-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 414 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





การปลูกข้าวสาลี


ข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องนำเข้าปีละเป็นจำนวนมาก เช่น ในปี พ.ศ.2532 ไทยได้นำเข้าแป้งข้าวสาลีทั้งสิ้น 334,621 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 1,748 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ

การส่งเสริมเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี โดยกรมส่งเสริมการเกษตรกับบริษัทเอกชนผู้ค้าแป้งข้าวสาลีภายในประเทศ 4 บริษัท ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวสาลีให้มากยิ่งขึ้น โดยให้การสนับสนุนด้านการซื้อผลผลิตในราคาประกัน เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจและหันมาปลูกข้าวสาลีให้มากเพื่อลดการนำเข้าได้ทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง

ข้าวสาลีเป็นพืชที่ต้องการอากาศหนาวเย็น ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ปลูกได้ในสภาพไร่ที่อาศัยน้ำฝน หรือปลูกในเขตชลประทานที่ดินมีการระบายน้ำได้ดี

ปัจจุบันพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกมี 3 พันธุ์ คือ
สะเมิง 1 เหมาะสำหรับปลูกในที่ดอนของภาคเหนือที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น มีอายุ 100 วัน
สะเมิง 2 สามารถปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพอากาศที่แปรปรวน จึงเหมาะที่จะใช้ปลูกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝนและในสภาพนาที่ค่อนค้างมีน้ำจำกัด มีอายุ 90 วัน
อินทรีย์ 1 สามารถปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพอากาศแปรปรวน ทนแล้ง ทนต่อการทำลายของหนอนกอ เหมาะสมที่จะใช้ปลูกทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน ช่วงที่เหมาะสมที่สุดอยู่ระหว่างวันที่ 10-20 ตุลาคม ไม่ควรปลูกเร็วเกินไปเพราะอากาศร้อน จะทำให้เกิดโรคง่าย และหากปลูกช้าเกินไปข้าวสาลีจะกระทบแล้ง
ในสภาพนา ช่วงที่เหมาะสมที่สุดประมาณ 15 พฤศจิกายน แต่ไม่ควรปลูกล่าเกิน 15 ธันวาคม

 
ดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวสาลี
ต้องมีการระบายน้ำดี ดินเหนียวจัด หรือมีชั้นดินดานที่มีการระบายน้ำเลว รวมทั้งดินที่เป็นกรดจัดและเค็มจัด ไม่เหมาะสมจะใช้ปลูกข้าวสาลี ดังนั้นพื้นที่ซึ่งจะใช้ปลูกข้าวสาลีควรมีลักษณะดังนี้
3.1 ดินมีการระบายน้ำได้ดี ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งได้แก่ ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
3.2 มีความชื้นในดิน หรือมีแหล่งน้ำที่แน่นอนอย่างน้อย 30 วัน หลังปลูกข้าวสาลี
3.3 แปลงปลูกข้าวสาลีไม่ควรขัดแย้งกับแปลงปลูกพืชอื่นข้างเคียงเกี่ยวกับ ระบบการให้น้ำ การให้น้ำควรปล่อยตามร่องและระบายออกได้สะดวกและรวดเร็ว


การเตรียมแปลงปลูกข้าวสาลี
ควรเริ่มทันทีหลังเก็บเกี่ยวพืชแรกออกจากแปลง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืชและเป็นช่วงที่ดินยังมีความชื้นอย่างพอเพียง การเตรียมดินโดยทั่ว ๆ ไปมี 2 ลักษณะ คือ
4.1 มีการพลิกดิน ขุดดินด้วยจอบแล้วย่อยดินโดยใช้จอบสับ ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะ และไถแปร เพื่อให้ดินแตกย่อย ปรับที่ให้เรียบ 4.2 ไม่มีการพลิกดิน ได้แก่ การปลูกโดยหยอดเมล็ดเป็นหลุมในตอซังข้าว หรือตัดตอซัง ยกแปลงปลูกแบบกระเทียม ขุดดินจากร่องเกลี่ยบนแปลง เปิดร่องโรยเมล็ดเป็นแถว


