-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 267 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

กระท้อน




หน้า: 1/5



กระท้อน


ที่มา: http://gotoknow.org/file/peekwong17/





กระท้อน


               ลักษณะทางธรรมชาติ
    * เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี  หากปล่อยให้โตอย่างอิสระอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและได้รับการปฏิบัติบำรุงดีสามารถสูงได้ถึงกว่า 20 ม. ขนาดทรงพุ่มกว้าง 10-20 ม.เมื่ออายุต้นมากขึ้นหรือเป็นต้นแก่แล้วการให้ผลผลิตจะลดลงทั้งความดกและคุณภาพ แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งทำสาวให้เหลือขนาดทรงพุ่มสูงและกว้าง 3-4 ม. แล้วบำรุงสร้างกิ่งใหม่ก็จะกลับคืนสภาพเป็นต้นสาวที่ให้ผลดกและคุณภาพดีเหมือนเดิม 
             
    * เป็นผลไม้เขตร้อนสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินเหนียวปนทราย  ดินเหนียวร่วน หรือดินลูกรังแดงร่วน มีอินทรียวัตถุมากๆ สารอาหารสมบูรณ์  โปร่ง น้ำและอากาศผ่านสะดวก  เนื้อดินลึกไม่น้อยกว่า 1.5 ม.                    

    * ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.-ก.ค.เป็นกระท้อนปีหรือในฤดูกาล แม้ว่าจะไม่ใช่ผลไม้ยอดนิยมระดับแนวหน้า แต่มีเสน่ห์ตรงที่ออกสู่ตลาดในช่วงที่ผลไม้ระดับแนวหน้าอย่างมะม่วง ทุเรียน เงาะ มังคุด วายหรือหมดไปจากตลาดแล้วและออกก่อนลำไย จะมีคู่แข่งก็แต่ผลไม้ประเภทออกตลอดปีเท่านั้น 
           
    * ให้ผลผลิตปีละ 1 รุ่น ปัจจุบันยังไม่มีฮอร์โมนหรือสารใดๆบังคับให้ออกนอกฤดูได้ และก็ไม่มีสายพันธุ์ทะวายอีกด้วย การบังคับจึงทำได้เพียงบำรุงให้ออกก่อนฤดูหรือหลังฤดูด้วยช่วงสั้นๆเท่านั้น
            

    * ต้นที่ปลูกจากกิ่งตอน กิ่งทาบ ติดตา เสียบยอด มีแต่รากฝอยจะเริ่มให้ผลผลิตได้เมื่ออายุ 3-4 ปี แต่ถ้าเป็นต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2 รากสามารถให้ผลได้ภายใน 2-3 ปี แล้วจะให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนานถึง 30 ปี
                
     เนื่องจากกระท้อนเป็นไม้ยืนต้นอายุนับ 100 ปี  ถ้าต้นนั้นปลูกจากกิ่งที่มีแต่รากฝอยเมื่อต้นใหญ่มากขึ้นทรงพุ่มต้านลมมากๆอาจทำให้ต้นล้มได้ แนวทางแก้ไข คือ เสริมราก 1-2 รากด้วยต้นที่มีรากแก้ว (เพาะเมล็ด)ซึ่งนอกจากจะช่วยยึดต้นได้ดีแล้วยังช่วยเพิ่มจำนวนรากในการหาอาหารอีกด้วย
            

    * กระท้อนสายพันธุ์เดียวกัน ปลูกในแปลงเดียวกัน และบำรุงอย่างเดียวกัน แต่คุณภาพผลผลิตแตกต่างกันเนื่องมาจากสภาพโครงสร้างภายในประจำตัว กระท้อนต้นที่หลังใบมีขนปุยคล้ายกำมะหยี่มักให้ผลผลิตคุณภาพเหนือกว่าต้นที่หลังใบเรียบมันวาว                   

    * ต้นพันธุ์ระยะกล้าสังเกตได้ยากมากว่าต้นไหนเป็นพันธุ์ไหน เพราะระยะกล้ากระท้อนทุกสายพันธุ์จะมีลักษณะคล้ายกันมาก การให้ได้สายพันธุ์แท้ตามต้องการต้องมาจากแหล่งเชื่อถือได้จริงๆเท่านั้น             

    * ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  เกสรตัวเมียพร้อมรับการผสมทั้งจากเกสรตัวผู้ทั้งในดอกเดียวกัน และเกสรตัวผู้จากดอกอื่นในต้นเดียวกันหรือจากต่างต้น            
      อายุดอกตูม-ดอกบาน(ผสมติด)25-30 วัน และอายุผลเล็ก-ผลแก่เก็บเกี่ยว 5-6เดือน

