-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 596 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี





กำลังปรับปรุงครับ

มารู้จักยาฆ่าแมลงกันเถอะ



ยาฆ่าแมลง

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ควบคุมและ กำจัดแมลงและไรศัตรูพืชในการ เกษตรและการสาธารณสุขมี สมบัติทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินได้ และเนื่องจากแมลงได้ทำลายผลผลิต ของพืชเศรษฐกิจให้เสียหายปีละ เป็นจำนวนมาก ทั้งยังเป็นพาหะ นำโรคมาสู่มนุษย์ สัตว์เลี้ยงและ พืชได้อีกด้วยความนิยมใช้ยาฆ่าแมลงในปัจจุบันจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ยาฆ่าแมลงที่ใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงสมัยปัจจุบันพอจะแบ่งออกได้เป็น 7 จำพวกคือ
 

1. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารอนินทรีย์ inorganic insecticide ได้แก่ สารจำพวกสารหนู กำมะถันผง และคอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate)สารหนูเป็นยาฆ่าแมลงที่ใช้กันมานานแล้ว นิยมใช้ในการป้องกันกำจัดแมลง ประเภทปากกัดกิน เช่น แมลงสาบ ปลวก ตั๊กแตน และตัวหนอนผีเสื้อ กินพืชบางชนิด ถึงแม้ว่าจะมีอันตรายน้อยต่อแมลงที่มีประโยชน์ แต่มีพิษ ต่อคนและสัตว์มาก สลายตัวได้ยากและมีพิษต่อพืชสูง
 


2. ยาฆ่าแมลงจำพวกสกัดมาจากพืช (botanical insecticide) ได้แก่ ยาฉุน ได้จากใบยาสูบ โล่ติ้นได้จากรากของต้นหางไหล (Derris elliptica) และไพรีทรินส์ได้จากดอกต้นไพริทรัม (Chrysanthemum cineraiaefolium) ยาฆ่าแมลงจำพวกนี้โดยเฉพาะไพรีทรินส์นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยผสมกับยาฆ่าแมลงอื่นๆ บรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฆ่ายุง มีพิษต่อระบบหายใจของแมลง แมลงจะมีอาการขาดออกซิเจนและเป็นอัมพาตตายในที่สุด มีพิษต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สลายตัวได้รวดเร็ว จึงไม่มีพิษตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม
 


3. ยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocabon) หรือยาจำพวกออร์กาโนคลอรีน (organochlorine)ได้แก่ ดีดีที เคลเธน คลอเดน อัลดริน ดรีลดริน ฯลฯ ใช้กำจัดแมลงได้อย่างกว้างขวาง มีพิษคงทนอยู่ในธรรมชาติได้นาน จึงมีปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก
 


4. ยาฆ่าแมลงจำพวกออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ พาราไธออนหรือโพลิดอล ซูมิไธออน มาลาไทออน กูซาไทออน เมวินฟอส ไดอะซิโนน ไดซีสตอน ฯลฯ มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าแมลงและสลายตัวได้รวดเร็วหลังการใช้จึงใช้ได้ดีในพืชผัก โดยการพ่นก่อน เก็บเกี่ยวในระยะเวลาสั้นๆ บางชนิดมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม (systemic insecticide)จึงใช้ได้ดีในการปราบแมลงปากดูด จำพวกเพลี้ย และมวน และแมลงที่กัดกินอยู่ภายในลำต้น เช่น หนอนเจาะลำต้น



5. ยาฆ่าแมลง
 จำพวกคาร์บาเมต (carbamates) ได้แก่ คาร์บารีล หรือเซวิน เทมิค และฟูราแดน เป็นยาฆ่าแมลงที่ค่อนข้างใหม่กว่ายาฆ่าแมลง จำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน และออร์กาโนฟอสเฟต มีพิษต่อ มนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก ยกเว้นยาเทมิค สลายตัวได้รวดเร็ว ไม่ ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม แต่มีราคาค่อนข้างแพง
 


6. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารที่เป็นเชื้อโรคของแมลง (insect pathogens) ได้แก่ ทูริไซด์และอาร์โกนา ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและไวรอนเอช ผลิตจากไวรัส โดยที่เชื้อโรคของแมลงเหล่านี้รวมทั้งไส้เดือนฝอย สัตว์เซลล์เดียว และเชื้อรา จะทำให้แมลงเกิดเป็นโรคและตายในที่สุด นิยมใช้กันมากในต่าง ประเทศ เช่น ใช้เชื้อแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ในการปราบหนอน คืบผักกาด ข้อดีของยาฆ่าแมลงจำพวกนี้คือ จะมีอันตรายเฉพาะเจาะจงต่อ ศัตรูพืช แต่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อื่นๆ
 



7. ยาฆ่าแมลงจำพวกฮอร์โมนและเฟอโรโมน(hormones and pheromones) ยาฆ่าแมลงจำพวกนี้นับว่าค่อนข้างใหม่มาก และกำลังศึกษา ค้นคว้ากันอยู่ จากการที่ใช้ฮอร์โมนเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบการเจริญเติบโต และระบบการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น ใช้จูวีไนล์ ฮอร์โมน (juvanile hormone) กับลูกน้ำยุง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่เติบโตเป็นยุงตัวเต็มวัย ไม่เกิดการผสมพันธุ์ขึ้น ส่วนเฟอโรโมนนั้น ใช้ในการดึงดูดให้แมลงมารวมกันมากๆ ในจุดที่ต้องการ แล้วทำลายแมลงเหล่านั้นโดยเร็ว หรือการใช้เฟอโรโมนเทียมทำให้แมลง สับสนและหาคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติไม่ได้ ในที่สุดปริมาณจะลดลงหรือ สูญพันธุ์ไป
จะเห็นได้ว่า ยาฆ่าแมลงมีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติดีขึ้นเรื่อยๆ จาก จำพวกที่ฆ่าได้กว้างขวาง มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นสูง จนถึงจำพวก ที่ฆ่าจำเพาะต่อแมลงศัตรู และมีพิษตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมน้อยมาก จึงควรพิจารณาเลือกใช้ยาฆ่าแมลงที่ผลิตขึ้นมาใหม่ๆ และมีความปลอดภัย ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมสูงเท่านั้น
 



http://taladkaset.net/CropsBoard/index.php?option=com_content&view=article&id=11%3Ainsecticide&catid=28%3Acurrent-users&Itemid=44&utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+taladkaset%2FskYB+%28%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%29









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1047 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©