-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 372 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

โกโก้





ที่มา: http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=4856


                  โกโก้            

      
      ลักษณะทางธรรมชาติ           
    * เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่  อายุยืนนับร้อยปี  กำเนิดในป่าชื้นเขตอเมริกาใต้ (บรา
ซิล.  แม็กซิโก.  โคลัมเบีย.  ให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาล                
    * เจริญเติบโตได้ดีในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ชอบแสงแดดรำไรหรือมีร่มเงาบ้าง ฝนชุก
ต้องการไม้พี่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงตลอดไป  การปลูกโกโก้แซมแทรกในสวนมะพร้าวโดยมี
มะพร้าว (อายุต้นมากกว่า 10 ปี) ช่วยบังแดด และมีกล้วยแซมแทรกบ้างเพื่อสร้างความชื้นในดิน
และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะช่วยให้ต้นโกโก้เจริญเติบโตดี               
    * อายุต้นหลังปลูก 3 ปี  เริ่มให้ผลผลิตและให้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 50 ปี
    * ออกดอกติดผลตามลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่  ทุก 2-3 สัปดาห์                
    * อายุผลตั้งแต่ออกดอก ถึง เก็บเกี่ยว 5-6 เดือน               
    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสาร
อาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็น
ผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว               
    * ผลอ่อนมีสีเขียว  ผลแก่มีสีเหลืองอมส้ม  ผลแก่จัดสีเหลืองอมแสด
    * การเก็บเกี่ยวให้เลือกเก็บเฉพาะผลที่แก่สุกพอเหมาะ ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป เปลือกผลสี
เหลือง  วิธีเก็บเกี่ยวให้ใช้กรรไกคมๆตัดขั้วผล หลังจากเก็บเกี่ยวผลชุดแรกไปแล้ว อีก 2-3 สัปดาห์
โกโก้จะออกดอก ณ บริเวณใกล้เคียงอีก ถ้าใช้วิธีดึงผลจนเปลือกฉีกเป็นแผลบริเวณนั้นจะไม่ออกดอก
หรือต้องใช้ระยะเวลานาน               

      หมายเหตุ :               
      ธรรมชาติของโกโก้ออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นอาจไม่จำเป็นต้องบำรุงตามขั้นตอน
หากต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอจะออกดอกติดผลเอง.....การปลูกโกโก้แซมแทรกในสวนมะพร้าว
ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้มีธรรมชาติการออกดอกติดผลเหมือนกันจึงใช้วิธีบำรุงร่วมกันได้
      หากต้องการผลผลิตเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้นทั้งแปลง เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตมาก และ
คุณภาพดีตามที่ตลาดต้องการก็จำเป็นต้องปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนเช่นเดียวกันกับไม้ผลทั่วๆไป
               
     
สายพันธุ์           
      เวสแอฟริกัน อมิโลนาโด :
      เป็นพันธุ์นิยมปลูกมากที่สุดเพราะผสมเกสรในตัวเองได้ดี  และคุณภาพเมล็ดเป็นที่ต้องการ
ของตลาด               
      ครีโอโล :       
      เป็นพันธุ์ผลค่อนข้างใหญ่  กลิ่นจัด  เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมโกโก้
      อั๊พเปอร์ อเมซอน :      
      เป็นพันธุ์ให้ผลผลิตสูงและเร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ                
      ทรินิ ตาริโอ :        
      เป็นพันธุ์ต้านทานโรคดีที่สุดแต่ให้ผลผลิตต่ำ             

      การขยายพันธุ์           
      เพาะเมล็ดโดยการเลือกเมล็ดจากผลแก่จัดคาต้น สมบูรณ์  คุณภาพดี  ไม่มีโรคและ
แมลง  ต้นแม่ให้ผลผลิตดกดี  ออกดอกติดผลประจำทุกปี  อยู่ในดงหรือสวนโกโก้ขนาดใหญ่
      เมล็ดไม่มีระยะพักตัว  เมื่อได้มาจากต้นแล้วขยำเนื้อและเปลือกเหลือแต่เมล็ดใน  ผึ่งลม
แห้งแล้วนำลงเพาะในวัสดุเพาะทั่วไปได้ทันทีโดยให้ส่วนตายอดอยู่ด้านบนและตารากอยู่ด้านล่างเสมอ
ทั้งนี้จะวางเมล็ดแบบแบนราบหรือตั้งขึ้นก็ได้  ภายใน 7 วัน รากจะงอกถ้าไม่งอกแสดงว่าเมล็ดนั้นใช้
การไม่ได้                 

