-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 386 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





ข้าวเสาไห้


เสาไห้เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในเรื่องของการผลิตข้าว ที่มีคุณภาพเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทำให้ชื่อของข้าวเสาไห้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาเป็นเวลานาน


สภาพพื้นท
ี่
สภาพของพื้นที่อำเภอเสาไห้เป็นที่ราบมีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา จากทำเลที่ตั้งที่มีพื้นที่ติดต่อกับหลายอำเภอที่เป็นแหล่งปลูกข้าว ประการสำคัญตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำป่าสักอันเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญสายหนึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีความยาวของลุ่มน้ำถึง 350 กิโลเมตร ความกว้างลุ่มน้ำ 45 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 16,292.24 ตารางกิโลเมตร หรือ 10,182,650 ไร่ เกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ตอนบนสุดของลุ่มน้ำจากจังหวัดเลยไหลลงทางใต้ ผ่านจังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี เข้าสู่จังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัดสระบุรี โดยอาศัยน้ำใช้ในการเกษตรและประโยชน์อย่างอื่น แม่น้ำป่าสักไหลผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง และอำเภอเสาไห้ คิดเป็นความยาวประมาณ 105 กิโลเมตร ก่อนไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอเสาไห้ที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเหมาะในการทำนา


กลุ่มไทยวน (ไท-ยวน )หรือไทโยนก มีชุมชนอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีภาษาพูด และวัฒนธรรมคล้ายคนในภาคเหนือ เหตุที่ชาวไทยวนมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ เนื่องมาจากครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชดำริจะกำจัดพม่าให้สิ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย จึงรับสั่งให้จัดกองทัพไปตีเมืองเชียงแสน ขับไล่พม่าออกไป และได้กวาดต้อนชาวเมืองเชียงแสนเดินทางมากรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ.2347 ขณะเดินทางผ่านถึงเมืองสระบุรี บริเวณอำเภอเสาไห้ ชาวเมืองเชียงแสนส่วนหนึ่งมีความประสงค์ตั้งถิ่นฐานทำกินอยู่ที่นั่น การประกอบอาชีพของชาวไทยวน อำเภอเสาไห้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา รับจ้าง ค้าขาย และมีอาชีพเสริมหลังการทำนา คือ การทอผ้า


เสาไห้ตั้งแต่เดิมคงเป็นแหล่งชุมนุมสินค้าเกษตรจากพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลของลุ่มแม่น้ำป่าสัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นแหล่งปลูกข้าวเพื่อส่งขาย จะเห็นได้จากยุ้งฉางเก็บข้าวเก่าแก่ที่พบทั่วไปตามบ้าน และที่สำคัญจำนวนโรงสีที่มีขนาดกำลังการสีต่างกัน เรียงรายทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ปัจจุบันมีโรงสีที่อยู่ในเขตอำเภอเสาไห้ประมาณ 10 แห่ง ซึ่งแต่ละโรงสีล้วนมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน

จะเห็นว่าด้วยความรู้และประสบการณ์การผลิตข้าวของชุมชนที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ทำให้ข้าวเสาไห้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป


