-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 333 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร





กำลังปรับปรุงครับ


พืชสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง






พริกขี้หนู

ผลสุก มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง ส่วนเมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการขยายตัว
ของเชื้อไวรัส พริกจึงเป็นสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลงขัดขวางการดูดกินของศัตรูพืชหลายชนิด
เช่น มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อ ด้วงเต่า โคโลราโด หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ด้วงงวงช้าง แมลงศัตรู
ในโรงเก็บ ไวรัส โรคใบด่างของแตง ไวรัสโรคใบหดของยาสูบ ไวรัสโรคใบจุดวงแหวนของยา
สูบ



วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
วิธีที่ 1 นำ พริกแห้งที่ป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรอง
ด้วยผ้าขาวบาง หลังจากนั้นนำน้ำพริก นี้ 1 ส่วนผสมกับน้ำสบู่ 5 ส่วน ซึ่งการผสมน้ำสบู่จะช่วย
ให้จับเกาะใบพืชได้ดีขึ้น ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน

ในการนำไปใช้ ควรทดลองแต่น้อยๆ ก่อน เพราะสารละลายที่เข้มข้นเกินไปจะทำให้ใบไหม้ หาก
พืชเกิดอาการดังกล่าวให้ผสมน้ำเพื่อให้ เจือจางและควรใช้อย่างระมัดระวัง อาจเกิดการระคาย
เคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้

วิธีที่ 2 สำหรับการใช้เพื่อยับยั้งเชื้อไวรัส โดยใช้น้ำคั้นจากใบและดอกของพริก ไปฉีดพ่นก่อน
การระบาดของเชื้อไวรัสสามารถป้องกันต้นพืชจากไวรัสได้ดีกว่า นำไปฉีดเมื่อพืชเกิดโรคแล้ว


**********************************************************************************



แสยก

ป้องกันกำจัด หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อและแมลงในโรงเก็บ น้ำยางสีขาวและเมล็ด
ของแสยกจะออกฤทธิ์เป็นพิษต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด โดยจะมี ฤทธิ์ทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะ
อาหารและลำไส้ของแมลงอักเสบ ช่วยยับยั้งการ เข้ามาวางไข่ของด้วงถั่วเขียวในโรงเก็บและ
การฟักไข่ของด้วงทั่วไปได้ด้วย






สารออกฤทธิ์ที่พบ :
Chemiebase

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ใช้น้ำยางจากต้นกัดหูด โดยการนำน้ำยางสีขาวไปทาโดยตรงบนหัวหูด ทาบ่อยๆ หูดจะค่อยๆ
หายไปได้เอง

** ในสมัยก่อน ชาวบ้านตามชนบทนิยมเอาต้นแสยกแบบสดทั้งต้นกะจำนวนตามต้องการ ทุบ
พอแตกไปแช่น้ำตามหนองบึง หรือบ่อที่มีปลาอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้าบ่อหรือหนองไม่
กว้างนัก ปลาที่อยู่ในน้ำจะเกิดอาการเมาหรือตาย สามารถจับหรือช้อนขึ้นมาได้อย่างสบาย มี
ฤทธิ์เหมือนกับต้นหาง-ไหล หรือต้นโล่ติ้นของชาวจีน ยางของแสยกมีพิษแรงมาก ขนาดนำเอา
ทั้งต้นทุบพอแตก ใส่ลงในวังน้ำหรือลำธารที่มีจระเข้ อาศัยอยู่ มันจะหนีไปที่อื่นจนหมด เหลือ
เชื่อมาก แพทย์ตามชนบทนิยมเอาใบและยอดของแสยก โขลกละเอียดพอกแผลสด เป็นยา
ประสานเนื้อดียิ่งนัก

มีชื่อเรียก ในประเทศไทยอีกคือ มหาประสาน (ปราณบุรี) (ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ ,นาย
เกษตร )

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่1 ใช้ลำต้นของแสยกประมาณ 1 กิโลกรัม นำมาบดหรือทุบให้พอแตก จากนั้นนำไปแช่ใน
น้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้นาน 1 คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำหมักที่ได้ ไปฉีดพ่นในแปลงพืชผัก จะช่วย
ป้องกันและกำจัดหนอนกระทู้และหนอนใยผักได้ดี

วิธีที่ 2 ใช้ส่วนของลำต้นแสยกจำนวน 2 ขีด ทุบหรือตำให้ละเอียด แล้วนำไปคลุกเคล้าให้เข้า
กับเมล็ดถั่วเขียว จำนวน 1 กิโลกรัม จะสามารถยับยั้งการวางไข่และการฝักตัวของด้วงถั่วเขียว
ได้


****************************************************************************************


สลอด

กำจัด หอยทาก หนอนกระทู้ผัก หนอนไหม เพลี้ยอ่อน แมลงวันทอง แมลงวัน

“สลอด” มี ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีในด้านมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายท้องอย่างรุนแรงน้ำมันที่ สกัดจากเมล็ด
เป็นยาถ่ายอย่างแรง และมีพิษมาก ใช้เพียง 1 หยดก็มากพอที่จะทำ ให้ผู้ที่รับมันเข้าไปในร่าง
กายถ่ายจู๊ดๆ จนแทบจะต้องไปนอนหยอดน้ำเกลือใน โรงพยาบาล นอกจากนี้ในเมล็ดของ
สลอดจะมีสาร Croton oil ซึ่งเป็นสารสำคัญ ที่ มีฤทธิ์ต่อการกำจัดแมลง เช่น หนอนกระทู้ผัก
หนอนไหม เพลี้ยอ่อน แมลงวัน ทอง แมลงวัน หอยทาก อีกด้วย














ลักษณะทั่วไป :
เป็นไม้พุ่มสูง 3- 6 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปไข่ โคนใบกลมปลายใบแหลม ขอบใบหยัก
เป็นซี่ฟัน เนื้อใบบาง มีต่อมที่ฐานใบสองต่อม ใบมีสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาล ดอกมีขนาเล็ก ออก
เดี่ยวหรือเป็นช่อที่ยอด ดอกมีขน ผลรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน มี 3 พลู แก่จัดจะแห้งและแตก
เมล็ดมีรูปร่าง 3 เหลี่ยม มุมบน สีนวล

แหล่งที่พบ :
พบอยู่ตามที่ป่าโปร่ง ที่โล่ง ดินค่อนข้างแห้งแล้ง

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
เมล็ด

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ :
++ เมล็ดมีน้ำมัน Croton oil 56% นอกนั้นเป็นสารประเภท Toxic albuminous
substances ชื่อ Crotin มีน้ำตาล และไกลโคไซด์ ชื่อ Crotonososide มีสารที่มีฤทธิ์เป็น
ยาถ่าย และทำให้เกิดอาการระคายเคือง แก่ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ สารประเภท
terpenoid เป็นสารที่พบอยู่ในพืชวงศ์ Euphorbiaceae หลายชนิด เช่น ใน genus
Croton และ Euphorbia สาร Phorbals นี้ จากการทดลองพบว่าเป็นสารที่เป็น Co-
carcinogens หมายถึง เป็นตัวช่วยเร่งให้เกิดมะเร็งเร็วขึ้น

++ ใบสลอด มี hydrocynaic acid, triperpinoid ส่วนในเมล็ด มีโปรตีนที่เป็นพิษ ๒
ชนิด คือ croton globulin และ croton albumin

** นอกจากนี้ยังมี น้ำตาล sucrose และ glycoside crotonoside ให้น้ำมันสลอดที่
ประกอบด้วย oleic, linoleic, arachidic, myristic, stearic, palmitic, acetic และ
formic acid นอกจากนี้ยังมีกรดอีกหลายชนิด

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
เมล็ด มีน้ำมัน ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรงและระคายเคืองมาก เมื่อนำไปคั่วให้น้ำมันระเหยออกไป
ฤทธิ์จะอ่อนลง

หมายเหตุ :
++ เมล็ด รสเผ็ดร้อน มีพิษมาก ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นยาถ่ายอย่างแรงและ
เป็นพิษ ก่อนใช้ประกอบยาต้องฆ่าฤทธิ์ยา ตามตำรับกำหนดไว้เสียก่อนจึงจะใช้เป็นยาถ่าย พิษ
เสมหะและโลหิต ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายพยาธิ แก้การผิดปกติของจิตประสาท แก้โรคลมชัก
บางชนิด แก้ท้องผูกที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องมาน บวมน้ำ ขับลม แก้ปวด
ท้อง แก้โรคเก๊าท์

++ ยาง จากทุกส่วนของต้นและเมล็ด มีพิษ

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
นำเมล็ดสลอดมาบดละเอียด จำนวน 1 กิโลกรัม แช่ในน้ำจำนวน 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้นาน 3 วัน
ในที่ร่ม แล้วกรองเอาแต่น้ำหมักไป ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลงในแปลงพืช


************************************************************************************


เลี่ยน

ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ด้วงงวง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ตั๊กแตน มอดแป้ง ไรแดงส้ม

เปลือก ของต้นเลี่ยน ใบ ผล และ เมล็ด จะมีสารอยู่หลายชนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการ ป้องกัน
กำจัดและขับไล่แมลง ฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในต้นเลี่ยนจะไปยับยั้งการ กินและการเจริญเติบโต
ของแมลงได้













ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เลี่ยนเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้
เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่ง
ก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็น ร่องตามยาว ลำ
ต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อ
ใบยาวประมาณ 12–15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบ
ใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียว อ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาด
ความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ
เป็นกระจุกใหญ่ ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมี
สีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะ
เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด

การขยายพันธุ์ :
เมล็ด การตอน และ การปักชำ

แหล่งที่พบ :
มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน อินเดีย แต่ปัจจุบันพบว่ามีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค เขตร้อน และ ร้อนชื้น โดยเฉพาะ
ในเขตเอเชียใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และ ประเทศอื่นๆ ในเขตเดียว
กัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ในสวนและริมถนน

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
ใบ ดอก ผล เปลือกต้น และ เปลือกราก

สารสำคัญ :
เปลือกต้น มีสารอัลคาลอยด์ Margosine และ Tannin เปลือกรากและผลมีอัลคาลอยด์
ประเภท Azaridine ซึ่งเป็นสารพิษ
ประเภท Bakayanin และ Margosin เมล็ดมี 60% ของไขมัน

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
++ ใบ น้ำคั้นจากใบสดใช้เป็นยาขับพยาธิ บำรุงธาตุ ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว
++ เปลือกต้นและเปลือกราก ทำให้อาเจียน ขับถ่ายพยาธิตัวกลม รักษาโรคไข้มาลาเรีย รักษา
ดรคผิวหนัง ฆ่าเหา
++ ดอก ใช้ทาแผลผุพอง จากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
หรือ ใช้ดอกเลี่ยน 1 ช่อ มาล้างให้สะอาดแล้วนำไปตำให้แหลกผสมกับน้ำมันมะพร้าวเล็กน้อย
เอามาทาบริเวณที่มีการคันจากโรค ผิวหนัง วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
++ ผล ใช้น้ำมันจากผลทารักษาโรคทางผิวหนัง

หมายเหตุ :
ผลเป็นพิษต่อคน สัตว์บางชนิด และ ปลา โดยจะทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบทางเดิน
อาหาร ทำให้อาเจียน และ ท้องเดินได้

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
นำใบเลี่ยนสด จำนวน 2 กิโลกรัม หรือ อาจใช้ใบแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัม นำมาแช่น้ำ 1 ปี๊บ
นาน 2 วัน จากนั้นจึงคั้นเอาแต่น้ำหมักที่ได้ ไปกรอง ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงดังกล่าว


********************************************************************************


มันแกว

ป้องกันกำจัด เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ หนอนกะหล่ำ หนอนใยผัก มวนเขียว หนอนผีเสื้อ ด้วง
หมัดกระโดดใน เมล็ดแก่ของมันแกวนั้น จะมีสารที่เป็นพิษต่อแมลง คือ สาร Pachyrrizin ซึ่ง
เป็นพิษทางการสัมผัสและกระเพาะอาหาร มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงและออกฤทธิ์ ต่อต้าน
การดดูดกินอาหารของแมลงศัตรูพืช








ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
มันแกวเป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร โคนตันเนื้อ
แข็ง ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกมีสีขาวหรือชมพูเป็นช่อ รูปร่างของ
ดอกคตล้ายดอกบัว ผลเป็นฝักแบน มีขนปกคลุม ในหนึ่งฝักจะประกอบไปด้วยเมล็ด สีเหลือง สี
น้ำตาล หรือสีแดงลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัสแบน ประมาณ 8-10 เมล็ด โดยต้นมันแกว 1 ต้นมี
เพียงหัวเดียว ส่วนที่ใช้รับประทาน คือ ส่วนของรากแก้ว





แหล่งที่พบ :
ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในอเมริกาเขตร้อน ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และ ไทย นิยขมปลูกเพื่อ
ทานในส่วนของหัวสะสมอาหารใต้ดิน

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
เมล็ด และ หัว

สารสำคัญ :
เมล็ดมีสาร Pachyrrizin และ rotenone ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี และ
Pachysaponin A และ B ซึ่งเป็นพิษต่อปลา แต่ถ้าคนทานเมล็ดแก่ของมันแกวเข้าไป จะส่ง
ผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดอาการช็อคหมดสติและหยุดหายใจได้

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
++ เมล็ด ใช้เมล็ดบดทาผิวหนังรักษาหูด และ ใช้เป็นยาเบื่อปลา

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1
สูตรสำหรับกำจัดแมลงวันนำเมล็ดมันแกวมาบดให้ละเอียด ใช้ในอัตราประมาณ ครึ่งกิโลกรัม
ละลายในน้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้นาน 2 วัน จากนั้นจึงกรองเอาแต่สารละลายที่ได้ไปฉีดพ่นในแปลง
พืชผัก ผลไม้

วิธีที่ 2
สูตรกำจัดเพลี้ยและหนอนชนิดต่างๆใช้เมล็ดมันแกว จำนวน 0.5 กิโลกรัม บดให้ละเอียด แล้ว
ละลายในน้ำ 5 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้นาน 1 วัน จากนั้นจึงกรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นในแปลงพืชผัก ผล
ไม้ได้




********************************************************************************


มะละกอ

ป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โรคราแป้ง ส่วนของใบมะละกอจะมีสารออก
ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราสาเหตุของการเกิดโรคได้ดี เช่น ราสนิม ราแป้ง

เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลำตันตั้งตรงสูง 3–6 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวงไม่มีแก่น ผิว
ขรุขระเป็นร่องตามยาวต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเป็นหยัก
เว้าลึกคล้ายฝ่ามือ ดอก มีหลายประเภท คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และ ดอกสมบูรณ์เพศ โดย
ดอกตัวผู้จะมีสีเหลืองนวลหรือสีนวล กลิ่นหอม ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศ จะออกมาเป็น
กระจุก หรือ ดอกเดี่ยว สีนวล ผล มีทั้งผลกลม ผลรี แตกต่างกันไปตามสายพันธ์ ผลอ่อนมี
เปลือกสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว เมื่อผลแก่หรือสุกจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อในอ่อนนุ่ม น้ำ เมล็ดมีสี
ดำหรือสีน้ำตาลเข้ม










สารสำคัญ :
ยางจากใบมะละกอหรือผล มีน้ำย่อยปาปะอิน (papain) หรือ ที่เรียกว่า ปาปะโยทิน
(papayotin) ในส่วนของใบยังมีไกลโคไซด์ ชื่อ carposide และ อัลคาลอยด์ capaine
ส่วนผลดิบจะมีสาร petin แต่เมื่อสุกจะมีสาร carotenoid และมีสาร benzyl
isothiocyanate ในเมล็ด


สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ยาง ใช้ยาง 5-6 หยด ทาบริเวณที่เป็นหูด วันละ 3-5 ครั้ง แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณอื่น

++ ยางสดจากใบหรือผล นำมาทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด ตะขาบ วัน
ละบ่อยครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวม จนกระทั่งหายได้
++ เมล็ดแก่ ใช้เมล็ดแก่ จำนวน 1-2 ช้อนชา ม ผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปคั่วพอให้บดได้ง่าย แล้ว
นำไปบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้ง หรือ น้ำเชื่อมลงไปพอประมาณคนให้เข้ากัน ทานติดต่อกัน 2-3
วัน จะช่วยถ่ายพยาธิได้

++ ผลสุก ทานเป็นผลไม้เป็นยาระบายอ่อนๆ ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
++ ผลดิบ ใช้ทำเป็นอาหาจะช่วยย่อยโปรตีนเพราะมีสารช่วยย่อย (papain)
++ รากสด ใช้รากสด 3- 6 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ 1 แก้ว แล้วดื่ม
ให้หมด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ช่วยขับปัสสาวะ


การนำมาใช้ทางการเกษตร :
นำใบมะละกอมาหั่นให้ได้น้ำหนัก 1 กิโลกรัม แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร จากนั้นขยำชิ้น
ส่วนของใบมะกอกับน้ำ เพื่อคั้นเอาแค่น้ำ ที่ได้จากใบมะละกอ นำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง แล้ว
เติมน้ำสะอาดลงไปผสมกับน้ำคั้นที่ได้จากใบมะละกอ ให้ได้น้ำสารละลายทั้งหมด 4 ลิตร
ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับน้ำสบู่ประมาณ 15 กรัม คนให้เข้ากันก่อนนำไปฉีดพ่นในแปลงพืชที่เป็น
โรคที่เกิดจากเชื้อรา


**************************************************************************************




มะเขือเทศ


ป้องกันกำจัด ด้วงหมัดผัก ด้วงหน่อไม้ฝรั่ง หนอนใยผัก หนอนเจาะลำต้น หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ไร
แดง แมลงวัน แมลงสาบ

การใช้สารสกัดจากมะเขือเทศในแลงพืชผลทางการเกษตร สามารถป้องกันไม่ให้แมลงมาวาง
ไข่ ยับยั้งการกินอาหารของ แมลงศัตรูพืชได้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดด้วง
หมัดผัก ด้วงหน่อไม้ฝรั่ง หนอนเจาะลำต้น หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ แมลงสาบ และ โรค
เหี่ยวที่เกิดจากไรแดงได้








การนำมาใช้ทางการเกษตร :

วิธีที่ 1 ใช้ใบสดและลำต้นสดประมาณ
1 กิโลกรัม ทุบพอแตกแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้นาน 5 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่
น้ำไปฉีดพืชผัก

วิธีที่ 2 ปลูกมะเขือเทศแซมระหว่างแถวของพืชปลูก หรือ แถวกะหล่ำปลี สามารถช่วยป้องกัน
การเข้าทำลายของผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัยของหนอนผีเสื้อกะหล่ำได้ ทั้งยังเป็นการป้องกัน
ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายพืชปลูกได้ด้วย


**********************************************************************************


มะกล่ำตาหนู

ป้องกันกำจัด หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนกินใบทั่วไป เมล็ด มะกล่ำตาหนู จะมีพิษโดยตรง
กับระบบทางเดินอาหารและระบบ ประสาททั้งคนและ สัตว์ เมื่อนำไปใช้ทางการเกษตรจึง
สามารถป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลาย ชนิด

ชื่อ : มะกล่ำตาหนู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abrus precatorius L.
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อทั่วไป : กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำแดง มะแด๊ก มะขามไฟ ตาดำตาแดง ไม้ไฟ
ชื่อสามัญ : Jequirity bean, rosary bean, Buddhist rosary bean

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :
เป็นไม้เถาเลื้อย ใบประกอบมีใบย่อยออกเรียงเป็นคู่ ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงสี
เขียว กลีบดอกสีขาว คล้ายดอกถั่ว ผลออกเป็นฝัก เมื่อแก่ฝักจะแตกออก ภายในมีเมล็ดสีแดง
ขั้วสีดำ ผิวเรียบ แข็ง

การขยายพันธุ์ :
ใช้เมล็ด

แหล่งที่พบ :
พบขึ้นตามที่รกร้าง ป่าโปร่งทั่วไป

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
ลำต้น ราก ใบ เมล็ด










สารสำคัญ :
เมล็ดมะกล่ำตาหนูมีสาร glycoside abrin acid เมล็ดมะกล่ำตาหนู มีเปลือกที่แข็งมาก ตา
หนู มีส่วนประกอบของ N-methyltry ptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic
enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หาก
เคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต
ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีพิษมากที่สุดสารหนึ่งที่พบในพืชชั้นสูง

อย่างไรก็ตาม ถ้ากลืนเข้าไปทั้งเมล็ดที่มีเปลือกแข็งจะไม่เกิดพิษ เนื่องจากกระเพาะอาหารและ
ลำไส้ไม่สามารถย่อยเมล็ดมะกล่ำตาหนูได้ แต่ถ้าเคี้ยวเมล็ดนี้ให้แตก และกลืนเข้าไปจะเกิดพิษ
ต่อร่างกายส่งผลให้ตาบอดและถึงตายได้ ซึ่งสาร abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย แต่
คงทนอยู่ในทางเดินอาหาร หากร่างกายได้รับเข้าไปเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน
หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้ส่วนที่ใบมีสารabrusosides
มีความหวานสูงแต่ไม่มีพิษ

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ต้มน้ำกินเป้นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ และช่วยขับปัสสาวะได้

++ ใบสด มีรสหวาน ใช้ต้มกินแก้หวัด แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ปวดตามข้อ
หรือ นำมาใบมาตำพอกบริเวณที่ปวดบวม

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
นำเมล็ดมะกล่ำตาหนูมาบดให้ละเอียด แช่ในน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำมากรอง เอา
กากออก จากนั้นนำน้ำหมักเข้มข้นที่กรองได้ไปผสมเข้ากับน้ำสะอาดอีก 20 ลิตร แล้วนำไปฉีด
พ่นกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงผักต่อไป



*****************************************************************************


สาบเสือ

ป้องกันกำจัด เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก และ
หนอนอื่นๆ ใบของสาบเสือมีกลิ่นฉุนจึง สามารถนำมาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ หนอนในแปลงผัก และใช้เป็นยาเบื่อปลาได้

ชื่ออื่น :
หญ้าเสือหมอบ ( สุพรรณ–ราชบุรี–กาญจน์ ), รำเคย ( ระนอง), ผักคราด, บ้านร้าง
(ราชบุรี) , ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์), ฝรั่งเหาะ, ฝรั่งรุกที่ (สุพรรณ) , หญ้าดอกขาว (สุโขทัย –
ระนอง ) , หญ้าเมืองวาย ( พายัพ ), พาทั้ง (เงี้ยว เชียงใหม่) , หญ้าดงรั้ง , หญ้าพระสิริไอ
สวรรค์ (สระบุรี), มุ้งกระต่าย (อุดร ) ,หญ้าลืมเมือง (หนองคาย),หญ้าเลาฮ้าง (ขอนแก่น) ,
สะพัง ( เลย ), หมาหลง ( ศรีราชา – ชลฯ) , นองเส้งเปรง ( กะเหรี่ยง เชียงใหม่) , ไช้ปู่กุย
(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน ) , หญ้าเมืองฮ้าง ,หญ้าเหมือน( อิสาน) , หญ้าฝรั่งเศส , เบญจมาศ
(ตราด ) , เซโพกวย ( กะเหรี่ยง เชียงใหม่ ) , มนทน (เพชรบูรณ์) ปวยกีเช่า , เฮียงเจกลั้ง
(จีน)









ลักษณะทั่วไป :
ต้น เป็นพืชปีเดียวตาย ต้นสูง 1 – 3 เมตร ก้านมีริ้วรอย ปกคลุมด้วยขน ก้านและใบเอามาขยี้จะ
มีกลิ่นแรง

ใบ ออกตรงข้ามกัน ลักษณะค่อนมาทางรูปสามเหลี่ยม ตัวใบยาว 3 – 10 ซม. ปลายใบแหลม
ฐานใบกว้างใหญ่ หรือ กลมๆ ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟันขนาดใหญ่ มีขนปกคลุมทั้ง 2 ด้าน
ด้านท้องใบมีขนหนาแน่นกว่าหลังใบ

ดอก ออกเป็นช่อลักษณะเป็นกระจุก คล้ายร่ม ดอกสีขาวออกม่วง มีดอกย่อยวงนอกเป็นเส้นสี
ขาวออกมา 1 วง ส่วนกลางของช่อดอกเป็นดอกย่อยที่มีทั้งเกสนตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอก
เดียวกัน กลีบดอกมีลักษณะเป็นหลอด ส่วยปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ

ผล มีขนาดเล็ก มีห้าเหลี่ยม ส่วนปลายมีขนช่วยพยุงให้ลอยไปตกได้ไกลๆ ออกดอกในฤดูหนาว
มักพบตามที่รกร้างทั่วไป ชอบขึ้นตามที่มีแสงแดดมากๆตามทุ่งกว้าง ริมถนน

ส่วนที่นำมาใช้ :
ก้านและใบ

แหล่งที่พบ :
พบได้ทั่วไป

สรรพคุณทางยา :
ก้าน และใบ รสสุขุม ฉุนเล็กน้อย ใช้ฆ่าแมลง ห้ามเลือดแก้แผลที่แมลงบางชนิดกัดแล้วเลือด
ไหลไม่หยุด ใช้ใบสดตำพอกปากแผล หรือ อาจใช้ใบสดตำกับปูนกินหมากพอกแผลห้ามเลือด
ได้หรือใช้ใบสดขยี้ปิดปากแผลเลือด ออกเล็กน้อยได้ดี

ผลทางเภสัชวิทยา :
น้ำต้มสกัดจากใบ และต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา
แต่ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยก ออกจากตัวของกระต่าย น้ำต้มสกัดและผลึกสารที่สกัดได้
จากต้นนี้ ไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อมดลูกที่แยกออกจากตัวของกระต่าย หากนำไปฉีดเข้าช่อง
ท้องของหนูเล็ก พบมีความเป็นพิษเพียงเล็กน้อย

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
นำต้นสาบเสือและใบมาตากแห้งหรือจะใช้ต้นและใบสดก็ได้เช่นกัน จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด
ผสมน้ำในอัตราส่วน สาบเสือแห้งบด 5 ขีด ต่อน้ำ 10 ลิตร (ถ้าใช้สดก็ใช้ในอัตราส่วน สาบ
เสือบด 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 10 10 ลิตร)แล้วคนให้เข้ากันแช่ทิ้งไว้นาน 1 วัน แล้วนำมากรอง
ด้วยผ้าขาวบางก่อนนำน้ำหมักที่ได้ไปใช้ ให้ผสมสารจับใบ เช่น สบู่ แชมพู หรือ ผงซักฟอก
โดยใช้ในอัตราส่วน น้ำหมักสาบเสือ ครึ่งช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำเปล่า 5 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทุกๆ 7 วัน
ในช่วงเย็น


********************************************************************************


ว่านน้ำ

กำจัด ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงวันทอง แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว
มอดตัวป้อม มอดข้าวเปลือกใน เหง้าของว่านน้ำจะมีน้ำมันหอมระเหยชนิด Calamol
aldehyde ซึ่งเป็นพิษต่อ ระบบประสาทของแมลง โดยจะออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง ขับไล่
แมลง และ หยุดชะงักการ ดูดกินอาหารของแมลงศัตรูพืช ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งระบบการสืบพันธุ์
ของแมลง ได้อีกด้วย









ชื่ออื่น :
คงเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี) ทิสีปุตอ
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านน้ำ ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ว่าน น้ำมีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน มีใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบน
เรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ
ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อ
ดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ

ส่วนที่ใช้ :
ราก เหง้า น้ำมันหอมระเหยจากต้น

แหล่งที่พบ :
พบขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ บ่อ บึงที่เป็นดินเลน

สารเคมี :
มีน้ำมันหอมระเหย (Calamus oil) 2-4% ในน้ำมันประกอบด้วย Sesquiterpene เช่น
asarone,Betasalone (มี 70-80 %) และตัวอื่นๆ ยังมี glucoside รสขมชื่อ acorin

สรรพคุณทางยา :
• ราก
- รับประทานมาก ทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ธาตุเสีย
บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ดี
- ในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน acorine มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ อยู่
ในนี้เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้
อย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี ชาวอินเดียใช้ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและเจ็บ
คอ และใช้ปรุงกับยาระบายเพื่อเป็นยาธาตุด้วยในตัว
- เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน
- เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้ Hysteria และ Neuralgia แก้ปวด
กล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง
• เหง้า – ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอม
• น้ำมันหอมระเหยจากต้น

– แก้ชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :
บำรุงธาตุ ใช้เหง้าสด 9-12 กรัม หรือแห้ง 3-6 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1
ถ้วยแก้ว ก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ

แก้ปวดท้องและจุกแน่น ใช้รากว่านน้ำ หนัก 60 กรัม โขลกให้ละเอียด ชงลงในน้ำเดือด 420 ซี
ซี. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

เป็นยาดูดพิษ แก้อาการอักเสบของหลอดลมและปอด

– ใช้รากฝนกับสุรา เจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก เป็นยาแก้ไอ ใช้ชิ้นเล็กๆ ของรากว่านน้ำแห้ง
อมเป็นยาแก้ไอ มีกลิ่นหอมระเหยทางลมหายใจ เป็นยาถอนพิษของสลอด และแก้โรคลงท้อง
ปวดท้องของเด็ก

– ใช้รากว่านน้ำเผาจนเป็นถ่าน ทำผงรับประทานมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม ใช้ใบว่านน้ำสดตำ
ละเอียดผสมน้ำสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ ตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อ ตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้
โรคผิวหนัง เป็นยาขมหอม เจริญอาหาร ขับแก๊ส ช่วยย่อยอาหาร

ในน้ำมันหอมระเหยมีวัตถุขมชื่อ acorin และมีแป้งและแทนนินอยู่ด้วย ทำเป็นยาชง (1 ใน
10) รับประทาน 15-30 ซีซี. หรือทิงเจอร์ (1 ใน 5) รับประทาน 2-4 ซีซี. ขนาดใช้ 1-4
กรัม (ที่มา :
www.samunprai.com)

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่1 นำเหง้าของต้นว่านน้ำ มาบดละเอียด จำนวน 2 ขีด ผสมกัน้ำเปล่า 1 ปี๊บ ชทิ้งไว้ 1 วัน
หรือ จะต้มนานประมาณ 40 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีดพ่น ฆ่าแมลง ก่อนนำไปใช้ให้ผสม
สารจับใบเข้าไปเล็กน้อย ฉีดพ่น ในแปลงพืช ทุกๆ 2 วัน

วิธีที่ 2 นำเหง้าว่านน้ำที่บด ละเอียด จำนวนครึ่งกิโลกรัม ผสมกับขมิ้นบด จำนวน ครึ่งกิโลกรัม
เติมน้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้นาน 2 วัน แล้ว กรองเอาน้ำหมักที่ได้ ไปฉีดไล่แมลงวันในแปลงพืชผัก
และไม้ผล ทั้งยังเป็นการป้องกันหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายพืชผักได้เป็นอย่างดี

