-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 464 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








ไทยส่งออกข้าวมากที่สุดแต่งบวิจัยข้าวไม่กระเตื้อง ระวังจะเสียแชมป์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มีนาคม 2553 12:30 น.

รศ.สมพร อิศวิลานนท์ (ซ้ายสุด), นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ (กลาง) และ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร (ขวาสุด) ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาพิเศษเรื่องข้าว : โอกาสและวิกฤต เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2553 ณ อาคารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน




นักวิชาการชี้ไทยส่งออกข้าวมากที่สุด แต่งบลงทุนวิจัยข้าวของไทยต่ำกว่าประเทศอื่น และหดลงจากหลายปีก่อน อาจทำให้ผลผลิตข้าวลดลงจนเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้ประเทศคู่แข่ง ด้านรองอธิบดีกรมการข้าวเสนอดันงานวิจัยข้าวให้เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ พร้อมตั้งกรรมการกลางบริหารจัดการ ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวแบบบูรณาการ
       
       ในระหว่างการสัมมนาพิเศษเรื่องข้าว "งานวิจัยข้าวไทย : วิกฤตและโอกาส" เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 53 ที่จัดโดย
มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโสสถาบันคลังสมองของชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยส่งออกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก และราคาข้าวในอนาคตจะยิ่งมีราคาแพงขึ้น เพราะความต้องการบริโภคข้าวเพิ่มมากยิ่งขึ้นในแต่ละปี แต่กำลังการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นไม่เพียงพอ ฉะนั้นประเทศไทยจึงควรมีการเตรียมการรับมือ เพราะข้าวเป็นทั้งพืชเศรษฐกิจ เป็นพืชอาหาร และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน
       
       "เวียดนามคือคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกข้าว ซึ่งขณะนี้เวียดนามสามารถผลิตข้าวเพื่อการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตข้าวส่งออกของไทยมีแนวโน้มลดลง อาจทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะการลงทุนวิจัยข้าวของไทยไม่ดีพอเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกข้าวของเรา และงบวิจัยข้าวของไทยยังลดลงมากจากช่วงปี 2530-2545" รศ.สมพร เผย
       
       ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการลงทุนวิจัยด้านข้าวเพียง 0.25% ของจีดีพี (ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ: GDP) หรือ 2 บาทต่อไร่ หรือประมาณ 0.88% ของมูลค่าการส่งออกข้าว เทียบกับเกาหลีใต้ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนนี้ไม่ต่างจากไทยมาก แต่ปัจจุบันให้ความสำคัญแก่การวิจัยข้าวสูงมาก โดยลงทุนวิจัยมากถึง 2.64% จีดีพี
       
       ด้านนายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดี
กรมการข้าว กล่าวว่า ข้าวมีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยอย่างยิ่ง เพราะหมายถึง ความมั่นคงทางอาหารทั้งของไทยและของโลก มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศ อีกทั้งยังเป็นอาชีพหลักของคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนประกอบอาชีพทำนากว่า 17 ล้านคน หรือ 3.7 ล้านครัวเรือน
       
       "ประเทศไทยผลิตข้าวได้เฉลี่ย 453 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าในหลายๆ ประเทศ โดยเราใช้บริโภคภายในประเทศเพียง 1 ใน 3 ที่เหลือส่งออก แต่ปัญหาของโลกในปัจจุบันคือผลผลิตข้าวลดลง และน้อยกว่าความต้องการของประชากรทั่วโลก และเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคต กรมการข้าวได้กำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาข้าว ปี พ.ศ.2552-2554 โดยมุ่งสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อพัฒนาผลผลิตข้าว ลดการสูญเสียและรักษาเสถียรภาพผลผลิต การเพิ่มมูลค่าข้าว สร้างความสามารถในการผลิตข้าวเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนพัฒนาความสามารถของชาวนาและสถาบันชาวนา" นายชัยฤทธิ์ กล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมการข้าวเผยว่า แม้จะมียุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาข้าวที่ดี แต่ในทางปฏิบัติยังมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ไม่สามารถทำให้บรรลุผลตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ได้ ทั้งความขาดแคลนด้านงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมทั้งสภาพปัญหาในปัจจุบัน ทั้งราคาข้าวผันผวน การเปิดเสรีทางการค้า การจัดสรรน้ำ ปัญหาโรคและแมลงระบาด และปัญหาความยากจนของชาวนา
       