      ระยะปลูก           
      เลือกพื้นที่ปลูกแซมแทรกในสวนมะพร้าวจึงให้พิจารณาตามความเหมาะสม  3 X 3 ม.
หรือ  3 X 2.5 ม. กรณีปลูกแซมแทรกในสวนมะพร้าว  ให้ห่างจากต้นมะพร้าว  3-4 ม.
อยู่ด้านร่มเงาของมะพร้าว            

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                 
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                 
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
    - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้น/3 เดือน                

      หมายเหตุ :                           
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน             
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่   การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่
ระบาดของเชื้อราได้             
    - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุง
ผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน.....ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิด
อาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น               
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง                

     
เตรียมต้น               
      ตัดแต่งกิ่ง :
           
    - ปกติโกโก้ที่ปลูกจากเมล็ดจะเจริญเติบโตทางสูงเป็นลำต้นเดี่ยวๆโดยอายุต้น 1 ปี-1 ปีครึ่ง
หลังปลูกจะสูงประมาณ 1.5-2 ม.  จากนั้นจะหยุดการเจริญเติบโตทางสูงแล้วเจริญเติบโตทาง
ข้าง  มีกิ่งแขนงแตกออกทางข้าง 4-5 กิ่งเรียกว่า เรือนยอด จากนั้นก็จะแตกกิ่งกระโดงจากตาของ
กิ่งเรือนยอดเป็นกิ่งกระโดง เรียกว่า ชูพอน เมื่อชูพอนโตขึ้นก็จะสร้างเรือนยอดขึ้นมาอีก และตาของกิ่ง
เรือนยอดก็จะแตกกิ่งกระโดงออกมาอีก  เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนต้นมีขนาดทรงพุ่มสูงและใหญ่
    - โกโก้ต้นที่ให้ผลผลิตแล้วให้ตัดแต่งกิ่งโดยตัดกิ่งแห้ง  กิ่งเป็นโรค  กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม 
กิ่งไขว้  เพื่อให้ภายในทรงพุ่มโปร่ง  แสงแดดและลมพัดผ่านสะดวก  ต้นที่ความสูงน้อยกว่า 1.5
ม. ให้เลี้ยงกิ่งกระโดงที่เกิดใหม่ไว้ก่อน เพื่อให้สร้างเรือนยอดสำหรับเพิ่มความสูงให้แก่ต้น
    - ต้นที่สมบูรณ์มากๆจะมีหน่อแทงออกมาจากโคนลำต้นเหนือผิวดินเล็กน้อย ถ้าต้นมีความสูง
พอเพียงแล้วให้ตัดหน่อทิ้งไปทั้งหมดตั้งแต่เริ่มแทงออกมาโดยตัดให้ชิดเปลือกลำต้น แต่ถ้าต้นยังได้
ความสูงไม่พอเพียงก็ให้คงหน่อที่แข็งแรงไว้ 1-2 หน่อ เพื่อให้เป็นลำต้นใหม่แล้วสร้างเรือนยอดต่อ
ไป  
    - หลังจากตัดยอดประธานเพื่อควบคุมความสูงหรือยอดประธานหักเองจะมีหน่อเกิดใหม่ที่ใต้
รอยตัดนั้น  ให้บำรุงหน่อใหม่จนเป็นต้นสำหรับทดแทนได้                
    - การตัดแต่งกิ่งโกโก้ต้องทำทุก 1-2 เดือนเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งอยู่เสมอซึ่งจะส่งผลดีต่อการ
ออกดอกติดผล                
      ตัดแต่งราก :                 
    - โกโก้ช่วงต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพใน
การหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน
4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม  ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อ
โกโก้           

