-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 342 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 1/2








วัชพืชในนาข้าว โดย นายประพาส วีระแพทย์

         
หมายถึง   พืชอื่นทุกชนิดที่เกิดขึ้นในนาที่ได้ปลูกข้าวไว้   มีวัชพืชหลายชนิดในนาที่ปลูกข้าวในประเทศไทย   นาบางแห่งมีวัชพืชมาก  นาบางแห่งมีวัชพืชน้อย  และนาแต่ละแห่งก็มีวัชพืชชนิดต่างกันด้วย  เพราะการเกิดของวัชพืชในนาข้าวนั้นแตกต่างกันไปตามท้องที่และวิธีการทำนาปลูกข้าว ปกตินาหว่านมีวัชพืชมากว่านาดำ เพราะนาดำมีการเตรียมดินดีกว่า และมีการเก็บวัชพืชออกไปจากแปลงนาก่อนการปักดำด้วย
         
วัชพืชที่เกิดมีขึ้นในนาข้าวในบ้านเราแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. วัชพืชในนาที่เป็นที่ดอน  วัชพืชที่พบมาก  ได้แก่ หญ้าแดง หญ้านกสีชมพู หญ้าชันอากาศ

๒. วัชพืชในนาที่เป็นที่ลุ่มปานกลาง วัชพืชที่พบมาก  ได้แก่ ขาเขียด แห้วทรงกระเทียม หญ้าหนวด  ปลาดุก แห้วทรงกระเทียมโป่ง กกสามเหลี่ยม แพงพวย  เทียนนา

๓. วัชพืชในนาที่เป็นที่ลุ่มมาก
  วัชพืชที่พบมาก ได้แก่ สาหร่ายพุงชะโด  สันตะวาใบข้าว  สาหร่ายหาง  กระรอก  สันตะวาใบพาย ผักตบชวา สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายไฟ  กกขนาก หญ้าตะกรับ แหนแดง


 

หัวข้อ

การป้องกันและกำจัดพืช
          เนื่องจากวัชพืชในนาข้าวอาจเกิดมีขึ้นในระยะเวลาต่าง ๆ กัน เช่น ก่อนที่เมล็ดข้าวจะงอกโผล่มาจากพื้นดินนาหว่าน หลังปักดำก่อนที่ระดับน้ำในนาเมืองจะสูงขึ้น  ฉะนั้น การป้องกันและกำจัดอาจทำได้ดังนี้
         
๑) ก่อนที่เมล็ดข้าวจะงอกโผล่เหนือพื้นดินในนาหว่าน
  ในระยะนี้อาจป้องกันและกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่นลงไปในดิน ก่อนที่เมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมา
         
๒) หลังจากเมล็ดข้าวได้งอกโผล่จากพื้นดินในนาหว่าน
  ในระยะนี้ทำการป้องกันกำจัดวัชพืชได้หลายวิธีด้วยกัน   ซึ่งจะใช้สารเคมีพ่นทำลายวัชพืช หรือการใช้แรงคนถอนวัชพืชขึ้นมาแล้วทำลายเสียก็ได้  สำหรับการใช้สารเคมีนั้น จะต้องเป็นสารเคมีชนิดที่ไม่เป็นอันตรายแก่ต้นข้าว
         
๓) หลังจากปักดำ
ในเวลาหลังจากการปักดำและก่อนที่ข้าวจะออกรวงนั้น เป็นเวลายาวนานพอสมควร เพราะฉะนั้น การป้องกันกำจัดวัชพืชอาจจะต้องทำมากกว่าหนึ่งครั้ง  ซึ่งอาจทำได้โดยพ่นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายแก่ต้นข้าว หรือจะใช้แรงคนถอนขึ้นมาทำลาย  ในระยะนี้จะต้องกำจัดวัชพืชก่อนที่มันจะสร้างดอกและเมล็ดอีกด้วย  เพราะถ้าปล่อยให้วัชพืชมีเมล็ด เมล็ดจะเป็นสิ่งแพร่กระจายในฤดูต่อไปอีก
         
