-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 621 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร









ผ้าไหมไทย.คอม :
 
เขียนโดย Administrator   
 

เรารู้จักการ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อใด

มนุษย์รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว จีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอเป็นอาภรณ์เครื่องนุ่งห่ม และเป็นผู้ผูกขาดทำสินค้าผ้าไหมส่งไปขายต่างประเทศเป็นเวลานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ความลับเรื่องไหมจึงได้แพร่ไปถึงประเทศญี่ปุ่น ประมาณ พ.ศ. ๗๓๘ และที่ยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๑๘ ในอินเดียไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าได้รับความรู้นี้ไปจากจีน หรือคิดค้นขึ้นเอง แต่เชื่อว่าอินเดียมีการเลี้ยงไหมมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ ปี เพราะมีบันทึกในพุทธบัญญัติไว้ว่าห้ามสาวกของพระพุทธเจ้าบิณฑบาตผ้าที่ใช้ทำที่รองนั่ง (สันถัต) ที่ทำจากไหม

สำหรับวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเมืองไทยสันนิษฐานว่าได้รับมาจากจีน ในสมัยโบราณที่ไทยเสียดินแดนให้แก่จีนก็อพยพถอยร่นลงมายังตอนใต้ของแหลมอินโดจีน ซึ่งคนไทยที่อพยพสมัยนั้น คงจะนำความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไหมติดตัวมาด้วย และได้เลี้ยงไหมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
 
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้กระ ทรวงเกษตราธิการดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงไหม โดยว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ซึ่งมี ดร. โทยาม่า เป็นหัวหน้าคณะ ให้มาสร้างสถานีเลี้ยงไหมปลูกหม่อน ณ ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพฯ และได้ยกแผนกไหมขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ แล้วขยายงานจัดตั้งสาขาขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๔๘ ได้ตั้งสาขาขึ้นอีกที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์และร้อยเอ็ด กิจการก้าวหน้าเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๖ การส่งเสริมการเลี้ยงไหมจึงชะงักและล้มเลิกไปเพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น ไหมเป็นโรคตายเป็นจำนวนมากจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๘ ทางราชการได้กลับมาสนใจการาเลี้ยงไหมอีกครั้งหนึ่ง โดยฟื้นฟูอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นการใหญ่จัดตั้งโรงสาวไหมกลางขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นศูนย์กลางของกสิกรไหมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๔ จังหวัด

ในระยะนั้นมีรายงานของกรมเกษตรและการประมงว่ามีกสิกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอยู่ถึง ๓๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน การส่งเสริมการเลี้ยงไหมในระยะนั้นเป็นไปอย่าลุ่มๆ ดอนๆ เพราะขาดกำลังทรัพย์และกำลังคน รังไหมที่ผลิตได้ก็มีคุณภาพต่ำมาก โรงสาวไหมกลางก็ต้องหยุดกิจการไป ประกอบทั้งมีสงครามเอเชียบูรพาด้วย จึงทำให้การเลี้ยงไหมชะงักไปเกือบ ๓๑ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลจึงได้หันมาส่งเสริมกันใหม่อีก งานด้านส่งเสริมดำเนินเรื่อยๆ มาโดยจัดตั้งหมวดส่งเสริมการเลี้ยงไหมขึ้นที่ปากช่อง พุทไธสง หนองคาย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา กรมกสิกรรรมจึงโอนงานมาดำเนินการขยายสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมขึ้นอีก ๒ แห่ง คือ สถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดบุรีรัมย์และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นตามแผนโคลัมโบก่อตั้งศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมาขึ้น ที่จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินงานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างจริงจัง และเป็นศูนย์กลางวิชาการเรื่องหม่อน ไหมที่จะนำไปส่งเสริมให้กสิกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตามแผนใหม่ให้ได้ผลดีเช่นเดียวกับต่างประเทศ นอกจากนี้สถานศึกษาในระดับสูง เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้เปิดสอนวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมความรู้ในระดับการศึกษาชั้นสูงควบคู่กันไปด้วย

ปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพนี้มี ๕ ประการ คือ
๑. หม่อน ต้องมีพันธุ์หม่อนที่ดีและปริมาณมากพอ
๒. ไหม ต้องมีพันธุ์ไหมที่ดี แข็งแรง โตเร็ว ทนทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง
๓. วิธีการเลี้ยง ต้องดัดแปลงวิธีเลี้ยงที่ทำให้ไหมโตเร็วแข็งแรง ประหยัดแรงงาน
๔. โรคและแมลงศัตรูของหม่อนและไหม ต้องควบคุมโรคและแมลงต่างๆ ที่ทำความเสียหายแก่หม่อนหรือไหมให้ได้
๕. การจัดการ การวางแผนการเลี้ยงที่ถูกต้อง กล่าวคือการดูแลสวนหม่อนระยะไหน ควรปฏิบัติตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย อย่างไร และกะระยะเวลาเริ่มเลี้ยงไหมตอนไหน ต้องกระทำให้สัมพันธ์กับสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและระยะที่มีใบหม่อนมากเพียงพอในขณะที่เลี้ยง ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป





รูปภาพ -  ต้นหม่อน



ลักษณะของต้นหม่อนเป็นอย่างไร

หม่อนเป็นพืชยืนต้นประเภทไม้พุ่ม เนื้ออ่อน เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ปลายใบแหลม ขอบใบอาจหยักเว้ามาก คล้ายใบมะละกอ หรือหยักน้อยคล้ายใบโพธิ์ บางชนิดมีขนเล็กใต้ใบ ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวลำต้นเรียบ ไม่มีหนาม มียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม บางพันธุ์ติดผลดก และโต รับประทานได้คล้ายผลสตรอเบอรี่ ซึ่งพันธุ์ที่กล่าวนี้มักไม่นิยมใช้ใบเลี้ยงไหมเพราะใบแข็งกระด้าง ไหมไม่ชอบกิน ต้นหม่อนที่ได้รับการบำรุงรักษาโดยถูกต้องอาจมีอายุยืนให้ปริมาณใบมากถึง ๒๕ ปี ในสมัยโบราณหม่อนเป็นพืชที่ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่เมื่อเลี้ยงไหมกันมากขึ้นต้องนำมาปลูกเพื่อให้ได้ใบมากพอแก่ความต้องการ


การเลือกที่ปลูกหม่อนต้องเลือกอย่างไร
หม่อนสามารถขึ้นได้ดีทั้งในสภาพดินดีและดินเลว โดยปกติชอบดินร่วมปนทราย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบที่ลุ่ม น้ำขังเพราะจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าขังนาน อาจถึงตายได้ คุณสมบัติของดินควรเป็นดินกลาง ไม่เป็นกรดเป็นด่าง กล่าวคือมีค่า PH ประมาณ ๖.๕-๖.๙ อนึ่งการเลือกที่ดินปลูกหม่อนควรพิจารณาถึงพืชที่ปลูกในบริเวณข้างเคียงด้วย ไม่ควรอยู่ใกล้แปลงยาสูบ สวนผัก หรือสวนผลไม้ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงเพราะสารนิโคตินในใบยาสูบหรือละอองยาที่ฉีดในสวนผัก สวนผลไม้ จะปลิวไปเกาะอยู่บนใบหม่อนจะเป็นอันตรายต่อหนอนไหมเมื่อเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงได้


สภาพดินฟ้าอากาศมีผลต่อหม่อนอย่างไร

หม่อนเป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้นสูง โดยเฉพาะในระยะที่ปลูกใหม่ จึงควรเริ่มปลูกในต้นฤดูฝนเมื่อหม่อนเจริญเติบโตดีแล้วจะทนแล้งได้ดี เพราะมีระบบรากแข็งแรงหยั่งลึกลงไปในดินได้หลายเมตร สามารถดูดน้ำที่อยู่ในดินลึก ๆ ได้ ในประเทศที่มีอากาศหนาว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี หม่อนจะทิ้งใบในฤดูหนาวแล้วพักตัวนิ่ง ข้ามฤดูหนาวไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ในปีต่อไปจึงจะแตกกิ่งแตกใบออกมาใหม่ แต่ที่มีอากาศร้อน เช่น ไทย อินโดนีเซีย อินเดียตอนใต้ หม่อนจะเจริญเติบโตได้ดีตลอดปีจะพักตัวบ้างในหน้าแล้งเท่านั้น หม่อนเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งที่มีแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงไม่เพียงพอ เช่น หม่อนที่ปลูกแซมระหว่างแถวไม้ผลหรือในสวนมะพร้าวจะทำให้ใบบางลำต้นสูงชะลูด ไม่เป็นพุ่ม


