-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 326 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 1/3


ข้าว........ขาวดอกมะลิ  V.S.  ข้าวหอมมะลิ



ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิ  เป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดและราคาแพงที่สุดของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศสำหรับตลาดต่างประเทศ ผู้บริโภคที่มีฐานะดี มีกำลังซื้อสูงปัจจุบันการขยายปริมาณ การส่งออกมีลู่ทางแจ่มใสกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ ปริมาณการส่งออกเพิ่มจาก 148,544 ตัน ในปี 2532 ในปี 2536 ประเทศที่เป็นลูกค้าข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา คุณสมบัติที่ส่ง ให้ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวคุณภาพสูง และข้าวเปลือกเรียวยาว ได้ขนาดมาตรฐานข้าวชั้นหนึ่ง เมื่อสีเป็น ข้าวสารจะได้ข้าว เรียว ยาว ขาวใส เป็นเงาแกร่งและมีท้องไข่น้อย ถ้าเป็นข้าวที่ข้าวสารก็มีกลิ่นหอมเมื่อหุงเป็นข้าวสุกก็จะรสชาติ ดี ข้าวหอมมะลิจัดเป็นข้าวที่มีอะมิโลสต่ำ คือ ประมาณ 12-18% ทำให้ข้าวสุกมีความอ่อนนุ่มนิ่มชื่อที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการค้าข้าวนิยมเรียกโดยเพี้ยนมากจาก “ขาวดอกมะลิ” และมีชื่อเป็นทางการว่า “ขาวดอกมะลิ 105” ซึ่งมีความหมายว่า ประเภทข้าวขาว เพราะ ข้าวเปลือกมีสีขาว หรือสีฟาง และมีกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นดอกมะลิสำหรับหมายเลข 105 นั้น ได้มาจาก ขึ้นตอนการปรับปรุงพันธุ์

http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4_105_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/
 
guru.sanook.com › ... ›



ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิมีหลายพันธุ์เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 คลองหลวง 1 สุพรรณบุรี ปทุมธานี 1 และ กข 15 ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 หรือที่ข้าวขาวหอมมะลิ ส่วนพันธุ์ที่ไม่หอม เป็นข้าวธรรมดา คือ กข 21 แต่นุ่มเหนียวเหมือนหอมมะลิ

ข้าวขาวหอมมะลิไม่ใช่ข้าวหอมมะลิแท้ ข้าวปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่ ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 มากกว่า

จึงทำให้ราคาข้าวหอมมะลิแตกต่างกันค่ะ

ที่มา: http://th.answers.yahoo.com/question/index?

qid=20090331235006AAzdaHk


h.answers.yahoo.com/question/index?qid... -



ข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ (อังกฤษ: Thai jasmine rice) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก

ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น) ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง


จนกระทั่งปี
พ.ศ.2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย

ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ
ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรบางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น (ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน)

เกรดในการจำหน่าย
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้

  1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
  2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
  3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%
  • ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 63 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 และพื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547
  • การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น 96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนียตามลำดับ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4

th.wikipedia.org/wiki/





ประวัติข้าวหอมมะลิ    

นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกประเทศไทยผลิตข้าวหอมมะลิและส่งออกมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้วโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ที่ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นข้าวหอมมะลิ  คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕  และ ๑๕ เท่านั้น


ในปี พ.ศ ๒๔๙๓–๒๔๙๔   *นายสุนทร  สีหะเนิน  อดีตพนักงานข้าว ฯ  ของกรมการข้าวฯ ในสมัยขณะนั้น  โดยประจำอยู่ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  ได้รับมอบหมายให้ออกไปเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวในภาคตะวันออก ในอำเภอบางคล้า  ด้วยการคัดเก็บเอารวงข้าวจำนวน ๑๙๙  รวง ซึ่งเป็นข้าวที่มีความหอมและเรียกกันว่า  " ข้าวหอมมะลิ " ทั้งหมดถูกเก็บและได้ระบุหมายเลขของรวงที่เก็บมาได้ตามลำดับ



จากนั้น จึงส่งไปปลูกเพื่อคัดพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี   และต่อมาในปี  ๒๕๐๐  พันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ผ่านการคัดเป็นพันธุ์บริสุทิ์แล้วถูกนำไปปลูกทดลองและทดสอบในพื้นที่ปลูกข้าวภาคต่างๆ พบว่า ในภาคอีสาน ข้าวหอมมะลิ  ที่เป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕  (หนึ่งร้อยห้า) เป็นรวงที่ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ดินทรายโดยเฉพาะในภาคอีสาน   จะเป็นเมล็ดข้าวเรียวยาว สมบูรณ์และความหอมของข้าวยังคงเหมือนข้าวที่ปลูกจากแหล่งเก็บเหมือนเดิม



ในปีพ.ศ.๒๕๐๒   ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นี้  ได้รับรองให้เป็นข้าวหอมพันธุ์ที่มีชื่อขาวดอกมะลิ  ๑๐๕  *เมื่อวันที่  ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒  โดยเริ่มแรกให้ชื่อว่า  ขาวดอกมะลิ  ๔-๒–๑๐๕ [ในยุคสมัยนั้น]  



ในเชิงสัญญลักษณ์   ก็มีความหมาย  คือ ว่า ......

- หมายเลข ๔  หมายถึงอำเภอที่เก็บมา   อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ   

- หมายเลข ๒  หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวที่เก็บในอำเภอนั้น คือ หอมมะลิ และหมายเลข ๑๐๕  ก็คือ ....


ตำแหน่งรวงข้าวของพันธุ์หอมมะลิที่เก็บในที่นั้น ซึ่งเป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕ (หนึ่งร้อยห้า)  คือ  หอมมะลิ  ซึ่งมีที่มาจากความขาวของเมล็ดข้าว  และความหอมที่คนไทยมักจะนำไปเปรียบเทียบกับดอกไม้ไทยในขณะนั้น



โดยคนไทยจะใช้ดอกมะลิที่มีสีขาวสำหรับบูชาพระ เป็นสิ่งมงคลและความประทับใจคล้าย ๆ กัน                            


จากความหมายในเชิงสัญญลักษณ์ดังกล่าวนี้  จึงมีผู้นำมาใช้เป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมของไทย เหตุผลที่ข้าวพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปขยายผล  เพราะเป็นข้าวที่มีความโดดเด่น  ในรูปลักษณ์และรสชาติ  ซึ่งเป็นผลดีทั้งในด้านความหอมและความนุ่มของรสชาติจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค  ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดเรื่อยมา


จากคำบอกเล่าถึงแหล่งข่าวได้มา ว่ากันว่า ข้าวขาวดอกมะลิ  ๑๐๕ ได้ทำการเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นเวลานานหลายปี แต่เมื่อถูกนำมาปลูกในภาคอีสานใต้ ได้แก่   จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และมหาสารคาม  และจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัดในภาคอีสาน 




