-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 305 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร





สารเคมีกับสมุนไพร


คมชัดลึก : เมื่อหลายวันก่อน เห็นโฆษณาในทีวีเกี่ยวกับสมุนไพรในผลิตภัณฑ์บางอย่าง โดยเนื้อหาของโฆษณานั้นบอกว่าใช้สมุนไพรเป็นองค์ประกอบ โดยไม่ใช้สารเคมี ก็เลยเป็นที่มาของบทความนี้เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับสารเคมี ต่างๆ ที่หลายคนเกรงกลัวกันและมีความเข้าใจผิดอยู่ค่อนข้างมาก


ประเด็นแรกที่ต้องทำความเข้าใจก็คือว่า การใช้สมุนไพรอะไรก็ตามหมายความว่าเราต้องการใช้ ประโยชน์จากสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในสมุนไพรนั้น ถ้าจะถามต่อไปว่าสารออกฤทธิ์คืออะไร คำตอบก็คือเป็นสารเคมีที่มีอยู่ในสมุนไพรชนิดนั้นๆ และจะแสดงผลตามคุณสมบัติทางเคมีของสารดังกล่าว พอพูดอย่างนี้ทุกคนก็คงเห็นแล้วว่าสมุนไพรเองก็มีสารเคมีอยู่ในตัวเอง แต่เป็นสารเคมีที่เรามักชอบเรียกกันว่าเป็นสารธรรมชาติ เช่นในกระเทียมก็มีสารที่เรียกว่าอัลลิซินอยู่มาก ส่วนพริกก็มีแคปไซซิน ถ้าเป็นฟ้าทะลายโจรก็มีแอนโดรกราฟโฟไลด์ในปริมาณมาก เป็นต้น


สารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติ และอาจมีสรรพคุณในการรักษาหรือป้องกันโรคได้หลายอย่าง เมื่อสารเหล่านี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องมีในปริมาณน้อย เพราะหากมีมากไปก็จะกลายเป็นอันตรายต่อตัวพืชเอง ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านเคมีจึงหาวิธีสังเคราะห์สารเหล่านี้ขึ้นมาใช้ หรือมีการศึกษาคุณสมบัติของสารเทียบกับโครงสร้างทางเคมี แล้วหาทางสังเคราะห์สารเหล่านี้หรือสารที่ใกล้เคียงขึ้นมาใช้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารจากธรรมชาติหรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสารเคมีด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าคนทั่วไปมักจะตั้งป้อมรังเกียจสารเคมีอื่นที่เราเรียกว่า สารสังเคราะห์ เพราะเชื่อว่าเป็นอันตราย สู้สารจากธรรมชาติไม่ได้


ความเข้าใจผิดข้อนี้ค่อนข้างน่าห่วง เพราะหลายคนคิดว่าสารจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสารจากสมุนไพรหรือสารจากพืชอื่นๆ ก็ตาม เป็นสารที่ปลอดภัย ลองมาดูว่าเป็นความจริงหรือไม่ หลายคนคงเคยเห็นหรือทราบว่าพืชบางชนิดนำมาใช้ประโยชน์โดยการใช้เป็นยาฆ่า แมลง ไม่ว่าจะเป็นโล่ติ๊น (ใช้เบื่อปลา) ไพรีธรัม (ซึ่งนำมาสกัดยาฆ่าแมลงที่เรียกว่าไพรีธริน) หนอนตายหยาก หรือแม้กระทั่งยาสูบ เป็นต้น


ทั้งหมดนี้เป็นพืชที่รู้จักกันดี แต่คงไม่มีใครกล้าเอามากิน เพราะรู้อยู่ว่ามีพิษ และคงเคยได้ยินว่าสมุนไพรบางชนิดหากใช้เดี่ยวๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันยาวนาน ก็อาจก่อปัญหาให้ตับได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารธรรมชาติจากพืชหรือสมุนไพร หรือสารเคมีสังเคราะห์ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจากธาตุต่างๆ เหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการได้มาเท่านั้น เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่ว่าสารจากธรรมชาติมีความปลอดภัยกว่าสารสังเคราะห์ นั้น คงต้องทำความเข้าใจกันใหม่ ความปลอดภัยไม่ได้ขึ้นกับว่าเป็นสารธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ แต่ว่าขึ้นอยู่กับชนิดของสารแต่ละอย่างมากกว่า

สารเคมีที่อยู่ใกล้ตัวเรา อย่างเช่นเกลือที่นำมาใส่แกง ก็จัดว่าเป็นสารธรรมชาติ หากใส่ในปริมาณพอดีก็ช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้น แต่หากกินมากๆ ก็รู้กันอยู่ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายมากเช่นกัน หรืออย่างน้ำตาลทรายที่ได้มาจากอ้อย ตอนที่เป็นน้ำอ้อยก็เป็นสารจากธรรมชาติแต่พอมาผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ก็ไม่ต่างจากกระบวนการสังเคราะห์สารต่างๆ ที่เรารู้จักกัน แต่เราก็ยังกินกันได้โดยไม่ปฏิเสธ ดังนั้นหากเข้าใจเรื่องนี้และเดินสายกลางก็น่าจะดีกว่าการตั้งป้อมรังเกียจ สารสังเคราะห์ทั้งหลาย เพราะว่าในชีวิตจริงคงไม่มีใครหลีกหนีสารเคมีได้พ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตามครับ!


soclaimon.wordpress.com/category/...









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (2541 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©