-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 390 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 1/2


ข้าวญี่ปุ่น


ประวัติ

สถาบันวิจัยข้าวเริ่มดำเนินงานเพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการปลูก
ข้าวญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 โดยได้ดำเนินที่สถานีทดลองข้าวพาน จังหวัดเชียงราย ต่อมา
ในปี พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวพานได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจากแหล่งต่าง ๆ มาขยาย
เมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำไปปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นเมื่อปี พ.ศ. 2531-2532 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูง
ที่สถานีทดลองข้าวพานและสถานีทดลองข้าวสันป่าตองเมื่อปี พ.ศ. 2532-2533 ปลูกเปรียบ
เทียบพันธุ์ระหว่างสถานีเมื่อปี พ.ศ. 2533-2534 หลังจากนั้นนำไปปลูกทดสอบผลผลิตในนา
เกษตรกรจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก ชัยนาท สกลนคร และจังหวัดหนองคาย
พร้อมทั้งบันทึกผลผลิต ลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูปลูก
ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมีตลอดจนทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลง
เมื่อปี พ.ศ. 2534-2538
ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการ
เกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2538 และให้ชื่อว่าพันธุ์ "ข้าวญี่ปุ่น
ก.วก.1"
 


 

ลักษณะประจำพันธุ์

ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 88 เซนติเมตร ต้นค่อนข้างแข็งแรง กอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางมีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟางและมีหางเล็กน้อย รูปร่างเมล็ดข้าวเปลือกสั้นป้อมยาว 7.4 มิลลิเมตร กว้าง 3.5 มิลลิเมตร และหนา 2.2 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว ยาวเฉลี่ย 5.18 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง การร่วงของเมล็ดยาก มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน และให้ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น

1. ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์

2. สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

3. ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่น ๆ

4. คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์

5. คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดีตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น

6. ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป 



คำแนะนำ

1. แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

2. การปลูกในฤดูนาปรัง ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะให้ผลผลิตสูงกว่าฤดูนาปี เพราะเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโต

3. อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 7-10 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาดำ และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่านน้ำตม โดยเมล็ดพันธุ์ต้องมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

4. อายุกล้าที่เหมาะสมต่อการปักดำในฤดูนาปรังในเขตภาคเหนือตอนบนประมาณ 25-30 วัน และ 15-18 วัน สำหรับภาคเหนือตอนล่าง หรือเมื่อต้นกล้ามีใบ 3-5 ใบ

5. ถอนกล้าอย่าให้ช้ำและนำไปปักดำให้เสร็จภายในวันเดียว เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและตั้งตัวได้เร็ว โดยปักดำจับละ 6-8 ต้น ระยะปักดำ 30x15 หรือ 20x20 เซนติเมตร


ข้อควรระวัง

1. ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 ไม่ต้านทานโรคไหม้ การปลูกข้าวให้ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมดังกล่าว

2. ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าวในนา 3-4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที

3. เมล็ดข้าวเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และเก็บในปีบหรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้

4. ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและโรคใบสีส้ม

5. ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาว




ขั้นตอนการปลูกข้าวญี่ปุ่นฤดูนาปี
 





ขั้นตอนการปลูกข้าวญี่ปุ่นฤดูนาปรัง





10 สายพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นแท้ๆที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ


1. Koshihikari เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันทั่วทุกจังหวัดในญี่ปุ่น แต่แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ อุโอนุมา จังหวัดนีงาตะ ลักษณะเมล็ดข้าวสั้นป้อม รสชาติอร่อย หอม นุ่ม มีความเงาของเม็ดข้าวเรียกได้ว่าเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่แข็งแรง ป่วนเป็นโรคได้ง่ายจึงถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อและใช้ชื่อว่า Koshihikari BL

2. Sasanishiki เป็นพันธุ์ข้าวที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ Koshihikari กับSasashigure และพบมากที่สุดในเขตฟุรุคาว่า จังหวัดมิยางิ ข้าวชนิดนี้เป็นที่นิยมนำมาทำซูชิกันมากเพราะตัวเม็ดข้าวมีความเหนียวนุ่ม เกาะตัวกันได้เป็นอย่างดี

