-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 428 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 1/2



วิธีปลูกข้าวที่สูง

ข้าวที่สูง ข้าวบนพื้นที่สูง หรือข้าวดอย มีลักษณะการปลูก 2 แบบ คือ การปลูกแบบสภาพไร่ หรือที่เรียกว่าข้าวไร่ ปลูกตามไหล่เขา ไม่มีคันนาสำหรับเก็บกักน้ำในแปลงปลูก ส่วนมากมักเตรียมดินโดยการถางวัชพืชหรือพืชอื่นออกก่อนแล้วเตรียมดิน หลังจากนั้นจึงทำการปลูกข้าว พื้นที่ปลูกข้าวไร่ส่วนใหญ่มักมีความลาดชันตั้งแต่ 5-60 องศา อาศัยความชื้นในการเจริญเติบโตจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว และอีกสภาพหนึ่งคือการปลูกในสภาพนา โดยเริ่มต้นตั้งแต่เตรียมดิน ตกกล้า ไถ คราด ทำเทือก และปักดำ ดังเช่นการทำนาพื้นราบทั่วไป พื้นที่ปลูกจะอยู่ระหว่างหุบเขา มีการทำคันนาสำหรับกักเก็บน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนาขั้นบันได

        
การกำหนดพื้นที่สูงนั้นจะทำการกำหนดพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (above mean sea level) ตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป ให้เป็นพื้นที่สูง หรือสังเกตจากธรรมชาติ จากการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้บนพื้นที่ดอยหรือภูเขา โดยสังเกตจากไม้ป่า เช่น สัก เต็ง รัง เหียง และตึง ซึ่งพันธุ์ไม้เหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นราบ จนถึงพื้นที่ที่มีความสูงประมาณ 700-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล เหนือขึ้นไปจะมีพันธุ์ไม้ประเภทสน ซึ่งเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ขึ้นปะปนกับพันธุ์ไม้อื่น ๆ สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน

        
สำหรับการปลูกข้าวบนที่สูงมีขั้นตอนการปลูกที่อาจแตกต่างจากการปลูกข้าวบนพื้นที่ราบทั่ว ๆ ไป โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้


1. การเตรียมพื้นที่

การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวบนที่สูงจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะการปลูกข้าวไร่ จะเริ่มถางกำจัดวัชพืชนำออกไปไว้ข้างแปลงหรือวางเป็นแนวขวางทางลาดชันเพื่อดักตะกอนดิน ไม่แนะนำให้เผาเศษซากพืช ถ้าในพื้นที่ที่มีหินสามารถนำไปขวางลาดชันดักตะกอนดิน และทำให้เกิดลักษณะขั้นบันไดในระยะต่อไป พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงไม่ควรไถเพราะจะทำให้เร่งการชะล้างหน้าดินเมื่อฝนตก การเตรียมพื้นที่จะทำ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในเดือนมีนาคม ครั้งที่สองในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม การเตรียมพื้นที่ครั้งที่สองเป็นการเตรียมแบบประณีตเพื่อปลูกข้าว ส่วนข้าวนาที่สูงจะเริ่มเตรียมดินตกกล้าในเดือนพฤษภาคม มีการเตรียม 2 แบบ คือ เตรียมดินเพื่อตกกล้าสภาพไร่ โดยการถางวัชพืชออกแล้วสับดินให้ละเอียดก่อนหว่านเมล็ดข้าวลงไป และเตรียมดินเพื่อตกกล้าสภาพนาที่มีน้ำขัง เริ่มจากหลังที่ฝนตกมีน้ำขังในนาอยู่บ้าง มีการไถคราด ทำเทือก ยกร่องเป็นแปลงขนาดเล็กกว้าง 1-1.5 เมตรความยาวตามพื้นที่ มีร่องระบายน้ำ แล้วหว่านเมล็ดข้าวที่หุ้มให้งอกแล้วลงบนแปลงเพาะ ดังเช่นการตกกล้าสำหรับการทำนาบนพื้นราบทั่วไป


2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์

ข้าวที่สูงหรือข้าวดอยเป็นพันธุ์ข้าวที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีกว่าข้าวที่ปลูกในพื้นที่ราบทั่วไป เช่น ทนต่อสภาพอากาศเย็น แล้ง ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นต้น เมล็ดข้าวที่จะนำไปปลูกต้องมาจากแหล่งที่สามารถเชื่อถือได้ เช่น ไม่มีโรคแมลง สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน และควรมีความงอกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สำหรับความบริสุทธิ์ (purity) ของเมล็ดพันธุ์นั้น ในข้าวนา จะมีความบริสุทธิ์ของพันธุ์มากกว่าข้าวไร่ เนื่องจากข้าวไร่มีสภาพการปลูกบนดินที่ไม่มีน้ำขังในแปลงปลูก แปลงหนึ่ง ๆ อาจพบความหลากหลายทางพันธุกรรม (bio-diversity) ของข้าวที่ปลูกในแปลงนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้เนื่องจากการปลูกข้าวบนดินในสภาพไร่นั้นมักจะประสบปัญหามากกว่าข้าวนา เช่น ความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง อากาศหนาวเย็น โรคไหม้ แมลง และ วัชพืช เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วข้าวบนพื้นที่สูงมักมีอายุการออกดอก แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