ต่อมาภาครัฐจึงให้การสนับสนุนให้ปลูกเป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่  มีการประชาสัมพันธุ์และโน้มน้าวพี่น้องชาวอีสาน จนกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ขยายผลได้ในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดเรื่อยมา จึงเป็นที่รู้จักและเนที่นิยมเพาะปลูกกันไปทั่วในพื้นที่ภาคอีสาน  [ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด]



ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจทางธรณีวิทยา ในการปลูกเชิงการเกษตรเป็นเวลานาน ทำให้รู้ว่า  ว่า ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่ได้รับมรดกจากธรรมชาติมาน้อยมากเพราะพื้นที่นี้เป็นดินทราย  อินทรียวัตถุต่ำ บางแห่งจะมีดินจะมีความเค็มเป็นพิเศษ  สังเกตได้จากร่องรอยเกลือสีขาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไป จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ  เป็นอย่างยิ่ง กว่าภาคใดๆ ของประเทศ  


 

นอกจากนี้ธรรมชาติในภาคอีสานยังเป็นพื้นที่ฝนแล้งที่สุดในประเทศ และขณะเดียวกัน ภาคอีสานก็ยังเป็นพื้นที่ที่จะมีน้ำท่วมมากที่สุดในฤดูฝน 

อีกเช่นกันฯ 



“  เพราะฉะนั้นแล้ว   คำถาม และคำตอบ  เรื่อง ความแห้งแล้ง   และความอุดมสมบูรณจึงเป็นคำตอบดียวกัน  ..   ” 




 


ขอบคุณแหล่งข้อมูลและแรงบันดาลใจ


๑] ขอขอบคุณข้อมูลของ   www.tonghua.co.th  ที่ให้ข้อมูลส่งเสริมเพื่อการสืบค้นเรื่อง  ของนายสุนทร   สีหะเนิน  อดีตพนักงานข้าวฯ   ของกรมการข้าวฯ


๒.] ขอขอบคุณรูบภาพจากพันธมิตรเครือข่ายชาวนาฯดังท่านที่มีเฮือนชานบ้านช่อง  ดังนี้ ฯ คือ.-


www.tonghua.co.th, www.bloggang.com/viewdiary.php, www.bangkokbiznews.com,www.seedcenter12.doae.go.th


๓.] ขอขอบคุณมิตรผู้อารีย์ ที่เอื้อเฟื้อเพลง หำเฮี้ยนฯ  



หมายเหตุฅนต้นเรื่อง    



ข้อเขียนทั้งหมดนี้ ต้องการนำเสนอนี้เพื่อเจตนารมณ์


เชิดชู .....ฅนปราชญ์ไทบ้าน โดยรำลึกเป็นสดุดีประกาศเกียรติคุณ


* แด่ ..ท่านฯ สุนทร  สีหะเนิน  อดีตพนักงานข้าวฯ ของกรมการข้าวฯ  ด้วยความคารวะด้วยใจจริงอย่างลึกซึ้ง   จากลูกหลานผู้สืบทอดเจตนารมณ์จากชนเผ่าที่โลกบอกว่า ; -


“...ชนชาติพันธ์นี้เป็นกระดูกสันหลังของโลกที่ยังหลงเหลืออยู่ .. .” 



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=91431






การปลูกข้าวหอมมะลิ 
นับว่าเป็นพืชเงินพืชทองเลยทีเดียว สำหรับปัจจุบันนี้ เพราะราคาเกวียนหนึ่งสูงถึง 10,000-12,000 บาท ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ของราคาข้าวไทย ปัจจุบันนี้รัฐบาลไม่ต้องมาคอยกังวล กับมาตรการประกันราคา กำหนดราคาข้าวเปลือกอีกแล้ว เพราะขณะนี้ตลาดข้าวหอมมะลิเป็นของผู้ปลูกไปซะแล้ว ดังนั้น การปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูง เพื่อจะได้นำเงินดอลลาร์เข้าประเทศซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจนัก แต่เรา สามารถปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูงเป็น 100 ถัง เหมือนข้าวนาปรัง มาครับพี่น้องเกษตรกรถ้าสนใจก็เชิญติดตามมา

มาดูหลักการก่อนอื่น การที่จะปลูกข้าวให้ได้ 100 ถัง หมายความว่า ใน 1 ตารางเมตร ต้องมีต้นข้าว 250 ต้น 250 รวง แต่ละรวงมีเมล็ดดี 100 เมล็ด จึงจะได้ข้าวหนัก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่  ส่วนวิธีการมีดังนี้

ต้องไม่ให้ต้นข้าวล้ม ดังนั้น ต้นข้าวจะต้องไม่สูงมาก สามารถทำได้โดยการกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป คือระหว่าง 1-31 กรกฎาคม โดยถ้าเป็นนาดำ ก็ตกกล้าต้นกรกฎาคม และปักดำต้นเดือนสิงหาคม ถ้าเป็นนาหว่านก็หว่านระหว่าง 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม และในระยะแตกกอไม่ควรให้ระดับน้ำสูง ควรจะทำให้มีน้ำน้อย ประมาณ 10 เซนติเมตร

อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่าน 
ควรใช้ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าข้าวมีความงอก 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ใช้เมล็ดพันธุ์ 12.5-15 กิโลกรัมต่อไร่ก็พอ เพราะจะได้ต้นข้าว 300-400 ต้นต่อไร่ แต่ถ้าปลูกโดยวิธีปักดำควรใช้ระยะปักดำ 20x20 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นหรือรวงต่อกอ 5-6 รวง จำนวนกอต่อตารางเมตร 25 กอ

ควบคุมและกำจัดวัชพืชให้ได้ผล
โดยเฉพาะในนาหว่าน แต่ถ้ารักษาระดับน้ำไว้ได้ก็คงไม่มีปัญหาวัชพืชมากนัก

ควบคุมโรคแมลงไม่ให้ระบาด
  
ทำความเสียหายโดยมีการตรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดต้องรีบกำจัด โดยเฉพาะในระยะข้าวออกรวง หากมีสภาพอากาศเย็นความชื้นสูง ไม่มีแดด ต้องระวังการระบาดของโรคไหม้ ควรฉีดยากำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันไว้ก่อน

