-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 399 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวทั่วไป









"เอเลี่ยน" อาจยังไม่บุกโลกและยังเป็นเรื่องไกลตัวมนุษย์ในตอนนี้ แต่ "เอเลียนสปีชีส์" ได้บุกยึดพื้นที่ ทำลายพืช สัตว์ และระบบนิเวศในท้องถิ่นไปแล้วหลายแห่งทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
       
       การรุกรานของ "เอเลี่ยนสปีชีส์" (Alien Species) ถือเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หากไม่นับการบุกรุกพื้นที่ธรรมชาติโดยมนุษย์ แต่หลายคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่าเอเลี่ยนสปีชีส์คืออะไร เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร และเป็นภัยคุกคามจริงหรือ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. จึงร่วมกับโครงการบีอาร์ที (BRT) จัดเวทีเสวนาตีแผ่ความจริงเกี่ยวกับ "เอเลี่ยนสปีชีส์...ภัยร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ" เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา
       
 

      **ทำความรู้จัก "เอเลี่ยนสปีชีส์"
       
       ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Introduced species or Exotic Species) คือ ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฏในเขตชีวภูมิศาสตร์หนึ่งมาก่อน แต่ถูกนำมาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่นด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง และสามารถดำรงชีวิต สืบพันธุ์ได้ในพื้นที่นั้น
       
       ส่วน "เอเลี่ยนสปีชีส์" หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน" ( Invasive Species or Alien species) คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่สามารถตั้งถิ่นฐานและยึดครองจนเป็นชนิดพันธุ์เด่นในพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ท้องถิ่นเดิมจนอาจทำให้สูญพันธุ์ไป ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัยของประชาชนด้วยหากไม่มีการควบคุมและจัดการที่เหมาะสม
       
       "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสามารถเข้าไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ได้ 3 ทางหลัก ได้แก่ การแพร่กระจายเข้าไปโดยความสามารถของชนิดพันธุ์เองเมื่อมีโอกาส, การชักนำเข้าไปโดยบังเอิญจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการนำพาโดยผู้คน ทั้งที่จงใจและมิได้จงใจ เช่น เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ศึกษาวิจัย นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงหรือเพื่อความสวยงาม หรือติดมากับยานพาหนะ การขนขนส่งสินค้า และน้ำอับเฉาของเรือ เป็นต้น" ศ.ดร.สมศักดิ์ ให้ข้อมูล
       
 


      **"ปลาเทศบาล" วายร้ายทำลายปลาพื้นเมืองไทย
       
       ปลาเทศบาล, ปลาซัคเกอร์ หรือปลากดเกราะ คือปลาชนิดเดียวกันกับที่เคยเป็นข่าวดังบนหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน เมื่อชาวบ้านหนองใหญ่ใน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พบฝูงปลาชนิดนี้ในลำคลองนับหมื่นตัว ขณะที่พันธุ์ปลาอื่นๆ ที่เคยมีอยู่กลับลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ
       
       "ปลากดเกราะเป็นปลาที่มีการนำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 เพื่อใช้กำจัดสาหร่ายและของเสียที่ตกค้างในตู้ปลา แต่เมื่อปลาเทศบาลเจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกินไป ผู้เลี้ยงก็นำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ และปลาก็สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี จนปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว เพราะไปมีผลคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา และไต้หวัน รวมทั้งในแม่น้ำโขงด้วย" ดร.รัฐชา ชัยชนะ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูล
       
       ดร.รัฐชา ได้ศึกษาวิจัยถึงผลกระทบของปลากดเกราะต่อความหลากหลายของปลาพื้นเมืองในคลองหนองใหญ่ พบว่ามีปลากดเกราะเพียงสปีชีส์เดียว (Pterygoplichthys pardalis) ที่สามารถอยู่อาศัยได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมและมีออกซิเจนละลายน้ำต่ำ เพราะสามารถขึ้นมารับออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง โดยพบปริมาณมากบริเวณแหล่งน้ำที่ไหลผ่านชุมชนช่วงปลายน้ำ ซึ่งได้รับน้ำเสียจากครัวเรือนเป็นส่วนมาก และบางบริเวณมีสัดส่วนของปลาชนิดนี้มากถึง 70-100% เมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น
       
       นอกจากนั้น ปลากดเกราะยังเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สุดที่พบในคลองหนองใหญ่ จึงอาจมีความสามารถในการแก่งแย่งอาหารและที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะกับปลาที่มีขนาดเล็กกว่า จนมีผลทำให้ประชากรปลาชนิดอื่นลดจำนวนลงและสูญหายไปในที่สุด อีกทั้งพฤติกรรมการกินของปลากดเกราะที่ดูดกินอาหารจากพื้นใต้น้ำ รวมทั้งไข่ปลาและลูกปลาชนิดอื่น ขณะที่ตัวมันเองมีเกล็ดแข็ง ครีบด้านข้างตัวและครีบหลังเป็นเงี่ยงแข็งหนา จึงทำให้มีศัตรูธรรมชาติค่อนข้างน้อย ซึ่งหากปลากดเกราะยังเพิ่มจำนวนต่อไป อาจส่งผลกระทบต่อปลาพื้นเมืองในบริเวณนั้น โดยเฉพาะปลาดุกอุยและปลาดุกด้านที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
       



