-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 338 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร






ใช้ "แอลกอฮอล์" ผสมสารสกัดพืชสมุนไพร
ทางเลือกเกษตรกร "ป้องกัน-กำจัดศัตรูพืช"



ยุคข้าวยากหมากแพงเกษตรกรต้องพยายามหาวิธีลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้เหลือกำไรไว้เลี้ยงชีพและครอบครัว การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน โดยการใช้สารสมุนไพรที่หาได้ไม่ยากนักในท้องถิ่นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในขณะที่ส่วนใหญ่ยังคงเน้นใช้วัตถุมีพิษเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากความเคยชิน ส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ กับตัวเกษตรกรเอง หากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องและขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติในการใช้วัตถุมีพิษเหล่านั้น


 
จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปีหนึ่งๆ มีผู้ป่วยเนื่องจากการใช้วัตถุมีพิษประมาณ 5,000 คน ผู้ที่ได้รับวัตถุมีพิษเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งสูง นอกจากนั้นยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางอ่อนแอลงในรุ่นลูกหลาน


บัวเพชร ใจแสน อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา จ.ชัยนาท วัย 53 ปี ประธานเกษตรธรรมชาติชุมชนตำบลวังไก่เถื่อน กล่าวถึงการใช้สารสกัดสมุนไพรเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบหมัก คั้น บดผง จะต้องทำและใช้ในทันทีทันใด เพราะไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เมื่อจะใช้จึงค่อยทำ หากเกษตรกรละเลยการตรวจแปลง พบการระบาดของของโรค-แมลงศัตรูพืชก็จะควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ยากและไม่ทันการณ์


"ปัจจุบันมีการสกัดสารสมุนไพรนำมาผสมกับแอลกอฮอล์แล้วนำไปฉีดพ่นแทน ประสิทธิภาพจะดีกว่ามาก แต่ยังคงมีข้อจำกัดคือ ใช้ได้ในกรณีสารสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนและไม่สลายตัว เมื่ออยู่ในสภาวะอุณหภูมิสูง เช่นสารตะไคร้หอม ใบยูคาลิปตัส เป็นต้น แต่ไม่สามารถใช้ได้กับสะเดา ดังนั้นจึงต้องคิดหาวิธีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสกัดแอลกอฮอล์จากเหล้าขาว หรือแอลกอฮอล์เช็ดแผล และน้ำส้มสายชู แต่คงพบปัญหาและมีข้อเสียคือ ต้นทุนที่สูง"


ประธานเกษตรธรรมชาติชุมชนตำบลวังไก่เถื่อนอธิบายถึงวิธีการผลิตแอลกอฮอล์ว่า ทำไม่ยาก เพียงนำกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม ละลายในน้ำสะอาด 4 ลิตร ใส่ยีสต์ทำขนมปัง 1 ช้อนชา คนให้ทั่วหมักทิ้งไว้ 7 วัน ยีสต์จะเปลี่ยนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์รอการนำไปใช้สกัดสารสมุนไพรต่างๆ ได้ แต่เมื่อหมักได้ดีแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานเพียง 1 เดือน ถ้าไม่ใช้ให้หมดก็จะกลายเป็นน้ำส้มและเน่าเสียได้ แต่ถ้านำไปสกัดสมุนไพรและนำกากสมุนไพรที่สกัดออกแล้วสามารถเก็บสมุนไพรนั้นไว้ใช้ได้นานหลายเดือนตลอดฤดูการผลิต


"อย่างการสกัดสารสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืชจากยาสูบ และน้ำส้มควันไม้ โดยมีวิธีทำ คือ แอลกอฮอล์ 1 ลิตร น้ำส้มควันไม้ 1 ลิตร ใส่ยาสูบลงไปพอท่วม ใช้ตะแกรงวางบนและทับด้วยหินให้น้ำท่วมเสมอ ทิ้งไว้ 7 วัน คั้นเอาน้ำสมุนไพรไว้ใช้ทิ้งไว้ได้เป็นปี กากที่ได้นำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น โรยในแปลงผัก อัตราที่ใช้ 50 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร ควรฉีดพ้นเวลาแดดอ่อน สามารถป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวได้เป็นอย่างดี" บัวเพชรกล่าว

