-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 337 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร







 

เทคนิคการบังคับให้หม่อนติดผล การบังคับให้หม่อนติดผลนอกฤดูกาล 
           
ปรกติโดยทั่วไปเมื่อต้นหม่อนมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นไประยะหนึ่งแล้วก็จะมีการออกดอกติดผล  ซึ่งการออกดอกติดผลของหม่อนจะเริ่มมีการแทงช่อดอก  ในช่วงต้นฤดูหนาวประมาณต้นเดือนมกราคม จากนั้นก็จะเริ่มสุกในช่วงต้นเดือนมีนาคม  จนถึงเดือนเมษายน  ปริมาณผลหม่อนที่ได้จะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์  ขนาดและอายุของต้น  นอกจากนั้นหม่อนยังมีการแทงช่อดอกในปริมาณที่เล็กน้อยเมื่อมีการตัดแต่งกิ่งหม่อนในแต่ละครั้งที่มีการตัดกลาง ตัดแขนงในช่วงกลางปี


ปัจจัยในการออกดอกของหม่อน
 
1.  การสะสมความเย็นในระยะการเจริญเติบโตของพืช  ทำให้มีผลต่อสรีระวิทยาของพืชเพื่อกระตุ้นการออกดอก  หม่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของฮอร์โมนพืชภายในลำต้นหม่อนเพื่อกระตุ้นให้มีการติดดอกออกผล 
2.  ผลกระทบของช่วงระยะเวลาของแสงที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช  ทำให้มีผลต่อสรีระวิทยาของพืชเพื่อกระตุ้นการออกดอก 
3.  ความอุดมสมบูรณ์ของต้นหม่อน  เป็นการสะสมสารอาหารต่าง ๆ ภายในลำต้นของหม่อนซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า  6  เดือน  เพื่อให้ผ่านระยะเวลาการเจริญเติบโตทางลำต้น (vegetative  growth)  เข้าสู่ระยะของการติดดอกออกผล (reproductive  growth)  
           
การเก็บเกี่ยวผลผลิตผลหม่อนโดยวิธีการธรรมชาติและจากผลพลอยได้จากการตัดแต่งกิ่งหม่อนแต่ละครั้งจึงยังให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการแปรรูปผลหม่อนด้านต่างๆ ดังนั้นการใช้วิธีการบังคับต้นหม่อนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตผลหม่อนในปริมาณที่มาก และตามระยะเวลาที่ต้องการ  จึงเป็นวิธีการที่น่าจะทำให้การผลิตผลหม่อนออกมาคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ  ปัจจุบันมีการศึกษาในเรื่องการบังคับการติดดอกออกผลของหม่อนกันน้อยมากแต่ขณะนี้กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นการศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจัง การบังคับการอกดอกของหม่อนมีวิธีการดังนี้  คือ

1. การโน้มกิ่ง-เด็ดยอด-ริดใบ
ในลักษณะการโน้มกิ่งแบบโค้งยอดเข้าหาพื้นดิน  วิธีการนี้เหมาะสำหรับการปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์  60  แบบเดิม  ที่มีระยะปลูก  0.75 x 2.00 -3.00  เมตร  วิธีการบังคับจะทำการตัดต่ำหม่อนตามปกติ  ในช่วงต้นฤดูปล่อยให้หม่อนเจริญเติบโตทางลำต้นไม่ต่ำกว่า 6 เดือน  ในช่วงนี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตใบหม่อนได้ตามปรกติโดยวิธีการเก็บใบ  แต่ต้องระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนต่อตาข้างของหม่อน  และเมื่ออายุกิ่งหม่อนครบ 6 เดือน  ก็เริ่มทำหารริดใบหม่อนที่เหลืออกให้หมด จากนั้นจึงโน้มกิ่งเข้าหากันลักษณะแถวต่อแถว โดยใช้เชือกฟางผูกติดกิ่งหม่อนแถวหนึ่งเข้ากับอีกแถวหนึ่ง  ทำให้มองดูเหมือนอุโมงค์  ซึ่งทำให้ความสูงของอุโมงค์สูงประมาณ  1.50  เมตรจากพื้นดิน
           