วิธีที่ 3 นำเหง้าแห้งมาบดให้เป็นผง คลุกเคล้าให้เข้ากันกับเมล็ดพันธุ์พืชที่แห้งสนิท ในอัตรา
ส่วน เมล็ดพันธุ์ 50 กิโลกรัม ต่อว่านน้ำ 1 กิโลกรัม สามารถ ป้องกันแมลง ในโรงเก็บได้

วิธีที่ 4 เป็นวิธีที่ใช้ในการ ป้องกันแมลงในโรงเก็บ ด้วยการใช้น้ำมันว่านน้ำ หรือชิ้นส่วนของ
เหง้า บดคลุกเคล้าให้เข้ากันกับเมล็ดพันธุ์พืช เช่น เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเหลือง ที่ต้องการเก็บ
ไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลถัดไป วิธีนี้สามารถป้องกันแมลงศัตรูในโรงเก็บอย่างได้ผลดี



***************************************************************************************



สารภี

กำจัดเพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนแตงเทศ ด้วงงวงข้าว และ แมลงในบ้าน
(แมลงสาบ แมลงวัน มด) เมล็ด แก่ของสารภี มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี ส่วน
ในใบ เปลือก และ ลำ ต้น มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงได้เช่นกัน แต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่าการใช้เมล็ด
เป็นพิษทางการสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร

ชื่ออื่น :
สร้อยภี (ภาคใต้) ทรพี (จันทบุรี) สารภีแนน (เชียงใหม่)








ลักษณะทั่วไป :
ต้นสารภีเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เป็นไม้
ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง ขรุขระเล็กน้อย เปลือกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาล แตกกิ่งแน่น
ปลายกิ่งมักห้อยลงลำต้นและกิ่งมียางสีเหลืองหรือขาว ใบรูปไข่ ปลายมนกว้าง บางทีปลายใบ
เว้าลงเล็กน้อย ใบแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกันที่บริเวณกิ่ง โคนใบสอบเรียวแหลมถึงก้านใบ เนื้อ
ใบหนาเกลี้ยงสีเขียว ขนาดความกว้างของใบประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9-12
เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามกิ่งมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาว กลิ่นหอม ตรงกลางดอกมี
เกสรตัวผู้เส้นเล็ก ๆ เป็นวง มีสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลกลมเป็น
รูปกระปุกเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อในมีรสหวาน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3
เซนติเมตร

นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณอาคารบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50
เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 3 ผสมดินปลูก ถ้าปลูกเพื่อประดับ
บริเวณบ้านหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะ สารภีเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มโต
พอสมควร ต้องการแสงแดดอ่อน หรือปานกลาง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย
มีความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและ
ศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี

แหล่งที่พบ :
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และ นิยมนำมาปลูกตามสวน
สาธารณธ หรือ บริเวณวัด

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
ดอก

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ดอกที่เริ่มบานช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน เข้ายาลม บำรุงปอด

** ดอกสารภีเป็นเครื่องยาบำรุงหัวใจชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์เยือกเย็นอ่อนหวาน
ดังนั้นจึงทำให้ชีวิตมีอายุที่ยืนยาวได้เช่นกัน (www.maipradubonline.com)

สารสำคัญ :
ดอกสารภี มีสาร fravonoid ชื่อ itexin และ สารประกอบอื่นๆ เช่น sitosterol,
stigmasterol, campesterol และ สารจำพวก 4-phynyl coumarins อีก 2 ชนิด

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 นำเมล็ดแก่บดเป็นผงแล้วนำมา พ่นบนกะหล่ำปลี เพื่อป้องกันหนอนใยผัก โดยใช้ใน
อัตรา 8-9 กรัมต่อต้น การพ่นควรทำในขระที่ยังมีน้ำค้างเกาะอยู่บนต้น เพราะจะทำให้ผงยาเกาะ
ติดบนต้นกะหล่ำปลีได้ดีขึ้น

วิธีที่ 2 ใช้เมล็ดแก่บดเป็นผงจำนวน 1 กิโลกรัม ละลายในน้ำสะอาด 20 ลิตร คนให้เข้ากันแล้ว
ผสมน้ำสบู่เป็นสารจับใบก่อนนำไปใช้ฉีดพ่นในแปลงผัก

วิธีที่ 3 นำเมล็ดแก่บดเป็นผง อัตรา 300 กรัม แช่ในน้ำมันก๊าด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรอง
เอาน้ำสารละลายที่ได้ไปฉีดพ่นกำจัดแมลงสาบ แมลงวัน และ มด ภายในบ้านเรือน



*************************************************************************************


น้อยหน่า

กำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยหอย หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ด้วง
เต่าทอง แมลงวันทอง ตั๊กแตน และ มวนชนิดต่างๆน้อยหน่ามีความเป็นพิษ ทางการสัมผัส และ
ทางกระเพาะอาหาร ใช้ฆ่าแมลง และกำจัดแมลงได้หลายชนิด โดย เฉพาะ เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล เพลี้ย หอย หนอนกระทู้ หอใยผัก ด้วงเต่าทอง แมลงวันทอง
ตั๊กแตน และ มวนต่าง ๆ

ชื่อพื้นเมือง :
เหนือ นอแน่ มะแน่, ตะวันออกเฉียงเหนือ บักเขียบ. ปัตตานี ลาหนัง, เขมร เตียบ

ลักษณะทั่วไป :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 8 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นก้านเล็กๆ มีผิวเรียบสีเทาอม
น้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตามข้อต้น

ใบ เดี่ยว ใบออกสลับกัน สีของใบเขียวอ่อน รูปใบยาวรี โคนและปลายใบแหลม แผ่นใบบาง

ดอก เดี่ยว ออกตามซอกใบ ห้อยลง สีเหลืองอมเขียว กลีบดอกหนา รูปหอก มี 3 กลีบ

ผล ขนาดใหญ่ เป็นผลชนิด aggregate ผิวผลเขียวอ่อน และแข็ง เมื่อลูกผิวผลสีเหลืองอม
เทาขาว ๆ นิ่ม ผิวผลขระขระเป็นร่อง ๆ เมล็ดสี ขาวอมน้ำตาล มีเนื้อสีขาวค่อนข้างแข็งหุ้ม เมือ
ผลสุก เมล็ดเปลี่ยนสภาพเป็นสีดำ ผิวมัน เนื้อที่หุ้มนิ่ม และมีรสหอมหวาน

ส่วนที่ใช้ :
ใบสด เนื้อในสีขาวของเมล็ดแก่ ผลสุก

การขยายพันธุ์ :
โดยการเพาะเมล็ด ติดตา เสียบยอด

แหล่งที่พบ :
เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ










สารที่สำคัญ :
ในใบและเมล็ดมีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ anonaine, 1-benzyl-isoquinoline, bisbenzl-
isoquinoline ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง

เมล็ด มีสารที่เป็นพิษทางประสาทสัมผัสและทางกระเพาะอาหารของแมลง สามารถใช้เป็นสาร
ฆ่าหรือขับไล่แมลง ซึ่งสารพิษนั้นจะเข้าไปขัดขวางการทำงาของกระเพาะอาการของแมลง และ
ออกฤทธิ์กับแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสี
เขียว เพลี้ยหอย ตั๊กแตน และมวนชนิดต่างๆ

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ใบสด
- ใช้ใบสด 1 กำมือ (ประมาณ 15 กรัม) ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าว ขยี้ให้ทั่วศีรษะใช้
ผ้าคลุมโพกไว้ 2 ชั่วโมง แล้ว ใช้หวีสางเหาออก สระผมให้สะอาด
- ใช้ใบ 10–12 ใบ หรือเมล็ด 10–12 เมล็ด ที่กระเทาะเอาแต่เนื้อ ตำให้ละเอียด เติมน้ำมัน
พืช ใช้อัตราส่วน 1/2 ทาชะโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 1/2–1 ชม. ขณะทายาให้ผ้าโพกกันน้ำยา
ไหลเข้าตา จากนั้นสระออกให้สะอาด ทำติดต่อกัน 2–3 วัน วันละหลาย ๆ ครั้ง ตัวจะตาย ไข่
จะฝ่อ

** ข้อควรระวัง **

• การใช้สมุนไพรอย่าใช้มาก โดยเฉพาะเมล็ดจะมีฤทธ์แรงกว่าใบ
• สมุนไพรใช้มากน้อยกว่ากำหนดได้เล็กน้อย ถ้าผมยาวหรือสั้น
• อย่าให้น้ำยาเข้าตา ตาจะอักเสบ
• อย่าชะโลมยาไว้เกิน 1 ชม.
• ต้องสระออกให้หมด

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1. การใช้เมล็ด นำเมล็ดน้อยหน่า แห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด แล้วแช่น้ำ 10 ลิตร นาน
12-24 ชม. แล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ประโยชน์ ก่อนนำไปใช้ควรผสมสารจับใบ เช่น น้ำสบู่
หรือ ผงซักฟอก ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วฉีดพ่นทุก ๆ 6-10 วัน เวลา เช้าและเย็น

วิธีที่ 2. การใช้ใบ ใช้ใบสด 2 กก. ตำให้ละเอียด แช่ในน้ำ 10 ลิตร นาน 12–24 แล้วกรอง
เอาน้ำมาใช้ประโยชน์ ก่อนนำไปใช้ให้ผสม ควรผสมสารจับใบ เช่น น้ำสบู่ หรือ ผงซักฟอก
ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นทุก 610 วันตอนเย็น

** นอกจากน้อยหน่าแล้ว น้อยโหน่งซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกันก็ใช้ได้ดีเช่นกัน


*******************************************************************************



ดีปลี

กำจัดแมลงศัตรูในยุ้งข้าว ด้วงมอดข้าว หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผักน้ำมัน จากผลแก่ของดีปลีมี
ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด แมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่าง ดี โดยเฉพาะแมลงศัตรูข้าวในยุ้ง
ข้าว ด้วงมอดข้าว หนอนใยฟัก หนอนกระทู้ผัก

ชื่อท้องถิ่น ; ประดงข้อ พญาไฟ(ไทย) ดีปลีเชือก(ใต้)








ลักษณะทั่วไป :
ดีปลีเป็นไม้เลื้อย มีรากออกตามข้อสำหรับเกาะและพาดพันสิ่งอื่นได้ เถาเป็นไม้เนื้อแข็งมีข้อ
โป่งนูน ส่วนของลำต้นค่อนข้างกลมและเรียบ แตกกิ่งก้านสาขามาก

ใบ – เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ตัวใบคล้ายรูปไข่ขอบขนาน หรือรูปไข่เรียว ปลายใบแหลม
โคนใบมักมนหรือแหลม เนื้อโคนใบสองข้างไม่เท่ากันดูเบี้ยวๆ ใบหนาและมันคล้ายหนัง

ดอก – เป้นช่อทรงกระบอก ดอกจะตั้งขึ้น คล้ายคลึงกับดอกชะพลู แต่จะบาวกว่า ดอกออกตรง
ส่วนยอดของเถา หรือตามง่ามใบ ดอกกลมนาวประมาณ 1 นิ้ว ดอกอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะ
กลายเป็นสีส้ม

ผล – มีขนาดเล็กกลม ฝังตัวแน่นอยู่กับแกนช่อดอกที่อวบน้ำ เมื่ออ่อนสีเขียว แก่จัดเปลี่ยนเป็น
สีแดง มีกลิ่นฉุนจัด

การขยายพันธุ์ :
ด้วยวิธีปักชำเถา

ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ :
ผล ราก เถา

สารสำคัญ :
ผล แก่มีอัลคาลอยด์ piperine 6 % chavicine และ น้ำมันหอมระเหย 1 % ซึ่งมีฤทธิ์ ขับ
ลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย ผลที่ยังมีสีเขียวอยู่เป็นระยะที่มีน้ำมันหอมระเหยมาก
ที่สุด

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ผล ใช้ขับระดู แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืด แก้ไอ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้หลอดลม
อักเสบ แก้โรคนอนไม่หลับ แก้ปวดกล้ามเนื้อ

- ใช้ดีปลี 2 ผล ฝนกับน้ำมะนาวและแทรกเกลือ 1–2 เม็ด ใช้ดื่มเป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้อง
เฟ้อ แก้ท้องร่วง ขับเสมหะ

เถา ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ปวดท้อง

ราก เป็นยาแก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต และ รักษาโคลำไส้ใหญ่อักเสบ

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้ นำผลดีปลีแห้ง หนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ไปอบในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แล้ว
นำไปแช่ ในแอลกอฮอล์ 1.5 ลิตร จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียด แล้วหมักค้างคืนไว้ 1 คืน ก่อน
นำไปใช้ให้กรองกากออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปผมสารจับใบก่อนฉีดพ่นในแปลงพืช


*********************************************************************************


บอระเพ็ด

กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคข้าวตายพราย โรคยอดข้าวเหี่ยว โรค
ข้าวลีบ บอระเพ็ด มี รสขม สามารถใช้ ได้ดีกับนาข้าว เมื่อดูดซึมเข้าไปในพืชทำให้แมลงไม่มา
ทำลาย รักษาโรคยอดข้าวเหี่ยว โรคข้าวลีบ และ โรคข้าวตายพรายได้เป็น อย่างดี

ชื่อท้องถิ่น : เจตมูล (ใต้) จุงจะลิง (เหนือ) เครือเขาฮอ (อีสาน)









ลักษณะทั่วไป :
บอระเพ็ดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยเนื้ออ่อน แต่ถ้าอายุมากเนื้อของลำต้นอาจแข็งได้ เถาอ่อนผิว
เรียบสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลอมเขียว ผิวขรุ ขระ เป็นปุ่มๆ เถากลมโตขนาดนิ้วมือ ประมาณ 1-
1.5 ซม. ยางมีรสขมจัด ขึ้นเกาะต้นไม้อื่นมักจะมีรากอากาศคล้ายเชือกเส้นเล็กๆ ห้อยลงมา
เป็นสาย ใบเดี่ยวเป็นแบบสลับใบเป็นรูปไข่ป้อม โคนใบหยักเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โดยปกติปลาย
ใบจะแหลม มีเส้นใบ 5-7 เส้นที่เกิดจากฐานใบขอบทั้งหมด ขอบใบเรียบขนาดกว้าง 3.5-10
ซม. ยาว 6-13 ซม. แยกต้นตัวผู้ ตัวเมีย ดอกออกเป็นช่อตาม กิ่งแก่บริเวณซอกใบหรือปลาย
กิ่งดอกขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว แดงอมชมพูเขียวอ่อนเหลืองอ่อน บอระเพ็ดมีลักษณะคล้าย
ชิงช้าชาลีมาก ต่างกันที่เถามีขนาดใหญ่กว่า มีปุ่มมากกว่ามีรสขมกว่าและไม่มีปุ่มใกล้ฐานใบ

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ :
เมล็ด เถาแก่

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ :
เถา

สารสำคัญ :
มีสารรสขมชื่อ picroetin นอกจากนี้ยังมีสารจำพวก diterpenoid ชื่อ tinosporan ซึ่งใกล้
เคียงกับ columbin ที่สกัด ได้จากเถาและราก นอกจากนี้ยังพบสารประเภท amine 2 ชนิด คือ

- N-trans-feruloyl tyramine N-cis-feruloyl tyramine และ
- phenolic glucoside ชื่อ tinoluberide