การใส่ปุ๋ย ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง ดังนี้
นระยะแตกกอ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโต
สม่ำเสมอทั้งแปลง โดยใช้สูตร 16-16-8 สำหรับดินทราย 16-20-0 สำหรับดินเหนียว ไร่ละ 15-25 กิโลกรัม โดยนาดำให้ใส่หลังปักดำ 5-6 วัน นาหว่าน ใส่เมื่อเอาน้ำเข้านาหลังหว่านข้าว 7-10 วัน  ครั้งที่ 2 ใช้สูตรเดียวกัน อัตราๆร่ละ 5-10 กิโลกรัม โดยใส่ในช่วงหลังจากใส่ครั้งแรก 15 วัน

การใส่ปุ๋ยในช่วงเริ่มสร้างดอกอ่อน  ก่อนใส่ปุ๋ยควรดูต้นข้าวก่อนว่าแสดงอาการขาดปุ๋ยหรือไม่ ถ้าสีของใบเขียวเข้ม  ใบยังตกอยู่ให้เลื่อนการใส่ปุ๋ยออกไปจนกว่าต้นข้าวแสดงอาการขาดปุ๋ย คือ สีของใบซีดลง หรือออกสีเขียวเหลือง ใบค่อนข้างตั้ง ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ไร่ละ 5-10 กิโลกรัม หรือสูตร 21-0-0 ไร่ละ 10-20 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยในระยะนี้ ถ้าข้าวยังไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยจะเป็นผลเสียเพราะจะทำให้ต้นข้าวเผื่อใบ เมื่อออกรวงจะได้รวงเล็ก เมล็ดต่อรวงน้อย

การใส่ปุ๋ยในระยะออกดอก ถ้าต้นข้าวไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยรุนแรง
ไม่สมควรใส่เพราะจะทำให้เมล็ดข้าวสารขุ่นด้านไม่เหลื่อมมัน แต่ถ้าหากข้าวแสดงอาการขาดปุ๋ยรุนแรง ได้แก่ ใบเขียวออกเหลือง ให้ใส่ยูเรีย หรือ 46-0-0 ประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่

หลังจากข้าวออกดอกแล้ว ประมาณ 20 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา จะทำให้ต้นข้าวแก่อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อข้าวอายุ 25-35 วัน หลังจากออกดอก ทำการเก็บเกี่ยวทันที่ทำให้ได้ปริมาณข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีและผลผลิตสูงแน่นอน

หากเกษตรกรสามารถปฏิบัติให้ได้ตามนี้ โดยยึดหลักการ คือ ไม่ให้ต้นข้าวสูงเกินไป และมีจำนวนรวงต่อกอ หรือต่อหน่วยพื้นที่มาก ไม่น้อยกว่า 250 รวง และเมล็ดมีน้ำหนักดีก็จะทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น


http://www.doae.go.th/rice%20homepage/mayjune/hiyield%20mali.htm

www.doae.go.th/rice%20homepage/.../hiyield%20mali.htm
-



งานวันเกิด ครบรอบ 51 ปี ข้าวหอมมะลิ
วันที่ 25 พฤษภาคม 2553
ณ บึงพลาญชัย จังหวัดหวัดร้อยเอ็ด

ขอเชิญร่วมงาน Happy Birthday ข้าวขาวดอกมะลิจังหวัดร้อยเอ็ด


     นายธวัชชัย ฟักอังกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด  เปิดเผยว่า จังหวัดร้อยเอ็ดได้กำหนดจัดงาน “วันเกิด ครบรอบ 51 ปี ข้าวหอมมะลิ”  ขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2553  ณ บึงพลาญชัย จังหวัดหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

     ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวดอกมะลิ เป็นพันธ์ข้าวที่คณะกรรมการพิจารณาข้าวมีมติ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502 ประกาศเป็นพันธุ์ข้าวที่แนะนำและส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ต่างๆ ทำให้เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดนิยมปลูก และสร้างรายได้กว่า 9 พันล้านต่อปี ดังนั้น จังหวัดร้อยเอ็ดจึงได้จัดงานวันเกิดครบรอบ 51 ปี เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิร้อยเอ็ดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  โดยในงานประกอบด้วย การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 101 รูป  การมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ  การแสดงนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ การแสดงศิลปวัฒนธรรม  การจำหน่ายข้าวหอมมะลิ และรับประทานข้าวหอมมะลิ – ไข่เจียวฟรี

     จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมชมงานดังกล่าวได้ใน วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ณ บึงพลาญชัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด  โทรศัพท์  043 – 527117, 043 – 515374 

ที่มา : http://thai.tourismthailand.org/festival-event/content-7643.html


http://travel.mthai.com/view/40843.travel

travel.mthai.com/view/40843.travel -



ประวัติ"ข้าวหอมมะลิไทย"
กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย

สวัสดีครับ .... ทุกท่าน วันนี้จะมาเล่าเรื่องข้าว นะครับ  ข้าวขาวดอกมะลิ อ่านเจอบทความของดร.ลัดดาวรรณ  กรรณนุช ผอ.สำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว  กรมการข้าว เลยเอามาเล่าต่อครับ
  

ประวัติ ความเป็นมาของข้าวหอมมะลิไทย
    
ในปี2493-2494 กรมการข้าวในขณะนั้นได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เกษตร ออกรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองต่างๆ ที่ปลูกในประเทศไทย ในการนี้ นายสุนทร สีหะเนิน เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของกรมการข้าว ได้เดินทางไปรวบรวมพันธุ์ข้าวจำนวน 199 รวง จากพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และถูกนำไปทดลองปลูก เพื่อคัดเลือกพันธุ์ และในที่สุด ข้าวรวงที่ 105 ได้รับการคัดเลือกออกมาเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะเป็นที่น่าพอใจ มีลักษณะภายนอก เมล็ดสวยงาม เรียวยาว มีความมัน เลื่อม ใส ข้าวหุงสุกทั้งนุ่ม-เหนียว และหอมกรุ่นชวนรับประทาน   กรมการข้าวจึงได้คัดพันธุ์บริสุทธิ์ ในสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และนำไปขยายผลในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ ในปี 2500 เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์จึงถูกส่งไปปลูกขยายผล และทดสอบในภูมิภาคต่างๆของประเทศ พบว่า สภาพแวดล้อมทั้งดินและภูมิอากาศ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกข้าวพันธุ์นี้.......ในปี 2502  พันธุ์ข้าวรวงที่ 105ได้รับประกาศรับรอง เป็นพันธุ์ข้าวรับรองที่กรมการข้าว สนับสนุนให้เป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ชื่อพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (อ่านว่าหนึ่งร้อยห้า) ในวันที่ 25 พค02

