-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 435 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








 

ข้าวสังข์หยด พัทลุง

พันธุ์ข้าวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระองค์ท่านทรงมีพระ
ราชดำริเมื่อปี พ.ศ. 2543 ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าว
พัทลุง ได้ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ในพื้นที่แปลงนาศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต่อมาเมื่อวันที่ 24
กันยายน 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปยังฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ
จังหวัดพัทลุง ครั้งนั้น ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ถวายข้าวสังข์หยด ซึ่งทรงนำมาเสวย ทรงรับสั่งว่าอร่อย
ทรงโปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาปลูกใหม่เพื่อเผยแพร่ และรักษาพันธุ์ข้าว ต่อมาในวโรกาสเฉลิม
พระชนมพรรษา 72 พรรษา ทรงโปรดให้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด เผยแพร่กับประชาชนที่ศูนย์การ
ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และในปีนี้ (2548) ศูนย์ศิลปาชีพไดนำข้าวสังข์หยดมาแนะนำ และเผยแพร่
ในงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพในวันที่ 15-31 กรกฎาคม นี้

จังหวัดพัทลุง
เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของชาวใต้มาแต่โบราณ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ เพื่อเลี้ยงคนในพื้นที่และ
จังหวัดต่างๆในภาคใต้ ด้วยเหตุแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้อง
ถิ่น ซึ่งปลูกฝังคู่กับเมืองพัทลุงมาเป็นเวลานาน พันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้หลากหลายพันธุ์ จึงมีถิ่นกำเนิด
จากเมืองพัทลุงแห่งนี้ ข้าวพันธุ์สังข์หยด ข้าวพื้นเมืองภาคใต้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเพาะปลูก
เมืองพัทลุง จากเอกสารหลักฐานบัญชีรายชื่อข้าวที่รวบรวมจากท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ โดยกองบำรุง
พันธุ์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ได้รวบรวม และปรากฏชื่อ ข้าวสังข์หยด ใน locality No.ที่ 81

เมื่อปี พ.ศ.2495–2496 เก็บจากอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงดังนั้นจึงเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมานาน
ไม่ต่ำกว่า 50 ปี และปัจจุบันยังคงปลูกอยู่ในจังหวัดพัทลุงข้าวพันธุ์สังข์หยดมีลักษณะแตกต่างจาก
ข้าวพันธุ์อื่น คือ
ข้าวสารหรือข้าวกล้องที่มีเหยื้อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้มในเมล็ด
เดียวกันเมื่อข้าวหุงสุกมีความนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่เมื่อเย็นตัวลง
ข้าวสังข์หยดนอกจากมีความนุ่ม
อร่อยแล้วยังให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวอื่นๆ เนื่องจากข้าวสังข์หยดกล้อง มีโปรตีนสูง วิตามินสูง
โดยเฉพาะ ไนอาซีน มีมากถึง 3.97 มิลิกรัม ซึ่งมีน้อยในข้าวสายพันธุ์ อื่นๆ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัย
ข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมของข้าวสังข์หยด และศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่
6 พัทลุง ทำการขยายพันธุ์ในแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ เพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์
สังข์หยด ให้เกษตรกรในเขตจังหวัดพัทลุงในปี 2548 นวทางในการจัดจำหน่ายในปัจจุบันมีจำหน่าย
ในร้านสุวรรณชาด และซุปเปอร์สโตร์ชั้นนำในกรุงเทพมหานครตลอดจนร้านอาหารสุขภาพต่างๆ การส่ง
เสริมข้าวสังข์หยดให้เป็นข้าวเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงจึงเริ่มดำเนินการ ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ ที่เพิ่ม
คุณค่า และตรงกับความต้องของตลาดภายในและต่างประเทศ ละด้วยคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้าวพันธุ์
สังข์หยดจึงจัดอยู่ในระดับตลาดข้าวคุณภาพดีพิเศษได้


ข้าวสังข์หยดพัทลุง "ข้าว จีไอ" พันธุ์แรกของไทย พันธุ์ข้าวเลื่องชื่อของภาคอีสานต้องยกให้ "ข้าว
หอมมะลิ" แต่สำหรับภาคใต้แล้วชื่อชั้นของ "ข้าวสังข์หยด" กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
อย่างกว้างขวางมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้องที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้าน
ข้าวสังข์หยดเป็น
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดพัทลุงที่มีการปลูกและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว โดย
เป็นข้าวนาสวนที่มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
และที่สำคัญเมื่อหุงสุกแล้ว ข้าวสังข์หยดจะมีความอ่อนนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ทำให้ย่อยง่าย เหมาะกับผู้
สูงอายุและผู้ที่ไม่ใช้แรงงานหนัก


ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพปลอดภัยจากสารพิษ จึงทำให้
มีการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพออกสู่ตลาดกันมากขึ้น "ข้าวสังข์หยด" เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความ
นิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน


นอกจากนี้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ข้าวสังข์หยดพัทลุงยังได้รับคำประกาศรับรองให้เป็น "สินค้า
บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" หรือข้าวจีไอ (GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.
ศ.2546 โดยใช้ชื่อว่า "ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง "นับเป็นข้าวจีไอพันธุ์แรกของประเทศไทยซึ่ง
ชาวนาพัทลุงต่างภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รักษามรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ได้จนถึงวันนี้ และได้รับการ
คุ้มครองสิทธิให้แก่ชุมชนผู้ผลิตข้าวสังข์หยดในจังหวัดพัทลุง

   

ขณะนี้มีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดเพิ่มมากขึ้น คาดว่าในปีนี้จะมีการปลูกประมาณ 15,000 ไร่
ผลผลิตประมาณไร่ละ 450-500 กิโลกรัม
ในฤดูกาลผลิต 2550/51 ที่จะถึงนี้ จังหวัดพัทลุงได้
ตั้งเป้าผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง โดยเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 19 กลุ่ม จำนวน
371 ราย ซึ่งจะเป็นเกษตรกรจากอำเภอเมืองพัทลุง ปากพะยูน เขาชัยสน ควนขนุน และบางแก้ว คาด
ว่าจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันข้าวเปลือกมีมูลค่าถึง 10 ล้านบาท โดยเกษตรกร จะเริ่มปลูก
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ และเก็บเกี่ยวราวต้นปี 2551
สำหรับรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ
ผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง หรือข้าวจีไอนั้น เกษตรกรจะต้องรวมกันเป็นกลุ่มผู้ผลิตและขึ้นทะเบียน
สมาชิกไว้ รวมทั้งยอมรับเงื่อนไขการตรวจรับรองการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และปฏิบัติตามขั้น
ตอนการผลิตตามระบบจัดการคุณภาพ (GAP ข้าว) โดยจะมีการบันทึกการปฏิบัติทุกขั้นตอน ที่สำคัญ
จะต้องมีการตรวจประเมินรับรองแหล่งผลิตก่อน จึงจะถือว่าผลผลิตที่ได้เป็นข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
ของจริง


กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยดจึงมีวิธีการ และขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากสมราคา แต่คาดว่าผลตอบแทน
ด้านชื่อเสียงของสินค้าและรายได้จะคุ้มค่าให้แก่เกษตรกรชาวพัทลุงที่ต้องลงทุนลงแรงรักษาข้าวพันธุ์
ไทยแท้ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์
ข้าวสังข์หยด ข้าวเพื่อสุขภาพ เพื่อคุณ 


                                           

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง, ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 6 พัทลุง, ไทยรัฐ, เดลินิวส์

                                                                   

                                                      บริษัท ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ จำกัด

ผลิตโดย บริษัทข้าวพื้นเมืองภาคใต้ จำกัด
859/26 หมู่1 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร.074-474635



www.ricesiam.com/ - แคช -

ข้าวสังข์หยด ข้าวจีไอพันธุ์แรกของไทยและของโลก
มีรายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ข้าวสังข์หยด
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัด พัทลุง ได้รับประกาศคำรับรองให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ 2546 เมื่อ 23 มิ.ย. 49 ทั้งนี้คำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และการประกาศรับรอง
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงเป็นข้าว GI นั้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองตามกฎหมายในสิทธิ
ชุมชนผู้ผลิตเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น

เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อพัฒนาทางด้านการค้าต่อไปและ
เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้าเพื่อรักษาภาพลักษณ์
ของสินค้าที่ผลิตจากท้องถิ่นตน พร้อมเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพื่อเพิ่มและกระจาย
รายได้สู่ท้องถิ่นและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและความภาคภูมิใจในการรักษาภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย

สำหรับข้าวพันธุ์สังข์หยดนั้นจากข้อมูลที่บันทึกไว้ของกรมการข้าวระบุว่า มีแหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่
ในจังหวัดพัทลุง และเป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นของจังหวัดพัทลุงที่รู้จักกันมานาน นับเป็นข้าวที่เป็น
ความภาคภูมิใจของชาวนาภาคใต้ สมัยก่อนชาวนาจะปลูกไว้เป็นของกำนัลแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่
เคารพนับถือในวันสงกรานต์ ขึ้นบ้านใหม่แบบไทยโบราณ หรือใช้หุงต้มเพื่อทำบุญตักบาตรตาม
ประเพณีนิยม เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉพาะของลักษณะข้าวกล้องแตกต่างจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
อื่น ๆ ด้วย เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีแดง เมล็ดเรียวเล็ก นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือและข้าวกล้อง
ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าข้าวขาวโดยทั่วไป

เมื่อปี พ.ศ. 2525-2529 ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ ทั้ง
หมด 1,997 ตัวอย่างพันธุ์ มีตัวอย่างพันธุ์ข้าวสังข์หยดจาก 3 แหล่ง ได้แก่ สังข์หยด (KGTC
82045) จากตำบลโคกทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สังข์หยด (KGTC82239) จาก
ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และสังข์หยด (KGTC82267) จากตำบลควน
ขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่   เก็บรวบรวมส่วนหนึ่งส่งไปอนุรักษ์ที่ศูนย์
ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และปลูกรักษาพันธุ์ในศูนย์
วิจัยข้าวพัทลุง

ต่อมาในฤดูนาปี 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ
ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) จน
ได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีลักษณะเมล็ดเล็กเรียวยาว
ปริมาณอมิโลสต่ำ และอายุเบา

และในปี พ.ศ. 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้ตั้งโครงการ
ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ จังหวัดพัทลุง ขึ้นที่ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบแปลงนาในโครงการฯ จึงได้ดำเนินการ
ปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดและได้  มีโอกาสถวายข้าวสังข์หยดแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม
ราชินีนาถ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่ทรงโปรด

ต่อมาศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการยื่นคำขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราช
บัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 โดยกรมวิชาการเกษตรได้ประกาศออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้น
ทะเบียนชื่อพันธุ์ “ข้าวสังข์หยดพัทลุง” เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และได้ดำเนิน  
การเสนอคำขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อสินค้าว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”

ปัจจุบันกระแสความนิยมการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นศูนย์
วิจัยข้าวพัทลุงจึงได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นที่มีลักษณะพิเศษ โดยทำการคัดเลือก
จากพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค มีคุณภาพและ
ผลผลิตดีขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวนาในการผลิตข้าวคุณภาพดีให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และ
ในปี พ.ศ. 2547 จังหวัดพัทลุงได้กำหนดให้ข้าวพันธุ์สังข์หยด เป็นพันธุ์ข้าว 1 ใน 3 พันธุ์ ที่มี
เป้าหมายส่งเสริมการผลิตในโครงการพัฒนาการผลิตข้าวครบวงจร ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนา
จังหวัด (ปี 2547-2550) ที่จะให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดด้วยเมล็ดพันธุ์ดี

ข้าวพันธุ์สังข์หยดมีคุณสมบัติพิเศษในลักษณะของสีข้าวกล้องที่มีสีแดง รูปร่างเมล็ดเรียวความ
ยาวเมล็ดข้าวกล้อง 6.70 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสี
แล้วบางเมล็ดมีสีขาวใสแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น คุณสมบัติการหุงต้มดี ลักษณะข้าวหุงสุก
นุ่ม มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (94 มิลลิเมตร) ปริมาณอมิโลสต่ำ (15.28+-2.08%)
ลักษณะทรงต้นสูง 140 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่
10 มกราคม เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ ซึ่งจะปักดำกลางเดือนกันยายน.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


www.phtnet.org › ข่าวเกษตร - แคช -


ข้าวสังข์หยด พัทลุง



ข้าวสังข์หยด เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง ที่มีการปลูกและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นมานานหลายชั่วอายุคน แต่ไม่มีการบันทึกประวัติที่แน่ชัด เกษตรกรในจังหวัดพัทลุงปลูกสืบทอดกันมาโดยตลอด จากหลักฐานของกรมการข้าว กระทรวงเกษตร (ในขณะนั้น) ได้รวบรวมข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศ รวมทั้งจังหวัดพัทลุงด้วย ระหว่างปี 2495-2496 เก็บตัวอย่างข้าวพันธุ์สังข์หยด ในอำเภอเมืองพัทลุง และจากข้อมูลของสำนักงานคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ ระบุว่า ข้าวพันธุ์สังข์หยดเป็นข้าวนาสวนพันธุ์หนึ่งของจังหวัดพัทลุง ในจำนวนพันธุ์ข้าวที่เก็บจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 167 พันธุ์