อย่างไรก็ตาม  การเตรียมดินดี โดยการเก็บวัชพืช  ออกไปจากแปลงนา  ก่อนที่จะทำการปลูก เป็นวิธีหนึ่ง ที่สามารถลดจำนวนวัชพืช ที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้มาก


บรรณานุกรม
นายประพาส วีระแพทย์

http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/

guru.sanook.com/encyclopedia/วัชพืชในนาข้าว/ -





การควบคุมวัชพืชในนาข้าวโดยวิธผสมผสาน

วัชพืชถือได้ว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวโดยวิธีใด ทั้งนี้ เนื่องจากความชื้นในดินทำให้เกิดมีวัชพืชขึ้นมากชนิดกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งวัชพืชใบแคบสกุบหญ้าต่าง ๆ จะสร้างปัญหาให้มากที่สุด ส่วนวัชพืชใบกว้างและวัชพืชน้ำนั้นจะทำความเสียหายให้น้อยกว่า การควบคุมวัชพืชควรจะเริ่มตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว

ส่วนวิธีการควบคุมนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวิธีการเหล่านั้นและความพร้อมของเกษตรกรเอง ดังนั้น ในการจะเลือกใช้วิธีใด เกษตรกรควรต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น สภาพพื้นที่ที่ปลูกข้าง ชนิดของวัชพืช ผลดี-ผลเสียของแต่ละวิธี วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้ รวมทั้งความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วย

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากการเจือปนของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1.1 การฝัดหรือโบก เพื่อให้สิ่งเจือปนที่เบากว่าเมล็ดข้าวแยกตัวออก

1.2 การคัดแยกสิ่งเจือปนด้วยมือ
1.3 การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนนำไปปลูก
1.4 การแยกเมล็ดโดยการลอยตัวโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาแช่น้ำ คนให้ทั่วแล้วทิ้งไว้สักพัก เมล็ดที่เสียจะลอยอยู่ข้างบนให้ตักออกแล้วนำเมล็ดที่จมน้ำมาตากให้แห้งก่อนนำไปปลูกหรือเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อไป

2. การเตรียมดิน
2.1 การไถ เป็นการพลิกหน้าดินส่วนล่างขึ้นมาอยู่ข้างบน การไถครั้งแรกจึงเป็นการกลบทำลายวัชพืชที่อยู่ด้านบน ส่วนวัชพืชที่อยู่ด้านล่างก็จะถูกพลิกขึ้นมาข้างบน ดังนี้นจึงควรไถประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการไถแต่ละครั้งประมาณ 7-10 วัน เพื่อจะได้ทำลายวัชพืชทั้งที่อยู่บนดินและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน

2.2 การคราด เป็นวิธีการกำจัดวัชพืชที่ใช้ลำต้นหรือเหง้าในการขยายพันธุ์ และยังสามารถกำจัดต้นอ่อนของวัชพืชหลังจากการไถได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การชอนไชของรากข้าวนาหว่าน ทำให้ต้นข้าวงอกงามแข็งแรง

2.3 การทำเทือก เป็นวิธีการทำให้ดินที่ผ่านการไถดะหรือไถพรวนแล้วให้อยู่ในสภาพที่เละง่ายต่อการปักดำ หรือการทำนาหว่ายน้ำตม ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น


3. เลือกวิธีการปลูกและอัตราการปลูก

3.1 วิธีการปลูก การปลูกข้าวแบบนาดำจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้มากกว่าวิธีอื่น เพราะในการปักดำข้าวจะใช้กล้าต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตแล้ว ในขณะที่วัชพืชกำลังจะเริ่มเจริญเติบโตดังนั้น จึงเป็นการลดการระบาดของวัชพืชลงได้
3.2 อัตราการปลูก ความหนาแน่นของต้นข้าวก็มี ส่วนช่วยในการควบคุมวัชพืชได้เหมือนกัน ถ้าต้นข้าวมีความหนาแน่นน้อย ช่องว่างระหว่างต้นข้าวก็จะมีมาก ทำให้เกิดวัชพืชได้มาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าความหนาแน่นของต้นข้าวมาก ช่องว่างระหว่างต้นมีน้อย วัชพืชก็เกิดขึ้นได้น้อย