ปลูกได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่
โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 20 กิโลกรัม

1. การปลูกในสภาพที่สูงลาดชัน จะใช้วิธีกระทุ้ง หยอดแบบข้าวไร่ หยอดหลุมละ 5-6 เมล็ด ระยะห่างระหว่างแถว 20 ซม. (2 ฝ่ามือ)
2. การปลูกในสภาพที่ดอน ไถพลิกดิน 1 ครั้ง ย่อยดินด้วยจานพรวน แล้วปลูกได้ 2 วิธี คือ
- โรยเป็นแถว เปิดร่องโดยใช้จอบสับดิน หรือใช้คราดซี่ไม้หรือคราดซี่เหล็ก ให้มีความลึก 3-5 ซม. ระยะระหว่างร่อง 20-25 ซม. โรยเมล็ดพร้อมปุ๋ยตามความยาวของแปลง จากนั้นกลบด้วยเท้าหรือจอบ
- หว่านพรวนกลบ ควรปลูกในช่วงที่ผิวดินมีความชื้นเพียงพอต่อการงอกของต้นกล้า หว่านเมล็ดให้สม่ำเสมอทั่วแปลง แล้วพรวนกลบ


1. ปลูกแบบโรยเป็นแถวบนแปลง หลังจากไถและคราดดินแล้วเปิดร่องลึกประมาณ 5 ซม. โรยเมล็ดพร้อมปุ๋ยตามความยาวของแปลง ระยะห่างระหว่างร่องหรือแถวประมาณ 20 ซม. กลบเมล็ดให้ฝังในดินลึก 3-5 ซม.

2. ปลูกแบบหว่านแล้วยกร่องกลบ หลังจากไถดะและคราดดินแล้ว หว่านเมล็ดข้าวสาลีพร้อมปุ๋ยรองพื้นให้ทั่วแปลง แล้วยกแปลงและทำร่องน้ำ ดินที่ถูกยกขึ้นมาทำแปลงจะกลบเมล็ดข้าวสาลีและปุ๋ยได้พอดี

3. ปลูกแบบหว่านแล้วคราดกลบ วิธีนี้เหมาะกับพื้นที่เป็นกระทงนาขนาดเล็ก ดินต้องร่วนระบายน้ำได้สะดวก ทำการไถขณะดินมีความชื้นพอที่เมล็ดจะงอกได้ ทำการหว่านแล้วคราดกลบ
4. ปลูกแบบไม่ไถ ตัดตอซัง ยกแปลง หว่านเมล็ดพร้อมปุ๋ยทั่วแปลง ถากหญ้ากำจัดวัชพืชกลบทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้ฟางกลบ (สำหรับวิธีนี้ทางหวัดน่านได้ทำการทดสอบ ปรากฏว่าให้ผลดี) เป็นการประหยัดเวลา แรงงานและลดต้นทุนการเตรียมดิน



การปลูกข้าวสาลีให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี
เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง คือ
ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 คลุกเมล็ดพร้อมปลูก อัตราไร่ละ 30 กิโลกรัม
ปุ๋ยแต่งหน้า ใช้สูตร 21-0-0 อัตราไร่ละ 20 กิโลกรัม ใส่หลังข้าวสาลีงอกแล้ว ประมาณ 15-20 วัน

