-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 408 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร









การจัดการวัชพืชเพื่อการเกษตรยั่งยืน


ข้อความ
:

การลดการเสี่ยงในการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืช
การเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชที่มีต่อผู้ใช้ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การลดความเสี่ยงทำได้หลายวิธีด้วยกัน

1) การงดเว้นการใช้สารกำจัดศัตรูพืช : วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงอันตราย จากสารกำจัดศัตรูพืช คือการงดใช้สาร กำจัดศัตรูพืชและจัดการศัตรูพืชแบบ ผสมผสานและการทำฟาร์มแบบเกษตร ธรรมชาติสามารถควบคุมประชากร ศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดย ไม่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งทำได้หลายวิธีด้วยกัน เกษตรกรควรลดความเสี่ยงจากการใช้สาร กำจัดศัตรูพืชเพื่อให้บุตรหลานสามารถเจริญ เติบโตแข็งแรงภายใสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์

2) เข้าใจถึงอันตรายของการใช้สารกำจัดศัตรูพืช : ความเสี่ยงเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการใช้สารเคมี ดังนั้นควรอ่านคำแนะนำบนฉลากให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และ หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารออกฤทธิ์ ก่อนซื้อใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต้องทำความ เข้าใจเกี่ยวกับอันตราย และวิธีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสม
….. ศึกษาถึงสารออกฤทธิ์ว่าประกอบด้วย อะไรบ้างและต้องแน่ใจว่าเป็นสารที่ เหมาะสมที่จะใช้กำจัดศัตรูพืชที่ต้อง การทำลาย
….. ต้องทราบปริมาณการใช้สารที่ถูกต้อง อย่าใช้สารเกินกว่าที่กำหนด
….. ต้องทราบวิธีการเจอสารหรือการเตรียม สารเคมีให้พอดีในการแต่ละครั้ง
….. สารเคมีบางชนิดไม่ควรใช้ผสมกัน เพราะ อาจทำให้เสียประสิทธิภาพ หรือมีความเป็นพิษมากขึ้น
*** ดังนั้น อย่าผสมผลิตภัณฑ์สองชนิดด้วยกัน นอกจากจะแน่ใจแล้วว่าผลิตภัณฑ์ ทั้ง 2 ชนิดสามารถใช้ผสมกันได้ ***

ต้องทราบวิธีปฏิบัติ หากเกิดพิษต่อผู้ใช้
….. ควรแสวงหาความรู้อยู่เสมอ โดยการ อ่านฉลาก อ่านหนังสือ ถามผู้เชี่ยว ชาญ หรือหาความรู้จาก internet
….. คำแนะนำของผู้ขายสารกำจัดศัตรูพืช ผู้ขายบางคนมีความรู้ แต่บางคนสนใจจะขายเท่านั้น จึงให้คำแนะนำที่ผิดๆ
….. ฉลากป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีคุณค่าสัญลักษณ์ที่ เห็นอันตรายจำเป็นจะต้องระมัดระวังในการใช้ มิให้ติดเปื้อนเสื้อผ้า
….. การอ่านฉลากมีความสำคัญแต่เท่านั้นยังไม่พอ ท่านต้องมั่นใจว่าการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเป็น อันตรายต่อท่านด้วย

3) ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช : โดยการลดปริมาณการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่งผลให้ความเสียหายของเกษตรกรลดลงด้วยเกษตรกร สามารถลดปริมาณการใช้สากำจัดศัตรูพืชได้หลายทาง คือ
….. ลดจำนวนครั้งการใช้สารกำจัดศัตรูพืช โดยการกำหนดระยะเวลาการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชที่ เหมาะสม เช่น พ่นสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อมีการเข้าทำลายของ ศัตรูพืชเกินระดับที่ยอมรับได้ และเมื่อมีความจำเป็น
….. ลดประมาณการใช้สารกำจัดศัตรูพืชโดยการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชในอัตราต่ำ เช่นพ่นสารกำจัด ศัตรูพืชในช่วงที่แมลงมีความอ่อนแอ ซึ่งหนอนที่ยังเล็กจะฆ่าได้ง่ายกว่าหนอนที่แก่กว่า
….. ลดปริมาณการใช้สารกำจัดศัตรูพืชโดยการใช้วิธีพ่นเฉพาะจุด เช่น พ่นเฉพาะพื้นที่ หรือส่วน ของพืชที่ถูกทำงาย อย่าพ่นทั้งแปลงหรือทั้งต้น