        
2.1 ข้าวอายุเบา จะออกดอกประมาณต้นเดือนกันยายน ส่วนใหญ่จะพบในข้าวไร่มากกว่า ข้าวนา เช่น พันธุ์ อาร์ 258

2.2 ข้าวอายุกลาง ออกดอกประมาณกลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม จะพบมากที่สุดในข้าวบนที่สูงทั้งข้าวนา และข้าวไร่ ซึ่งจะอยู่ในพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ข้าวอายุปานกลางที่เป็นข้าวไร่ ได้แก่ เจ้าลีซอสันป่าตอง เจ้าขาวลาซอ เป็นต้น ส่วนข้าวนา ได้แก่ ข้าวหลวงสันป่าตอง บือพะทอ บือโปะโละ บือพะโด่ เป็นต้น


2.3 ข้าวอายุหนัก เป็นข้าวที่ออกดอกในช่วงปลายเดือน ตุลาคม พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นที่สูงกว่า 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่ยังมีความชื้นจากฝนและหมอกที่ตกในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในเขตที่ต่ำกว่าปริมาณฝนเริ่มลดลง ข้าวที่มีอายุหนักส่วนมากจะทนต่อความหนาวเย็นได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และเป็นข้าวไร่ เช่น พันธุ์น้ำรู ขี้ช้าง งาช้าง เวตาโม เบล้ไช่ ดรามูดะ เป็นต้น


        
อย่างไรก็ตาม ข้าวทุกพันธุ์สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ราบทั่วไป แต่จะมีอายุการออกดอกที่เร็วขึ้น ลำต้นสูงกว่าปลูกบนที่สูงและผลผลิตลดลง ในขณะเดียวกันหากนำข้าวที่ขึ้นได้ในระดับที่ต่ำกว่า ไปปลูกบนที่สูงจะมีผลกระทบต่อผลผลิต เช่น ไม่ออกรวง หรือออกรวงออกดอกแล้วผสมไม่ติด เมล็ดลีบ ดังนั้นการเตรียมเมล็ดข้าวที่จะปลูก ควรใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะปลูกด้วย



3. วิธีปลูก

เนื่องจากข้าวที่สูงมีสภาพนิเวศน์ทั้งข้าวไร่และข้าวนา ที่มีวิธีการปลูกแตกต่างกัน ดังนี้


3.1 ข้าวไร่
(upland rice) การปลูกข้าวไร่เป็นการปลูกเมล็ดข้าวแห้งลงบนดิน (direct seeding) ซึ่งแบ่งได้ 3 แบบ


3.1.1 การปลูกแบบหยอดเป็นหลุม (drilling) เป็นวิธีการปลูกโดยหลังจากเตรียมดินไว้แล้ว ใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร หรือใช้เสียมที่ต่อด้ามยาว ขุดดินให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร โดยให้ระยะห่างระหว่างต้นและแถวประมาณ 25-30 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดข้าวลงไปในหลุม ๆ ละ ประมาณ 5-8 เมล็ด หากพื้นที่ปลูกมีความลาดชันไม่ควรกลบหลุม เพราะจะทำให้มีดินกลบหลุมปลูกแน่นเกินไปเมื่อมีฝนตก แต่ในพื้นที่ปลูกที่มีความลาดชันน้อยกว่า 5 องศา ให้ใช้กิ่งไม้ลากผ่านหลุมที่หยอดเมล็ดแล้วเป็นการกลบหลุม การปลูกโดยวิธีหยอดเป็นหลุมเป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากง่ายต่อการกำจัดวัชพืชและดูแลรักษา เป็นวิธีการที่พบเห็นได้ทั่วไป การปลูกแบบนี้จะใช้เมล็ดพันธุ์ไร่ละ 6-8 กิโลกรัม

3.1.2 การปลูกแบบโรยเป็นแถว (row drilling) การปลูกวิธีนี้ต้องมีการเตรียมดินให้ประณีต โดยให้หน้าดินเรียบสม่ำเสมอกันดี แล้วใช้ไม้หรือคราดขีดเปิดดินให้เป็นร่อง โดยให้ระยะห่างของแต่ละร่องหรือแถวประมาณ 25-30 เซนติเมตร แล้วโรยเมล็ดข้าวทันที การโรยควรโรยให้เมล็ดข้าวสม่ำเสมอกัน เพื่อให้ต้นข้าวที่งอกไม่กระจุกแน่นที่ใดที่หนึ่ง หากพื้นที่มีความลาดชันการทำร่องควรให้ขวางความลาดชัน ซึ่งเชื่อว่าหากปลูกขวางความลาดชันจะช่วยให้ต้นข้าวดักตะกอนดินที่ไหลลงมาเมื่อฝนตก การปลูกวิธีนี้จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10-15 กิโลกรัม

3.1.3. การปลูกแบบหว่าน (broadcasting) การปลูกโดยวิธีนี้เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยหรือที่ราบ การเตรียมดินควรสับดินให้ละเอียดหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วปรับผิวหน้าดินให้สม่ำเสมอกัน แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงไปและควรคราดหรือกลบเมล็ดข้าวหลังหว่านเพื่อให้เมล็ดข้าวได้รับความชื้นจากดิน ป้องกันนกและแมลงศัตรูข้าว การปลูกวิธีนี้จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 15 กิโลกรัม