 บัวเพชรย้ำว่า การสกัดสมุนไพรด้วยแอลกอฮอล์จะสกัดสารสมุนไพรให้ออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าการใช้น้ำที่ละลายออกมาได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งสามารถเก็บไว้ได้นาน พร้อมใช้งานเมื่อเกิดการระบาดของศัตรูพืชได้อย่างทันกับสถานการณ์


ในขณะที่ รังสรรค์ กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวเสริมว่า การส่งเสริมเพื่อให้เกษตรกรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานนั้น เป็นนโยบายของจังหวัดชัยนาท เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “เมืองเกษตรมาตรฐาน สืบสานคุณภาพชีวิต” โดยในปี 2552 จังหวัดชัยนาทอนุมัติงบประมาณดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษและลดต้นทุนการผลิตจำนวน 80 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 20 คน ครอบคลุมทุกตำบลใน จ.ชัยนาท


"แนวทางการส่งเสริมด้วยการสร้างทีมวิทยากรเกษตรกร เพื่อร่วมเป็นทีมวิทยากรสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกร ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดินที่ลดการเผาตอซังและฟางข้าว การวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ยและปรับปรุงดินตามค่าวิเคราะห์ดิน การตรวจนับแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ การใช้สารสมุนไพร สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น"


เกษตรจังหวัดชัยนาทย้ำด้วยว่า ในส่วนของการผลิตแอลกอฮอล์สำหรับการสกัดสมุนไพรนั้น สามารถลดต้นทุนการผลิตและสกัดสมุนไพร เพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ควรนำไปใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น ห้ามนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เนื่องจากผิดกฎหมาย และอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพด้วย  
 
การใช้แอลกอฮอล์สารสกัดพืชสมุนไพรแทนสารเคมีหรือวัตถุมีพิษ 100% จึงนับเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย


"เกษตรอินทรีย์" หนทางรอดของเกษตรกร
สุธรรม จันทร์อ่อน หมอดินอาสาประจำอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากกรมพัฒนาที่ดินให้เป็นหมอดินอาสาดีเด่น และยังรั้งตำแหน่งปราชญ์ชาวบ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงข้อดีของเกษตรอินทรีย์ว่า นอกจากสามารถลดต้นทุนการผลิตได้แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของตนเองและครอบครัว ที่สำคัญยังป้องกันการเสื่อมโทรมของที่ดินทำกินอีกด้วย


"เมื่อก่อนผมก็ใช้สารเคมีเหมือนกัน แต่เมื่อได้กลับมาคิดถึงคำสอนของบรรพบุรุษ และเหนือสิ่งอื่นใดคือ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงกล่าวถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นทางออกทางรอดของเกษตรกรโดยแท้ ตั้งแต่นั้นมาผมจึงหันมาทำเกษตรพึ่งพาสารอินทรีย์ชีวภาพและปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีทุกชนิด"


ทุกวันนี้ครอบครัวของหมอดินสุธรรมมีความสุขดี จากการเพาะปลูกพืชผักแบบผสมผสาน มีพื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่ แบ่งพื้นที่ตามความเหมาะสมของดิน เป็นฟาร์มวัว บ่อเลี้ยงปลา แปลงหญ้า ประมาณ 10 ไร่ ส่วนอีก 7 ไร่ เป็นที่ปลูกบ้านที่พักอาศัย และปลูกหน่อไม้ฝรั่ง พริก มะเขือ กล้วยน้ำว้า ไผ่ ไว้รอบๆ บริเวณ ซึ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นการผลิตที่เกื้อกูลกัน


"ผมพิสูจน์มาแล้วว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถลดต้นทุนได้ไม่ต่ำกว่า 60-70% ถึงแม้ว่าผลผลิตจะได้ไม่สูงเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมี แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับรายได้แล้วนับว่าคุ้มค่า แต่ละปีมีรายได้เหลือไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่พออยู่ได้” สุธรรมกล่าวทิ้งท้าย  



ทีมข่าวเกษตร


ที่มา  :  คม ชัด ลึก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (3550 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©