-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 426 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กาแฟ




หน้า: 2/3




ศูนย์ค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้ภาคใต้...กาแฟ ที่นี่ดี

จำปาสัก โดยเฉพาะเมืองปากซองนั้นฝนดี อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 1,200 เมตร โดยเฉลี่ย เมื่อปี 2542 เคยไปที่เมืองนี้ครั้งหนึ่งอากาศดีมาก สว.สรรหาท่านหนึ่ง ก็ไปลงทุนปลูกมันฝรั่ง พื้นที่ 1-2 หมื่นไร่ ส่งผลผลิตมาเข้าโรงงานในประเทศไทย


จำปาสักเป็นแขวงทางใต้ที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้าว น้ำ ผัก ผลไม้ หากไปช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะเห็นมีทุเรียนวางขายตามเพิงเต็มสองข้างทาง
กาแฟ ที่จำปาสักผลิตได้มาก เป็นกาแฟปลอดสารพิษ ฝรั่งมาเหมาซื้อไปเยอะมาก โดยขนผ่านประเทศไทย วันที่ไปเยี่ยมชมงานวิจัย เห็นต้นกาแฟเต็มไปหมด บางต้นสูงขนาดหลังคาบ้านสองชั้น แต่ทางผู้จัดไม่ได้พาแวะ ศูนย์ค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้ภาคใต้ สังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ณ เมืองปากซอง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 700-900 เมตร มีศักยภาพและมีความพร้อมในการเป็นสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีพื้นที่สูง โดยปัจจุบันมีอาคาร สถานที่วิจัย สถานที่ฝึกอบรมและหอพัก พร้อมโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ


ภารกิจของศูนย์แห่งนี้ ปัจจุบัน เน้นฝึกอบรมด้านการผลิตและแปรรูปกาแฟ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นว่า น่าจะสามารถดำเนินการสนับสนุนงานได้เร็วและใช้ต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ ยังเห็นควรจัดทำโครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับศูนย์ค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้ภาคใต้ โดยผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจำปาสัก ซึ่งระยะแรกอาจจะเป็นการนำผลการศึกษาและพัฒนาจากโครงการหลวงมาศึกษาเชิงเปรียบเทียบและวิจัย เพื่อปรับใช้กับพื้นที่ของแขวงจำปาสัก 


นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาความร่วมมือเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบพืชพรรณ ที่สามารถใช้
ประโยชน์และมีโอกาสพัฒนาทางการค้าได้ เช่น ไผ่ สตรอเบอรี่ และพลับ เป็นต้น
จุดที่ตั้งของเมืองปากเซ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 200 เมตร ส่วนศูนย์ค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้ภาคใต้ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 900 เมตร จาก 200 ไป 900 สูงห่างกันตั้ง 700 เมตร ระยะทางราว 50 กิโลเมตร แต่ขณะที่นั่งไปในรถ แทบไม่มีความรู้สึกเลยว่า รถกำลังวิ่งขึ้นเขา ตรงส่วนนี้ ท้าวปุ้ย อธิบายว่าลักษณะของถนนจากปากเซไปที่ศูนย์จะค่อยๆ สูงขึ้นทีละน้อย แทบไม่มีเนินสูงให้รู้สึกว่าขึ้นเขา ได้ฟังไกด์คนเก่งอธิบายแล้ว รู้สึกทึ่งเหมือนกัน ที่ลาวนั้นเขามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายกันอยู่เป็นประจำ คงเลียนแบบไทย ที่เปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันอยู่บ่อยๆ ของเขาหากเห็นว่าสิ่งไหนตกสมัยก็ยอมรับแล้วหยุดใช้ อย่างกรณีกฎหมายการจราจร ยุคเก่าก่อน ในลาว ใครที่ขับรถไม่ระมัดระวัง ไปชนหมูชาวบ้าน เจ้าของรถจะถูกไหมหรือปรับเป็นเงินไทย 500 บาท  เรื่องอาจจะจบลงได้โดยง่ายหากว่าหมูตัวนั้นเป็นเพศผู้ แต่หากหมูตัวนั้นเป็นเพศเมีย แถมยังท้องด้วยแล้ว เรื่องยาวขึ้นอย่างแน่นอน หากหมูเพศเมีย ถูกรถตำตาย (ชนตาย) แล้วหมูตัวนั้นเกิดท้อง ต้องผ่าพิสูจน์ เมื่อผ่าพิสูจน์แล้ว พบว่า หมูตัวเมียมีลูกอีก 5 ตัว คูณครับต้องคูณ นับแม่รวมกับลูกเป็น 6 ตัว ห้าหกสามสิบ เจ้าของรถที่ตำหมูตายต้องจ่ายเงิน 3,000 บาท กฎระเบียบนี้ ปัจจุบันไม่มีแล้ว