      หลักการและเหตุผล :               
    1.โกโก้ต้องปลูกแบบแซมแทรกระหว่างมะพร้าวเพื่ออาศัยมะพร้าวเป็นไม้พี่เลี้ยงตลอดชีวิต
โกโก้จึงจะให้ผลผลิตดี  ระยะห่างระหว่างต้นมะพร้าวกับมะพร้าว หรือโกโก้กับโกโก้  หรือมะพร้าว
กับโกโก้  จึงเอาแน่นอนไม่ได้               
    2.โกโก้กับมะพร้าวมีนิสัยออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ตราบเท่าที่ต้นสมบูรณ์เหมือนกัน
ต่างกันก็แต่อายุของผลผลิตเท่านั้น    
      จากหลักการและเหตุผลทางธรรมชาติของไม้ผลทั้งสองที่ต้องอยู่ร่วมกันนี้ แนวทางการปฏิบัติ
บำรุงให้ใช้วิธีการเดียวกันเป็นหลัก  จากนั้นจึงเลือกให้สารอาหารบางอย่างสำหรับมะพร้าวหรือโกโก้
โดยเฉพาะเสริมด้วยการให้ทางใบหรือทางรากโดยตรง          

    1.ระยะกล้า - ยังไม่ให้ผลผลิต           
      ทางใบ :           
    - ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. โดย
การฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ทุก 15-20 วัน               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน            
      ทางราก :           
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(200-500 กรัม)/เดือน/ต้น/เดือน
    - ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก 2-3 วัน               

      หมายเหตุ :               
      เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางใบและทางรากหลังจากต้นแตกใบใหม่ได้แล้ว 2-3 ใบ  โดยช่วงระยะต้น
เล็กให้แต่น้ำเปล่าก็พอ                

    2.ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้ว           
      ทางใบ :                       
    - ในรอบ 15-20 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งกับให้น้ำ
100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100ซีซี.+ เอ็นเอเอ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.อีก 1
ครั้ง ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน           
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-1/2 กก.)/เดือน/ต้นทรงพุ่ม 3-
5 ม./เดือน
    - ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก 2-3 วัน               

      หมายเหตุ :               
      ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้วถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นชะงักไม่ออกดอกและผลทั้งในฤดูกาลปีนี้และ
ฤดูกาลเดียวกันของปีต่อไป       

    3.บำรุง  “ดอก + ผล”  หลายรุ่น               
     
ทางใบ :               
      สูตร 1
.....ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนสมส่วน
100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+
สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      สูตร 2.....ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56(200-250 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุ
เสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + เอ็นเอเอ.25 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100
ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
      เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรสลับครั้งกัน ฉีดพ่นพอเปียกใบทุก 15-20 วัน
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (200-250 กรัม)/เดือน/ต้น
    - ให้น้ำเปล่าทุก 2-3 วัน               
    - ช่วงก่อนเข้าหน้าหนาว (ฝนต่อหนาว) และช่วงหน้าแล้งต้องให้น้ำทุกวันหรือวันเว้นวันจะ
ช่วยให้หน้าแล้งปีถัดไปผลโกโก้จะไม่ขาดต้น                

      หมายเหตุ :               
    - ให้ไคโตซาน 2-3 เดือน/ครั้ง จะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น
    - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 2-3 เดือน/ครั้ง โดยแบ่งให้
ตลอดระยะเวลาที่มีผลผลิตอยู่บนต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
    - ให้สังกะสีคีเลต 2-3 เดือน/ครั้งจะช่วยให้เนื้อหนาและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง

                                                                        

               ****************************





 
 
โกโก้

  สถานการณ์ทั่วไป
โกโก้เป็นพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลกเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนภายใต้ร่มเงารำไรผลผลิตของโกโก้ใช้ประโยชน์ในทางบริโภคมีคุณค่าทางอาหารสูง ปัจจุบันเมล็ดโกโก้แห้งเป็นสินค้าเกษตรที่โรงงานผลิตโกโก้ผงขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยเพื่อนำมาแปรรูปใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออกแต่ปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ในภาวะปัจจุบันนี้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการจำเป็นต้องส่งเสริมการปลูกให้มากขึ้น
 