ความมีชื่อเสียงของข้าวเสาไห

ข้าวเสาไห้ ไม่ใช่ชื่อพันธุ์ข้าวแต่อย่างใด แต่เป็นการเรียกประเภทข้าวสารข้าวพันธุ์พื้น เมืองที่ชาวนาส่วนใหญ่นิยมปลูกกันในอดีต เนื่องจากผลผลิตที่ได้ตรงกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ในท้องถิ่นนั้นๆ คำว่า "เสาไห้" แท้จริงคือ ชื่ออำเภอหนึ่งในจ.สระบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงมากใน เรื่องของข้าว โดยแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญอยู่บริเวณชายฝั่งของแม่น้ำป่าสัก เป็นที่ราบลุ่มดินเหนียว และการเรียกชื่อ "ข้าวเสาไห้" ยังเป็นการเรียกแทนคุณภาพข้าว คุณภาพการหุงต้ม เพราะข้าว พันธุ์นี้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อหุงสุก จะได้ข้าวสวยร่วนไม่กระด้าง หุงขึ้นหม้อดี กินอร่อย เหมาะสำหรับรับประทานกับแกงเผ็ดต่างๆ เมื่อเคี้ยวสามารถสัมผัสได้ถึงเนื้อข้าว ที่สำคัญคือ ไม่บูดง่าย เมื่อทิ้งไว้เย็นคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าเป็นข้าวเก่าค้างปี แต่เมื่อทิ้งไว้เย็นคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าเป็นข้าวเก่าค้างปีแต่เมื่อนำมาหุงก็ไม่มีกลิ่นสาบ ดังนั้นข้าวเสาไห้ (ข้าวเจ๊กเชย) จึงจัดเป็นข้าวคุณภาพพิเศษที่ผู้บริโภคนิยมมากกว่าข้าวชนิดอื่น ทำให้กระบวนการับซื้อข้าวเปลือกจะพิถีพิถันกว่าข้าวทั่วไป

นอกจากนี้แทบทุกส่วนของเมล็ดสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวเจ็กเชยสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เนื่องจากเนื้อแป้งของข้าวพันธุ์นี้มีใยสูงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เส้นที่ดีไม่ยุ่ย หรือขาดง่ายเป็นที่ต้องการของตลาดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ทำให้ปลายข้าวเจ๊กเชยราคาสูงกว่าปลายข้าวทั่วไป กระสอบละ 200-300 บาท


การค้าข้าวเสาไห้ อำเภอเสาไห้ มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ชาวไทยวนตั้งหมู่บ้านเรียงไปตามริมแม่น้ำป่าสัก ในอดีตการค้าข้าวเสาไห้ก็เช่นเดียวกับการค้าข้าวในพื้นที่อื่น คือส่วนใหญ่อยู่ในมือของคนจีน ซึ่งจากการที่เสาไห้เป็นแหล่งรวมผลผลิตข้าว ประกอบกับมีแม่น้ำป่าสักอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ แต่ละปีหลังจาก ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 แล้ว ชาวนาจะทำพิธีเปิดยุ้งเพื่อนำข้าวที่เก็บเกี่ยวจากฤดูนาปี ออกแปรรูปเพื่อการบริโภคหรือขายเป็นบางส่วนแก่ตัวแทนที่ออกรับซื้อ ส่วนใหญ่ชาวนาจะขนขึ้นเกวียนมาขายโดยตรงให้กับโรงสี หรือพ่อค้าข้าวต่างถิ่นที่จอดเรือรับซื้อริมแม่น้ำป่าสัก ดังนั้นผลผลิตข้าวเสาไห้โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวเจ๊กเชย จึงแพร่กระจายสู่ท้องตลาดทั้งรูปข้าวสารและข้าวเปลือก ข้าวเสาไห้ส่วนใหญ่จะไปสู่ตลาดที่สำคัญ คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และที่สำคัญคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งในสมัยนั้นบริเวณท่าเทเวศร์ แถวราชาธิวาส เป็นแหล่งรวมและกระจายข้าวสารสู่ผู้บริโภค ซึ่งข้าวจากเสาไห้เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของคุณภาพที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จนถึงปัจจุบัน


ปัจจุบันระบบการค้าได้เปลี่ยนไป โดยเป็นผลจากการปรับปรุงระบบการขนส่งคมนาคม การชลประทาน รวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดข้าว อันเป็นผลกระทบต่อคุณภาพข้าวเสาไห้ ที่ต้องใช้พันธุ์ข้าวเจ๊กเชยในการผลิต


