-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 208 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร






"สถานเพาะชำ


      ในการดำเนินอาชีพทำสวนไม้ผล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การผลิตผลไม้เป็นการค้านั้น การที่กิจการนี้จะดำเนินไปได้ดี ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกิจการอื่น ๆ อีกหลายกิจการ เช่น

       ธุรกิจการผลิตและค้าขายวัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ      
    ธุรกิจการผลิตและค้าขายเครื่องมือและอุปกรณ์ในทางการเกษตร เช่น มีด กรรไกร จอบ เสียม ล้อเลื่อน รถบรรทุก รถแทรกเตอร์และอุปกรณ์พ่วง ฯลฯ
      ธุรกิจการตลาดของผลไม้

      นอกจากนี้ธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงและสนับสนุนการดำเนินการผลิตผลไม้เป็นการค้า หรือการดำเนินกิจการสวนไม้ผลก็คือธุรกิจสถานเพาะชำไม้ผล ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตต้นพันธุ์ไม้ผลเพื่อขายให้กับสวนไม้ผลการค้านำไปปลูกต่อไป ปัจจุบันมีเกษตรกรยึดธุรกิจนี้เป็นอาชีพอยู่เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดี และให้ผลตอบแทนเร็ว

ความหมาย

      คำว่า "สถานเพาะชำ" นั้น หมายถึง สถานที่ที่มีการเพาะขยายและชำต้นพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปปลูกในแปลงปลูกหรือสถานที่ปลูกถาวรต่อไป บางท่านได้ใช้คำว่า "เรือนเพาะชำ" ในความหมายเดียวกับคำว่า "สถานเพาะชำ" ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนนั้น คำว่า "เรือนเพาะชำ" น่าจะมีความหมายจำกัดเพียงตัวโรงเรือนที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะชำต้นไม้เท่านั้น ยังมีส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น แปลงขยายพันธุ์หรือเพาะชำในที่แจ้ง แปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ดี สถานที่เตรียมวัสดุปลูก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า "สถานเพาะชำ" ในกรณีที่ต้องการให้มีความหมายครอบคลุมองค์ประกอบและกระบวนการต่าง ๆ ในการเพาะชำ และขยายพันธุ์ไม้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

      การเพาะชำและขยายพันธุ์ไม้ ซึ่งเป็นงานหลักในสถานเพาะชำนั้น มีทั้งการเพาะชำ และขยายพันธุ์ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ป่าเพื่อปลูกป่าทดแทน ฯลฯ ตามความต้องการใช้ประโยชน์ ในกรณีของสถานเพาะชำไม้ผลนั้น มีลักษณะที่แตกต่างจากสถานเพาะชำต้นไม้ชนิดอื่น ๆ คือ

      1. การเพาะขยายและชำต้นพันธุ์ไม้ผล มักจะใช้เวลา 1-3 ปี โดยมีเป้าหมายเพียงให้ได้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงพร้อมลงปลูกในแปลงปลูกโดยเร็ว ไม่นิยมเก็บต้นพันธุ์ไว้ในสถานเพาะชำ จนกระทั่งออกดอกผล ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อมในสถานเพาะชำเหมาะกับการเจริญเติบโต ทางกิ่งใบมากกว่าการให้ดอกผล และหากเก็บรักษาต้นพันธุ์ไว้ในสถานเพาะชำนานเกินไป ต้นพันธุ์ไม้ผลจะไม่สามารถหยั่งรากยึดลำต้นได้ดี เมื่อนำลงปลูกในแปลงปลูก ในขณะที่การเพาะชำไม้ประดับอาจจะเก็บรักษาต้นพันธุ์ไม้ จนกระทั่งถึงเวลาใช้ประโยชน์ จึงนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ตั้งประดับหรือปลูกประดับได้ทันที ในกรณีเช่นนี้สถานเพาะชำนั้นจะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งเพาะพันธุ์และแหล่งผลิตไปพร้อมกัน ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ในสถานเพาะชำไม้ผล