    * ออกดอกจากซอกใบปลายกิ่งของกิ่งอายุข้ามปี ออกได้ทั้งกิ่งชายพุ่มและกิ่งในทรงพุ่มแบบทยอยออกนาน 7-10 วัน              

    * การติดผลมีทั้งผลเดี่ยวและเป็นพวงตั้งแต่ 2-5 ผล ขนาดผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการบำรุง

    * ปลูกกระท้อนสายพันธุ์ให้ผลดกถึงดกมาก  ระยะห่างระหว่างต้น  8 X 8 ม. (1 ไร่ = 11 ต้น)  เลี้ยงทรงพุ่มให้สูงอิสระ 5-6 ม. (ตัดยอดประธาน) ทรงพุ่มกว้างชนต้นข้างเคียง  เว้นช่องว่าระหว่างต้นพอให้แสงแดดส่องผ่านได้ ตัดแต่งกิ่งภายในโปร่งให้แสงแดดผ่านเข้าไปได้เท่ากันดีทั่วพื้นที่ภายในทรงพุ่ม 40-50 เปอร์เซ็นต์  ต้นได้รับการเสริมราก 2-3 ราก  และได้รับการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายปีติดต่อกัน  เมื่ออายุต้นโตเป็นสาวเต็มที่สามารถให้ผลผลิตมากถึง 2,000 ผล            

    * แต่ละช่วงของการพัฒนาทั้งต้นและผลต้องการน้ำค่อนข้ามากและสม่ำเสมอ  แต่ช่วง ปรับ ซี/เอ็น เรโช  ถึง ก่อนเปิดตาดอก  ต้องการน้ำน้อย ดังนั้น การเตรียมพื้นที่ปลูกจะต้องสามารถควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้อย่างแท้จริง            

    * ธรรมชาติกระท้อนมักออกดอกแล้วติดผลเล็กครั้งละจำนวนมาก จากนั้นจะสลัดผลเล็กทิ้งเองจนเหลือไม่มาก แก้ไขโดยบำรุงต้นให้สมบูรณ์จริงๆด้วยวิธีให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องนานหลายๆปี  กับทั้งให้ฮอร์โมนบำรุงดอก. บำรุงผลเล็ก. อย่างถูกต้องตรงตามจังหวะ และเมื่อผลโตขึ้นการซอยผลออกบ้างเท่าที่จำเป็น

    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกัน เมื่อพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว            

    * ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช.โดยการงดน้ำนั้น แม้จะได้เตรียมความสมบูรณ์ของต้นไว้พร้อมก่อนแล้ว  ถ้ามาตรการควบคุมปริมาณน้ำ (งดน้ำ) จนทำให้ใบแก่โคนกิ่งสลดจนแห้งแล้วร่วงไม่ได้ก็จะทำให้เปิดตาดอกไม่ออก  หรือเปิดตาดอกแล้วออกมาเป็นใบอ่อนแทนได้

    * การห่อผลมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากช่วยป้องกันแมลงวันทองแล้วยังช่วยทำให้ผิวสวย ผิวเป็นกำมะหยี่ดี  และเนื้อในดีอีกด้วย              
      - เริ่มห่อผลเมื่อผลอายุ 50-55 วัน หรือขนาดมะนาว หรือผลเริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองอ่อน และเก็บเกี่ยวได้หลังจากห่อผล 1 เดือน หรือเมื่ออายุผลได้ 5-6 เดือนหลังออกดอก
      - สังเกตลักษณะผลแก่ได้จากเส้นบนผิวผลจากขั้วผลถึงก้นผล  ถ้าเส้นยังนูนเด่นชัดแสดงว่ายังแก่ไม่จัด ถ้าเส้นหายไปหรือเรียบเนียนกับผิวผลแสดงว่าผลแก่จัดแล้ว หรือสังเกตที่สีเปลือกผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำหมาก
      - การห่อด้วยถุงพลาสติกจะทำให้ผลเสียหายเพราะระบายความชื้นไม่ดี ควรห่อด้วยกระดาษถุงปูนซีเมนต์เท่านั้น  วัสดุห่อผลดีที่สุด คือ ใบตองแห้ง เรียกว่า  กระโปรง  แต่เนื่องจากมีราคาแพงและจัดทำยากจึงไม่ได้รับความนิยม           
        การห่อผลด้วยกระโปรงใบตองชั้นในก่อนแล้วห่อทับซ้อนด้วยถุงกระดาษปูนซิเมนต์อีกชั้นหนึ่งจะทำให้คุณภาพผลดีกว่าการห่อแบบชั้นเดียว           
      - ห่อผลต้องทำด้วยความประณีต มือเบาๆ ถ้าทำแรงมือหนักจนขั้วได้รับความกระทบกระเทือน  ผลจะไม่ร่วงเดี๋ยวนั้นแต่จะร่วงหลังจากห่อผลแล้ว 7-10 วัน           
      - ควรเลือกใช้ถุงห่อขนาดใหญ่ๆ  เพื่อให้อากาศภายในถุงถ่ายเทสะดวก  โดยเฉพาะผลกระท้อนที่ติดเป็นพวงจะต้องใช้ถุงห่อขนาดใหญ่พิเศษ            
      - ผลที่ไม่ได้ห่อ คุณภาพผลนอกจากเนื้อจะแข็งกระด้าง  ปุยน้อยแล้ว  ผิวเปลือกก็ไม่เป็นกำมะหยี่อีกด้วย  ผลแบบนี้เหมาะสำหรับทำกระท้อนดอง             