  ลักษณะทั่วไปของพืช
โกโก้เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุนานเฉลี่ยประมาณ 60ปี มีความสูง 8–10 เมตร เป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในที่ร่มเงาดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตได้แก่ดินร่วน มีหน้าดินลึก ระบายน้ำได้สะดวกมีความเป็นกรด-ด่าง ของดินในระหว่าง 5.5–7.0 อุณหภูมิระหว่าง 24–29 องศาเซลเซียต ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2–3 ปี จะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อ 8–15 ปี
 
  แหล่งผลิตที่สำคัญ
จังหวัดชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช,กระบี่, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสงคราม, ระนอง, พังงา
 
พื้นที่ปลูก
พื้นที่ปลูกปี 2540 เนื้อที่ 10,007 ไร่
 
พันธุ์ที่ส่งเสริม
พันธุ์ลูกผสมชุมพร 1
 
ต้นทุนการผลิตต่อไร่
1,324 บาท/ปี   
 
 
ผลผลิต
 

ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 1,960 ตัน (2540)
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 204 กิโลกรัม (2540)
ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ เมล็ดสด 6-7.50 บาท/กิโลกรัม เมล็ดแห้ง 23-25 บาท/กิโลกรัม
ปริมาณการใช้ในประเทศ 268-580 ล้าน บาท (2539)
ปริมาณการส่งออก 4,211 ตัน มูลค่า 390 ล้าน บาท (2539)
ปริมาณการนำเข้า 25,659ตัน มูลค่า 606 ล้าน บาท (2539)

 
  การปลูก
- วิธีการปลูก   ขุดหลุมกว้าง 1-2 ฟุต ลึก1 ฟุต แล้วกลบหลุมโดยส่วนผสมของดิน,ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกให้เข้ากันแล้วนำต้นโกโก้ที่เอาถุงพลาสติกออกแล้วมาปลูกแล้วใช้ไม้ไผ่ปักเป็นหลักยึดต้นโกโก้ให้แน่นแล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม
- ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จำนวนต้นต่อไร่ 175 ต้น
 
  การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
ต้นโกโก้ก่อนให้ผลผลิตโดยใช้สูตร15–15–15 โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ปุ๋ยประมาณ 3-4 เดือน/ครั้ง ต้นโกโก้ที่ให้ผลผลิตแล้วจะใช้ปุ๋ยสูตร12-12-17-2 หรือ N-P-K-Mg โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 



การให้น้ำ
ในฤดูแล้งควรให้น้ำเป็นครั้งคราวในฤดูฝนต้องอย่าให้น้ำท่วมหรือเอ่ออยู่บริเวณโคน


การตัดแต่งกิ่ง
ควรตัดแต่งกิ่งที่หักหรือกิ่งที่ถูกแมลงทำลายและกิ่งที่แห้งและทารอยตัดด้วยยากันรา เช่น ปูนขาวหรือปูนแดง นอกนั้นอาจแต่งกิ่ง เพื่อรักษารูปทรงของต้น 



การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- โรคผลเน่า เก็บผลเน่าที่แห้งคัดทิ้งแต่งโคนต้นให้โปร่ง ใช้สารบอร์โดมิกเจอร์ฉีดพ่น
- โรคกิ่งแห้ง ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกทำลายโดยเผาทิ้ง
- โรคไหม้ ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคแล้วเผาทิ้งแล้วใช้ยากันราทาแผล 

 
  แมลงศัตรูโกโกh
- มวนโกโก้ ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งและหรือใช้สารเคมีพวกคาร์บาริลฉีดพ่น 

แนวทางการส่งเสริ,
- ส่งเสริมเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกโกโก้พันธุ์ดีแซมสวนมะพร้าว ส่งเสริมเกษตรกรการแปรรูปเมล็ดโกโก้เป็นเมล็ดโกโก้แห้งโดยใช้เครื่องอบแห้ง 



ปัญหาอุปสรรค

- ราคาของผลผลิตไม่จูงใจ

- เกษตรกรขาดในการดูแลรักษา 

 
  สวนตัวอย่าง

1) สวนคุณราตรี ที่อยู่ ต. อ่างทอง อ. ทับสะแกจ. ประจวบคีรีขันธ์ 77130 2) ร้านแสงทองการค้าที่อยู่ 199-201 หมู่ 5 ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ.ชุมพร 86130 