ข้าวสาลีไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง หรือดินเปียกชื้นได้ยาวนาน การให้น้ำหลังหยอดเมล็ดจึงค่อนข้างอันตราย ถ้าปลูกในสภาพดินมีความชื้นเหมาะสม การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวสาลีงอกได้ประมาณ 10 วัน ระยะวิกฤตที่ต้นข้าวสาลีไม่ควรขาดน้ำ ได้แก่
1. ระยะที่ต้นข้าวสาลีกำลังแตกรากจากข้อใต้ดิน (10 วัน หลังเมล็ดงอก)
2. ระยะเริ่มสร้างรวงอ่อน (25-30 วัน หลังเมล็ดงอก)
3. ระยะผสมเกสร
4. ระยะสร้างเมล็ด (15 วัน หลังผสมเกสร) ในสภาพน้ำจำกัด การให้น้ำ 2 ครั้ง ในช่วง 30 วันแรก ข้าวสาลีจะให้ผลผลิตในระดับที่น่าใจ


สามารถตรวจสอบได้โดยขุดดินลึกประมาณ 10 ซม. หรือบริเวณใต้ผิวดินใกล้บริเวณราก กำมือปั้นดิน หากเมล็ดดินจับตัวกันได้ไม่แตกออกจากกัน แสดงว่ามีความชื้นเพียงพอไม่ต้องให้น้ำ ถ้าหากดินที่บีบไม่จับตัวต้องให้น้ำทันที

1. เตรียมดินโดยไถพรวนและคราดหลายครั้ง
2. หากปลูกเป็นแถวใช้จอบถากระหว่างแถว
3. ใช้สารบิวตาคลอร์ หรืออลาคลอร์ในอัตราตามคำแนะนำ 


 
โรคใบจุดสีน้ำตาล
ต้นกล้าจะมีแผลสีน้ำตาลเข้มที่ราก ที่ต้นใบด้านล่าง ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลุกเมล็ด เช่น ไวตาแวก 0.3% หรือ ไดเทนเอ็ม 45 อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ
โรคกล้าแห้งและโคนเน่า
ต้นข้าวสาลีเหี่ยวและมีสีเหลือง บริเวณโคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว และเมล็ดกลมสีขาวน้ำตาล หากพบขุดต้นและดินบริเวณรอบต้นออก แล้วโรยปูนขาวบริเวณที่พบ

- ใช้เหยื่อพิษออกฤทธิ์เร็ว เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ ผสมข้าวสารอัตรา 1:99 วางรอบแปลงหรือช่องทางเดินห่างกันจุดละ 15 ตัว
- หลังจากนั้นวางเหยื่อพิษออกฤทธิ์ช้า เช่น ราคูมินผสมเหยื่อ อัตรา 1:99 โดยน้ำหนัก ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้ววางห่างกันจุดละ 20 ตัว ตามช่องทางเดิน แล้วเติมเหยื่อทุก 15 วัน

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่อต้นข้าวสาลีแห้งเป็นสีฟาง เมล็ดแข็ง เนื้อขนจะเปราะ เกี่ยวด้วยเคียว วางรายบนตอซัง ตากให้แห้ง 2-3 แดด มัดฟ่อนด้วยตอก แล้วเอามานวดด้วยเครื่องนวดข้าวธรรมดา โดยปรับความเร็วให้สูงขึ้นเล็กน้อย หรือนวดด้วยแรงคนโดยฟาดกับแครไม้หรือกระบุงใหญ่ (ครุ) หรือใช้ไม้ทุบรวงให้เมล็ดร่วงออกมา แล้วฝัดด้วยกระด้งหรือเครื่องสีฝัด บรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก 
ต้องตากเมล็ดพันธุ์ให้แห้งสนิทมากที่สุด แต่อย่าให้โดนแสงแดดที่จัดจ้าโดยตรง แล้วเก็บในภาชนะปิด หรือเก็บในกระสอบ แล้วนำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางที่อากาศถ่ายเทได้ง่ายและกันฝน นก และหนูได้ด้วย เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ของข้าวสาลีจะเป็นเมล็ดที่ไม่มีเปลือกหุ้มทำให้มีโอกาสถูกทำลายจากแมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น ด้วงงวงข้าว ดังนั้นการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์บ่อย ๆ ทุก ๆ เดือน ถ้าพบการทำลายของแมลงศัตรู ควรรีบเอาออกมาทำความสะอาดและผึ่งแดดอีกครั้ง



