-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 443 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








 

ปลุกวิจัยพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ

นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนส่งผลให้สภาวะอากาศแปรปรวน เกิดพายุฝนตกหนัก มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำความเสียหายให้กับนาข้าว โดยกรมการข้าวจะต้องดำเนินการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สำหรับให้เกษตรกรใช้ปลูกในพื้นที่น้ำท่วมได้ ถึงแม้ว่าผลผลิตจะต่ำกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ แต่ประเทศไทยก็มีความจำเป็นจะต้องปลูก เพราะคนไทยรับประทานเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้กรมการข้าว จะต้องมีการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวดังกล่าว ให้ได้ผลผลิตและคุณภาพที่สูงคุณ ตรงกับความต้องการของตลาด

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ในปัจจุบันกรมการข้าวได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา และศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ได้ดำเนินการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ และข้าวน้ำลึก อย่างต่อเนื่อง ในปี 2551 ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อยุธยา 1 และปิ่นแก้ว 56 กว่า 10 ตัน เป็นเมล็ดพันธุ์หลัก โดยทางกรมการข้าวจะได้ดำเนินการ นำร่องส่งเสริมให้เกษตรกร ในศูนย์ข้าวชุมชน ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 10 จังหวัด ในเขตภาคเหนือตอนล่าง และเขตภาคกลาง เพื่อให้ศูนย์ข้าวชุมชนสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี กระจายให้เกษตรกรในพื้นที่ต่อไป

ข้าวที่สามารถในพื้นที่น้ำท่วมได้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ข้าวขึ้นน้ำ เป็นข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและยังคงให้ผลผลิต เมื่อปลูกในสภาพน้ำลึก มากกว่า 100 เซนติเมตร ข้าวชนิดนี้มีลักษณะพิเศษที่สำคัญ คือ มีความสามารถในการยืดปล้อง ได้ดีมาก เช่น พันธุ์ข้าวเล็บมือนาง 111 พลายงามปราจีนบุรี ปิ่นแก้ว 56 เป็นต้น ในส่วนของข้าวน้ำลึก หมายถึงพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี และยังคงให้ผลผลิต เมื่อปลูกในสภาพน้ำลึก ตั้งแต่ 50-100 เซนติเมตร มีลักษณะพิเศษ คือสามารถทนน้ำท่วมได้ประมาณ 7-10 วัน เช่น พันธุ์ปราจีนบุรี 1 ปราจีนบุรี 2 และอยุธยา 1 เป็นต้น


ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 16 มกราคม 2551

http://www.naewna.com/news.asp?ID=91036
http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=48






หนุนวิจัยพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ และข้าวน้ำลึก เป้าปลูกในพื้นที่น้ำท่วม

หลายปีที่ผ่านมา ปัญหาจากสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศ เกิดพายุฝนตกหนัก และอุทกภัยอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนาข้าว

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงคราวน้ำหลาก น้ำก็หลากเข้าท่วมทุ่งนา ซึ่งใช้เป็นเกราะป้องกันข้าศึกชั้นดีที่มารุกราน แต่ชาวนาก็ยังสามารถปลูกข้าวได้ ข้าวในนาสามารถยืดปล้องหนีน้ำ ชูใบและยอดเขียวสดใส เจริญงอกงามไม่เกิดความเสียหายแต่ประการใด จากประเด็นดังกล่าวนี้ได้เข้ามาเป็นเหตุผลหนึ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมการข้าว ดำเนินการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อหาพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกในพื้นที่น้ำท่วม เช่นเมื่อครั้งอดีต เพื่อนำมาปลูกในพื้นที่น้ำท่วมขังและท่วมถึงอันจะทำให้เกษตรกรสามารถทำนาได้และท้องนาไม่เสียหายในช่วงฤดูน้ำท่วมในแต่ละปี

นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวภายหลังการตรวจพื้นที่การก่อสร้างที่ทำการกรมการข้าวเมื่อวันก่อนว่า ในปัจจุบันปัญหาจากโลกร้อน ได้ส่งผลให้สภาวะอากาศแปรปรวน เกิดพายุฝน  ตกหนัก มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ได้ทำความเสียหายให้กับนาข้าว โดยกรมการข้าวจะต้องดำเนินการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ และข้าวน้ำลึก อย่างจริงจังและต่อเนื่อง  สำหรับให้เกษตรกรใช้ปลูกในพื้นที่น้ำท่วมได้ ถึงแม้ว่าผลผลิตจะต่ำกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ ก็ตาม แต่ประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องปลูก เพราะคนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้กรมการข้าวจะต้องมีการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวดังกล่าวให้ได้ผลผลิตและมีคุณภาพที่สูงสุด ตรงกับความต้องการของตลาดอีกด้วย

ทางด้าน นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ในปัจจุบันกรมการข้าวได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา และศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ดำเนินการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ และข้าวน้ำลึก อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอยุธยา 1 และปิ่นแก้ว 56 กว่า 10 ตัน เป็นเมล็ดพันธุ์หลัก โดยทางกรมการข้าวจะได้ดำเนินการนำร่องส่งเสริมให้เกษตรกรในศูนย์ข้าวชุมชน ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 10 จังหวัด ในเขตภาคเหนือตอนล่าง และเขตภาคกลาง เพื่อจะให้ศูนย์ข้าวชุมชนสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี กระจายให้เกษตรกรในพื้นที่ต่อไป