    * เป็นผลไม้ที่ไม่ต้องบ่มหลังเก็บเกี่ยว คุณภาพของผลแก่จัด (ผลสุก) ขณะอยู่บนต้นเป็นเช่นไรเมื่อเก็บลงมาแล้วก็คงเป็นเช่นนั้น  ผลที่ครบอายุเก็บเกี่ยวแล้วหากปล่อยทิ้งคาต้นนานหลายวันเกินไปคุณภาพจะด้อยลง ดังนั้นจึงให้เก็บเกี่ยวกระท้อน ณ วันที่ครบอายุผลพอดีรับประทาน

    * กระท้อนก็เหมือนกับผลไม้อื่นอีกหลายชนิด  หลังจากเก็บลงมาจากต้นแล้วปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้ลืมต้น  สัก 2-3 วันจะทำให้มีรสชาติหวานขึ้น  เก็บในอุณหภูมิปกติอยู่ได้นาน 5-7วัน หรือเก็บในอุณหภูมิ 15-17 องศาอยู่ได้นาน 20 วัน            

    * ความดกและคุณภาพของผลด้านขนาด รูปทรง สีผิว ความนุ่มหนาของเนื้อและปุย ความเล็กของเมล็ด กลิ่นและความหวาน  ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ที่ได้รับจากการบำรุงมากกว่าคุณลักษณะของสายพันธุ์            

    * สายพันธุ์ผลใหญ่แม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงไม่เต็มที่ ผลที่ออกมากก็ยังใหญ่หรืออาจย่อมลงมาเล็กน้อยแต่จะไม่ดก  ส่วนสายพันธุ์ผลเล็กแม้จะได้รับการปฏิบัติบำรุงดีเพียงใด ผลที่ออกมาก็ยังเป็นผลขนาดเล็ก หรืออาจใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยแต่การติดผลจะดกขึ้น

    * ผลไม้ทั่วไปช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวต้องงดน้ำเพื่อให้เนื้อแห้งกรอบ กรณีของกระท้อนไม่ต้องงดน้ำแต่กลับต้องให้น้ำสม่ำเสมอ  เพื่อให้เนื้อฉ่ำนิ่มจนใช้ช้อนตักรับประทานได้  ถ้างดให้น้ำช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อแข็งไม่เหมาะสำหรับรับประทานผลสด  แต่ดีสำหรับทำกระท้อนแปรรูป

    * ออกดอกติดผลจากกิ่งอายุข้ามปี การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรตัดเฉพาะกิ่งที่มีผลผลิตแล้วบำรุงสร้างยอดขึ้นมาใหม่สำหรับใช้เป็นกิ่งให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป  ส่วนกิ่งที่ปีนี้ยังไม่ออกดอกติดผลไม่ต้องตัดแต่ให้บำรุงต่อไปเลย  เมื่อได้รับการบำรุงต่อก็จะออกดอกติดผลได้ในฤดูกาลถัดไป            

    * เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่  น้ำหนักมาก  เมื่อลมพัดจะทำให้ผลแกว่งไปมาแล้วไปกระทบกับกิ่งข้างๆ  ทำให้ผลเสียหาย  แก้ไขด้วยการปลูกไม้บังลม            