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
++ ใช้เถาสดหั่นครึ่งแก้ว ดองเหล้าดื่มวันละ 2- 4 ช้อนชา ก่อนอาหาร เช้า–เย็น เป็นยาเจริญ
อาหารบำรุงโลหิต แก้ตานขโมย
แก้ไข้ ลดความร้อน

++ เถาโตเต็มที่ตากแห้งบดเป็นผงชงน้ำร้อนดื่ม 1 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า–เย็น รักษาโรค
เบาหวาน

ลำต้น และ ใบ น้ำที่สกัดจากลำต้นและใบลดน้ำตาลในกระแสเลือด

++ ลำต้นทำเป็นยาชงดื่มขับพยาธิ ทำให้อาเจียน โดยใช้ทั้งต้นต้มเอาน้ำมาดื่ม

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1. นำเถา 1 กิโลกรัมมาบด หรือทุบแช่น้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำหมักมาฉีดพ่นฆ่า
แมลงได้

วิธีที่ 2. ใช้เถาบอระเพ็ด 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็กๆ ทุบให้แหลก แช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง
แล้วเอาน้ำไปฉีดในแปลงเพาะกล้า

วิธีที่ 3. ใช้เถาบอระเพ็ด 1 กก. สับหว่านปนในแปลงเพาะกล้าขนาด 4 เมตร

วิธีที่ 4. ใช้เถาบอระเพ็ดตัดเป็นท่อนๆ ขนาด 5 นิ้ว ปริมาณ 10 กก. หว่านในนาข้าว พื้นที่ 1
ไร่ หลังปักดำหรือหว่านข้าวแล้ว 7 วัน และทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน ใช้ควบคุมหนอนกอ
หนอนกระทู้ หนอนกระทู้และ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี
 


**********************************************************************************


ลางสาด

กำจัดหนอนหลอดหอม และ แมลงในแปลงผัก ลางสาด จะมีรสขมอยู่ที่เมล็ด ซึ่งมีสาร Acid
alkaloid ที่มีความเป็นพิษต่อ แมลง และ หนอนชนิดต่างๆในแปลงผัก สามารถนำไปใช้ควบ
คุมและกำจัดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหนอนหลอดหอม







ลักษณะทั่วไป :
ลางสาดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นแบบขนนกออกสลับกัน ดอกออก
เป็นพวงสีเหลือง ผลสีเหลืองอ่อนรูปร่าง กลมหรือรูปไข่ เปลือกผลบางมีขนนิ่ม มียางสีขาว ผล
ออกตามลำต้นหรือกิ่งที่แก่ เนื้อหุ้มเมล็ด ลักษณะใส ผลหนึ่งมีประมาณ 5 เมล็ด

การขยายพันธุ์ :
ใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนปลูก

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ใบ แก้บิด

เมล็ด ขับพยาธิ เปลือกของผล สดหรือแห้ง 10 ผล หั่นคั่วชงน้ำดื่ม กินครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 4-
5 ครั้งแก้ท้องร่วง ท้องเดิน หากนำเปลือกมาเผาเป็นควันจะขับไล่ยุงได้

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้นำเมล็ดลางสาด 0.5 กิโลกรัม บดให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1
คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำผสมสารจับใบ ไปฉีดพ่นตามแปลงผักที่พบการระบาดของหนอน
กระทู้หอม และ หนอนผีเสื้อชนิดอื่นๆ


**************************************************************************************


ละหุ่ง

ป้องกันกำจัด ปลวก แมงกะชอน ไส้เดือนฝอย

ละหุ่ง เป็น พืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เช่น แมงกะ ชอน
หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย เป็นต้น การ นำเมล็ดละหุงมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรู พืชนั้น เหมาะที่
จะนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชนั้น เหมาะที่จะนำมาใช้กำจัด แมลงศัตรูพืชในโรงเก็บ แต่ไม่
เหมาะที่จะนำมาใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการฉีดพ่น เพราะสารสกัดจากเมล็ดละหุงมี
น้ำมันมากหากนำไปฉีดพ่น ในแปลงผัก จะมีผลทำให้ใบผักไหม้ได้ เหมาะสำหรับป้องกันกำจัด
ปลวก แมงกะชอน ไส้เดือน ฝอย หนู แมลงในโรงเก็บ

ชื่ออื่น :
มะโห่ง, มะโห่งหิน (ภาคเหนือ), ปี่มั้ว (จีน)










ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นพรรณไม้ล้มลุก ในประเทศไทยมีสองสายพันธุ์ คือ พันธุ์ละหุ่งขาว และ ละหุ่งแดง ละหุ่ง
ขาวจะมีลำต้นและก้านใบเป็นสีเขียว ส่วนละหุ่งแดงจะมีลำต้นเป็นสีแดง

ใบ-เป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นหยักแหลมคล้ายฝ่ามือ เป็นแผ่นกว้าง

ดอก – ออกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดของลำต้น หรือ บริเวณง่ามใบ ดอกเป็นสีแดง

ผล - มี 3 พู และ มีหนาม ภายในผลจะมีเมล็ด เปลือกของเมล็ดจะเป็นจุดสีน้ำตาลอมเทา เนื้อ
ในมีสีขาว

การขยายพันธุ์ :
โดยการใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย

การแพร่กระจายพันธุ์ :
ไทย ลาว กัมพูชา อินเดีย จีน และ พม่า

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
เมล็ด ใบ และ ราก

สารสำคัญ :
มีโปรตีนประกอบ ด้วยglobulin,albumin,nucleoalbumin, glycoprotein และ ricid
ซึ่งเป็น toxalbumin มีอัลคาลอยด์ ricinine นอกจากนี้เมล็ดยังมีสาร Ricin เป็นโปรตีน ที่มี
พิษ เป็นพิษต่อคนและสัตว์เคี้ยวเอื้อง แต่ไม่เป็นพิษต่อสัตว์ปีก

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ใบ ต้มรับประทาน ขับน้ำนม ขับเลือด ขับลม แก้ปวดท้อง และ ถ้าปิ้งไฟอ่อนๆ ประคบแก้ปวดช้ำ
บวมได้

ราก สุมไฟให้เป็นถ่าน แก้พิษไข้เซื่องซึม ไข้ที่มีพิษร้อน แก้เลือดลม และ ขับน้ำนม

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 ปลูกต้นละหุ่งเป็นแนวรอบสวนจะ ช่วยป้องกันหรือขับไล่ศัตรูพืช เช่น แมงกะชอน ปลวก
หนู หรือ ปลูกหมุนเวียนในไร่ เพื่อป้องกันกำจัดการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย

วิธีที่ 2 นำเมล็ดละหุ่งบดให้ละเอียด แล้วคั้นเอาส่วนของน้ำมันมาคลุกเมล็ดถั่วเขียว สามารถ
ยับยั้งการวางไข่ และการฟักไข่ของด้วงถั่วเขียวได้ 100 % และ สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
ได้นานมากกว่า 6 เดือน โดยไม่มีศัตรูพืชรบกวนและน้ำมันละหุ่งจำนวน 5 ซีซี. คลุกเมล็ดข้าว
โพดหรือข้าวฟ่าง จำนวน 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันการเข้ามาทำลายของด้วงงวงข้าว ด้วง
งวงข้าวโพด มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวสารได้ผลดี


***************************************************************************************



ต้นรัก

กำจัด เพลี้ยอ่อน และ ตัวหนอนกินใบชนิดต่างๆ

ยาง ของต้นรักที่ได้จาก ใบ ดอก และ ผล จะเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทั้งในคน และสัตว์
รวมทั้งแมลงและหนอนต่างๆ ด้วย ซึ่งสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดแมลง ปะเภทเพลี้ยชนิด
ต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน และ หนอนกัดกินใบได้







ลักษณะทั่วไป :
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5–3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขนใบ เป็นใบ
เดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6– 8 ซ.ม. ยาว 10–14
ซ.ม. เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น

ดอก - มีสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติด
กัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 ซม. มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สันเกสรตัวผู้ 5 อัน ออก
ดอกตลอดปี

ผล - เป็นฝักคู่ กว้าง 3–4 ซม. ยาว 6–8 ซม. เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมาก
มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง

ถิ่นกำเนิด :
เอเซียกลาง อินเดีย

การขยายพันธุ์ :
ด้วยเมล็ด, ปักชำกิ่ง

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
เปลือก และ ดอก

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
เปลือก - แก้บิด ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน
ดอก - ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ แก้หวัด แก้หืดหอบ

** ส่วนที่เป็นพิษ น้ำยางจากส่วนต่างๆ ของต้น ถ้าถูกผิวหนังจะระคายเคือง เข้าตาจะทำให้
อักเสบ และ ยังมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้ นำใบ ดอก และ ผลสด มาตำหรือบดรวมกัน แล้วนำมาคั้นเอาเฉพาะน้ำเข้มข้นที่ได้จาก
ต้นรัก คั้นได้เท่าไหร่ให้ตวงใส่ในภาชนะตวง (อะไรก็ได้) ถือ เป็น น้ำคั้นต้นรัก 1 ส่วน จากนั้น
นำไปผสมกับน้ำสะอาด 10 ส่วน ผสมสารจับใบแล้วนำไปฉีดพ่นในแปลงพืชผักได้ทันที จะ
สามารถป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ยและหนอนกัดกินใบได้


*********************************************************************************


ยี่โถ

กำจัดด้วง แมลงปีกแข็ง มด และแมลงปากกัด ในเปลือกละเมล็ดของยี่โถจะมีสาร Glycocode
neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงปากกัดทุกประเภท มดชนิดต่างๆ ด้วงและแมลงปีก
แข็ง รวมทั้งหนอนกัดกิน ใบอีกหลายชนิด

ชื่อพื้นเมือง : ยี่โถฝรั่ง











ลักษณะทั่วไป :
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-5 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่โคนต้น ทุกส่วน
ของ ต้นมียางใส กิ่งอ่อนมีสีเขียว เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ดอกมีหลายสี มีทั้งสีชมพู ขาว แดง
เหลือง ให้ดอกตลอดทั้งปี เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นได้ในดินทั่วไปที่มีการระบายน้ำดี มี
ความชื้นสูง เป็นไม้ชอบแดด ควรปลูกไว้กลางแจ้งหรือที่ๆ มีแสงแดดตลอดวัน

ใบ - เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง ใบรูปแถบหรือรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 เซนติ
เมตร ยาว 15-17 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้าง
หนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบเด่นชัดทั้งสองด้าน

ดอก - สีชมพู ขาว แดง เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเชิงประกอบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 20-50
ดอก มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน พันธุ์ดอกลามีหลายสี เช่น สีชมพู ขาว แดง เหลือง ส่วนพันธุ์
ดอกซ้อนสีชมพูเข้ม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ดอกลา ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง
8-12 เซนติเมตร

ผล - ผลแห้งเป็นฝัก เมื่อแก่แตกแนวเดียว เมล็ดแบน รูปรี มีขนละเอียดคลุม

การขยายพันธุ์ :
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง

ถิ่นกำเนิด :
เมดิเตอร์เรเนียน เคบเวอดี ญี่ปุ่น ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย น้ำพอควร ความชื้นสูง กลางแจ้ง แดดจัด

สารสำคัญ :
ทั้งต้นมีสาร คาร์ดิแอคกลัยโคไซค์ ชื่อ nerin, oleandrin, folinerin ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิด
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน ชีพจรเต้นช้า ม่านตาขยาย ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ชัก และ
อาจตายได้

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
เปลือกและใบ
- ใช้ตำผสมกับนำมันทาแก้แผลผุพอง น้ำมันจากเปลือกและราก
- ทาแก้โรคผิวหนัง กาก เกลื้อน และโรคเรื้อน

*** ใบเป็นพิษ มีสารที่มีฤทธิ์แรงมากในการใช้ปรุงยา ถ้าใช้เกินขนาดเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เป็นยาเบื่อหนูและฆ่าแมลง ส่วนราก เปลือกและเมล็ด เป็นพิษต่อหัวใจ มีฤทธิ์กดการหายใจ ใบ
ทำให้คลื่นไส้อาเจียน

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
มีวิธีการใช้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

วิธีที่ 1 ให้นำดอกและใบยี่โถจำนวน 1 กิดลกรัม มาบดให้ละเอียด นำไปแช่ในน้ำครึ่งปี๊บ นาน 2
วัน กรองเอากากออก แล้วนำน้ำกรองที่ได้ไปฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนได้หลายชนิด

วิธีที่ 2 นำใบและเปลือกไม้ยี่โถ ไปแช่น้ำอย่างน้อย 30 นาที แล้วนำน้ำแช่ที่ได้ไปฉีดพ่นมด
และแมลงที่รบกวนในสวนไม้ผล

วิธีที่ 3 นำใบยี่โถหั่นฝอย จำนวน 30 กรัม นำมาคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง จำนวน 1
กิโลกรัม จะทำให้เก็บเมล็ดถั่วเหลืองได้นานถึง 6 เดือน โดยไม่มีแมลงศัตรูในโรงเก็บเข้ารบกวน


**********************************************************************************


ยูคาลิปตัส

กำจัดหนอนและแมลงวัน

ยูคาลิปตัส ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประเภท ตัวหนอน และ แมลงวัน โดยใช้ในส่วนของ
ใบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัด แมลงได้เป็นอย่างดี







ทางพฤกษศาสตร์ :
ลักษณะทั่วไป :
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 24-30 ม. และอาจสูงได้ถึง 50 ม. ไม่ผลัดใบ เป็นพันธุ์ไม้โต
เร็ว ถ้าปลูกในประเทศไทยจะมีรูปทรงสูงเพรียว ลำต้นเปลาตรงมีกิ่งก้านน้อยรูปทรง (เรือนยอด)
เป็นรูปทรงกรวยสูง (ปลูกในประเทศไทย)

ใบ - เดี่ยว เรียงเขียนสลับ ใบรูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมหอก

ดอก - มีขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบไกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อขนาดเล็กสีขาว ไม่มีกลิ่น ออกดอก
เกือบตลอดปี

ผล - เป็นแบบแห้งแข็งแล้วแตกอ้า มีขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 1 มม.)
ผลแก่ - เกือบตลอดปี

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ใบ - ใบมีน้ำมันยูคาลิปตัส ใช้สูดดมแก้หวัดคัดจมูก ทาถูนวด แก้ปวด บวมช้ำ
ราก - ใช้รากอ่อนฝนกับน้ำหรือเคี้ยวกินสดๆ แก้ไอ

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
วิธีใช้ :
นำใบยูคาลิปตัสมาบดให้ละเอียด แล้หมักกับน้ำ ในสัดส่วน ใบยูคาลิปตัส จำนวน 2 กิโลกรัม
ต่อน้ำ 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้ว กรองอาส่วนของสารละลาย ไปใช้ในการฉีดพ่น หรือ เท
ราดบริเวณที่มีหนอน หรือ แมลงวันเข้ามารบกวน


*********************************************************************************


ประทัดจีน

กำจัดเพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อ และ แมลงในแปลงผัก

ประทัด จีนมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัด เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ หนอนชอน ใบ
หนอนแตงเทศ ด้วงเต่า และ ไรได้ผลดี มีสารคลาสซิน เป็นสารออกฤทธิ์ พบ มากในส่วนของ
ลำต้น ส่วนใบและ รากจะมีสารชนิดนี้อยู่น้อย ซึ่งสารคลาสซิ นจะออกฤทธิ์แบบสัมผัสตายและ
ยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร หากแมลงกัดกิน เข้าไป หากนำมาใช้ในการฆ่าตัวอ่อน
ของแมลงดังกล่าวจะให้ผลดีอย่างยิ่ง