ทำไมต้องเป็น ขาวดอกมะลิ 105
       
เมื่อพันธุ์ข้าวผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงจนได้เมล็ดพันธุบริสุทธิ์แล้ว การขยายผลพันธุ์ข้าวจำเป็นต้องมีการประกาศและสนับสนุนการปลูกข้าวพันธุ์นี้  กระบวนการตั้งชื่อจึงมีความสำคัญ เพื่อให้เป็ที่จดจำประทับใจ การตั้งชื่อต้องสื่อความหมาย คุณลักษณะของพันธุ์ข้าว  จึงเป็นที่มาของชื่อ ขาวดอกมะลิ 105 ชื่อแต่ละคำมีความหมายดังนี้ ขาว หมายถึง สีขาวของเมล็ดข้าวสาร ดอกมะลิ หมายถึง ดอกมะลิซึ่งเป็นดอกไม้ไทย ที่มีปลูกกันอยู่ทุกครัวเรือนใช้สำหรับบูชาพระ ตรงนี้ท่านต้องนึกถึง พศ.2502 นะครับ กลิ่นหอม ของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีกลิ่นหอม เหมือนกลิ่นหอมของใบเตย  ไม่ใช่กลิ่นหอมของดอกมะลิตามที่เข้าใจกันนะครับ ตัวเลข 105 (หนึ่งร้อยห้า)หมายถึงรวงที่105 ที่ถูกเก็บรวบรวม โดยนายสุนทร สีหะเนิน     

ผมเองไม่ค่อยได้รับประทานข้าวหอมมะลิสักเท่าไหร่ แต่ก็เข้าใจว่าเป็นกลิ่นหอมของดอกมะลิ  แสดงว่าเข้าใจผิดมาตลอด ครับ... ยังมีต่อในคราวหน้า เป็นเกร็ดความรู้จากบทความของ ดร.ลัดดาวรรณ ซึ่งผมจะนำมาเล่าต่อในครั้งหน้าครับ....  สวัสดีครับ



http://gotoknow.org/blog/mitree-suk/152366


gotoknow.org/blog/mitree-suk/152366 -




จังหวัดพะเยา จัดประกวดข้าวหอมมะลิจังหวัดพะเยา
 
จังหวัดพะเยา กำหนดจัดประกวดข้าวหอมมะลิจังหวัดพะเยา ประจำปี 2552/53 เพื่อส่งเสริมเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิได้พัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพดีสนองความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกร

นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ทางจังหวัดพะเยา ได้ร่วมกับสำนักงานการค้าภายในจังหวัดพะเยา จัดทำโครงการประกวดข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยา ปีการเพาะปลูก 2552/53 ขึ้น เพื่อสร้างกระแสให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร รวมถึงสหกรณ์การเกษตรที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิได้มีความตื่นตัวที่จะทำการพัฒนาคุณภาพข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจะใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตัดสินตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้ามาตรฐาน และมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย พ.ศ.2544 สำหรับกำหนดการสมัคร ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรสามารถยื่นใบสมัครพร้อมส่งข้าวเปลือกหอมมะลิที่ผลิตได้ในปีการเพาะปลูก 2552/53 ที่มีเมล็ดข้าวเปลือกติดรวง มัดรวมเป็นฟ่อนน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 7 กิโลกรัม และ 17 กิโลกรัม ตามประเภท โดยในส่วนของกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตรจะต้องเป็นของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งรางวัลประเภทเกษตรกรรายบุคคล รางวัลที่ 1, 2 , 3 จะได้รับรางวัลเงินสด 5,000 บาท , 4,000 บาท และ 3,000 บาท ตามลำดับ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และรางวัลประเภทกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร รางวัลที่ 1, 2 , 3 จะได้รับรางวัลเงินสดจำนวน 6,000 บาท , 5,000 บาท และ 4,000 บาท ตามลำดับ พร้อมประกาศเกียรติคุณ

ทั้งนี้ เกษตรกรที่มีความสนใจสมัครเข้าร่วมประกวดฯในครั้งนี้ สามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2552 ณ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดพะเยา หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ สอบถามเพิ่มได้ที่ สำนักงานการค้าภายในจังหวัดพะเยา โทรศัพท์ 0-5441-1159-60



แหล่งข่าว
สวท.พะเยา

* เชียงรายโฟกัส ดอทคอม/ www.chiangraifocus.com

http://www.chiangraifocus.com/newsdetail.php?news=3350

www.chiangraifocus.com/newsdetail.php?news=3350 -




ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 สำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก!

      
ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย รศ.ดร.สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ นายบุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ยู เหลียงเติ้ง และ ศ.ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง จากศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ และ ดร.รัฐพร จันทร์เดช จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีลำไอออนพลังงานต่ำ ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105

      โดยผลงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัย ลำไอออนพลังงานต่ำกับงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระหว่างปี 2546-2549 โดยสามารถพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่จำนวน 4 สายพันธุ์ ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากพันธุ์เดิม ได้แก่ ไม่ไวต่อช่วงแสง (photoperiod insensitive) ต้นเตี้ย (short in stature) และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น (early-maturing variety) เป็นต้น

      ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาวิธีการต่างๆ ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ใช้การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เช่น การอาบเมล็ดข้าวด้วยรังสีแกมม่า (อิเล็กตรอน) รวมทั้งการระดมยิงเมล็ดข้าวด้วยลำไอออนพลังงานสูงที่มีระดับพลังงานในเรือนหลายร้อยล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งข้อด้อยของวิธีการอาบเมล็ดข้าวด้วยรังสีแกมม่าคือมีผลกระทบต่อเซลล์น้อย (RBE มีค่าน้อย) และอัตราการเกิดการกลายพันธุ์ในเมล็ดข้าวมีค่าต่ำ ส่วนเครื่องเร่งอนุภาคดังกล่าวนั้น มีราคาสูงถึงหลายร้อยล้านบาท และผลกระทบต่อเซลล์ก็มีน้อยเช่นกัน

      การศึกษาวิจัยเชิงฟิสิกส์ชีวภาพของการระดมยิงลำไอออนพลังงานต่ำ ในเรือนหมื่นอิเล็กตรอนโวลต์บนเซลล์สิ่งมีชีวิต ชี้ให้เห็นว่าลำไอออนของธาตุมวลหนัก เช่น อาร์กอน และไนโตรเจน ที่มีพลังงานต่ำให้ค่า RBE ที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ในการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์สิ่งมีชีวิต แต่ปัญหาก็คือไอออนพลังงานต่ำดังกล่าวมีพิสัยทำการสั้นมากๆ (สั้นกว่า 0.1 ไมครอน) จึงไม่สามารถทะลวงเข้าไปถึงภายในเซลล์ได้