www.doae.go.th/library/html/detail/rice/rice.htm -





การเจริญเติบโตของข้าวสาลี


[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

โดยทั่วไปแล้ว มีการปลูกข้าวสาลีมากในประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว ฤดูกาลในเขตภูมิศาสตร์ดังกล่าว มี ๔ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม่ผลิ หากเราแบ่งข้าวสาลีออกเป็นชนิดตามฤดูกาลที่ปลูกแล้วจะได้ ๓ ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดปลูกข้ามฤดูหนาว (winter wheat) ชนิดปลูกต้นฤดูใบไม้ผลิ (spring wheat) และชนิดปลูกได้ทั้งสองประเภท (facultative wheat) ข้าวสาลีที่มีปลูกในบ้านเราเป็นข้าวสาลีชนิดปลูกต้นฤดูใบไม้ผลิที่นำมาจากต่างประเทศ ธรรมชาติของข้าวสาลีเป็นพืชฤดูหนาว จึงต้องปลูกปลายฤดูฝน หรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวสาลีในภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่เส้นรุ้ง ๑๘('องศา) ๐๐('ลิปดา)เหนือ ขึ้นไปจนสุดชายแดนประเทศ ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ควรปลูกในจังหวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขง

การปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย


[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

มี ๒ สภาพตามลักษณะภูมิประเทศ คือ

ก) ปลูกในสภาพไร่
ไม่มีการให้น้ำเป็นการปลูกปลายฤดูฝนในช่วงกลางเดือนตุลาคม อาศัยความชื้นในดินช่วยให้เมล็ดงอกแล้วมีการให้น้ำตลอกฤดูปลูก ข้าวสาลีจะออกรวงในช่วงต้นเดือนธันวาคม เก็บเกี่ยวได้ในต้นเดือนมกราคม

ข) ปลูกในสภาพนา
มีการให้น้ำ เป็นการปลูกในนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวมาปีแล้ว อยู่ในเขตที่มีการชลประทาน ปลูกในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ข้าวสาลีจะออกรวงในช่วงกลางเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์
เราแบ่งการเจริญเติบโตของธัญพืชออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ๆ คือ
๑. ระยะสร้างส่วนของลำต้น (vegetative phase) นับจากตั้งแต่เมล็ดงอกจนถึงยอกเจริญ (growing point) เริ่มสร้างปฐมรูป (primordium) ของข้อคอรวง
๒. ระยะที่มีการพัฒนาเป็นรวง (reproductive phase) เริ่มตั้งแต่ยอดเจริญเปลี่ยนไปสร้างรวง เกิดการยืดของลำต้น รวงโผล่ แล้วเกิดการผสมเกสร

การเลือกพื้นที่
สภาพดิน
ข้าวสาลีขึ้นได้ในดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ตั้งแต่ ๕.๕-๘.๕ เราอาจแบ่งระดับความเหมาะสมของดินที่ใช้ปลูกข้าวสาลีได้ดังนี้ ดินที่จัดการได้ง่าย เนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว มีอินทรียวัตถุปานกลางถึงค่อนข้างสูงประมาณ ๑.๕-๒% การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง ๖.๕-๗.๐ ส่วนมากจะเป็นดินที่อยู่ใกล้น้ำ ความชื้นค่อนข้างดี ดินมีการระบายน้ำดี ความลาดเทของพื้นที่ไม่มากนัก (๒-๓%) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินไร่ที่ใช้สำหรับปลูกพืชไร่ทั่วไป มีความสามารถในการอุ้มความชื้นได้ปานกลาง พื้นที่นี้มักพบปัญหาการขาดน้ำในช่วงปลายฤดูปลูก ดินที่ต้องการจัดการมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้งจนถึงดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีการระบายน้ำเลว หากจะนำมาใช้เพาะปลูกข้าวสาลี จะต้องยกแปลงทำร่องระบายน้ำ และใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตด้วย การลงทุนในพื้นที่นี้จะสูง