3. Akitakomachi เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากในแถบภูมิภาคโทโฮะคุ แต่แหล่งเพาะปลูกที่ผลิตข้าวพันธุ์นี้ได้มากที่สุดอยู่ในจังหวัดอะกิตะ ส่วนรสชาติและความเหนียวนุ่มไม่ด้อยไปกว่าข้าวสายพันธุ์ Sasanishiki ที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทาน

4. Hinohikari
เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากในแถบภูมิภาคคันไซ และแถบนี้จัดว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ได้รสชาติที่ดีที่สุด ลักษณะเมล็ดข้าวจะมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์Koshihikari แต่ได้รสชาติที่ออกหวาน นุ่มกว่าเล็กน้อย

5. Hitomebore
เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากในแถบภูมิภาคโทโฮะคุ โดยแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดอยู่ในจังหวัดโออืตะ รสชาติไม่ต่างไปจากสายพันธุ์Koshihikariมากนัก แต่ด้วยคุณสมบัติที่คงความนุ่มละมุน หอม และเหนียว แม้ข้าวจะหายร้อน คนญี่ปุ่นจึงนิยมนำข้าวชนิดนี้มาทำข้าวปั้นสามเหลี่ยม

6. Kinuhikari เป็นสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนามาจากสายพันธุ์หลักอย่าง โดยจดทะเบียนเมื่อปี1989 แหล่งเพาะปลูกที่พบมากที่สุดคือแถบภูมิภาคคันโต รสชาติของข้าวที่ได้ไม่แตกต่างไปจากข้าว Koshihikari มากนักแต่มีราคาถูกกว่า และมีความทนทานต่อโรคมากกว่า ข้อเสียอยู่ที่ปริมาณของรวงข้าวต่อต้นน้อยกว่า

7. Haenuki เป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยเพิ่งจดทะเบียนไปเมื่อปี1993 และนิยมปลูกกันมากในเขตจังหวัดยะมะงะตะ ข้าวชนิดนี้แม้จะหายร้อนก็ยังคงความนุ่มเหนียว คนญี่ปุ่นจึงนิยมนำมาทำข้าวปั้นสามเหลี่ยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง

8. Kirara397 เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมากในแถบภูมิภาคฮอกไกโด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้าวสายพันธุ์Koshihikariแล้ว ราคาจะถูกกว่า และมีจุดเด่นตรงที่มีเมล็ดจะเล็ก แต่เมื่อนำมาหุงเมล็ดจะใหญ่หรือหุงขึ้นหม้อ ที่สำคัญไม่แฉะง่าย

9. Hoshiniyume เป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของข้าวญี่ปุ่นหลากหลายชนิด โดยการผสมขั้นสุดท้ายกับสายพันธุ์ Kirara397 ก่อนจะนำมาจดทะเบียนเมื่อปี2000 แหล่งเพราะปลูกพบมากในแถบภูมิภาคฮอกไกโดและนิยมรับประทานเป็นข้าวกล้อง ลักษณะเมล็ดยาวกว่าสายพันธุ์ Kirara397เล็กน้อย

10. Nanatsuboshi เป็นสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากสายพันธุ์หลักอย่างและเป็นที่นิยมปลูกกันมากในแถบฮอกไกโด สายพันธุ์ข้าวNanatsuboshi จัดเป็นข้าวที่มีความสำคัญของฮอกไกโดมาก เพราะมีความเงา นุ่ม เหนียว หอม และรสชาติดีถึงขั้นได้เป็นข้าวพันธุ์ดีประจำท้องถิ่นเมื่อปี 2001

http://www.doae.go.th/library/html/detail/japan2/content.htm




Credit: DACO


ปลูก “ข้าวญี่ปุ่น” 2 สายพันธุ์
ทางเลือกใหม่ชาวนาเมืองเหนือ


ที่ผ่านมา ยอมรับอาชีพการทำนาปลูกข้าวในบ้านเรานั้น สร้างความเจ็บปวดกับเกษตรกรมาตลอด โดยเฉพาะด้านราคาที่ตกต่ำ แต่การลงทุนที่สูงขึ้นทั้งค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน และสารเคมีที่ราคาแพงขึ้น จนชาวนาแทบล่มสลาย และมีหนี้สินเรื้อรัง แต่ขณะนี้เกษตรกรในภาคเหนือตอนล่างมีทางเลือกใหม่แล้ว หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับบริษัทสยามอโรนี เอส เอ จำกัด ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก “ข้าวญี่ปุ่น” ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มกว่าการทำนาถึงไร่กว่า 1,000 บาท