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า จังหวัดพัทลุงมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหลากหลายมาก พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จะต้องเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่น มีคุณภาพเป็นที่พอใจของผู้บริโภค ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี และที่สำคัญผู้บริโภคจะต้องนิยมบริโภค

ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวที่มีลักษณะแตกต่างจากข้าวพันธุ์อื่นๆ ที่เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีขาวปนสีแดงจางๆ จนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน เมื่อหุงสุกแล้วมีลักษณะนิ่ม ค่อนข้างเหนียว ข้าวสังข์หยดเป็นพันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง (ปลูกได้เฉพาะนาปี) หากเกษตรกรตกกล้ากลางเดือนสิงหาคม ข้าวจะออกดอกในต้นเดือนมกราคม และจะเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ (ตามฤดูกาลทำนาเดิมของจังหวัดพัทลุง) ต้นข้าวมีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร มีการแตกกอเฉลี่ย 8 ต้น ต่อกอ ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือเฉลี่ย 330 กิโลกรัม ต่อไร่

คุณสมบัติของเมล็ดข้าวทางกายภาพ เปลือกเมล็ดมีสีฟาง ข้าวกล้อง ข้าวสารมีสีขาวปนแดง เมล็ดเรียว ยาว 6.5 มิลลิเมตร กว้าง 1.9 มิลลิเมตร เมล็ดข้าว 100 เมล็ด หนัก 1.98 กรัม คุณภาพการสีดี คุณสมบัติทางเคมี มีปริมาณอะมิโลส 13.8% ถือว่าต่ำที่สุดในบรรดาข้าวพื้นเมือง ซึ่งมีผลทำให้คุณสมบัติของข้าว เมื่อหุงสุกมีความอ่อนนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ทำให้ย่อยง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่ใช้แรงงานหนัก

คุณค่าทางโภชนาการ ต่อน้ำหนักข้าว 100 กรัม มีโปรตีน 6.2 กรัม เท่ากับข้าวหอมมะลิ ไขมัน 3.3 กรัม แคลเซียม 65 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.96 มิลลิกรัม และไนอะซิน 2.2 มิลลิกรัม

จากกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับอาหารเพื่อสุขภาพปลอดภัยจากสารพิษมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคระดับกลางถึงระดับสูง ทำให้มีการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น ข้าวสังข์หยดเป็นหนึ่งในหลายๆ สินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะจะเป็นข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

ในปี 2549 ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้รับคำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ข้าว จีไอ : GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อว่า "ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง" ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 นับเป็นข้าว จีไอ พันธุ์แรกของประเทศไทย ซึ่งชาวนาเมืองพัทลุงภูมิใจที่ได้รักษามรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ได้จนวันนี้ การคุ้มครองสิทธิให้แก่ชุมชนผู้ผลิตข้าวสังข์หยดในจังหวัดพัทลุง มีประโยชน์อยู่ 5 ประการหลัก คือ

1. การคุ้มครองตามกฎหมายในสิทธิของชุมชนผู้ผลิต เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น

2. เพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อพัฒนาทางด้านการค้าต่อไป

3. กระตุ้นให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้า เพื่อรักษาภาพพจน์ในสินค้าที่ผลิตจากท้องถิ่นตน

4. ส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่น เพื่อเพิ่มและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

5. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและความภาคภูมิใจในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
จะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยว

ข้าวสังข์หยด ขณะนี้ได้ขยายตัวปลูกกันเพิ่มมากขึ้น สามารถปลูกได้ในพื้นที่โซนข้าวเฉี้ยง
ได้ทุกแปลง ซึ่งจะเหมาะสมมาก ปี 2550 มีปลูกข้าวสังข์หยดประมาณ 15,000 ไร่
ผลผลิตประมาณ 450-500 กิโลกรัม ต่อไร่ และราคาประมาณ 15,000 บาท ต่อ
เกวียน สำหรับราคาค่าส่ง 25-30 บาท ต่อกิโลกรัม และราคาขึ้นห้างสรรพสินค้า 40-45
บาท ตลาดมีความต้องการมาก จนผลิตกันไม่ทันและไม่พอเพียงต่อความต้องการของตลาด
และผู้บริโภค