ความเป็นมาของข้าวเจ๊กเชยกาบเขียว
ข้าวเจ๊กเชยเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีการปลูกที่เสาไห้มานานแล้ว เล่ากันว่า เจ๊กเชยพ่อค้าชาวจีน ได้นำเอาข้าวจากบ้านสะแกกรังเมืองอุทัยธานี ( บ้านสะแกกรังนี้เดิมเป็นท่าข้าวที่สำคัญในอดีต ) มาปลูกที่อำเภอเสาไห้ โดยที่ไม่ทราบเป็นพันธุ์อะไร ข้าวที่เจ๊กเชยนำมาปลูกนี้มีคุณภาพการหุงต้มที่ดี เป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ทำให้ชื่อเสียงของข้าวเสาไห้เป็นที่รู้จักกันในเรื่องของคุณภาพข้าวที่ดี แต่เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกไม่ทราบชื่อข้าวพันธุ์นี้ จึงเรียกข้าวพันธุ์นี้ว่า "เจ๊กเชย" ตามชื่อของเจ๊กเชยผู้นำข้าวพันธุ์นี้มาปลูก แต่อย่างไรก็ตามมีบางกระแสก็ว่าข้าวพันธุ์นี้ไม่ได้มาจากที่อื่น เป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่กำเนิดที่เสาไห้มาดั้งเดิมนั้นเอง ซึ่งไม่ว่าข้าวพันธุ์นี้จะเป็นมาอย่างไรก็ตาม แต่ทุกคนยอมรับในเรื่องคุณภาพที่ยากจะหาข้าวพื้นเมืองอื่นมาเทียบได้ อาจกล่าวได้ว่าข้าวพันธุ์นี้เป็นต้นแบบของคุณภาพข้าวเสาไห้


อย่างไรก็ตามปัจจุบันแม้ว่าในการผลิตข้าวเสาไห้ จะมีความต้องการข้าวพันธุ์เจ๊กเชยอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่พื้นที่การปลูกข้าวพันธุ์นี้มีไม่มากนัก เนื่องจากสาเหตุหลายประการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลผลิตที่ค่อนข้างต่ำ เป็นข้าวนาปีที่ปลูกได้เพียงปีละครั้ง ความแปรปรวนภายในชื่อพันธุ์เดียวกัน ( มีทั้งต้นที่กาบใบสีเขียวและกาบใบสีม่วง มีทั้งข้าวขึ้นน้ำและข้าวนาสวน ) และที่สำคัญคือราคาข้าวไม่จูงใจ คือ ราคาเท่ากับข้าวขาวพันธุ์อื่น ๆ เพราะโรงสีไม่ได้ซื้อแยกพันธุ์ เป็นผลทำให้ผู้ผลิตข้าวเสาไห้ จำเป็นต้องนำเอาข้าวพันธุ์อื่นมาผลิตเป็นข้าวเสาไห้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวพื้นเมืองพันธุ์เหลืองทอง เหรียญทอง หรือข้าวพันธุ์ผสม ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 ตามที่จะหาได้ จากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของข้าวเสาไห้ที่มีขายกันอยู่ในท้องตลาด


ความพยายามที่จะปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวเสาไห้ โดยใช้พันธุ์ข้าวเจ๊กเชย ได้เริ่มมานานแล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ ได้สรุปรายงานผลการทดลองเรื่องข้าว ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 - 2479 ของ พระยาโภชากรและหม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ในการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวในพื้นที่อำเภอหนองแค สระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2476 ความตอนหนึ่งว่า "ข้าวเจ๊กเชยเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด" จนในปี 2545 ทางศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีร่วมกับศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตปทุมธานี และสหกรณ์การเกษตรเสาไห้ ได้ดำเนินการรวบรวมข้าวพันธุ์เจ๊กเชยที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเสาไห้ และอำเภอเมืองสระบุรี มาทำการคัดเลือกเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์


ผลการทดลองได้พันธุ์ข้าวเจ๊กเชยที่มีกาบเขียว ที่มีคุณภาพตรงตามกับความต้องาการของสหกรณ์การเกษตรเสาไห้ ที่จะไปผลผลิตเป็นข้าวสารเสาไห้ต่อไป


