-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 377 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แก้วมังกร




หน้า: 2/5



สายพันธุ์                        
พันธุ์แม็กซิโก  :  ผลเล็ก   เนื้อขาว   เปลือกเหลือง   ขนาดผลเท่ามะระขี้นกผลใหญ่
พันธุ์ไต้หวัน   :  เนื้อแดง   เปลือกแดง   ขนาดผลเท่าพันธุ์ไทย
พันธุ์เวียดนาม  :  ผลใหญ่  เนื้อขาวครีม  เปลือกแดงอมชมพู รสหวานจัด กลีบใหญ่และห่าง
พันธุ์ไทย    :  ผลเล็กกว่าพันธุ์เวียดนาม เนื้อขาวครีม เปลือกแดงอมชมพู รสหวานอมเปรี้ยว
             กลีบเล็กและถี่กว่าพันธุ์เวียดนาม

หมายเหตุ  :
                       
- แก้วมังกรมีทั้งสายพันธุ์ดอก (ดอกมากแต่ไม่ติดผลหรือติดผลน้อย)  พันธุ์ผลดก และพันธุ์ผลไม่ดก  การเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ต้องตรวจสอบชนิดของสายพันธุ์ให้แน่นอนเสียก่อนเสมอ
- ปัจจุบันได้มีผู้นำสายพันธุ์ใหม่ๆจากต่างประเทศเข้ามามากมาย การที่จะระบุว่าสายพันธุ์ไหนดีหรือไม่ดีนั้นผู้บริโภค คือ ผู้ตัดสิน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจปลูกแก้วมังกรสายพันธุ์ใหม่ที่ผู้บริโภคยังไม่รู้จักจะต้องคิดให้รอบคอบก่อนเสมอ



การขยายพันธุ์  
                       
ชำกิ่งในถุง :
  
เลือกกิ่งแก่จัดตัดเป็นท่อนยาว 30-50 ซม.  ถ้าเป็นกิ่งช่วงปลายให้ตัดปลายยอดทิ้ง นำด้านโคนกิ่งลงจุ่มแช่ในฮอร์โมนไคตินไคโตซาน 20-30 นาที  นำขึ้นผึ่งลม  ทาแผลรอยตัดด้วยปูนกินหมาก ทิ้งให้ปูนแห้งแล้วจึงนำไปปักในถุงแกลบดำอัดแน่นลึก 5-6 นิ้ว  มีไม้หลักปักยึดป้องกันต้นโยก  เก็บในเรือนเพาะชำ  ให้น้ำสม่ำเสมอ  ประมาณ 20 วันเมื่อรากเริ่มงอกก็จะมียอดแตกออกมาจากข้อ  บำรุงเลี้ยงจนยอดแตกใหม่โตสมบูรณ์เต็มที่หรือรากบางส่วนแทงออกมานอกถุงแล้วจึงนำไปปลูกในแปลงจริง ต้นที่ปลูกจากกิ่งชำไม่กลายพันธุ์  โตเร็วและให้ผลผลิตเร็ว......ถ้าใช้ยอดอ่อน กิ่งอ่อน กิ่งแก่ยาวน้อยกว่า 20 ซม. นำไปชำแล้วมักไม่ออกรากแต่จะเน่าตายไปเลย
                       
ชำกิ่งในแปลงปลูก  :                                  
เลือกกิ่งแก่ขนาดยาว 50-120 ซม. ปักลงดินที่โคนหลักปลูกในแปลงจริงโดยหันด้านแบนของกิ่งแนบชิดหลัก  รัดด้วยเชือกพอหลวม 2-3 เปราะ   ปักกิ่งลึก 5-10 ซม.หรือให้ข้อจมดิน 2-3 ข้อ กลบดินโคนกิ่งให้แน่น  ใช้เศษหญ้าหรือฟางคุมหน้าดินและคุมทับกิ่งที่ปักชำเพื่อบังแสงแดด  หลังจากปักกิ่งลงไปแล้วให้น้ำพอหน้าดินชื้นอยู่เสมอและระวังอย่าให้น้ำขังค้างจนดินโคนต้นแฉะเกินไป ประมาณ 15-20 วันกิ่งชำเริ่มแทงรากจากนั้นก็จะแทงยอด
                         