      จากการศึกษาฟิสิกส์พื้นฐานของอันตรกิริยาระหว่างไอออนมวลหนักกับผนังของเซลล์สิ่งมีชีวิต ทำให้ทีมวิจัยค้นพบวิธีการนำไอออนเข้าไปจนถึงภายในเซลล์ได้ จึงได้ทดสอบแนวความคิดกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งนี้ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีคุณภาพหลังการหุงต้ม ดีเด่น เช่น มีกลิ่นหอม เมล็ดข้าวคงรูป เหนียวนุ่ม จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง

      ปัจจุบันมีการส่งออกข้าวหอมมะลิ 105 ไปยัง 120 ประเทศทั่วโลก โดยมีปริมาณการส่งออกระหว่าง 2.4-3 ล้านตันต่อปี นำเงินตราต่างประเทศจำนวนหลายหมื่นล้านบาทสู่เกษตรกรไทย โดยความต้องการข้าวหอมมะลิ 105 ในตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

      อย่างไรก็ตาม การผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อเพิ่มการส่งออกมีข้อจำกัดเนื่องจากข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive) ทำให้ทำการเพาะปลูกได้เพียงปีละครั้งในฤดูข้าวนาปี

      โดยเกษตรกรจะหว่านเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ในเดือนกรกฎาคม ปักดำต้นกล้าในเดือนสิงหาคมซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 จะออกรวงในเดือนตุลาคม และเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ 105 ในปลายเดือนพฤศจิกายนของทุกปี นอกจากนี้ข้าวหอมมะลิ 105 ยังเป็นข้าวที่มีลำต้นเล็ก อ่อนแอ และมีความสูงมากที่ 140-150 เซนติเมตร จึงหักล้มง่ายในระยะเก็บเกี่ยว ทำให้ไม่เหมาะกับการเพาะปลูกแบบข้าวนาหว่านที่มีค่าใช้จ่ายในการทำนาต่ำกว่าข้าวนาดำ และไม่สามารถเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรกล

      ทีมงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีใหม่สำหรับการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในข้าวหอมมะลิ 105 ด้วยลำไอออนพลังงานต่ำโดยใช้เครื่องเร่งไอออนขนาด 150 กิโลโวลต์ ที่พัฒนาขึ้นที่ศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง โดยในระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้ดำเนินการระดมยิงเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 จำนวนนับหมื่นเมล็ดด้วยลำไอออนไนโตรเจน

      พลังงาน 6 หมื่นถึง 1 แสนอิเล็กตรอนโวลต์ และได้ดำเนินการเพาะปลูกเมล็ดข้าวที่ผ่านการระดมยิงในฤดูข้าวนาปี เพื่อคัดเลือกข้าวสายพันธุ์เตี้ย และการเพาะปลูกข้าวนอกฤดู เพื่อคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ได้ทำการตรวจสอบการกลายพันธุ์ที่แสดงออกทางกายภาพ (phenotypic variation) และทางพันธุกรรม (genomic variation) การตรวจสอบความคงที่ (stability) ของการกลายพันธุ์ ซึ่งทีมงานวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ลำไอออนพลังงานต่ำชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในข้าวหอมมะลิ 105 โดยได้สายพันธุ์ข้าวใหม่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากข้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 4 สายพันธุ์

      จากการทดสอบความคงที่ (stability) ของการกลายพันธุ์ในข้าวรุ่นที่ 1-3 ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกทางกายภาพ (phenotypic variation) และทางด้านพันธุกรรม (genomic variation) พบความคงที่ของการกลายพันธุ์ในข้าวทั้ง 4 สายพันธุ์โดยข้าวที่จัดแสดงนี้เป็นข้าวรุ่นที่ 3 ที่ทำการเพาะปลูก (หว่านเมล็ด) ในวันที่ 1 มีนาคม 2548 ความสำเร็จในการประยุกต์เทคโนยีลำไอออนพลังงานต่ำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จะทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ให้ได้สายพันธุ์ที่มีสมบัติที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิผลขึ้น

      นอกจากนี้เทคโนโลยีลำไอออนพลังงานต่ำที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์กับการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น

      ทั้งนี้ข้าวสายพันธุ์ TKOS4 ต้นสูง และสายพันธุ์ BKOS6 ต้นเตี้ย รวงสีน้ำตาลม่วง ได้จากการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในข้าวหอมมะลิ 105 ด้วยลำไอออนพลังงานต่ำ ในระยะ reproductive growth stage ที่เพาะปลูกในวันที่ 1 มี.ค.48 และออกรวงในวันที่ 17-18 พ.ค.48 ส่วนรูปภาพที่ 2 แสดงลักษณะของรวงและสีของรวงข้าว สายพันธุ์ BKOS6 ในระยะ flowering growth stage และรูปภาพที่ 3 แสดงเครื่องเร่งอนุภาคมวลหนักขนาด 150 กิโลโวลต์ สร้างขึ้นเองและใช้ในการทดลองปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105

 แหล่งที่มา :  manager.co.th
http://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=402

www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=402 - แคช -




คุมอุณหภูมิรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิยังคงทนความหอม

 ประเทศไทยมีการส่งออก ข้าวหอมมะลิ ไปขายยังตลาด ต่างประเทศปีหนึ่ง มีมูลค่านับล้านๆ บาท บ่อยครั้ง ที่มีเหตุทำให้ ต้องชะลอการส่งออก ซึ่งทำให้ต้องขยายระยะเวลา การเก็บที่เนิ่นนานออกไป ส่งผลทำให้คุณภาพ ของข้าวลดลง


นายบรรเจิด สมหวัง ผอ.สำนักจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้แจ้งมาว่า "ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้านำโดย ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทาง ในการแก้ปัญหาข้าวด้อยคุณภาพ อันเนื่องมาจากการเก็บไว้นาน"


เกี่ยวกับรายละเอียดในเรื่องนี้ ศ.ดร.สมชาติ กล่าวว่า "เดิมในสมัยก่อนการเก็บข้าวเปลือกจะเก็บไว้ในฉาง โรงเรือน แต่หากเก็บไว้ไม่ดีก็จะมีปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นมอด แมลง กลิ่นอับ ดังนั้น เกษตรกรบางรายจึงนำไป (ขาย) ฝากไว้ตามโรงสี ซึ่งถ้าดูแลดี ข้าวแห้งแบบเหมาะสม ก็จะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่ต่อมาภายหลังได้มีการนำไซโล ซึ่งทำมาจากแผ่นเหล็กม้วนขึ้นรูปเป็นทรงกระบอกเข้ามาใช้ในโรงสีบ้านเรา"