จังหวัดพัทลุงถือว่าเป็นเมืองอู่ข้าว ถึงมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ รองจาก
จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 549,978 ไร่ นาปรัง 99,484 ไร่
มีผลผลิตรวม 274,450 ตัน มูลค่า 984.21ล้านบาท ข้าวสังข์หยดมีพื้นที่ปลูก 9,300
 ไร่ ผลผลิต 3,000 ตัน มูลค่า 15 ล้านบาท คิดเป็น 1.7 เปอร์เซ็นต์

 
โดย อัสวิน ภักฆวรรณ
จากหนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน 



การเพิ่มผลผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง

งานวิจัยเด่น ม.ทักษิณ

อาจารย์อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยทักษิณ  รับทุนสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตข้าวสังข์หยดเมือง
พัทลุง พบวิธีการให้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์
หยดต่อไร่สูงสุด พร้อมแนะเกษตรกร  สามารถผลิตข้าวสังข์หยดเป็นข้าวอินทรีย์ตาม
มาตรฐานได้หากมีการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ให้มีคุณภาพ


ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ จากหลักฐานเอกสารบัญชีรายชื่อข้าวที่เก็บรวบรวม
จากท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493-2504 โดยกองบำรุงพันธุ์ กรมการ
ข้าว กระทรวงเกษตร ในขณะนั้น ได้เก็บรวบรวมและปรากฏชื่อพันธุ์นี้ใน Localty No.
ที่ 81 เมื่อปี พ.ศ. 2495-2496 เก็บจากอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ดังนั้นจึงเป็น
พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกกันมานานไม่ต่ำกว่า 50 ปี และเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549
ข้าวสังข์หยดได้รับคำรับรองเป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic
indication: GI) ได้ชื่อเป็น “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”ในปัจจุบันยังคงมีการ
ปลูกอยู่ทั่วไปในจังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง


ข้าวพันธุ์สังข์หยด ไวต่อช่วงแสง วันออกดอกประมาณ 6 - 15 มกราคม เมื่อตกกล้า
ประมาณกลางเดือนสิงหาคม จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ความสูงเฉลี่ย 140
เซนติเมตร แตกกอเฉลี่ย 8 ต้น/กอ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับข้าว
พันธุ์อื่นจะเห็นว่าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มผลผลิต
ได้คือการจัดการปุ๋ยให้เหมาะสม


การทดลองนี้ทำการทดลองที่แปลงข้าวของเกษตรกร  ก่อนทำการทดลองทำการเก็บ
ตัวอย่างดินเพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารในดิน ใช้ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (15
กิโลกรัมต่อไร่) ปลูกแบบหว่านและ มีหน่วยทดลองคือ ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยตามอัตราของ
เกษตรกร ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์


วิธีการใส่ปุ๋ย

1. ทุกสิ่งทดลองครั้งแรกรองพื้นก่อนหว่านเมล็ดด้วยปุ๋ยอินทรีย์สูตรกรมพัฒนาที่ดินอัตรา
150 กิโลกรัมต่อไร่


2. ใส่ครั้งที่ 1 คือ 30 วัน หลังปลูก


3. ใส่ครั้งที่ 2 คือ 60 วัน หลังปลูก หรือ 20-30 วัน ก่อนข้าวออกดอก (ตารางที่ 1)


ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวหลังหว่านข้าวได้ 30 วัน วัดการเจริญเติบโตทุกๆ
15 วัน เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตที่ได้ต่อไร่


การเจริญเติบโต

จากการศึกษาพบว่า การให้ปุ๋ยสูตรของเกษตรกรส่งผลให้การเจริญเติบโตของข้าวสังข์หยด
เมืองพัทลุงมีพื้นที่ใบ และพื้นที่รากสูงสุด รองลงมาคือไม่ใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์
ดิน มีการเพิ่มพื้นที่ใบ และพื้นรากสูงในสิ่งทดลองที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยนั้นอาจเป็นเนื่องปริมาณธาตุ
อาหารที่เกษตรกรใส่ไปในรูปของปุ๋ยนั้นยังมีอยู่ในดิน ในขณะที่จำนวนการแตกกอพบว่า
การให้ปุ๋ยโดยอัตราของเกษตรกรส่งผลให้มีจำนวนต้นต่อกอสูงสุด รองลงมาคือไม่ใส่ปุ๋ย
และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามลำดับ


ผลผลิต  

จากการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ปุ๋ยแบบต่างๆ ที่มีผลต่อผลผลิตของข้าวสังข์หยดเมือง
พัทลุงพบว่า การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และไม่ใช้ปุ๋ยส่งผลให้มีจำนวนรวงต่อพื้นที่สูงกว่า
วิธีการใช้ปุ๋ยแบบอื่น แต่การให้น้ำหนักของผลผลิตต่อไร่กลับพบว่า การให้ปุ๋ยอินทรีย์ส่งผล
ให้มีผลผลิตต่อไร่สูงสุดคือ 377.24 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ การให้ปุ๋ยตามค่า
วิเคราะห์ดิน คือ 330.18 กิโลกรัมต่อไร่

จากการเปรียบเทียบรายการค่าใช้จ่ายในการผลิตแต่ละวิธีในการใส่ปุ๋ยพบว่า การใช้ปุ๋ยสูตร
อัตราประยุกต์ให้ผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิต รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยตาม
อัตราของเกษตรกร แต่เมื่อพิจารณาถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว แม้ว่าจะให้ผลผลิตต่อไร่สูง
กว่าวิธีการใช้ปุ๋ยแบบอื่นก็ตาม กลับพบว่ามีต้นทุนการผลิตในเรื่องของราคาปุ๋ยสูง และ
ปริมาณที่ใส่มากกว่าวิธีอื่น ทำให้ขาดทุน ซึ่งในการทดลองนี้มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวสูง
เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่หากเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอจะ
สามารถทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น อัตราปุ๋ยที่ใส่ก็ลดลง และที่สำคัญหาก
เกษตรกรมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองก็จะสามารถลดต้นทุนของค่าปุ๋ยได้อย่างแน่นอน

จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการใช้ปุ๋ยโดยวิธีของเกษตรกรมีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางด้าน
ลำต้นได้ดี ในขณะที่การให้ปุ๋ยอินทรีย์ และการให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีแนวโน้มการให้ผล
ผลิตต่อไร่สูงสุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้าวพันธุ์สังข์หยดเมืองพัทลุงมีการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์เป็นอย่างดี แต่การตอบสนองต่อปุ๋ยของข้าวพันธุ์สังข์หยดเมืองพัทลุงอาจขึ้นอยู่กับ
ชนิดของดินเป็นหลัก  ดังนั้นแนวโน้มที่เกษตรกรจะสามารถผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
เป็นข้าวอินทรีย์ได้ตามมาตรฐานได้หากมีการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ให้มีคุณภาพเพิ่มยิ่งขึ้น 

             

สำหรับผู้ที่สนใจขอเชิญเข้าร่วมเสวนาเรื่อง ข้าวไทยคือชีวิตฟื้นพลิกเศรษฐกิจไทย  ใน
งานทักษิณวิชาการ - เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 4     วันที่ 16 สิงหาคม 2551 เวลา
8.30-16.30 น. ณ ห้อง MF 2200 อาคารเรียนรวม  โปรดติดต่อ อาจารย์อุไร
วรรณ  ทองแกมแก้ว  คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ
วิทยาเขตพัทลุง โทร.074-693-996หรือ 084-9666782 E-mail :

t_uraiwan@hotmail.com  หรือที่งานประชาสัมพันธ์ โทร.074-609600  

                   
นงลักษณ์ อ่อนเครง

ประชาสัมพันธ์ ม.ทักษิณ รายงาน


 

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทาง
ปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน
วิชาการ.คอม เรามีความ
ยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้
เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ
วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุก
ครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทาง
ธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต
ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา



www.vcharkarn.com/vblog/37625 -




ข้าวสังข์หยดเพาะงอกตันละแสน

นายจักรกฤษณ์ สามัคคี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ
บางแก้ว จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวสังข์หยดที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตร์ (จีไอ) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแก้วเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ
20,000-26,000 บาท/ตัน และยังมีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้นอีก เนื่องจาก
ตลาดมีความต้องการมาก เพราะข้าวสังข์หยดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแก้ว
ประมาณ 250 ไร่ ผลิตตามกระบวนการจีไอทั้งหมด


ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดพัทลุงกำหนดให้ทุกอำเภอปลูกข้าวสังข์หยด
ในเบื้องต้นอำเภอละ 200 ไร่ คาดว่าในปีนี้จะมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น
ประมาณอีก 30% จากพื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่แล้วประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งข้าว
สังข์หยดไม่มีปัญหาการตลาด เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะกลุ่มผู้
บริโภคที่เน้นด้านสุขภาพ


นายจักรกฤษณ์กล่าวว่า ในปีนี้ทางกลุ่มได้เริ่มผลิตข้าวสังข์หยดเพาะงอกแล้ว
โดยระยะแรกผลิตได้ประมาณ 300 กิโลกรัม/ เดือน โดยข้าวสังข์หยดเพาะ
งอกราคา ตันละ 100,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท เนื่องจากเป็นข้าวที่
มีสารบากา มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรค เช่น โรคมะเร็ง เส้นโลหิต
ในสมองแตก คลายเครียด โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่ง ข้าวสังข์หยดบากาได้ผ่าน
การวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว


"เมื่อก่อนคนจะนิยมบริโภคข้าวสังข์หยดซ้อมมือ แต่ตอนนี้ได้หันมาบริโภคข้าว
สังข์หยดกล่องเพราะให้คุณค่าทางอาหารได้ดีกว่า แต่ผู้บริโภครายใหม่ ๆ ก็เพิ่ง
มาบริโภคข้าวสังข์หยดซ้อมมือ แนวโน้มต่อไปจะมีการหันไปบริโภคข้าวสังข์หยด
เพาะงอกเพิ่มขึ้นแน่นอน"


นาย จักรกฤษณ์กล่าวอีกว่า การปลูกข้าวสังข์หยดต้องครบถ้วนตามกระบวนการจี
ไอ และปราศจากสารเคมี ล่าสุดนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตร
ธรรมชาติบางแก้ว ได้รับมอบโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 1 โรง จากกรม
วิชาการเกษตรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ประมาณ 40 ตัน/เดือน เพื่อสนับสนุน
ช่วยเหลือผู้ผลิตข้าวสังข์หยด


ด้านนายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ข้าว
พันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุงกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่ ข้าวสังข์หยด
ข้าวเล็บนก และข้าวเฉี้ยง เป็นต้น


อย่างไรก็ตามในปี ที่ผ่านมามีการนำพันธุ์ข้าวหอมนิลจากภาคกลางเข้ามาทำ
ตลาดในจังหวัดพัทลุง ด้วย ซึ่งได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน โดย
ราคาจะต่ำกว่าข้าวสังข์หยดประมาณกิโลกรัมละ 3-5 บาท แต่มีสินค้าไม่ต่อเนื่อง
และบางครั้งก็ขาดตลาด



www.biothai.net/news/5043 - แคช 





ข้าวสังข์หมดราคาพุ่ง ออร์เดอร์เพียบ

นายจักรกฤษณ์ สามัคคี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว อ.บาง
แก้ว จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดมีความต้องการข้าวพันธุ์สังข์หยด เมืองพัทลุงสูงมาก
โดยในกลุ่มได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และ ยังใช้วิธีทำนาแบบดั้งเดิมโบราณโดยใช้
เกษตรอินทรีย์ ขณะที่ราคาข้าวสังข์หยดได้ปรับตัวสูงขึ้น ปัจจุบันราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่เกวียนละ
35,000 บาท/เกวียน ส่วนราคาเมื่อปลายปีที่แล้วอยู่ที่เกวียนละ 25,000 บาท/เกวียน ตลาด
ข้าวสังข์หยดขยายตัวและได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการสั่ง
จองเมล็ดพันธุ์ข้าว
สังข์หยดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช แต่ที่น่า
หวั่นวิตกคือ เน้นธุรกิจมากเกินไปไม่เน้นเรื่องคุณภาพข้าว ซึ่งจะส่งผลต่อภาพ
ลักษณ์และทำให้ราคาตกต่ำลงได้

 
dna.kps.ku.ac.th/...









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-07-29 (1612 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©