    * ขนาดลำต้นใหญ่ความสูงมากๆ ทรงพุ่มกว้าง  ให้ทำค้างไม้แบบถาวรเป็นคอกสี่เหลี่ยมล้อมรอบต้น จัดให้มีไม้พาดเป็นทางเดินภายในทรงพุ่มสูง 1-2-3 ชั้นตามความเหมาะสมจะช่วยให้การเข้าปฏิบัติงานในทรงพุ่ม  เช่น  การตัดแต่งกิ่ง  ห่อผล  ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

    * หลังจากต้นเป็นสาวพร้อมให้ผลผลิตแล้วให้บำรุงแบบทำให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องทั้งปีและหลายๆปีติดต่อกัน โดยฝังซากสัตว์ (หอยเชอรี่ หัว/พุงปลา ซี่โครงไก่) ที่ชายพุ่ม 4-5 หลุม/ต้น (ทรงพุ่ม 5 ม.) ปีละครั้ง  และปีรุ่งขึ้นให้ฝังระหว่างหลุมของปีที่แล้ว

    * ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ในใจกลางทรงพุ่มและเหนือทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานฉีดพ่นทางใบได้ดีกว่าเครื่องมือฉีดพ่นทุกประเภท              

    * ค่อนข้างอ่อนแอต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสมทุกชนิด ทั้งๆที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเท่ากับไม้ผลอื่นๆ  ดังนั้น ถ้าจะใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพฉีดพ่นทางใบจะต้องใช้ในอัตราน้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ 1 เท่าตัวเสมอ

    * การปลูกกล้วยลงในแปลงปลูกก่อนเพื่อเตรียมให้เป็นไม้พี่เลี้ยง เมื่อกล้วยยืนต้นได้แล้วจึงลงต้นกล้ากระท้อนพร้อมกับทำบังร่มเงาช่วยอีกชั้นหนึ่งจะช่วยให้ต้นกล้ายืนต้นได้เร็ว สมบูรณ์แข็งแรง

    * การพูนโคนต้นด้วยอินทรียวัตถุปีละ 1-2 ครั้งจะช่วยให้ต้นแตกรากใหม่ดี และต้นที่ได้รับการเสริมราก 1-2รากนอกจากจะช่วยให้ต้นมีรากหาอาหารมากขึ้นแล้วยังช่วยให้ต้นอายุยืนนานขึ้นอีกด้วย

    * อายุต้น 3-4 ปีขึ้นไป หรือได้ความสูง 3-5 ม. แล้ว ให้ตัดยอดประธาน (ผ่ากบาล) เพื่อควบคุมขนาดความสูง  จากนั้นจึงตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดความกว้างทรงพุ่มต่อไป

    * การตัดแต่งกิ่งให้เหลือกิ่งกระจายรอบทรงพุ่มเสมอกันจนแสงแดดส่องทั่วภายในทรงพุ่มจะช่วยให้กิ่งภายในทรงพุ่มออกดอกติดผลแล้วพัฒนาผลจนมีคุณภาพดีได้            

    * ใบกระท้อนแก่ตากแห้งบดละเอียดใช้ผสมพริกป่นเพื่อลดความเผ็ดของพริกลง และเพิ่มสีพริกให้จัดขึ้นได้ ทำให้การปลูกกระท้อนเพื่อขายใบกลายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งที่น่าพิจารณา
           
          

      สายพันธุ์           
      กระท้อนมีทั้งสายพันธุ์รสเปรี้ยวสำหรับทำกระท้อนดอง  แช่อิ่ม  กวน  หยี  และสายพันธุ์รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยวสำหรับรับประทานผลสด                    
      สายพันธุ์ทั่วไป :                   
      ผอบทอง.  เขียวหวาน.  ขันทอง.  ตาอยู่.  เทพรส.  เทพสำราญ. อีไหว.อีเปียก.  อีจืด.  หลังห่อ.  บัวขาว.  ทับทิม.  ทองหยิบ.  อินทรชิต.  ทองใบใหญ่.  ไกรทอง. บางกร่าง.  นวลจันทร์.ขันทอง.  คุณพินัย.  สุภรัตน์.
      สายพันธุ์นิยม :                    
      ปุยฝ้าย (พันธุ์หนัก). อีล่า (พันธุ์หนัก). นิ่มนวล (พันธุ์เบา). ทับทิม (พันธุ์เบา).
      สายพันธุ์เด่น :                    
      ทับทิม (500-800 กรัม)  เป็นพันธุ์เบา ติดผลดก ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์อื่นๆ รสหวานจัด
      อีล่า (1-1.2 กก) เป็นพันธุ์หนัก ติดผลดกถึงดกมาก ผลผลิตเก็บเกี่ยวหลังสุด(ประมาณ ส.ค.-ก.ย.)ในบรรดากระท้อนด้วยกันและราคาดีที่สุด
      ทองหยิบ (1-1.5 กก.) ติดผลดกปานกลาง รสหวานจัด
      ไหว (1.1.7 กก.) ติดผลดกปานกลาง รสหวานจัด
      นิ่มนวล (500-800 กรัม) ติดผลดกปานกลาง รสหวานจัด เนื้อนิ่มดีมาก
      กำมะหยี่ (500-800 กรัม) ติดผลดกกว่านิ่มนวล  รสหวานจัด  เนื้อนิ่มดีมาก
             
