-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 205 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร






การบำรุงดินและการใส่ปุ๋ยสวนผลไม้



๑.  การบำรุงดิน
         
ในบรรดาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทั้งทางกิ่ง  ใบ  และการผลิดอกออกผลของไม้ผล  นอกจากฟ้าอากาศแล้ว  อาหารพืชหรือปุ๋ยนับว่าเป็นปัจจัยโดยตรงในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช  อาหารพืชเกือบทั้งหมดจะได้มาจากดิน  ชาวสวนจึงมักจะคำนึงถึงเรื่องดินแต่เพียงอย่างเดียว  ในปีหนึ่งๆ ต้นไม้จะดูดอาหารไปใช้เป็นจำนวนมาก  ถ้าไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปแทนส่วนที่สูญหายไป  จะทำให้ดินจืดลงทุกทีและในที่สุดดินที่ว่านั้นจะใช้ปลูกต้นไม้ไม่ได้ผล  เมื่ออาหารไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตของพืชก็จะผิดปกติ และในที่สุดพืชอาจจะตายได้
         
พืชต้องการธาตุอาหารต่างๆ จากดิน คือไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  แคลเซี่ยมแมกนีเซียม  กำมะถัน  นอกจากนี้ต้องการธาตุ อาหารรอง เช่น แมงกานีส  โบรอน  ทองแดงเหล็ก  สังกะสี และโมลีบดินัม  อาหารพืชที่เราให้ลงไปในดินจะมีทั้งอินทรียสาร และอนินทรียสารอินทรียสาร เช่น ใบไม้ผุ  หญ้าหมัก  มูลสัตว์  จะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นเช่น ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี นอกจากนี้จะเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินบ้าง แต่น้อยมาก  ตัวอย่างเช่น   มูลวัวหรือควาย จะมีธาตุอาหารโดยประมาณ  คือ  ไนโตรเจน ๐.๘-๑.๓%  กรดฟอสฟอริก ๐.๓-๐.๙%    เป็นต้น 

ต้นไม้จะไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในทันที  แต่จะปล่อยให้ปุ๋ยผุพังโดยผ่านกระบวนการต่างๆเสียก่อน  และจะมีจุลินทรีย์ในดินเข้าช่วยด้วยอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรียสาร  เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต  แอมโมเนียมไนเตรต  โซเดียมไนเตรต  แอมโมเนียมฟอสเฟต  ยูเรีย  สารเหล่านี้ เป็นแหล่งที่มาของธาตุไนโตรเจน (N)  สารพวกซุปเปอร์ฟอสเฟต   ดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต   แคลเซียมฟอสเฟต  กระดูกป่น  และแอมโมเนียมฟอสเฟตจะให้ธาตุฟอสฟอรัส (P)  ส่วนสารที่ให้ธาตุโพแทช (K) ที่นิยมกันมากคือ โพแทสเซียมคลอไรด์   และโพแทสเซียมซัลเฟต  ดินจำเป็นต้องได้ธาตุอาหารจากปุ๋ยอนินทรีย์เมื่อดินที่ไม้ผลขึ้นอยู่นั้นมีธาตุอาหารต่างๆ ไม่เพียงพอ  การใส่ปุ๋ยควรกระทำเมื่อพืชขาดธาตุอาหารและใส่ในจำนวนพอดีไม่ขาดไม่เกินตลอดจนให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ


๒. การใส่ปุ๋ยสวนผลไม้  
         
การให้ปุ๋ยไม้ผลนั้นแตกต่างจากการให้ปุ๋ยพืชที่มีรากตื้นๆ  เช่น พืชไร่หรือผัก และเนื่องจากไม้ผลยืนต้นมีอายุยืนนานผลของการใส่ปุ๋ยจึงมีความสำคัญยิ่งกว่า  เพราะการขาดธาตุอาหารบางอย่างใช้เวลานานจึงจะแสดงอาหารให้เห็น  การให้ปุ๋ยไม้ผลมีปัจจัยที่จะต้องพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน  เช่น  ดิน  อายุของต้นชนิดของไม้ผล  ปริมาณน้ำฝน  ตลอดจนวิธีปฏิบัติงานสวน  จึงไม่สามารถกำหนดวิธีและอัตราการให้ปุ๋ยที่แน่นอนตายตัวลงไปได้  ฉะนั้นการให้ปุ๋ยในแต่ละสวนอาจแตกต่างกันออกไป  สำหรับหลักทั่วไปในการพิจารณาให้ปุ๋ย ควรมีดังนี้
         