สำหรับข้าวญี่ปุ่นที่กระทรวงเกษตรฯ ส่งเสริมให้ปลูกที่ว่านี้ เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง มี 2 พันธุ์ คือ "ข้าวจ้าวพันธุ์โคชิฮิคาริ" และ "ข้าวเหนียวพันธุ์ฮิโยคุ" โดยกระทรวงเกษตรฯและบริษัทสยามอโรนี เอส เอฯ จะส่งเสริมทั้งการผลิตและการตลาด ให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ ที่สำคัญเกษตรกรที่ปลูกข้าวญี่ปุ่นที่ว่านี้ ทราบราคาจำหน่ายล่วงหน้า เพราะมีตลาดรองรับที่แน่นอนและต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นทางบริษัทสยามอโรนี เอส เอ จะเพิ่มกำลังผลิตให้ได้ปีละ 5 หมื่นตัน


สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวระหว่างลงพื้นที่ที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เมื่อไม่นานมานี้ว่า ตามข้อมูลระบุว่า ข้าวญี่ปุ่นทั้ง 2 พันธุ์นี้ มีผลผลิตขั้นต่ำเฉลี่ย 500 กก.ต่อไร่ เมื่อได้เปรียบเทียบกับการปลูกข้าวไทย เท่ากับว่า เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 760-1,010 บาทต่อไร่ แต่มีข้อเสียคือต้องเอาใจใส่ดูแล ต้องใช้ความรู้และเทคนิคในการปลูก รวมทั้งมีการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม


ส่วนพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกนั้นมี 5 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร ชัยนาท และอุตรดิตถ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการรวบรวมสมาชิกจัดตั้งเป็นสหกรณ์ มีหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าไปแนะนำส่งเสริมในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว


“ข้าวญี่ปุ่นเราปลูกเพื่อส่งออก คือวิธีการส่งออก จะมีการแปรรูปจากเมล็ดข้าวธรรมดาที่สีแล้วให้เป็นข้าวสาร และทำเป็นแป้งผงบรรจุใส่ถุงตามใบสั่ง ถุงละ 5-10 กก. โดยมีตลาดรองรับไม่ได้มีเพียงแค่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีการจำหน่ายต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในราคาที่รับซื้อช่วงต้นตกตันละ 7,500-8,000 บาท” นายสมศักดิ์ กล่าว


ทางด้าน ไพบูลย์ วันเมฆ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริม สำนักงานเกษตร จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้กำหนดพื้นที่ข้าวญี่ปุ่น ที่ อ.พิชัย 5 หมื่นไร่ โดยเริ่มทดลองปลูกมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ 1,400 ไร่ มีเกษตรกรร่วมโครงการ 75 ราย ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 700-800 กก. เกษตรกรมีรายได้สุทธิประมาณ 1,115-3,415 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ ทางเกษตรจังหวัดได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ในเขต อ.พิชัย ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว


ส่วน เหรียญ อยู่บาง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวญี่ปุ่น บอกว่า ได้ร่วมทดลองปลูกข้าวญี่ปุ่น 5 ไร่ เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรก ก็รู้ทันทีว่าข้าวชนิดนี้ผลิตได้ตรงตามความต้องการของตลาด ไม่ใช่การปลูกข้าวแล้วรอวัดดวงเหมือนที่ผ่านมา ที่สำคัญการปลูกข้าวญี่ปุ่นมีการกำหนดราคารับซื้อล่วงหน้าที่แน่นอน เช่น ปีนี้รับซื้อราคา กก.ละ 7.50 บาท


นี่นับว่าการเลือกปลูก “ข้าวญี่ปุ่น” ทั้ง 2 พันธุ์ คือ "ข้าวจ้าวพันธุ์โคชิฮิคาริ" และ "ข้าวเหนียวพันธุ์ฮิโยคุ" ถือเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะหากแต่มุ่งมั่นจะทำนาอย่างที่ผ่านมานั้น นับวันที่จะจนลงเรื่อยๆ เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีราคาไม่แน่นอน



http://www.biothai.net/news/4594

www.biothai.net/news/4594 -



Content ©