4) เลือกใช้สารกำจัดศัตรูพืชชนิดที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด : ทำได้โดยการเลือกสารกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษต่อมนุษย์ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย แม้ว่าการใช้การกำจัดศัตรูธรรมชาติจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์แล้วจะเห็นว่า สารกำจัดศัตรูธรรมชาติมีความปลิดภัยมากกว่า อีกทั้งสารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์มีความเป็นพิษในวงกว้าง มีพิษตกค้าง และ ฯลฯ

เมื่อใช้สารกำจัดศัตรูพืช:
….. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นพิษสูง: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นพิษต่ำ มีความเสี่ยงต่อมนุษย์ และสัตว์น้อย
….. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีพิษตกค้าง: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้รวดเร็ว
….. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์กว้าง: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์เฉพาะเจาะจง ซึ่งปลอดภัยต่อแมลงที่เป็นประโยชน์

5) หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (เกษตรกร) : เกษตรกรจะเสี่ยงมากต่อการเกิดพิษ เมื่อมีการหยิบจับสารกำจัดศัตรูพืช ถ้าเกษตรกรเข้าใจผลการเสี่ยงที่เกิดขึ้นนี้ เกษตรกรพึงปฏิบัติดังนี้ :
….. ห้ามใช้มือผสมสารเคมี ใช้ไม้คน หรือผสมสารเคมีโดยเขย่าในภาชนะปิด
….. ห้ามใช้ปากเปิดขวดสารเคมี
….. ห้ามใช้ปากเป่าหัวฉีดพ่นสารเคมีเมื่อมีการอุดตัน ให้ใช้ลวดเส้นเล็ก ๆ แทงส่วนที่อุดตัน หรือเปลี่ยนหัวพ่นสารเคมีใหม่
….. เมื่อจะฉีดพ่นสารเคมี ต้องสวมเสื้อเพื่อป้องกันละอองสารเคมีถูกร่างกาย อุปกรณ์ปิดจมูกเพื่อป้องกันสารเคมี
….. สังเกตทิศทางลมขณะทำการฉีดพ่นสารเคมี และต้องให้แน่ใจว่ายืนอยู่เหนือลม
….. ห้ามกินอาหาร ดื่มและสูบบุหรี่ในขณะที่ทำการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช
….. หลังการใช้สารกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ต้องชำระล้าง หรืออาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย
….. ลักษณะอาการของการเกิดพิษ ได้แก่ อาการปวดหัว อาการคลื่นเหียน หรือมือสั่น และอื่น ๆ ถ้าท่านสังเกตทุกลักษณะอาการ หรือถ้ารู้สึกไม่สบาย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีพร้อมแจ้งผลิตภัณฑ์สารเคมีที่ใช้
….. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เมื่อทำการขนย้ายหรือฉีดพ่นสารเคมี
….. สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีอันตรายมากมายหากท่านสัมผัสโดยตรง
….. พึงระมัดระวังในการใช้สารเคมี และหลีกเลี่ยงการสัมผัส

6) หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (บุคคลทั่วไป, เด็ก, สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ฯลฯ) : เกษตรกรผู้ที่ตัดสินใจใช้สารกำจัดศัตรูพืช ไม่เพียงแต่ต้องรับผิดชอบต่อสุขภาพตัวเองเท่านั้น ยังต้องรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย เกษตรกรต้องหาวิธีป้องกัน และต้องมั่นใจว่าไม่มีบุคคลทั่วไป, เด็ก ๆ, สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ และ ฯลฯ สัมผัสสารเคมีได้

เก็บสารเคมีไว้ในภาชนะเดิมที่มี ฉลากมองเห็นได้ชัดเสมอ อย่า ถ่ายสารเคมีใส่ในภาชนะอื่น นอกจากภาชนะเดิมเสียหาย ซึ่งกรณีนี้ต้องมั่นใจว่าภาชนะ ใหม่มีฉลากที่ชัดเจน เมื่อใช้สารเคมี ท่านต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น ด้วยเก็บสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไว้ในที่ปลอดภัย

เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในที่ปลอดภัย (เก็บไว้ในลิ้นชัก หรือมีกุญแจล็อก) เก็บให้ห่างมือเด็ก, สัตว์ และ อาหาร อย่าวางภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช หรืออุปกรณ์ฉีกพ่นไว้ในแปลง ควรตรวจตราจัดเก็บอยู่ เสมอ ไม่ควรนำภาชนะบรรจุเปล่ากลับมา ใช้อีกไม่ว่าเพื่อจุดประสงค์ใดๆ ทั้งสิ้น ควรกำจัดโดยการ ทำลาย หรือฝังให้ลึกในที่ที่ปลอดภัยจากเด็ก, สัตว์เลี้ยง, และการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ
ต้องมั่นใจว่า ไม่มีใครสามารถเข้าสัมผัส เครื่องมือที่เปื้อนสารเคมี (เช่น ภาชนะบรรจุ ไม้คนสาร เสื้อผ้า ถุงมือ และหน้ากาก) เกษตรกรควรซักล้างก่อนนำไปเก็บ ถ้ามีผู้อื่นจะมาทำการซักล้าง เสื้อผ้าที่ใช้ใน การฉีดพ่นสารเคมีจะต้องให้คำแนะนำ พวกเขาก่อนถึงความเสี่ยงต่อสารเคมี

7) หลีกเลี่ยงสารเคมีตกค้างอยู่บนพืช : สารกำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นไปบนพืชจะทิ้งสารตกค้างบนพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ สารเคมีบาง ชนิดมีผลตกค้างอยู่ในพืชมาก และจะตกค้างอยู่เป็นระยะเวลานานหลังจากที่ทำการพ่นสารเคมีลงบน พืช สารเคมีบางชนิดจะสลายตัวได้เร็ว ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีในระยะที่ใกล้การเก็บเกี่ยว ถ้าสารเคมี ตกค้างอยู่นานมาก จะต้องเว้นระยะเพื่อรอระหว่างที่เราทำการพ่นสารเคมีลงในพืช และรอทำการเก็บ เกี่ยวยาวออกไปอีก เกษตรกรต้องทราบถึงผลของการตกค้างของสารเคมีเป็นอย่างดี และทราบถึงระยะเวลารอการเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ไม่ควรทำการเก็บเกี่ยวพืชภายในช่วงที่ให้คำแนะนำ

8) ไม่ทำให้ปนเปื้อนหรือเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม : ถ้าเกษตรกรใช้สารกำจัดศัตรูพืชแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังส่งผลถึงศัตรูพืช สารเคมีส่วนใหญ่ที่ฉีดพ่นจะ ตกค้างอยู่บนพืชปลิวไปกับลม ถูกชะล้างด้วยฝน และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สารเคมีเหล่านี้มี ฤทธิ์ฆ่าสิ่งมีชีวิตโดยไม่เจาะจง เช่น แมงมุม และแมลงที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกทั้งยังปนเปื้อนไปกับ น้ำและดิน และเป็นพิษต่อสัตว์ (เช่น นก ไส้เดือน ไส้เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)

เกษตรกรจะต้องพยายามให้มีการปนเปื้อนให้น้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกรจะต้องระมัดระวังในเรื่อง: ไม่ควรทำการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในขณะที่มีลมแรงซึ่งสารเคมีส่วนใหญ่ จะถูกลมพัด และไม่ถูกเป้าหมายที่ ต้องการ การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ ตระหนักถึงพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชใกล้แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำสาธารณะทั่ว ๆ ไป สารเคมีเกือบทุกชนิดเป็นอันตราย ต่อปลา และสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ ในน้ำเป็น อย่างมาก

ห้ามล้างภาชนะบรรจุสารเคมี, อุปกรณ์ฉีดพ่น เสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำ สาธารณะ เช่น แม่น้ำหรือ บ่อน้ำเป็นต้น

อย่าทิ้งขวดสารเคมีที่ใช้แล้ว ไว้ในแปลง


สรุป
ก่อนที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก่อนอื่นเกษตรกรจะต้องระวังเรื่องการเสี่ยง ในการใช้ รวมทั้งจะต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรในการลดความเสี่ยงนี้ให้เหลือน้อยที่สุด


จาก : ขนำเกษตรฅนไทย









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (826 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©