4. การควบคุมโดยใช้ระดับน้ำ
ในการทำนาดำหรือนาหว่านน้ำตม น้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูง ดังนั้น การที่เกษตรกรปล่อยน้ำให้ขังอยู่ในแปลงนาก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใบแคบสกุลหญ้าจะมีความอ่อนแอต่อสภาพน้ำขัง

5. การใช้แรงงานในการกำจัดวัชพืช
โดยการใช้มีด จอบ เสียม หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ต้องใช้แรงงานคน แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้แรงงานหายากและมีราคาแพง อีกทั้งต้องใช้เวลามาก จึงไม่นิยมปฏิบัติกัน

 
6. การใส่ปุ๋ย
ควรทำการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยครั้งแรกจะใส่ขณะเตรียมดิน และจะใส่อีกครั้ง หลังจากนำน้ำเข้าแปลง เพื่อให้น้ำยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชมาแย่งธาตุอาหารของต้นข้าว

7. การปลูกพืชหมุนเวียน
การปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ฯลฯ สลับกับการปลูกข้าว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาของพืช และวัชพืชซึ่งมีความต้องการสภาพของดินแตกต่างกัน จึงมีผลทำให้วัชพืชลดลงได้


8. การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช
ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มจะใช้กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทดแทนการใช้แรงงานคนที่หายากและมีราคาแพง แต่เนื่องจากสารเคมีกำจัดวัชพืชจัดได้ว่าเป็นสารพิษ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรมีความรอบคอบในการใช้ เลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช ใช้ตามอัตราและเวลาที่กำหนด อีกทั้งต้องพิจารณาราคาของสารเคมีที่จะใช้ด้วยว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงพิษตกค้างที่อาจจะสะสมในพืชหรือในดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม หากเป็นไปได้ควร หลีกเลี่ยงหรือใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุดก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง


9. การควบคุมโดยชีววิธี
เช่น การเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด และปลูกแหนแดง จะมีส่วนช่วยป้องกันและกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินอีกด้วย



http://www.doae.go.th/library/html/detail/ricee/rice.htm
www.doae.go.th/library/html/detail/ricee/rice.htm -




วิธีการกำจัดข้าวดีด ข้าวนก ข้าววัชพืช ในแปลงนาปลูกข้าว อย่างได้ผล

การทำนาปลูกข้าว กข หรือการปลูกข้าวนาปรัง ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะมีปัญหาเรื่องโรคของข้าว และแมลงศัตรูข้าว แล้วเกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังเจอกับ ข้าววัชพืช บางท้องที่เรียกว่าข้าวนก หรือข้าวดีด ซึ่งข้าวพวกนี้จะมี ลักษณะ คล้ายต้นข้าวปกติ แต่หลังจาก เจริญเติบโตมาได้ระยะหนึ่งจะออกรวง และสุกก่อนข้าวที่เราปลูก
            
              เมล็ดข้าวดีดที่สุกแล้วจะมีลักษณะเหมือนกับเมล็ดข้าวที่เราปลูก แต่มีขนาดเมล็ดเล็ก สั้น บางชนิดมีหาง บางชนิดมีสีน้ำตาล เแตกต่างกันไปตามสภาพ การกลายพันธุ์ ของข้าวที่ปลูก แต่ส่วนมาข้าววัชพืชพวกนี้จะสุกไวกว่าพันธุ์ข้าวปกติ และหลุดร่วงง่าย แม้ลมพัดเบาๆ ขนาดนกบินผ่าน จึงเป็นที่มาของคำว่าข้าวดีด ข้าวนก นั่นเอง

               ความที่ข้าววัชพืชพวกนี้ สุกไว ร่วงง่าย ทำให้เกิดการขยายพันธุ์ผสมปนไปกับพันธุ์ข้าวปลูกหลัก ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ขาดทุน ย่อยยับ เนื่องจากหว่านข้าวแล้วได้แต่ ต้นข้าววัชพืช