การเลือกพันธุ์

จะต้องเลือกพันธุ์ข้าวสาลีให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ พันธุ์ข้าวสาลีที่เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย มีดังนี้ สะเมิง ๑ (INIA ๖๖) เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนบน ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูง (๑๒-๑๕%) เหมาะสำหรับทำขนมปัง สะเมิง ๒ (Sonora ๖๔) เป็นข้าวสาลีพันธุ์เบา ทนร้อน เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และปลูกหลังนาปี ไม่ต้านทานโรคราสนิมใบ แป้งมีความยืดหยุ่นปานกลาง แป้งมีสีคล้ำ มีโปรตีนสูง (๑๒-๑๔%) แป้งใช้ทำขนมปังได้ ฝาง ๖๐ (# ๑๐๑๕) เหมาะสำหรับปลูกในที่ร้อนและแห้งแล้ง ทั้งในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และสภาพนาชลประทานในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีช่วงฤดูหนาวสั้น ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ โปรตีนปานกลาง (๑๐-๑๑%) เหมาะสำหรับทำคุกกี้ บิสกิต และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ต้องการแป้งที่เหนียวมาก แพร่ ๖๐ (UP ๒๖๒) เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทานที่เป็นสภาพนาดินเหนียวปนทราย ภูมิอากาศค่อนข้างหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ มีโปรตีนปานกลาง (๑๐-๑๑%) เหมาะสำหรับทำคุกกี้ ปาท่องโก๋ โรตี อินทรี ๑ (KU HR # ๑๒) เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ใช้ทำแป้งอเนกประสงค์ได้ อินทรี ๒ (KU HR # ๖) ทนอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี ใช้ทำแป้งอเนกประสงค์ได้

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า ๘๐% นำเมล็ดพันธุ์ใส่อ่างแช่ในน้ำสะอาด ตากแดดนาน ๑๕ นาที เอาเมล็ดขึ้นเกลี่ยบนผ้าใบหรือผ้าพลาสติก ตากแดดจนแห้งสนิท แล้ว เอาไปปลูกทันที ห้ามเก็บเมล็ดข้ามวัน ถ้าไม่ทำดังกล่าว จะใช้เมล็ดแห้งปลูกก็ได้ ใช้สารเคมีจำนวน ๒ ชนิด คลุกเมล็ดก่อนปลูก โดยผสมเข้าด้วยกัน ได้แก่
๑. คาร์โบซัลฟาน (carbosulfan) เป็นสารเคมีป้องกันแมลงที่อยู่ในดิน ใช้ในอัตรา ๕ กรัมต่อน้ำหนักเมล็ดข้างสาลี ๑ กิโลกรัม
๒. คาร์บ็อกซิน (carboxin) เป็นสารเคมีป้องกันโรคต้นแห้งอันเกิดจากเชื้อรา ใช้ในอัตรา ๐.๕-๒.๕ กรัมต่อเมล็ดหนัก ๑ กิโลกรัม



การเตรียมพื้นที่ปลูกและการปลูก

แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ปลูกในสภาพไร่และปลูกในสภาพนา