ชื่อท้องถิ่น :
ประทัดใหญ่ ประทัด ประทัดทอง ประทัดจีน








ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1.5-3 เมตร เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะแตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่ม ลำต้น
เป็นข้อปล้อง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียวยาว เล็ก เรียงสลับตามข้อรอบๆ ลำต้น ใบสี
เขียว เส้นใบสีแดง ดอกออกเป็นช่อสีแดงสด ที่ปลายกิ่ง ผล เป็นผลกลุ่มผลย่อยรูปไข่กลับสี
แดงคล้ำ

การขยายพันธุ์ :
โดยการแยกหน่อ

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ :
รากและเนื้อไม้

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาขมช่วยย่อยอาหารและเจริญอาหาร

วิธีการปรุงยา :
ต้มเนื้อไม้จำนวน 4 กรัม ด้วยน้ำเปล่า 4 แก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว กินครั้งละ เศษ 1 ส่วน
4 แก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร แก้ไข้มาลาเรีย


การนำมาใช้เพื่อการเกษตร :
วิธีที่ 1 นำต้นประทัดจีนสดมาหั่นเป็นชิ้น เล็ก ๆ จำนวน 1 ขีด ไปต้มกับน้ำเปล่า จำนวน 1 ลิตร
จนเดือดนาน 30 นาที จากนั้นกรองเอาน้ำต้มที่ได้พักไว้ให้เย็น ผสมกับน้ำสบู่เหลวจำนวน 30
กรัม แล้วนำไปผสมกับน้ำสะอาดจำนวนสามเท่าตัวให้เจือจาง ก่อนนำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง
ในแปลงพืช

วิธีที่ 2 นำต้นประทัดจีนสดหั่นเป็นชิ้น เล็ก ๆ จำนวน 5 ขีด น้ำสบู่เหลว จำนวน 5 ขีด และ น้ำ
เปล่าจำนวน 20 ลิตร ผสมเข้าด้วยกัน แช่ทิ้งไว้นาน 2 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ผสมกับ
น้ำจำนวน 20 ลิตร ก่อนนำไปฉีดพ่น วิธีนี้จะได้สารละลายที่มีประสิทธิภาพ ต่อการกำจัดแมลง
ประเภทปากดูดโดยตรง โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนและมดดำ

วิธีที่ 3 นำต้นประทัดจีนสดหั่นเป็นชิ้น เล็ก ๆ จำนวน 5 ขีด ต้มในน้ำเปล่า จำนวน 10 ลิตร ให้
เดือดชั่วครู่ แล้วยกลงตั้งทิ้งไว้ 1 วัน เมื่อครบกำหนด ให้กรองเอากากทิ้ง แล้วนำน้ำสกัดที่ได้ไป
ละลายกับน้ำสบู่เหลว จำนวน 2 ขีด และ น้ำอีก 3 ลิตร แล้วเติมน้ำเปล่าเข้าไปเจือจางอีก
ประมาณ 5 ปี๊บ ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงพืช



*************************************************************************


ใบพลู

กำจัดปลวก

คุณลุกมัน สา และ สมาชิก*1677 จ.นราธิวาส ได้สอบถามการปราบตัวปลวกที่เข้ามาทำลาย
ต้น ยางพารา ว่าเป็นวิธีการปราบอย่างไรและจะป้องกันอย่างไร



http://www.oknation.net/blog/halfMoon/2007/10/02/entry-1





ทีมงานร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด 3 จว.ภาคใต้ ได้ประสานคุณต่วนมะ ต่วนกือจิ ปราชญ์
ชาวบ้าน ต.เกาะจัน อ.มายอ จ.ปัตตานี ตอบคำถามนี้ว่าสาเหตุที่ปลวกมากัดกินต้นยางพารานี้
มาจากเจ้าของสวนยางพารา ใช้ปุ๋ยเคมี เป็นประจำทำให้พื้นดิน เหมาะสมในการทำรังปลวก จึง
ทำให้ปลวกมาอยู่และทำลายต้นยางพารา โดยปลวกจะกัดกินตั้งแต่รากไปจนถึงลำต้น

วิธีแก้ ให้นำน้ำใบพลู ไปราด จะทำให้ปลวกจะค่อยๆหายไป วิธีนี้คุณต่วนมะ เล่าว่าเป็นวิธีที่ดีที่
สุด และให้บำรุงดินและต้นยาง โดยปุ๋ยชีวภาพ พด.3 เพื่อจะไม่ปลวกระบาดไปต้นอื่นๆ


***********************************************************************************


น้ำเต้า

กำจัดเพลี้ยแป้ง

น้ำเต้าผลกลม มี คุณสมบัติทางยาที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราดำ กำจัดเพลี้ยแป้งในมะม่วง
และถั่วฝักยาว และอื่นๆ โดยมีวิธีการนำมาใช้งาน ดังนี้



สูตรที่1 : นำเอาเนื้อในผลแก่จัดของน้ำเต้าจำนวน 1 กิโลกรัม คั้นเอาเฉพาะน้ำกรองด้วย
ตาข่ายเขียวและผ้าขาวบางจากนั้นนำไปผสมกับ น้ำเปล่าจำนวน 5 ลิตร นำไปใช้งานในอัตรา
ส่วน 1 ลิตรผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรทำการฉีดพ่นเพื่อกำจัดราดำและเพลี้ยในถั่วฝักยาว

สูตรที่2 : นำน้ำผงซักฟอกที่ใช้ซัก ผ้า(น้ำแรก)จำนวน 10 ลิตรผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรนำ
ไปฉีดพ่นในช่วงที่มีอากาศเย็น 1-2 ครั้งสามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้

สูตรที่3 : ใช้น้ำผงซักฟอกจำนวน 100 ซีซี.ผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตรแล้วนำไปผสมกับน้ำ
ของน้ำเต้าที่กรองแล้วจำนวน 1 ลิตร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชได้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านคุณพ่อทอง สิงห์สุขุม ต.หนองพอก อ.หนองพอก
จ.ร้อยเอ็ด


*********************************************************************************


หัวกลอย

กำจัดเพลี้ยแป้ง

ในหัวกลอยจะมีสาร พิษที่ชื่อว่า “ไดออสคารีน” ทีเป็นพิษต่อสิ่งมีชีงวิตทุกชนิด จึงเป็นการ
เหมาะที่จะหัวหลอยมาหมักเพื่อให้กำจัด แมลงทางการเกษตร โดยเฉพาะการมาใช้ใน การกำจัด
เพลี้ยแป้ง ซึ่งให้ผลดีชะงัด

การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพจากหัวกลอย :
วิธีการทำ
- หัวกลอยดิบ จำนวน 10 กิโลกรัม สับเป็นชิ้นเล็กๆบางๆ ใส่ในถัง ใส่น้ำพอดีท่วมหัวกลอย
หมักไว้เป็นเวลา 3 วัน จะได้น้ำหมักชีวภาพจากกลอยเป็นสีขาวข้น

ประโยชน์และการนำไปใช้
-ใช้เพื่อขับไล่เพลี้ยแป้งโดยเฉพาะ และฉีดพ่นเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาดในแปลงพืช ในอัตราน้ำ
หมักกลอย 1 ส่วน ผสมกับน้ำเปล่า 1 ส่วน

***ฉีดพ่นในตอนเย็นช่วงที่ไม่มีแดด


http://www.rakbankerd.com/kaset/view.php?id=476&s=tblplant








http://www.oknation.net/blog/chabatani/2010/12/20/entry-1


************************************************************************************



กระทกรก

กำจัดด้วงถั่วเขียว

กระทกรกเป็นไม้ เถาเลื้อยเนื้ออ่อน อายุฤดูเดียวหรือหลายปีมีระบบรากแก้ว มีมือเกาะและ เลื้อยพันต้นไม้อื่นๆ หรืออิงอาศัย มือ
เกาะ มีความยาวมากกว่า 5 มม. มีขนอ่อน สีขาวคลุมทั่วต้นผิวเครือสีเขียวมีขนปกคลุ

ชื่อไทย : กระทกรก

ชื่ออื่นๆ : ผักแคบฝรั่ง(เหนือ) เครือขนตาช้าง(ศีรสะเกศ) ตำลึง ผรั่ง(ชลบุรี) เถาเงาะ เถาสิงโต(ชัยนาท) กระโปรงทอง(ใต้) ละ
พุ บาบี(มลายู-นราธิวาส-ปัตตานี) หญ้ารกช้าง(พังงา) ผักขี้หิด หญ้าถลกบาตร รก เล่งจู ก้วย เล้งทุงจู (จีน)








กระทกรก หรือ บักหิงห่าง หรือ เงาะป่า
http://navithaifruit.blogspot.com/2011/01/blog-post_21.html


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ล้มลุก
ลำต้น - แตกแขนงทอดราบไปตามพื้นดิน ปลายกิ่งมักชูตั้งขึ้น สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นมีขนประปราย

ใบ - เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีมองคล้ายใบตำลึง มีแผ่นใบเว้าเป็รน 3 แฉก สองแฉก ล่างอาจแหลมหรือมน ส่วนแฉกบน
ปลายแหลมเป็นรูปใบที่สวยงาม กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5.5 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักเล็กน้อย มีจักเป็น
รูปสามเหลี่ยมกลางแผ่นใบทั้ง 2 ข้าง เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ที่โคนใบเห็นไม่ชัดเจน อีกคู่หนึ่งเห็นชัด เหนือขึ้นไปมีเส้นแขนง
ใบข้างละ 4 เส้น

ก้านใบ - สั้นหรือไม่มี

ดอก - เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ยอด กว้างประมาณ 2 ซม. ก้านช่อดอกยาว 4-6 ซม. โคนช่อมีใบประดับรูปรี
เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4-5 ใบ ชั้นนอกโคนติดกัน ชั้นในเรียงสลับกับชั้นนอก อยู่โดยรอบฐานดอก ที่ขอบใบประดับมีขน ใบ
ประดับชั้นนอกจะใหญ่ขึ้นเมื่อดอกโรย

ดอกวงนอก - เป็นดอกเพศเมีย มี 8-10 ดอก

ดอกวงใน - ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ขนาดเล็กกว่าและมีจำนวนมากกว่า กลีบดอกวงนอกสีเหลืองติดกันเป็นแผ่น กว้าง 3- 4 มม.
ยาว 0.8-1 ซม. โคนติดกันเป็นหลอดสั้นมาก ปลายแยกเป็น 3 แฉก ดอกวงในกลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 5 แฉก ที่ขอบแฉกมีขน รอบๆ ดอกวงในมีใบประดับบางใส รูปท้องเรือปลายแหลมแทรกอยู่

ผล - เกิดจากดอกวงนอก ค่อนข้างกลม ขนาด 2-4 ซม. รูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงเจริญเป็นร่างแหคล้ายมีขนคลุมผล เมื่ออ่นมีสี
เขียว ผลแก่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม เมื่อแก่จะแตกออกเป็นสามซีก ปลายยอดผลมีเยื่อสีขาว รูปถ้วย โคนที่ติดกัน
กับฐานเรียวแหลมเป็นสามเหลี่ยม มีเนื้อนุ่มสีขาวหุ้มและขรุขระ

เมล็ด - เล็ก สีดำ เป็นมัน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. มีเนื้อหุ้มเมล็ด ลักษณะคล้ายเม็ดแมงลัก รสชาติเปรี้ยว
อมหวาน

ประโยชน์ของกระทกรก :
ด้านอาหาร :
ใช้ส่วนของยอดอ่อนทานกับน้ำพริกจะได้ รสชาติที่อร่อย ส่วนเมล็ดในผลแก่ใช้ทานสดได้ แก้กระหายน้ำ

ด้านการเกษตร :
เนื้องจากในต้นของกระทกรกนั้นมีสารพิษชื่อ Cyanpgenetic glycosides สามารถนรำมาประยุกต์ใช้ฆ่าและป้องกันแมลงศัตรู
พืชได้ โดยเฉพาะแมลงศัตรูถั่ว อย่างด้วงถั่วเขียว ที่สารพิษในกระทกรกจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัวของไข่แมลงด้วงถั่วเขียว

วิธีการใช้ :
โดยจะใช้ทั้งต้นตำคั้นน้ำแล้วผสมน้ำคั้นที่ได้กับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 20 ลิตร ฉีดพ่น หรือจะใช้ผสมกับสมุนไพรกำจัดแมลงชนิด
อื่น ก็จะย่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้เป็นอย่างดี

ฤดูกาลให้ผลผลิต :
ออกดอกออกผลตลอดปี

การขยายพันธุ์ :
ใช้ส่วนของเมล็ดหรือชำยอด


**********************************************************************************


พริกไทย

กำจัดแมลง

พริกไทย : มีรสเผ็ดร้อน เป็นสารที่เกิดอันตรายต่อสัตว์ขนาดเล็ก จึงสามารถป้องกันหนอนและแมลงศัตรูพืชได้แทบทุกชนิด





วิธีการนำพริกไทยมาใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช :
นำเมล็ดพริกไทยมาตำคั้นเอาน้ำ หรือต้มเอาน้ำ หรือกลั่นเอาน้ำ เมื่อได้ความเข้มข้นแล้ว จึงนำไปผสมน้ำให้ได้ความเข้มข้นพอ
ประมาณ โดยใช้อัตราส่วน น้ำเปล่า 20 ลิตร ต่อน้ำสกัดสมุนไพร 1 ลิตร

*** วิธีการใช้อาจให้ไปกับระบบน้ำในช่วงเย็นและค่ำ(เท่านั้น) และใช้ซ้ำทุกๆ 2-3 วัน(การพิจารณาใช้ซ้ำนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวน
แมลง ที่เข้ามาทำลายให้เกิดความเสียหายในแปลงพืช และการใช้สารสกัดจากสมุนไพรนั้นจะไม่ให้ผลทันทีทันใดเหมือนการใช้
สารเคมี จำต้องใช้ซ้ำให้บ่อยครั้งกว่าการใช้สารเคมี และสลับตัวยาสมุนไพรในการใช้กำจัดแมลง เพื่อป้องกันแมลงดื้อยา)


**********************************************************************************


บอระเพ็ด

กำจัดเพลี้ยแป้ง

เพลี้ยแป้งเป็น แมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากมีพืชอาหาร ที่หลากหลาย พบเข้าทำลาย พืช
หลากชนิดทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ผลและขยาย พันธุ์ได้เร็ว สามารถแพร่กระจายได้ตามลม และ มีมดเป็นพาหะ ทั้งยังสร้าง
ความเสียหายให้แก่พืชได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเพลี้ยแป้งจะเข้าทำลายพืชบริเวณ ยอดและใบอ่อน อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช
พืชที่พบเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย ยอด และใบจะหงิกงอ มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายและลดลงได้…


http://www.herblpg.com/thai/node/35



http://www.sixscentsherb.com/frmProductList.aspx?pcid=10018&pcnm=%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%94


การกำจัดเพลี้ยแป้งนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน และการใช้บอระเพ็ดมาทำเป็นสารสกัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดเพลี้ย แป้งที่
สามารถใช้ได้ผลดีและปลอดภัยต่อผู้ใช้

สูตรการกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยบอระเพ็ด :
ส่วนผสม
1. บอระเพ็ด
2. ยาฉุน (ใบยาสูบ)
3. น้ำยาล้างจาน(ใช้เป็นสารจับใบ)