               วิธีการกำจัดข้าววัชพืช ข้าวดีด ข้าวนกที่ได้ผลดี  คือการงดการทำนาข้าวรุ่นต่อไป เป็นการพักดิน ในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้นเอง แต่การพักดินในแแบนี้จะต้องมีการทำเทือก ไถพรวน เตีรยมดินเหมือนกับการทำนาทุกหย่างแต่เราจะไม่หว่านพันธุ์ข้าวปลูกลงไปเท่านั้นเอง หลังจากเตรียมดินเรียบร้อยให้ ไขน้ำออกจากแปลงนา ทิ้งไว้ให้ข้าววัชพืชงอก 10-15 วัน แล้ว ไถพรวน เตรียมดินแบบเดิม อีก ครบ 3 รอบ ให้สังเกต ดูว่า ยังมีข้าววัชพืชงอกอีกหรือไม่  ส่วนมากหลังจากรอบที่ 3 ไปแล้ว ข้าววัชพืช จะมีเหลือน้อยมาก เราก็ทำนาปลูกข้าวได้ตามปกติ

               เราจำเป็นต้องเสียเวลาเพื่อกำจัดข้าววัชพืชพวกนี้ 1-2 เดือน แต่คุ้มค่ากว่าการปล่อยให้ ข้าวดีด ข้าววัชพืชพวกนี้ขึ้นมาปะปน กับพันธุ์ข้าวหลักที่เราปลูก มิฉะนั้นท่านจะเสียเงิน หว่านปุ๋ยบำรุงข้าววัชพืชแทนข้าวที่ท่านต้องการจะเก็บเกี่ยว

               จำไว้ว่า วิธีการกำจัดข้าววัชพืช ข้าวดีด ข้าวนกด้วยสารเคมีที่ได้ผลดี นั้น ยังไม่มี นะครับ หากจะให้แปลงนาข้าวของท่าน ปราศจากข้าววัชพืช ให้ใช้วิธีการดังกล่าวร่วมกับการ กับข้าวดีดด้วยมือ เพื่อไม่ให้ มีเมล็ดพันธุ์ข้าววัชพืชหลงเหลืออยู่ในแปลงนาอีกต่อไป

http://xn--12cc7eubm9d3b6h.blogspot.com/2010/02/blog-post_517.html
.blogspot.com/2010/02/blog-post_517.html -




ข้าววัชพืช

เป็นปัญหาใหม่คุกคามการทำนาที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่ได้ระบาดไปทั่วพื้นที่นาข้าวในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่า 2 ล้านไร่แล้ว และคาดว่าจะลุกลามขยายพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มระดับความเสียหายรุนแรงขึ้นไปอีก หากไม่มีมาตรการกำจัดควบคุมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


           ข้าววัชพืชเป็นปัญหาที่ซับซ้อนผูกพันกับระบบพันธุกรรม   ข้าวปลูก-ข้าวป่า การจัดการและระบบนิเวศในนาข้าว การแก้ปัญหาที่ได้ผลจึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมและการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างข้าวป่ากับข้าวปลูก สรีระวิทยาเชิงนิเวศของต้นข้าวในนา ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการทำนา ตั้งแต่การทำนาชลประทานที่ปลูกข้าวตลอดปี การเปลี่ยนจากการทำนาดำมาเป็นหว่านข้าวแห้งหรือหว่านน้ำตม การเก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักร ฯลฯ และการวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกับชาวนา และพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการทำนาทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

          ศาสตราจารย์เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ร่วมกับนักวิจัยจากภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร. จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ทำงานวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการข้าววัชพืช โดยได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เพื่อหวังเผยแพร่ความรู้แก่ชาวนาในพื้นที่ที่มีการระบาดของข้าววัชพืชอย่างรุนแรง ตลอดจนเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้การระบาดขยายวงกว้างออกไปและทำความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ

         
ข้าววัชพืช สามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ซึ่งชนิดที่เป็นปัญหาร้ายแรงของชาวนา คือ ข้าวหางและข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็วและสูงข่มข้าวปลูกในระยะแตกกอ ทำให้ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ผลผลิตข้าวเสียหายได้ตั้งแต่ 10-100% ส่วนข้าวแดงหรือข้าวลายเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ผลผลิตจึงไม่เสียหายแต่คุณภาพลดลงเพราะเมล็ดข้าวสีแดงที่ปนอยู่  ทำให้ถูกโรงสีตัดราคา