       รองอธิบดีกรมการข้าวเสนอว่า การวิจัยและพัฒนาข้าวควรกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ และควรมีคณะกรรมการกลางที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีการจัดทำแผนการวิจัยในระยะยาว และเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และลดช่องว่างระหว่างการวิจัยข้าวและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
       
       ส่วนมุมมองของนักวิจัยข้าวอย่าง รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีความเห็นว่า ปัจจุบันโอกาสในการวิจัยข้าวของไทยมีมากขึ้น เพราะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี มีการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ แต่อาจยังไม่เพียงพอหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และเมื่อสหรัฐฯ พัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความหอมใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิของไทย ก็สร้างความสั่นสะเทือนต่อวงการข้าวไทย ทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนเรื่องนี้กันอีกครั้ง
       
       รศ.ดร.อภิชาติ บอกว่า ปัญหาของการวิจัยข้าวในประเทศไทยมีอยู่ในแทบทุกปัจจัยของการทำวิจัย ตั้งแต่โจทย์วิจัยที่มีมากมาย ทำให้เกิดความสับสน ขาดการจัดลำดับความสำคัญ และขาดการเชื่องโยง ทำให้เกิดปัญหาการวิจัยซ้ำซ้อน และการที่มีโจทย์วิจัยมากเกินไป ยังส่งผลต่องบประมาณและจำนวนนักวิจัยที่มีอย่างจำกัด
       
       "ปริมาณทุนวิจัยข้าวรวมทั้งประเทศยังถือว่าน้อย คาดว่าไม่น่าเกิน 300 ล้านบาท ระยะเวลาการให้ทุนส่วนใหญ่สั้น แต่ความคาดหวังสูง และปัญหาการให้ทุนวิจัยกระจัดกระจาย ทำให้สุดท้ายแล้วไม่ได้งานวิจัยที่มีผลกระทบสูง อีกทั้งยังขาดความร่วมมือกับต่างประเทศ ทำให้การวิจัยแก้ปัญหาข้าวบางกรณีเป็นไปได้ช้า เช่น ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถือเป็นวิกฤตอย่างหนึ่งของชาวนาไทย หรือปัญหาข้าวไม่ทนน้ำท่วม ซึ่งในข้าวพื้นเมืองของไทยไม่มีพันธุกรรมต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือว่ายีนทนน้ำท่วมเลย" รศ.ดร.อภิชาติ เผยถึงปัญหาการวิจัยข้าวในไทยในระหว่างการสัมมนา ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ เข้าร่วมฟังด้วย
       
       นอกจากนั้นยังมีปัญหาขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะนักวิจัยต้นน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวฯ มองว่าที่จริงในแต่ละปีก็มีบัณฑิตที่จบการศึกษาในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวอยู่พอสมควร แต่หน่วยงานภาครัฐขาดการจัดสรรตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้บัณฑิตเหล่านั้นไม่มีโอกาสเข้าทำงานวิจัยด้านข้าว ขณะที่นักวิจัยที่มีอยู่เดิมก็เริ่มลดน้อยลงไป เป็นผลให้ขาดแคลนนักวิจัยในที่สุด
       
       "ถ้าจะขับเคลื่อนงานวิจัยให้สำเร็จ ต้องไม่มีข้อจำกัดของปัจจัยในการทำวิจัย และมีการบริหารจัดการกำกับที่ดี ทั้งในด้านการบริหารบุคลากร การเงิน เวลา การประเมินผลงานวิจัย การให้รางวัลเพื่อเป็นการจูงใจ และบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดในการวิจัย" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าวในที่สุด









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1328 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©