แหล่งปลูกข้าวเจ๊กเชย ข้าวเจ๊กเชยที่มีคุณภาพดีในอดีต และสร้างชื่อเสียงในด้านคุณภาพความเป็นข้าวเสาไห้จะอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ในอำเภอเสาไห้ และแนวพื้นที่ติดต่อกับ อำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภหนองแค อำเภอวิหารแดง อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน และอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ที่มีระดับน้ำไม่ลึกหรือที่ดอนเกินไป



----สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความ -->
ข้าวกล้อง ฟรีไลฟ์ ( Freelife rice brown)

http://freelifedesigns.com/rice3.html

freelifedesigns.com/rice3.html -



ข้าวไวแสง"เสาไห้"ใกล้สูญพันธุ์

ผอ.ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรี 5 เผยข้าวเสาไห้อาจเหลือแต่ชื่อ หลังพบเหลือพื้นที่ปลูกเพียงแค่พันกว่าไร่ที่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี เหตุเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เพียงปีละครั้ง ทำให้ชาวนาไม่นิยมปลูก ขณะลพบุรีไม่มีการปลูกเสาไห้มานานแล้ว


นายวุฒิ นิพนธ์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรี 5 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ จ.ลพบุรี สระบุรี และนครนายก กล่าวถึงข้าวเสาไห้ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของ จ.สระบุรี ที่ก่อกำเนิดในพื้นที่ อ.เสาไห้ ว่า ปัจจุบันมีการปลูกข้าวเสาไห้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะปลูกอยู่ในพื้นที่ อ.เสาไห้ เป็นหลัก เนื่องจากเกษตรกรไม่ค่อยนิยมปลูกกัน


"ชื่อจริงๆ ไม่ไช่ชื่อพันธุ์ข้าว เสาไห้เป็นชื่อข้าวสาร พันธุ์ข้าวเสาไห้คือ พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง หรือที่เรียกกันว่า เจ๊กเชย ขาวกอเดียว เมล็ดยาวแข็งหุงขึ้นหม้อ แต่ไม่นิยมปลูกกัน เพราะเป็นข้าวนาปี เนื่องจากปัจจุบันมีน้ำของชลประทานส่งเข้าถึงที่นา เขาก็ทำนาปรังกันหมด"


นายวุฒิ ยอมรับว่า ข้าวเสาไห้ใน จ.ลพบุรี ปัจจุบันไม่มีพื้นที่ปลูกเลย เกษตรกรส่วนใหญ่จะหันมาปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ชัยนาท 1 แม้แต่ที่ จ.สระบุรี ในเขต อ.เสาไห้ ก็มีเกษตรกรปลูกเพียง 1,200 ไร่เท่านั้น เนื่องจากชาวนาหันมาปลูกข้าวที่เก็บเกี่ยวได้เร็วอย่างข้าวนาปรัง เพราะข้าวเสาไห้หรือขาวตาแห้งเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในลพบุรี


ขณะที่ นายจาตุรงค์ เจริญทรัพย์ กรรมการชมรมโรงสีข้าวจังหวัดลพบุรี กล่าวเสริมว่า ข้าวเสาไห้ในปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีเมล็ดพันธุ์ให้ชาวนาปลูกแล้ว เนื่องจากส่วนใหญ่หันมาปลูก

ข้าวนาปรังกันหมด โดยเน้นข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 หรือพันธุ์ชัยนาท หากเป็นที่ดอน เช่น แถว อ.โคกสำโรง อ.สระโบสถ์ ก็จะเป็นการปลูกข้าวหอมมะลิ เนื่องจากข้าวสายพันธุ์เสาไห้เป็นข้าวไวแสง ปลูกได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่หากทางราชการจะหันมาสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวเสาไห้ก็ต้องหาสายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวเร็ว



ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 3 มกราคม 2550

http://www.komchadluek.net/2007/01/03/b001_76704.php?news_id=76704

http://www.phtnet.org/news/view-news.asp?nID=1

www.phtnet.org › ข่าวเกษตร - แคช -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (2073 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©