และข้าวที่สามารถปลูกในพื้นที่น้ำท่วมได้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ข้าวขึ้นน้ำ ซึ่งเป็นข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและยังคงให้ผลผลิต เมื่อปลูกในสภาพน้ำลึกมากกว่า 100 เซนติ เมตร ข้าวชนิดนี้มีลักษณะพิเศษที่สำคัญ คือมีความสามารถในการยืดปล้องได้ดี เช่น พันธุ์ข้าวเล็บมือนาง 111 พลายงามปราจีนบุรี ปิ่นแก้ว 56 เป็นต้น ในส่วนของข้าวน้ำลึก ซึ่งหมายถึงพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี และยังคงให้ผลผลิตเมื่อปลูกในพื้นที่น้ำลึก ตั้งแต่ 50-100 เซนติเมตร มีลักษณะพิเศษ คือสามารถทนน้ำท่วมได้ประมาณ 7-10 วัน เช่น พันธุ์ปราจีนบุรี 1 ปราจีนบุรี 2 และอยุธยา 1 เป็นต้น

ฉะนั้นเกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดน้ำท่วม หรือน้ำอาจท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลากระหว่างการปลูกข้าว ก็เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการนำพันธุ์ข้าวเหล่านี้มาปลูกในพื้นที่นาของตนเอง

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา โทร. 0-3524-1680 หรือศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี โทร. 0-3727-1232 ได้ในวันและเวลาราชการ


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 4 มกราคม 2551

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=150460&NewsType=1&Template=1
http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=12





พันธุ์ข้าว 
 
      
พันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี 
      
จากอดีต ถึงปัจจุบัน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้ดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้าวพันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ และพันธุ์ทั่วไป ให้เกษตรกรปลูกในระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวน้ำลึก ธัญพืชเมืองหนาว และข้าวญี่ปุ่น จำนวน 93 พันธุ์ ดังนี้

ข้าวนาสวน  
พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 35 พันธุ์
ข้าวนาสวน
พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 29 พันธุ์
ข้าวขึ้นน้ำ
พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึก
พันธุ์่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึก
พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวไร่
พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 7 พันธุ์
ข้าวไร่
พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวแดงหอม
พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวแดงหอม
พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวญี่ปุ่น
  จำนวน 2 พันธุ์
ข้าวสาลี
  จำนวน 4 พันธุ์
ข้าวบาร์เลย์
  จำนวน 2 พันธุ์

      
พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีทั้งชนิดข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูุกได้ตลอดปี และมีบางพันธุ์เป็นข้าวหอม พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ให้ีผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้มตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ อย่างไรก็ตามงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังคงต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะพันธุ์ที่ออกแนะนำแล้วปัจจุบันบางพันธุ์เกษตรกรอาจจะยังคงนิยมปลูกอยู่ แต่บางพันธุ์เกษตรกรอาจเลิกปลูก เนื่องจากมีข้อด้อยบางประการ การนำเอาพันธุ์ข้าวเหล่านั้นไปใช้ของเกษตรกรจึงเป็นไปในลักษณะของการแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ออกพันธุ์ข้าวนั้นเท่านั้น รวมทั้งบางพันธุ์เมื่อแนะนำให้ปลูกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วอาจไม่มีความ เหมาะสมในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือโรค แมลงศัตรูข้าวมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องหาพันธุ์ที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาดโลก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงต้องดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์โดยไม่มีที่สิ้นสุด


ชนิดของพันธุ์ข้าว
1) แบ่งตามนิเวศน์การปลูก
      ข้าวนาสวน
     ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน  
     - ข้าวนาสวนนาน้ำฝน
     ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
     - ข้าวนาสวนนาชลประทาน
     ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง

     ข้าวขึ้นน้ำ
     ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง (kneeing ability)

     ข้าวน้ำลึก
     ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร

     ข้าวไร่
     ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ

     ข้าวนาที่สูง
     ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี

2) แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง
     ข้าวไวต่อช่วงแสง
     เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง โดยพบว่าข้าวไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะออกดอกในเดือนที่มีความยาว ของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้นข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาที จึงได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อย (less sensitive to photoperiod) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-20 นาทีก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสงมาก (strongly sensitive to photoperiod) พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิตได้ปีละหนึ่งครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปี พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง

     ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
     เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามอายุ จึงใช้ปลูกและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรัง บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปรัง
 