       
สาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาด คือ การปลอมปนของเมล็ดข้าววัชพืชใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก และเมล็ดข้าววัชพืชที่ติดไปกับรถเกี่ยวข้าวและอุปกรณ์ที่ใช้เตรียมดิน ดังนั้นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาข้าววัชพืชก็คือ เกษตรกรต้องเริ่มต้นด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ และต้องทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนลงแปลงทุกครั้ง หากไม่ทำความสะอาด เมล็ดข้าววัชพืชจำนวนมากจะติดค้างอยู่ในตะแกรงด้านใน 20-50 กิโลกรัม ทำให้เกิดการระบาดของข้าววัชพืชในแปลงนาเป็นแนวยาว


ทั้งนี้หากมีการระบาดของข้าววัชพืชเพียงเล็กน้อย ต้องรีบกำจัดโดยการถอนต้นออกจากแปลง แต่หากมีการระบาดรุนแรงควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น หรืองดปลูกข้าว 1 ฤดู เพื่อปล่อยให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดโดยไถทิ้งอย่างน้อย 2 ครั้ง หากจำเป็นต้องปลูกข้าวควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงบนผิวดินงอกให้หมดก่อนจึงกำจัดทิ้ง จากนั้นให้ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดทิ้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว


การตัดรวงข้าววัชพืชควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ ในระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้วควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง นอกจากนี้เกษตรกรควรใช้ตะแกรงกรองเมล็ดข้าววัชพืชที่มีลักษณะเหมือนข้าวลีบลอยน้ำมาจากแปลงที่มีการระบาดทิ้งไป เพราะข้าววัชพืชสามารถงอกได้จากเมล็ดที่ยังไม่สุกแก่เต็มที่ สิ่งสำคัญที่นักวิจัยอยากเน้นย้ำกับเกษตรกรคือ การป้องกันจะกระทำได้ง่ายกว่าการกำจัด หากเกษตรกรสังเกตเห็นว่าเริ่มมีต้นข้าวที่สูงกว่าและออกดอกก่อนข้าวปลูก ให้รีบถอนทิ้งทำลายเสียแต่เนิ่นๆ อย่าเข้าใจว่าเป็นข้าวปนที่เมล็ดไม่ร่วงเหมือนแต่ก่อน

       
ส่วนนาข้าวที่มีการระบาดรุนแรงแต่ไม่สามารถงดปลูกข้าวได้ จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดข้าววัชพืช ซึ่งแนะนำให้ใช้ตั้งแต่ระยะทำเทือกเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของต้นอ่อนข้าววัชพืชและควบคุมวัชพืชชนิดอื่นๆ ในนา ระยะหลังหว่านข้าว 8-10 วัน หากสังเกตเห็นว่ายังมีต้นอ่อนข้าววัชพืชขึ้นหนาแน่น ให้ปล่อยน้ำท่วมยอดข้าววัชพืชแล้วหว่านสารเคมีกำจัดวัชพืชลงในน้ำ สารเคมีจะเข้าไปสู่ยอดข้าววัชพืชและถูกทำลายไปในเวลา 7-10 วัน หลังจากหว่านสารแล้วให้รักษาระดับน้ำไว้อีก 10-15 วัน เพื่อควบคุมต้นข้าววัชพืชที่จะงอกขึ้นมาใหม่จากเมล็ดที่จมอยู่ชั้นใต้ดินลึกลงไปจากชั้นผิวดิน และระยะข้าววัชพืชเริ่มออกรวง ใช้ลูบรวงข้าววัชพืชให้เมล็ดลีบและไม่สะสมเมล็ดในฤดูต่อไป วิธีนี้เหมาะสำหรับทดแทนแรงงานตัดรวงข้าววัชพืชที่มีเริ่มหายากและมีราคาแพง อุปกรณ์ที่ใช้หาได้ง่าย โดยใช้ผ้าขนหนูพันรอบไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร มัดให้แน่นแล้วชุบสาร หลังลูบสาร 7 วัน หากยังมีรวงข้าววัชพืชโผล่ขึ้นมาอีก ควรลูบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง


ทั้งนี้การใช้สารมีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ในกรณีที่ข้าววัชพืชมีความสูงใกล้เคียงกับข้าวปลูก และควรลูบในขณะลมสงบเพื่อป้องกันไม่ให้สารสัมผัสใบข้าวปลูก ไม่ควรลูบในช่วงเช้าที่ยังมีน้ำค้างบนใบข้าว หลังการลูบสารควรมีระยะปลอดฝนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

         
หากเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังที่กล่าวมาข้างต้นอย่างจริงจัง ปัญหาการระบาดของข้าววัชพืชจะลดลงอย่างแน่นอน



สกว. ได้สนับสนุนการตีพิมพ์หนังสือ “ข้าววัชพืช-ปัญหาและการจัดการ” ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการควบคุมกำจัดข้าววัชพืช ไว้เป็นคู่มือชาวนา และผลิต CD แสดงการควบคุมข้าววัชพืชโดยชาวนาผู้เชี่ยชาญ

ท่านที่สนใจติดต่อขอรับหนังสือหรือ CD ได้ที่
ศาสตราจารย์เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม 086-1824678
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ดร.จรรยา มณีโชติ 081-4946247







http://basic.trf.or.th/news/322/
basic.trf.or.th/news/322/ -





วัชพืช....
วัชพืชมีกี่ชนิด
 


วัชพืชแบ่งตามลักษณะที่อยู่ออกได้เป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ

ก. วัชพืชน้ำ

หมายถึง วัชพืชที่ขึ้นในน้ำหรือขึ้นตามริมตลิ่งที่มีดินขึ้นมาก ๆ มักเป็นพืชที่มีลำต้นเล็กอ่อน ใบบาง เพื่อลู่ไปตามกระแสน้ำได้ดี มีหลายลักษณะตามสภาพที่ขึ้น กล่าวคือ บางพวกลอยน้ำรากไม่หยั่งดิน เช่น จอก แหน ไข่น้ำ แหนแดง ผักตบชวา บางพวกรากต้องหยั่งดิน ใบและดอกลอยตามผิวน้ำหรืออยู่เหนือน้ำ เช่น บัว บา ตับเต่า ขาเขียด บางชนิดอยู่ใต้ผิวน้ำรากหยั่งดิน เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายไฟ แหนปากเป็ดสาหร่ายเส้นด้าย สาหร่ายพุงชะโด บางชนิดขึ้นตามดินชื้นมาก ๆ หรือที่ที่มีน้ำขังตื้น ๆ เช่น เทียนนา แห้วทรงกระเทียม หญ้าขน หญ้านกสีชมพู วัชพืชน้ำมักเป็นวัชพืชในนาข้าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านชลประทานและด้านประมง

