-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 332 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร





สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร




รศ.ดร.สุรพล วิเศษสรรค์ และคณะวิจัย ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



ปีหนึ่งๆประเทศไทยนำเข้าสารเคมีมาใช้กำจัดปลวกและศัตรูในบ้านเรือนและทางการเกษตรจำนวนมาก
ซึ่งเป็นสาเหตุของอันตรายต่อผู้บริโภค สภาพแวดล้อม และพิษตกค้างในอาหารและยังเป็นปัญหาต่อเนื่องกับเศรษฐกิจของประเทศ

เราทราบหรือไม่ว่าสารเคมีต่างๆเหล่านั้นส่วนหนึ่งมีอยู่แล้วในพืชสมุนไพรบ้านเรา
พืชก็เหมือนสัตว์โดยทั่วไป เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่ต้องมีการต่อสู้ กับการรบกวนจากสิ่งที่มีชีวิตอื่นเช่นแมลง และศัตรูพืชอื่นๆซึ่งมีวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันนับร้อยล้านปี และถือเป็น
animal plant interaction ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ส่วนหนึ่งของการป้องกันตัวเองของพืชคือการสร้างสารธรรมชาติที่เรียกว่าสารทุติยภูมิ (secondary plant substanes) หรือสารalleochemicals สารดังกล่าวเป็นสารที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมในการดำรงชีพของพืช และได้รับการคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) ให้คงอยู่ในระบบนิเวศวิทยา ทำให้พืชเหล่านี้ประสบผลสำเร็จอยู่รอดจากศัตรูที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตมาได้นับร้อยล้านปี ตัวอย่างเช่นสารธรรมชาติที่พบในต้นสัก ซึ่งปลวกไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้ไม้สักเป็นต้นไม้ชนิดเดียวที่ปลวกไม่สามารถย่อยสลายได้





สารเคมีธรรมชาติในพืชมีหลายชนิดที่แสดงผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชากรศัตรูพืชและศัตรูใน
บ้านเรือน เช่น

สาร
cucumin ที่พบในเหง้าขมิ้นชัน มีผลหยุดการทำงานของเอนไซม์ของเชื้อราและฆ่าจุลลินทรีย์ในท้องปลวก และหนอนใยผัก

สาร
annonine ในเมล็ดน้อยหน่า มีผลต่อการทำลายเยื่อ mucus membrane สามารถใช้ในการควบคุมประชากรของไรแดงอัฟริกัน และหอยเจดีย์ ได้อย่างดี

สาร
azadirachtin จากเมล็ดสะเดามีผลต่อการยับยั้ง ecdysol hormone ใช้เป็นสารที่ลดการพัฒนาการของด้วงถั่ว หนอนใยผัก ทำให้แมลงไม่โต

สาร
rotenone จากรากหางไหล และรากหนอนตายหยากเป็นสารที่มีผลต่อการหายใจระดับเซลล์ ของแมลงจำพวกปากดูดและเจาะดูด และปลวก

สาร
citronellol จากใบตะไคร้หอม มีผลต่อเอนไซม์ที่ใช้ในการสื่อประสาทในยุงแมลงวัน และ แมลงสาบ

สาร
eupathal จากใบสาบเสือมีผลต่อการเพิ่มปริมาณเกล็ดเลือดในสัตว์เลือดอุ่นแต่มีผลทำให้แมลงโดยไปลดระดับเอนไซม์เอสเทอเรสทำให้แมลงไม่วางไข่ ใช้ในการกำจัดหนอนใยผัก และเห็บหมัด

สาร
capsaisin จากเมล็ดพริก เป็นสารที่เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ในระบบ mixed function oxidase ลดอนุมูลอิสสละในสัตว์เลือดอุ่นแต่มีผลลดการทำงานของ glutathion-S-transferase ในมอดข้าวสาร กดภูมิคุ้มกันในปลวก




รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของสมุนไพรอื่น เช่น

ฟ้าทะลายโจรในการไล่หนู และใช้ผสมกับสารสกัดจากสาบเสือใช้
ไล่นกพิราบ สาร
selinnadiene ในหัวแห้วหมูเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้าย organochlorine มีผลในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เอสเทอเรสในปลวก และลูกน้ำยุงก้นปล่อง รวมถึงใช้ในการควบคุมประชากรมดได้อย่างดี
สาร
sesamine ในเมล็ดงา เป็นสารที่มีผลในการยับยั้งการพัฒนาของอนุมูลอิสสละในสัตว์เลือดอุ่นแต่มีผลในการลดการทำงานของ monooxygenase ในแมลงวันผลไม้ และ หนอนเจาะสมออเมริกัน

สาร
mangostin
ในเปลือกมังคุดเป็นสารที่พบว่ามีผลต่อการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในแมลงหลายชนิดที่อยู่ในโรงเก็บ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สาร
alkaloids จากเหง้าว่าน้ำ และ บอระเพ็ด มีผลในการยับยั้ง โคลีนเอสเทอเรส ในเลือดและเห็บหมัด ทำ ให้เห็บหมัดและเลือดไม่สามารถเจาะดูดเลือดและเกาะบน host ได้ และมีผลทำให้สัตว์เหล่านี้ไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอและฝ่อในที่สุด ในขณะที่

สาร
saponin จากกากเมล็ดชา และผลปะคำดีควาย ให้ผลดีต่อการลดประชากรหอยเชอรี และปลาศัตรูของชาวนากุ้ง ได้อย่างดี



จากการวิจัยที่ผ่านมาเป็นระยะเวลา
25 ปี ได้ผลการวิจัยสมุนไพรเพื่อทำการกำจัดแมลงและศัตรูในบ้านเรือนและในไร่นา ได้ถึง 16 ชนิด คือ สมุนไพรกำจัดปลวก เหยื่อล่อปลวก สมุนไพรกำจัดหนู เหยื่อล่อหนูสมุนไพรกำจัดแมลงสาบ เหยื่อล่อแมลงสาบ สมุนไพรกำจัดมด เหยื่อล่อมด แชมพูกำจัดเห็บ-หมัด-เลือด


สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี สมุนไพรกำจัดหนอนใยผัก สมุนไพรกำจัดแมลงวันและแมลงวันผลไม้ สมุนไพรกำจัด

มอดในเนื้อไม้ สมุนไพรกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สมุนไพรกำจัดเชื้อรา สมุนไพรไล่นก สมุนไพรเพิ่มคุณภาพ

ไหมไทย

นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากพืชสมุนไพรดังกล่าวมีผลต่อร่างกายในแง่สารบำรุงร่างกาย โดยได้พบ
สูตรสมุนไพรเพื่อทำเป็นเครื่องสำอาง เช่นครีมหน้านวล และสมุนไพรเพิ่มกระบวนการเผาผลาญเช่นสมุนไพรบำรุงหลอดเลือดจากกระชายดำ งานวิจัยทั้งหมดนี้ได้ให้บริการวิชาการและอบรมบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเพื่อเป็นวิทยาทานทั่วประเทศไทย ในรูปการบรรยาย สาธิต แผ่นพับ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ทีวี หรือทาง WWW.SURAPHON.COM ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยทั่วไป




ผู้สนใจสามารถหาดูและสอบถามทาง
web ได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความสนใจในรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อโดยตรงที่ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือโทรศัพท์
089-980-4983,  089-260-9725









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (5060 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©