อย่างไรก็ตาม ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่น้ำ 12 ชั่วโมงผึ่งลมให้หมาดแล้วนำไปหยอด ทำให้ข้าวงอกเร็วออกดอกเร็วกว่าการหยอดเมล็ดข้าวแห้ง 2-3 วัน และให้ผลผลิตสูง

3.2. ข้าวนาที่สูง (highland rice) มีวิธีการปลูกได้ 2 แบบ เช่น การทำนาพื้นราบ คือ นาดำ (transplanting) และนาหว่าน (direct seeding)


3.2.1. นาดำ
(transplanting) มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับนาดำพื้นราบทั่วไป แต่จะเริ่มตกกล้าและปักดำเร็วกว่า เพื่อหลีกเลียงอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งจะเริ่มตกกล้าตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมถึงวันที่ 20 พฤษภาคม กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มจะยึดเอาวันพืชมงคลเป็นวันเริ่มต้นตกกล้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีฝนเริ่มตกหรือเข้าสู่ฤดูฝน อย่างไรก็ตามการตกกล้าสำหรับข้าวนาที่สูงจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ตกกล้าสภาพไร่และสภาพนา หลังจากนั้นก็จะเตรียมดินและปักดำในแปลงปลูกหรือปักดำ

3.2.1.1. การตกกล้าสภาพไร่ (upland seeding method) เริ่มจากการเตรียมดินตามที่ลาดเชิงเขา โดยการกำจัดวัชพืชออกแล้วย่อยดินให้ละเอียดแล้วหว่านเมล็ดข้าวหรือใช้ไม้ขีดเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตรแล้วโรยเมล็ดข้าวหรือใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งดินลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดข้าวกลบดินบางๆเพื่อป้องกันสัตว์ศัตรู เมื่อเมล็ดข้าวได้รับความชื้นจากดินก็จะงอกเป็นต้นกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ตารางเมตรละประมาณ 50-60 กรัม การตกกล้าโดยวิธีนี้เกษตรกรนิยมปฏิบัติ และเชื่อว่าสามารถยืดอายุกล้าเมื่อเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงก่อนปักดำ

3.3.1.2. การตกกล้าสภาพนาหรือในแปลงที่มีน้ำขัง (wetland seeding method) โดยการปฏิบัติเช่นเดียวกับการตกกล้าในการทำนาพื้นราบ กล่าวคือ มีการไถเมื่อในกระทงนามีน้ำขัง คราด ทำเทือก ยกร่องเป็นแปลงเพาะ กว้าง 1-1.5 เมตร ยาวตามความยาวกระทงนาแล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการแช่น้ำ 24-48 ชั่วโมง และบ่ม 24-48 ชั่วโมง หรือพอมีรากงอกประมาณ 1 เซนติเมตรลงบนแปลงเพาะ บริเวณรอบแปลงเพาะให้มีน้ำขังอยู่โดยไม่ให้ท่วมหลังแปลงเพาะจนกระทั่งกล้าครบอายุหรือถอนไปปักดำ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ตารางเมตรละประมาณ 50 กรัม การตกกล้าโดยวิธีนี้เกษตรกรไม่นิยม เพราะเชื่อว่าไม่สามารถยืดอายุกล้าได้ เมื่อเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงก่อนปักดำ และเป็นวิธีที่มีขั้นตอนในการทำยากกว่าการตกกกล้าสภาพไร่


3.2.1.3. การเตรียมดิน การปลูกข้าวนาที่สูงแบบปักดำนี้ก็จะมีการเตรียมดิน เมื่อในกระทงนามีน้ำขัง โดยไถ แล้วทิ้งไว้ 2-4 สัปดาห์ ในระยะ 2-4 สัปดาห์ เกษตรกรจะเตรียมซ่อมแซมคันนา กำจัดวัชพืชตามคันนาและรอบแปลงนา และดูแลแปลงกล้าควบคู่ไปด้วย หลังจากนั้นจะเริ่มคราดและทำเทือก แล้วปักดำทันทีที่ทำเทือกเสร็จ ทั้งนี้เพราะสภาพดินในนาบนที่สูงส่วนใหญ่จะเป็นดินร่วนปนทราย (sandy loam) หากทิ้งไว้นานจะแน่นทำให้ยากต่อการปักดำ ในช่วงก่อนการเตรียมดิน เกษตรกรสามารถใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เพื่อปรับปรุงดินนา แต่ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีเพราะนาบนที่สูงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เหมือนนาพื้นราบ โดยจะทำทางให้น้ำไหลผ่านแปลงนาตลอดฤดู หากกักขังน้ำไว้จะทำให้คันนาซึ่งเป็นดินร่วนปนทรายถูกน้ำพัดพาเอาธาตุอาหารไหลลงสู่พื้นราบ ไม่คุ้มกับการลงทุนและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยการพึ่งปัจจัยการผลิตภายนอกชุมชน ทำให้เป็นการทำนาแบบไม่ยั่งยืน