ตอน :                                  
เลือกกิ่งแก่  กิ่งชี้ขึ้นดีกว่ากิ่งชี้ลง  ใช้มีดคมๆเฉือนกิ่งบริเวณใต้ตาเฉียงลง 45 องศา ลึกถึงแกนในทั้งสามด้าน แกะเปลือกกับเนื้อออกจนเหลือแต่แกนใน  ขูดเยื่อเจริญรอบแกนเหมือนการตอนกิ่งไม้ผลยืนต้นทั่วๆไป  ทาแผลด้วยฮอร์โมนเร่งราก (ทำเอง) จากนั้นจึงหุ้มด้วยตุ้มตอนขุยมะพร้าวตามปกติ  บำรุงไปเรื่อยๆประมาณ 20-30 วันก็จะมีรากออกมา  เมื่อเห็นว่ามีรากมากพอจึงตัดลงมาชำในถุงดำต่อไป                         

หักกิ่ง :                       
เลือกกิ่งกลางอ่อนกลางแก่หรือกิ่งแก่จัดอยู่ใกล้ๆวัสดุที่รากสามารถยึดเกาะได้ หักกิ่งให้เหลี่ยมฉีก 1 ด้านแล้วปล่อยไว้อย่างนั้นจะมีรากแทงออกมาจากรอยหักของกิ่ง  เมื่อมีรากแล้วให้ตัดลงมาชำในถุงดำต่อไป

เพาะเมล็ด :                            
เลือกผลแก่จัด  ขยำเมล็ดแยกจากเนื้อ  นำเมล็ดผึ่งลมให้แห้ง  ทิ้งไว้ 2-5 วันเพื่อพักตัวแล้วนำลงแช่ในไคตินไคโตซานนาน 12 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้งอีกครั้งจึงนำไปเพาะในกระบะเพาะเมล็ดธรรมดา  กล้างอกขึ้นมาแล้วบำรุงเลี้ยงตามปกติและเมื่อต้นกล้าโตดีแล้วก็ให้ย้ายลงปลูกในแปลงจริงต่อไป ต้นที่เกิดจากการเพาะเมื่อโตขึ้นจะกลายพันธุ์                        


ระยะปลูก
                        
ระยะปกติ :
                       
- ปลูกแบบแถวเดี่ยวขวางตะวัน  ระยะห่างระหว่างต้น (หลัก) และระหว่างแถว 4 X 4 ม. หรือ 4 X 6 ม.
  ปลูกแบบนี้ทำให้ทุกหลักได้รับแสงอาทิตย์เท่าๆกัน                       
- ปลูกแบบแถวคู่ขวางตะวัน  ระยะห่างระหว่างแถว 4 ม.  ระยะห่างระหว่างต้น (หลัก) 2 ม. สลับฟันปลาเพื่อให้ทุกหลักได้รับแสงอาทิตย์                       
- ความสูงของหลักส่วนที่อยู่ดินสูง 1.20-1.50 ม.                        
ระยะชิด :                       
- 2 X 2 ม.  หรือ 2 X 4 ม.   แถวเดี่ยวหรือแถวคู่                       
- หลักสูง 80-100 ซม.
(เกษตรกรไต้หวันปลูกแก้วมังกรหลักสูง 50 ซม. ระยะห่าง 1 X 1 ม.)


เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
- ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                         
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                       

หมายเหตุ  :                       
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
                      
เตรียมต้น
                        
ตัดแต่งกิ่ง :
                      
- ใช้กรรไกตัดกิ่ง (ดัดแปลงพิเศษ) มีด้ามจับหรือใบกรรไกยาวๆ  ตัดกิ่งให้ชิดหัวหลัก
- กิ่งเก่าอายุมากหลายปีหรือกิ่งเคยให้ดอกผลมาแล้วหลายรุ่นให้ตัดออก ทั้งนี้ธรรมชาติของแก้วมังกรจะออกดอกติดผลจากกิ่งแตกใหม่ในปีนั้นดีและดกกว่ากิ่งแก่เก่าข้ามปี  และกิ่งใหม่ที่ออกในปีนั้นเลี้ยงดอกและผลได้ดีกว่ากิ่งแก่อายุหลายปี                       
- กิ่งใหม่แต่เป็นกิ่งคดงด  กิ่งเรียวเล็ก  กิ่งมีโรค  ให้ตัดออก
- ตัดกิ่งบังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก  ทำให้ทรงพุ่มบริเวณหัวหลักโปร่งจนแสงแดดส่องได้ทั่วถึงทุกกิ่ง  กิ่งได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งไม่ได้รับแสงแดด หรือได้รับแสงแดดน้อย
- การตัดแต่งกิ่งให้ตัดที่โคนกิ่งชิดหัวหลักเพื่อให้พื้นที่บริเวณหัวหลักโปร่ง ทำให้ไม่สะสมโรคและแมลง
- เลือกเก็บกิ่งแขนงที่แตกแยกออกมาจากกิ่งประธาน 2-3 กิ่ง  ระยะห่างกันมากๆไว้  ส่วนกิ่งแขนงอื่นๆโดยเฉพาะกิ่งที่อยู่ชิดกันเกินไปให้ตัดออก                         
- ต้นที่มีกิ่งน้อย (1 หลักมีกิ่ง 10-15 กิ่ง) ให้ผลผลิตดกและดีกว่าต้นที่มีกิ่งมากๆจนแน่นทึบ (เฝือใบ) และกิ่งมากทำให้น้ำน้ำหนักมากอาจทำให้หลักล้มได้อีกด้วย
- นิสัยการออกดอกของแก้วมังกรไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
- ต้นอายุมาก (3-5 ปี ขึ้นไป)  กิ่งบนหัวหลักเป็นกิ่งแก่แน่นทึบ  นอกจากจะน้ำหนักมากจนทำให้หลักล้มได้แล้ว  ยังเป็นกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผลอีกด้วย  แก้ไขโดยการตัดแต่งเฉพาะกิ่งที่แก่จัดจริงๆออกทิ้ง ในการปฏัติจริงค่อนข้างยากเพราะแต่ละกิ่งจะประสานกันแน่นมากจนแยกไม่ออกว่ากิ่งไหนเป็นกิ่งไหน  กอร์ปกับ  กิ่งแก้วมังกรมีหนามสร้างความยุ่งยากในการทำงานอย่างมาก  ส่วนใหญ่เจ้าของสวนจะเลือกวิธี  ตัดกิ่งหัวเสาทิ้งทั้งหมดหรือตัดตามความสะดวก  ตัดออกให้มากที่สุดเท่าที่สะดวก (ตัดแต่งแบบทำสาว) แล้วบำรุงเรียกยอด (กิ่ง) ใหม่   ซึ่งการบำรุงเรียกยอดใหม่หลังตัดแต่งแบบทำสาวนี้ ถ้าบำรุงเรียกยอดใหม่ไม่ถึงหรือไม่เต็มที่จริงๆ แก้วมังกรหลักนั้น
จะแตกยอดใหม่ไม่พร้อมกัน  ส่งผลให้การออกดอกติดผลในรุ่นปีการผลิตต่อมาไม่ดี  ต้องบำรุงเลี้ยง
แก้วมังการหลักนั้นต่ออีก 1 ปี  จึงจะเข้ารูปแบบเดิมได้                        

ตัดแต่งราก :
                       
- ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นควรใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
- ตัดแต่งได้ทั้งรากในดินและรากที่เกาะหลัก 




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©