ทั้งนี้ทั้งนั้นไซโลเหล็ก โดยทั่วไปจะตั้งกลางแดด ส่งผลให้อากาศ ที่อยู่ในไซโลเหล็กมีการไหลวน อันเนื่องมาจากความร้อน ที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ และเมื่อข้าวเก็บไว้นานหลายๆ เดือนก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การไหลวนเวียนของอากาศ ภายในกองข้าวที่อยู่ในไซโล เกิดความควบแน่นในบางส่วน ส่งผลทำให้เกิดความเสียหาย และทำให้ข้าวเหลือง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ข้าวฟันหนู" ในเชิงพาณิชย์ถือเป็นข้าวที่เสียแล้ว ไม่เหมาะแก่การบริโภค ส่งผลทำให้ราคาซื้อขายตกลงมาก


จากผลที่เกิดขึ้นคณะวิจัยจึงได้วิเคราะห์ เพื่อหาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งได้ข้อสรุปว่า "ต้องทำให้อุณหภูมิภายในกองข้าวเย็นอยู่ในอากาศประมาณ 18-20 ํC" ซึ่งอุณหภูมิดังกล่าวจะทำให้เมล็ดพืช หรือข้าวมีการหายใจน้อยลง เมื่อการไหลเวียนของอากาศน้อยลง ความควบแน่นของน้ำอันเนื่องมาจาก การไหลวนเวียนของอากาศก็จะลดน้อยตาม


ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัย จึงได้สร้างเครื่องทำความเย็น ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ จะเป็นของที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งทำให้ต้นทุนสร้างราคาไม่สูง เสร็จแล้วนำไปติดตั้ง เพื่อทดสอบที่ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรเมืองเพชรบุรี ที่โรงสีข้าวพระราชทาน จ.กาฬสินธุ์ โดยขนาดที่สร้างเครื่อง จะยึดความจุของไซโลคือ 250 ตัน เครื่องทำความเย็น 10 ตัน หรือประมาณ 120,000 บีทียู/ชม. สร้างท่อปล่อยลมสำหรับต่อใต้ฐานไซโล ทำการเปิดเครื่องที่อุณหภูมิ ใช้เวลาประมาณ 5 วัน อุณหภูมิภายในกองข้าวจะลดลงอยู่ที่ 18-20 ํC และเมื่อผ่านไป 30-45 วัน (ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาด้านค่าไฟฟ้า เท่ากับ 31.31 บาท/ตันข้าวเปลือก) จึงเริ่มเปิดเครื่องทำความเย็นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ใช้เวลา 1-2 วัน ก็จะได้ อุณหภูมิที่กำหนดไว้


จากการทดลองผลที่ออกมาพบว่า เมื่อนำข้าวมาสีจะได้ข้าวที่เป็นเมล็ดค่อนข้างดี ไม่เหลือง มีการหักน้อย ในกรณีของข้าวหอมมะลิ ซึ่งความหอมถือเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อนำมาเก็บที่อุณหภูมิดังกล่าว จะช่วยทำให้กลิ่นของข้าวที่มีความหอมเฉพาะตัวอยู่ได้นาน และเมื่อนำเครื่องตัวนี้เอาไปใช้ในการเป่าลมเย็นเข้าไปในกองข้าว (ปัจจุบันโรงสีข้าวทั่วไปจะใช้ลมร้อนอบแห้ง) ที่ยังไม่แห้งสนิทสามารถจะช่วยลดความชื้นได้ อีกทั้งยังช่วยรักษาความสดหลังเก็บเกี่ยว


ที่สำคัญ ป้องกันการทำลายของแมลงโดยไม่ต้องอบสารเคมี เพิ่มเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น และยังลดการสูญเสียน้ำหนักแห้งได้ดี.


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ





'หอมมะลิ' แย่แน่ เวียดนามฉวยตั้งชื่อ 'จัสมิน ไรซ์"
พาณิชย์ เผยข้าวหอมมะลิไทยแย่แน่ หลังเวียดนามฉวยตั้งชื่อข้าว "จัสมิน ไรซ์" เลียนแบบข้าวหอมมะลิไทย ออกตีตลาดทั่วอังกฤษ แถมดัมพ์ราคาขายต่ำกว่ามาก หวั่นไทยเสียตลาด

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. มีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้ ประเทศเวียดนาม ได้พัฒนาพันธ์ุข้าวเลียนแบบข้าวหอมมะลิของไทย และใช้ชื่อเลียนแบบว่า จัสมิน ไรซ์ นำออกขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย ทั่วกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อตีตลาดข้าวหอมมะลิไทย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก  หากไทยไม่เร่งพัฒนา และส่งเสริมการตลาดอาจถูกข้าว จัสมินไรซ์ ของเวียดนามที่ราคาถูกกว่าแย่งตลาดไป

สำหรับข้าวจัสมิน ไรซ์ บริษัท โอเรียนท์ เมอร์ชานท์ จากออสเตรเลียเป็นผู้นำเข้าจากเวียดนาม ผ่านตัวแทนเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ยี่ห้อว่า เชฟีส เวิลด์ พร้อมระบุหน้าถุงว่า จัสมิน ไรซ์ ขายในราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิไทยถึง 50% โดยถุงขนาด 20 กิโลกรัม ขายเพียง 20 ปอนด์ หรือประมาณ 1,000 บาท ขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยขนาดเท่ากันขายถึง 30 ปอนด์ ประมาณ 1,500 บาท

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยคงไม่สามารถฟ้องร้องเวียดนามละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อข้าว จัสมิน ไรซ์  แปลว่าข้าวหอมมะลิ เพราะชื่อดังกล่าวเป็นคำสามัญ ที่ใช้ได้ทั่วไป ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ ดังนั้นแนวทางที่ไทยทำได้ คือ เน้นส่งเสริมให้ผู้บริโภคเห็นถึงคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ที่มีเอกลักษณ์และเหมาะสมกับอาหารไทย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครู้จัก และเห็นถึงความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทย กับข้าวหอมมะลิจากประเทศอื่น  


ที่มา
http://www.thairath.co.th/content/eco/65306




ข้าวหอมมะลิ ชนะเลิศในเวทีโลก
ข้าวหอมมะลิไทย สร้างชื่อเสียงกระหึ่มในเวทีประชุมข้าวโลก ซี.พี. ส่งข้าวฉัตรทอง-ข้าวหอมมะลิ 100% เข้าประกวดคว้ารางวัลชนะเลิศ  "ข้าวที่ดีที่สุดในโลก"  โดยมติเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการตัดสิน 7 ท่าน สร้างเกียรติภูมิให้ข้าวหอมมะลิไทย

คุณสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด (ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวตราฉัตร) บอกว่า ข้าวหอมมะลิตราฉัตรทอง ได้รับการพิจารณาตัดสินจากคณะกรรมการให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ "ข้าวที่ดีที่สุดในโลก" (World"s Best Rice Award 2009) ในการสัมมนาข้าวโลก ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