 
  แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1) สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร (02) 5790508,5790583-2) ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรที่อยู่ ตู้ปณ.3 อ. สวี จ. ชุมพร 86130 โทร(077)502-589 



http://ssnet.doae.go.th/ssnet2/Library/plant/coco.htm








ทดสอบการปลูกโกโก้เป็นพืชแซมในสวนมะพร้าว

จากการนำโกโก้ลูกผสม 3 พันธุ์ ได้แก่ โกโก้ลูกผสมชุมพร 1, UIT1 x Na32, Na33 x
UIT1 ไปทดสอบปลูกแซมในสวนมะพร้าวเกษตรกร ในเขตท้องที่ ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร จำนวน
5 ไร่ อายุมะพร้าว 21 ปี ระยะปลูก 8 x 12 ม. จำนวน 83 ต้น ระยะปลูกโกโก้ 3 x 4 ม.
จำนวน 600 ต้น

หลุมปลูกรองก้นหลุมด้วย Rock phosphate อัตราหลุมละ 200 ก.

ปีที่ 1, 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 200, 500 ก./ต้น/ปี
ปีที่ 3-4 ใส่ปุ๋ยเคมีเกรด 12-12-17-2 อัตรา 1 กก./ต้น/ปี
โดยแบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง เก็บตัวอย่างดินเข้าวิเคราะห์ก่อนปลูก

ปรากฎว่า สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ผลผลิตมะพร้าวที่เกษตรกรเก็บได้ก่อนปลูก
เฉลี่ย 50-65 ผล/เดือน โกโก้หลังปลูกเมื่ออายุ 3-6 เดือน การเจริญเติบโตไม่ค่อยดีและเนื่อง
จากอายุต้นกล้าอายุมากกว่า 6 เดือน กระทบปัญหาอากาศแล้งในต้นปี 2535 ทำให้ต้นกล้า
ตายไปประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

การปลูกซ่อมในฤดูใหม่ช้า ทำให้อายุการตกผลไม่พร้อมกัน กล่าวคือ โกโก้ออกดอกและเก็บผล
ได้เมื่ออายุ 2.4 เดือน เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ 3 เก็บผลผลิตเมล็ดโกโก้แห้งได้ 129 กก.
และในปีที่ 4 ผลผลิตเมล็ดโกโก้แห้งเพิ่มเป็น 667 กก. และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ส่วนผลผลิต
มะพร้าวหลังปลูกโกโก้จากปีที่ 1, 2, 3, 4 มีจำนวน 1,186, 3,568, 3,648 และ 5,202
ผล ตามลำดับ ซึ่งเมื่อได้งบดุลบัญชี รับ-จ่าย

จากกิจกรรมการปลูกโกโก้แซมในสวนมะพร้าว ในสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเพิ่ม
ปัจจัยการผลิตเฉพาะโกโก้อย่างเดียวในปริมาณน้อยจากปีที่ 1, 2, 3, 4 มีรายได้สุทธิจาก
มะพร้าว โกโก้ จำนวน 7,148, 3,712, 2,618 และ 22,220 บาท ตามลำดับ



http://pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb1.exe?rec_id=048965&database=agdb1&search_type=link&table=mona&back_
path=/agdb1/mona&lang=thai&format_name=TFMON






การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
ในสวนป่าโกโก้ ที่ประเทศคอสตาริกา

ในเมือง ทาลามันคา (Talamanca) บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศคอสตาริกา เกษตรกรรายย่อยของประเทศนี้ กำลังเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในสวนป่าโกโก้ ซึ่งเป็นโครงการจัดขึ้นโดย Tropical Agricultural Research and Higher Education Center (CATIE) ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือส่งเสริมให้มีการทำเกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยใช้หลักการเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชในสวนป่าโกโก้ และเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง เพื่อลดการบุกรุกพื้นที่ป่าธรรมชาติในเขตป่าสงวน

พื้นที่ทาลามันคานี้ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่ง องค์กร Conservation International(CI) ได้กำหนดให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่เร่งด่วนต่อการอนุรักษ์ (biodiversity hotspot) เพราะว่า ทาลามันคา ตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่อระหว่าง พื้นที่ Talamanca-Caribbean Biological Corridor และพื้นที่ Mesoamerican Biological Corridor ซึ่งถือว่า เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ และสัตว์ป่าสูงแห่งหนึ่งของโลก

