-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 318 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร








หอยเชอรี่ร้ายนักต้องพิฆาตด้วยเป็ด



หอยเชอรี่มีลักษณะเหมือนหอยโข่งแต่ตัวโตกว่า เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็วลูกหอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์กันได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ที่บริเวณตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยไข่ฟองเล็กเรียงเป็นแถวสวยงามประมาณ 400 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7-12 วัน หลังวางไข่


เนื่องจากหอยเชอรี่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วแล้วยังสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดี โดยจะหมกตัวอยู่ในพื้นที่นาได้นานตลอดฤดูแล้ง และยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วย และจากการขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว มีความรุนแรงในการทำลายข้าวของเกษตรกร กลุ่มโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริบ้านหลั่น หมู่ที่ 4 ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท จากการเรียนรู้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน จึงคิดว่าวิธีกำจัดโดยใช้ศัตรูของหอยเชอรี่มากำจัด จากการเรียนรู้จึงตกลงร่วมกันใช้เป็ดมาควบคุมหอยเชอรี่ด้วยการจัดตั้งธนาคารเป็ด โดยใช้งบสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย จำนวน 240,000 บาท ให้สมาชิกจำนวน 12 ราย ยืมไปทำทุนเลี้ยงเป็ดไข่แบบปล่อยทุ่ง


นายหิรัญ อ่วมดี เกษตรกรสมาชิกกองทุนธนาคารเป็ด บ้านเลขที่ 146 หมู่ที่ 9 ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท กล่าวว่าแต่เดิมนั้นทำงานอยู่ธนาคารพานิชย์แห่งหนึ่ง แต่ด้วยทำมานานแล้วไม่ประสบผลสำเร็จเพราะเงินออมและทรัพย์สินมีสะสมไม่ดีเท่าทีควรจึงลาออก เพื่อทำการเกษตรส่วนตัว เมื่อสมัครเป็นสมาชิกเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกรบ้านหลั่น และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทยจำนวน 240,000 บาท และพร้อมใจกันทำโครงการธนาคารเป็ดเพื่อการกำจัดหอยเชอรี่หลังหการเก็บเกี่ยวข้าว เป็นการกำจัดหอยเชอรี่ที่มีขนาดเล็ก ๆ เป็นการกำจัดที่ไม่ต้องใช้สารเคมีไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้าง ไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติของศัตรูพืช ลดต้นทุนการทำนา และผลดีที่คุ้มค่าคือเป็ดได้อาหารคือหอยเชอรี่ที่มีคุณค่าอาหารสูง ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก เพราะการเลี้ยงสัตว์นั้นต้นทุนที่สูงมากที่สุดคืออาหารนั่นเอง เมื่อคิดคำนวณดูแล้วผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่ากับการ ลงทุน จึงตัดสินใจเข้าร่วมกองทุนธนาคารเป็ดและยอมรับระเบียบของกองทุนคือมีผู้ค้ำประกัน 2 คน ระยะเวลา 1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี การคืนเงินจะต้องคืนเป็นระยะ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 คืนเงินร้อยละ 15 ระยะที่ 2 คืนเงินร้อยละ 25 ระยะที่ 3 คืนเงินร้อยละ 30 ระยะที่ 4 คืนเงินร้อยละ 30 ซึ่งถ้าผิดสัญญาจะต้องถูกปรับเป็นดอกเบี้ยร้อยละ 6 บาท จนกว่าจะส่งเงินคืนหมด เมื่อสมาชิกยืมเงินไปแล้ว 1 เดือน คระกรรมการกองทุนจะออกติดตามดูผลงานทันที จากการดำเนินงานที่ผ่านมาสมาชิกนำเงินกองทุนไปเพื่อการลงทุนแล้วประสบความสำเร็จ และนำเงินส่งคืนครบตามกฎระเบียบ จึงมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 12 คน เป็น 22 คน เลี้ยงเป็ดคนละประมาณ 1,000 กว่าตัว ทำให้ลดจำนวนประชากรของหอยเชอรี่ลดจำนวนลง จึงไม่ต้องใช้สารเคมีเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีมีประโยชน์ แต่สำหรับหอยเชอรี่ตัวใหญ่ที่เป็ดไม่สามารถกินได้นั้น ถ้าเกษตรกรได้พบจะถูกจับนำไปทำปุ๋ยน้ำชีวภาพหอยเชอรี่ทันที