พันธุ์หม่อน
ตามธรรมชาติหม่อนมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน บางพันธุ์มนุษย์ผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้พันธุ์ซึ่งมีใบใหญ่และข้อถี่พันธุ์หม่อนที่ปลูกกันมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า ๒๐ พันธุ์ เช่น หม่อนน้อย หม่อนตาดำ หม่อนจาก หม่อนมี่ หม่อนไผ่ หม่อนส้ม หม่อนส้มใหญ่ หม่อนสร้อย หม่อนใบโพธิ์ หม่อนแก้วชนบท หม่อนแก้วอุบล หม่อนหยวก หม่อนแม่ลูกอ่อน หม่อนใบมน หม่อนจระเข้ หม่อนสา หม่อนใหญ่บุรีรัมย์ หม่อนตาแดง หม่อนแก้วสตึก ฯลฯ ส่วนพันธุ์หม่อนที่ทางราชการส่งเสริมให้ปลูก ได้แก่ หม่อนน้อยและหม่อนตาดำ เพราะเป็นพันธุ์ที่มีใบใหญ่ ไม่มีแฉก หรือมีแฉกน้อยมาก ให้ผลผลิตสูง โตเร็ว สามารถนำไปปลูกได้ดีในท้องที่แทบทุกแห่ง บางพันธุ์มีลักษณะใบเป็นแฉก ๆ มาก เนื้อใบน้อย ผลผลิตใบต่ำ แต่ก็สามารถทนทานต่อโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์หม่อนน้อย ซึ่งได้แก่พันธุ์หม่อนไผ่ หม่อนส้ม และหม่อนส้มใหญ่ เป็นต้น


ลักษณะประจำพันธุ์มีอะไรบ้าง
หม่อนน้อย เป็นหม่อนพันธุ์พื้นเมือง เจริญเติบโตดีลำต้นสีขาวนวล แตกกิ่งก้านมาก ใบใหญ่ค่อนข้างบาง เรียบเป็นมันไม่มีขน และไม่มีแฉก ใบมีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลมขอบหยักถี่ ดอกสีขาว มีดอกแต่ไม่ติดผล ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่เป็นโรครากเน่าได้ง่าย
หม่อนตาดำ เป็นหม่อนพันธุ์พื้นเมืองอีกพันธุ์หนึ่ง เจริญเติบโตเร็ว ท้องใบมีขนเล็กน้อย ลำต้นสีเขียวกว่าหม่อนน้อยใบไม่มีแฉก รูปไข่ สีเขียว ไม่เป็นมัน แต่หนา ใบจะร่วงง่ายใบหน้าแล้ง


หม่อนมีระยะปลูกเท่าไร
การที่จะทำสวนหม่อนให้ได้ดี ทั้งในด้านผลผลิตใบ และสะดวกต่อการเก็บแล้ว ควรปลูกเป็นแถวเดี่ยว ระยะปลูกที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องมือการเกษตรที่ใช้ในสวนหม่อน เช่นใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์และเครื่องมือทุ่นแรง
ถ้าใช้แรงงานคนซึ่งใช้จอบ เสียม ระยะระหว่างต้น ๗๕ เซนติเมตร ระหว่างแถว ๑๐๐ เซนติเมตร
ถ้าใช้แรงงานสัตว์ เช่น ใช้ความเข้าไปไถพรวน ควรใช้ระยะระหว่างต้น ๗๕ เซนติเมตร ระหว่างแถว ๑๕๐ เซนติเมตร
แต่ถ้าใช้รถแทรกเตอร์ควรปลูกระยะระหว่างต้น ๗๕ เซนติเมตร ระหว่างแถว ๒๕๐ เซนติเมตร ซึ่งสามารถทำสวนหม่อนนขนาดใหญ่ๆ ได้ ระยะปลูกดังกล่าวนี้ จะปลูกหม่อนได้ประมาณ ๑๕๐ ต้นต่อเนื้อที่ ๑ ไร่




ที่มา :  http://kanchanapisek.or.th









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (721 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©