เนื่องจากชาวสวนใน ทาลามันคา ซึ่งส่วนมากเป็นชาวพื้นเมืองท้องถิ่น Latin mestizos ส่วนมากมีเชื้อสาย Afrocaribbean มีพื้นที่เพาะปลูกเพียงครอบครัวละประมาณ 1-1.5 เฮกตาร์ ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตจากเมล็ดโกโก้ได้เพียง 150-250 กิโลกรัมต่อปี โครงการฯ จึงทำการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตเมล็ดโกโก้ และการปลูกพืชผสมผสานในสวนโกโก้
 

การเพิ่มผลผลิตเมล็ดโกโก้นั้นทำได้หลายทางเช่น การเก็บเมล็ดโกโก้ด้วยวิธีใช้มีดดาบปาดที่ขั้วก้าน และให้เข้าไปเก็บเมล็ดโกโก้ เป็นประจำทุกอาทิตย์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการว่าจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว และยังสามารถตรวจตราเชื้อโรคที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรป้องกันได้ทัน รวมถึงการฝึกปฏิบัติวิธีการขยายพันธุ์ต้นโกโก้ โดยการติดตา ทาบกิ่ง และการดูแลเรื่องของการหมักและตากแห้งเมล็ด และศึกษาสภาพการณ์ตลาดของเมล็ดโกโก้ด้วย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ การปลูกพืชที่เป็นพืชอาหารระดับชั้นล่างเพื่อเป็นพืชเสริม และวิธีการการแต่งกิ่งต้นโกโก้ เพื่ออนุญาตให้แสงแดดลอดลงมา ให้พืชชั้นล่างได้ใช้สังเคราะห์แสง และการเจริญเติบโตอีกด้วย

พันธุ์ไม้โกโก้ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า ช้อคโกแลต มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ป่าฝนเขตร้อนชื้นอเมซอนตอนบน ของทวีปอเมริกาใต้ และเจริญเติบโตได้ดีในแถบศูนย์สูตรไม่เกิน 15 องศาละติจูดเหนือ-ใต้ของทวีปเอเซีย แอฟริกา และอเมริกากลาง ด้วยเหตุที่โกโก้มีรสชาติ และกลิ่นที่หอมหวาน มัน จึงเป็นที่นิยมของคนทุกเพศทุกวัย จนทำให้โกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งด้วย

ต้นโกโก้ที่อยู่ในป่า จะมีความสูงถึง 50 ฟุต (15 เมตร) ซึ่งอยู่ในระดับเรือนยอดชั้นที่สอง รองจากต้นไม้ใหญ่ (60 เมตร) แต่เมื่อนำมาปลูกในสวนจึงต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม ต้นโกโก้จะเจริบเติบโตได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้นและมีฝนตกสม่ำเสมอ อุณภูมิโดยประมาณ 65 องศาฟาเรนไฮ และต้องมีร่มเงาบดบังจากแสงแดดร้อนจัดและกระแสลมที่พัดมาปะทะต้น ต้นโกโก้จะเติบโตได้ดีใต้ร่มเงาไม้ใหญ่อื่น ๆ ชาวสวนจึงต้องปลูกไม้ใหญ่อื่น ๆ เช่น breadfruit, ยางพารา, ไม้วงศ์ทองหลาง เพื่อบังร่มเงาไม่ให้ได้รับแสงแดดที่แรงเกินไป สภาพพื้นที่ร่มเงาที่เหมาะสมจะทำให้ต้นโกโก้นั้นสามารถมีอายุยืนยาวถึง 75-100 ปี หรือมากกว่านั้น

จากการสำรวจพบว่า มีเพียงเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกต้นโกโก้ และส่วนมากอยู่ในประเทศแอฟริกาตะวันตก เช่น ประเทศ Ivory Coast , Ghana, Nigeria and Cameroon. สำหรับทวีปเอเซีย ก็มีประเทศประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกต้นโกโก้นั้นอยู่ในบริเวณป่าฝนเขตร้อน อันเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และที่สำคัญเป็นแหล่งออกซิเจนที่สำคัญของโลก ดังนั้นจึงต้องมีการอนุรักษ์พื้นที่เหล่านี้อย่างจริงจัง เพื่อทำการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของโลก ขณะเดียวกันชาวสวน หรือชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นจะต้องมีอาหาร มีรายได้และมีชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ด้วย