    
การขยายพันธุ์             
     วิธีขยายพันธุ์ :
                
     ตอน.  ตุ้มเล็ก.  ตุ้มใหญ่.  ทาบกิ่ง.  ติดตา.  เสียบยอด. เสียบข้าง.  เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).เพาะเมล็ดเสริมรากเปลี่ยนยอด (ไม่กลายพันธุ์/ดีที่สุด)             
     เลือกกิ่งพันธุ์ :              
     เลือกต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์มาจากกิ่งกระโดง ลำต้นกลางอ่อนกลางแก่ เปล้าสูงตรง ผ่านการอนุบาลในถุงดำมานานจนแผลทาบติดสนิทดี  เคยแตกใบอ่อนในถุงดำมาแล้ว 1-2 ชุด  มีรากแก่สีน้ำตาลดำแทงทะลุออกมานอกถุง รอบๆรากแก่มีรากอ่อนหรือรากฝอยสีเหลืองน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

     ระยะปลูก               
   - ระยะปกติ     4 X 6 ม. หรือ  6 X 8 ม.           
   - ระยะชิดพิเศษ  2 X 3 ม. หรือ  2 X 4 ม.          
         

     เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
              
   - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
   - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง           
   - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                    
   - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
   - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                        
     หมายเหตุ :                 
   - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี  เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปี  จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูง  ตอบสนองต่อการบำรุงทุกขั้นตอนดีมาก
   - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
   - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน........ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนองต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น           
   - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง           

    
เตรียมต้น             
     ตัดแต่งกิ่ง :
 
        
   - กระท้อนออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี  ดังนั้นในการตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป  ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไปสำหรับเอาดอกผลในรุ่นปีนี้
   - ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดส่องผ่านเข้าไปได้ถึงทุกกิ่งทั่วภายในทรงพุ่ม กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
   - โดยธรรมชาติแล้วจะออกดอกจากกิ่งแขนงของกิ่งประธานที่เฉียง 45 องศากับลำต้นได้ดีกว่ากิ่งแขนงของกิ่งประธานที่ระนาบหรือกิ่งชี้ลง              
    - ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้  กิ่งหางหนู  กิ่งเป็นโรค กิ่งชี้เข้าใน และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป  การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ตัดแต่งกิ่งตามปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้วให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี            
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้ว  แสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย           
    - ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ลำต้นควรมีลำเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 1-1.20 ม. ความสูง 3-5 ม.กว้าง 3-4 ม. มีกิ่งประธาน 3-5 กิ่งแผ่กระจายออกรอบทิศ          
    - นิสัยกระท้อนมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง  ดังนั้นจึงควรตัด  แต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน ช่วงต้นฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น นั่นคือ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตามปกติต่อไปก่อน  จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง                        
      ตัดแต่งราก :           
    - ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นให้ใช้วิธีล่อรากโดยพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรียวัตถุ 1 ส่วน           
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 โดยพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. แล้วให้ฮอร์โมนบำรุงราก 1-2 รอบ ห่างกันรอละ 15-20 วัน ต้นก็จะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
          
    - ต้นกล้าชำในถุงดำเป็นเวลานานๆ จนรากเจริญยาวหมุนวนเต็มถุง เมื่อถอดต้นกล้าออกจากถุงจะนำลงปลูกในแปลงจริงต้องจัดรากที่หมุนวนบริเวณก้นถึงให้เหยียดตรงเสียก่อน ถ้าปลูกทั้งๆที่รากยังหมุนวนอยู่ในถุง รากก็จะหมุนวนในหลุมปลูกต่อ ไม่เจริญยาวออกด้านนอก ทำให้โตช้าหรือนั่งหลุม




หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©