นายหิรัญ อ่วมดี เล่าถึงการเลี้ยงเป็ดปล่อยทุ่งว่า ไม่ยากนักเพราะหลังจากยืมเงินกองทุนมาแล้วได้ซื้อลูกเป็ดพันธุ์กากีแคมเบล จำนวน 1,400 ตัว ฉีดวัคซีนเมื่ออายุได้ 1 เดือน และทำทุก ๆ 3 เดือนเพื่อป้องกันโรคอหิวาเป็ด และทุก ๆ 6 เดือนสำหรับโรคเพล็ด การเลี้ยงจะเคลื่อนย้ายไปตามแปลงนาที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ด้วยการติดต่อกับเจ้าของแปลงนาให้เรียบร้อยเพราะจะมีผู้เลี้ยงเป็ดมาติดต่อหลายราย ช่วงระยะเวลาการเลี้ยงแต่ละแปลงนาขึ้นอยู่กับจำนวนหอยเชอรี่ในแปลงนาและขนาดของเป็ดที่ปล่อยลงไป เมื่อถึงตอนเย็นจึงต้อนเข้าเล้า ซึ่งจะมีน้ำสะอาดผสมวิตามินเสริมให้ทุก ๆ วัน แต่ถ้ามีอาการท้องเสีย สังเกตได้จากกเป็ดจะมีอาการอ่อนเพลียเดินไม่ไหว จะให้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ใช้สารต้องห้าม เพราะเป็นห่วงผู้บริโภคจะเกิดอันตราย เป็ดจะให้ไข่เมื่ออายุได้ 4 เดือนครึ่ง และจะไข่น้อยลงเมื่ออายุได้ 18 เดือน จำหน่ายเป็นเป็ดพะโล้ต่อไป การเลี้ยงเป็ดแบบไล่ทุ่งนั้นช่วยลดต้นทุนเป็นจำนวนมากค่าใช้จ่ายประมาณ 25 สตางค์ / ตัว / วัน เท่านั้น เป็ดจะให้ไข่ประมาณร้อยละ 80 รายได้ประมาณ 1,000 บาท ต่อวัน เคยเลี้ยงเป็ด 3,000 ตัว สามารถทำรายได้ให้เดือนละ 6 – 7 หมื่นบาทต่อเดือน ในด้านปัญหาของการเลี้ยงที่พบมากที่สุดคือ แหล่งอาหารเพราะปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงมาก เป็นผู้เลี้ยงจากต่างจังหวัดจึงเกิดการแยกแหล่งอาหาร วิธีแก้ไขโดยการผูกสัมพันธไมตรีกับชุมชนดดยการให้ไข่กับเจ้าของแปลงนาหรือถ้าต้องการเงินก็จะให้ไร่ละ 10 – 20 บาท แล้วแต่ความต้องการเป็นการตอบแทนแต่ส่วนใหญ่จะให้ไข่เป็ด อีกทั้งการสนับสนุนงานบุญเมื่อเพื่อนบ้านจัดงานจะนำไข่เป็ดไปช่วยงาน เป็นการช่วยเหลือทั้งได้บุญ ความสบายใจ ไมตรีจิต และแหล่งอาหารของเป็ด ส่วนเจ้าของแปลงนาจะได้ทั้งไข่เป็ดและกำจัดหอยเชอรี่ ศัตรูร้ายของข้าวลดการใช้สารเคมีเป็นการจัดการที่มีแต่ได้ไม่มีเสีย


นายวิชิตร ช่วยพิทักษ์ เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวเสริมว่าการป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่นั้นขอให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้มากที่สุด เพราะส่วนใหญ่ที่พบคือการใช้สารเคมีจำพวกสารเอ็นโดซัลแฟน ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก และมีสารตกค้างที่ยาวนาน กุ้ง หอย ปู ปลา ตายหมด เกษตรกรไม่สามารถหาอาหารได้จากแปลงนาเหมือนกับในอดีตที่ผ่านมาอีกแล้ว จึงต้องเสียเงินแต่ถ้าไม่มีต้องเป็นหนี้ หายืมเงินซื้ออาหารเพื่อบริโภค จึงขอเชิญชวนเกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการกำจัดหอยเชอรี่ หันมาใช้การป้องกันและกำจัดโดยไม่ต้องใช้สารเคมี เช่น การจับมาทำลาย หรือทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ นำเป็นอาหารสัตว์อีกทั้งการปล่อยให้เป็ดลงไปทำลายในแปลงนาก็เป็นวิธีที่ดีและน่าสนับสนุนต่อไป


ฐานข้อมูล เกษตรกรรม ผู้จัดทำข้อมูล นางสาวศดานันท์ แก่นสุวรรณ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1246 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©