-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 301 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว







11 คำถาม/ตอบเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว

1.พันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ

2.พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่สูญหายแล้ว จะหามาปลูกได้ที่ไหน

3.พันธุ์ข้าวทนหนาว

4.พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่มีหรือยัง

5.พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่หาซื้อได้ที่ไหน

6.พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงสุด

7.พันธุ์ข้าวที่มีอายุเบา

8.ปัญหาความสับสนของชื่อพันธุ์ข้าว

9.ทรัพยากรพันธุกรรมข้าวไทย สูญหายจริงหรือ

10.การแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ข้าวกับต่างประเทศ ใครได้ ใครเสีย

11.การจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวมีความจำเป็นหรือไม่




1.พันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ


คำตอบ
สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

1.1
ข้าวเจ้า  
ปทุมธานี 1 ต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว
โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
พิษณุโลก 2 ต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว และเพลี้ยจักจั่น
สุพรรณบุรี 1 ต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคไหม้
โรคใบหงิกและโรคใบสีส้ม
สุพรรณบุรี 2 ต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคใบหงิก โรคใบสีส้ม
โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
พัทลุง ต้านทาน โรคขอบใบแห้ง
ชัยนาท 2 ต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


1.2


ข้าวเหนียว
 
  สันป่าตอง 1 ต้านทาน โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
กข10 ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้
กข6 ต้านทาน โรคไหม้ ค่อนข้างต้านทานโรคใบจุด



2.พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่สูญหายแล้ว จะหามาปลูกได้ที่ไหน


คำตอบ
ติดต่อที่ธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ฯ สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร
โทร 02-9046885-90 โทรสาร 02-9046885 ต่อ 555



3.พันธุ์ข้าวทนหนาว


คำตอบ
ปัจจุบันมีพันธุ์ข้าวที่ทนทานสภาพอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่สูงได้ดีคือ พันธุ์ข้าวหลวงสันป่าตอง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง



4.พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่มีหรือยัง


คำตอบ
พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมี 4 พันธุ์ ที่เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกได้ทั้งปี คือ พันธุ์ชัยนาท 2 พัทลุง บางแตน สุพรรณบุรี 3 พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง 1 พันธุ์ เป็นข้าวน้ำลึกปลูกได้เฉพาะนาปี คือ อยุธยา 1 และจะออกพันธุ์ใหม่มาอีก โปรดคอยติดตามการประกาศพันธุ์ข้าวใหม่



5.พันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่หาซื้อได้ที่ไหน


คำตอบ
หาซื้อพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ได้ตามรายชื่อซึ่งดูข้อมูลสถานที่จำหน่ายเมล็ดในองค์ความรู้เรื่องข้าว หรือที่ศูนย์วิจัยข้าว/ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว




6.พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงสุด


คำตอบ

     6.1 ข้าวเจ้า
            6.1.1 ข้าวอมิโลสต่ำ (ข้าวนุ่มเหนียว) คือ ปทุมธานี 1
            6.1.2 ข้าวอมิโลสปานกลาง (ข้าวร่วน นุ่ม ) คือ สุพรรณบุรี 2
            6.1.3 ข้าวอมิโลสสูง (ข้าวร่วน แข็ง ) คือ สุพรรณบุรี 1 พิษณุโลก 2
     6.2 ข้าวเหนียว คือ สันป่าตอง 1



7.พันธุ์ข้าวที่มีอายุเบา


คำตอบ
พันธุ์ข้าวที่อายุเบา
     7.1 ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ได้แก่ กข15 ขาวดอกมะลิ 105
     7.2 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ สุพรรณบุรี 2 ชัยนาท 2 พัทลุง บางแตน
     7.3 ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ได้แก่ น้ำสะกุย 19 หางยี 71 กข6 เหนียวอุบล 2
     7.4 ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ไม่มีพันธุ์ใดที่อายุเบา



8.ปัญหาความสับสนของชื่อพันธุ์ข้าว


คำตอบ
ปัจจุบันเกษตรกรได้นำพันธุ์ข้าวจากแปลงทดสอบผลผลิตนาราษฎร์ไปปลูกอย่างแพร่หลายโดยใช้ชื่อตามป้าย ซึ่งอาจเป็นหมายเลขของสายพันธุ์ เช่น สุพรรณ 33 (รับรองพันธุ์ชื่อ สุพรรณบุรี 1) สุพรรณ 35 (รับรองพันธุ์ชื่อ สุพรรณบุรี 2) เบอร์ 17 (ยังไม่ออกเป็นพันธุ์รับรอง) หรือใช้ชื่ออื่น ๆ เช่น ราชินี (คือ สุพรรณบุรี 2) เป็นต้น




9. ทรัพยากรพันธุกรรมข้าวไทย สูญหายจริงหรือ?