๑. ปลูกในสภาพไร่

แรงงานที่ต้องการสำหรับการเตรียมแปลงปลูกข้าวสาลี ขึ้นกับปริมาณวัชพืชที่อยู่ในแปลงขณะนั้น ซึ่งโดยทั่วไปคือ ปริมาณวัชพืชหลังจากเก็บเกี่ยวพืชฤดูฝน ในกรณีที่มีวัชพืชค่อนข้างหนาแน่น แรงงานที่ต้องใช้เตรียมแปลงจะค่อนข้างมาก การเตรียมแปลงสำหรับข้าวสาลี ควรเริ่มทันทีที่ทำได้ หลังจากเก็บเกี่ยวพืชฤดูฝนออกจากแปลง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ
๑) ป้องกันหรือระงับการเจริญเติบโตของวัชพืช
๒) ปล่อยให้ดินมีโอกาสดูดซับน้ำฝนเก็บไว้ได้ในอัตราสูงสุด
๓) ให้เวลาในการเน่าเปื่อยของอินทรียวัตถุที่เหลือค้างในดิน ถ้าพื้นที่มีขนาดเล็ก ไถด้วยแรงสัตว์หรือรถไถเดินตาม ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ ก็ใช้แทรกเตอร์ใหญ่ไถเมื่อดินยังหมาดอยู่ ไถดะ ๑ ครั้ง หลังจากนั้น ๑-๒ สัปดาห์ ก็ไถแปรหรือไถพรวน เพื่อให้ดินแตกย่อย แล้วปรับพื้นที่ให้เรียบ

๒. ปลูกในสภาพนา

๑) ไม่มีการเตรียมดิน
ก) ตัดตอซังข้าวให้ชิดดิน ปลูกโดยหยอดเมล็ดลงในตอซังข้าว หรือใช้เครื่องหยอดเมล็ดเป็นแถว ระยะระหว่างแถว ๒๐ ซม. อัตราเมล็ด ๒๐ กก./ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นแปลง ๆ โดยการขุดร่องน้ำภายในกระทงนา กว้าง ๐.๕ เมตร ความกว้างของแปลงประมาณ ๒.๕-๕ เมตร ความยาวของแปลงตามขนาดของกระทงนา แต่ไม่ควรยาวกว่า ๓๐ เมตร เมื่อหยอดเมล็ดแล้วให้เกลี่ยฟางคลุมดิน
ข) เผาตอซังข้าว แล้วจึงหว่านเมล็ดในกระทงนา แล้วเกลี่ยขี้เถ้ากลบ

๒) พลิกดินน้อยครั้ง
ในสภาพบางพื้นที่ การพลิกดินโดยการไถพรวนมากครั้งเกินไป อาจไม่เหมาะสม จึงอาจไถครั้งเดียว ไม่ยกแปลง หว่านเมล็ดแล้วพรวนดินกลบ หรือ เอาฟางข้าวเกลี่ยกลบ

๓)มีการพลิกดิน การกำจัดวัชพืช
การปลูกข้าวสาลีโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เกษตรกรจะพึ่งพาได้แต่เพียงเฉพาะน้ำในดินที่จะเหือดแห้งไปเรื่อย ๆ วัชพืชเป็นตัวสำคัญที่จะแก่งแย่งน้ำในดินและปุ๋ยจากข้าวสาลี วัชพืชยังเป็นตัวที่ทำให้การเก็บเกี่ยวมีความยากลำบากขึ้น ต้องพยายามรักษาแปลงให้ปราศจากวัชพืชในช่วง ๔ สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ข้าวสาลีจะตั้งตัวแล้ว สามารถปกคลุมวัชพืชไม่ให้แย่งน้ำและปุ๋ยได้ โดยปรกติ การกำจัดวัชพืชโดยแรงคนเพียงครั้งเดียว ในช่วง ๒ สัปดาห์แรกหลังปลูกจะพอเพียงในการป้องกันและกำจัดวัชพืชในข้าวสาลี ในสภาพที่มีการชลประทาน เมื่อทำการหยอดเมล็ด ทดน้ำเข้าแปลงแล้ว ต้องป้องกันมิให้วัชพืชงอก โดยพ่นสารเคมีให้ทั่วผิวหน้าดินภายในเวลา ๓ วันหลังปลูก เพื่อทำลายเมล็ดวัชพืชที่อยู่บนผิวดิน สารเคมีที่ใช้พ่นมีดังนี้ ตำรับที่ ๑ ใช้บิวตาคลอร์ (Butachlor) จำนวน ๐.๔ ลิตร ผสมน้ำ ๕๐ ลิตร พ่นได้ ๑ ไร่ ตำรับที่ ๒ ใช้รอนสตาร์ (Ronstar) จำนวน ๐.๕ ลิตร ผสมน้ำ ๕๐ ลิตร พ่นได้ ๑ ไร่