๒.๑  ควรทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินหรือในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ว่ามีเพียงพอหรือไม่และธาตุอาหารเหล่านั้นพืชสามารถจะเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้มากน้อยเพียงไร การทดสอบเพื่อหาปริมาณธาตุอาหารอาจทำได้หลายวิธีด้วยกัน  เช่น  การวิเคราะห์ดิน   การวิเคราะห์ส่วนของพืชและการทดลองปุ๋ย ตลอดจนการสังเกตอาการของต้นไม้
         
๒.๒  ควรทราบความต้องการของต้นไม้ในระยะต่างๆ  ของการเจริญเติบโตว่าระยะไหนต้นไม้ต้องการอาหารมากที่สุด  และระยะไหนต้นไม้ต้องการธาตุอาหารอะไรมาก  ปกติเราแบ่งการเจริญเติบโตของต้นไม้ออกเป็น ๒  ตอน คือ การเจริญทางกิ่งใบ กับการเกิดดอกติดผล  ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตจะต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น กล้วยเมื่อเราปลูกจากหน่อ ในช่วง ๓  เดือนแรกจะกินปุ๋ยน้อย พอเริ่มเข้าเดือนที่ ๔ ซึ่งเป็นระยะแตกเนื้อสาวของกล้วย และจะกินเวลาจนถึงสิ้นเดือนที่  ๖ ช่วงนี้กล้วยต้องการปุ๋ยเป็นจำนวนมากและต้องการไนโตรเจนสูง จึงควรโหมให้ปุ๋ยตั้งแต่เดือนที่  ๔  ถึงเดือนที่  ๖ พอเลยระยะนี้ไปแล้วพืชจะต้องการปุ๋ยลดลง  ถ้าเราใส่ปุ๋ยมากพืชก็จะนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นการให้ปุ๋ยกล้วยเมื่อเลยเดือนที่  ๖ หลังจากปลูกไปแล้วควรเป็นปุ๋ยที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของกล้วย  นั่นคือ    ควรมีธาตุโพแทชสูง
         
๒.๓  ควรใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นไม้ให้ผลกำไรมากที่สุด  พืชโดยทั่วไปต้องการธาตุอาหาร  N:P:K: ในอัตราส่วน  ๕:๑:๒  ซึ่งในอัตราส่วนนี้ธาตุอาหารทั้ง ๓ จะมีอำนาจเท่าๆ กัน และธาตุอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด  หรือจะกล่าวอีกอย่าง หนึ่งถ้าดินปลูกพืชไม่มีธาตุอาหารอะไรอยู่เลย และสภาพแวดล้อมอื่นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช  ถ้าเราให้ปุ๋ยพืช N:P:K: ในอัตรา ๕:๑:๒: แล้วพืชนั้นจะเจริญเติบโตสามารถให้ดอกผลอย่างดียิ่งเพราะธาตุทั้งสามไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
         
๒.๔  การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้งต่อปีธาตุอาหารบางอย่าง เช่น  ไนโตรเจน  เมื่อให้ลง ไปในดินแล้วจะไหลซึมได้ง่าย  ถ้าเราให้ในปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวพืชจะเอาไปใช้ไม่ทัน และธาตุอาหารอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน กล่าวคือ    พืชจะทยอยใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การใส่ปุ๋ยจึงควรแบ่งใส่ ๒-๓ ครั้ง หรือมากกว่าต่อปี  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุของต้นไม้ด้วยไม้ผลที่ยังเล็กอยู่ควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้ง  เพราะระบบรากยังไม่แข็งแรงพอ ไม้ผลที่โตแล้วมักแบ่งใส่เป็น ๓ ครั้งต่อปี  เช่น ครั้งแรกให้ก่อนหรือต้นฤดูฝน ครั้งที่สองให้ตอนปลายฤดูฝน และอีกครั้งหนึ่งตอนก่อนออกดอก  หรือหลังเก็บเกี่ยวผลแล้วอย่างไรก็ดีควรพิจารณาสภาพท้องที่ และชนิดของไม้ผลประกอบด้วย

บรรณานุกรม
นายปวิณ ปุณศรี
นายวิจิตร วังใน
guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1169 -





เกษตรนราธิวาส…แนะนำการดูแลสวนไม้ผลช่วงหน้าแล้ง  

                               
นายสง่า  เดชารัตน์  เกษตรจังหวัดนราธิวาส  เปิดเผยว่า จากการเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน จังหวัดนราธิวาสประสบสภาวะความแห้งแล้ง ทำความเสียหายให้กับสวนไม้ผลของเกษตรกร จึงขอแนะนำให้เกษตรกรหมั่นฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ  การดูแลสวนไม้ผลในช่วงหน้าแล้งแก่เจ้าของสวน ดังนี้