คำตอบ
การสูญหายทางพันธุกรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ภัยธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์ ในอดีตเราเคยมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอยู่มากมายในทุกภาคของประเทศ ปัจจุบัน พันธุ์ข้าวพื้นเมืองส่วนหนึ่งสูญหายไปเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แล้ง ฯลฯ แต่ที่สำคัญคือความนิยมของเกษตรกรในการเลือกปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง ทำให้ความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองลดลงอย่างรวดเร็ว พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรเลิกปลูกแล้วนั้นอาจมีลักษณะทางพันธุกรรมหรือคุณสมบัติที่ดีบางประการ เช่น ความต้านทานโรค ต้านทานแมลง คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางเภสัชกรรม เป็นต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยกันรักษาพันธุกรรมข้าวไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามยังมีพันธุ์ข้าวจำนวนมากถูกเก็บอนุรักษ์ไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและยังมีการอนุรักษ์ไว้ในแหล่งต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวในสมัยก่อนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเชื้อพันธุ์ข้าว จึงมีการดำเนินงานสำรวจ รวบรวม และอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีตัวอย่างกรณีของข้าวพื้นเมืองบางพันธุ์ที่คนทั่วไปเข้าใจว่าสูญหายไปแล้ว เช่น พันธุ์เฟืองคำ พวงนาค หอมนายพล ข้าวเหนียวเขี้ยวงูฯลฯ แต่พันธุ์เหล่านี้ยังคงมีการดูแลรักษาและอนุรักษ์ไว้อย่างดีในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ซึ่งสถาบันการศึกษา นักวิจัย ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอเมล็ดเชื้อพันธุ์ไปใช้เพื่อการศึกษา วิจัย หรือนำกลับไปปลูกฟื้นฟูในท้องถิ่นเดิมได้




10. ถาม การแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ข้าวกับต่างประเทศ ใครได้ ใครเสีย?


คำตอบ
เชื้อพันธุ์พืชมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ แต่การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยเชื้อพันธุ์ภายในประเทศเพียงอย่างเดียวมักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีฐานทางพันธุกรรมแคบหรือขาดพันธุกรรมของลักษณะที่ต้องการ เช่น ลักษณะผลผลิตสูง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้านทานโรคแมลง ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ จากการดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวในประเทศไทย ปรากฏว่า ข้าวพันธุ์รับรองและพันธุ์แนะนำของทางราชการหลายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงหรือมีลักษณะดีเด่นอื่นๆ ซึ่งเกษตรกรยอมรับและใช้ปลูกอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีที่มาจากการนำเชื้อพันธุ์ต่างประเทศมาใช้เป็นพ่อแม่ในการผสมพันธุ์กับข้าวพันธุ์พื้นเมือง ดังนั้น การนำเข้าเชื้อพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศจึงทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ แต่เราคงไม่สามารถนำเข้าเชื้อพันธุ์ฝ่ายเดียวโดยไม่ยอมแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่นบ้าง เพราะการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ข้าวเป็นความร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์ต่องานวิจัยและผลผลิตข้าวของเกษตรกรโดยส่วนรวม อนึ่ง จำนวนเชื้อพันธุ์ข้าวในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 24,000 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ ในจำนวนนี้เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 20,000 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ ในขณะที่เชื้อพันธุ์ข้าวซึ่งอนุรักษ์ไว้ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ IRRI มีอยู่มากกว่า 100,000 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ และจำนวนเชื้อพันธุ์ข้าวในโลกนี้ทั้งหมดคาดว่ามีอยู่ประมาณ 420,000 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ โดยปริมาณและสัดส่วนของเชื้อพันธุ์ข้าวดังกล่าวจะเห็นว่าประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ข้าวกับประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เราอาจเสียเปรียบประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถวิเคราะห์คุณค่าและความเป็นประโยชน์ของเชื้อพันธุ์ รวมทั้งสามารถสกัดเอายีนหรือสารพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ในการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์จึงต้องทำข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์หรือ MTA ที่จำกัดการนำเชื้อพันธุ์ไปใช้ประโยชน์เฉพาะในการศึกษา วิจัย และปรับปรุงพันธุ์ โดยมิใช่เพื่อการค้า รวมทั้งระบุสิทธิของประเทศซึ่งเป็นเจ้าของพันธุกรรมและกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้า




11. การจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวมีความจำเป็นหรือไม่?


คำตอบ
การจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าว ที่ถูกต้องน่าจะใช้คำว่า “การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ข้าว” เพราะคำว่าสิทธิบัตรใช้กับสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งการประดิษฐ์เกี่ยวกับจุลชีพ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช จะไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 และกฎหมายของต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่รับรองการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชหรือสัตว์ แต่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา

ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก พันธุ์ข้าวของไทยมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของประเทศอื่นๆ ที่มีการปลูกข้าว ทั้งในการนำไปปลูกเพื่อการผลิตโดยตรงหรือนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวใหม่ๆ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการคุ้มครองพันธุ์ข้าวไทย ทั้งมาตรการคุ้มครองพันธุ์ข้าวภายในประเทศและมาตรการที่ใช้คุ้มครองพันธุ์ข้าวในต่างประเทศ มาตรการที่ใช้คุ้มครองพันธุ์ข้าวภายในประเทศ ได้แก่ การประกาศให้ข้าวเปลือกเป็นสินค้าห้ามส่งออก ตาม พ.ร.บ.นำเข้า ส่งออก ซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 การออกหนังสือรับรองพันธุ์ข้าวขึ้นทะเบียน ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และการคุ้มครองสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์หรือการคุ้มครองทรัพยากรของชุมชน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ส่วนมาตรการที่ใช้คุ้มครองพันธุ์ข้าวในต่างประเทศ ได้แก่ การโต้แย้งสิทธิในกรณีของการละเมิด (เช่น การจดทะเบียนชื่อเครื่องหมายการค้า  “ข้าวจัสมาติ”  ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าข้าวไทย) และการขอรับความคุ้มครองในลักษณะทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น การจดทะเบียนคุ้มครองข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา) การได้รับความคุ้มครองพันธุ์ข้าวในต่างประเทศจะช่วยป้องกันการละเมิดโดยประเทศคู่แข่งทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากไม่มีการคุ้มครองสิทธิแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากแก่การผลิตและการค้าข้าวของประเทศไทย



www.brrd.in.th/.../rice_xx2-03_ricebreed_FAQ_pan_rice.htm -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1885 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©