       2. การเพาะขยายและชำต้นพันธุ์ไม้ผล มักจะทำในลักษณะที่มีน้อยชนิด แต่หลากพันธุ์ รวมทั้งมีวิธีการขยายพันธุ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะสำหรับไม้ผลแต่ละชนิด ทั้งนี้เพราะจำนวนชนิดของไม้ผลที่ปลูกในแต่ละแหล่งปลูกมีไม่มากนัก เนื่องมาจากข้อจำกัดในทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม และการปลูกใหม่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของไม้ผล แต่เปลี่ยนแปลงใช้พันธุ์ที่ดีกว่าพันธุ์เดิม หรือใช้พันธุ์ที่มีคุณสมบัติต่างไปตามความต้องการของตลาด ซึ่งต่างกับไม้ดอกไม้ประดับที่ผู้ซื้อนิยมให้มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ และนิยมซื้อพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ นอกจากนี้วิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลหลายชนิดจำเป็นต้องมีการเตรียมต้นตอเพื่อนำมาต่อกับกิ่งพันธุ์ดี เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่ได้มีระบบรากที่แข็งแรง อันเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่พบน้อยมากในการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ หรือพันธุ์ไม้ที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ

ความสำคัญและประโยชน์ของสถานเพาะชำไม้ผล

      เป็นความจริงที่ว่า การปลูกไม้ผลนั้นไม่จำเป็นต้องมีการเพาะชำต้นพันธุ์ในสถานเพาะชำก็ได้ และในสมัยโบราณก็ไม่มีการเพาะขยายพันธุ์ไม้ผลในสถานเพาะชำ แต่จะขยายพันธุ์จากต้นแม่หรือเพาะเมล็ดแล้วนำลงปลูกในแปลงปลูกโดยตรง ทั้งนี้จากการทดลองเปรียบเทียบ และผลที่ปรากฏในการปฏิบัติทางการค้านั้นพบว่า หากชาวสวนไม้ผลต้องการปลูกไม้ผลเป็นการค้าในลักษณะธุรกิจที่มีการแข่งขันกันและสร้างผลกำไรให้เพียงพอแล้ว การเพาะขยายต้นพันธุ์ไม้ผลในสถานเพาะชำก่อนนำลงปลูกในแปลงปลูก จะให้ผลดีกว่าการปลูกต้นไม้ผลลงในแปลงปลูกโดยตรง โดยไม่ผ่านขั้นตอนการเพาะชำในสถานเพาะชำอยู่หลายประการคือ

      1. ต้นพันธุ์ไม้ผลที่ผ่านการเพาะชำในสถานเพาะชำ จะให้ดอกผลเร็วกว่าต้นที่ไม่ผ่านการเพาะชำในสถานเพาะชำ เนื่องจากระยะเวลาของความอ่อนวัย (juvenility) ของต้นไม้ผลจะลดลงได้ หากต้นไม้ผลเติบโตอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ และเลือกวิธีการขยายพันธุ์โดยทางกิ่งใบ ในขณะเดียวกันก็จะยืดออกไปได้ หากต้นไม้ผลแคระแกร็นไม่แข็งแรง

      2. ต้นพันธุ์ไม้ผลที่ได้จากสถานเพาะชำ เมื่อนำลงปลูกในแปลงปลูกจะเติบโตเร็วแข็งแรง เจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอกันมากกว่าการนำต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ได้ลงปลูกในแปลงปลูกโดยตรง เพราะสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตในช่วงวัยอ่อนของต้นพันธุ์ไม้ผล เมื่อนำต้นอ่อนลงปลูกในแปลงปลูกโดยตรง จึงทำให้มีอัตราการตายสูง ต้นแคระแกร็น เติบโตและให้ดอกผลไม่พร้อมกัน สร้างปัญหาในการดูแลรักษา

      3. ต้นพันธุ์ไม้ผลที่ได้จากการเพาะขยายและชำในสถานเพาะชำไม้ผล โดยทั่วไปปราศจากโรคและแมลงศัตรูที่ติดไปกับต้นพันธุ์ เพราะผ่านการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ต้นอ่อนซึ่งเติบโตในแปลงปลูกโดยตรงนั้น ผู้ปลูกไม่สามารถดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ได้ ดังเช่นที่อยู่ในโรงเรือนหรือแปลงปลูกในสถานเพาะชำ ทำให้โรคและแมลงศัตรูเข้าทำลายได้ง่าย

      4. ต้นพันธุ์ไม้ผลที่ได้จากสถานเพาะชำจะสามารถผลิตต้นพันธุ์ที่มีอายุและมีขนาดต้นสม่ำเสมอกันเป็นจำนวนมากได้ในการผลิตแต่ละครั้ง เหมาะกับระบบการทำสวนไม้ผลในปัจจุบันที่นิยมปลูกต้นพันธุ์ไม้ผลที่มีอายุและขนาดต้นสม่ำเสมอกันเป็นจำนวนมากในคราวเดียวกัน เพราะสะดวกต่อการดูแลรักษา และสามารถออกดอกผลในเวลาเดียวกัน

      ผลดีดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับต้นพันธุ์ไม้ผลที่ผ่านการเพาะขยายและชำในสถานเพาะชำไม้ผลนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากต้นกล้าเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้รับการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นอย่างดี และสามารถคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดและความสมบูรณ์แข็งแรงใกล้เคียงกันไปปลูกพร้อมกัน ทำให้ต้นพันธุ์ไม้ผลที่ได้มีคุณสมบัติต่างจากต้นพันธุ์ที่นำไปปลูกลงในแปลงปลูกโดยตรง

      อย่างไรก็ตามการเพาะขยายและชำต้นพันธุ์ไม้ผลในสถานเพาะชำนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิต หรือต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เพราะการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการสร้างโรงเรือน การเตรียมวัสดุ การให้น้ำ ค่าแรงงาน ค่าเชื้อเพลิง สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ แต่ทว่าตราบใดที่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นยังต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากระยะเวลาคืนทุนที่เร็วกว่าเดิม เมื่อนั้นการเพาะขยายและชำต้นพันธุ์ไม้ผลในสถานเพาะชำก็ยังเป็นกระบวนการที่จำเป็นในการผลิตต้นพันธุ์ไม้ผลอยู่เสมอไป

การขยายพันธุ์ไม้ผล

      งานขยายพันธุ์พืชถือเป็นงานสำคัญในสถานเพาะชำไม้ผล หากปราศจากงานขยายพันธุ์พืช การดำเนินกิจการสถานเพาะชำไม้ผลก็ไม่อาจกระทำได้เลย นอกจากนี้วิธีการขยายพันธุ์ก็อาจจะเป็นข้อจำกัดต่อการเลือกชนิดไม้ผลมาเพาะขยายในสถานเพาะชำด้วย หรือในทางกลับกัน หากให้ความสำคัญกับชนิดพืชเป็นอันดับแรก ชนิดพืชหรือไม้ผลที่เลือกนั้นก็จะเป็นตัวบังคับให้สถานเพาะชำนั้นต้องใช้วิธีการขยายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงกับชนิดพืชที่เลือกมานั้น ตัวอย่างเช่น สถานเพาะชำที่ใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบปักชำ หรือตอนกิ่งเป็นหลัก จะผลิตต้นพันธุ์ทุเรียนและลองกองได้ยาก แต่เหมาะที่จะผลิตต้นพันธุ์ฝรั่งหรือชมพู่มากกว่า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ สถานเพาะชำไม้ผลแต่ละแห่ง จึงมักเลือกใช้วิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลเพียง 1-2 วิธี ตามความถนัดหรือตามชนิดพืชที่ผลิตมากที่สุด ในปัจจุบันวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลที่ปฏิบัติกันอยู่ในสถานเพาะชำไม้ผลเพื่อการค้าในประเทศไทย อาจแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้ต้นตอและใช้ต้นตอ ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์แต่ละวิธีใช้เฉพาะกับไม้ผลแต่ละชนิดไป มีไม้ผลเพียงบางชนิดเท่านั้นที่อาจใช้วิธีขยายพันธุ์เป็นการค้าได้หลายวิธี

วิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้เป็นการค้าในปัจจุบัน

      1. การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้ต้นตอ

          วิธีเพาะเมล็ด มังคุด มะละกอ มะพร้าว น้อยหน่า มะกรูด

          วิธีแยกหน่อหรือไหล กล้วย สับปะรด สตรอเบอรี่ สาเก สละ

          วิธีปักชำกิ่ง ฝรั่ง ชมพู่ มะกอกน้ำ

          วิธีตอนกิ่ง ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม มะนาว มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ ลำไย ลิ้นจี่ มะไฟ ส้มโอ กระท้อน ละมุด มะกรูด มะขามเทศ

          วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กล้วย มะละกอ สับปะรด

      2. การขยายพันธุ์โดยใช้ต้นตอ

          วิธีการติดตา เงาะ กระท้อน มะเฟือง องุ่น พุทรา อโวกาโด

          วิธีการต่อกิ่ง ลองกอง ทุเรียน มะปราง มะม่วง มะขาม

          วิธีการทาบกิ่ง ขนุน มะปราง มะม่วง



www.ku.ac.th/e-magazine/may48/agri/nursury.html -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1462 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©