วิธีทำสมุนไพรกำจัดเพลี้ยแป้ง :
1. นำบอระเพ็ดมาหั่นเป็นท่อน ยาวพอประมาณ จากนั้นนำไปให้แหลง(สังเกตุดูจากความหนืดเหนียวของเถาที่ถูกตำ)

2. นำบอระเพ็ดที่ตำแหลกแล้วไปหมักกับน้ำเปล่า ใช้อัตราส่วนบอระเพ็ด 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้จนได้น้ำเมือกเหนียว
(ไม่จำกัดเวลา ให้สังเกตุดูว่าน้ำหมักที่ได้มีความเหนียวหนืดเมื่อไหร่ก็สามารถนำไปใช้ได้ เลย) เพื่อให้สารในบอระเพ็ดละลายออ
มา

2. ผสมยาสูบลงไปในน้ำละลายบอระเพ็ดที่เตรียมได้ ประมาณ 1-2 กำมือ คนให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที

4. ก่อนนำน้ำหมักบอระเพ็ดที่เตรียมได้ไปใช้ ควรผสมกับน้ำยาล้างจาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับติดตัวแมลงหรือพื้นที่ผิว
ของใบพืช และควรนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของน้ำ สมุนไพร(กะความเข้มข้นพอประมาณ) ป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับพืชหากใช้ในปริมาณที่เข้มข้นมากเกิน ไป

***สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สกัดได้จากสมุนไพรนั้นจะให้ผลดีที่สุด เมื่อใช้สด กล่าวคือ นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำหรือนำไปต้ม
กับน้ำให้ได้ความเข้มข้น และก่อนนำไปใช้กับพืช ควรทำการปสมน้ำสกัดที่ได้กับน้ำเปล่าก่อนทุกครั้ง โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 20
ลิตร การใช้สารนั้นจะใช้การฉีดพ่นหรือให้ไปกับระบบน้ำในตอนเย็นเท่านั้น และควรฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 2-3 วัน เพื่อให้เกิดผลดีสุด
และไม่ทำให้แมลงเกิดการดื้อยา

***การใช้สารที่ความเข้มข้นสูงเลยในทันที นอกจากจะทำให้พืชใบไหม้เสียหายได้แล้ว ยังทำให้แมลงเกิดการดื้อยาได้ง่ายอีก
ด้วย หากการใช้ในครั้งแรกทำไม่ถูกหลักการ และคุมแมลงไม่อยู่ Good Tip :T_Anukanon


*********************************************************************************



**********************************************************************************


ดาวเรือง

กำจัดแมลง

ดอกดาวเรืองนอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ของไม้ตัดดอกตบแต่งอาคารเพื่อความสวย
งามแล้ว ยังสามารถนำดอกดาวเรืองมาประยุกต์ใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ประเภท

• เพลี้ยกระโดด
• เพลี้ยจักจั่น
• เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน
• เพลี้ยไฟ
• แมลงหวี่ขาว
• แมลงวันผลไม้
• หนอนใยผัก
• หนอนผีเสื้อ
• หนอนกะหล่ำ
• ด้วยปีกแข็ง
• ไส้เดือนฝอย
• หนอนผีเสื้อกะโหลก
• หนอนกะหล่ำปลี




โดยทั่วไปมักจะมีการปลูกดาวเรืองแซมตามแปลงผัก เพราะดอกและใบมีกลิ่นฉุนแมลงจึงไม่
อยากเข้าไกล้

วิธีการใช้ดาวเรืองกำจัดแมลง:
วิธีที่ 1. นำดอกมาคั้นเอาน้ำผสมน้ำ 3 ต่อ 1 ส่วน ฉีดพ่น สามารถกำจัดหนอนใยผักได้ดี
วิธีที่ 2. นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 1 ต่อ 1 ส่วน ฉีดพ่น สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ผลดี
วิธีที่ 3. นำดอกดาวเรือง 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมน้ำ
เปล่าอีก 4 ลิตร น้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง(ช่วงเช้าไม่มีแดด และเย็น)ติดต่อกัน 2 วัน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม:
- สารอินทรีย์จะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด ควรใช้ในขณะที่ไม่มีแดด เช่น ช่วง
เช้ามืด หรือ ช่วงเย็น

- การกำจัดแมลง ควรเริ่มในช่วงเช้า ขณะที่ไม่มีแดด และอากาศยังเย็นอยู่ เนื่องจากแมลงจะไม่
ค่อยเคลื่อนไหวขณะอากาศเย็น จึงจัดการกับแมลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะแมลงที่มีปีก

- การใช้สารกำจัดแมลงควรฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ด้านบนใบและด้านล่างใบ เพราะแมลงชอบ
หลบซ่อนอบยู่ตามใต้ใบ

- สารอินทรีย์หรือสารที่สกัดจากพืชจะใช้ได้ผลดีสุด เมื่อคั้นสดแล้วนำไปใช้เลย

- ควรสลับสับเปลี่ยนพืชสมุนไพรให้บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันแมลงสร้างภูมิต้านทานพืชสมุนไพร
ชนิดใดชนิดหนึ่ง

- ควรฉีดพ่นสมุนไพรกำจัดแมลงทุกๆ 3 วัน/ครั้ง เพราะสารในสมุนไพรนั้นมีความเข้มข้นน้อย
กว่า (เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัด แมลง) จึงไม่สามารถจัดการกับแมลงได้ทันทีทันใด
T_Anukanon


*************************************************************************************



หางไหล

ใช้เบื่อปลา ฆ่าแมลง

หาง ไหลหรือโล่ติ๊นเป็นพืชที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ในสมัยโบราณ และพบ ว่าสามารถ
นำมาใช้เบื่อปลาได้ แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคน ปัจจุบันใช้กำจัด แมลงศัตรูผักได้ผลดี หางไหลมี
2 ชนิด ได้แก่ หางไหลขาว ซึ่งเป็น พันธุ์ที่มีสารโรตีโนนมากใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้
ผลดี โดยนำรากมา ทุบแช่น้ำจะทำให้มีสีขาวขุ่นคล้ายสีนม ยังไม่มีรายงานว่าพบตาม ธรรมชาติ
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปางได้สายพันธุ์มาจากชลบุรี และ ได้ขยายพันธุ์แจกจ่าย
ไปให้เกษตรกรที่ภาคเหนือเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แล้ว ส่วนหางไหลแดงพบเห็นทั่วไปตาม
ธรรมชาติ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูพืชต่ำเพราะมีสารโรทีโนนต่ำ เมื่อนำ
รากมาทุบแช่น้ำจะทำให้มี สีแดงขุ่นทั้งสองชนิดมีลักษณะคล้ายกันมากดูที่ใบแยกชนิดได้ยาก
ควรส่ง ตัวอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญจำแนกจะถูกต้องมากที่สุด


หางไหลขาว....
http://share.psu.ac.th/blog/marky12/14470



หางไหลแดง....
http://www.saiyathai.com/herb/938000.htm



http://www.cmadong.com/board/index.php?topic=2635.875


ชื่ออื่น : โล่ติ๊น กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหล ไหลน้ำ (เหนือ) อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะต้นหางไหล :
หางไหลเป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง เจริญเติบโตเร็ว ถ้ามีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอสามารถปลูกได้
ทั้งกลางแจ้งและในร่มเงาแต่การ ปลูกกลางแจ้งจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า ในก้านใบหนึ่ง ๆ จะมีใบ
ตั้งแต่ 5–13 ใบ ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ มี 2 พวก คือ D. elliptica ใบย่อยมี 7 ใบ
ขึ้นไป และ D. malacecum มีใบย่อย 5 ใบ ใบคู่แรกนับจากโคนก้านใบมีขนาดเล็กที่สุดและ
เริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับจนถึงใบสุดท้ายที่อยู่ตรงปลายเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดของใบใหญ่ที่สุด
ช่อดอกออกที่ซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง

ผลเป็นฝัก เมื่อฝักอ่อนเป็นสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง เมื่อฝักแก่ ภายในฝักมีเมล็ด
ซึ่งมีลักษณะกลมและแบนเล็กน้อย มีสีน้ำตาลปนแดง การออกดอกอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม เมื่อ
ดอกบานเต็มที่มีกลิ่นหอม รากมีปมแบคทีเรียเหมือนกับปมของรากพืชตระกูลถั่ว

การขยายพันธุ์ :
หางไหลสามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ โดยใช้กิ่งชำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1
เซนติเมตร ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตัดใบออกให้หมด ถ้าเหลือไว้จะทำให้มีจำนวนราก
น้อยลง การใช้ฮอร์โมนเร่งรากช่วยทำให้กิ่งชำมีจำนวนรากเพิ่มมากขึ้น การปักชำควร มีความ
ชื้นสม่ำเสมอโดยให้น้ำหล่อเลี้ยงด้านล่าง วัตถุไว้เสมอ ทำให้กิ่งชำมีโอกาสแห้งตายน้อยลง ใน
ช่วงฤดูแล้งควรปักชำในถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและควรฉีดสารป้องกัน เชื้อราในถุงชำ
ระหว่างการปักชำควรให้ปุ๋ยยูเรีย (0.1%) จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน ปักชำ ไว้นาน
ประมาณ 45 วัน จึงแยกกิ่งชำลงถุงดำพกไว้ที่ร่มรำไรควรให้ปุ๋ยยูเรียกับต้นกล้าสัปดาห์ละ ครั้ง
ประมาณ 1 เดือนกิ่งชำจึงมีความ พร้อมที่จะย้ายไปปลูกในแปลงควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนที่มี
ความชื้นในดินสูง (อรุณ, 2544)

การปักชำหางไหล :
1. ใช้กิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร
2. ความยาวของกิ่งปักชำประมาณ 25 เซนติเมตร
3. ควรตัดใบออกให้หมด
4. ใช้ฮอร์โมนเร่งรากในการออกรากที่มีขายตามท้องตลาด
5. ให้ปุ๋ยยูเรีย 3 ครั้ง ในระหว่างการปักชำ

การปลูก/การดูแลรักษา/การเก็บเกี่ยว :
หางไหลเป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่ควรมีการดูแลให้น้ำในช่วงที่ปลูกใหม่ไม่ควร ปล่อยให้ดินแห้งจะทำ
ให้ต้นหางไหลตายได้ แต่ถ้าต้นหางไหลตั้งตัวได้แล้วจะทนความแห้งแล้งได้พอสมควร แต่จะ
เจริญเติบโตดีถ้ามีความชื้นสม่ำเสมอ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ได้ทดลอง
ปลูกในถังซีเมนต์ให้ระบบน้ำหยดทำให้หางไหลเจริญเติบโตเร็ว

สามารถเก็บเกี่ยวรากได้ภายในระยะเวลา 12 เดือน มีปริมาณสารโรทีโนนเพียงพอที่จะนำ
มาสกัดเป็นสารกำจัดแมลง ผลผลิตน้ำหนักรากสดที่ได้โดยเฉลี่ยมากกว่า 367.00–522.90
กรัม/ต้น ส่วนถ้าปลูกในแปลงจะได้ผลผลิต รากสดประมาณ 150–200 กิโลกรัม/ไร่ ใช้ระยะ
เวลา 1 ปี (150–200 กรัม/ต้น)

การปลูกในสภาพกลางแจ้ง ควรปลูกระยะชิด โดยใช้ระยะปลูก 1 x 1 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ย
คอกหรือปุ๋ยหมัก การขุดรากนำมาใช้อาจขุดทั้งหมดเป็นรุ่นทั้งแปลงและทำการปลูกใหม่ ถ้าทำ
เป็นอุตสาหกรรม แต่ถ้าเกษตรกรปลูกไว้ใช้เองตามริมรั้วควรทยอยขุดแบ่งรากมาใช้ ซึ่งประมาณ
150–200 ต้นที่จะพอใช้ต่อพื้นที่ปลูกผัก 1 งาน (ปลูกผักตลอดปี) ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
และดินมีความชื้นและการเก็บเกี่ยวควรเป็นช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือน
ตุลาคม ซึ่งดินมีความชื้นอยู่ ทำให้ขุดรากได้ง่าย ถ้าดินแห้ง แล้งจะขุดรากลำบากมาก การปลูก
ในภาชนะจะได้รากมากกว่าในแปลง 4 เท่า

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
จากการทดสอบสารสกัดที่ได้จากรากหางไหลกับแมลงหลายชนิดพบว่ามีฤทธิ์ถูกตัวตาย และกิน
ตาย นอกจากนี้มีแมลงบางชนิดจะไม่ยอมกินใบพืชที่มีการฉีดพ่นสารสกัดจากหางไหล ซึ่งอาจ
เรียกว่ามีผลยับยั้งการกิน เช่น หนอนผีเสื้อ กินใบปอเทือง และด้วงน้ำมันเมื่อได้กลิ่น หางไหลจะ
หนีไปนอกจากนี้ยังใช้ได้ผลดีกับหมัดสุนัข เห็บวัว ไรไก่ ในแปลงผักสามารถกำจัด ด้วงหมัดผัก
ด้วงเต่าทอง เพลี้ยไฟมะเขือเทศ ไรขาวพริก ด้วงงวงตัดใบมะม่วง เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยอ่อน
ผักกาด

ส่วนหนอนผีเสื้อจะมีผลยับยั้งการกิน อัตราการใช้ รากสด 2–3 ขีด/น้ำ 20 ลิตร โดยนำมาทุบ
แช่น้ำ 1 คืน พ่นสารสกัดตอนเช้าตรู่ สามารถกำจัดด้วงหมัดผักได้ผลดี ใส่สารจับใบจะทำให้มี
ประสิทธิภาพดีขึ้น อาจนำมาทำเป็นผงแห้งแล้วใช้แอลกอฮอล์สกัด ในอัตรา 2 ขีด /แอลกอ
ฮอล์ 1 ลิตร แช่ไว้อย่างน้อย 5 วัน จากนั้นนำมาเก็บไว้ในขวดสีชาสามารถเก็บไว้ได้นาน
ประมาณ 8 เดือน เวลานำมาใช้เจือจางด้วยน้ำในอัตรา 200–300 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ควรพ่น
ให้ถูกตัวแมลง

วิธีการนำหางไหลมาใช้กำจัดแมลง :
นำรากหางไหล 1/2–1 กิโลกรัม มาทุบแล้วแช่น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืน นำน้ำหมักมาฉีดพ่น
ในแปลงพืชผล ควรฉีดพ่นในช่วงแดดอ่อนๆ ใช้ฉีดพ่นป้องกันแมลงวัน หนอนเพลี้ยอ่อน ด้วง
งวงถั่ว ตั๊กแตนตัวอ่อน เพลี้ยจักจั่น ฯลฯ โดยไม่มีสารพิษตกค้าง เพราะสาร rotennone
ที่มีในโล่ติ๊นสามารถสลายตัวได้ง่าย และไม่เป็นอันตรายต่อคน

ข้อควรระวัง :
เป็นพิษต่อปลา จึงไม่ควรใช้กับแปลงผักหรือแปลงไม้ผลที่มีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้ ๆ

แนวทางการพัฒนาสารสกัดจากพืชในอนาคต :
1. ควรศึกษาวิธีการปลูกที่ทำให้ได้รากจำนวนมากเพื่อเพิ่มผลผลิตและทำให้มีระยะเวลาในการ
เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น
2. ควรศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวรากในสภาพแปลง
3.ควรศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการอบและบดรากหางไหลให้มีคุณภาพของวัตถุดิบดีขึ้น
4. ควรศึกษาเครื่องต้นแบบในการผลิตสารสกัดจากรากหางไหล
5. ควรมีการศึกษาสารสกัดจากพืชอื่นที่ช่วยเสริมฤทธิ์สารสกัดจากรากหางไหลให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
6. ควรมีการศึกษาการใช้สารสกัดจากรากหางไหลในด้านการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสัตว์เลี้ยง