บางช่วงมีกฎหมายที่เจ้าของสัตว์ใหญ่ อย่างวัวและควาย ต้องเสียเงินให้กับเจ้าของรถ เมื่อรถชนวัว ควาย โทษฐานที่เจ้าของปล่อยไม่ยอมดูแล
แต่ส่วนใหญ่แล้ว หากรถตำวัว ควาย ใครตาย วัวและควายจะกลายเป็นสัตว์ป่าไปทันที หาเจ้าของคนเลี้ยงไม่มี ไม่แน่ใจว่ากฎระเบียบนี้ยังอยู่หรือไม่


ศูนย์ค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้ภาคใต้ เมืองปากซอง อากาศดีมาก ขณะที่อยู่เมืองปากเซ อากาศร้อน แต่เมื่อไปถึงศูนย์ อากาศเย็นสบาย รอบๆ ศูนย์เป็นป่ารกทึบ มองออกไปเห็นน้ำตกสวยงามมาก เรื่องของน้ำตกสวยๆ ของเมืองนี้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว ก่อนที่จะเข้าฟังบรรยายในอาคาร พบว่าที่ศูนย์แห่งนี้มีปลูกไม้แปลกๆ ได้ผลหลายอย่าง เป็นต้นว่า มะคาเดเมียนัต อะโวกาโด
นักวิชาการเกษตรของศูนย์ให้ข้อมูลว่า ที่บริเวณนี้ อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ฝนตกปีหนึ่งราว 2,000 มิลลิเมตร ส่วนกาแฟที่ปลูกกันมีทั้งพันธุ์โรบัสต้าและอาราบิก้า


กาแฟโรบัสต้า ปลูกได้ดีในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตร ส่วนอาราบิก้าปลูกได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1,300 เมตร


นักวิชาการเกษตรบอกว่า งานผลิตกาแฟของเกษตรกรแถบถิ่นนี้อิงแอบกับธรรมชาติ ผลผลิตจึงไม่สูง อย่างกาแฟโรบัสต้า เกษตรกรผลิตได้ 1.5-2 ตัน ต่อเฮกตาร์ อาราบิก้าผลิตได้ 0.9-1 ตัน ต่อเฮกตาร์ เป็นน้ำหนักเมล็ดแห้ง ปัจจุบันเกษตรกรขายเมล็ดกาแฟแห้งได้ กิโลกรัมละ 18 พันกีบ หรือหนึ่งหมื่นแปดพันกีบ เป็นเงินไทยอยู่ที่ 90 บาท

ศูนย์แห่งนี้ ตั้งมาเมื่อ ปี ค.ศ.1990 หรือราว 20 ปีมาแล้ว ผลงานการวิจัยสามารถถ่ายทอดสู่เกษตรกร และเกิดประโยชน์ในวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องของกาแฟ


นักวิชาการเกษตรเล่าว่า ทางศูนย์ได้รวบรวมกาแฟเพื่อวิจัยไว้ 47 สายพันธุ์ 

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยกาแฟอาราบิก้าพันธุ์ดีได้สายพันธุ์หนึ่ง ชื่อว่า SJ133 กาแฟสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตดก ปกติชาวบ้านปลูกกาแฟอาราบิก้าทั่วไปได้ 0.9-1 ตัน ต่อเฮกตาร์ แต่อาราบิก้าสายพันธุ์ SJ133 ได้ผลผลิต 1.5-2 ตัน ต่อเฮกตาร์ นี่เป็นการปลูกในสภาพทั่วไป หากเอาใจใส่เพิ่มขึ้น จะได้ผลผลิต 2-3 ตันเมล็ดแห้ง ต่อเฮกตาร์ คุณสมบัติอย่างอื่น ของกาแฟสายพันธุ์ SJ133 โดยเฉพาะกลิ่นและรสชาติ ถือว่าครบถ้วน เป็นหนึ่งในเมืองลาว


