-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 181 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








109. ประชาชนควรทำอย่างไรบ้างกับ GMOs

   ประชาชนควรติดตามข่าวสารพืชตัดต่อสารพันธุกรรม อย่างต่อเนือง ใกล้ชิดและมีเหตุผล ใช้หลักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ เหตุและผลความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้น ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ ยากที่จะหยุดกระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ สิ่งที่ทำได้ ประการหนึ่งของภาครัฐ คือ การแจ้งประกาศ หรือ ติดสลากว่าพืชชนิดใดเป็น GMOs พืชชนิดใดไม่เป็น GMOs เช่นนี้ย่อมเป็นทางเลือกให้ทุกฝ่ายทุกคน มีสิทธิเลือกบริโภคได้




108. อาหารที่ได้จากพืช หรือสัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม มีความปลอดภัย มากน้อยเพียงใด


   ต้องยอมรับว่า อาหารเกือบทุกชนิดที่รับประทานอยู่ทุกวันนี้ ก็มิได้มีความปลอดภัยไปเสียทุกอย่าง อาหาร GMOs ก็เช่นเดียวกันโดยหลักทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานควรวิเคราะห์ว่า ยีนที่ตัดต่อเข้าไปเพื่อสร้างพืชใหม่ขึ้นมานั้น เป็นยีนชนิดใด มีความปลอดภัยหรือไม่ต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นยีนที่ไม่เป็นอันตราย ก็น่าจะปลอดภัย ส่วนจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นยีนที่ไม่อันตรายก็ต้องค้นคว้าพิสูจน์กันต่อไป




107. มีบริษัทใดบ้างที่นำเข้าพืชตัดต่อสารพันธุกรรมมาปลูก หรือจำหน่าย ในประเทศไทย


   บริษัทที่นำเข้าพืช GMOs มาปลูกทดลองในประเทศไทยขณะนี้ ได้แก่ บริษัทมอนซานโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัทโนวาร์ทิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัททั้งสองนำเข้ามาโดยได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพื่องานทดลองวิจัยเท่านั้น โดยอยู่ภายใต้การควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กรมวิชาการเกษตร ได้กำหนดไว้อย่าง เคร่งครัด ที่ต้องนำเข้าเพื่อการทดลองนั้น เพราะเราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ด้วย ประเทศอื่นหลายๆ ประเทศ ก็ปฏิบัติเช่นนี้ การเปิดให้มีการทดลองวิจัยย่อมทำให้เราติดตามถึงผลดี ผลเสียอย่างแท้จริงของ GMOs ได้ และเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบหรือถ้าหลังในงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งนับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น




106. ความวิตกกังวลต่อพืชตัดต่อสารพันธุกรรมในต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้าง


   ความวิตกกังวลกับปัญหาพืชตัดต่อสารพันธุกรรมในต่างประเทศ มีลักษณะไม่แตกต่างจากประเทศไทยมากนัก เพราะ คงต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใดๆ เมื่อเกิดขี้นในโลก ย่อมมีกลุ่มบุคคลยอมรับได้ส่วนหนึ่ง และไม่ยอกรับส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน แคนาดา และออสเตรเลีย ยอมรับพืชตัดต่อสารพันธุกรรมในระดับหนึ่ง ดังเช่น ญี่ปุ่น ยอมให้พืช ตัดต่อสารพันธุกรรม 29 ชนิด เข้าประเทศได้ และยอมรับการปนเปื้อน GMOs ที่ระดับ 5% ขณะที่กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) จะยอมให้มี การปนเปื้อนที่ระดับ 1% ประเทศในสหภาพยุโรปนั้นค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับพืชตัดต่อสารพันธุกรรม ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า อาจใช้เรื่องนี้เป็นข้อต่อรองทางการค้ากับสหรัฐอเมริกามากกว่าความวิตกกังวลต่อ GMOs




105. ใครเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ


   กรมวิชาการเกษตร มีพระราชบัญญัติกัดพืช พ.ศ.2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ซึ่งมีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดพืช 40 ชนิด เป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้นสิ่งที่เป็นเมล็ดพันธุ์ (Seeds) เมล็ด (Grains) และกากพืช กรมวิชาการเกษตร จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ โดยต้องกำกับดูแลสิ้นค้าพืชที่ประกาศในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นี้ โดย เคร่งครัด มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำพืช เหล่านี้ เข้ามาในราชอาณาจักร ส่วนที่มีลักษณะเป็นอาหารสำเร็จรูป เป็นหน้าที่ของ หน่วยราชการอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น




104. สำหรับประเทศไทยมีมาตราการอย่างไรบ้างในการควบคุม GMOs


   ประเทศไทย รัฐบาลมีนโนบายที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่ให้นำเข้าพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเข้ามาในราชอาณาจักรในเชิงพาณิชย์ จะอนุญาตเฉพาะเพื่อการทดลองวิจัยเท่านั้น และการนำเข้าเพื่อการทดลองวิจัย ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการความปลอดภัย ทางชีวภาพด้านการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ




103. มีหน่วยงานใดบ้างที่สามารถตรวจสอบพืช GMOs ได้


   ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และในอนาคตมีเพิ่มอีกหลายหน่วยงาน




102. ในน้ำมันพืชที่สกัดจากถั่วเหลืองที่เป็น GMOs จะมี GMOs หรือไม่


   กรรมวิธีในการแยกสกัดน้ำมันพืช โดยทั่วไป มีขั้นตอนของการหมุนเหวี่ยงเพื่อแยกให้ได้น้ำมันที่บริสุทธิ์ ในขั้นตอนนี้ จะสามารถแยกสกัด DNA ของ GMOs ออกไปได้ นอกจากนั้นอย่างต้องผ่านความร้อนภายใต้ความดันสูงอีกด้วย ดังนั้นน้ำมันถั่วเหลืองที่บริสุทธิ์ไม่น่าจะมี GMOs หลายประเทศในสหภาพยุโรปจึงยอมรับว่า สำหรับน้ำมันพืช แล้วไม่ต้องติดสลากก็ได้




101. ยีนอะไรบ้างที่ตัดต่อใน GMOs


   มียีนอย่างน้อย 4 ชนิดที่ตัดต่อใน GMOs คือ Novel gene ยีนที่ตัดต่อเข้าเพื่อสร้างคุณลักษณะตามที่ต้องการ เช่น ยีน CryIA(c) ของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thurengiensis (BT) ที่ตัดต่อเข้าไปในฝ้าย เป็นยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนที่เป็นพิษกับระบบทางเดินอาหารของหนอนเจาะสมอฝ้าย ทำให้หนอนตาย การตัดต่อยีนเข้าในข้าวโพด ถั่วเหลือง เพื่อให้ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสส (glyphosate) เป็นต้น

   - Promoter gene เป็นยีนช่วยการแสดงออกของ novel gene 

   - Terminator gene เป็นยีนที่ช่วยหยุดการแสดงออกของ novel gene Marker gene เป็นยีนที่ตัดต่อเข้าไปในพืชเพื่อให้พืชนั้นแสดงความต้านทานต่อสารปฏิชีวนะ




100. ปัจจุบันมีพืชตัดต่อสารพันธุกรรมไรบ้างที่ควรรู้ และสร้างขึ้นเพื่ออะไร


   ปัจจุบันมีพืชตัดต่อสารพันธุกรรมหลายชนิดแล้ว และนักวิทยาศาสตร์ยังคงสร้างพันธุ์พืชใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ พืชที่สร้างขึ้นมาเหตุผลในด้านต่างๆ คือ

   1. มะละกอ สร้างขึ้นเพื่อให้ต้านทานต่อเชื้อไวรัส papaya ringspot virus สาเหตุโรคจุดวงแหวนของมะละกอ