************************************************************************************


สะเดา

กำจัดตั๊กแตน หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยกระโดสี
น้ำตาล แมลงหวี่ขาว ด้วงหมัดผัก หนอนใยกะหล่ำปลี หนอนใยผัก หนอนกอเจาะสมอฝ้าย
หนอนบุ้งปอแก้ว แมลงในโรงเก็บ ไส้เดือนฝอย

สารสกัดสะเดาที่มีอยู่ ในเมล็ดและใบ มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ต่อต้านการดูดกิน
ยับยั้งการ เจริญเติบโตของแมลง ป้องกันและกำจัดแมลงได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ตั๊กแตน
หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยกระ โดสีน้ำตาล แมลงหวี่
ขาว ด้วงหมัดผัก หนอนใยกะหล่ำปลี หนอนใยผัก หนอนกอเจาะ สมอฝ้าย หนอนบุ้งปอแก้ว
แมลงในโรงเก็บ ไส้เดือนฝอย และด้วงหมัด เพลี้ย จักจั่นสีเขียว หนอนกอ หนอนกอสีครีม ด้วง
เต่าฝักทอง หนอนชอนใบส้ม ผีเสื้อ มวนหวาน หนอนม้วนใบข้าว แมลงหวี่ขาวฝ้าย ผีเสื้อหนอน
แก้วส้ม หนอนเจาะสมอ ฝ้ายอเมริกัน หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หนอนกระทู้กัดต้น หนอนบุ้ง
ปอ แก้ว หนอนเจาะลำต้นลายจุดในข้าวโพดและข้าวฟ่าง


http://share.psu.ac.th/blog/marky12/14470



http://www.nanagarden.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B2-azadirachta-indica-102549-4.html


สารสำคัญ:
bitter principle เปลือกต้นมีสาร nimbin, desacetylnimbin ในใบมี quercetin ใน
เมล็ดมีสาร azadirachtin สามารถฆ่าแมลงได้ และพวก quinone ตำรายาไทย ใช้ก้านใบ
เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด เปลือกต้นแก้ท้องเดิน แก้บิดมูกเลือด ผลเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้
ปัสสาวะพิการ ดอกเป็นยาบำรุงธาตุ รากแก้ไข้ ทำให้อาเจียน

การใช้สารสะกัดจากใบหรือกิ่งสะเดา :
วิธีทำ
- ตัดกิ่งหรือใบสะเดา ให้เป็นท่อนๆ ขนาด 5 เซนติเมตร ในอัตราส่วนตามต้องการ
- ตัดต้นตะไคร้หอม ให้เป็นท่อนๆ ขนาด 5 เซนติเมตร ในอัตราส่วนตามต้องการ โดยเทียบใช้
ในอัตราเดียวกันกับสะเดา

++ ผสมสะเดาเข้ากับตะไคร้หอม ในสัดส่วที่เท่ากัน จากนั้นนำไปต้มกับน้ำ โดยใส่น้ำใหท่วม
ส่วนผสม แล้วเคี่ยวนานครึ่งชั่วโมง–1 ชั่วโมง ก็จะได้สารละลายสีเขียวคล้ำ นำไปใช้กำจัด
แมลงได้ผลดี ใช้ฉีดพ่นบนพืช เช้า -เย็น วิธีนี้จะสามารถไล่แมลง ยับยั้งการเติบโตของแมลง
ซึ่งใช้ไดกับหอนชอนใบส้ม หนอนใยผัก เพลี้ยอ่อน

วิธีใช้
นำสารละลายที่ได้ 1 ส่วน ผสมเข้ากับน้ำ 1 ส่วน แล้วเติมสารจับใบเช่น สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน
ผงซักฟอก เล็กน้อย

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 โรยเมล็ดสะเดาบดตามแปลงผักเพื่อปรับสภาพดิน

วิธีที่ 2 นำเมล็ดสะเดา 1 กก. บดให้ละเอียด ห่อผ้าแช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนใช้ผสมน้ำ
สบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในตอนเย็น

วิธีที่ 3 นำเมล็ดและใบสะเดา เหง้าข่าแก่ ตะไคร้หอม อย่างละ 2 กก. สับให้ละเอียด แล้วตำ
หรือบดรวมกัน แช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองเอาหัวเชื้อที่ได้ ผสมน้ำเปล่า 1 ปี๊บ ต่อ
น้ำยา 0.5 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในตอนเย็น

วิธีที่ 4 นำเมล็ดสะเดาแห้ง ที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด และเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด แล้ว
นำผงเมล็ดสะเดามาหมักกับน้ำ ในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ผงสะเดาใส่ไว้ในถุง
ผ้าขาวบาง แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 วัน ใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อให้สารอะซาดิ
แรคติน ที่อยู่ในผลสะเดา สลายตัวออกมาให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ก็ยกถุงผ้าออก บีบถุงให้น้ำใน
ผงสะเดาออกมาให้หมด ก่อนใช้นำน้ำที่ได้ผสมน้ำสบู่หรือแชมพู แล้วนำไปฉีดพ่น


************************************************************************************


ตะไคร้หอม

ป้องกันยุง กำจัดหนอนกระทู้

ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้ ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ กาบใบ ของ
ตะไคร้หอมจะมีสีเขียวปนม่วงแดง แผ่นใบกว้าง ยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำ ให้ปลายห้อยลง
ปรกดินกว่า ดอกช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ผลเป็นผล แห้ง ไม่แตก


http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1&imgurl=http://intipon.tarad.com/shop/i/intipon/img-lib/spd_20100215171628_b.jpg&imgrefurl=http://intipon.tarad.com/product.detail_573199_th_2656662&usg=__rhe7gK4Mt8hBkBp0iWr633I0YCM=&h=463&w=300&sz=42&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=tptTAakG10Ka3M:&tbnh=128&tbnw=83&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=Itp0Ta_wLszPrQeTtKHTCg&sa=X&tbs=isch:1&prmd=ivns&start=5#tbnid=tptTAakG10Ka3M&start=9


http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1&imgurl=http://i666.photobucket.com/albums/vv29/kobnon/cymbona.jpg&imgrefurl=http://www.bloggang.com/viewdiary.php%3Fid%3Dluckystar%26month%3D08-2009%26date%3D01%26group%3D6%26gblog%3D156&usg=__GAkHVvHQzw6I1cTR-A_VCnakUqE=&h=326&w=285&sz=33&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=zGVKRtW5ldHHSM:&tbnh=118&tbnw=103&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%26start%3D80%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=ONt0TbGwDYeyrAf-orHSCg&start=85&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns#tbnid=zGVKRtW5ldHHSM&start=89


ประโยชน์ด้านกำจัดแมลง : ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อาทิ แมลง แมลงสาบ หนอนกระทู้
หนอนใยผัก ไล่ยุง

ชื่ออื่น : หัวจังไคร้ไทย ไคล หัวขิงไคร จะไคร้มะขูด ตะไคร้มะขูด ตะไคร้แดง

การนำไปใช้ :
ภายในหัวตระไคร้หอมจะมีสารพวก Verbena oil, lemon oil, indian molissa oil ซึ่งมี
ฤทธิ์ในการขับไล่แมลง ยุง และแมลงสาบ รวมทั้งยังกำจัดหนอนกระทู้ และหนอนใยผัก ได้อีก
ด้วย

วิธีใช้ :
ต้นสด นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำมา
ผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ผสมสารจับใบเช่น สบู่หรือแชมพู ฉีด
พ่นกำจัดหนอน

สารหอมระเหย ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลาย
น้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักใน
แอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้า
ประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง ปัจจุบันมี
การนำตะไคร้หอมมาผลิตเป็นโลชั่นกันยุง

ในส่วนขององค์การเภสัชกรรมได้มอบทุนให้แก่ รศ.ดร. พิมลพรรณ พิทยานุกูล วิจัยและพัฒนา
ตำรับยาทากันยุงน้ำมันตะไคร้หอมโดยใช้ ความเข้มข้น 6% สามารถป้องกันยุงกัด ได้นาน 4-5
ชั่วโมง โลชั่นกันยุงนี้เป็นการนำสมุมไพรมาพัฒนาเป็นตำรับป้องกันยุงที่มีประสิทธิภาพ มีความ
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ช่วยลดมลภาวะในอากาศและยังช่วยลดการนำเข้าสารเคมีจากต่าง
ประเทศ

สารสำคัญ :
น้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย d-citronellal และ geraniol ซึ่งมีคุณสมบัติแต่งกลิ่นน้ำหอม
และใช้ไล่แมลง Components Identified: 1) limonene (3.0%); 2) linalool
(0.8%); 3) citronellal (35.3%); 4) citronellol (12.0%); 5) geraniol
(24.9%); 6) citronellyl acetate (4.3%); 7) geranyl acetate (6.3%)





******************************************


หนอนตายหยาก


ปราบหนอนแมลง

เป็นไม้เลื้อยที่มีรากใต้ดินจำนวนมาก มีลักษณะคล้ายกระสวยหรือทรง กระบอกอยู่กันเป็นพวงยาวได้ถึง 10–30 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว
อยู่ติดกับลำต้นแบบ ตรงข้ามออกสลับกัน ใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบยาว ฐานใบมน ปลายใบเรียวแหลม คล้าย ใบพลู เส้นใบออกในแนว
ขนานกับขอบใบ พืชจำพวกหนอนตายหยากพอถึงฤดูแล้งต้นจะ โทรมเหลือแต่เหง้าและรากไว้ใต้ดิน เมื่อเริ่มฤดูฝนใหม่จึงแตกใบขึ้น
มาใหม่ พร้อมออกดอก ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อสีขาวหรือม่วงอ่อน ผลค่อนข้างแข็งสีน้ำตาล ขนาดเล็ก

ชื่อพื้นเมือง : หญ้าหนอนตาย, (เหนือ); เปลือกมืนดิน, (แม่ฮ่องสอน); ตอสีเพาะเกล,(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)



ลักษณะทั่วไป :
ต้น - เป็นไม้เลื้อย ลำต้นออกใบเป็นลำต้นเรียบ สูงประมาณ 2–3 ฟุต ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้

ใบ - ใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปใบคล้ายใบพลู ปลายใบแหลม เส้นใบเด่นชัด กว้างประมาณ 1–2 นิ้วยาว 3–5 นิ้ว

ดอก - เป็นดอก 3 กลีบ ออกตามซอกใบเป็นช่อ สีขาวน้ำตาล

ผล - สีน้ำตาลเป็นกระจุกตามซอกใบเมื่อแห้งจะไม่แตก และร่วงลงบนดิน หรือปลิวตามลม ประมาณ 2–3 มิลลิเมตร

เมล็ด - เมล็ดกลมรีสีน้ำตาล ประมาณ 1–2 เมล็ดต่อผล และเมล็ดมีขนาดเล็กมาก

การกระจายพันธุ์ : ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศ

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ประโยชน์ : ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียได้ดี และยังขับไล่แมลงต่างๆได้อีกด้วย

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ : เหง้า เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ราก

สารสำคัญ : stemonine

การนำไปใช้กำจัดแมลง: ใช้รากประมาณ 1 กก. ตำละเอียดแล้วแช่ในน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 1 คืนนำน้ำหมักมา
ฉีดพ่นเพื่อฆ่าแมลงและหนอนต่าง ๆ ได้ดี (นันทวัน บุญยะประภัศร .2541. สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน . กรุงเทพฯ : บริษัทประ
ชาชน จำกัด. )

หนอนตายหยากพืชที่เรียกชื่อเหมือนกันแต่เป็นพืชต่างชนิดกัน”

หนอนตายหยาก :
เป็นพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านรู้จักนำมาใช้ประโยชน์มานานแล้ว เช่น การฆ่าเห็บเหาในสัตว์ประเภทโคและกระบือ บางชนิดใช้ฆ่าหนอน
หรือใส่ในไหปลาร้าเพื่อกำจัดหนอนแมลงวันและแมลงศัตรูพืช จากการศึกษาและรวบรวมพันธุ์หนอนตายหยาก พบว่าชาวบ้านมีการ
เรียกชื่อพืชหนอนตายหยากเหมือนกันในแต่ละท้องถิ่น และมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิด
กันเมื่อตรวจสอบทางอนุกรมวิธาน กล่าวคือพืชที่ชาวบ้านเรียกว่าหนอนตายหยากนั้น มีความแตกต่างกันดังนี้

1. หนอนตายหยาก พืชในวงศ์ Stemonaceae เป็นพืชหัวที่นำส่วนของรากมาใช้ประโยชน์ พบได้ในป่าทั่วๆ ไปของประเทศจีน
ญี่ปุ่น อินโดจีน มาเลเซีย ลาว ไทย ฯลฯ สำหรับประเทศไทยพบหนอนตายหยากได้ทั่วทุกภาค และมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น
เช่น พญาร้อยหัว กระเพียดหนู ต้นสามสิบกลีบ โป่งมดง่าม สลอดเชียงคำ ฯลฯ นอกจากนั้นหนอนตายหยากในประเทศไทยยังมีความ
หลากหลายในชนิด (species) เช่น Stemona tuberosa Lour, Stemona collinsae Craib, Stemona kerri,
Stemona berkilii, Stemona stercochin ฯลฯ

สรรพคุณของต้นหนอนตายหยาก :
ใช้เป็นตัวยาสมุนไพรรักษาโรคในคนได้หลากหลาย เช่น โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน มะเร็ง
ตับลดระดับน้ำตาลสำหรับโรคเบาหวาน รวมทั้งริดสีดวง ปวดฟัน ปวดเมื่อย นอกจากนี้ในประเทศจีนมีการนำรากหนอนตายหยาก
Stemona tuberosa Lour., Stemona sessilifolia (Miq), Stemona japonica (BJ) Miq มาใช้ในการรักษาอาการไอ
โรควัณโรค ฯลฯ โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ แต่ก่อนที่จะทำเป็นยาก็มีขั้นตอนการทำลายพิษ เช่น นำรากมาล้างให้สะอาดแล้ว
ลวกหรือนึ่งจนกระทั่งไม่เห็นแกนสีขาวในราก ต้องตากแห้งก่อนนำไปปรุงเป็นตำรับยา โดยหั่นให้มีขนาดเล็ก หรือในบางตำราจะนำไป
เชื่อมกับน้ำผึ้งก่อนนำไปใช้

ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกัดกินใบ และเพลี้ยอ่อน กำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืช เช่น Rhizoctonia
solani และ Erwinia carotovora รวมทั้งการกำจัดลูกน้ำยุง (นันทวัน และอรนุช, 2543) สารออกฤทธิ์ที่ตรวจพบอยู่ในกลุ่ม
alkaloids ได้แก่ stemofoline และ 16,17-didehydro-16(E)-stemofoline สารนี้ตรวจพบในหนอนตายหยาก
ชนิด Stemona collinsae Craib (Jiwajinda และคณะ, 2001) ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยงหนอนตายหยาก นำ
มาขายเป็นการค้า โดยนำรากมาสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์เพื่อใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลง เกษตรกร