                               
1.  ให้เกษตรกรสำรวจแหล่งน้ำ  เช่น  แม่น้ำ  คลอง  เหมือง  ฝาย  สระน้ำ  บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล ที่มีอยู่ในบริเวณสวนหรือบริเวณใกล้เคียง ว่ามีน้ำเพียงพอที่จะให้ในช่วงหน้าแล้งหรือไม่ และให้ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์อื่น ๆ และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้

                               
2.  ไม่ควรขุดสระน้ำให้ลึกมาก เพราะจะทำให้ระบบน้ำผิวดินถูกทำลาย รากพืชไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  ควรใช้วิธีหาแหล่งน้ำต้นทุนต่ำมาเพิ่มในสระหรือการเจาะบาดาลเพื่อดึงน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์แทน

                               
3.  ปล่อยให้วัชพืชขึ้นบริเวณโคนต้น และทรงพุ่มซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นให้กับต้นไม้ผล เมื่อรดน้ำต้นไม้เล็กน้อย วัชพืชจะเขียวสดคลุมโคนต้น  และดูดซับความชื้นจากน้ำค้างเวลากลางคืน

                               
4.  คลุมโคนต้นด้วยวัสดุคลุมโคน ได้แก่ ปุ๋ยหมัก  ต้นกล้วยผ่าซีกคว่ำไว้บริเวณโคนต้น  เศษใบไม้  หญ้า  ฟางข้าว  เปลือกมะพร้าว  โดยคลุมจากโคนต้นจนถึงแนวรัศมีทรงพุ่ม

                               
5.  ใช้วัสดุพรางแสง  เช่น  ใบมะพร้าว  ตาข่ายพรางแสง  (แสลน)  หรือหญ้าคา เพื่อช่วยลดการคายน้ำของใบพืชและการระเหยของน้ำบริเวณโคนต้น

                               
6.  งดการใส่ปุ๋ยในช่วงแล้ง เพื่อชะลอการเกิดยอดอ่อน  รากอ่อน  ซึ่งมีความต้องการน้ำและความชื้นสูง  หากให้น้ำไม่เพียงพอก็จะทำให้ต้นไม้ตายได้ง่าย

                               
7.  การให้น้ำไม้ผลระยะนี้ควรให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำบริเวณรัศมีทรงพุ่มเท่านั้น และอย่าให้น้ำมากจนไหลทั่วสวน  เพราะเป็นการสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์

                               
8.  ปรับเปลี่ยนเวลาการให้น้ำ  ควรให้น้ำในตอนเช้าหรือตอนเย็นเท่านั้น  โดยเฉพาะ                ตอนเย็นต้นไม้จะดูดซับน้ำได้เต็มที่ตลอดทั้งคืนและเป็นปัจจัยสำคัญในการจับยึดน้ำค้างในตอนกลางคืนด้วย

                               
9.  ปรับเปลี่ยนหัวปล่อยน้ำ จากหัวปล่อยน้ำที่ใช้น้ำสิ้นเปลืองเป็นหัวปล่อยน้ำที่ประหยัด เช่น  ระบบน้ำหยด  ระบบน้ำพ่นฝอยละเอียด  เป็นต้น

                               
10.  นำน้ำที่ใช้แล้วในครัวเรือนมารดต้นไม้  โดยนำน้ำจากการล้างจาน  ซักผ้าน้ำที่ 2 และ 3และน้ำล้างรถมารดต้นไม้ โดยทำบ่อรวบรวมน้ำไว้บริเวณบ้าน ปรับวิธีการอาบน้ำในห้องน้ำของสมาชิกในครอบครัวทุกคนให้น้ำในห้องน้ำไหลไปที่โคนต้นไม้

                               
11.  ลดอัตราการไว้ผลต่อต้นให้น้อยลง เพื่อการประหยัดน้ำและพัฒนาผลผลิตให้ดีเหมือนเดิม

                               
12.  ไม่ควรเผาขยะ  เศษใบไม้  กิ่งไม้ในสวน เพราะเป็นการเพิ่มหมอกควันให้กับสวน  ควรให้เศษพืชเหล่านั้นย่อยสลายเองตามธรรมชาติจะได้ประโยชน์มากกว่า

                               

นายสง่า  เดชารัตน์  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  หากเกษตรกรเจ้าของสวนไม้ผลปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังกล่าว ก็จะลดความเสียหายลงได้  เกษตรกรรายใดสนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ  สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส   โทร.  0 7353 2218,  0 7353 2219


 
 ศูนย์บริการข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาสรัตนา  ถิระโชติ  ข้อมูล/ข่าวเมษายน  2551 


www.narathiwat.doae.go.th/province/songserm.../new13.51.doc -












สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1062 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©