   2. พริกหยวก สร้างพันธุ์ให้เพิ่มปริมาณของวิตามิน A และ C

   3. มะเขือเทศ สร้างพันธุ์เพื่อให้มีผลสุกช้า และรสหวานขึ้น 

   4. ฝ้าย สร้างพันธุ์ให้ต้านทานต่อการกัดกินของหนอนเจาะสมอฝ้าย 

   5. ถั่วเหลือง สร้างพันธุ์ให้ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช glyphosate

   6. ข้าวโพด สร้างพันธุ์ให้ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช glyphosate และ ต้านทานหนอนเจาะสมอฝ้าย มันฝรั่ง สร้างพันธุ์ให้ต้านทานต่อเชื้อไวรัส ด้วงกัดกินใบบางชนิด และไม่ดูดซับ น้ำมันในขณะทอด




99. การสร้างพันธุ์ใหม่ซึ่งพยายามจะใช้วิธีการตัดต่อสารพันธุกรรมนั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเปลี่ยนมาใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์แบบ conventional


   เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์แบบ conventional จะใช้เวลายาวนานกว่า เป็นการสร้างพันธุ์โดยต้อง อาศัยเพศซึ่งยุ่งยากกว่า ในขณะที่การสร้างพันธุ์ใหม่โดยการตัดต่อยีน จะทำได้ง่ายไม่ต้องใช้เพศ สามารถได้พันธุ์ใหม่โดย ใช้เวลาสั้น




98. DNA ทนความร้อนได้หรือไม่ ที่อุณหภูมิน้ำเดือด หรือ 100 ํ C DNA0จะเสื่อมสลายไปหรือไม่


   DNA สามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงๆ ได้ จากการทดลองตรวจสอบ DNA บางชนิดที่ตัดต่อเข้าในพืช GMOs โดยทดลองใช้ อุณหภูมิ 100 ํ C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่า DNA ที่ตัดต่อเข้าในพืช GMOs นั้นยังคงอยู่ ยังไม่เสื่อมสลายไป


www.kasetonline.net/newsite/index.php?id=45
-






GMOs
         GMOs เป็นตัวย่อของคำว่า Genetically Modified Organisms มีความหมายว่า สิ่งมีชีวิตที่ได้จากการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเท่านั้น สารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA เป็นสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน (GENE) และสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะเป็นสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์

        จุลินทรีย์ GMOs นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMOs ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการกำจัดคราบน้ำมันได้ดี

        พืช GMOs เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง มะละกอ เรานิยมทำ GMOs ในพืชเพราะว่าทำได้ง่ายกว่าสัตว์ และสามารถศึกษาพืช GMOs ได้หลายๆ ชั่วอายุของพืช (Generation) เพราะว่าพืชมีอายุสั้นกว่าสัตว์ ซึ่งอายุของสัตว์แต่ละ Generation นั้นกินเวลานานหลายปี

        สัตว์ GMOs เช่น ปลาแซลมอน ซึ่ง Modified หมายความว่า ปลานี้ได้รับการปรุงแต่ง หรือดัดแปลงโดยมนุษย์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะมนุษย์ล้นโลกได้เป็นอย่างดี จึงเป็นวิธีพัฒนาการทางด้านอาหารสำหรับบริโภคของมนุษย์

 วิธีการทำ GMOs

       ปัจจุบันนักเทคโนโลยีชีวภาพได้ทำการศึกษาวิจัยด้าน GENE หรือ GENOME ทำให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในสิ่งที่มีชีวิตและยีน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะให้ดีกว่าเดิม คือ การทำ GMOs นั่นเอง

           สำหรับ GENETIC ENGINEERING หรือพันธุวิศวกรรมนั้น เป็นวิธีการที่เรียกว่า Biotechnology หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพ เป็นวิธีการที่คัดเลือกสายพันธุ์โดยทำลงไปที่ยีนที่ต้องการโดยตรง แทนวิธีการผสมพันธุ์แบบเก่า แล้วคัดเลือกลูกสายพันธุ์ผสมที่มีลักษณะตามความต้องการ ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานก็ตาม วิธีการทำ GMOs มี 2 ขั้นตอนดังนี้