การขยายพันธุ์ :
หนอนตายหยากเป็นพืชที่นำส่วนของรากมาใช้ประโยชน์ แต่เวลาที่ชาวบ้านขุดขึ้นมาขายมักติดส่วนของเหง้าที่ใช้ขยายพันธุ์มาด้วย
ราก ที่เห็นเป็นกอใหญ่ๆ นั้น ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะเจริญเติบโตได้ขนาดนั้น ประกอบกับหนอนตายหยากแต่ละสายพันธุ์มีการ
ติดฝักและติดเมล็ดได้มากน้อยแตก ต่างกัน ถ้าเรายังขุดหนอนตายหยากจากป่ามาใช้โดยไม่มีการขยายพันธุ์หรือปลูกเพิ่มเติม ก็มี
โอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ง่าย วิธีการขยายพันธุ์สามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด การแบ่งเหง้า หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อ
เยื่อ

2. ขอบชะนางแดงและขอบชะนางขาว ซึ่งมักจะเรียกกันว่า หญ้าหนอนตาย หนอนตายหยาก หญ้ามูกมาย ตาสียายเก เปลือกมืนดิน
หนอนแดง หนอนขาว ฯลฯ เป็นพืชวงศ์ Urticaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pouzolzia pentandra Benn. เป็นไม้ล้มลุก
คล้ายหญ้า ลำต้นขนาดประมาณก้านไม้ขีด ใบเป็นใบเดี่ยว ทั้งนี้ขอบชะนางแดงมีใบสีม่วงอมแดง ส่วนขอบชะนางขาวมีใบสีเขียว
อ่อนๆ พืชทั้งสองชนิดมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่ง

สรรพคุณ :
สามารถใช้ได้ทั้งต้น โดยนำต้นมาปิ้งไฟแล้วชงกับน้ำเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็ก ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น เป็นยาขับระดูใน
สตรี ขับปัสสาวะ รักษาโรคหนอง หั่นเป็นชิ้นเอามาใส่ในไห ปลาร้าที่มีหนอน ทิ้งไว้สักพักหนอนจะตาย ต้นสดใช้เป็นยาฆ่าหนอนหรือ
แมลงในโคและกระบือ คือ สามารถทำให้หนอนตาย และรักษาแผลที่เน่า

การขยายพันธุ์ : ใช้วิธีการปักชำต้น

3. หนอนตายหยากใบผีเสื้อ เป็นพืชวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Christia vespertilionis
Bakh. f. ใบมีลักษณะคล้ายใบชงโค หรือปีกคล้ายผีเสื้อ ชาวบ้านนำใบและลำต้นมาใส่ในไหปลาร้าเพื่อป้องกันหนอนแมลงวัน และ
มีการนำไปใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในบางพื้นที่การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

จากการศึกษาตัวอย่างหนอนตายหยากที่เก็บได้จากแหล่งต่างๆ มาตรวจวิคราะห์หาสารออกฤทธิ์ พบว่า มีสาร stemofoline และ
16, 17-didehydro-16(E)-stemofoline (ภาพที่ 1) ซึ่งพบปริมาณสารนี้มากใน

หนอนตายหยาก วงศ์ Stemonaceae โดยเฉพาะหนอนตายหยากชนิด Stemona collinsae Craib (ภาพที่ 2) หนอน
ตายหยากใบผีเสื้อ ในวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae ไม่พบสารชนิดนื้แต่พบสารอื่นที่ยังไม่ทราบชนิด (ภาพที่ 2) สำหรับ
ขอบชะนางอยู่ระหว่างเพิ่มปริมาณต้นเพื่อให้ได้ปริมาณตัวอย่างมากพอกับ การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ต่อไป(โดย มณฑา วงศ์มณี
โรจน์, สุรัตน์วดี จิวะจินดา, ศิริวรรณ บุรีคำ, และ รงรอง หอมหวล ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ม.เกษตรศาสตร์
วิทยาเขต กำแพงแสน จ.นครปฐม )

ในบทความนี้ คณะผู้เขียนมีความประสงค์จะชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นความแตกต่างและความเหมือน กันของพืชสมุนไพร “หนอนตายหยาก”
ที่กำลังเป็นพืชยอดนิยมและมีการใช้ประโยชน์มากขึ้นเป็นลำดับ และหวังว่าข้อมูลที่รวบรวมมานี้จะได้สร้างความเข้าใจและเป็น
ประโยชน์แก่ผู้ อ่านและผู้สนใจต่อไป อย่างไรก็ตามคณะวิจัยยังมีการดำเนินการวิจัยต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ เกี่ยวข้องและเป็น
ประโยชน์เพิ่มเติม




http://www.oursiam.in.th/webboard/view.php?code=817



http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=18117.0


************************************************************************************


ตะไคร้หอม

กำจัดและขับไล่แมลง

เป็นพืชตะกูลหญ้า ชนิดหนึ่ง ลำต้นสีแดง ต้นยาวใบยาวกว่าตะไคร้กอมากดอกออกเป็นพวงเป็นช่อฝอยสี น้ำตาล แทงขึ้นจากกลางลำ
ต้นคล้ายดอกอ้อหรือแขม ใบและต้นมีกลิ่นหอมฉุน จัด (มีน้ำมันหอมละเหยอยู่ในส่วนของใบและลำต้น) เจริญได้ดีในดินที่มีความ
อุดมสมบูรณ์ค่อยข้างสูง และมีปริมาณน้ำฝนตลอดปีสูง 1,500-1,800 มิลลิเมตร




ลักษณะทั่วไป :
เป็นพรรณไม้ล้มลุก จำพวกกอ ลำต้นแตกขึ้นจากต้นใต้ดิน จะตั้งตรง และแตกเป็นกอ ที่โคนจะมีกาบใบซ้อนทับเป็นชั้นๆ เหมือนกับ
ตะไคร้บ้าน แต่สีของลำต้นหรือกาบใบจะมีสีแดง

ใบ - ยาวแคบ ก้านใบเป็นกาบซ้อนกันแน่น ใบบาง ขอบใบคมเหมือนฟันเลื่อย มีสีเขียว และ มีกิ่นหอมฉุน

ดอก - ออกเป็นช่อฝอย โดยชูก้านดอกยาวออกมาจากส่วนยอด ช่อดอกจะแยกออกเป้นแขนง ซึ่งแต่ละแขนงจะมีช่ออยู่ 4-5 ช่อ
มีช่อขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 2 ฟุต คล้ายกับดอกอ้อ

การขยายพันธุ์ : สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการแยกหน่อปลูก

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เหง้า และ ต้น

สารสำคัญ : น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย d-cutronellal และ geraniol ซึ่งมีคุณสมบัติในการแต่งกลิ่นน้ำหอมและขับไล่แมลง

ประโยชน์ : ด้านเกษตร ใช้ทำยา ป้องกันกำจัดแมลง และล่อแมลงวันตัวผู้

สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
เหง้า - เป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว หรือ ทำเป็นยาประคบ

วิธีใช้
- ใช้เหง้าฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ พอเหลือง ใช้ครั้งละ 1 หยิบมือชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา รินเฉพาะ ส่วนใสดื่มจนหมดถ้วยวันละ 3 ครั้ง
- ใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ (หนัก 40-60 กรัม) ต้มกับน้ำแบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ ถ้วยชาก่อนอาหาร
 

ต้น - เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิต ขับระดู หรือ ถ้าผู้ที่ท้องทานเข้าไปจะทำให้
แท้งได้ แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้อาเจียน




วิธีใช้ตะไคร้หอมกำจัดแมลง :
วิธีที่ 1 : น้ำมันของต้นตะไคร้หอม ใช้ผสมกับน้ำมันอื่นๆ ฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืช

วิธีที่ 2 : ใช้ใบสดที่แก่จัดผสมกับหัวข่าสด และใบสะเดาสด จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ใช้ในอัตรา 4:4:4 กก. แช่ในน้ำ 2 ปี๊บ
หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาเฉพาะน้ำมาเป็นหัวเชื้อ เมื่อจะนำมาใช้ ให้ใช้หัวเชื้อที่หมักได้ ในอัตรา 10 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นกำจัดแมลงในพืชผัก ข้าว และ ไม้ผลบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ได้ผลดี

วิธีที่ 3 : นำใบแห้ง มาใช้รองพื้นยุ้งฉาง จะช่วยลดการเข้าทำลายของมอดข้าวเปลือก หรือรองไว้ในรังไก่ จะช่วยทำให้ไม่มีไรไก่
มารบกวน

วิธีที่ 4 : โดยปลูกตะไคร้หอมใต้ต้นไม้ผล หรือในแปลงผักเป็นระยะ ๆ เมื่อถึงช่วงมืดค่ำก็ใช้ ไม้ฟาดที่ต้นตะไคร้หอม เพื่อให้กลิ่น
น้ำมันหอมระเหยออกมา กลิ่นจะฟุ้งกระจายไป ในอากาศ ช่วยขับไล่ผีเสื้อกลางคืน ไม่ให้มาวางไข่

วิธีที่ 5 : สูตรกำจัดหนอน นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำไปผสมกับน้ำ 10 ลิตร
แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดหนอนที่รบกวนในแปลงพืช ก่อนนำไปใช้ให้ผสกับสารจับใบ
เช่น สบู่ แชมพู เป็นต้น


************************************************************************************


ขอบชะนาง

ฤทธิ์เบื่อเมาฆ่าแมลง

คนอยู่ในชนบทมักคุ้นเคยกับ “ขอบชะนาง” ได้ดี มีอยู่ 2 ชนิดคือ “ขอบชะนาง แดง” และ “ขอบชะนางขาว” เพราะคนเก่าคนแก่
มักจะเอาต้นและใบมาหั่นเป็นชิ้น เล็ก ไปโรยปากไหปลาร้าหนอนจะตายหมด หรือใช้ฆ่าแมลงอย่างอื่นก็ได้ ชาวบ้าน จึงเรียก “หญ้า
นอนตาย” หากนำทั้งต้นย่างไฟให้แห้งกรอบ มาชงกับน้ำเดือด เป็น ยาขับพยาธิในเด็กได้ดี เปลือกต้นช่วยดับพิษในกระดูก และเส้น
เอ็น หรือต้มผสม เกลือรักษาโรครำมะนาด ขับเลือด ขับระดูขาว และขับปัสสาวะ (โดย…นายสวี สอง คอลัมภ์ เกษตรทำมาหากิน
นสพ. คม ชัด ลึก วันพุธ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นไม้ล้มลุกตระกูลหญ้า ลำต้นเลื้อยตามพื้นดิน แต่ยอดจะตั้งขึ้น )

ชื่ออื่นๆ :
ขอบชะนางขาว, หนหนตายอยากขาว, หนอนขาว (ไทยภาคกลาง) ขอบชะนางแดง, หนอนตายอยากแดง, หนอนแดง (ไทยภาค
กลาง), หญ้าหนอนตาย(เหนือ), หญ้ามูกมาย (สระบุรี), ตาสียายเก้อ, ตดสีเพาะเกล(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)






ลักษณะทั่วไป:
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า และเลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดจะตั้งขึ้นมี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดง กับ ขอบชะนางขาว และ
มีลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม้ขีดเล็กน้อย

ใบ : เป็นใบเดี่ยวจะออกสลับกัน รูปเป็น รูปปลายหอก ในขอบชะนางแดง ส่วนรูปใบขอบชะนางขาว จะมีลักษณะรูปค่อนขางมนและ
กลมเส้นใบของทั้งสองชนิด จะเห็นเด่นชัดเป็น 3 เส้น ใบจะโตประมาณ 2 กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 1 นิ้วฟุต ส่วนสีใบ
และต้นของขอบชะนางจะมีสีม่วงอมแดง เฉพาะแผ่นใบนั้นสีจะเด่นชัดคือ หลังใบจะมีสีเขียวเข้มอมแดง ท้องใบจะเป็นสีแดงคลํ้า และ
สีใบของขอบชะนางขาวเป็นสีเขียวอ่อนๆ รวมทั้งสองชนิดจะมีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ

ดอก : จะมีขนาดเล็ก และจะออกเป็นกระจุกระหว่างซอกใบและกิ่งเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ดอกของขอบชะนางแดงมีสีแดง ส่วน
ดอกของขอบชะนางขาวจะเป็นสีเขียวอมเหลือง

ผล : แห้งไม่แตกแบบ Achene

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้นและดอก ใบสด เปลือกของต้น

สรรพคุณ :
ทั้งต้น – นำมาปิ้งไฟแล้วชงกับนํ้าเดือด ใช้ขับพยาธิในเด็กต้นและดอก ใบ จะมีรสเมาเบื่อ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก เอามาในปากไหปลา
ร้า ที่มีหนอน อีกไม่นานหนอนก็จะตายต้นสด ใช้ตำเป็นยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง วัวควายที่เป็นแผลจนเน่าขนาดใหญ่ หนอนจะตายและ
จะช่วยรักษาแผลด้วย

เปลือกของต้น – ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงนํ้ามันทาริดสีดวงทวาร หรือจะใช้ต้มผสมเกลือให้
เค็มนำมาอมรักษารำมะนาด ขอบชะนางทั้ง 2 ชนิด นำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับเลือด ประจำเดือน และขับระดูขาวขับปัสสาวะ
รักษาโรคหนอง

ที่มา : เอกสารสมุนไพรไทย สำนักวิทยบริการ ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


วิธีการใช้ขอบชะนางกำจัดแมลง:
1. นำขอบชะนาง(ใช้ได้ทั้งแดงและขาว)มาโขลกให้ละอียด(ใช้ได้ทั้งต้น) หรือจะนำทั้งต้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปวางบนปาก
ไหปลาร้า จะสามารถฆ่าแมลงและตัวหนอนที่รบกวนปลาร้าได้ดี

2. นำต้นขอบชะนางทั้งต้นมาสับหรือโขลก จำนวน 2 กิโลกรัม มาต้มในน้ำ 1 ปี๊บ(20ลิตร) เคี่ยวให้สารในขอบชะนางออกมานาน
ประมาณ 15-20 นาที จากนั้นนำน้ำขอบชะนางที่ได้ไปผสมน้ำสะอาดให้ได้ความเข้มข้นปานกลาง ฉีดพ่นแมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ
และตัวหนอนแมลงศัตรูพืชได้ดี (ควรฉีดซ้ำทุกๆ 3 วัน)



ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม:
- สารอินทรีย์จะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด ควรใช้ในขณะที่ไม่มีแดด เช่น ช่วงเช้ามืด หรือ ช่วงเย็น

- การกำจัดแมลง ควรเริ่มในช่วงเช้า ขณะที่ไม่มีแดด และอากาศยังเย็นอยู่ เนื่องจากแมลงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวขณะอากาศเย็น จึง
จัดการกับแมลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะแมลงที่มีปีก

- การใช้สารกำจัดแมลงควรฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ด้านบนใบและด้านล่างใบ เพราะแมลงชอบหลบซ่อนอบยู่ตามใต้ใบ

- สารอินทรีย์หรือสารที่สกัดจากพืชจะใช้ได้ผลดีสุด เมื่อคั้นสดแล้วนำไปใช้เลย

- ควรสลับสับเปลี่ยนพืชสมุนไพรให้บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันแมลงสร้างภูมิต้านทานพืชสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่ง

- ควรฉีดพ่นสมุนไพรกำจัดแมลงทุกๆ 3 วัน/ครั้ง เพราะสารในสมุนไพรนั้นมีความเข้มข้นน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัดแมลง)
จึงไม่สามารถจัดการกับแมลงได้ทันทีทันใด






http://blog.taradkaset.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94/









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (8032 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©