-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 211 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร




หน้า: 1/2




เชื้อ บีที คืออะไร พิมพ์ ส่งเมล์

เขียนโดย Admin 
  
       “เชื้อบีที” (Bt) คือชื่อสามัญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงชนิดหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยสปอร์ที่มีชีวิตและผลึกพิษจากแบคทีเรียในดินมีชื่อว่า Bacillus thuringiensis เชื้อบีที ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ควบคุมตัวอ่อน(หนอน)ของหนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนคืบ กะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะผล มะเขือเทศ        เชื้อบีทีทั้งในรูปแบบที่เป็นของเหลวและ แบบแห้งมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ภายใต้ชื่อการค้าที่ แตกต่างกัน โดยปรกติแล้วเชื้อบีทีซึ่งมีชื่อบน ฉลากว่า Bacillus thuringiensis aizawai ให้ผลดี ที่สุดในการกำจัดหนอนใยผัก และตัวอ่อนขนาด เล็กของหนอนกะทู้ผัก(Spodoptera litura) สิ่งที่ สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การใช้เชื้อบีทีนั้นจะได้ผลดีที่ สุดกับหนอนที่มีขนาดเล็ก และเชื้อบีทีจะใช้ไม่ได้ ผลดีนักในการควบคุมตัวหนอนที่มีขนาด ใหญ่

เชื้อบีทีเป็นเชื้อทีมีความปลอดภัยสูงและไม่เป็นสาเหตุที่ก่ออันตรายต่อมนุษย์ ปลา สัตว์ป่า หรือแมลงที่มีประโยชน์ ประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการใช้เชื้อบีทีก็คือเชื้อนี้จะไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติซึ่งช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ อีกทั้งเชื้อบีทีส่วนใหญ่ยังได้รับการ ยอมรับ ให้ใช้ในการผลิตผักอินทรีย์ 

       เชื้อบีทีทำงานแตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป คือ หนอนศัตรูพืชจะต้องกินใบพืชที่ถูกพ่นด้วยเชื้อบีทีใน ปริมาณเล็กน้อยก่อนจึงจะตาย ภายหลังจากกินบีทีแมลงจะยังไม่ตายในทันทีแต่จะมีอาการ ป่วยและหยุดกินอาหารแทบในทันทีหลังจากได้รับเชื้อ 

        ควรตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์ว่าบรรจุเชื้อบีทีสายพันธุ์ Bt aizawai หรือ Bt kurstaki หลายๆประเทศในภูมิภาคเขต ร้อน(รวมทั้งประเทศไทย) หนอนใยผักได้มีการพัฒนาความ ต้านทานต่อผลิตภัณฑ์บีทีที่มีBacillus thuringiensis kurstaki เป็นสารออกฤทธิ์หลัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลดีควรเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย Bacillus thuringiensis aizawai


 
 คำแนะนำสำหรับการใช้เชื้อบีที
1. สำรวจแปลงปลูกพืชสัปดาห์ละสองครั้ง และฉีดพ่น เมื่อพบปริมาณแมลงศัตรูพืชถึงระดับควบคุม ระดับ ควบคุมนี้มิได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของแมลงศัตรูพืชเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงปริมาณของศัตรูธรรมชาติที่พบในแปลงปลูกพืชด้วย ในกรณีที่คุณไม่สามารถลง สำรวจแปลงได้อาจจำเป็นต้องทำการฉีดพ่นเชื้อบีทีทุก3-7 วัน โดยใช้อัตราที่ถูกต้องตามฉลากผลิตภัณฑ์ อาจใช้เชื้อบีทีในอัตราที่สูงขึ้นได้ในกรณีที่ตัวหนอนมีขนาดใหญ่หรือเมื่อพบการระบาดรุนแรง พึงระลึกอยู่ เสมอว่า เชื้อบีทีให้ผลดีที่สุดต่อตัวอ่อนขนาดเล็กและ ตัวอ่อนที่พึ่งฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ทำการควบคุมทันที เมื่อเริ่มสังเกตเห็นการเข้าทำลาย
2. ควรฉีดพ่นเชื้อบีทีในตอนบ่ายแก่ๆ เชื้อบีทีจะเสื่อม ประสิทธิภาพเมื่อถูกฉีดพ่นในช่วงเวลาที่มีแสงแดด รุนแรง
3. โปรดระมัดระวังอย่างยิ่งใน การฉีดพ่นให้ครอบคลุม ด้านล่างของใบพืช เช่นเดียวกับด้านบน
เพราะเป็นบริเวณที่หนอนใยผักและหนอนกะหล่ำอื่นๆ เริ่มเข้า กัดกิน
4. ใช้ หัวฉีดคุณภาพดี เพื่อให้ได้ละอองสารที่มีขนาดเล็ก สม่ำเสมอ แรงดันสูงจากเครื่องฉีดพ่นจะทำให้การ ฉีดพ่นทำได้ทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ควรผสมเชื้อบีทีกับสารจับใบ หรือ สารช่วยแพร่กระจายในการฉีดพ่นทุกครั้ง ในกะหล่ำปลีและพืชตระกูลกะหล่ำอื่นๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากมิฉะนั้นสารฉีด พ่นจะไม่จับติดอยู่บนใบพืชผัก
6. ควรให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด หรือให้น้ำตาม ร่อง การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ หรือการ ตักน้ำรดภายหลังการฉีดพ่น น้ำจะไป ชะล้างเชื้อบีทีออกจาพืช และหากภายใน 48 ชม. หลังฉีดพ่นมีฝนตกหนักให้ฉีดพ่น เชื้อบีทีซ้ำอีกครั้ง
7. ใช้เชื้อบีทีที่ผสมเสร็จใหม่ สำหรับการ ฉีดพ่นแต่ละครั้ง อย่าพยายามประหยัด โดยการเก็บสารผสมที่เหลือใช้ในถัง พ่นเพื่อใช้งานในวันต่อไป เนื่องจาก เชื้อจะเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพเมื่อ ผสมทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ ได้ผลดีที่สุดเมื่อผสมแล้วควรใช้ฉีด พ่นให้หมดในวันเดียว และห้ามใช้เชื้อ บีทีสูตรน้ำที่เก็บข้ามปี ควรซื้อขวด หรือถุงใหม่ทุกปี พร้อมทั้งสอบถาม อายุของผลิตภัณฑ์นั้น ซื้อเฉพาะยี่ห้อ ที่รู้จักกันดี จากตัวแทนจำหน่ายที่มี ชื่อเสียง แทนที่จะพิจารณาผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ราคาถูกเท่านั้น
8. ในกรณีที่จำเป็นต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกัน 3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น, ห้ามใช้เชื้อบีทีทุกครั้งที่ทำการฉีดพ่น  แต่ให้ใช้สารสกัดสะเดา หรือ สารกำจัดแมลงชนิดอื่นที่มีพิษต่ำ สลับ กับการใช้เชื้อบีที 2-3 ครั้ง สารสะกัด สะเดาได้รับการอนุญาตให้ใช้ในการ ผลิตพืชอินทรีย์ได้ แต่อาจเป็นอันตราย ต่อแมลงที่มีประโยชน์ได้มากกว่า เชื้อบีที




ข้อมูลจากเอกสาร โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ที่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมาก” .
รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จาก
http://www.ipmthailand.org/th/Bt/Bt_Basics.htm หรือ downloadเอกสารที่นี่




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©