3.2.1.4. การปักดำ (transplanting) การปักดำเริ่มจากการถอนกล้าจากแปลงเพาะเมื่อกล้ามีอายุประมาณ 30-45 วัน ขึ้นกับสภาพของแปลงปลูก หากมีน้ำพอเพียงก็จะปักดำเมื่อกล้าอายุครบ 30 วันได้ เมื่อถอนกล้าแล้วจะมัดเป็นกำแล้วขนย้ายไปแปลงปลูก การปักดำข้าวนาที่สูงมักมีการลงแขกกัน ไม่มีการจ้างแรงงานปักดำ โดยปักดำจับละ 5-8 ต้น เพราะข้าวนาที่สูงเป็นพันธุ์พื้นเมืองไม่แตกกอมากและยังไม่มีพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีอื่น นอกจากการนำเอาพันธุ์พื้นเมืองมาคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ (pure line selection) เท่านั้น และยังไม่พบว่าพันธุ์อื่นสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ระยะระหว่างต้นและแถว ประมาณ25-30 เซนติเมตร โดยมีระดับน้ำในนา ลึก ประมาณ 5-7 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 1 ฝ่ามือ



3.2.2. นาหว่าน (direct seeding) การทำนาหว่านสามารถทำได้ 2 แบบ คือ หว่านข้าวแห้ง และหว่านข้าวงอกหรือนาหว่านน้ำตม

3.2.2.1. การปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง (direct dry seeding) การหว่านข้าวแห้ง เริ่มจากการเตรียมดินต้นเดือนพฤษภาคม โดยไถดินแห้งหรือดินหมาด 1 ครั้ง คราดเอาวัชพืชออก หว่านเมล็ดข้าวแล้วคราดกลบอีกที เมล็ดข้าวจะได้รับความชื้นจากดินงอกขึ้นมาจนกระทั่งฝนตกและมีน้ำขัง ข้าวจะยืดตัวสูงขึ้น การปลูกวิธีนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ไร่ละประมาณ 15 กิโลกรัม

3.2.2.2. การปลูกโดยวิธีหว่านข้าวงอกหรือหว่านน้ำตม (direct seedling) การทำนาหว่านน้ำตม ต้องมีการเตรียมดินให้ดี เมื่อมีน้ำขังในนาแล้ว ไถทิ้งไว้ 2-4 สัปดาห์ แล้วคราด ทำเทือกจนเป็นเลนนุ่ม และให้หน้าดินเรียบสม่ำเสมอกันให้มากที่สุด จึงลดน้ำลงให้เหลือเป็นลักษณะดินเลน หว่านเมล็ดข้าวที่แช่น้ำประมาณ 24-48 ชั่วโมง และหุ้ม 24-48 ชั่วโมง หรือพอเมล็ดข้าวงอกยาว 2-3 มิลลิเมตร หว่านในอัตราไร่ละ 8-12 กิโลกรัม เมื่อข้าวงอกยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ทดน้ำเข้าแปลง โดยให้ยอดโผล่พ้นน้ำ 3-4 เซนติเมตร เมื่อข้าวตั้งตัวได้ดีก็จะเพิ่มระดับน้ำให้ลึกประมาณ 5-7 เซนติเมตร


        
อย่างไรก็ตามเกษตรกรบนที่สูงไม่นิยมปลูกโดยวิธีหว่าน ทั้งนี้เพราะไม่มั่นใจปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ซึ่งอาจทิ้งช่วงจนเกิดสภาวะแล้ง และฝนที่ตกบนที่สูงอาจมีปริมาณมากจนไม่สามารถระบายน้ำได้ทันจนเกิดการท่วมและไหลบ่าพัดพาเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านไว้เสียหาย




www.brrd.in.th/rkb/.../rice_xx2-03_ricebreed_Hight03.html -






พันธุ์ข้าวที่สูง

ข้าวที่สูงมีทั้งข้าวที่ปลูกในสภาพนาและสภาพไร่ กล่าวคือ การปลูกในสภาพนาที่มีน้ำขัง จะมีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำคล้ายกับการทำนาในพื้นที่ราบทั่วไป ๆ เพียงแต่จะมีกระทงนาขนาดเล็กเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีเนื้อที่ไม่กว้างมากนัก และการข้าวปลูกในสภาพไร่ เป็นการปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขา ไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ พันธุ์ข้าวที่สูงที่เกษตรกรปลูกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว โดยทั่วไปชุมชนบนพื้นที่สูงมักจะปลูกข้าวเจ้าเพื่อบริโภคเป็นอาหารหลัก และปลูกข้าวเหนียวเพื่อทำพิธีกรรมและแปรรูป พันธุ์ข้าวปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะนาปี การออกดอกของข้าวไวต่อช่วงแสงจะออกดอกในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น โดยปกติถือว่าความยาวของกลางวันเท่ากับกลางคืน คือ 12 ชั่วโมง ฉะนั้น หากกลางวันมีความยาวน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ถือว่าเป็นวันสั้น กลางวันที่มีความยาวมากกว่า 12 ชั่วโมง ถือว่าเป็นวันยาว มีส่วนน้อยที่พันธุ์ข้าวที่สูงมีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง การออกดอกของข้าวไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน เมื่อต้นข้าวมีเวลาการเจริญเติบโตครบตามกำหนด ต้นข้าวจะออกดอก ไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกลางวันสั้นหรือยาว ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรัง

พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกโดยทั่วไป เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีหลายพันธุ์ พันธุ์ที่ปลูกในสภาพนาเช่น พันธุ์บือโปะโละ บือพะทอ บือม้ง บือกวา น้ำรู ขามเหนี่ย บือพะโด่ะ เป็นต้น ในสภาพไร่ เช่น พันธุ์เจ้าลีซอ เจ้าฮ่อ น้ำรู ขาวโป่งไคร้ เป็นต้น เกษตรกรมักปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียหายของผลผลิตจากศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น นก หนู โรค และแมลงศัตรูข้าว โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะแตกต่างจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกบริเวณพื้นราบทั่ว ๆ ไป เนื่องจากนิเวศน์ของพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ เนื่องมาจากระดับความสูงของพื้นที่ สภาพอากาศซึ่งแตกต่างกันออกไป

จากการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สูงในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้มีการแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวแนะนำ จำนวน 6 พันธุ์ แบ่งเป็นข้าวไร่ 5 พันธุ์ ได้แก่ เจ้าลีซอสันป่าตอง อาร์ 258 น้ำรู เจ้าฮ่อ ขาวโป่งไคร้ ข้าวนาที่สูง 1 พันธุ์ คือ ข้าวหลวงสันป่าตอง และอยู่ในระหว่างการดำเนินการคัดเลือกพันธุ์โดยมีสายพันธุ์ข้าวดีเด่น จำนวน 3 สายพันธุ์
ประวัติ

ข้าวไร่พันธุ์  "เจ้าลีซอสันป่าตอง"  เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง คัดได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์จากอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2522 โดยเจ้าหน้าที่การเกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปี พ.ศ.2523 นำมาปลูกคัดเลือกรวงต่อแถวที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปี พ.ศ.2524–2529 ปลูกรักษาพันธุ์ ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า ปี พ.ศ.2530–2533 ปลูกศึกษาพันธุ์และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ปี พ.ศ. 2533ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีในปี พ.ศ. 2535–2537 ที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวปางมะผ้า และวิเคราะห์คุณสมบัติของเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในแปลงเกษตรกรในปี พ.ศ.2537–2545 ที่จังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน ได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2547
ลักษณะเด่นของพันธุ์
ข้าวเจ้าลีซอสันป่าตองเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ในที่ราบและที่สูงระดับไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 391 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เจ้าฮ่อ ร้อยละ 13 ต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดดีกว่าข้าวไร่พันธุ์เจ้าฮ่อประมาณร้อยละ 6 แต่ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอ ตั้งตรง ปล้อง กาบใบ ใบ มีสีเขียว ใบมีขน ลักษณะใบธง ตั้งตรง ไม่ล้มง่าย ความสูงประมาณ 145 เซนติเมตร รวงยาวเฉลี่ยประมาณ 24 เซนติเมตร ระแง้ถี่ รวงแน่น การยืดของคอรวงสั้น สีของยอดเมล็ดและเปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนบนเปลือกเมล็ด กลีบรองดอกยาว สีของกลีบรองดอกสีฟาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.03 มิลลิเมตร กว้าง 3.12 มิลลิเมตร หนา 2.41 มิลลิเมตร รูปร่างของเมล็ดข้าวกล้องยาว 7.26 มิลลิเมตร กว้าง 2.87 มิลลิเมตร และหนา 1.94 มิลลิเมตร จำนวนรวงเฉลี่ย 135 รวงต่อตารางเมตร จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 151 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.5 กรัม เมล็ดมีระยะพักตัวประมาณ 4 สัปดาห์ ออกดอกประมาณวันที่ 16 กันยายน ปริมาณอมิโลส 16.07 % อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ




ประวัติ
"อาร์ 258" เป็นข้าวไร่ข้าวเหนียว ได้คัดเลือกจากพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมือง ชื่อ  "ดอสามเดือน"  และให้เลขประจำพันธุ์เป็น อาร์ 258 โดยศูนย์วิชาการ โครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรภาคเหนือ สถานีพัฒนาที่ดินห้างฉัตร จ.ลำปาง คณะทำงานโครงการข้าวไร่ที่สูงสถาบันวิจัยข้าวได้นำมาปลูกและศึกษาในการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ในปี พ.ศ. 2525-2529 และมีการทดสอบพันธุ์ข้าวไร่ท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร
ลักษณะเด่นของพันธุ์
 ข้าวไร่ อาร์ 258 เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุสั้น ทนแล้งดีกว่าพันธุ์ซิวแม่จัน ให้ผลผลิต 252 กิโกรัมต่อไร่ เป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกร ปลูกได้ในพื้นที่สูงไม่เกิน 700 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่มีข้อเสีย เมล็ดร่วงง่าย นกมักทำลายเพราะมีอายุสั้น ข้าวไร่ อาร์ 258 อายุประมาณ 106-134 วัน มีความต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ แต่ไม่มีความต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม โรคจู๋ โรคเขียวเตี้ย โรคหูด
และไม่ต้านทานต่อแมลงบั่วและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ลักษณะของพันธุ์
พันธุ์ อาร์ 258 มีทรงกอค่อนข้างแน่น มีการแตกกอปานกลาง ให้จำนวนรวง 125 รวงต่อตารางเมตร ความสูงของต้นประมาณ 130 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียวค่อนข้างแข็งไม่ล้มง่าย ข้อและกาบมีสีเขียว ใบและใบธงค่อนข้างกว้างและยาวปานกลาง ใบค่อนข้างตั้งตรง มีขนเล็กน้อย ใบธงตกเมื่อรวงแก่ เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝน สีฟาง รวงลักษณะยาวปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงสั้นโผล่พ้นใบธงพอดี เมล็ดร่วงง่าย เมล็ดมีสีฟาง ขนบนเปลือกเมล็ดมีมาก เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.67 มิลลิเมตร กว้าง 3.91 มิลลิเมตร หนา 2.35 มิลลิเมตร ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.14 มิลลิเมตร กว้าง 3.33 มิลลิเมตร หนา 2.15 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม มีสีขาว น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.2 กรัม แป้งสุกในอุณหภูมิต่ำ ข้าวสุกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย มีความนุ่มน้อยกว่าพันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตอง




ประวัติ
ข้าวไร่  "น้ำรู"   เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ได้มาจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2518 โดยนายวิฑูรย์ ขันติกุล สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง ได้ทำการปลูกศึกษาพันธุ์ มาจนถึงปี พ.ศ. 2524-2525 ได้นำมาทำการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตในแปลงทดลองของสถานีเกษตรที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ และนำเข้าทดลองเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ระหว่างสถานีในปี พ.ศ. 2526 และได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ในปี 2530

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ข้าวไร่น้ำรู เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน เมื่อปลูกกลางถึงปลาย พฤษภาคม ออกรวง 13-19 กันยายน ในระดับความสูง 1,100-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ให้ผลผลิตเฉลี่ย 247 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ ไม่ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคจู๋ โรคหูด ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เจริญเติบโตได้ดีที่มีอากาศหนาวและบนที่สูง การชูรวงดีและระแง้ถี่ ต้านทานโรคเมล็ดด่างดี ในสภาพธรรมชาติพันธุ์ข้าวนี้ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสูง

ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์น้ำรู มีทรงกอค่อนข้างแน่น แตกกอดี ให้จำนวนรวง 174 รวงต่อตารางเมตร มีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร ลำต้นตรงค่อนข้างแข็ง ไม่ล้มง่าย มีสีเขียว ข้อมีสีเขียว ใบยาว มีแผ่นกว้างปานกลางค่อนข้างตรง มีขนเล็กน้อย กาบใบสีเขียว ใบธงตั้งและตกเมื่อรวงแก่ เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง รวงและคอรวงยาว ระแง้ค่อนข้างถี่ การร่วงเมล็ดปานกลาง ยอดเมล็ดอ่อนสีฟาง เมื่อแก่ไม่มีหางแต่ปลายระแง้บางเมล็ดมีหางสั้น ไม่มีขน เมล็ดข้าวเปลือกยาว 8.95 มิลลิเมตร กว้าง 3.04 มิลลิเมตร หนา 2.08 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องสีขาว ยาว 7.08 มิลลิเมตร กว้าง 2.74 มิลลิเมตร หนา 1.91 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.0 กรัม การยืดตัวเมล็ดข้าวสุก 1.74 เท่า ปริมาณอมิโลส 23.4 % ข้าวสุกไม่หอม นุ่มปานกลาง





ประวัติ 
"เจ้าฮ่อ"  เป็นข้าวไร่พื้นเมืองที่ได้มาจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ จังหวัดเชียงราย รวบรวมโดยสถานีทดลองข้าวพาน ในปี พ.ศ. 2522 ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2525 ปลูกศึกษาพันธุ์ทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ระหว่างสถานีภาคเหนือ และในปี พ.ศ. 2526 ทำการทดสอบพันธุ์ข้าวไร่ท้องถิ่น และได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ.2530
ลักษณะเด่นของพันธุ์ 
ข้าวไร่เจ้าฮ่อ เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน ออกรวงระหว่าง 17-25 กันยายน เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ปลูกได้ในพื้นที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ให้ผลผลิตเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคหูดปานกลาง ไม่มีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคจู๋ โรคเขียวเตี้ย ไม่ต้านทานต่อแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอตั้งตรง ลำต้นใหญ่ มีขนาดกอปานกลาง ความสูงของต้น 135 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็งแรง ไม่ล้มง่าย ลำต้นและข้อมีสีเขียว ใบค่อนข้างยาวและกว้าง แผ่นใบมีขน ก้านใบสีเขียว ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบสีฟาง ใบธงกว้างและยาว จะตกเมื่อรวงแก่ เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงโผล่พ้นใบพอดี เมล็ดมีการร่วงปานกลาง สียอดเมล็ดขณะอ่อนมีสีฟาง แก่มีสีน้ำตาล เมล็ดอ่อนสีเขียวสีฟางเมื่อแก่ เมล็ดไม่มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.88 มิลลิเมตร กว้าง 3.84 มิลลิเมตร หนา 2.18 มิลลิเมตร ข้าวกล้องมีสีขาว ยาว 7.37 มิลลิเมตร กว้าง 2.83 มิลลิเมตร หนา 1.95 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 33.1 กรัมเปอร์เซ็นต์ท้องไข่ต่ำ การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก 1.64 เท่า ปริมาณอมิโลส 15.8 % ข้าวสุกไม่มีกลิ่นหอม มีความนุ่มน้อยกว่า กข 21





ประวัติ
ข้าวพันธุ์  "ขาวโป่งไคร้"  ได้รวบรวมมาจากบ้านโป่งไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยนายวิชัย คำชมภู สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี พ.ศ. 2523 ได้นำมาศึกษาที่โครงการไร่นาสาธิตแม่เหียะ ต่อมาได้ทำการทดสอบผลผลิตบนที่สูงระดับต่าง ๆ และนำมาทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ระหว่างสถานี ชุดข้าวเหนียวที่สูง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร

ลักษณะเด่นของพันธุ์
ขาวโป่งไคร้ เป็นข้าวไร่ที่สูง ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ออกรวง 17-22 กันยายน ในระดับความสูง 800-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ให้ผลผลิต 248 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคไหม้สูง มีความต้านทานปานกลางต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ต้านทานต่อโรคใบสีส้ม โรคจู๋ เขียวเตี้ย โรคหูด และไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวพันธุ์นี้ ทรงกอค่อนข้างแน่น แตกกอพอใช้ ให้จำนวนรวง 143 รวงต่อตารางเมตร ลำต้นตรง ค่อนข้างแข็ง ไม่ล้มง่าย ลำต้นและข้อมีสีเขียว ใบกาบใบสีเขียว ใบยาวเรียว มีขนเล็กน้อย ใบธงค่อนข้างกว้างจะตั้งในระยะแรกและตกในระยะหลัง เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง รวงยาว เมล็ดร่วงปานกลาง ยอดเมล็ดอ่อนสีฟาง เมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีเปลือกเขียวตองอ่อนแต่แก่มีสีฟาง ไม่มีหาง ไม่มีขน นวดง่ายเมล็ด ข้าวเปลือกยาว 11.07 มิลลิเมตร กว้าง 3.87 มิลลิเมตรหนา 2.49 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องสีขาว ยาว 8.34 มิลลิเมตร กว้าง 3.05 มิลลิเมตร หนา 2.11 มิลลิเมตร รูปร่างป้อมใหญ่ น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 46.2 กรัม ข้าวสุกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย นุ่มน้อยกว่าข้าวซิวแม่จัน





ประวัติ
ข้าว  "หลวงสันป่าตอง"  เป็นข้าวนาสวนที่สูงพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ได้มาจากการเก็บรวบรวมพันธุ์จากบ้านปางม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง 925 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยนายวิชัย คำชมภู เจ้าพนักงานการเกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้นำมาคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่ออำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปี 2541 และในปี 2547 ได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร
ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่สูง สามารถปลูกได้ดีในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตค่อนข้างสูงเฉลี่ย 582 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขามเหนี่ยประมาณร้อยละ 52 คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกเหนียวนุ่ม รสชาติดี ข้อควรระวังไม่ต้านทานต่อแมลงบั่ว

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง ค่อนข้างแข็ง ไม่ล้มง่าย สีของปล้อง ใบ และกาบใบสีเขียว ใบมีขน คอรวงยาว ลักษณะรวงยาว เมล็ดในรวงแน่น ระแง้ถี่ วันออกดอก 15-17 ตุลาคม กลีบรองดอกสั้น เปลือกเมล็ดมีสีฟางกระน้ำตาล มีขนบนเปลือกเมล็ด จำนวนรวงต่อตารางเมตรเฉลี่ย 190 รวงเมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.98 มิลลิเมตร กว้าง 3.30 มิลลิเมตร หนา 3.00 มิลลิเมตรเมล็ดข้าวกล้องสีน้ำตาลอ่อน ยาว 7.11 มิลลิเมตร กว้าง 2.93 มิลลิเมตร หนา 2.07 มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อมใหญ่น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.1 กรัม ข้าวสุกเหนียวนุ่ม ปริมาณอมิโลส 14.26 % อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ





ประวัติ
"บือโปะโละ 39" (SPTC 97003) เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมืองชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บรวบรวมพันธุ์มาจากบ้านขุนแตะ ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่ออำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ระหว่างปี 2540-2543 ทดสอบปฎิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของเมล็ดที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถานีทดลองข้าวพาน สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง เมื่อปี พ.ศ. 2542
ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 26-28 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 155-157 เซนติเมตร ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 400–495 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคไหม้และโรคเมล็ดด่าง แต่อ่อนแอต่อแมลงบั่ว ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้มและโรคใบสีแสด
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขนบนเมล็ด ความยาวของกลีบรองดอกสั้น เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.89 มิลลิเมตร กว้าง 2.92 มิลลิเมตรและหนา 2.98 มิลลิเมตร จำนวนรวงต่อตารางเมตรเฉลี่ย 164 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 135 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 20.59 กรัม เมล็ดข้าวกล้องมีรูปร่างค่อนข้างป้อม สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ เมล็ดข้าวกล้อง เฉลี่ยยาว 6.55 มิลลิเมตร กว้าง 2.55 มิลลิเมตร หนา 1.94 มิลลิเมตร ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส 10.80 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ




ประวัติ
ข้าว  "บือพะทอ 12" (SPTC97002) เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บรวบรวมพันธุ์จากบ้านขุนแตะ ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่ออำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ระหว่างปี 2540-2543 ทดสอบปฎิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของเมล็ดที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถานีทดลองข้าวพาน สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกเป็นพันธุ์ดักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 24-27 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 154-156 เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคเมล็ดด่าง ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 440-500 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวสุกอ่อนนุ่ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้มและโรคใบสีแสด
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งปานกลางทำมุม 45? คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความยาวของกลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตร 208 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 143 เมล็ด เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1000 เมล็ด 20.91 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร หนา 2.86 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.25 มิลลิเมตร กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 1.83 มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ปริมาณอมิโลส 10.20 เปอร์เซ็นต์