ตารางแสดงพันธุ์ข้าวต่างๆ
พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง
- กข5 - ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 - ลูกแดงปัตตานี
- กข6 - เฉี้ยงพัทลุง - เล็บนกปัตตานี
- กข8 - ชุมแพ 60 - หางยี 71
- กข12 (หนองคาย 80) - นางพญา 132 - เหมยนอง 62 เอ็ม
- กข13 - นางมล เอส-4 - เหนียวสันป่าตอง
- กข15 - น้ำสะกุย 19 - เหนียวอุบล 1
- กข27 - เผือกน้ำ 43 - เหนียวอุบล 2
- กข35 (รังสิต 80) - ปทุมธานี 60 - เหลืองประทิว 123
- กำผาย 15 - พวงไร่ 2 - เหลืองใหญ่ 148
- เก้ารวง 88 - พัทลุง 60 - เข็มทองพัทลุง
- ขาวดอกมะลิ 105 - พิษณุโลก 3 - ข้าวหลวงสันป่าตอง
- ขาวตาแห้ง 17 - พิษณุโลก 60-1 - แก่นจันทร์
- ขาวปากหม้อ 148 - พิษณุโลก 80 - เจ๊กเชย 1

พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง
- กข1 - กข29 (ชัยนาท 80) - พิษณุโลก 2
- กข2 - กข31 (ปทุมธานี 80) - พิษณุโลก 60-2
- กข3 - กข33 (หอมอุบล 80) - แพร่ 1
- กข4 - กข37 - สกลนคร
- กข7 - กข39 - สันป่าตอง 1
- กข9 - ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 - สุพรรณบุรี 1
- กข10 - ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี - สุพรรณบุรี 2
- กข11 - ชัยนาท 1 - สุพรรณบุรี 3
- กข14 - ชัยนาท 2 - สุพรรณบุรี 60
- กข21 - ปทุมธานี 1 - สุพรรณบุรี 90
- กข23 - บางแตน - สุรินทร์ 1
- กข25 - พัทลุง  

พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง
- ตะเภาแก้ว 161 - ปิ่นแก้ว 56 - เล็บมือนาง 111
- นางฉลอง - พลายงามปราจีนบุรี  

พันธุ์ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง
- กข19 - ปราจีนบุรี 1 - อยุธยา 1
- หันตรา 60 - ปราจีนบุรี 2  

พันธุ์ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง
- กข17    

พันธุ์ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง
- กู้เมืองหลวง - ซิวแม่จัน - เจ้าลีซอสันป่าตอง
- ขาวโป่งไคร้ - ดอกพะยอม - เจ้าขาวเชียงใหม่่
- เจ้าฮ่อ - น้ำรู  

พันธุ์ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อาร์ 258    

พันธุ์ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง  
- ข้าวหอมกุหลาบแดง    

พันธุ์ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง
- ข้าวหอมแดง - สังข์หยดพัทลุง  
 
ข้อมูลเพิ่มเติมเชื่อมโยงไป สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว
 
  __________________________________________________________________________________  
 

ที่มา : - เครือข่ายกาญจนาภิเษก (http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter1/t3-1-l2.htm#sect2)
         - สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว (www.ricethailand.go.th/info_riceknowledge.htm)

 
   

http://kasetinfo.arda.or.th/rice/rice-cultivate_species.html






ข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึก

ชื่อพันธุ์ข้าว
ชนิดข้าว
อายุ /
วันสุก เก็บเกี่ยว
ผลผลิต (กก./ไร่)
ลักษณะดีเด่น
ปิ่นแก้ว 56 เจ้า
20 ธ.ค.
362
ทนน้ำลึก และขึ้นน้ำได้ดีจนถึงระดับน้ำสูงสุด 5 เมตร ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคกาบเน่าเปื่อย โรคจู๋
เล็บมือนาง 111 เจ้า
19 ธ.ค.
328
ทนแล้ง ทนน้ำลึก และขึ้นน้ำได้ดีจนถึงระดับน้ำสูงสุด 4 เมตร ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม เพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล และ แมลงบั่ว
หันตรา 60 เจ้า
25 ธ.ค.
425
เหมาะสำหรับพื้นที่ราบลุ่มภาคกล่งระดับน้ำไม่เกิน 1 เมตร ต้านทานโรคไหม้ ได้ดี ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และแมลงบั่ว
พลายงามปราจีนบุรี เจ้า
25 ธ.ค.
380
ต้านทานโรคไหม้ในระยะหลังดีไม่พบการทำลายของโรค และแมลงในสภาพธรรมชาติ
ปราจีนบุรี 1 เจ้า
25 พ.ย.
450
เป็นข้าวเจ้าทนน้ำลึกที่ให้ผลผลิต และคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ กข 19 และหันตรา 60 ทนดินแล้ง ทนเปรี้ยวปานกลาง ทนน้ำท่วมปานกลาง สามารถจมอยู่ในน้ำได้นาน 7-10 วัน ต้านทานโรคไหม้ระยะกล้า โรคใบขีดโปร่งแสงปานกลาง ตอบสนองปุ๋ยไนโตรเจนได้ดี สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร
ปราจีนบุรี 2 เจ้า
18-25 ธ.ค.
846 (น้ำลึก) 590 (น้ำตื้น)
เป็นข้าวทนน้ำลึก ทรงต้นเตี้ย ฟางแข็งไม่ล้มง่าย มีศักยภาพให้ ผลผลิตสูง ทั้งในสภาพน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร และในระดับน้ำ ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร


http://www.ricethailand.go.th/brrd/tech/m1_6.htm















สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1526 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©