งานประชุมข้าวโลก 2009 (World Rice Conference 2009) ถือเป็นงานสัมมนาระดับนานาชาติสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดการค้าข้าวทั่วโลก ใช้เป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ สถานการณ์ด้านข้าว และสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมค้าข้าว โดยมีผู้ประกอบการ-ผู้บริหารจาก 200 องค์กรที่เกี่ยวข้องในแวดวงการค้าข้าวและด้านการเกษตรจำนวนกว่า 500 คน จาก 33 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุม และในงานนี้ได้มีการเปิดตัวโครงการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก (Best Rice in the World) ขึ้นเป็นครั้งแรก

"การประกวดครั้งนี้ถือเป็นครั้งปฐมฤกษ์ โดยผู้จัดคือองค์กรการค้าข้าว ซึ่งเป็นองค์กรหลักในธุรกิจการค้าข้าวระหว่างประเทศ ร่วมกับวารสารตลาดข้าวนานาชาติ จัดขึ้นเป็นปีแรก ซึ่งยังไม่เคยมีเวทีการสัมมนาด้านข้าวที่ใดเคยจัดมาก่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องข้าวคุณภาพของแต่ละประเทศ และกระตุ้นให้มีการพัฒนาสินค้าข้าวของผู้ส่งออกในแต่ละแบรนด์และถือเป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่จะจัดให้มีการประกวดต่อเนื่องในปีต่อๆ ไปของการสัมมนาข้าวโลก"

สำหรับ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ได้ส่งข้าวหอมมะลิตราฉัตรทอง ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ 100% เกรดพรีเมี่ยมเข้าประกวด โดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร อาทิ ซีวิงเกอร์ และแพทริค แมคดอนเนล หุ้นส่วนของแมคดอนเนล คินเดอร์ และสมาคมบริษัท ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการทำอาหารในสหรัฐอเมริกา โจนาธาน จัสตัส พ่อครัวชั้นแนวหน้าของร้านอาหารชื่อดัง-จัสตัส ที่สมิธวิล มลรัฐมิสซูรี ซึ่งชนะการประกวด "Lord of the Rice" รวมถึงพ่อครัวที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ

ทั้งนี้ เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านกลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่มและรูปร่างลักษณะ โดยใช้วิธีตัดสิน แบบการทดสอบโดยไม่เปิดเผยตราสินค้า (Blind testing) ปรากฏว่า ข้าวหอมมะลิตราฉัตรได้รับการลงมติ ให้เป็นข้าวที่ดีที่สุดอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการ ที่ได้ชิมรสชาติของข้าวที่ส่งเข้าประกวดกว่า 20 ตราจากนานาประเทศ

"ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจากเป็นข้าวคุณภาพดี และเป็นข้าวหอมหนึ่งเดียวของโลกที่มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ และรสชาติอร่อย จึงนับเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่สำหรับประเทศไทย และชาวนาไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวที่ดีที่สุดในโลก" คุณสุเมธ กล่าว

ข้าวหอมมะลิตรา "ฉัตรทอง" ใช้สายพันธุ์ข้าวขาวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพและรสชาติที่ให้ความหอมและความนุ่มเมื่อหุงสุกแล้ว ผ่านการคัดสรรแหล่งวัตถุดิบควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนการผลิต ระบบการปรับปรุงคุณภาพข้าวด้วยอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ทันสมัยมาตรฐานระดับโลก และการแพ็กสินค้าบรรจุถุง ภายใต้การควบคุมอย่างพิถีพิถัน ไม่ว่าจะเป็นสำหรับการบริโภคภายในประเทศหรือการส่งออก

ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ยังได้เปิดเผยด้วยว่า ในโอกาสที่ข้าวตราฉัตรทองได้รับรางวัลอันมีคุณค่านี้ ทางบริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จึงได้มีนโยบายที่จะเผยแพร่คุณภาพและความเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น สร้างภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทยให้โดดเด่นในตลาดโลก เสริมสร้างเกียรติภูมิของประเทศไทยและชาวนาไทยในฐานะผู้ผลิตข้าวที่ดีที่สุดของโลก ขณะเดียวกันจะเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ครองใจผู้ค้าและผู้บริโภคทั่วโลก สมดังนโยบายธุรกิจที่ยึดมั่นมาโดยตลอดของข้าวตราฉัตรคือ

"ข้าวตราฉัตร มาตรฐานแน่นอนทุกถุง เหมือนกันทั่วโลก"

ข้าวตราฉัตร เป็นสินค้าส่งออกของกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นข้าวสารบรรจุถุงที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทย ส่วนตลาดต่างประเทศนั้นก็มีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ถึง 102 ประเทศทั่วโลก


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน






ทุ่ม 115 ล้าน พัฒนาทุ่งกุลาฯ  พด.ระดมวางโครงสร้างพื้นฐาน
ผุดแหล่งหอมมะลิอินทรีย์ส่งออก
กรมหมอดินทุ่มงบ 115 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้าเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพื่อการส่งออก หลังปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะกับการปลูกข้าวได้แล้วกว่า 9 แสนไร่ 

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ในฐานะโฆษกกรมฯ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาที่ดินในทุ่งกุลาร้องไห้ว่า พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 2.17 ล้านไร่ พื้นที่ดังกล่าวมีความแห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง และในช่วงฤดูฝนน้ำท่วมทุกปี ใต้ดินลงไปก็พบสภาพดินเค็ม ทำการเกษตรได้ผลไม่ดี และยังมีแนวโน้มว่าจะแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น แต่หลังจากที่กรมพัฒนาที่ดินได้เข้าไปทำโครงการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว จากการสำรวจจำแนกที่ดินที่เหมาะสมกับการทำนา มีพื้นที่รวม 1.27 ล้านไร่

ดังนั้น กรมจึงได้เข้าไปพัฒนาโดยการปรับปรุงพื้นที่นา สร้างระบบคูคลองเพื่อควบคุมการระบายเกลือและระบายน้ำควบคู่ไปกับระบบเก็บเกี่ยวน้ำฝน ลำน้ำ หรือแม่น้ำในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อการชลประทาน รวมทั้งใช้ดินที่ขุดขึ้นมาจากคูคลองต่าง ๆ มาจัดทำถนนในไร่นา ทั้งนี้ การปรับปรุงพื้นที่นา หรือการก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมฯได้ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 930,000 ไร่ และในปีนี้กรมฯ ได้จัดสรรงบประมาณรวม 115 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางการผลิตในพื้นที่ 13,000 ไร่ และปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด จำนวน 90,000 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้นจาก 250-300 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 470 กิโลกรัม/ไร่