ประวัติ
"ขามเหนี่ย 26" (SPTC97001) เป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้า ประเภทไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน เก็บรวบรวมพันธุ์จากบ้านป่าคาสันติสุข หมู่ที่ 1 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นนำมาปลูกคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตองและโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2543 ทดสอบปฏิกริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของเมล็ดที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ สถานีทดลองข้าวพาน สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และสถานีทดลองข้าวและธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกเป็นพันธุ์ดักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน สามารถปลูกฤดูนาปรังได้ อายุเบา เก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 18-22 ตุลาคม ต้นสูงประมาณ 130-150 เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ โรคเมล็ดด่าง ต้านทานต่อแมลงบั่ว แต่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีขาวและโรคใบสีส้ม ทนต่อสภาพอากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 400-600 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอแบะ ปล้อง กาบใบและใบมีสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งตรง รวงสั้น คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง กลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตรเฉลี่ย 118 รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 151 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1000 เมล็ด 20.73 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีขนบนเปลือกเมล็ด เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.20 มิลลิเมตร กว้าง 2.98 มิลลิเมตร หนา 2.33 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างค่อนข้างป้อม มีสีขาวขุ่น เมล็ดข้าวกล้องยาว 6.18 มิลลิเมตร กว้าง 2.66 มิลลิเมตร หนา 1.96 มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส 10.50 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม





ประวัติ
"ยากู่" (SPTLR82078-PTG-B3-24-1-1) เป็นข้าวนาที่สูง ชนิดข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ที่ได้จากการผสมพันธุ์ข้าวระหว่าง ข้าว กข 25 กับ B2983B-SR-77-1-3-1 (ข้าวอินโดนีเซีย) ในปี พ.ศ. 2525 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง แล้วส่งเมล็ดข้าวลูกผสมชั่วที่สองขึ้นไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์พัฒนาที่สูงปางตอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนำมาปลูกศึกษาและทดลองในแปลงทดสอบพันธุ์ข้าวนาสวนในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529

ลักษณะเด่นของพันธุ์
เป็นข้าวนาที่สูงประเภทข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกฤดูนาปรังได้ ในฤดูนาปีอายุ 125 วัน ส่วนในฤดูนาปรังอายุประมาณ 160 วัน ต้นสูงประมาณ 115 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ทนสภาพอากาศเย็น ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและโรคเมล็ดด่าง

ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอค่อนข้างแน่น ลำต้นตรง แข็งปานกลาง ปล้อง ข้อ กาบใบและใบมีสีเขียว ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบมีสีเขียวอ่อน ใบค่อนข้างเรียวยาวตั้งตรงมีขน เขี้ยวกันแมลงและเยื่อกันน้ำฝนสีฟาง เกสรตัวเมียสีขาว ใบธงตั้งตรง คอรวงโผล่พ้นใบธงปานกลาง รวงยาวปานกลาง ระแง้ถี่ สีของเมล็ดอ่อนสีเขียวแต่แก่มีสีฟาง สีของยอดเมล็ดสีฟาง เมล็ดส่วนมากไม่มีหาง บางส่วนมีหางสั้น เมล็ดมีขนน้อยและสั้น น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1000 เมล็ด 20.65 กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว 9.70 มิลลิเมตร กว้าง 2.63 มิลลิเมตร หนา 2.00 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.06 มิลลิเมตร กว้าง 2.28 มิลลิเมตร หนา 1.84 มิลลิเมตร ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่มและเลื่อมมัน เมื่อเย็นตัวค่อนข้างร่วน





รายชื่อพันธุ์ข้าวบางพันธุ์ที่ปลูกในความสูงระดับต่างๆในภาคเหนือตอนบน

1. ระดับความสูงไม่เกิน 700 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง
1.1 ข้าวเจ้า : หอมไร่-5, มะแป๋, นิกอ
1.2 ข้าวเหนียว : อาร์258, ซิวแม่จัน, ซิวแดง, ข้าวลืมหมา(SPTC80135), ข้าวห้าว(SPTC80042),
มะกอกปี, ดอทัย-3, SMGC89001-6 ,สันป่าตอง1,เหมยนอง62 เอ็ม

2. ระดับความสูง 700-1,000 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง 
2.1 ข้าวเจ้า : ข้าวหลวงสันป่าตอง, ขามเหนี่ย,เจ้าฮ่อ, เจ้าลีซอสันป่าตอง ,บือโปะโละ, บือพะโด่, บือม้ง, บือทอแม
2.2 ข้าวเหนียว : ขาวโป่งไคร้ ,เหนียวแพร่1

3. ระดับความสูง 1,000-1,250 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง
3.1 ข้าวเจ้า : เจ้าขาวสันป่าตอง(SPTC80187-126), ข้าวเขียว(SPTC80102), เบล้ไช่, โมโตซ่า,
จะพูม่า,บือพะทอ,บือโปะโละขุนแตะ, 
3.2 ข้าวเหนียว : ขาวโป่งไคร้

4. ระดับความสูง 1,250-1,400 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง
4.1 ข้าวเจ้า : น้ำรู, ลาซอ(SPTC80203), เวตาโม, ขี้ช้าง, ขะสอ
4.2 ข้าวเหนียว :

5. ระดับความสูง 1,400-1,600 เมตรจากน้ำทะเลปานกลาง
5.1 ข้าวเจ้า : ดามูดะ
5.2 ข้าวเหนียว :


kkn-rsc.ricethailand.go.th/rice/pedigree/hight02.html -







หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©