-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 311 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








ข้าวหอมมะลิแดง ต้านโรค  

         
เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสานโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับสถานีอนามัยนากระเดา และ องค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดทำ "โครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวาน"เพื่อหาคำตอบต่อข้อสงสัยโดยทดลองให้ผู้ป่วยเบาหวานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค "ข้าวหอมมะลิแดง"ซึ่งมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายหลากหลายมากกว่า
         
นายจรินทร์ คะโยธาผู้ประสานงานเครือข่ายภูมินิเวศน์จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนม เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคอีสาน และผู้ประสานงานโครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวานเปิดเผยว่า งานของเครือข่ายฯ มุ่งเน้นเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและพันธุ์ผักพื้นถิ่นควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรให้หันมาทำเกษตรแบบผสมผสานลด ละ เลิกการใช้สารเคมี โดยปัจจุบันในพื้นที่อำเภอนาคูมีเกษตรกรในเครือข่ายจำนวน 47 ครัวเรือน ซึ่งแต่ละบ้านจะแบ่งพื้นที่นาประมาณ 5 ไร่มาปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านหลายสายพันธุ์ และทำการเกษตรแบบผสมผสาน
         
"มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุตรงกันว่าพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวที่นิยมปลูกและบริโภคในปัจจุบันที่มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ และเมื่อมองย้อนไปในอดีต พบว่าบรรพบุรุษของเรามีการปลูกและบริโภคข้าวที่หลากหลายสายพันธุ์ ทำให้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเบาหวาน ประกอบกับเกษตรกรในเครือข่ายมีการปลูกข้าวหอมมะลิแดงอยู่แล้ว จึงร่วมกับสถานีอนามัยนากระเดา ทดลองให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานกินข้าวหอมมะลิแดงของเครือข่ายที่ส่งไปตรวจที่สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ามีคุณสมบัติป้องกันโรคเบาหวานได้ เพื่อหาข้อสรุปที่จะนำไปสู่การขยายผลในการปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะข้าวเจ้าเป็นข้าวที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดและปลูกทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ" นายจรินทร์ระบุ
         
นายอำนาจ วิลาศรี ประธานเครือข่ายภูมินิเวศน์จังหวัดกาฬสินธุ์และนครพนมเล่าว่า ในตำบลสายนาวัง มีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านประมาณ 10 สายพันธุ์ แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 4 พันธุ์เท่านั้นคือ ข้าวก่ำ ข้าวสันป่าตอง ข้าวกอเดียว และข้าวหอมมะลิแดง ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเหล่านี้มีข้อดีคือทนต่อโรคและความแล้ง ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีแต่ให้ผลผลิตและน้ำหนักดีมีรสชาติอร่อยและจากการสอบถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ พบว่าสมัยก่อนมีการกินข้าวไม่น้อยกว่า 7 สายพันธุ์สลับกันไปทำให้ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะ "ข้าวก่ำ" นั้นถือได้ว่าเป็นพญาข้าว จึงมีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าทำนาอย่าลืมนำข้าวก่ำให้เอาไปหุงต้มผสมกินจะเป็นยาเพราะเป็นข้าวที่ดีที่สุด
         
นางดวงพร บุญธรรมหัวหน้า
สถานีอนามัยบ้านนากระเดาเปิดเผยว่า ในพื้นที่ 4 หมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีอนามัยประกอบไปด้วยบ้านกุดตาใกล้ หมู่ 4 และหมู่7 บ้านนากระเดา หมู่ 5 และหมู่ 6 จากการสำรวจพบว่ามีประชากรป่วยด้วยโรคเบาหวานสูงถึง 70 คน และอีก 20 คนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะน้ำตาลสูงที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งทั้งผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้คนในหมู่บ้านมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคเบาหวานสูงมาก ประกอบกับทางเครือข่ายเกษตรทางเลือกฯ มีโครงการพันธุ์ข้าวต้านเบาหวานจึงหาอาสาสมัครจำนวน 18 คนมาเข้าร่วมโครงการ โดยให้ข้าวไปทดลองคนละ 5 กิโลกรัม และขอความร่วมมือให้กินข้าวพันธุ์หอมมะลิแดงให้ได้ทุกวันวันละ 3 มื้อ
         
"ปัญหาก็คือบางคนกินบ้างไม่กินบ้างไม่ครบ 3 มื้อตามที่ขอ เกิดจากการใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่ชาวบ้านไม่นิยมรับประทาน หลังจากนั้น1 เดือนก็มาตรวจเลือดพบว่ามีผู้ป่วย 8 คนที่มีน้ำตาลลดลง แต่อีก 8 คนกลับมีน้ำตาลเพิ่มขึ้นและ 2 คนมีค่าคงที่ ก็เลยทดลองต่ออีก 3 เดือนซึ่งพบว่ามี 4 คนที่น้ำตาลลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้อาจจะยังไม่มีความแน่นอน แต่ถือว่าเป็นการนำร่องให้เกิดมีการขยายผลการทดลองเพิ่มขึ้นกับชาวบ้านอีก 32 รายอย่างจริงจังมากขึ้นในขณะนี้ โดยจะมีการติดตามลึกไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อค่าน้ำตาลด้วย"นางดวงพร กล่าว
         
ข้าวพันธุ์พื้นบ้านสายพันธุ์ต่าง ๆ จะมีคุณค่าของสารอาหารในสัดส่วนที่สูงกว่าข้าวทั่วไปที่นิยมกันในปัจจุบัน อย่างเช่นข้าวหอมมะลิแดงหรือข้าวก่ำ ที่มีเปอร์เซ็นต์ของสารต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินเอในอัตราส่วนที่มาก บางสายพันธุ์มีวิตามินอีสูงมากกว่าถึง 26 เท่าของข้าวทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก.
         
http://www.pandinthong.com/ViewContent.php?ContentID=6071

www.pandinthong.com/ViewContent.php?ContentID=6071 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (940 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©