นายฉลองกล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการนั้นจะเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน ตลอดจนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตข้าว โดยขณะนี้กรมฯ กำลังดำเนินการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกร เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ตามมาตรฐาน Organic Thailand เพื่อผลักดันไปสู่การส่งออก เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอนาคต

ที่มา  :  แนวหน้า





'แจสแมน' หรือจะสู้ 'จัสมิน'


จัดแผนกู้วิกฤติ 'หอมมะลิไทย'

ข้าวหอมมะลิไทย ถือเป็นสุดยอดข้าวคุณภาพระดับโลก ไม่มีประเทศ ไหนที่มีข้าวหอมมะลิเหมือนอย่างประเทศไทย และไม่มีประเทศไหนที่มีข้าวเมล็ดยาวและมีกลิ่นหอมชวนรับประทานเท่าข้าวหอมมะลิของไทย ปัจจุบันข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 แต่ราคาข้าวหอมมะลิค่อนข้างตกต่ำลงมาเรื่อย ๆ เนื่องจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่ ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูก ได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการ ปลูกข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 มากกว่า ซึ่งข้าวพันธุ์ “ปทุมธานี 1” แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ “ไม่ใช่” ข้าวหอมมะลิ 
   
เมื่อไม่นานมานี้  มีข่าวที่สร้างความ วิตกให้กับชาวนาและรัฐบาลไทยไม่น้อย เมื่อศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรมมหา วิทยาลัยลุยเซียนา มลรัฐลุยเซียนา สหรัฐ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้ค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ “แอลเอ” 2125 มีคุณภาพทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทย และตั้งชื่อคล้ายคลึงกันว่า “แจสแมน”  (JAZZMAN) เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย ในขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยใช้ ชื่อภาษาอังกฤษว่า “จัสมิน” (Thai jasmine rice) (Official name “Thai Hom Mali”) ซึ่งมีคุณสมบัติและมีกลิ่นหอมใกล้เคียงข้าวหอมมะลิไทย และยังให้ผลผลิตสูงกว่าถึง 3 เท่า จึงอาจเป็นคู่แข่งสำคัญที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา และประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ อาทิ ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐเบนิน  เป็นต้น
   
สำหรับข้าวแจสแมน ศูนย์วิจัยและค้นคว้าเกษตรกรรมสหรัฐ ได้เริ่ม  การทดลองผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2509 โดยนำข้าวกลิ่นหอมของจีนสายพันธุ์ 96a-8 มาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอใช้เวลา 12 ปีจึงเป็นผลสำเร็จ สามารถให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณไร่ละ 1,265 กิโลกรัม ขณะที่ข้าวไทยมีผลผลิตประมาณไร่ละ 400 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งชาวนาผู้ปลูกข้าวดังกล่าวยืนยันว่า ชาวนาในลุยเซียนาจะหันมาปลูกข้าวนี้มากขึ้น และช่วยทดแทนการนำเข้าข้าวหอม มะลิจากไทยได้
   
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสูง โดยปี 2552 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวหอมมะลิ รวมกว่า 2.63 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 68,577.7 ล้านบาท และปี 2553 นี้ ได้ส่งออกไปแล้วทั้งสิ้น 2.10 แสนตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,776.8  ล้านบาท
   
ทั้งนี้การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบันเป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล และ ในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนีย ตามลำดับ
   
อย่างไรก็ตาม  เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวหอมมะลิไทยเอาไว้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิแหล่งใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยให้แข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกที่มีแนวโน้มการแข่งขันรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า (AFTA) ซึ่งคาดว่าจะมีสินค้าข้าวจากเพื่อนบ้านเข้ามาตีตลาดในประเทศเพิ่มมากขึ้น
   
ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทยขึ้นที่ จ.บุรีรัมย์ เพื่อให้ผู้ผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของมาตรฐานฯ  รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติสู่ระบบการรับรอง
   
ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าแผน ต่าง ๆ ที่ได้วางขึ้นมานั้นจะสามารถสกัดกั้นไม่ให้ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ เจาะไข่แดงข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลกในอนาคตต่อไปได้หรือไม่.

ที่มา  :  เดลินิวส์






พัฒนาข้าวหอมมะลิ...แห่งทุ่งกุลาร้องไห้

ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการส่งออกข้าวเป็นสินค้าหลัก สามารถครองแชมป์อันดับหนึ่งมาตลอดกาล ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษามาตรฐานและส่งเสริมการส่งออกสินค้าข้าวให้มากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดจัดทำโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ ระยะที่ 2 ขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 ไปจนถึงระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในปี 2556
   
นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการผลิตให้เหมาะสมต่อการผลิตข้าวหอมมะลิ  เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดที่จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จำนวน 1.27 ล้านไร่ เกษตรกรเป้าหมาย 87,400 ครัวเรือน และเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิจาก 250 กก.ต่อไร่ เป็น 470 กก.ต่อไร่ หลังสิ้นสุดโครงการ โดยงบประมาณในปี 2553 ที่จะเข้าไปพัฒนาโครงการประมาณ 484 ล้านบาท จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 8,230 ล้านบาท
   
ด้าน นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิ การสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือสศก.กล่าวว่า ขณะนี้ คณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐาน เพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ระยะที่สอง ปี 2552-2556 ได้มีมติเห็นชอบในการขยายขอบเขตเป้าหมายข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในโครงการฯโดยพิจารณาส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพิ่มเติมอีก 4 แสนไร่ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดยประมาณการผลผลิตเป้าหมาย 2 แสนตัน ของ 5 จังหวัดในทุ่งกุลาร้องไห้ โดยแยกเป็นเป้าหมายรายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่นาจำนวน 986,807 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 150,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 75,000 ตัน จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่นาจำนวน 575,993 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 150,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 75,000 ตัน จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่นาจำนวน 287,000 ไร่  เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 50,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 25,000 ตัน จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่นาจำนวน 193,890 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 30,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 15,000 ตันจังหวัดยโสธร พื้นที่นาจำนวน 64,000 ไร่ เป้าหมายพื้นที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 20,000 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำนวน 10,000 ตัน
   
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ จะสนับสนุนเกษตรกรผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ให้สามารถผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากลและตลาดต่างประเทศยอมรับและสามารถส่งออกได้สูงขึ้นกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปในมาตรฐาน GAP ถึง 2 เท่า ซึ่งจะส่งผลทำให้เกษตรกรในทุ่งกุลาร้องไห้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละ 700 ล้านบาท และหากคิดเป็นมูลค่าข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่เป้าหมาย 4 แสนไร่จะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 4,000 ล้านบาท ทีเดียว.

ที่มา  :  เดลินิวส์






หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©