ข. วัชพืชบก

หมายถึง วัชพืชที่เกิดบนบกแบ่งตามลักษณะทั่วไปได้เป็น ๓ ชนิด คือ ไม้ตัน (trees) ไม้พุ่ม (shrubs) ไม้ล้มลุกลำต้นอ่อน (herbs) ไม้ตันและไม้พุ่มไม่ค่อยพบว่าเป็นวัชพืชที่ร้ายแรง ทั้งนี้เพราะก่อนดำเนินการเกษตรนั้น จำเป็นต้องปรับที่โค่นต้นไม้ใหญ่ ถอนรากโคนทิ้งเสียก่อน ฉะนั้น จึงไม่ค่อยมีปัญหาในด้านการกำจัดวัชพืชที่เป็นไม้ต้นและไม้พุ่มเท่าใดนัก นอกจากในที่ดินที่บุกเบิกใหม่เพื่อการเพาะปลูก ถ้ายังมีรากไม้ต้นและไม้พุ่มหลงเหลืออยู่ ต้องคอยหมั่นดูแลขุดทำลายเสีย หรือใช้สารกำจัดวัชพืชทำลาย โคนต้นให้เน่าผุก่อน วัชพืชก็จะค่อย ๆ ลดน้องลงไป ส่วนวัชพืชที่เป็นปัญหาในด้านการกำจัด ได้แก่ พวกไม้ต้นเล็กเนื้ออ่อนหรือพืชล้มลุก ซึ่งแบ่งออกได้ตามอายุเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งได้แก่ พืชล้มลุก อายุสั้น มีวงชีพอยู่ได้เพียงฤดูเดียง (annual) และอีกพวกหนึ่งเป็นพืชต้นเล็กเนื้ออ่อน ยืนต้น มีอายุข้ามปีหรือตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป (perennial) พืชพวกนี้มักจะมีไหล (stolon) ซึ่งสามารถแตกรากตามข้อที่นอนแตะพื้นดิน เช่น แห้วหมู หญ้าชันอากาศ ทั้งวัชพืชน้ำและวัชพืชบก มิได้หมายถึง พืชที่มีดอกและเมล็ดเท่านั้น ยังรวมถึงพืชจำพวกสาหร่าย (algase) พืชไม่มีดอก ได้แก่ เฟิร์น (fern) และตะไคร่ (moss) เช่น สาหร่าย อีกด้วย วัชพืชในนาข้าวเป็นพืชพวกแอลจี แต่สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายฉัตร สาหร่ายพุงชะโด ฯลฯ เป็นพืชมีดอกและเมล็ด เฟิร์น หลายชนิดที่เป็นวัชพืชในนาข้าว ได้แก่ ผักกูดนา ผักแว่น แหนแดง จอกหูหนู นอกจากพืชที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพวกพืชอาศัย (parasitic plants) เช่น กาฝาก ฝอยทอง
วัชพืชทำความเสียหายด้านใดบ้าง
 


วัชพืชทำความเสียหายแก่เกษตรกรหลายด้าน คือ

๑. ด้านการเพาะปลูก

วัชพืชนับว่าเป็นศัตรูอย่างหนึ่งของพืชปลูก ในปีหนึ่งๆ วัชพืชทำให้รายได้กสิกรลดลง เนื่องจากผลิตผลลดลงเป็นจำนวนไม่น้อยในต่างประเทศได้มีการค้นคว้าวิจัยผลเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงรวมกัน และยังมีรายงานจากการวิจัยว่า วัชพืชที่ขึ้นในแปลงพืชปลูก จะทำให้ผลิตผลลดลงถึงร้อยละ ๓๐-๓๕ เนื่องจากวัชพืชเป็นต้นไม้มีชีวิตเช่นเดียวกับพืชปลูก ฉะนั้นย่อมต้องการปุ๋ยน้ำ แสงสว่าง เพื่อการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันดังนั้น เมื่อวัชพืชมาแบ่งสิ่งเหล่านี้จากพืชปลูก ย่อมทำให้พืชปลูกได้ปุ๋ยและน้ำน้อยลง ไม่เจริญเติบโต ทำให้ผลิตผลไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้แล้ว วัชพืชยังเป็นที่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย เช่น ปรากฏในผลงานวิจัยวัชพืชที่เป็นภัยแก่ฝ้ายของนายชัยวัฒน์ จันทร์ศรีวงศ์ แห่งกรมวิชาการเกษตร (พ.ศ. ๒๕๒๐ ) เกี่ยวกับการศึกษาโรคใบหงิกของฝ้าย โรคนี้ทำความเสียหายร้ายแรงมาก หากเป็นกับฝ้ายขณะต้นยังอ่อนอยู่ แทนจะกล่าวได้ว่า ไม่ให้ผลิตผลเลย ต้นน้ำนมราชสีห์ หญ้าขัดมอน และ หญ้าพันงูเป็นวัชพืชในแปลงฝ้ายและเป็นพืชอาศัยของแมลงที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัส อันเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคใบหงิก เจ้าหน้าที่วิจัยเรื่องโรคนี้จึงได้แนะนำให้กสิกรป้องกัน โดยหมั่นตรวจแปลง อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรกรุงรัง เชื้อราบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคกับพืชต้องอาศัยพืชปลูกระยะหนึ่งและอาศัยวัชพืชอยู่อีกระยะหนึ่งจึงจะครบวงจรชีวิต (life cycle) เช่น โรคสนิมของข้าวสาลี วัชพืชบางชนิดสร้างสารมีพิษลงสู่ดิน สารนี้จะไปทำอันตรายต่อพืชปลูก โดยชะงักการเจริญเติบโต ทำให้พืชปลูกแคระแกร็น นอกจากนี้หากปล่อยให้วัชพืชขึ้นรกในพื้นที่ทำการเพาะปลูกแล้ว ที่นั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาสัตว์หลายชนิดที่กินพืชปลูกเป็นอาหาร เช่น หนู

