน่นอน การกระจายของเมล็ดข้าวไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์สูงถึง 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ จากผลออกแบบและพัฒนาการวิจัยของผู้เขียนในสมัยรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การวิจัยได้เครื่องหยอดและเครื่องหว่านข้าวทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ เครื่องหยอดข้าว 10 แถว และเครื่องหว่านข้าวใช้รถแทร็กเตอร์เป็นต้นกำลัง และเครื่องหยอดข้าว 4 แถว ใช้รถไถเดินตามเป็นต้นกำลัง ซึ่งนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้เคยนำเสนอไปแล้ว จากนั้นผู้เขียนได้ส่งเสริมโรงงานเพื่อผลิตจำหน่ายและได้ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องตลอดมา โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร จนได้เครื่องที่สมบูรณ์ มีเกษตรกรจำนวนมากได้ให้ความสนใจและนำไปใช้ และติดต่อขอข้อมูลตลอดมา จึงเห็นสมควรที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้ลงบทความอีกครั้ง เพื่อให้ผู้สนใจได้ข้อมูลที่สมบูรณ์กว่าเดิม คาดว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้สนใจ ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

1. เครื่องหยอดข้าวที่พัฒนาแบบ 10 แถว มีข้อมูลจำเพาะ ดังนี้

- ใช้พ่วงกับรถแทร็กเตอร์ 60-75 แรงม้า แบบพ่วง 3 จุด

- หยอดข้าวได้ครั้งละ 10 แถว ระยะระหว่างแถว 25 เซนติเมตร

- ชุดถังหยอดข้าว 2 ชุด ชุดละ 5 แถว

- ความจุของถังใส่ข้าว 50 กิโลกรัม

- อุปกรณ์เปิดร่องแบบจานกลม

- อุปกรณ์กลบร่องแบบใบกลบ

- ปรับอัตราการหยอดได้โดยเปลี่ยนอัตราทดของเฟือง

- ความสามารถการทำงาน 5-6 ไร่ ต่อชั่วโมง

- อัตราเมล็ดพันธุ์ 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่ และสามารถปรับได้ถึง 15 กิโลกรัม ต่อไร่ ตามต้องการ

- ราคาประมาณ 40,000-50,000 บาท

2. เครื่องหว่านข้าวพ่วงรถแทร็กเตอร์

- ใช้พ่วงกับรถแทร็กเตอร์ 24-75 แรงม้า แบบพ่วง 3 จุด

- ใช้ติดตั้งบนผาลพรวนจาน เป็นต้นไป

- ความจุของถังใส่ข้าว 50 กิโลกรัม

- อัตราการหว่าน 10 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อมีวัชพืชน้อยบนแปลงที่จะหว่าน

- อัตราการหว่าน 20 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อจำนวนวัชพืชหนาแน่นบนแปลงที่จะปลูก

- ปรับอัตราการหว่านได้โดยเปลี่ยนอัตราทดของเฟือง

- อัตราเมล็ดพันธุ์สามารถปรับได้ 10-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ตามความต้องการของเกษตรกร

- ความสามารถการทำงาน 3-4 ไร่ ต่อชั่วโมง

- ราคาประมาณ 14,000-16,000 บาท

3. เครื่องหยอดข้าวแบบ 4 แถว มีข้อมูลจำเพาะ ดังนี้

- ใช้พ่วงกับรถไถเดินตาม

- หยอดข้าวได้ครั้งละ 4 แถว ระยะระหว่างแถว 25 เซนติเมตร

- ความจุของถังใส่ข้าว 10 กิโลกรัม

- อุปกรณ์เปิดร่องแบบจานกลม

- อุปกรณ์กลบร่องแบบใบกวาด

- อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่

- ความสามารถการทำงาน 1.5-2 ไร่ ต่อชั่วโมง

- ราคาประมาณ 8,000-10,000 บาท

เครื่องหยอดและเครื่องหว่านพ่วงรถแทร็กเตอร์

เหมาะสมกับเกษตรกรรายใหญ่ มีที่ดิน 500-5,000 ไร่ ส่วนเครื่องหยอดและเครื่องหว่านพ่วงรถไถเดินตาม สำหรับเกษตรกรรายย่อย มีที่ดิน 50-500 ไร่ ขนาดแปลงที่เหมาะสมกับเครื่องหว่านและเครื่องหว่านข้าวใช้รถแทร็กเตอร์เป็นต้นกำลัง ลักษณะแปลงควรเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า การใช้เครื่องหยอดข้าว 10 แถว และเครื่องหว่านข้าวรถพ่วง รถแทร็กเตอร์นั้นขนาดแปลงไม่ควรต่ำกว่า 2 ไร่ เนื่องจากถ้าหากแปลงเล็กเครื่องทำงานได้ช้าเกี่ยวกับเลี้ยวบ่อย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องต่ำ ส่วนเครื่องหยอดและเครื่องหว่านพ่วงรถไถเดินตาม ขนาดแปลงไม่ควรต่ำกว่า 0.5 ไร่