การให้น้ำ

ข้าวสาลีเป็นพืชที่ไม่สามารถทนต่อสภาพน้ำขัง หรือดินเปียกชื้นได้ยาวนาน การให้น้ำข้าวสาลีทันทีหลังจากหยอดเมล็ดจึงค่อนข้างอันตราย ถ้าปลูกในสภาพความชื้นเหมาะสม การให้น้ำครั้งแรกกระทำเมื่อข้าวสาลีงอกได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ ซึ่งในเวลานั้นข้าวสาลีตั้งตัวได้เป็นอย่างดีแล้ว การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ทั่วสม่ำเสมอทั้งแปลง และปล่อยน้ำไว้ในร้องน้ำมานานจนมั่นในว่าน้ำซีมเข้าสู่ดินเป็นอย่างดีผลตามมาคือ การเจริญเติบโตของระบบรากที่ดี ไม่ควรปล่อยน้ำขังนานเกินไปจนทำให้ดินแฉะหรืออิ่มตัว ข้อสังเกต หลังจากการให้น้ำแต่ละครั้ง ถ้ามีการปฏิบัติดี ดินจะดูดซับน้ำหมดทำให้ไม่มีน้ำเหลืออยู่ในแปลงหลังจากให้น้ำ ๒๔ ชั่วโมง

ธาตุอาหารที่พืชต้องการ

ไนโตรเจน... มีหน้าที่หลักในการสร้างสีเขียวของพืช คือ คลอโรฟีลล์ ซึ่งเป็นตัวปรุงอาหาร ไนโตรเจนยังสร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นและเมล็ด ทำให้พืชแตกกอดี มีเมล็ดมากและสมบูรณ์ หากพืชขาดไนโตรเจน ใบจะมีสีเหลือง และซีดจากปลายใบเข้ามา ต้นจะแคระแกร็น ผลิตผลต่ำ ข้าวสาลี เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนมาก การตอบสนองนี้จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนแม้มีการให้ปุ๋ยในอัตราต่ำ

ฟอสฟอรัส ...เป็นธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยให้รากและลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย ผลิตผลมีคุณภาพดี ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคบางชนิดให้กับพืชอีกด้วย หากขาดฟอสฟอรัสรากจะไม่เจริญเท่าที่ควร ลำต้นแคระแกร็น รวงเล็ก ไม่สมบูรณ์
ในสภาพการปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว การเจริญเติบโตของระบบรากมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ข้าวสาลีมีความสามารถในการใช้ความชื้นและธาตุอาหารต่าง ๆ จากดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดินที่ออกสีแดงในที่สูงส่วนมากพบว่าขาดฟอสฟอรัส

โพแทสเซียม ...มีหน้าที่หลักในการช่วยสร้างน้ำตาล แป้ง และเซลลูโลส ช่วยให้รากของพืชดูดน้ำได้ดียิ่งขึ้น พืชที่ขาดโพแทสเซียมจะเจริญเติบโตช้าให้ผลิตผลต่ำ คุณภาพผลิตผลก็ด้อย
กำมะถัน เป็นธาตุที่ช่วยสร้างโปรตีน ทำให้แป้งมีคุณภาพดี หากขาดธาตุนี้ จะทำให้การยืดลำต้นไม่ดี แตกกอน้อย ใบเหลืองซีด แป้งมีคุณภาพไม่ดี โบรอน เป็นธาตุที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสง และมีหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของออกซิเจนและแคลเซียมและการใช้ฟอสเฟตในพืช