       **"จอกหูหนูยักษ์" เอเลี่ยนสปีชีส์ที่ผักตบชวายังพ่าย
       
       ผักตบชวาจัดเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ระดับตำนานของประเทศไทย เพราะมีปัญหารุกรานในธรรมชาติมานานร่วมร้อยปี แต่ปัจจุบันนี้มีพืชต่างถิ่นอีกนับไม่ถ้วนที่กำลังคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพในไทย และบางชนิดยังทำให้ผักตบชวาที่เคยยึดครองผืนน้ำต้องหลีกทางให้ พืชที่ว่านี้คือ "จอกหูหนูยักษ์"
       
       ดร.ศิริพร ซึงสนธิพร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยข้อมูลว่า จอกหูหนูยักษ์เป็นเฟิร์นลอยน้ำชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ แต่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยหลายปีแล้ว บางพื้นที่พบลอยน้ำปะปนอยู่กับผักตบชวากีดขวางทางไหลของน้ำ เช่น ในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อพืชเหล่านี้ตายลงก็จะทับถมลงแหล่งน้ำ ส่งผลให้แหล่งน้ำตื้นเขินได้ ขณะที่ผักตบชวาที่ถูกล้อมรอบด้วยจอกหูหนูยักษ์มักมีอาการใบห่อ ซีดเหลือง เป็นสีน้ำตาล และตายในที่สุด
       
       จอกหูหนูยักษ์เมื่อโตเต็มที่จะเบียดเสียดกันมากและซ้อนทับกันเป็นชั้นหนา 30-40 เซนติเมตร โดยบริเวณที่มีจอกหูหนูยักษ์ขึ้นปกคลุมผิวน้ำอย่างหนาแน่นเป็นพื้นที่กว้าง จะไปแย่งพื้นที่พรรณพืชน้ำอื่นๆ ในท้องถิ่น ทั้งยังบดบังไม่ให้แสงแดดและออกซิเจนผ่านลงไปใต้ผิวน้ำได้ ทำให้พืชใต้น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้และตายลง ยิ่งทำให้บริเวณนั้นขาดออกซิเจนที่ต้องใช้ไปกับการย่อยสลายซากพืช และทำให้สัตว์น้ำอยู่อาศัยต่อไปไม่ได้ ซึ่งความน่ากลัวของจอกหูหนูยักษ์คือกำจัดยากยิ่งกว่าผักตบชวา เพราะมีลำต้นเปราะบาง หักง่าย เวลาตักหรือช้อนขึ้นมามักหักเป็นท่อนๆ ที่มีใบติดอยู่ด้วย ซึ่งแม้เพียง 1-2 เซนติเมตร ก็สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้จากตาตรงซอกใบ เรียกได้ว่า ยิ่งแตกก็ยิ่งโต
       
       "ขณะนี้มีรายงานการระบาดของจอกหูหนูยักษ์ในแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีเรื่อยลงมาถึงสมุทรสงคราม รวมถึงหลายอำเภอในจังหวัดสงขลา และมีแนวโน้มจะระบาดไปสู่อีกหลายจังหวัด จากการสำรวจล่าสุดพบว่าการระบาดของจอกหูหนูยักษ์เริ่มส่งผลกระทบต่อพันธุ์พืชน้ำท้องถิ่นแล้ว เช่น ผักตับเต่า ต้อยติ่งสาย และยังกระทบต่อการท่องเที่ยวด้วย" ดร.ศิริพร เผยถึงปัญหา
       
       เอเลี่ยนสปีชีส์เพียงไม่กี่ชนิดยังก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบมากมาย แต่ในสถานการณ์จริงตอนนี้มีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในเมืองไทยแล้วหลายสิบชนิด "เรา" พร้อมหรือยังที่จะปกป้องชนิดพันธุ์ในท้องถิ่นที่มีคุณค่าให้รอดพ้นจากการถูกคุกคามจากเอเลี่ยนสปีชีส์


       อ่านเพิ่มเติม
       
       -
ไม่ปล่อย-ไม่นำเข้า ไม่ก่อปัญหา "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" รุกรานไทย
       - หอยเชอรี่" เตรียมขึ้นแท่นท็อป 10 เอเลี่ยนสปีชีส์

ที่มา  :  ผู้จัดการรออนไลน์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (788 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©