ผลดีจากการใช้เครื่องหว่านและเครื่องหยอดข้าว

ทำงานได้รวดเร็วทันฤดูกาล ลดความเสี่ยงในกรณีฝนทิ้งช่วง การใช้เครื่องหยอดและหว่านข้าวทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้รวดเร็ว เสร็จทันเวลาในช่วงฝนที่เหมาะสม เป็นการลดความเสี่ยงในกรณีฝนทิ้งช่วง โดยเริ่มหยอดข้าวและหว่านข้าว ปลายเดือนเมษายนและไม่ควรเกินเดือนกรกฎาคม เพราะฝนจะตกชุก เครื่องทำงานไม่ได้ ต้นข้าวจะเจริญเติบโตและแข็งแรงทนต่อความแห้งแล้ง และจะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่า โดยจะเก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน

เวลาการปลูกที่เหมาะสม

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำนาโดยใช้เครื่องปลูกข้าว เป็นช่วงเวลาเดียวที่เกษตรกรทั่วไปทำนาหว่าน ผลการศึกษาเวลาการปลูกที่เหมาะสมพบว่าการปลูกในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคมเป็นเวลาการปลูกให้ผลผลิตสูง ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่นามากสามารถปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน และถ้าในเดือนพฤษภาคมยังทำนาไม่ทัน ก็สามารถหยอดข้าวและหว่านข้าวด้วยเครื่องได้ในช่วงเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม หากในเดือนกรกฎาคมมีฝนทิ้งช่วง ก็ยังสามารถหยอดข้าวและหว่านข้าวได้ แต่ผลผลิตจะต่ำ เครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวเป็นเครื่องขนาดใหญ่สามารถทำงานได้รวดเร็ว และทำงานได้ทันทีเมื่อดินนาแห้ง สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมสำหรับใช้เครื่องหยอด ซึ่งเป็นการทำงานที่สามารถแข่งกับเวลาได้

อัตราเมล็ดพันธุ์

อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ของเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวแตกต่างกัน กล่าวคือ เครื่องหยอดข้าวจะหยอดเป็นแถวกันนั้น ใช้เมล็ดพันธุ์ 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ก็พอ ส่วนเครื่องหว่านข้าวนั้นจะต้องหว่านเมล็ดข้าวเต็มจำนวนพื้นที่ จึงใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่า อาจจะใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ และบางครั้งเกษตรกรก็จะใช้เมล็ดพันธุ์ถึง 30 กิโลกรัม ต่อไร่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของวัชพืช ถ้าวัชพืชในพื้นที่ไม่รุนแรงอาจจะใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ ก็พอ ถ้าในพื้นที่นั้นมีวัชพืชรุนแรงอาจต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อต่อสู้กับต้นวัชพืช สิ่งที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ข้าวจะต้องสะอาด ไม่มีระแง้และเศษฟางปะปน ไม่เช่นนั้นจะทำให้ระบบการหยอดและการหว่านทำงานไม่สมบูรณ์

สรุปการปลูกข้าวด้วยเครื่องหยอดข้าวและเครื่องหว่านข้าวนั้น จะเป็นวิวัฒนาการการปลูกข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสภาพดินร่วนปนทราย เพื่อเป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตโดยการปลูกได้รวดเร็วทันเวลาในช่วงเวลาฝนที่เหมาะสมเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งตอนฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้ เครื่องหยอดข้าวสามารถใช้หยอดถั่วเหลืองได้อีกด้วย โดยการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก คุณสันธาน นาควัฒนานูกูล สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โทร. (084) 301-3507 หรืออดีตผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตร คุณสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี โทร. (084) 656-8019 หรือติดต่อโดยตรงกับโรงงานผลิตเครื่องหยอดข้าว โรงงานอนุสรณ์การช่าง จังหวัดลพบุรี โทร. (081) 936-9230 และโรงงานเปี่ยมทองผลิตเครื่องหว่านข้าว จังหวัดลพบุรี โทร. (086) 037-4408 ทั้งสองโรงงานนี้ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากผู้เขียนและคุณสันธาน นาควัฒนานูกูล


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05030150853&srcday=2010-08-15&search=no









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1355 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©