นักวิชาการเกษตรของที่นั่นยังบอกอีกว่า ศูนย์ค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้ภาคใต้ ยังวิจัยได้ข้าวพันธุ์ดีเช่นกัน อย่างสายพันธุ์โพนงาม 1-6 คงคล้ายๆ กข ของไทย แต่ของเขาเป็นข้าวเหนียวล้วน
งานวิจัยของที่นั่น เปรียบเทียบกับของไทยแล้ว ความก้าวหน้ายังมีไม่มากเท่า เมื่อนักวิชาการเกษตรจากไทยไปให้คำแนะนำ ชี้ทางให้ งานวิจัยคงก้าวหน้าอย่างแน่นอน เพราะทรัพยากรของบ้านเขามีความหลากหลาย และสำคัญที่สุดความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่นยังมีมาก 



******************************************************** 


ชาวสวนเชียงรายโอดพิษอาฟต้า 
กาแฟ ลาว-เวียดนาม เริ่มตีตลาด

อาฟต้าเอ็ฟเฟ็กต์ ชาวสวนกาแฟเชียงรายเดือดร้อนหนัก กาแฟราคาถูกจากกลุ่มอาเซียนเริ่มทะลักเข้ามาตีตลาด กาแฟบนดอยช้างขายไม่ออก ค้างสต๊อกกว่า 10-20 ตัน ขณะที่แบรนด์ดัง "กาแฟดอยช้าง" ไม่ได้รับผลกระทบ มั่นใจสินค้ามีคุณภาพ และส่งออกตลาดพรีเมี่ยม ชี้หากชาวไร่กาแฟไม่ปรับตัวจะเจอปัญหาหนัก


นายวิชา พรหมยงค์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดอยช้างเฟรชโรสเต็ดคอฟฟี่ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์กาแฟดอยช้าง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ที่มีผลตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นมา ไม่ส่งผลกระทบต่อกาแฟดอยช้าง ซึ่งปลูกในพื้นที่ดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพราะกาแฟดอยช้างมีคุณภาพและจำหน่ายอยู่ในตลาดบนเท่านั้น
แต่ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ซึ่งยังไม่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพหรือเป็นผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟจากไร่รายย่อย ซึ่งจะประสบปัญหากาแฟราคาถูกจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้ามาตีตลาด


ปัจจุบันบนดอยช้างมีพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งหมดประมาณ 20,000 ไร่ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากชาวไร่กาแฟไม่ปรับตัวจะพบกับปัญหาหนัก เพราะที่ผ่านมาพืชกาแฟแทบไม่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเลย ทั้ง ๆ ที่พยายามเรียกร้องกัน มานานกว่า 8 ปีก่อนจะมีอาฟต้าแล้ว


สำหรับกาแฟดอยช้าง ขณะนี้มีเครือข่าย 12 กลุ่ม พื้นที่ให้ผลผลิตประมาณ 7,000 ไร่ เมื่อปี 2551-2552 มีผลผลิตจำนวน 1,200 ตัน แต่ปี 2552-2553 นี้ให้ผลผลิตแล้วกว่า 1,700 ตัน แต่ยังคงส่งออกไปยังต่างประเทศได้ในอัตราเดิม คือ 97% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนอีก 3% จำหน่ายภายในประเทศ
สำหรับการซื้อขายของชาวไร่ทั่วไป ราคากาแฟกะลากิโลกรัมละ 80-100 บาท ขณะที่กาแฟ จากกลุ่มอาเซียนกิโลกรัมละ 30-40 บาท จึงได้รับผลกระทบหนัก  ด้านนายบัญชา คีรีคามสุข ชาวไร่กาแฟบนดอยช้าง ต.วาวี กล่าวว่า ชาวไร่กาแฟได้รับผลกระทบจากการเปิดเอฟทีเอ เพราะกาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ สปป.ลาว และเวียดนาม มีราคาถูกกว่า ผู้รับซื้อกาแฟจึงลดปริมาณการซื้อจากเกษตรกรไทยลง ส่งผลให้ในปัจจุบันมีผลผลิตกาแฟกะลาบนดอยช้างตกค้างอยู่ในสต๊อกสูงกว่า 10-20 ตัน ขณะนี้ต้นทุนของกาแฟบนดอยช้างอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาทกว่า ๆ แล้ว เพราะมีขั้นตอนมากทั้งเก็บ ตาก สี หมัก ฯลฯ เมื่อปี 2552 เคยเสนอไปยังกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ให้เร่งช่วยเหลือเกษตรกรโดยการส่งเสริมให้มีการแปรรูปและใส่บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เนื่องจากชาวไร่ไร้อำนาจต่อรองเรื่องราคา แต่จนถึงปัจจุบันมีเพียง กรมวิชาการเกษตรเท่านั้นที่เข้ามาส่งเสริมเรื่องการพัฒนาคุณภาพผลผลิต