๒. ด้านการเลี้ยงสัตว์

วัชพืชมักขึ้นปะปนในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ บางชนิดมีสารเป็นพิษ เมื่อสัตว์กินแล้วจะทำให้ตายหรือร่างกายไม่เจริญเติบโต ทำให้ผลิตผลด้านปศุสัตว์ลดลง เช่น หญ้าจอห์นสัน (johnson grass) ควายกินแล้วตายได้ หรือวัชพืชบางชนิด เมื่อวัวกินแล้ว ทำให้นมวัวที่ได้นั้นมีกลิ่นผิดไปจากธรรมชาติ

๓. ด้านชลประทาน

วัชพืชที่ขึ้นตามอ่างเก็บน้ำน้ำจะระเหยออกทางลำต้น ใบ ทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณลดลง นอกจากนั้น ยังทำให้คูส่งน้ำตื้นเขิน ประสิทธิภาพในการส่งน้ำลดลงท่อระบายน้ำอุดตัน ทำให้เสียค่าแรงงานขุดลอกคันคูน้ำ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช เช่น หลังจากสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จ แล้วมีการกักน้ำ พื้นที่ด่อนบนของเขื่อนน้ำจะท่วมเป็นบริเวณกว้าง ผักตบชวาตามหมู่บ้านที่น้ำท่วมถึงมารวมกันในอ่างเก็บน้ำ และขยายพันธุ์จนเต็มอ่างตอนเหนือเขื่อน ทำให้กรมชลประทานต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการกำจัดผักตบชวา


๔. ด้านป่าไม้

โดยเฉพาะที่เป็นป่าปลูก เช่น สวนผัก สวนสน หรือแปลงกล้าป่าไม้ ในป่าปลูกเช่นนี้ ย่อมมีวัชพืชรบกวน โดยแย่งปุ๋ย น้ำ และแสงสว่าง วัชพืชบางชนิด เป็นพืชอาศัยขึ้นตามรากไม้ที่ปลูก ทำให้ไม้ปลูกไว้เติบโตช้า

๕. ด้านประมง

ถึงแม้วัชพืชน้ำจะให้คุณแก่สัตว์น้ำ กล่าวคือ เป็นที่อาศัยวางไข่ ให้ร่วมเงาทำให้น้ำสะอาด แต่ปริมาณวัชพืชน้ำต้องมีพอสมควร หากมีมากไปทำให้บ่อน้ำตื้นเขิน เนื้อที่น้อยลง กีดขวางการจับสัตว์น้ำ พืชน้ำบางชนิด เช่น สาหร่าย ข้าวเหนียว จับปลาเล็ก ๆ เป็นอาหาร ทำให้ปริมาณปลาลดลง หากวัชพืชน้ำขึ้นหนาแน่น แสงไม่พอการสร้างอาหารของพืชก็จะลดลง ก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นผลที่ได้จากการสร้างอาหารก็ลดลงด้วย ทำให้สัตว์น้ำตาย นอกจากนี้ ยังลดปริมาณอาหารเบื้องต้นของสัตว์น้ำ เช่น พวกไรน้ำ (plankton) ทั้งนี้เพราะพวกวัชพืชแย่งอาหารพวกฟอสเฟต ซึ่งพวกไรน้ำต้องการเช่นกัน
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter8/t3-8-l1.htm
kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK3/chapter8/t3-8-l1.htm -




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©