โรคของข้าวสาลี


[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

โรคต้นแห้ง (seedling blight)
เกิดจากเชื้อราชื่อ Sclerotium rolfsii โรคนี้จะมีอาการให้เห็นโดยเชื้อราสร้างเม็ดขยายพันธุ์บนส่วนของรากพืช ทำให้ต้นกล้าข้าวสาลีตาย เป็นมากในสภาพน้ำขังป้องกันได้โดยใช้สารเคมีคาร์บ็อกซินคลุกเมล็ดก่อนปลูก หรือปรับดินไม่ให้เป็น กรดโดยใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล ในอัตรา ๓๐๐-๕๐๐ กิโลกรัม/ไร่

โรคใบจุดสีน้ำตาล (spot blotch)
เกิดจากเชื้อราชื่อ Helminthosporium sativum ทำให้เกิดอาการโคนเน่าและรากเน่า ถ้าต้นไม่ตาย ใบจะมีแผลเป็นจุดสีน้ำตาล ข้าวสาลีที่เป็นโรคนี้อาจออกรวงโดยไม่ติดเมล็ดเลย หรือติดเมล็ดบ้างแต่เมล็ดลีบ ป้องกันโรคนี้ได้โดยปลูกพันธุ์ต้านทาน ปลูกพืชหมุนเวียน และใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก

โรคราสนิมใบ (leaf rust)
เกิดจากเชื้อราชื่อ Puccinia recondita มักพบในฤดูปลูกข้าวสาลีที่มีอากาศร้อนชื้น มีแผลเกิดขึ้นบนใบและกาบใบ แผลมีสีส้มเข้ม ซึ่งเป็นสีสปอร์ที่เชื้อราสร้างขึ้นมา อาการของโรคจะเริ่มปรากฏจากใบล่าง ๆ แล้วลามขึ้นไปทางยอด ใบที่เป็นโรคจะตายไป

โรคราเขม่า (loose smut)
เกิดจากเชื้อราชื่อ Ustilage tritici รวงข้าวสาลีที่เป็นโรคนี้จะมีสปอร์สีดำขึ้นเต็มรวง เมื่อเป็นมากส่วนต่าง ๆ ของเมล็ดและดอกข้าวสาลีจะกลายเป็นฝุ่นลอยไปในอากาศ เหลือไว้ แต่แกนรวงเปล่า ๆ

โรคราแป้ง (Powerdery wildew)
เกิดจากเชื้อราชื่อ Erysiphe graminis f. sp. trilici อาการของโรคเกิดที่ใบและกาบใบ ที่แผลใบจะมีลักษณะเป็นสีขาวหรือเทา ซึ่งเป็นเส้นใยและเมล็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา ใบและกาบใบจะมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ต้นจะแกร็นและอาจไม่ออกรวง ถ้าออกรวงเมล็ดที่ได้จะลีบกว่าปกติ ป้องกันโรคนี้ได้โดยปลูกพันธุ์ต้านทาน


โรครวงแห้ง (scab)
เกิดจากเชื้อราชื่อ Fusarium sp. โรคนี้สามารถเข้าทำลายต้นข้าวสาลีได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ทำให้ต้นเน่าหรือแห้งตายไป ถ้าอยู่รอดถึงออกรวง จะทำให้รวงแห้ง อาจได้เมล็ดบ้าง แต่เมล็ดที่ได้จะลีบสีเมล็ดซีด ป้องกันได้โดยปลูกพืชหมุนเวียน ใช้สารเคมีคลุกเมล็ด หรือใช้พันธุ์ต้านทานโรค

โรครากปม (root knot)
เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปมชื่อ Meloidogyne graminicola เข้าทำลายรากข้าวสาลี ทำให้ต้นข้าวสาลีเกิดอาการแคระแกร็นและเมล็ดลีบ ป้องกันได้โดยปลูกพันธุ์ต้านทานโรค ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกดาวเรืองป่าแซมในแปลงข้าวสาลี ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาด และเพิ่มการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก


kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter10/t17-10-l2.htm


http://www.doae.go.th/library/html/detail/rice/rice.htm









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (2065 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©