ทำการตัดยอดกิ่งหม่อนออกให้หม่อนทุกกิ่งโดยการตัดไม่ให้ล้ำยื่นออกไปจากแนวแถวหม่อนเดิมเพื่อไม่ให้กีดขวางการปฏิบัติงานระหว่างแถวหม่อน  หลังจากบังคับทรงพุ่มแล้วปล่อยให้หม่อนเจริญเติบโตตามปรกติ  ซึ่งหม่อนจะมีการแตกตาข้างออกมาเกือบทุกตาพร้อมกับมีการแทงช่อดอกออกมาตามบริเวณที่แตกยอกออกมาใหม่  ตาดอกจะเริ่มทยอยบาน  ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดตาดอก  ซึ่งมีประมาณ 3-6 ตาต่อยอดใหม่ที่ตากออกมา ในลักษณะเช่นนี้หม่อน 1 ต้น จะให้ผลผลิตผลหม่อนประมาณ  400-500  ผล   และให้ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 300-400   กิโลกรัมสำหรับหม่อนพันธุ์ บุรีรัมย์ 60  โดยมีระยะเก็บเกี่ยวหลังจากดอกบานประมาณ 60-90 วัน  วิธีการเช่นนี้สามารถแบ่งแปลงหม่อนบังคับทรงพุ่มต่างเวลากันเพื่อขยายระยะเวลาการให้ผลผลิตผลหม่อนได้ยาวนานขึ้น  โดยสามารถโน้มกิ่งหม่อนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน และ 9 เดือน   ก็จะมีผลผลิตผลหม่อนตั้งแต่ เดือนธันวาคม  จนถึง  เดือนเมษายน ของแต่ละปีแต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีด้วย  หากมีปริมาณน้ำฝนมาก  ควรยึดระยะเวลาในการโน้มกิ่งให้ช้าลง 

2.  การโน้มกิ่งหม่อนที่ปลูกแบบทรงพุ่ม
เป็นวิธีการบังคับทรงพุ่มหม่อนที่ปลูกแบบไม้ผลที่มีระยะปลูก ประมาณ 2 x 2  หรือ  4 x 4  เมตร  ขึ้นไป  เป็นการปลูกแบบไม่มีการตัดแต่งกิ่งแต่ทำการบังคับให้ทรงพุ่มสูงจากพื้นดิน  1.50  เมตร  เมื่อหม่อนแตกกิ่งกระโดงใหม่ขึ้นมาในแต่ละปีก็จะทำการโน้มกิ่งให้ปลายยอดขนานกับพื้นดิน  และก่อนจะโน้มกิ่งจะต้องริดใบหม่อนออกให้หมดก่อนพร้อมทั้งตัดยอดส่วนที่เป็นกิ่งสีเขียวออกยาวประมาณ  30 เซนติเมตรออกก่อน  วิธีการโน้มกิ่งสามารถกระทำได้หลายวิธี  คือ
2.1 โดยใช้ลวด หรือเชือกผูกโยงติดไว้กับกิ่งที่อยู่ข้างล่างหรือพื้นดินโดยใช้หลักไม้ไผ่ปักไว้บนพื้นดินสำหรับยึดเชือกหรือลวดไว้ 
2.2 ใช้ไม้ไผ่ล้อมเป้นคอกไว้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.50 เมตร แล้วโน้มกิ่งออกมาใช้เชือกผูกมัดติดไว้กับคอกที่ล้อมไว้ 
2.3 ทำราวเส้นลวดขึงขนานในระหว่างแถวของต้นหม่อนแล้วโน้มกิ่งให้ขนานกับพื้นดิน จากนั้นนำกิ่งหม่อนที่ตัดยอด ริดใบออกแล้วมามัดติดไว้กับราวเส้นลวด วิธีการสามารถเก็บเส้นลวดไว้ใช้งานได้นานหลายปี 
           
ส่วนระยะเวลาขอบการโน้มกิ่งจะอยู่ในช่วง เดือน  กันยายน – เดือนมกราคม  ในปีถัดไปแล้วแต่ว่าจะเลือกให้หม่อนติดดอกออกผลในช่วงระยะเวลาไหน  ซึ่งปกติจะสามารถเก็บเกี่ยวผลหม่อนได้หลังจากทำการโน้มกิ่งประมาณ 60 วัน และมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลหม่อน ประมาณ  30 วัน อนึ่งสำหรับหม่อนที่ปลูกในสภาพพื้นที่สูบงที่มีอากาศหนาวเย็นมากการเก็บเกี่ยวและการติดตาดอกออกผลจะช้าออกไปประมาณ 1 เดือน ตามขนาดของความหนาวเย็น



ที่มา  :  www.moac.go.th/builder/mu/images/menu259.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (2040 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©