การจัดการที่มีการวางแผนที่ดี จะทำให้สวนป่าโกโก้ เป็นเสมือนป่ากันชนระหว่างพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ เช่น แปลงเพาะปลูกอื่น ๆ หรือพื้นที่เมือง ต้นโกโก้ที่เจริญเติบโตร่วมกับพันธุ์ไม้ท้องถิ่น จะฟื้นฟูและสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ ร่มเงาของชั้นเรือนยอดในสวนป่าโกโก้ จะยังช่วยให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า เช่น ผีเสื้อ กบต้นไม้ธนูพิษ (poison arrow tree frog), three-toed sloth และลิง black-faced tamarin และนกมากกว่า 350 ชนิด เช่น นกทูแคน(Toucan) และนกแก้วอเมซอน(Amazonian parrot) หรือฝูงนกอพยพชนิดต่าง ๆ เช่น wood trush, scarlet tanager, Baltimore Oriole ซึ่งสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกับการปลูกสวนกล้วยเชิงเดี่ยว ที่มีสัตว์ป่าเข้ามาใช้น้อยมาก นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่ามีพรรณไม้วงศ์กล้วยไม้มากกว่า 1000 ชนิด และมีวงศ์เฟินร์ ต่าง ๆ เกือบถึง 1000 ประเภท อาศัยภายใต้ร่มเงาของสวนป่าโกโก้ด้วย


ในประเทศเขตร้อนชื้น แนวความคิดการปลูกโกโก้อย่างยั่งยืนสามารถให้ประโยชน์กับทุกสิ่งมีชีวิต ไม่ว่า เกษตรกร พืชและสัตว์ ถ้าเกษตรกรรายย่อยสามารถใช้ชีวิตแนวเกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ก็จะเกิดพื้นที่รูปแบบเกษตรสวนป่าใหม่ขึ้น และสัตว์ก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ระหว่างสวนป่าเกษตรกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้ และเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีกำจัดเชื้อโรค เกษตรกรเองก็มีรายได้เสริม ขณะเดียวกันความหลากหลายทางชีวภาพในสวนป่าโกโก้ จะเป็นการเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ป่า และเป็นด่านป้องกันการบุกรุกทำลายป่าเขตร้อนชื้นดั้งเดิมอีกด้วย




แปลและเรียบเรียงจาก
.... www.cocoatree.org/thecocoatree/growingcocoa.asp โดย พัชราวรรณ มาทีฆะ








พัฒนาการเพาะปลูกโกโก้ในเวียดนาม
 
รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและพัฒนาพันธุ์โกโก้เวียดนาม ในเขตจังหวัดที่ราบสูงทิศตะวันตก บริเวณภาคตะวันออก และทิศใต้ ของประเทศเวียดนามเป็นพื้นที่ที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ คือ ต้นโกโก้ ซึ่งต้นโกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สร้างมูลค่าการส่งออก

ด้วยเหตุนี้ ทางรัฐบาลมีแผนพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจชนิดนี้ ภายในปี 2015 โดยจะสนับสนุนให้มีพื้นที่ปลูก รวมทั้งประเทศอยู่ที่ 60 ล้านเฮกตาร์ ด้วยผลผลิตเมล็ดโกโก้แห้ง 52 ล้านตันต่อปี และเมื่อถึงปี 2020 พื้นที่เพาะปลูกจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 80 ล้านเฮกตาร์ และมีผลผลิต กว่า 108, 000 ตัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ใน 17 จังหวัด รวมมีพื้นที่ปลูกไร่โกโก้ 12,000 เฮกตาร์ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่ปลูกโกโก้โดยเฉพาะ 1,300 เฮกตาร์ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด ดัก ลั๊ก และ ดั๊ก นง ทั้งหมดมีพื้นที่รวม 11,000 เฮกตาร์ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวปลูกผสมกับพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ประกอบไปด้วยจังหวัดดังต่อไปนี้คือ เบ๋น แจ. เตี่ยน ซาง, หวิง ลอง, บิ่ง เฟื๊อก, ด่ง นาย, บิ่ง ถ่วน, เลิม ด่ง และบาเรีย-หวุงต่าว รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,000 เฮกตาร์