             1. เจาะจงโดยการค้นหายีนตัวใหม่หรือจะใช้ยีนที่เป็น TRAITS (มีคุณลักษณะแฝง) ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ยีนตัวนี้อาจจะมาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ก็ได้

            2. นำเอายีนจากข้อที่ 1. ถ่ายทอดเข้าไปอยู่ในโครโมโซมของเซลล์ใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธี แต่วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน มี 2 วิธีคือ

                2.1 ใช้จุลินทรีย์ เรียกว่า Agro-Bacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป ซึ่งคล้ายกับการใช้รถลำเลียงสัมภาระเข้าไปไว้ในที่ที่ต้องการ

               2.2 ใช้ปืนยีน (GENE GUN) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวอนุภาคของทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช กระสุนที่ยิงเข้าไปเป็นทองและนำ DNA ติดกับผิวของกระสุนที่เป็นอนุภาคของทอง และยิงเข้าไปในโครโมโซมด้วยแรงเฉื่อย จะทำให้ DNA หลุดจากผิวของอนุภาคของทอง เข้าไปอยู่ในโครโมโซม ส่วนทองก็จะอยู่ภายในเนื้อเยื่อโดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ

              เมื่อเข้าไปอยู่ในที่ใหม่ จะโดยวิธี 2.1 หรือ 2.2 ก็ตาม ยีนจะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืชนั้นมิได้เป็นการถ่ายทอดเฉพาะยีนที่ต้องการเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดชุดของยีนเรียกว่า GENE CASSETTE โดยนักวิทยาศาสตร์ที่นำเอายีนที่ต้องการนั้น ไปผ่านขบวนการเสริมแต่ง เพื่อเพิ่มตัวช่วย ได้แก่ ตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นและยุติ และตัวบ่งชี้ปรากฏการณ์ของยีน ซึ่งตัวช่วยทั้งสองเป็นสารพันธุกรรมหรือยีนเช่นกัน ทั้งหมดจะถูกนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นชุดของยีนก่อนจะนำชุดของยีนนั้น ไปฝากไว้กับเชื้ออะโกรแบคทีเรียมหรือนำไปเคลือบลงบนผิวอนุภาคของทองอีกทีหนึ่ง   นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพ่วงตัวช่วยเหล่านั้นกับยีนที่ต้องการเพื่อใส่ยีนเข้าไปในเซลล์พืช ให้สามารถทำงานได้ หรือสามารถควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ เมื่อมีตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นหรือให้ยุติ ก็เปรียบเหมือนกับสวิตช์ที่เปิดปิดได้นั่นเอง
            
นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการติดตามหรือสะกดรอยชุดยีนที่ใส่เข้าไป โดยตรวจหาสัญญาณตัวบ่งชี้การปรากฏของยีน ซึ่งตัวบ่งชี้นี้ช่วยให้สามารถคัดแยกเซลล์พืชหรือต้นพืชที่ได้รับการใส่ชุดยีนได้

 วิธีการตรวจหา GMOs ในพืชหรือในอาหาร

       วิธีการดูด้วยตาเปล่าไม่สามารถบอกได้ว่าพืชชนิดใดเป็น GMOs ต้องใช้เทคนิคชั้นสูง ต้องมีแลบ มีเครื่องมือ มีนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญตรวจหาสาร GMOs  คือ ยีนที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด  คือ 35 S PROMOTER และส่วนที่เป็นสวิตซ์ปิดเรียกว่า NOS TERMINATOR หรือตรวจยีนตัวเลือก เรียกว่า MARKER GENE หรือ SELECTABLE MARKE GENE จะค่อนข้างยุ่งยากและลำบากในการตรวจพอสมควร

 

http://sites.google.com/site/krunoinetwork/gmos-technic









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1640 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©