ที่มา   http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02phu03110353§ionid=0211&day=2010-03-  


แนวทางการพัฒนาการผลิตกาแฟอาราบิก้า

ผู้วิจัย   :   นายอวยพร เพชรหลายสี
สังกัด   :  กลุ่มวิจัยพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่วส่วนวิจัยพืชไร่นา
               สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร
โทร    :  (02) 579-0611 โทรสาร (02) 579-0611
Email :  
auiporn@oae.go.th
 
ประวัติและผลงาน
 กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการซื้อขายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากปิโตรเลียม กาแฟในเชิงการค้าที่สำคัญมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอาราบิก้า และกาแฟโรบัสต้า โดยปริมาณการผลิตกาแฟของโลกจะมีสัดส่วนของอาราบิก้า : โรบัสต้า ประมาณ 70 : 30 และปริมาณการค้ามีสัดส่วน 65 : 35 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยผลิตกาแฟได้เพียงร้อยละ 1 ของโลก เป็นกาแฟโรบัสต้าถึงร้อยละ 97 และอาราบิก้าเพียงร้อยละ 3เท่านั้น เนื่องจากกาแฟอาราบิก้ามีรสชาติไม่ขมเข้มรุนแรง และกลิ่นหอมนุ่มนวล จึงถือเป็นกาแฟคุณภาพดี ตลาดโลกมีความต้องการสูง ประกอบกับแนวโน้มการบริโภคยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าปีหนึ่งๆ ในปริมาณและมูลค่าสูง หากมีการพัฒนาการผลิตกาแฟดังกล่าว เพื่อทดแทนการนำเข้า จะเป็นการประหยัดเงินตราได้มาก
  
จากการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกาแฟกับเครื่องดื่มที่ทำจากพืชอื่น เช่น ชา โกโก้ น้ำผลไม้ และน้ำอัดลม ถือได้ว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มที่คนนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่ง โดยประชากรทั่วโลกจะบริโภคกาแฟไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 ล้านถ้วย สำหรับคนไทยนั้นมีการดื่มกาแฟค่อนข้างน้อย เฉลี่ยประมาณ 90 ถ้วยต่อคนต่อปี อัตราการขยายตัวของตลาดกาแฟไทยประมาณร้อยละ 5-7 ต่อปี
  
วิถีการตลาดกาแฟอาราบิก้าในภาคเหนือของประเทศไทยปี 2544 เกษตรกรจะขาย ผลผลิตให้พ่อค้าท้องถิ่น หน่วยงานพัฒนาที่สูง และพ่อค้าในเมืองร้อยละ 53 31 และ 16 ตามลำดับ สำหรับระบบการปลูกที่เหมาะสมคือ การปลูกกาแฟเป็นพืชเชิงเดี่ยว และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกาแฟอาราบิก้าในร้านกาแฟชั้นดี พบว่ามีมากกว่าร้อยละ 80 ผลการศึกษาเหล่านี้น่าจะนำมาพิจารณาสรุปหาแนวทางการพัฒนาการผลิตกาแฟอาราบิก้าต่อไป 




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©