จากการประเมินด้านผลผลิตในแต่ละปี จะได้เก็บเกี่ยวปีละ 1,000 ตัน ส่วนจังหวัดที่ปลูกโกโก้มากที่สุดคือจังหวัด เบ๋น แจ 4,900 เฮกตาร์  จังหวัด ดั๊ก ลัก ประมาณ 1,480 เฮกตาร์ จังหวัด บิ่ง เฟื๊อก 1,360 เฮกตาร์ และจังหวัด เตี่ยน ซาง 1,330 เฮกตาร์   

จากที่กล่าวข้างต้น ตามนโยบายการขยายพื้นที่ในการลงทุนปลูกโกโก้ ในระยะเวลาที่ผ่านมายังถือว่ามีอัตราการขยายตัวช้ามาก โดยพื้นที่ที่ลงทุนส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนชาวต่างชาติ และผู้ประกอบการภายในพื้นที่บางรายเท่านั้น 

สาเหตุหลักที่ทำให้การขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกโกโก้เป็นไปอย่างล่าช้า มาจากการที่เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจโกโก้ยังได้รับข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ ทั้งข้อมูลในเรื่องการเพาะปลูกการดูแล และการตลาด ไม่เหมือนกับพืชเศรษฐกิจหลักอย่างกาแฟ



หนุนอาเซียนยกระดับปลอดภัย  "โกโก้"

นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปัจจุบันความต้องการโกโก้ของตลาดโลกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยราคาตลาดโลกอยู่ที่ตันละประมาณ 3,000 เหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศไทยปัจจุบันพื้นที่ปลูกโกโก้ได้ลดลงมาก เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่มีระบบการจัดการง่ายกว่า เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นต้น ทำให้พื้นที่ผลิตโกโก้เหลือน้อยมาก ประมาณ 2,000-2,500 ไร่เท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจันทบุรี ได้ผลผลิตเมล็ดโกโก้ปีละประมาณ 200 ตัน ซึ่งการซื้อขายอิงราคาตลาดโลก ในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ผ่านมา ราคากิโลกรัมละ 90 บาท

ทั้งนี้ อัตราการบริโภคโกโก้ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น แต่กำลังการผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ไทยต้องนำเข้าเมล็ดโกโก้จากทั่วโลก 99% ปริมาณ 21,000 ตัน/ปี โดยมีผู้นำเข้าเพียงบริษัท สยามโกโก้ โปรดักท์ส จำกัด ซึ่งวัตถุดิบ 20% ใช้ภายในประเทศ และ 80% ส่งออกไปออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐ เม็กซิโก และยุโรป

"ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ถือเป็นแหล่งผลิตโกโก้ที่สำคัญของอาเซียน โดยส่งออกไปยังสมาชิกอาเซียน รวมทั้งไทยด้วย ปัจจุบันอัตราภาษีของสินค้าโกโก้ภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้าอยู่ที่ 0% ซึ่งคาดว่าการค้าสินค้าโกโก้ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจะขยายตัวและเติบโตสูงขึ้น จำเป็นต้องเร่งยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าโกโก้ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค"นาย จิรากรกล่าว

นางปิยนุช นาคะ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า คณะทำงานโกโก้อาเซียนภายใต้ความร่วมมือด้านส่งเสริมเกษตรและป่าไม้ ได้ร่วมประชุมหารือระหว่างประเทศ คณะทำงานด้านความปลอดภัยอาหารโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 3 และคณะทำงานโกโก้อาเซียน ครั้งที่ 14 โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม เพื่อร่วมส่งเสริมสินค้าโกโก้และผลิตภัณฑ์โกโก้ในอาเซียน ทั้งในด้านวิชาการและการค้า ตลอดจนพัฒนาโกโก้ และผลิตภัณฑ์ในระดับภูมิภาคและระดับสากลด้วย




http://www.biothai.net/news/8923









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (15389 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©